เศรษฐกิจประเทศใช้ความรู้สึกหรือตัวเลขผลประกอบการธนาคารดีกว่า
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 90
- ผู้ติดตาม: 0
เศรษฐกิจประเทศใช้ความรู้สึกหรือตัวเลขผลประกอบการธนาคารดีกว่า
โพสต์ที่ 1
เศรษฐกิจประเทศใช้ความรู้สึกหรือตัวเลขผลประกอบการของกลุ่มธนาคารดีกว่ากันครับ ตามความรู้สึกของผมและคนใกล้ตัวคิดว่า เศรษฐกิจการบริโภคน่าจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารสูงขึ้นทั้งนั้นเลยครับ แปลว่าตอนนี้เศรษฐกิจประเทศไทยดีใช่มั้ยครับ? การลงทุนแนววีไอมักไม่ค่อยสนใจภาวะเศรษฐกิจก็จริงอยู่ แต่บางครั้งช่วงที่เราจะมีโอกาสซื้อหุ้นดีๆในราคาสมเหตุสมผลก็ต้องรอช่วงวิกฤติอยู่เหมือนกัน ความคิดผมนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1426
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เศรษฐกิจประเทศใช้ความรู้สึกหรือตัวเลขผลประกอบการธนาคารดี
โพสต์ที่ 2
ใช้ตัวเลขตามเนื้อข่าวน่าจะพอเห็นภาพแบบคร่าว ๆ ได้
สภาพัฒน์ เผย GDP ไตรมาส 1/56 โต 5.3% ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2556 11:36:30 น.
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/56 มีอัตราการเติบโต 5.3% และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออก หดตัว 2.2% เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (% QoQ SA)
"เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 56 ขยายตัว 5.3% ชะลอตัวจาก 19.1% ในไตรมาส 4/55 การขยายตัวในด้านการผลิตจากฐานที่ต่ำ มีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากสาขาการโรงแรมและภัตตาคาร การก่อสร้าง และอุตสาหกรรม ด้านการใช้จ่ายมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชน ในขณะที่การส่งออกขยายตัวช้ากว่าคาดการณ์ การขยายตัวของเศรษฐกิจเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 4/55 และปรับผลของฤดูกาลออกหดตัว 2.2%"นายอาคม กล่าว
สภาพัฒน์ ระบุว่าในไตรมาส 1/56 การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ขยายตัว 4.2% เทียบกับการขยายตัว 2.9% ในไตรมาส 1/55 และ 12.4% ในไตรมาส 4/55 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการคืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถยนต์คันแรกเป็นสำคัญ สะท้อนจากยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ขยายตัวในเกณฑ์สูง 121.8% ในขณะที่การใช้จ่ายในหมวดอื่นๆ ชะลอตัว ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 73.8 เพิ่มขึ้นจากระดับ 69.4 ในไตรมาสก่อน เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 5 ไตรมาส และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 6 ปี
การลงทุนรวม ขยายตัว 6.0% เร่งตัวขึ้นจาก 5.2% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอตัวจาก 22.9% ในไตรมาส 4/55 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 3.1% ชะลอตัวลงจาก 20.9% ในไตรมาสก่อน ตามการชะลอตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัว 18.8% ชะลอตัวลงจาก 31.1% ในไตรมาสก่อน โดยในไตรมาสนี้มีการนำเข้าเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์ของ บมจ.การบินไทย(THAI) จำนวน 2 ลำ มูลค่า 11,943 ล้านบาท
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจอยู่ที่ระดับ 52.2 เพิ่มขึ้นจาก 50.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนอยู่ที่ 275 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.3
การส่งออก มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเท่ากับ 56,181 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 4.5% เทียบกับการหดตัว 1.4% ในไตรมาส 1/55 และการขยายตัว 18.2% ในไตรมาส 4/55 ซึ่งเป็นการขยายตัวในเกณฑ์ต่ำตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการแข็งค่าของเงินบาท การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 8.1% ในขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัว 3.2% สินค้าส่งออกที่ขยายตัว ได้แก่ ยานยนต์ (16.8%) เครื่องใช้ไฟฟ้า (13.4%) ผลิตภัณฑ์โลหะ (55.9%) ข้าว (8.6%) และมันสำปะหลัง (34.9%) การส่งออกไปตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ขยายตัวในเกณฑ์ต่ำ 2.6% , 8.7% และ 1.5% ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกไปยังอาเซียน จีน ฮ่องกง และออสเตรเลีย ยังขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ 5.9%, 7.3%, 11.2% และ 33.6% ตามลำดับ
ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวจากฐานที่ต่ำ 4.8% เทียบกับการหดตัวที่ 4.3% ในไตรมาส 1/55 และการขยายตัวที่ 37.0% ในไตรมาส 4/55 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัว 2.9% ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออก 30-60% ขยายตัวสูง 26.6% ตามการขยายตัวของการผลิตรถยนต์ ในขณะที่อุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกต่ำกว่า 30% หดตัว 0.8% ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายครัวเรือนในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่สินค้าคงทน ส่วนอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกมากกว่า 60% หดตัว 5.4% สอดคล้องกับการส่งออกที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 66.8%
ภาคเกษตรกรรม ขยายตัว 0.5% ชะลอตัวจาก 3.4% ในไตรมาส 1/55 และ 3.1% ในไตรมาส 4/55 ตามการชะลอตัวของผลผลิตข้าวเปลือกนาปี ซึ่งเร่งเก็บเกี่ยวไปก่อนหน้า ในขณะที่ผลผลิตยางพารา อ้อย และปศุสัตว์ยังขยายตัวได้ดี ราคาสินค้าเกษตรสำคัญลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาปาล์มน้ำมัน และยางพารา เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น ปริมาณสินค้าคงคลังสูง และความซบเซาของราคาสินค้าในตลาดโลก ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลง 2.2%
สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวในเกณฑ์ดี 14.8% เทียบกับการขยายตัว 5.6% ในไตรมาส 1/55 และชะลอตัวจาก 25.7 ในไตรมาส 4/55 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 6.8 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 18.9% โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออก และยุโรป ที่ขยายตัว 28.5% และ 10.3% ตามลำดับ อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 70.5% เทียบกับ 66.4% ในไตรมาสแรกของปีก่อน นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น 3 อันดับแรก ประกอบด้วย จีน รัสเซีย และญี่ปุ่น ตามลำดับ
สาขาการก่อสร้าง ขยายตัว 10.5% เทียบกับการขยายตัวที่ 0.8% ในไตรมาส 1/55 แต่ชะลอตัวจากร้อยละ 14.1 ในไตรมาส 4/55 ตามการขยายตัวของการก่อสร้างภาครัฐและการก่อสร้างภาคเอกชนที่ขยายตัวสูง 13.4% และ 8.9% ตามลำดับ สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์เหล็กที่เพิ่มขึ้น 15.1% และ 10.6%
สภาพัฒน์ ระบุว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 56 ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของภาวะการค้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก การลงทุนภาคเอกชนที่ยังมีปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และการดำเนินการตามแผนการลงทุนที่สำคัญของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและราคาสินค้าในตลาดโลก การแข็งค่าของเงินบาท และการลดลงของแรงส่งจากมาตรการคืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถยนต์คันแรก ยังมีแนวโน้มที่จะเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวในช่วงที่เหลือของปี
อินโฟเควสท์ โดย ฐานิสร์ ทองนอก/รัชดา/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
ถ้าต้องการแบบละเอียด ลองอ่านนี่ดู
http://www.bot.or.th/Thai/Statistics/Ec ... Index.aspx#
......................................................................................................................................................................
เวลาเราดูบริษัทที่มีผลการดำเนินงานดี คำถามที่เราควรถามก็คือ “มันจะดีต่อไปได้อีกนานแค่ไหน?”
ทางเดียวที่เราจะตอบคำถามนี้ได้ก็คือ การดูว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทดี
และวิเคราะห์ต่อว่า ปัจจัยอะไรที่จะทำให้ผลการดำเนินงานดีๆที่ว่าหายไป – Charlie Munger
สภาพัฒน์ เผย GDP ไตรมาส 1/56 โต 5.3% ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2556 11:36:30 น.
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/56 มีอัตราการเติบโต 5.3% และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออก หดตัว 2.2% เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (% QoQ SA)
"เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 56 ขยายตัว 5.3% ชะลอตัวจาก 19.1% ในไตรมาส 4/55 การขยายตัวในด้านการผลิตจากฐานที่ต่ำ มีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากสาขาการโรงแรมและภัตตาคาร การก่อสร้าง และอุตสาหกรรม ด้านการใช้จ่ายมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชน ในขณะที่การส่งออกขยายตัวช้ากว่าคาดการณ์ การขยายตัวของเศรษฐกิจเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 4/55 และปรับผลของฤดูกาลออกหดตัว 2.2%"นายอาคม กล่าว
สภาพัฒน์ ระบุว่าในไตรมาส 1/56 การใช้จ่ายภาคครัวเรือน ขยายตัว 4.2% เทียบกับการขยายตัว 2.9% ในไตรมาส 1/55 และ 12.4% ในไตรมาส 4/55 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการคืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถยนต์คันแรกเป็นสำคัญ สะท้อนจากยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ขยายตัวในเกณฑ์สูง 121.8% ในขณะที่การใช้จ่ายในหมวดอื่นๆ ชะลอตัว ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 73.8 เพิ่มขึ้นจากระดับ 69.4 ในไตรมาสก่อน เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 5 ไตรมาส และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 6 ปี
การลงทุนรวม ขยายตัว 6.0% เร่งตัวขึ้นจาก 5.2% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอตัวจาก 22.9% ในไตรมาส 4/55 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 3.1% ชะลอตัวลงจาก 20.9% ในไตรมาสก่อน ตามการชะลอตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัว 18.8% ชะลอตัวลงจาก 31.1% ในไตรมาสก่อน โดยในไตรมาสนี้มีการนำเข้าเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์ของ บมจ.การบินไทย(THAI) จำนวน 2 ลำ มูลค่า 11,943 ล้านบาท
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจอยู่ที่ระดับ 52.2 เพิ่มขึ้นจาก 50.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนอยู่ที่ 275 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.3
การส่งออก มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเท่ากับ 56,181 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 4.5% เทียบกับการหดตัว 1.4% ในไตรมาส 1/55 และการขยายตัว 18.2% ในไตรมาส 4/55 ซึ่งเป็นการขยายตัวในเกณฑ์ต่ำตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการแข็งค่าของเงินบาท การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 8.1% ในขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัว 3.2% สินค้าส่งออกที่ขยายตัว ได้แก่ ยานยนต์ (16.8%) เครื่องใช้ไฟฟ้า (13.4%) ผลิตภัณฑ์โลหะ (55.9%) ข้าว (8.6%) และมันสำปะหลัง (34.9%) การส่งออกไปตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ขยายตัวในเกณฑ์ต่ำ 2.6% , 8.7% และ 1.5% ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกไปยังอาเซียน จีน ฮ่องกง และออสเตรเลีย ยังขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ 5.9%, 7.3%, 11.2% และ 33.6% ตามลำดับ
ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวจากฐานที่ต่ำ 4.8% เทียบกับการหดตัวที่ 4.3% ในไตรมาส 1/55 และการขยายตัวที่ 37.0% ในไตรมาส 4/55 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัว 2.9% ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออก 30-60% ขยายตัวสูง 26.6% ตามการขยายตัวของการผลิตรถยนต์ ในขณะที่อุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกต่ำกว่า 30% หดตัว 0.8% ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายครัวเรือนในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่สินค้าคงทน ส่วนอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกมากกว่า 60% หดตัว 5.4% สอดคล้องกับการส่งออกที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 66.8%
ภาคเกษตรกรรม ขยายตัว 0.5% ชะลอตัวจาก 3.4% ในไตรมาส 1/55 และ 3.1% ในไตรมาส 4/55 ตามการชะลอตัวของผลผลิตข้าวเปลือกนาปี ซึ่งเร่งเก็บเกี่ยวไปก่อนหน้า ในขณะที่ผลผลิตยางพารา อ้อย และปศุสัตว์ยังขยายตัวได้ดี ราคาสินค้าเกษตรสำคัญลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาปาล์มน้ำมัน และยางพารา เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น ปริมาณสินค้าคงคลังสูง และความซบเซาของราคาสินค้าในตลาดโลก ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลง 2.2%
สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวในเกณฑ์ดี 14.8% เทียบกับการขยายตัว 5.6% ในไตรมาส 1/55 และชะลอตัวจาก 25.7 ในไตรมาส 4/55 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 6.8 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 18.9% โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออก และยุโรป ที่ขยายตัว 28.5% และ 10.3% ตามลำดับ อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 70.5% เทียบกับ 66.4% ในไตรมาสแรกของปีก่อน นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น 3 อันดับแรก ประกอบด้วย จีน รัสเซีย และญี่ปุ่น ตามลำดับ
สาขาการก่อสร้าง ขยายตัว 10.5% เทียบกับการขยายตัวที่ 0.8% ในไตรมาส 1/55 แต่ชะลอตัวจากร้อยละ 14.1 ในไตรมาส 4/55 ตามการขยายตัวของการก่อสร้างภาครัฐและการก่อสร้างภาคเอกชนที่ขยายตัวสูง 13.4% และ 8.9% ตามลำดับ สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์เหล็กที่เพิ่มขึ้น 15.1% และ 10.6%
สภาพัฒน์ ระบุว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 56 ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของภาวะการค้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก การลงทุนภาคเอกชนที่ยังมีปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และการดำเนินการตามแผนการลงทุนที่สำคัญของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและราคาสินค้าในตลาดโลก การแข็งค่าของเงินบาท และการลดลงของแรงส่งจากมาตรการคืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถยนต์คันแรก ยังมีแนวโน้มที่จะเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวในช่วงที่เหลือของปี
อินโฟเควสท์ โดย ฐานิสร์ ทองนอก/รัชดา/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
ถ้าต้องการแบบละเอียด ลองอ่านนี่ดู
http://www.bot.or.th/Thai/Statistics/Ec ... Index.aspx#
......................................................................................................................................................................
เวลาเราดูบริษัทที่มีผลการดำเนินงานดี คำถามที่เราควรถามก็คือ “มันจะดีต่อไปได้อีกนานแค่ไหน?”
ทางเดียวที่เราจะตอบคำถามนี้ได้ก็คือ การดูว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทดี
และวิเคราะห์ต่อว่า ปัจจัยอะไรที่จะทำให้ผลการดำเนินงานดีๆที่ว่าหายไป – Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 73
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เศรษฐกิจประเทศใช้ความรู้สึกหรือตัวเลขผลประกอบการธนาคารดี
โพสต์ที่ 3
กำไรของธนาคารมากขึ้น ไม่ได้แปลว่าแนวโน้มเศรษฐกิจดีครับ หลายๆ ธนาคารปล่อยกู้สินเชื่อเพื่อการบริโภค Ready Credit สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบ้าน มากขึ้นตามระดับหนี้ของครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์มีการโอนกันเยอะปีที่แล้วกะปีนี้ เวลาปล่อยสินเชื่อหลายๆ แบงค์ก็ขายประกันพ่วงมาเลย Book กำไรหนักๆ ปีแรกที่ปล่อยกู้เลยWHYDOWEFALL เขียน:เศรษฐกิจประเทศใช้ความรู้สึกหรือตัวเลขผลประกอบการของกลุ่มธนาคารดีกว่ากันครับ ตามความรู้สึกของผมและคนใกล้ตัวคิดว่า เศรษฐกิจการบริโภคน่าจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารสูงขึ้นทั้งนั้นเลยครับ แปลว่าตอนนี้เศรษฐกิจประเทศไทยดีใช่มั้ยครับ? การลงทุนแนววีไอมักไม่ค่อยสนใจภาวะเศรษฐกิจก็จริงอยู่ แต่บางครั้งช่วงที่เราจะมีโอกาสซื้อหุ้นดีๆในราคาสมเหตุสมผลก็ต้องรอช่วงวิกฤติอยู่เหมือนกัน ความคิดผมนะครับ
กำไรของที่มาจากสินเชื่อเพื่อการบริโภค ถ้าในแง่การบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่นั้น มีคุณค่าน้อยกว่ากำไรที่มาจากสินเชื่อธุรกิจมากครับ เพราะถ้าแบงค์ได้รายได้จากลูกค้าธุรกิจเพิ่ม แปลว่าธุรกิจขยาย แต่ถ้า
ที่น่าสนใจจริงๆ คือ ทำไมกำไรกลุ่มแบงค์โตกันหมด แต่ราคาร่วงกันหมดล่ะ นั่นเพราะว่าทุกธนาคารตั้งสำรองเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติใน Q1 (แต่มีการ book รายรับสูงผิดปกติในช่วงนี้เลยยังไม่เป็นผลให้กำไรหดตัว) ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น และข่าวร้ายๆ ว่าประชาชนเริ่มไม่มีกำลังซื้อ ซึ่งจะตามมาด้วยไม่มีความสามารถในการผ่อนจ่ายหนี้ (ดูตัวเลขกลุ่มสหพัฒน์ฯ สิครับ)
โดยสรุป NPL ของกลุ่มธนาคารต่างหากล่ะครับที่สะท้อนภาวะเศรษฐกิจ