คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
raiden
Verified User
โพสต์: 236
ผู้ติดตาม: 0

คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

[youtube]iau3ETOhwnQ[/youtube]
คนดี คนเก่ง คนรวย คนกล้าหาญ เป็นกันได้ โดยใช้คีย์บอร์ด
ภาพประจำตัวสมาชิก
นายมานะ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1167
ผู้ติดตาม: 1

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอตอบในฐานะที่เป็นทั้งผู้บริโภคและผู้ถือหุ้นเครือ CP นะครับ

เนื้อหาในคลิปทำให้รู้สึก "กลัว" ครับ ไม่ว่าจะในฐานะของผู้บริโภคที่รับประทานอาหาร chilled food และ frozen food เป็นประจำ หรือในฐานะของผู้ถือหุ้น (ยิ่งกลัวเข้าไปใหญ่ครับ ฮ่าๆ) แต่คำถามที่ตามมาหลังจากนั้นคือเรื่องของ วัตถุประสงค์ของผู้จัดทำคลิปและข้อเท็จจริงที่นำเสนอครับ ไม่แน่ใจว่ามีข้อมูลในเชิงปฐมภูมิหรืองานวิจัยรองรับมากน้อยแค่ไหนครับ

ในส่วนคุณภาพของงาน animation ต้องบอกว่าไม่ธรรมดาครับ ดูเพลิน น่าติดตามทีเดียว ทำให้คลิปความยาวกว่า 10 นาทีดูได้ไม่น่าเบื่อเลย แว่บแรกที่ดูก็รู้สึกคล้อยตามครับ และคิดในใจว่าสงสัยคงต้องเลิกกินซะแล้ว.. (ก่อนจะคิดได้ว่า Fact ในคลิปยังไม่ชัดเจนมากนัก) ซึ่งเชื่อว่าผู้บริโภคโดยทั่วไปจะรู้สึกคล้อยตามวัตถุประสงค์ของคลิปที่ต้องการ 1.ทวงความยุติธรรมให้กับ อาหาร/เกษตรกร 2.แชร์คลิปนี้ต่ออกไปให้มากที่สุด ซึ่งเป็นปัจจัยลบในระยะสั้นที่น่ากลัวมากสำหรับบริษัทในเครือ CP ครับ

ปล. คลิปนี้ไม่ใช่ตัวเต็มนะครับ แต่เหมือนกับทางผู้จัดทำไม่ได้โพสตัวเต็มตามกำหนดการซึ่งก็คือ 2 ทุ่มวันนี้ครับ ลองติดตามต่อได้ที่เพจของผู้จัดทำครับ https://www.facebook.com/unfairfood
ปล. 2 ขอแก้ต่างให้กับ CPF ด้วยลิงค์นี้ครับ http://www.cpfworldwide.com/cpd/th/page ... afety.aspx (ขอขอบคุณ คุณ TLSS ที่ได้โพสลิงค์ไว้ในห้อง CPF ครับ)
ปล. 3 คอมเม้นของผมอาจมี bias นะครับ แต่เป็นอีก 1 มุมมองที่เห็นต่าง อยากให้พิจารณาดูครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ตอบในฐานะผู้บริโภคนะครับ อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะครับ
โดยปกติแล้ว พอจะทราบว่าไก่ของทาง CP ใช้ยาปฎิชีวนะสูง ฮอร์โมนสูง อยู่แล้วครับ
ปกติจะหลีกเลี่ยง และคนกลุ่มที่พอมีฐานะ ที่รู้จัก ส่วนใหญ่ก็หลีกเลี่ยงสินค้า CP อยู่แล้วครับ
ส่วนใหญ่จะหันไปซื้อ S-Pure แทน

เนื่องจากเป็นกลุ่มกำลังซื้อสูง ราคาสูงเท่าไหร่ เค้าไม่มีปัญหาครับ
ส่วนเวลาไปร้านอาหาร ถ้ารู้ว่าทางร้านใช้ไก่จาก CP จะมองภาพลักษณ์ร้านนั้นๆต่ำลงทันที
และถ้าไม่จำเป็นที่จะต้องทานจริงๆ ก็จะหลี่กเลี่ยงร้านนั้นๆไปเลย
แล้วก็เท่าที่รู้ ร้านอาหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ไม่ใช้ไก่ CP ครับ มักจะใช้ S-Pure

แต่คนที่คิดแบบนี้ ไม่ใช่กลุ่มใหญ่นะครับ เพราะ Lifestype แบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายจะสูงมาก
แต่เห็นกันมาก ในกลุ่มผู้ใส่ใจสุขภาพ ที่กำลังซื้อสูงครับ

ซึ่งคนส่วนใหญ่ในประเทศเรา คงไม่พร้อมที่จะซื้อความปลอดภัยในระดับนั้นได้
ddoo7
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 343
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เรื่องการทำเกษตรแบบอุตสาหกรรมและชาวบ้าน
มีถกเถียงมายาวนาน สารคดีอย่างบีบีซีก็ออกมาเยอะ ที่มาเกี่ยวกับเราก็ตรงที่เราเป็นนักลงทุนด้วย
การกินของเรา ผมว่าเรายอมรับกันและมองตรงกันว่า เกษตรแบบฟาร์มอุตสาหกรรมไม่ค่อยดี ก็รับมือด้วยการกินข้าวประกอบที่บ้าน ซื้อผักผลไม้ที่ชาวบ้านปลูก ที่เป็นที่เชื่อถือมากคงเป็นของโครงการหลวง ที่ทำใจไม่ค่อยได้คือของที่ชาวบ้านปลูกขายราคาต่ำมาก พอพืชผักผลไม้ติดสติกเกอร์เกษตรอินทรีย์ ปลอดพิษขึ้นห้างก็ราคาแพงเว่อ..จนจดไม่ติด แต่ถ้าลองหาที่ซื้อประจำก็พอมีนะ. จะทุ่นไปเยอะ
ส่วนในบทบาทของนักลงทุนคงต้องเลือกว่าจะกำหนดบทบาทตัวเอง จะทำอย่างไรหลังจากรับทราบและพิจารณารอบด้านแล้ว อย่างท่านดร ไพบูลย์ ท่านก็ตัดไปเลย มีหุ้น บริษัท กว่า500หรือไปต่างประเทศก็ได้ครับ ชีวิตมีทางเลือกเสมอ
iamtherang
Verified User
โพสต์: 337
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ตะก่อนชื่นชมบริษัทนี้นะครับ เพราะเห็นว่าเป็นมิตรกับเกษตรกรและทำให้เกษตรมีความเป็นอยู่ที่ดี พอได้ดูคลิปนี้ถึงเข้าใจว่าเกษตรกร ไม่ได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจริง แต่ดูแล้วก็ไม่ได้เชื่อเลยนะครับ ก็ลองถามพี่แม่บ้านของผมดู แกอยู่จังหวัดเลยครับ ที่บ้านแกเลี้ยงหมูด้วย แกบอกว่าถ้า...ไปลงเมื่อไหร่เกษตรกรแถวนั้นก็จบครับ เนื่องจากมีต้นทุนที่สู้กันไม่ได้เลย บอกตามตรงครับเสียความรู้สึกมากๆ ตอนแรกตัดสินใจว่าจะซื้อหุ้นขอบริษัทเนื่องจากเป็นบริษัทที่มีอนาคต
ดี แต่ตอนนี้ไม่แล้วครับ มันรู้สึกขัดใจตัวเอง ที่จะรู้ว่าบริษัทของตัวเองเป็นส่วนนึงที่เอาเปรียบเกษตรกร และทำร้ายสุขภาพของประชาชนในประเทศครับ

ถ้าความเห็นขัดใจท่านใด ก็ต้องขอโทษด้วยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
canuseeme
Verified User
โพสต์: 302
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

http://pantip.com/topic/30805667

มีคนตอบไปแล้ว :B :B :B
ปัญญาไม่มีในผู้ไม่พิจารณา

There is no fate but what we make

https://www.facebook.com/pages/คัดหุ้นซวย
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ความเห็นผมอาจมีไบแอสอยู่ระดับหนึ่งเพราะถือหุ้นในเครือนี้ แต่ตัวผมเองผมมักเลือกซื้ออาหารและเนื้อสัตว์ที่มีมาตรฐานที่ได้รับการรับรอง ระบบรักษาคุณภาพของบริษัทอย่าง CPF นั้นผมค่อนข้างเชื่อถือ ในขณะที่คุณภาพอาหารของบริษัทเล็กๆนั้นผมแทบไม่สามารถตรวจสอบได้เลย และหลายๆครั้งเราก็พบการเจือปนสารพิษมาจากเจ้าเล็กๆนี้

ลักษณะผู้บริโภคไทยโดยรวมอาจไม่ได้มองที่มาตรฐานหรือตัวเลข แต่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวกันมากกว่า ความรู้สึกที่ว่าเรากำลังถูกนายทุน "โกง" นั้นเป็นความรู้สึกลึกๆของสังคมไทย ที่เกิดกับทุกธุรกิจไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน สื่อสาร อาหาร อุปโภคบริโภค หรือค้าปลีก แม้หลายๆครั้งมันไม่เป็นจริง เป็นแค่คำกล่าวหาลอยๆ

ผมคิดว่าเรื่องนี้แม้จะมีหลายคนเชื่อข้อมูลในคลิป แต่ธุรกิจก็น่าจะไปได้ระดับหนึ่ง เช่นเดียวกับที่ PTT, AIS, CPALL, SPI และบริษัทอื่นๆอยู่รอดเป็นอันดับหนึ่งได้แม้มีข่าวไม่ดีมาเป็นพักๆ

ในทางกลับกัน มีกรณีศึกษาที่ KFC ในอินเดียถึงกับต้องปิดกิจการเพราะมี NGO มาประโคมข่าวว่า KFC ทรมาณไก่ แม้จะไม่เป็นจริงแต่ก็ทำให้ KFC เลิกทำกิจการในอินเดียไปหลายปี ขณะที่ Tyson ซึ่งเป็นบริษัทที่ขายเนื้อไก่ให้ KFC ยังดำเนินธุรกิจอยู่ได้

ผมแค่หวังว่าสังคมไทยเราจะไม่ตกเป็นเหยื่อของข้อมูลที่ไม่ชัดเจน อย่างที่เกิดกับประเทศเพื่อนบ้าน
Vi IMrovised
วรันศ์ บัฟเฟต
Verified User
โพสต์: 1679
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผมกินอาหารไมโครเวฟเซเว่นเกือบทุกวันเกือบทุกมื้อ โดยเฉพาะเมนูไก่ เป็นเวลาประมาณ 3-4 ปีแล้ว :'O :'O
value trap
รูปภาพ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ในคลิปดูง่าย สื่อสารให้ชาวบ้านดูพอจะรู้เรื่องว่าต้องการสื่ออะไร

แต่ที่ขาดไปอย่างมาก คือ ข้อมูล งานวิจัยที่สรุปผลได้อย่างที่คลิปต้องการสื่อ ซึ่งนักลงทุนแนวเน้นคุณค่าควรจะคำนึง

การขาดข้อมูลส่วนนี้ไป ทำให้อาจจะเป็นการคิดเอง เออเอง โยงประเด็นต่างๆเอง ก็เป็นได้

ถ้าข้อสรุปในคลิปไม่ใช่เรื่องจริง ผลกระทบต่อบุคคลอื่น ใครจะรับผิดชอบ ในเมื่อคนผลิตคลิปยังไม่กล้าเปิดเผยตัว
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
dr1
Verified User
โพสต์: 874
ผู้ติดตาม: 1

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

อีกหน่อยคงไม่ต้องกังวลเรื่องสารเคมีตกค้างแล้วครับ
เพราะคง"เลี้ยง"ชิ้นเนื้อจากห้องทดลองเลย ไม่ต้องสร้างฟาร์ม
(ตอนนี้เลี้ยงออกมาเป็นแผ่นเบอร์เกอร์ได้แล้ว)

ผมว่าเทคโนโลยีเพื่อเพิ่ม"ปริมาณ"อาหาร
จากการเอาชนะเชื้อโรค ด้วยเคมี กำลังเปลี่ยนเป็นตัดต่อยีนส์
เพื่อให้ใด้ลักษณะที่ต้องการ เช่น ไก่สิบปีก สิบขา วัวนมยี่สิบเต้า
ไม่ต้องให้เคมีเพราะมียีนส์"ยาฆ่าเชื้อ"อยู่ในตัวแล้ว

ขออภัยที่เพ้อเจ้อครับ
samatah
vicompiler
Verified User
โพสต์: 21
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

dr1 เขียน:อีกหน่อยคงไม่ต้องกังวลเรื่องสารเคมีตกค้างแล้วครับ
เพราะคง"เลี้ยง"ชิ้นเนื้อจากห้องทดลองเลย ไม่ต้องสร้างฟาร์ม
(ตอนนี้เลี้ยงออกมาเป็นแผ่นเบอร์เกอร์ได้แล้ว)

ผมว่าเทคโนโลยีเพื่อเพิ่ม"ปริมาณ"อาหาร
จากการเอาชนะเชื้อโรค ด้วยเคมี กำลังเปลี่ยนเป็นตัดต่อยีนส์
เพื่อให้ใด้ลักษณะที่ต้องการ เช่น ไก่สิบปีก สิบขา วัวนมยี่สิบเต้า
ไม่ต้องให้เคมีเพราะมียีนส์"ยาฆ่าเชื้อ"อยู่ในตัวแล้ว

ขออภัยที่เพ้อเจ้อครับ
ผมว่าไม่เพ้อเจ้อนะ โอกาสจะทำไก่สิบปีกน่าจะเป็นไปได้มาก ดีไม่ดีตอนนี้อาจทำแล้วแต่เราไม่รู้ก็ได้
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4254
ผู้ติดตาม: 1

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

เอาประสบการณ์ตรงๆ ในฐานะ ผู้บริโภค นะครับ

1. หมูเมืองไทย ต้มไม่เปื่อยแข็ง มีเนื้อแดงมาก มันน้อย. ไม่อร่อย
ไปกินหมูเมืองจีน มันแยะเนื้อนุ่ม เหมือนกับหมูสมัยที่ผมกินตอนเด็กเมื่อสามสิบปีก่อน
อร่อยมากๆ.

2. เด็กหลายคนเป็นหนุ่มสาวเร็วผิดปกติ. ส่วนมากกินไก่ทอดเยอะ จะหยุดสูงเร็ว
ใครมีญาติเป็นแบบนี้ ต้องรีบไปพบแพทย์ครับ

ตอนพยายามซื้อหมูของอีกเครือข่ายหนึ่ง. ดีกว่าทั่วไป คือเนื้อสีชมพูซีดๆ หน่อย
นุ่มกว่า เปื่อยกว่า และอร่อยกว่า ถึงไม่เหมือนของเดิมๆ. แต่ก็ดีกว่าครับ ส่วนไก่
ก็เหมือนกัน. เจ้านี้พอยอมรับได้. ครับ. แต่ยังก็ไม่มีทางสู้แบบเลี้ยงธรรมชาติ
เป็นทางเลือกของผู้บริโภค เพราะราคาเท่ากับตลาดทั่วๆ ไปเลยครับ ...

ปัจจุบันเมืองไทย มีคนเป็นมะเร็งจำนวนมาก ปีๆ หนึ่ง ต้องเสียเงินรักษากันมากมาย

บ้านเราผู้ผลิตส่วนมาก 99% ครับ ทุกวงการ ผมกล้ายืนยัน แม้กระทั่งบริษัทฯ ใหญ่ที่คุณคิดว่าคุณธรรม
สูง. ไม่เคยคำนึงถึงผู้บริโภคสุดท้าย คนที่จ่ายเงินที่แท้จริง แต่ไม่สามารถบอกได้ นะครับไม่ต้องถาม
ผมเป็น1% ที่เหลือ เลยสู้ไม่ได้ ต้องขายกิจการ เจ้าของใหม่มา ก็จัดการเลยครับ เขาถึงมีกำไร ... สงสาร
แต่คนที่เป็นคนจ่ายเงินสุดท้าย (ผู้บริโภคตัวจริง)
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ก่อนจะซื้ออะไร ดูฉลากด้านหลังก่อนนะครับ ผมเจอมาหมดแล้ว ทั้งประเภทส่วนประกอบไม่ตรงกับที่เขียนที่ซอง ของหมดอายุ เจอในร้านที่ไม่คิดว่าจะมีของพวกนี้หลุดออกมา บางทีก็ต้องไปบอกพนักงานให้เค้ารีบเอาออกไป โดยเฉพาะของใกล้หมดอายุที่มักจะเอามาลดราคาครับ บางทีเป็นขนมกินเล่น คนซื้อไปก็ไม่รู้และก็ไม่ได้กินทันที ยิ่งพวกระบุเป็นเนื้ออย่างหนึ่งแต่ส่วนประกอบจริง ๆ มีอีกแบบก็เคยเจอไม่ใช่แค่ในข่าวที่เค้ายกตัวอย่าง อีกพวกที่เลี่ยงคำว่าใส่ผงชูรสหรือโมโนโซเดียมกลูตาเมตแต่จริง ๆ ใส่สารตัวอื่นก็มีให้เห็นบ่อย ๆ ครับ แล้วสินค้าที่ชอบอ้างอย.ก็โปรดเข้าใจด้วยครับว่าไม่ได้แปลว่าทุกล็อตจะรับรองความปลอดภัยได้นะคร้บ ที่ปลอมตราอย.ก็มากครับ พวกสินค้าที่โฆษณาเกินจริง โดยเฉพาะในสื่อเล็ก ๆ บางทีเราเคยสงสัยว่าทำไมไม่โดนจับหรือโดนตรวจสอบเพราะหน่วยงานราชการเค้าตามจับหรือตรวจสอบได้ไม่หมดครับ ที่สำคัญบางเรื่องต้องมีคนร้องไปก่อนครับ
เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อชื่ออาหาร แนะอ่านส่วนผสมอย่างละเอียด

เรียกร้องหน่วยงานรัฐตรวจสอบหามาตรการควบคุม จี้ผู้ประกอบการแสดงข้อมูลฉลากชัดเจน

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชนได้ร่วมกับศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยผลการทดสอบฉลากของอาหารพร้อมบริโภคชนิดแช่เย็นจากร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 76 ตัวอย่าง ทั้งเบอร์เกอร์ แซนด์วิช เกี๊ยว ติ่มซำ ไส้กรอก และลูกชิ้น ที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ทั้ง หมู ไก่ ปู กุ้ง และปลาหมึก โดยผลการอ่านฉลากอาหารพบว่า มีอาหารที่ฉลากแสดงชื่ออาหารได้อย่างเหมาะสมกับส่วนประกอบของอาหาร 29 ตัวอย่าง และมีอาหารจำนวน 47 รายการ (กว่า 2 ใน 3) ที่อาจจะเข้าข่ายการกระทำความผิดฐานการแสดงชื่ออาหารที่ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ เป็นเท็จ หลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อ หรือทำให้เข้าใจผิด จึงเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐดำเนินการตรวจสอบ และขอให้ผู้ประกอบการดำเนินการแสดงความรับผิดชอบโดยเรียกคืนสินค้าออกจากตลาด แลปรับปรุงฉลากให้ผู้บริโภคเข้าใจชัดเจน

นายพชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ได้ร่วมกับ ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการกรณีตรวจพบดีเอ็นเอของเนื้อม้าในเบอร์เกอร์ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่กลายเป็นประเด็นร้อนในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารเมื่อเดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคในไทยตื่นตัวแจ้งข้อมูลเรื่องฉลากอาหารที่มีส่วนผสมที่ทำให้ผู้บริโภคสับสนมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทางโครงการจึงได้ร่วมกับศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ทดสอบการแสดงชื่ออาหารและส่วนประกอบของอาหารประเภทพร้อมบริโภคชนิดแช่เย็นบนชั้นวางสินค้าของร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตกว่า 76 รายการ พบว่า โดยภาพรวมผู้ประกอบการมีการแสดงฉลากที่มีการระบุส่วนประกอบอย่างละเอียด บางรายมีการแสดงคำว่า “ผลิต” และ “หมดอายุ” เป็นภาษาไทยอย่างชัดเจนทำให้เข้าใจได้ง่าย โดยพบว่า29 รายการ ที่ฉลากแสดงชื่ออาหารได้อย่างเหมาะสมกับส่วนประกอบของอาหารที่มีอยู่บนฉลาก และพบว่าจำนวน 47 รายการ แสดงชื่ออาหารที่อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ โดยชื่ออาหารแจ้งว่าเป็นหมู กุ้ง ปู หรือ ปลาหมึก แต่กลับมีส่วนประกอบของเนื้ออื่น ในปริมาณที่ใกล้เคียงกับเนื้อที่ใช้เป็นส่วนประกอบหลัก ยกตัวอย่าง เช่น ข้าวเหนียวหมูย่าง ตราเดลี่ไทย ฉลากระบุส่วนประกอบของหมู 10.6% ขณะที่มีเนื้อไก่เป็นส่วนประกอบ 9.1%, เกี๊ยวกุ้ง ตรา เจด ดราก้อน ฉลากระบุส่วนประกอบของกุ้ง 31% และระบุเนื้อหมู 26%, ลูกชิ้นปลาหมึก ตรา แต้จิ๋ว ฉลากระบุ เนื้อปลา 58% มี ปลาหมึก 15 %, ขนมจีบกุ้ง Shrimp Shumai ตรา เทสโก้ ฉลากระบุว่า มีส่วนประกอบของ กุ้งและปลาบด (กุ้ง 39%, มันแกว 27% ปลาบด 10%) และเกี๊ยวซ่าญี่ปุ่นสำเร็จรูป ไส้หมูสาหร่าย ตรา โออิชิ เกี๊ยวซ่า ฉลากระบุว่า มีส่วนประกอบของ เนื้อหมูและเนื้อกุ้ง(เนื้อหมู 46%, แป้ง 32% ผัก(หอมใหญ่/ผักชี/แครอท) 12%, เนื้อกุ้ง 6%) ,เกี๊ยวซ่าญี่ปุ่น ไส้หมู ตรา สุรพลฟูดส์ Pork Gyoza ที่มีส่วนประกอบของเนื้อหมู และเนื้อไก่(ผัก 27.1%, แป้งเกี๊ยว 22.8 %,เนื้อหมู 21.3%,เนื้อไก่ 15.4 %)และลูกชิ้นหมูปิ้ง ตราเซเว่นเฟรช บายแฮปปี้เชพ ที่ระบุส่วนประกอบเพียงแค่เนื้อสัตว์ ขณะที่ชื่อระบุว่าเป็นลูกชิ้นหมูปิ้ง เป็นต้น นายพชร กล่าวต่อว่า แม้ผู้ประกอบการจะระบุส่วนประกอบไว้บนฉลากแล้วว่ามีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่กล่าวอ้างบนชื่ออาหาร แต่พฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็อาจจะตัดสินใจจากชื่ออาหารที่อยู่ด้านหน้าและชัดเจนบนผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการแสดงชื่ออาหารที่ถูกต้องสมควรจะต้องระบุให้ชัดเจน และครอบคลุมถึงส่วนประกอบหลักที่สำคัญทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการนำเนื้อสัตว์ต่างชนิดกันมาผสมกันและทำเป็นอาหาร ยกตัวอย่าง เช่น ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ที่มีส่วนประกอบของเนื้อไก่ ก็น่าจะระบุชื่ออาหารเป็นข้าวเหนียวหมูปิ้ง(ผสมไก่) หรือมีคำเตือนแสดงอยู่ในจุดที่เห็นได้ชัดเจนว่ามีการใช้เนื้อสัตว์อื่นมาผสม เช่น ไส้กรอกจูเนียร์ไก่ ตรา โชคุง-ดี เป็นต้น โดยการที่มีเนื้อสัตว์อื่นมาผสมโดยที่ผู้บริโภคไม่ได้สังเกตเห็นอาจจะก่อให้เกิดปัญหากับผู้บริโภคบางกลุ่มได้ เช่น ผู้บริโภคที่แพ้เนื้อไก่ เนื้อกุ้ง เนื้อปลา หรือมีปัญหาทางสุขภาพทำให้ไม่สามารถบริโภคเนื้อสัตว์บางประเภทได้ หากเผลอไปทานอาหารที่มีการผสมเนื้อนั้นโดยเข้าใจว่ามีเพียงเนื้อสัตว์ตามที่แจ้งหน้าซองเป็นส่วนประกอบก็อาจจะมีปัญหาได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องอ่อนไหวอย่างมากสำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้ ดังนั้น ถึงแม้ว่า ผู้ประกอบการจะแสดงชื่ออาหาร และ อย. อนุญาตให้แสดงชื่ออาหารดังที่เป็นอยู่ได้จริง ก็เป็นสิ่งที่ อย. และผู้ประกอบการควรต้องคำนึง และควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการแสดงชื่ออาหารเพื่อไม่ให้เกิดการสับสน ซึ่งเคยมีกรณีที่ อย.อนุญาตชื่อแบบหนึ่งและให้มีการเปลี่ยนแปลงการแสดงชื่อในภายหลังหรือไม่ คำตอบก็คือ เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เช่น ในกรณี “ปูอัด” ก่อนหน้านี้ ที่ว่า ส่วนประกอบคือเนื้อปลาบด แต่กลับอนุญาตชื่อปูอัดซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกับผู้บริโภคในวงกว้าง ทำให้ในภายหลัง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องเปลี่ยนการอนุญาตชื่ออาหารเป็นเนื้อปลาบดแทน รศ.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ฉลากอาหารควรระบุส่วนผสมให้ชัดเจนว่า อาหารมีส่วนผสมอะไรบ้าง เช่น หากในขนมจีบมีส่วนผสมของกุ้ง ก็ต้องใส่ว่ามีกุ้ง เพราะบางคนที่แพ้กุ้งก็จะได้ทราบและเลือกทานได้ ฉะนั้นฉลากจำเป็นต้องบอกระบุชัดเจนว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง หรืออย่างเช่นบางคนไม่ทานเนื้อวัว หรือเนื้อหมู แต่อาหารบางชนิดใส่เนื้อหมูเพื่อช่วยเรื่องสีหรือรสสัมผัสของอาหาร หากฉลากไม่ตรงตามข้อมูลก็จะเป็นการรุกรานสิทธิ์ของผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะรับทราบในสิ่งที่ตนเองรับประทาน ฉะนั้น การแสดงฉลากต้องชัดเจน คำแสดงบางคำบนฉลาก เช่นภาษาต่างชาติกับคำภาษาไทยต้องตรงกันเป็นต้น ผู้บริโภคต้องได้รับข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค นางจุรีรัตน์ ห่อเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า มีกฎหมายว่าด้วยเรื่องฉลาก ให้แสดงส่วนผสม และชื่ออาหารที่ปรากฏบนฉลากต้องแสดงไม่เป็นเท็จ กรณีตัวอย่างอาหารที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคสำรวจมานั้น ผู้ประกอบการใช้วัตถุดิบที่ไม่ตรงกับชื่อ การนำชื่ออาหารมาใช้บนฉลาก ต้องใส่ส่วนผสมนั้นจริง และมีปริมาณมากกว่า 10%ของส่วนผสมทั้งหมด และสัมพันธ์กับการแสดงส่วนผสมในฉลาก อย่างเช่น อาหาร ชื่อ แบอร์เกอร์หมูย่าง ที่แสดงส่วนผสม ข้าวเหนียว 67.7% เนื้อหมู 14%, เนื้อไก่ 12% เป็นการใช้ชื่ออาหารที่ไม่เหมาะสม เพราะเป็นเบอร์เกอร์หมูย่าง แต่มีไก่ผสมด้วย ส่วนตัวอย่างที่ทางมูลนิธิฯ นั้นสามารถส่งให้ อย.ตรวจสอบให้ได้ น.ส.กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ผู้จัดการโครงการกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า จากกรณีนี้จะเห็นถึงกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการภายใต้ระบบการผลิตอาหารแบบอุตสาหกรรม ว่า มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ อาหารปรุงสำเร็จ อาหารแปรรูปมีให้เลือกมากมายในท้องตลาด แต่ผู้บริโภคแทบไม่รู้เลยว่ากระบวนการผลิตเป็นอย่างไร ตอนนี้เราเจอว่าเรียกชื่อผลิตภัณฑ์อาหารว่าเป็นเนื้อสัตว์ชนิดหนึ่ง แต่เอาเข้าจริงตามระบุในฉลากกลับมีส่วนผสมเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ ด้วย ปรากฎการณ์เบอร์เกอร์มี DNA เนื้อม้าในประเทศอังกฤษน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่เตือนภัยให้เราได้ว่า เอาเข้าจริงส่วนผสมที่ระบุในฉลากก็อาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้เช่นกัน นายพชร แกล้วกล้า กล่าวว่า ทางกฎหมาย อาหารกลุ่มนี้จัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่อนุญาตให้ใช้ชื่ออาหารใด ๆ คือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โดยพิจารณาจากการแจ้งในเอกสารจดแจ้งจากผู้ประกอบการเมื่อขอขึ้นทะเบียนเลขสารบบอาหาร ซึ่งในแนวปฏิบัติทั่วไปการจดแจ้งจะกระทำ ณ จังหวัดที่มีแหล่งผลิตตั้งอยู่ โดยตามแนวทางในการยื่นจดแจ้งอาหาร ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องนำฉลากมายื่นด้วย จึงอาจเป็นจุดที่ทำให้เกิดกรณีดังกล่าวได้ ฉะนั้นในกรณีนี้ อย. ควรต้องกลับไปตรวจสอบ ณ สถานที่จดแจ้ง ว่าด้วยเหตุใดจึงได้มีการอนุญาตชื่ออาหารเช่นนี้ หากพบว่าเป็นปัญหาก็น่าที่จะดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค นายพชร กล่าวว่า อยากแนะนำให้ผู้บริโภคเลือกสินค้าที่มีชื่ออาหารและฉลากส่วนผสมอย่างรายละเอียดเหมาะสมกับการตั้งชื่ออาหารให้กับผู้บริโภคอย่างชัดเจนหรือเพียงพอต่อการตัดสินใจซื้อ ซึ่งจากการสำรวจมี 29 รายการ เช่น เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวไก่ทอดหาดใหญ่ ตรา เซเว่นเฟรช แสดงส่วนประกอบ ข้าวเหนียว 61.5%, เนื้อไก่ 22.5%, เครื่องปรุงรส 6.9%, เกี๊ยวกุ้งสองสไตล์ Duo Wanton ตรา สามสมุทร แสดงส่วนประกอบ เนื้อกุ้ง 70%, แผ่นแป้ง 27%, เครื่องปรุงรส 3%, มูส เดอ ฟัว (ตับหมูบดนึ่ง) ตราคาสิโน แสดงส่วนประกอบ ตับหมู 30%, ไขมัน 30%, หนังหมู 10%, …. ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ผู้บริโภคยอมรับได้ในปริมาณส่วนผสมที่มีชื่ออาหารเป็นหลัก ขณะเดียวกันจากข้อมูลการพบตัวอย่างจำนวนมากที่อาจจะมีปัญหาการแสดงฉลากอาหารในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นช่องโหว่ในระบบซึ่งทำให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น จึงขอเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาดำเนินการปรับปรุงระเบียบการขอขึ้นทะเบียนให้มีความรัดกุมโดยกำหนดให้การขออนุญาตต้องยื่นฉลากประกอบการขออนุญาตด้วย และเห็นว่าการลดการควบคุมในขั้นตอนก่อนการวางจำหน่าย (pre-marketing) และไปเพิ่มการกำกับดูแลในกระบวนการหลังจำหน่าย (post-marketing) ซึ่งคณะกรรมการอาหารได้มีมติมาแล้วเมื่อประมาณ 3 เดือนก่อน จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้อีก ดังนั้นจึงขอให้ อย. ในฐานะฝ่ายเลขาของคณะกรรมการอาหารได้เสนอให้ทบทวนมติ ดังกล่าวด้วย
"Become a risk taker, not a risk maker"
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

leky เขียน:ก่อนจะซื้ออะไร ดูฉลากด้านหลังก่อนนะครับ ผมเจอมาหมดแล้ว ทั้งประเภทส่วนประกอบไม่ตรงกับที่เขียนที่ซอง ของหมดอายุ เจอในร้านที่ไม่คิดว่าจะมีของพวกนี้หลุดออกมา บางทีก็ต้องไปบอกพนักงานให้เค้ารีบเอาออกไป โดยเฉพาะของใกล้หมดอายุที่มักจะเอามาลดราคาครับ บางทีเป็นขนมกินเล่น คนซื้อไปก็ไม่รู้และก็ไม่ได้กินทันที ยิ่งพวกระบุเป็นเนื้ออย่างหนึ่งแต่ส่วนประกอบจริง ๆ มีอีกแบบก็เคยเจอไม่ใช่แค่ในข่าวที่เค้ายกตัวอย่าง อีกพวกที่เลี่ยงคำว่าใส่ผงชูรสหรือโมโนโซเดียมกลูตาเมตแต่จริง ๆ ใส่สารตัวอื่นก็มีให้เห็นบ่อย ๆ ครับ แล้วสินค้าที่ชอบอ้างอย.ก็โปรดเข้าใจด้วยครับว่าไม่ได้แปลว่าทุกล็อตจะรับรองความปลอดภัยได้นะคร้บ ที่ปลอมตราอย.ก็มากครับ พวกสินค้าที่โฆษณาเกินจริง โดยเฉพาะในสื่อเล็ก ๆ บางทีเราเคยสงสัยว่าทำไมไม่โดนจับหรือโดนตรวจสอบเพราะหน่วยงานราชการเค้าตามจับหรือตรวจสอบได้ไม่หมดครับ ที่สำคัญบางเรื่องต้องมีคนร้องไปก่อนครับ
เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อชื่ออาหาร แนะอ่านส่วนผสมอย่างละเอียด

เรียกร้องหน่วยงานรัฐตรวจสอบหามาตรการควบคุม จี้ผู้ประกอบการแสดงข้อมูลฉลากชัดเจน

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชนได้ร่วมกับศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยผลการทดสอบฉลากของอาหารพร้อมบริโภคชนิดแช่เย็นจากร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 76 ตัวอย่าง ทั้งเบอร์เกอร์ แซนด์วิช เกี๊ยว ติ่มซำ ไส้กรอก และลูกชิ้น ที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ทั้ง หมู ไก่ ปู กุ้ง และปลาหมึก โดยผลการอ่านฉลากอาหารพบว่า มีอาหารที่ฉลากแสดงชื่ออาหารได้อย่างเหมาะสมกับส่วนประกอบของอาหาร 29 ตัวอย่าง และมีอาหารจำนวน 47 รายการ (กว่า 2 ใน 3) ที่อาจจะเข้าข่ายการกระทำความผิดฐานการแสดงชื่ออาหารที่ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ เป็นเท็จ หลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อ หรือทำให้เข้าใจผิด จึงเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐดำเนินการตรวจสอบ และขอให้ผู้ประกอบการดำเนินการแสดงความรับผิดชอบโดยเรียกคืนสินค้าออกจากตลาด แลปรับปรุงฉลากให้ผู้บริโภคเข้าใจชัดเจน

นายพชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งฯ ได้ร่วมกับ ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการกรณีตรวจพบดีเอ็นเอของเนื้อม้าในเบอร์เกอร์ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่กลายเป็นประเด็นร้อนในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารเมื่อเดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคในไทยตื่นตัวแจ้งข้อมูลเรื่องฉลากอาหารที่มีส่วนผสมที่ทำให้ผู้บริโภคสับสนมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทางโครงการจึงได้ร่วมกับศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ทดสอบการแสดงชื่ออาหารและส่วนประกอบของอาหารประเภทพร้อมบริโภคชนิดแช่เย็นบนชั้นวางสินค้าของร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตกว่า 76 รายการ พบว่า โดยภาพรวมผู้ประกอบการมีการแสดงฉลากที่มีการระบุส่วนประกอบอย่างละเอียด บางรายมีการแสดงคำว่า “ผลิต” และ “หมดอายุ” เป็นภาษาไทยอย่างชัดเจนทำให้เข้าใจได้ง่าย โดยพบว่า29 รายการ ที่ฉลากแสดงชื่ออาหารได้อย่างเหมาะสมกับส่วนประกอบของอาหารที่มีอยู่บนฉลาก และพบว่าจำนวน 47 รายการ แสดงชื่ออาหารที่อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ โดยชื่ออาหารแจ้งว่าเป็นหมู กุ้ง ปู หรือ ปลาหมึก แต่กลับมีส่วนประกอบของเนื้ออื่น ในปริมาณที่ใกล้เคียงกับเนื้อที่ใช้เป็นส่วนประกอบหลัก ยกตัวอย่าง เช่น ข้าวเหนียวหมูย่าง ตราเดลี่ไทย ฉลากระบุส่วนประกอบของหมู 10.6% ขณะที่มีเนื้อไก่เป็นส่วนประกอบ 9.1%, เกี๊ยวกุ้ง ตรา เจด ดราก้อน ฉลากระบุส่วนประกอบของกุ้ง 31% และระบุเนื้อหมู 26%, ลูกชิ้นปลาหมึก ตรา แต้จิ๋ว ฉลากระบุ เนื้อปลา 58% มี ปลาหมึก 15 %, ขนมจีบกุ้ง Shrimp Shumai ตรา เทสโก้ ฉลากระบุว่า มีส่วนประกอบของ กุ้งและปลาบด (กุ้ง 39%, มันแกว 27% ปลาบด 10%) และเกี๊ยวซ่าญี่ปุ่นสำเร็จรูป ไส้หมูสาหร่าย ตรา โออิชิ เกี๊ยวซ่า ฉลากระบุว่า มีส่วนประกอบของ เนื้อหมูและเนื้อกุ้ง(เนื้อหมู 46%, แป้ง 32% ผัก(หอมใหญ่/ผักชี/แครอท) 12%, เนื้อกุ้ง 6%) ,เกี๊ยวซ่าญี่ปุ่น ไส้หมู ตรา สุรพลฟูดส์ Pork Gyoza ที่มีส่วนประกอบของเนื้อหมู และเนื้อไก่(ผัก 27.1%, แป้งเกี๊ยว 22.8 %,เนื้อหมู 21.3%,เนื้อไก่ 15.4 %)และลูกชิ้นหมูปิ้ง ตราเซเว่นเฟรช บายแฮปปี้เชพ ที่ระบุส่วนประกอบเพียงแค่เนื้อสัตว์ ขณะที่ชื่อระบุว่าเป็นลูกชิ้นหมูปิ้ง เป็นต้น นายพชร กล่าวต่อว่า แม้ผู้ประกอบการจะระบุส่วนประกอบไว้บนฉลากแล้วว่ามีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่กล่าวอ้างบนชื่ออาหาร แต่พฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็อาจจะตัดสินใจจากชื่ออาหารที่อยู่ด้านหน้าและชัดเจนบนผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการแสดงชื่ออาหารที่ถูกต้องสมควรจะต้องระบุให้ชัดเจน และครอบคลุมถึงส่วนประกอบหลักที่สำคัญทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการนำเนื้อสัตว์ต่างชนิดกันมาผสมกันและทำเป็นอาหาร ยกตัวอย่าง เช่น ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ที่มีส่วนประกอบของเนื้อไก่ ก็น่าจะระบุชื่ออาหารเป็นข้าวเหนียวหมูปิ้ง(ผสมไก่) หรือมีคำเตือนแสดงอยู่ในจุดที่เห็นได้ชัดเจนว่ามีการใช้เนื้อสัตว์อื่นมาผสม เช่น ไส้กรอกจูเนียร์ไก่ ตรา โชคุง-ดี เป็นต้น โดยการที่มีเนื้อสัตว์อื่นมาผสมโดยที่ผู้บริโภคไม่ได้สังเกตเห็นอาจจะก่อให้เกิดปัญหากับผู้บริโภคบางกลุ่มได้ เช่น ผู้บริโภคที่แพ้เนื้อไก่ เนื้อกุ้ง เนื้อปลา หรือมีปัญหาทางสุขภาพทำให้ไม่สามารถบริโภคเนื้อสัตว์บางประเภทได้ หากเผลอไปทานอาหารที่มีการผสมเนื้อนั้นโดยเข้าใจว่ามีเพียงเนื้อสัตว์ตามที่แจ้งหน้าซองเป็นส่วนประกอบก็อาจจะมีปัญหาได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องอ่อนไหวอย่างมากสำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้ ดังนั้น ถึงแม้ว่า ผู้ประกอบการจะแสดงชื่ออาหาร และ อย. อนุญาตให้แสดงชื่ออาหารดังที่เป็นอยู่ได้จริง ก็เป็นสิ่งที่ อย. และผู้ประกอบการควรต้องคำนึง และควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการแสดงชื่ออาหารเพื่อไม่ให้เกิดการสับสน ซึ่งเคยมีกรณีที่ อย.อนุญาตชื่อแบบหนึ่งและให้มีการเปลี่ยนแปลงการแสดงชื่อในภายหลังหรือไม่ คำตอบก็คือ เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เช่น ในกรณี “ปูอัด” ก่อนหน้านี้ ที่ว่า ส่วนประกอบคือเนื้อปลาบด แต่กลับอนุญาตชื่อปูอัดซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกับผู้บริโภคในวงกว้าง ทำให้ในภายหลัง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องเปลี่ยนการอนุญาตชื่ออาหารเป็นเนื้อปลาบดแทน รศ.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ฉลากอาหารควรระบุส่วนผสมให้ชัดเจนว่า อาหารมีส่วนผสมอะไรบ้าง เช่น หากในขนมจีบมีส่วนผสมของกุ้ง ก็ต้องใส่ว่ามีกุ้ง เพราะบางคนที่แพ้กุ้งก็จะได้ทราบและเลือกทานได้ ฉะนั้นฉลากจำเป็นต้องบอกระบุชัดเจนว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง หรืออย่างเช่นบางคนไม่ทานเนื้อวัว หรือเนื้อหมู แต่อาหารบางชนิดใส่เนื้อหมูเพื่อช่วยเรื่องสีหรือรสสัมผัสของอาหาร หากฉลากไม่ตรงตามข้อมูลก็จะเป็นการรุกรานสิทธิ์ของผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะรับทราบในสิ่งที่ตนเองรับประทาน ฉะนั้น การแสดงฉลากต้องชัดเจน คำแสดงบางคำบนฉลาก เช่นภาษาต่างชาติกับคำภาษาไทยต้องตรงกันเป็นต้น ผู้บริโภคต้องได้รับข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค นางจุรีรัตน์ ห่อเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า มีกฎหมายว่าด้วยเรื่องฉลาก ให้แสดงส่วนผสม และชื่ออาหารที่ปรากฏบนฉลากต้องแสดงไม่เป็นเท็จ กรณีตัวอย่างอาหารที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคสำรวจมานั้น ผู้ประกอบการใช้วัตถุดิบที่ไม่ตรงกับชื่อ การนำชื่ออาหารมาใช้บนฉลาก ต้องใส่ส่วนผสมนั้นจริง และมีปริมาณมากกว่า 10%ของส่วนผสมทั้งหมด และสัมพันธ์กับการแสดงส่วนผสมในฉลาก อย่างเช่น อาหาร ชื่อ แบอร์เกอร์หมูย่าง ที่แสดงส่วนผสม ข้าวเหนียว 67.7% เนื้อหมู 14%, เนื้อไก่ 12% เป็นการใช้ชื่ออาหารที่ไม่เหมาะสม เพราะเป็นเบอร์เกอร์หมูย่าง แต่มีไก่ผสมด้วย ส่วนตัวอย่างที่ทางมูลนิธิฯ นั้นสามารถส่งให้ อย.ตรวจสอบให้ได้ น.ส.กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ผู้จัดการโครงการกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า จากกรณีนี้จะเห็นถึงกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการภายใต้ระบบการผลิตอาหารแบบอุตสาหกรรม ว่า มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ อาหารปรุงสำเร็จ อาหารแปรรูปมีให้เลือกมากมายในท้องตลาด แต่ผู้บริโภคแทบไม่รู้เลยว่ากระบวนการผลิตเป็นอย่างไร ตอนนี้เราเจอว่าเรียกชื่อผลิตภัณฑ์อาหารว่าเป็นเนื้อสัตว์ชนิดหนึ่ง แต่เอาเข้าจริงตามระบุในฉลากกลับมีส่วนผสมเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ ด้วย ปรากฎการณ์เบอร์เกอร์มี DNA เนื้อม้าในประเทศอังกฤษน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่เตือนภัยให้เราได้ว่า เอาเข้าจริงส่วนผสมที่ระบุในฉลากก็อาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้เช่นกัน นายพชร แกล้วกล้า กล่าวว่า ทางกฎหมาย อาหารกลุ่มนี้จัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่อนุญาตให้ใช้ชื่ออาหารใด ๆ คือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โดยพิจารณาจากการแจ้งในเอกสารจดแจ้งจากผู้ประกอบการเมื่อขอขึ้นทะเบียนเลขสารบบอาหาร ซึ่งในแนวปฏิบัติทั่วไปการจดแจ้งจะกระทำ ณ จังหวัดที่มีแหล่งผลิตตั้งอยู่ โดยตามแนวทางในการยื่นจดแจ้งอาหาร ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องนำฉลากมายื่นด้วย จึงอาจเป็นจุดที่ทำให้เกิดกรณีดังกล่าวได้ ฉะนั้นในกรณีนี้ อย. ควรต้องกลับไปตรวจสอบ ณ สถานที่จดแจ้ง ว่าด้วยเหตุใดจึงได้มีการอนุญาตชื่ออาหารเช่นนี้ หากพบว่าเป็นปัญหาก็น่าที่จะดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค นายพชร กล่าวว่า อยากแนะนำให้ผู้บริโภคเลือกสินค้าที่มีชื่ออาหารและฉลากส่วนผสมอย่างรายละเอียดเหมาะสมกับการตั้งชื่ออาหารให้กับผู้บริโภคอย่างชัดเจนหรือเพียงพอต่อการตัดสินใจซื้อ ซึ่งจากการสำรวจมี 29 รายการ เช่น เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวไก่ทอดหาดใหญ่ ตรา เซเว่นเฟรช แสดงส่วนประกอบ ข้าวเหนียว 61.5%, เนื้อไก่ 22.5%, เครื่องปรุงรส 6.9%, เกี๊ยวกุ้งสองสไตล์ Duo Wanton ตรา สามสมุทร แสดงส่วนประกอบ เนื้อกุ้ง 70%, แผ่นแป้ง 27%, เครื่องปรุงรส 3%, มูส เดอ ฟัว (ตับหมูบดนึ่ง) ตราคาสิโน แสดงส่วนประกอบ ตับหมู 30%, ไขมัน 30%, หนังหมู 10%, …. ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ผู้บริโภคยอมรับได้ในปริมาณส่วนผสมที่มีชื่ออาหารเป็นหลัก ขณะเดียวกันจากข้อมูลการพบตัวอย่างจำนวนมากที่อาจจะมีปัญหาการแสดงฉลากอาหารในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นช่องโหว่ในระบบซึ่งทำให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น จึงขอเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาดำเนินการปรับปรุงระเบียบการขอขึ้นทะเบียนให้มีความรัดกุมโดยกำหนดให้การขออนุญาตต้องยื่นฉลากประกอบการขออนุญาตด้วย และเห็นว่าการลดการควบคุมในขั้นตอนก่อนการวางจำหน่าย (pre-marketing) และไปเพิ่มการกำกับดูแลในกระบวนการหลังจำหน่าย (post-marketing) ซึ่งคณะกรรมการอาหารได้มีมติมาแล้วเมื่อประมาณ 3 เดือนก่อน จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้อีก ดังนั้นจึงขอให้ อย. ในฐานะฝ่ายเลขาของคณะกรรมการอาหารได้เสนอให้ทบทวนมติ ดังกล่าวด้วย
ที่มาของข่าวครับ http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B ... 2%E0%B8%94
"Become a risk taker, not a risk maker"
KimVi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 991
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

การดื้อยาปฏิชีวนะ ส่วนมากที่ก่อให้เกิดปัญหาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยซับซ้อนมากๆ นั้น เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมาก และมีความแรง ครอบคลุมเชื้ออย่างกว้างขวาง ทำให้เชื้อเกิดการคัดเลือกสายพันธ์ ส่วนที่เหลืออยู่ จะเป็นเชื้อที่ดื้อยา

สัดส่วนการดื้อยา จึงเกิดขึ้นมาก ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่สำคัญ เนื่องจาก เชื้อโรคในโรงพยาบาลจะมีความรุนแรงและดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายตัว หากผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาล (nosocomial infection)

การติดเชื้อจากภายนอกโรงพยาบาล (community-acquired) มักจะมีการดื้อยาน้อยกว่ามาก

การกินอาหารปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ แล้วทำให้เกิดการดื้อยารุนแรง จนทำให้เสียชีวิต ยังไม่เคยได้ยินนะครับ

และเข้าใจว่า ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในคนกับสัตว์นั้น น่าจะมีมาตรฐานการใช้ที่ไม่มาคาบเกี่ยวกันมากนัก หมายความว่า ที่ใช้ในคน ก็มักไม่มาใช้ในสัตว์ ที่ใช้ในสัตว์ก็มักไม่มาใช้ในคนมากนัก ครับ
"Look at market fluctuations as your friend rather than your enemy; profit from folly rather than participate in it." – Warren Buffett
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

chatchai เขียน:ในคลิปดูง่าย สื่อสารให้ชาวบ้านดูพอจะรู้เรื่องว่าต้องการสื่ออะไร

แต่ที่ขาดไปอย่างมาก คือ ข้อมูล งานวิจัยที่สรุปผลได้อย่างที่คลิปต้องการสื่อ ซึ่งนักลงทุนแนวเน้นคุณค่าควรจะคำนึง

การขาดข้อมูลส่วนนี้ไป ทำให้อาจจะเป็นการคิดเอง เออเอง โยงประเด็นต่างๆเอง ก็เป็นได้

ถ้าข้อสรุปในคลิปไม่ใช่เรื่องจริง ผลกระทบต่อบุคคลอื่น ใครจะรับผิดชอบ ในเมื่อคนผลิตคลิปยังไม่กล้าเปิดเผยตัว
คับ ขาดข้อมูลที่ชัดเจนอย่างมาก ต้องระวัง
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ผมชอบไก่ทอดKFCครับ กินกันทั้งบ้าน
Clipนี้ดีไม่ดีไม่รู้ครับ555
ภาพประจำตัวสมาชิก
todsapon
Verified User
โพสต์: 1137
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

แล้วจะให้ทำอย่างไรครับ เลี้ยงปลากินเอง ปลูกผักกินเอง อาหารที่ใช้เลี้ยงปลา ปุ๋ยที่ใช้ปลูกผักต้องเป็นชีวภาพทั้งหมด ทำแบบนี้ได้ไม่นานรับรองเงินเหลือจม สุขภาพดีด้วยแต่จะทำอย่างไรล่ะ
ผลตอบแทน 15% ต่อปีก็พอ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

เริ่มมีคนทำจริงๆนะครับ เรื่องปลูกผักผลไม้กินเอง
บ้านญาติ ที่พอมีบริเวณ ก็ปลูกผักง่ายๆกินเอง

หรือ ต่างประเทศ เทรนนี้ก็เริ่มมา หลังวิกฤติ กำลังซื้อคนน้อยลง ก็เริ่มมีการปลูกผักง่ายกินเอง
เพื่อประหยัดค่าใช้ง่าย เคยเห็นมีคนทำสกูปเรื่องนี้ด้วย
ภาพประจำตัวสมาชิก
kissme
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1311
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ผู้จัดทำ clip สงสัยจะงานเข้า cpf ชี้แจงทาง facebook แล้ว :B


ถึง เพื่อนๆ Fan Page "CPF" ที่น่ารักทุกคน

หลังจากที่่มี clip ว่าด้วยเรื่องรเกษตรอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นการสร้างเรื่องราวที่บิดเบือนข้อเท็จจริงและสร้างความเสียหายต่อภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของชาติ

ดังนี้ ทาง 9 สมาคมภาคปศุสัตว์ไทย จึงได้รวมตัวกันออกจดหมายเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงและเรียกร้องให้ทุกคนร่วมปกป้องอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ

จึงอยากขอความร่วมมือจากเพื่อนๆทุกคน ช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง ตามเอกสารที่แนบมานี้ ให้แก่เพื่อนๆคนอื่นๆได้รับทราบข้อเท็จจริงกันด้วยนะคะ

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือในการช่วยเผยแพร่จดหมายจากสมาคมฯของเพื่อนๆในครั้งนี้ จะสามารถช่วยระงับการเผยแพร่ clip ดังกล่าวได้

ขอขอบคุณสำหรับทุกๆความร่วมมือค่ะ
แนบไฟล์

ภาพประจำตัวสมาชิก
canuseeme
Verified User
โพสต์: 302
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ใจนึง ก็ อยากให้ CP หรือ สมาคมต่างๆที่ร่วมลงนามชี้แจงกับCP ข้างต้น
ฟ้องคนทำคลิป ให้หนัก

แต่อีกใจก็คิดว่า หรือจริงๆ เราควรมาเน้นเพิ่ม ความรู้ ความเข้าใจ ความเชือ กับคนในชาติเรากันแน่

เพราะเหตุการณ์แบบนี้คงมีมาเรื่อยๆ ต่างอะไรจากชาวบ้านทั่วไปแห่ไปบูชาวัว 5 ขา

สรุปใจที่แท้จริงกับบอกตัวเองว่า นี่คือมันโอกาส นี่นา อิอิ
ปัญญาไม่มีในผู้ไม่พิจารณา

There is no fate but what we make

https://www.facebook.com/pages/คัดหุ้นซวย
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

จริงๆแล้วการออกมาชี้แจงแล้วทำให้เรื่องเงียบ ดีที่สุดกับ CPF นะครับ
ถ้าฟ้องไป แล้วเกิดเป็นข่าวใหญ่โต ดีไม่ดีนักข่าวจะมาขุดคุ้ยเรื่องอื่นๆ จนเป็นเรื่องใหญ่โตได้
ทีนี้จะยาว

บริษัทใหญ่ๆทุกที่ ส่วนใหญ่ก็มีแผลที่ไม่อยากให้ถูกเปิดอยู่นะครับ
กาละมัง
Verified User
โพสต์: 1230
ผู้ติดตาม: 0

Re: คิดอย่างไรกับ Clip นี้ครับ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

chatchai เขียน:ในคลิปดูง่าย สื่อสารให้ชาวบ้านดูพอจะรู้เรื่องว่าต้องการสื่ออะไร

แต่ที่ขาดไปอย่างมาก คือ ข้อมูล งานวิจัยที่สรุปผลได้อย่างที่คลิปต้องการสื่อ ซึ่งนักลงทุนแนวเน้นคุณค่าควรจะคำนึง

การขาดข้อมูลส่วนนี้ไป ทำให้อาจจะเป็นการคิดเอง เออเอง โยงประเด็นต่างๆเอง ก็เป็นได้

ถ้าข้อสรุปในคลิปไม่ใช่เรื่องจริง ผลกระทบต่อบุคคลอื่น ใครจะรับผิดชอบ ในเมื่อคนผลิตคลิปยังไม่กล้าเปิดเผยตัว
เห็นด้วยกับ คุณ chatchai
วันนี้ บริษัทต่าง ๆ ผลิตสินค้า ต่างคำนึงถึงคำว่า คุณภาพสินค้า. มาตรฐานสินค้า
อย. มีการออกกฎเกณฑ์ เพื่อควบคุมมาตรฐาน
ยังไงผมเชื่อสินค้าที่ผลิตจาก บริษัทใหญ่ที่มี brand ที่เขาต้องใช้ความสำคัญมากกว่าเพียงคำว่ากำไร มากกว่าสินค้าจากชาวบ้านที่คุณไม่รู้มาตรฐานเลย
โพสต์โพสต์