*** ปีโน้นปีน้ำ ปีนี้ปีไฟ ประกันภัยจะอยู่ยังไง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
*** ปีโน้นปีน้ำ ปีนี้ปีไฟ ประกันภัยจะอยู่ยังไง
โพสต์ที่ 1
นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรอ.ได้สรุปสถิติอุบัติเหตุของโรงงานในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ พบว่าเกิดอุบัติเหตุ 44 ครั้ง โดยเกิดจากอัคคีภัยสูงสุด 32 ครั้ง รองลงมาเป็นแอมโมเนียรั่ว 5 ครั้ง ระเบิด 3 ครั้ง สิ่งของหล่นทับ 2 ครั้ง และอื่นๆ เช่น หกล้ม 2 ครั้ง ซึ่ง กรอ.ได้ประสานงานกับ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศให้แจ้งผู้ประกอบการโรงงานให้ระมัดระวังการเกิดอัคคีภัย เนื่องจากเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา และปัญหาไฟไหม้อาจทำให้สารเคมีในโรงงานเกิดสารพิษและส่งผลกระทบด้านมลพิษกับชุมชนที่อยู่รอบข้างโรงงานได้
ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เกิดไฟไหม้ไปแล้ว 32 ครั้ง เช่น บริษัทโรจนะเพาเวอร์ จำกัด บริษัทสหไทยซินเทติกไฟเบอร์ จำกัด บริษัทโรงสีไทยเจริญพาณิชย์ จำกัด บริษัทโรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ โดยสถิติ 6 เดือนแรกของปีนี้สูงกว่าสถิติทั้งปี 55 ที่มีไฟไหม้ 30 ครั้ง และปี 2554 ไฟไหม้ 11 ครั้ง ซึ่งปกติไม่มีผู้ประกอบการรายใดที่ต้องการให้ไฟไหม้โรงงานของตัวเอง ยกเว้นบางรายที่ต้องการให้เกิดไฟไหม้เพื่อขอสินไหมประกันภัย
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า กนอ.ให้ความสำคัญกับความโปร่งใสและให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบตามมาตรการป้องกัน และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยให้โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศเปิดเผยข้อมูลการประกอบกิจการของโรงงานเพื่อให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้.
โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
http://www.thairath.co.th/content/eco/355498
ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เกิดไฟไหม้ไปแล้ว 32 ครั้ง เช่น บริษัทโรจนะเพาเวอร์ จำกัด บริษัทสหไทยซินเทติกไฟเบอร์ จำกัด บริษัทโรงสีไทยเจริญพาณิชย์ จำกัด บริษัทโรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ โดยสถิติ 6 เดือนแรกของปีนี้สูงกว่าสถิติทั้งปี 55 ที่มีไฟไหม้ 30 ครั้ง และปี 2554 ไฟไหม้ 11 ครั้ง ซึ่งปกติไม่มีผู้ประกอบการรายใดที่ต้องการให้ไฟไหม้โรงงานของตัวเอง ยกเว้นบางรายที่ต้องการให้เกิดไฟไหม้เพื่อขอสินไหมประกันภัย
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า กนอ.ให้ความสำคัญกับความโปร่งใสและให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบตามมาตรการป้องกัน และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยให้โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศเปิดเผยข้อมูลการประกอบกิจการของโรงงานเพื่อให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้.
โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
http://www.thairath.co.th/content/eco/355498
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: *** ปีโน้นปีน้ำ ปีนี้ปีไฟ ประกันภัยจะอยู่ยังไง
โพสต์ที่ 2
อยู่แบบ เจ็บปวด
เหมือนเคราะห์ซ้ำ กรรมซัด ครับ...อิอิ
แต่เรื่องน้ำท่วม ไฟไหม้ นี่ก็ ถือเป็นความเสี่ยง ที่บริหารจัดการได้ ด้วย Law of Large Number และการประกันภัยต่อนะครับ
หากจะลงทุนให้สบายใจ พอคาดการณ์ Loss Ratio ได้ ก็เลือกบริษัทประกันวินาศภัยที่เน้นรถยนต์ เลยครับ
เหมือนเคราะห์ซ้ำ กรรมซัด ครับ...อิอิ
แต่เรื่องน้ำท่วม ไฟไหม้ นี่ก็ ถือเป็นความเสี่ยง ที่บริหารจัดการได้ ด้วย Law of Large Number และการประกันภัยต่อนะครับ
หากจะลงทุนให้สบายใจ พอคาดการณ์ Loss Ratio ได้ ก็เลือกบริษัทประกันวินาศภัยที่เน้นรถยนต์ เลยครับ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: *** ปีโน้นปีน้ำ ปีนี้ปีไฟ ประกันภัยจะอยู่ยังไง
โพสต์ที่ 3
ผมรู้สึกว่าจำนวนเหตุการณ์วินาศภัยในยุคหลังนี้มันมีทีท่าที่จะเพิ่มขึ้น น้ำท่วมบ้าง ไฟไหม้บ้าง แผ่นดินไหวบ้าง ประท้วงบ้าง ซึ่งเป็นเทรนด์ที่เกิดทั่วโลก ตารางกรมธรรม์สมัยก่อนอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ไม่รู้ว่าบริษัทประกันภัยมีการระวังประเด็นนี้มากแค่ไหน ทำให้ Law of Large Number อาจจะเป็นภัยกับตัวเองมากกว่าที่จะเป็นการป้องกันครับ เพราะคนทำประกันมาก ถ้าเราคำนวนความเสี่ยงไว้ต่ำไป เราก็จะมีโอกาศจ่ายมากขึ้นกว่าเดิม
Vi IMrovised
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: *** ปีโน้นปีน้ำ ปีนี้ปีไฟ ประกันภัยจะอยู่ยังไง
โพสต์ที่ 4
ประกันมีเครื่องมือบริหารความเสี่ยงมากกว่า law of large number
1. Law of large number เป็นเรื่องของการทำ diversify risk แก้ปัญหา การ concentration risk ได้แก่ การกระจุกตัวที่ลูกค้ากลุ่มใด ประเภทสินค้าใด พื้นที่ ประเทศ เป็นต้น
2. Limit ของลูกค้าที่รับประกันแต่ละราย เป็นการจำกัดการสูญเสีย ส่วนที่เกิน ก็ทำปนะกันภัยต่อออกไป ไปเกิดความเสี่ยงอีกด้านคือ เครดิตของผู้ประกันภัยต่อ ต้องดูให้ดีว่ามีความสามารถชำระหนี้ได้หรือไม่
3. Excess of loss คือประกันรวมทั้งหมดของภัยใน 1 เหตุการณ์ หลัง ๆ ตัวนี้จำกัดขึ้น ทำให้บริษัทประกันภัยต้องมีการคำนวนให้ดี ใครมี it ที่ประมวลได้ ก็จะรู้ limit การรับภัยโดยรวม เรื่องนี้ผมเคยฟังผู้บริหารพูดถึงคือ การเกิด สึนามิ 1 ครั้ง การเผาเมือง 1 ครั้ง หรือน้ำท่วมในจังหวัด 1 ครั้ง เครื่องบินตก เป็นต้น แต่ไม่ลามหลายพื้นที่ หรือเป็นเวลานาน เหมือนเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา บริษัทประกันภัยพอรับไหว ขออย่าเกิดแบบเก่าก็น่าจะรับได้
นอกจากการบริหารความเสี่ยงที่พูดถึง ยังมีการคัดเลือกภัยด้วย เห็นว่าบางบริษัทมีระบบคัดเลือกภัย ทำให้ไม่ยอมเข้าไปตัดราคาเบี้ยเพื่อสร้างยอดมาก ๆ เช่น รับเป็น fleet คุ้มครองระยะยาว เพราะปีแรก ๆ อาจมีกำไร แต่ปีหลัง ๆ เจอ loss จะขาดทุนได้ครับ ตรงนี้ให้ดู loss ratio และ combined ratio เพราะบางภัยแม้ limit ต่อภัยไม่มาก แต่เสียค่าใช้จ่ายในดารทำเรื่อง claim บ่อยครั้ง ทำให้ combined ratio สูงมาก เช่น รถยนต์ กลุ่มเหล่านี้ส่วนใหญ่จึงต้องไปการายได้จากกางทุนเป็นหลัก เพราะกำไรจากการรับประกันจะน้อยมาก หรือขาดทุนก็มีครับ
1. Law of large number เป็นเรื่องของการทำ diversify risk แก้ปัญหา การ concentration risk ได้แก่ การกระจุกตัวที่ลูกค้ากลุ่มใด ประเภทสินค้าใด พื้นที่ ประเทศ เป็นต้น
2. Limit ของลูกค้าที่รับประกันแต่ละราย เป็นการจำกัดการสูญเสีย ส่วนที่เกิน ก็ทำปนะกันภัยต่อออกไป ไปเกิดความเสี่ยงอีกด้านคือ เครดิตของผู้ประกันภัยต่อ ต้องดูให้ดีว่ามีความสามารถชำระหนี้ได้หรือไม่
3. Excess of loss คือประกันรวมทั้งหมดของภัยใน 1 เหตุการณ์ หลัง ๆ ตัวนี้จำกัดขึ้น ทำให้บริษัทประกันภัยต้องมีการคำนวนให้ดี ใครมี it ที่ประมวลได้ ก็จะรู้ limit การรับภัยโดยรวม เรื่องนี้ผมเคยฟังผู้บริหารพูดถึงคือ การเกิด สึนามิ 1 ครั้ง การเผาเมือง 1 ครั้ง หรือน้ำท่วมในจังหวัด 1 ครั้ง เครื่องบินตก เป็นต้น แต่ไม่ลามหลายพื้นที่ หรือเป็นเวลานาน เหมือนเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา บริษัทประกันภัยพอรับไหว ขออย่าเกิดแบบเก่าก็น่าจะรับได้
นอกจากการบริหารความเสี่ยงที่พูดถึง ยังมีการคัดเลือกภัยด้วย เห็นว่าบางบริษัทมีระบบคัดเลือกภัย ทำให้ไม่ยอมเข้าไปตัดราคาเบี้ยเพื่อสร้างยอดมาก ๆ เช่น รับเป็น fleet คุ้มครองระยะยาว เพราะปีแรก ๆ อาจมีกำไร แต่ปีหลัง ๆ เจอ loss จะขาดทุนได้ครับ ตรงนี้ให้ดู loss ratio และ combined ratio เพราะบางภัยแม้ limit ต่อภัยไม่มาก แต่เสียค่าใช้จ่ายในดารทำเรื่อง claim บ่อยครั้ง ทำให้ combined ratio สูงมาก เช่น รถยนต์ กลุ่มเหล่านี้ส่วนใหญ่จึงต้องไปการายได้จากกางทุนเป็นหลัก เพราะกำไรจากการรับประกันจะน้อยมาก หรือขาดทุนก็มีครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger