ในยามเศรษฐกิจถดถอย บริษัททั้งหลายจะมีกำไรลดลง (ขาดทุน) นลท. จะทราบได้อย่างไรว่า? บริษัทมีปัญหาชั่วคราวหรือถาวร แน่นอนเราคงใช้กำไร EPS หรือ Growth มาวิเคราะห์ไม่ได้ในกรณีนั้น แต่ผมมีข้อสังเกตดังนี้
จากที่ผมพยายามศึกษาด้วยตัวเองโดยใช้ข้อมูลย้อนหลังของหลายบริษัท หากจะเริ่มสงสัยว่าบริษัทใดจะประสบภาวะชั่วคราวหรือถาวรนั้นมีพฤติกรรมดังนี้
1. รายได้ไม่ลด และเพิ่มขึ้น (Year on Year) มาร์จิ้นลดลงแต่ทรงตัวในระดับสูง แม้ว่ากำไรลดลงผมสังเกตว่านี่เป็นส่วนนึงของพฤติกรรมของบริษัทบางบริษัทที่ประสบปัญหาชั่วคราว จากการผันผวนของเศรษฐกิจภาพใหญ่ หรือเกิดจากการเติบโตซึ่งอาจต้องยอมเจ็บตัวบ้างเพื่อให้ได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มและรองรับการโตในอนาคต
2. เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น แม้ว่าในบางปีบริษัทจะประสบปัญหาชั่วคราวกำไรลดลงแต่บริษัทที่แข็งแกร่งจะสามารถรักษาระดับเงินทุนหมุนเวียนให้สภาพคล่องไม่ขาดมือ ผมให้ความสำคัญกับ liquidity สูง (และอาจารย์ผมสอนว่าให้สนใจจุดนี้มากกว่ากำไร)
3. หนี้ลด ในบางปีของบริษัทที่แข็งแกร่งในช่วงที่ประสบปัญหาเค้าจะ conservative กับการใช้เงินกู้ ยอดเงินกู้ระยะยาวก็จะรักษาไว้ที่ระดับต่ำไม่นำบริษัทไปเสี่ยงรักษาต้นทุนเงินทุนต่ำ (WACC) ซึ่งจะเป็นการรักษาไว้ซึ่ง Moat ทางการเงิน ลองคิดดูหากเราขายก๊วยเตี๋ยวเหมือนกันขายไม่ค่อยออกเหมือนกันร้านที่กู้เงินมากับร้านที่ใช้เงินตัวเองใครจะหน้าเขียวก่อนกัน
เพิ่มเติมได้แนะนำได้นะครับอย่างน้อยก็ดีกว่าการดู EPS รายการสุดท้ายรายการเดียวแล้วโยน Bid/Offer เลย
ล้มแล้วลุก กับ ล้มแล้วคว่ำ ต่างกันอย่างไร?
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
ล้มแล้วลุก กับ ล้มแล้วคว่ำ ต่างกันอย่างไร?
โพสต์ที่ 1
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 667
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ล้มแล้วลุก กับ ล้มแล้วคว่ำ ต่างกันอย่างไร?
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณพี่ "Nevercry" ครับได้จุดสังเกตุที่ดีเพิ่มเติมเลยครับ...^^)
ของผมขอบอกจุดที่ผมใช้อีกจุดนึงซึ่งไม่ค่อยเห็นมีคนพูดถึงกันนะครับ
นั่นคือเรื่องของ "จุดคุ้มทุน" ครับ โดยเป็นการสังเกตุจุดคุ้มทุนของบริษัทว่าปกติ
ต้องทำยอดขายเท่าไรจึงจะเพียงพอต่อการหักต้นทุนขาย กับค่าบริหารแล้ว
ยังเหลือกำไรครับ ซึ่งเรื่องนี้ได้มาจากการอ่านหนังสือ "ร้านไหนกำไรมากกว่า" ครับ
สูตรคือ "ค่าใช้จ่ายด้านการบริหาร(ทั้งหมดที่ไม่ใช่ต้นทุนขาย) หารด้วย
อัตรากำไรขั้นต้น(กำไรขั้นต้น/ยอดขาย*100เป็น%)"
ซึ่งตรงจุดนี้ผมรู้มานานแล้ว แต่ไม่ได้นำมาใช้ จนเมื่องบ Q2 ที่ผ่านมาบริษัทที่ผมถือหุ้น
อยู่ยอดขายลดลงเพียง 2% แต่กำไรลดลงถึง 28%!!! พอมานั่งวิเคราะห์ดูว่าเพราะอะไร
จึงเจอว่าจุดคุ้มทุนนั้นเกิน 85% ของยอดขายครับ!!!! ผมจึงทำการ Cut Loss!!!
ออกไปทันที....^^)
ของผมขอบอกจุดที่ผมใช้อีกจุดนึงซึ่งไม่ค่อยเห็นมีคนพูดถึงกันนะครับ
นั่นคือเรื่องของ "จุดคุ้มทุน" ครับ โดยเป็นการสังเกตุจุดคุ้มทุนของบริษัทว่าปกติ
ต้องทำยอดขายเท่าไรจึงจะเพียงพอต่อการหักต้นทุนขาย กับค่าบริหารแล้ว
ยังเหลือกำไรครับ ซึ่งเรื่องนี้ได้มาจากการอ่านหนังสือ "ร้านไหนกำไรมากกว่า" ครับ
สูตรคือ "ค่าใช้จ่ายด้านการบริหาร(ทั้งหมดที่ไม่ใช่ต้นทุนขาย) หารด้วย
อัตรากำไรขั้นต้น(กำไรขั้นต้น/ยอดขาย*100เป็น%)"
ซึ่งตรงจุดนี้ผมรู้มานานแล้ว แต่ไม่ได้นำมาใช้ จนเมื่องบ Q2 ที่ผ่านมาบริษัทที่ผมถือหุ้น
อยู่ยอดขายลดลงเพียง 2% แต่กำไรลดลงถึง 28%!!! พอมานั่งวิเคราะห์ดูว่าเพราะอะไร
จึงเจอว่าจุดคุ้มทุนนั้นเกิน 85% ของยอดขายครับ!!!! ผมจึงทำการ Cut Loss!!!
ออกไปทันที....^^)