ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้น...
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้น...
โพสต์ที่ 1
ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้นทำรายย่อยเจ็บ
updated: 06 ก.ย. 2556 เวลา 14:04:26 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
นางสาวดวงมล จึงเสถียรทรัพย์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการหารือกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ถึงสถานการณ์การซื้อขายของบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (Prop Trade) หลังจากที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าบัญชีบริษัทหลักทรัพย์อาจมีการเอาเปรียบนักลงทุนรายย่อย หรือมีการซื้อขายที่ไม่เหมาะสม อาจสร้างความเสียหาย หรือเป็นการเอาเปรียบรายย่อย ทั้งนี้ ก.ล.ต. ไม่ได้นิ่งนอนใจ จึงได้มีการหารือกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ไปแล้ว เบื้องต้นทางสมาคมได้รับปากว่าจะหารือกับสมาชิกเพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสม ทั้งวงเงินการซื้อขาย รวมไปถึงการหมุนรอบของการซื้อขายว่าควรมีการกำหนดให้ชัดเจนหรือไม่ สมาคมได้รับปากว่าจะไปหารือกับบริษัทสมาชิกเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการกำกับดูแล เพื่อให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
"หลังจากเกิดกระแสข่าวแก๊ง 4 โมงเย็นบ้าง หรือมีการตั้งข้อสังเกตบัญชี บล. (บริษัทหลักทรัพย์) บ้าง เบื้องต้นได้มีการหารือร่วมกัน เกี่ยวกับแนวทางที่เหมาะสม อาจต้องมีการปรับเกณฑ์ เช่น เรื่องของการกำหนดวงเงินในการซื้อขาย โดยต้องพิจารณาว่าการกำหนดวงเงินการซื้อขายของบัญชี บริษัทหลักทรัพย์ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ จากปัจจุบันที่กำหนดอยู่ที่ระดับไม่เกิน 75% ของส่วนผู้ถือหุ้น" นางสาวดวงมลกล่าว
นายญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย กล่าวว่า สมาคมจะนัดหารือกับบริษัทสมาชิกภายในสัปดาห์หน้า เพื่อพิจารณาเกณฑ์การซื้อขายของบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ หลังจากที่ได้หารือกับสำนักงาน ก.ล.ต.ไปแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการรอข้อมูลจากสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อนำมาระดมความเห็นจากบริษัทสมาชิกต่อไป โดยต้องนำข้อมูลหารือร่วมกันว่ายังมีส่วนใดที่ไม่เหมาะสมและต้องปรับแก้ไขอะไรบ้าง ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุรายละเอียดในการหารือได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เกิดความผันผวนจนทำให้ดัชนีที่เคยขึ้นสูงแตะระดับ 1,600 จุดลงมาถึงระดับ 1,300 จุด ในปัจจุบันนั้น เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นกระบวนการของแก๊ง 4 โมงเย็นที่เข้ามาซื้อหรือขายหุ้นในช่วงก่อนปิดตลาด
ที่มา : นสพ.มติชน
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1378451296
updated: 06 ก.ย. 2556 เวลา 14:04:26 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
นางสาวดวงมล จึงเสถียรทรัพย์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการหารือกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ถึงสถานการณ์การซื้อขายของบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (Prop Trade) หลังจากที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าบัญชีบริษัทหลักทรัพย์อาจมีการเอาเปรียบนักลงทุนรายย่อย หรือมีการซื้อขายที่ไม่เหมาะสม อาจสร้างความเสียหาย หรือเป็นการเอาเปรียบรายย่อย ทั้งนี้ ก.ล.ต. ไม่ได้นิ่งนอนใจ จึงได้มีการหารือกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ไปแล้ว เบื้องต้นทางสมาคมได้รับปากว่าจะหารือกับสมาชิกเพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสม ทั้งวงเงินการซื้อขาย รวมไปถึงการหมุนรอบของการซื้อขายว่าควรมีการกำหนดให้ชัดเจนหรือไม่ สมาคมได้รับปากว่าจะไปหารือกับบริษัทสมาชิกเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการกำกับดูแล เพื่อให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
"หลังจากเกิดกระแสข่าวแก๊ง 4 โมงเย็นบ้าง หรือมีการตั้งข้อสังเกตบัญชี บล. (บริษัทหลักทรัพย์) บ้าง เบื้องต้นได้มีการหารือร่วมกัน เกี่ยวกับแนวทางที่เหมาะสม อาจต้องมีการปรับเกณฑ์ เช่น เรื่องของการกำหนดวงเงินในการซื้อขาย โดยต้องพิจารณาว่าการกำหนดวงเงินการซื้อขายของบัญชี บริษัทหลักทรัพย์ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ จากปัจจุบันที่กำหนดอยู่ที่ระดับไม่เกิน 75% ของส่วนผู้ถือหุ้น" นางสาวดวงมลกล่าว
นายญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย กล่าวว่า สมาคมจะนัดหารือกับบริษัทสมาชิกภายในสัปดาห์หน้า เพื่อพิจารณาเกณฑ์การซื้อขายของบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ หลังจากที่ได้หารือกับสำนักงาน ก.ล.ต.ไปแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการรอข้อมูลจากสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อนำมาระดมความเห็นจากบริษัทสมาชิกต่อไป โดยต้องนำข้อมูลหารือร่วมกันว่ายังมีส่วนใดที่ไม่เหมาะสมและต้องปรับแก้ไขอะไรบ้าง ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุรายละเอียดในการหารือได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เกิดความผันผวนจนทำให้ดัชนีที่เคยขึ้นสูงแตะระดับ 1,600 จุดลงมาถึงระดับ 1,300 จุด ในปัจจุบันนั้น เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นกระบวนการของแก๊ง 4 โมงเย็นที่เข้ามาซื้อหรือขายหุ้นในช่วงก่อนปิดตลาด
ที่มา : นสพ.มติชน
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1378451296
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 957
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้น...
โพสต์ที่ 3
เพราะข่าวนี้ด้วย หรือเปล่า นะ
วันนี้ดูยอดขายซื้อก็ไม่มากนัก แต่ Set ก็ขึ้นดีจังเลย
หรือว่า คนที่ short salesไว้ กำลังตามซื้อของคืนอยู่ด้วย
เลยเพิ่มแรงซื้อเข้าอีก
คิดไปเล่นๆ นะ ครับ ฮา ฮา
วันนี้ดูยอดขายซื้อก็ไม่มากนัก แต่ Set ก็ขึ้นดีจังเลย
หรือว่า คนที่ short salesไว้ กำลังตามซื้อของคืนอยู่ด้วย
เลยเพิ่มแรงซื้อเข้าอีก
คิดไปเล่นๆ นะ ครับ ฮา ฮา
-
- Verified User
- โพสต์: 334
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้น...
โพสต์ที่ 5
วิธีแก้ง่ายนิดเดียวครับ กลต.และตลาดหลักทรัพย์. รวมมือกันสกัดแก๊งค์สี่โมงเย็นไม่ให้ทุบหุ้น
โดนเลื่อนเวลาปิดตลาดขึ้นมาเป็น. 3 โมงครึ่ง รับรองแก๊งค์สี่โมงเย็นจะสลายตัวไปเองโดยอัตโนมัติ. 555
โดนเลื่อนเวลาปิดตลาดขึ้นมาเป็น. 3 โมงครึ่ง รับรองแก๊งค์สี่โมงเย็นจะสลายตัวไปเองโดยอัตโนมัติ. 555
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้น...
โพสต์ที่ 6
สกัดแก๊ง 4 โมงเย็นเหลว "ตลท."ชี้ไม่พบพฤติกรรมซื้อ-ขายผิดปกติ
วันที่ 07 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 16:45:15 น.
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีการดูแลการซื้อขายในบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.)(Prop Trade : พร็อพเทรด) อย่างต่อเนื่อง โดยยังไม่พบว่ามีความผิดปกติทั้งในส่วนพฤติกรรมการซื้อ-ขายและปริมาณการซื้อขายที่ยังไม่มาก อยู่ที่ประมาณ 7-12% ของมูลค่าการซื้อขายรวม อย่างไรก็ตาม ตลท.ได้กำชับบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ให้ความสำคัญกับกำแพง (Chinese Wall) ของการซื้อขายในบัญชี บล.
"อยากให้นักลงทุนเข้าใจว่าบัญชี บล.เป็นอีกหนึ่งธุรกิจ คนที่จะทำได้ต้องมีวงเงินมาค้ำประกัน ซึ่งมีต้นทุนจำนวนหนึ่ง อีกทั้งบัญชี บล.ในตลาดหุ้นไทยถือว่ายังเล็กมากหากเทียบกับตลาดขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐ" นายจรัมพรกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงาน ก่อนหน้านี้เกิดกระแสข่าวว่ามีแก๊ง 4 โมงเย็นที่เข้ามาเคลื่อนไหวในตลาดหุ้นผ่านบัญชี บล.เพื่อเอาเปรียบนักลงทุนรายย่อย
วันที่ 07 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลา 16:45:15 น.
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีการดูแลการซื้อขายในบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.)(Prop Trade : พร็อพเทรด) อย่างต่อเนื่อง โดยยังไม่พบว่ามีความผิดปกติทั้งในส่วนพฤติกรรมการซื้อ-ขายและปริมาณการซื้อขายที่ยังไม่มาก อยู่ที่ประมาณ 7-12% ของมูลค่าการซื้อขายรวม อย่างไรก็ตาม ตลท.ได้กำชับบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ให้ความสำคัญกับกำแพง (Chinese Wall) ของการซื้อขายในบัญชี บล.
"อยากให้นักลงทุนเข้าใจว่าบัญชี บล.เป็นอีกหนึ่งธุรกิจ คนที่จะทำได้ต้องมีวงเงินมาค้ำประกัน ซึ่งมีต้นทุนจำนวนหนึ่ง อีกทั้งบัญชี บล.ในตลาดหุ้นไทยถือว่ายังเล็กมากหากเทียบกับตลาดขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐ" นายจรัมพรกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงาน ก่อนหน้านี้เกิดกระแสข่าวว่ามีแก๊ง 4 โมงเย็นที่เข้ามาเคลื่อนไหวในตลาดหุ้นผ่านบัญชี บล.เพื่อเอาเปรียบนักลงทุนรายย่อย
Vi IMrovised
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้น...
โพสต์ที่ 7
การเงิน - การลงทุน
วันที่ 7 กันยายน 2556 13:00
'พร็อพ เทรด'ทิ้งหุ้นไทย 8 พันล้าน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
พอร์ตลงทุนโบรกขายหุ้นไทย 3 เดือน 8 พันล้านบาท โบรกแจงเหตุตลาดทรุดช่วงท้ายตลาดเกิดจากแรงเก็งกำไรของพอร์ตโบรกเกอร์
จากการสำรวจข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ในส่วนของการซื้อขายแยกรายกลุ่มนักลงทุนย้อนหลัง 3 เดือน (มิ.ย.-5 ก.ย.56) พบว่า บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (พร็อพ เทรด) มียอดขายสุทธิรวมอยู่ที่ 8.5 พันล้านบาท โดยเดือนมิ.ย.56 บัญชีบริษัทหลักทรัพย์มียอดขายสุทธิ 2.5 พันล้านบาท เดือนกรกฎาคม ซื้อ 1.6 พันล้านบาท เดือนสิงหาคม 5.54 พันล้านบาท และล่าสุด 5 ก.ย.56 มียอดขายสุทธิ 2.1 พันล้านบาท
แหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า จากสถิติ 3 เดือนที่ผ่านมา ในช่วงก่อนปิดตลาดเวลา 16.00 น.จะพบว่ามีแรงเทขายออกมาจากบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (Prop Trade) ของโบรกเกอร์บางแห่ง ขณะเดียวกันก็จะมีแรงขายของนักลงทุนที่นิยมการเก็งกำไร โดยเฉพาะนักลงทุนที่ซื้อขายในบัญชีหักกลบลบหนี้ในวันเดียว (net settlement) ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปลดลงแรง
"ปัจจุบันบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายนั้น จะมี 2 ลักษณะคือการซื้อขายแบบระยะยาว และรายวัน ซึ่งจะมีสัดส่วนแค่ไหนขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารพอร์ตลงทุนของแต่ละโบรกเกอร์ ส่วนนักลงทุน
ที่ซื้อขายในบัญชีเน็ทเซทเทิลเมนท์นั้น ก็เป็นตัวผสมโรงที่ทำให้กดดันช่วงท้ายตลาด ที่ผ่านมาพฤติกรรมเช่นนี้ก็จะเกิดขึ้นต่อเนื่อง แต่ล่าสุดเมื่อวอลุ่มในตลาดหุ้นลดลงก็ทำให้เห็นภาพความชัดเจนมากขึ้นด้วย" แหล่งข่าวกล่าว
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่าผลกระทบจากกระแสเงินทุนไหลออก เพราะผลจากความกังวลต่อการที่เฟดอาจปรับลดวงเงินการซื้อพันธบัตรในโครงการ QE และเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวกดดันมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์ในครึ่งปีหลังอ่อนแอกว่าคาด โดยปรับลดสมมุติฐานมูลค่าการซื้อขายฯ เฉลี่ยในครึ่งปีหลังเหลือ 3.7 หมื่นล้านบาท จากเดิมคาดไว้ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท ทำให้ปรับลดสมมติฐานมูลค่าการซื้อขายฯ เฉลี่ยทั้งปี 56 จากเดิมที่ 5.5 หมื่นล้านบาท เหลือ 4.9 หมื่นล้านบาท และปรับลดประมาณการมูลค่าซื้อขายฯ เฉลี่ยในปี 57 จากเดิม 5 หมื่นล้านบาท เหลือ 4 หมื่นล้านบาท
"จากผลกระทบข้างต้น ฝ่ายวิจัยปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 56 ลง 15% ที่ 1.24 พันล้านบาทเพิ่มขึ้น 67.9%จากงวดเดียวกันปีก่อน โดยคาดว่ากำไรสุทธิในครึ่งปีหลังจะลดลงถึง 65%จากงวดครึ่งแรกของปีนี้เหลือ 325 ล้านบาท"นักวิเคราะห์กล่าว
บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ระบุว่าหุ้นกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ มากกว่าปกติ โดยมูลค่าซื้อขายตลาดหลักทรัพย์เดือนสิงหาคม ลดลง 10.19%จากเดือนก่อน โดยบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด ได้แก่ บล.เมย์เแบงก์ อยู่ที่ 10.21% แต่มีปริมาณการซื้อขายลดลง 22.61% จากเดือนก่อน ทั้งนี้กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ สัดส่วนการซื้อขายสูงขึ้น จากเดิมอยู่ที่ 15% ในเดือน ก.ค. 56 ขึ้นมาที่ 17% ในเดือน ส.ค. 56 และถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมากรอบปีนี้ โดยถ้าเทียบกับเดือน ม.ค. 56 แล้วถือว่านักลงทุนกลุ่มนี้ปรับเพิ่มขึ้นมาประมาณ 7% ซึ่งเป็นสัดส่วนการเพิ่มขึ้นเท่ากันกับกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ โดย ณ สิ้นเดือน ส.ค. 56 มีสัดส่วนเท่ากับ 26%
ทั้งนี้ นักลงทุนที่มีการขายสุทธิได้แก่ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างประเทศ มีการขายสุทธิ โดย 8 เดือนปีนี้ นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิถึง 1.15 แสนล้านบาท สาเหตุสำคัญมาจากนักลงทุนต่างประเทศเทขายออกมา เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์สงครามในประเทศซีเรีย, ความไม่ชัดเจนของการยกเลิกนโยบายมาตรการ QE ของสหรัฐอเมริกาและความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทย เดือนส.ค.ลดลงสูงถึง 128.84 จุด
http://bit.ly/17Xgpve
วันที่ 7 กันยายน 2556 13:00
'พร็อพ เทรด'ทิ้งหุ้นไทย 8 พันล้าน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
พอร์ตลงทุนโบรกขายหุ้นไทย 3 เดือน 8 พันล้านบาท โบรกแจงเหตุตลาดทรุดช่วงท้ายตลาดเกิดจากแรงเก็งกำไรของพอร์ตโบรกเกอร์
จากการสำรวจข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ในส่วนของการซื้อขายแยกรายกลุ่มนักลงทุนย้อนหลัง 3 เดือน (มิ.ย.-5 ก.ย.56) พบว่า บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (พร็อพ เทรด) มียอดขายสุทธิรวมอยู่ที่ 8.5 พันล้านบาท โดยเดือนมิ.ย.56 บัญชีบริษัทหลักทรัพย์มียอดขายสุทธิ 2.5 พันล้านบาท เดือนกรกฎาคม ซื้อ 1.6 พันล้านบาท เดือนสิงหาคม 5.54 พันล้านบาท และล่าสุด 5 ก.ย.56 มียอดขายสุทธิ 2.1 พันล้านบาท
แหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า จากสถิติ 3 เดือนที่ผ่านมา ในช่วงก่อนปิดตลาดเวลา 16.00 น.จะพบว่ามีแรงเทขายออกมาจากบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (Prop Trade) ของโบรกเกอร์บางแห่ง ขณะเดียวกันก็จะมีแรงขายของนักลงทุนที่นิยมการเก็งกำไร โดยเฉพาะนักลงทุนที่ซื้อขายในบัญชีหักกลบลบหนี้ในวันเดียว (net settlement) ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปลดลงแรง
"ปัจจุบันบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายนั้น จะมี 2 ลักษณะคือการซื้อขายแบบระยะยาว และรายวัน ซึ่งจะมีสัดส่วนแค่ไหนขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารพอร์ตลงทุนของแต่ละโบรกเกอร์ ส่วนนักลงทุน
ที่ซื้อขายในบัญชีเน็ทเซทเทิลเมนท์นั้น ก็เป็นตัวผสมโรงที่ทำให้กดดันช่วงท้ายตลาด ที่ผ่านมาพฤติกรรมเช่นนี้ก็จะเกิดขึ้นต่อเนื่อง แต่ล่าสุดเมื่อวอลุ่มในตลาดหุ้นลดลงก็ทำให้เห็นภาพความชัดเจนมากขึ้นด้วย" แหล่งข่าวกล่าว
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่าผลกระทบจากกระแสเงินทุนไหลออก เพราะผลจากความกังวลต่อการที่เฟดอาจปรับลดวงเงินการซื้อพันธบัตรในโครงการ QE และเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวกดดันมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์ในครึ่งปีหลังอ่อนแอกว่าคาด โดยปรับลดสมมุติฐานมูลค่าการซื้อขายฯ เฉลี่ยในครึ่งปีหลังเหลือ 3.7 หมื่นล้านบาท จากเดิมคาดไว้ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท ทำให้ปรับลดสมมติฐานมูลค่าการซื้อขายฯ เฉลี่ยทั้งปี 56 จากเดิมที่ 5.5 หมื่นล้านบาท เหลือ 4.9 หมื่นล้านบาท และปรับลดประมาณการมูลค่าซื้อขายฯ เฉลี่ยในปี 57 จากเดิม 5 หมื่นล้านบาท เหลือ 4 หมื่นล้านบาท
"จากผลกระทบข้างต้น ฝ่ายวิจัยปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 56 ลง 15% ที่ 1.24 พันล้านบาทเพิ่มขึ้น 67.9%จากงวดเดียวกันปีก่อน โดยคาดว่ากำไรสุทธิในครึ่งปีหลังจะลดลงถึง 65%จากงวดครึ่งแรกของปีนี้เหลือ 325 ล้านบาท"นักวิเคราะห์กล่าว
บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ระบุว่าหุ้นกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ มากกว่าปกติ โดยมูลค่าซื้อขายตลาดหลักทรัพย์เดือนสิงหาคม ลดลง 10.19%จากเดือนก่อน โดยบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด ได้แก่ บล.เมย์เแบงก์ อยู่ที่ 10.21% แต่มีปริมาณการซื้อขายลดลง 22.61% จากเดือนก่อน ทั้งนี้กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ สัดส่วนการซื้อขายสูงขึ้น จากเดิมอยู่ที่ 15% ในเดือน ก.ค. 56 ขึ้นมาที่ 17% ในเดือน ส.ค. 56 และถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมากรอบปีนี้ โดยถ้าเทียบกับเดือน ม.ค. 56 แล้วถือว่านักลงทุนกลุ่มนี้ปรับเพิ่มขึ้นมาประมาณ 7% ซึ่งเป็นสัดส่วนการเพิ่มขึ้นเท่ากันกับกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ โดย ณ สิ้นเดือน ส.ค. 56 มีสัดส่วนเท่ากับ 26%
ทั้งนี้ นักลงทุนที่มีการขายสุทธิได้แก่ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างประเทศ มีการขายสุทธิ โดย 8 เดือนปีนี้ นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิถึง 1.15 แสนล้านบาท สาเหตุสำคัญมาจากนักลงทุนต่างประเทศเทขายออกมา เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์สงครามในประเทศซีเรีย, ความไม่ชัดเจนของการยกเลิกนโยบายมาตรการ QE ของสหรัฐอเมริกาและความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทย เดือนส.ค.ลดลงสูงถึง 128.84 จุด
http://bit.ly/17Xgpve
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้น...
โพสต์ที่ 8
prop trade เหมือนวอลุ่มเทียม สร้างภาพวอลุ่ม
เหมือนกับสมัยก่อน ลูกค้าบอกให้ขายหุ้นXXX
แต่มาร์เก็ตติ้ง ทำออเดอร์ผิดเคาะขายเป็นซื้อ
ก็ขายคืนในตลาดแบบไม่ได้ไม่เสียเลยพอท์ตโบรกเก้อร์
พอผิดก็โยนเข้าพอท์ต ฝ่ายดูแลพอท์ตก็บริหารกันไป
เหมือนกับสมัยก่อน ลูกค้าบอกให้ขายหุ้นXXX
แต่มาร์เก็ตติ้ง ทำออเดอร์ผิดเคาะขายเป็นซื้อ
ก็ขายคืนในตลาดแบบไม่ได้ไม่เสียเลยพอท์ตโบรกเก้อร์
พอผิดก็โยนเข้าพอท์ต ฝ่ายดูแลพอท์ตก็บริหารกันไป
-
- Verified User
- โพสต์: 314
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้น...
โพสต์ที่ 9
ล้วนเกิดจากความโลภและความกลัวของเราทั้งสิ้น เพียงแต่เราจะกล้ายยอมรับว่าผิดที่เราและยอมเปลี่ยนแปลง หรือเพียงหาว่าใครคนอื่นที่ผิด แล้วพยายามไปเปลี่ยนเขา (ซึ่งผมว่ามันยากกว่าข้อแรกเยอะในทางปฏิบัติ แต่อาจยอมรับได้ง่ายกว่าในทางจิตใจ)
Invincible MOS is knowing what you're doing
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้น...
โพสต์ที่ 11
กลต. เลิกใช้ความพยายามเถอะ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้น...
โพสต์ที่ 12
ตลาดหุ้นตามติดแก๊ง 4 โมงเย็น เชื่อแกว่งตามจิตวิทยา
updated: 11 ก.ย. 2556 เวลา 10:28:15 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ผู้สื่อข่าวรายงานภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 10 กันยายน ว่า ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนบวกต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ของสัปดาห์นี้ ซึ่งระหว่างวันตลาดหุ้นไทยผันผวน และมีแรงเทขายออกมาในช่วงท้ายตลาด ส่งผลให้ดัชนีปรับลดลงค่อนข้างแรงจากจุดสูงสุดในวันนี้ที่อยู่ในระดับ 1,413.98 จุด หรือเพิ่มขึ้น 29.66จุด มาปิดตลาดที่ 1,393.17 จุด เพิ่มขึ้น 8.66 จุด หรือเพิ่มขึ้น 0.64% มูลค่าการซื้อขาย 70,620.70 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 2,073.83 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 1,236.09 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศ ซื้อสุทธิ 3,527.09 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยในประเทศขายสุทธิ 6,837.01 ล้านบาท
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ค่อนข้างผันผวน ตามสถานการณ์ของสภาพคล่องในตลาดโลกที่ยังไม่แน่นอน และต้องติดตามการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่าจะประกาศอะไรออกมา ซึ่งการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นเกี่ยวกับสภาพคล่องเป็นหลัก ซึ่งการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยค่อนข้างเป็นไปในทิศทางแคบๆ และการเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นไทยในช่วง 1-2 วันนี้มาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่กลับมา ตามปัจจัยพื้นฐานของประเทศไทยที่แข็งแกร่ง
"ในช่วงที่ 3-4 เดือนที่ผ่านมา ตลท.ได้เข้าไปติดตามการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในช่วง 4 โมงเย็นที่จะมีการเคลื่อนไหวหวือหวา แต่ไม่พบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เพราะการซื้อขายในช่วง 4 โมงเย็นก็กระจายในหลายกลุ่มและไม่ได้เกี่ยวโยงกัน แต่ก็สร้างความผันผวนในตลาด ซึ่งความกังวลเรื่องการเคลื่อนไหวของตลาดในช่วง 4 โมงเย็นที่หวือหวาอาจจะรู้สึกไปเอง แต่ ตลท.ยังติดตามต่อเนื่อง เพื่อดูสิ่งผิดปกติต่อไป" นายจรัมพรกล่าว
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวบวกขึ้นเป็นไปตามทิศทางของตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชีย หลังจากคลายความกังวลเรื่องสงครามในซีเรียและตอบรับผลบวกของตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ออกมาดี ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของตลาดในภูมิภาคมีแนวโน้มที่ดี นักลงทุนต่างชาติจึงกลับเข้ามาซื้อในตลาดภูมิภาคมากขึ้น
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1378870121
updated: 11 ก.ย. 2556 เวลา 10:28:15 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ผู้สื่อข่าวรายงานภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 10 กันยายน ว่า ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนบวกต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ของสัปดาห์นี้ ซึ่งระหว่างวันตลาดหุ้นไทยผันผวน และมีแรงเทขายออกมาในช่วงท้ายตลาด ส่งผลให้ดัชนีปรับลดลงค่อนข้างแรงจากจุดสูงสุดในวันนี้ที่อยู่ในระดับ 1,413.98 จุด หรือเพิ่มขึ้น 29.66จุด มาปิดตลาดที่ 1,393.17 จุด เพิ่มขึ้น 8.66 จุด หรือเพิ่มขึ้น 0.64% มูลค่าการซื้อขาย 70,620.70 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 2,073.83 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 1,236.09 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศ ซื้อสุทธิ 3,527.09 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยในประเทศขายสุทธิ 6,837.01 ล้านบาท
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ค่อนข้างผันผวน ตามสถานการณ์ของสภาพคล่องในตลาดโลกที่ยังไม่แน่นอน และต้องติดตามการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่าจะประกาศอะไรออกมา ซึ่งการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นเกี่ยวกับสภาพคล่องเป็นหลัก ซึ่งการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยค่อนข้างเป็นไปในทิศทางแคบๆ และการเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นไทยในช่วง 1-2 วันนี้มาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่กลับมา ตามปัจจัยพื้นฐานของประเทศไทยที่แข็งแกร่ง
"ในช่วงที่ 3-4 เดือนที่ผ่านมา ตลท.ได้เข้าไปติดตามการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในช่วง 4 โมงเย็นที่จะมีการเคลื่อนไหวหวือหวา แต่ไม่พบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เพราะการซื้อขายในช่วง 4 โมงเย็นก็กระจายในหลายกลุ่มและไม่ได้เกี่ยวโยงกัน แต่ก็สร้างความผันผวนในตลาด ซึ่งความกังวลเรื่องการเคลื่อนไหวของตลาดในช่วง 4 โมงเย็นที่หวือหวาอาจจะรู้สึกไปเอง แต่ ตลท.ยังติดตามต่อเนื่อง เพื่อดูสิ่งผิดปกติต่อไป" นายจรัมพรกล่าว
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวบวกขึ้นเป็นไปตามทิศทางของตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชีย หลังจากคลายความกังวลเรื่องสงครามในซีเรียและตอบรับผลบวกของตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ออกมาดี ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของตลาดในภูมิภาคมีแนวโน้มที่ดี นักลงทุนต่างชาติจึงกลับเข้ามาซื้อในตลาดภูมิภาคมากขึ้น
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1378870121
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้น...
โพสต์ที่ 14
เลิกฟังและหวังพึ่งกลต.ไปนานมากแล้วครับ ถ้ากำลังจะตกหน้าผาเกาะไว้มือนึง แล้วสมมุติกลต. เป็นคนๆนึงอยู่ตรงนั้นพอดี นอกจากจะไม่ช่วยแล้วคงเอาตีนมาเหยียบมือซ้ำอีก
value trap
- นายมานะ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1167
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้น...
โพสต์ที่ 15
เจอแล้วแก๊ง4โมงเย็นที่แท้แห่ขายปิดบัญชีประจำวัน/สมาคมหลักทรัพย์เสนอคุมเข้มพอร์ตโบรเกอร์
วันพุธที่ 11 กันยายน 2013 เวลา 13:08 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : BIG STORIES พิมพ์
แฉแก๊ง 4 โมงเย็นที่แท้นักเก็งกำไรเล่นสั้นใน 1 วัน พบ 3 กลุ่มพฤติกรรมเข้าข่าย ทั้งนักลงทุน Net settlement หลัง8 เดือน โวลุ่ม1.49 ล้านล้าน กลุ่มพอร์ตบล. Prop trade ยังมีต่างชาติผสมโรง ด้านสมาคมบล. เตรียมออกกฎคุมพอร์ตโบรกเกอร์ จ่อเก็บค่าคอมมิสชัน พอร์ต Directional trading และซื้อขายเดย์เทรด ขณะที่"ก้องเกียรติ" โวยเอาอีกโบรกเกอร์ไม่พ้นตกเป็นแพะ
จากกรณีที่มีกระแสข่าวและวิพากษ์วิจารณ์ถึง"แก๊ง 4 โมงเย็น"กันสนั่นทั้งในสังคมออนไลน์ และโซเชียลเน็ตเวิร์ก อาทิ เฟซบุ๊ก พันทิป และเว็บบอร์ดสื่อธุรกิจชั้นนำ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ที่เข้ามาโพสต์ข้อความ เป็นนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนหน้าใหม่ ผนวกกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ระบุว่าได้มีการหารือกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (สมาคมบล.) ถึงสถานการณ์การซื้อขายของบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (Proprietary trade-Prop Trade) หลังจากมีการตั้งข้อสังเกตว่าบัญชีบล. อาจมีการเอาเปรียบนักลงทุนรายย่อย หรือมีการซื้อขายที่ไม่เหมาะสม
**"เล่นเนตฯ" ขาใหญ่แก๊ง 4 โมงเย็น
แหล่งข่าวจากวงการตลาดหุ้นเปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า"แก๊ง 4 โมงเย็น" ได้ยินกันมานานแล้ว ซึ่งไม่ใช่กลุ่มนักลงทุนที่สร้างราคาหรือปั่นหุ้น แต่เป็นนักลงทุนที่มีพฤติกรรมการลงทุนที่คล้ายๆกัน คือ ซื้อ-ขายเร็ว หรือเก็งกำไรนั่นเอง เช่น ต้องทยอยขายหุ้นออกให้ทันภายในวันเดียวโดยจะต้องเริ่มขายช่วง 4 โมงเย็น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนที่เล่นหุ้นแบบหักกลบค่าซื้อและค่าหุ้นตัวเดียวกันภายในวันเดียวกัน (Net settlement) และกลุ่มที่เป็นบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ หรือพอร์ตลงทุน หรือพร็อพเทรด (Prop trade)
โดยเฉพาะกลุ่มที่เล่นเนตฯ ซึ่งหากไม่ออก(ขายหุ้น)ช่วงเวลา 4 โมงเย็น ถ้าไม่ได้กำไร ก็อาจจะขาดทุนไปเลย เช่น นักลงทุนเล่นเนตฯในวงเงิน 20 ล้านบาท สามารถรับขาดทุนได้สูงสุด 1 ล้านบาท (คิดเป็น 1 % ของวงเงินที่เล่นหุ้น) ดังนั้นในแต่ละวันนักลงทุนเหล่านี้ต้องบริหารพอร์ต
***ถูกบีบ 4 โมงเย็นต้องขาย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในความเป็นจริงนักลงทุนที่เล่นเนตฯ คงไม่รอให้ราคาหุ้นปรับตัวลงถึง 5 % ก็ต้องขายออกมาก่อน โดยเมื่อถึง 4 โมงเย็น ทุกคนก็รู้แล้วว่าไปไม่รอด สุดท้ายก็ต้องแบ่งขายออกมา แม้ไม่อยากเป็นแก๊ง 4 โมงเย็นก็ต้องเป็นช่วยไม่ได้ และบางคนลุ้นนาทีสุดท้ายเพื่อวัดดวง ซึ่งทำได้ในช่วงตลาดขาขึ้น คือ ซื้อเช้าแล้วขายตอนตลาดปิด ( 17.00 น.) แต่หากเป็นตลาดขาลง ก็กลับกัน คือขาย หรือขายช็อตในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์(SBL)และเช้าในวันถัดไปก็ซื้อเพื่อปิดสถานะหรือการนำหุ้นที่ยืมมาคืน
***พอร์ตบล.ติดกลุ่ม
แหล่งข่าวรายเดียวกันยังกล่าวอีกว่า นักลงทุนอีกกลุ่มที่ถูกให้นิยามว่าเป็น"แก๊ง 4 โมงเย็น" คือ คือ พอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ ที่ในระยะหลังๆมีพฤติกรรมการลงทุนที่เข้าออกเร็ว เนื่องจากมีแรงจูงใจเรื่องค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารพอร์ต หลังช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีบริษัทหลักทรัพย์บางรายจ้างเจ้าหน้าที่การตลาดหรือมาร์เก็ตติ้งที่มีประสบการณ์มาบริหารพอร์ต
ตัวอย่างเช่น บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งให้วงเงินบริหาร 200 ล้านบาท แล้วตกลงผลตอบแทนจากการลงทุนกันในสัดส่วน 50 : 50 ของกำไรที่ได้รับ (พอร์ตบล.รับกำไร 50 % มาร์เก็ตติ้งที่บริหารพอร์ตรับกำไร 50 % ) ซึ่งถือเป็นการให้เป็นอินเซนทีฟกับมาร์เก็ตติ้งที่บริหารพอร์ต เป็นเหมือนโบนัสรายเดือน ซึ่งด้านมาร์เก็ตติ้งเองก็ดีเท่ากับลงทุนในหุ้นโดยที่ไม่ต้องมีการวางหลักประกัน และสิ้นเดือนก็จะมาหักในส่วนของกำไรกับขาดทุนก็แบ่งกันระหว่าง 2 ฝ่าย
***ลงทุนยาวสุดข้ามวัน-ต้นทุนต่ำ
แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า จากแรงจูงใจเรื่องการจ่ายผลตอบแทนที่จูงใจทำให้ช่วงหลังๆ เริ่มมีบรรดาบริษัทหลักทรัพย์ที่มีพอร์ตลงทุนมากขึ้น และลักษณะการลงทุนดังกล่าวจะเน้นลงทุนเร็ว หรือเน้นบริหารพอร์ตระยะสั้นๆมากขึ้น อีกทั้งได้ว่าจ้างมาร์เก็ตติ้งที่มีประสบการณ์เพื่อบริหารพอร์ตลงทุนเช่นกัน ทำให้ส่วนใหญ่ไม่นิยมถือลงทุนระยะยาว
ทั้งนี้พบว่าช่วงหลังพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์บางแห่งลงทุนยาวสุดแค่ข้ามวัน ซึ่งหากมีข่าวร้ายช่วงกลางคืน ช่วงเช้าก็ยอมออกก่อน(ขายหุ้น)จึงส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯปรับตัวลงแรง 20 จุด เป็นต้น นอกจากนี้ด้านต้นทุนของพอร์ตเทรดก็ยังได้เปรียบบัญชีทั่วไปคือจ่ายเพียง ล้านละ 78 บาท ขณะที่บัญชีของนักลงทุนทั่วไปมีต้นทุนล้านละ 2,578 บาท(คำนวณโดยอิงค่าคอมมิสชันที่ 0.25 % ของมูลค่าซื้อขาย )
นอกจากนี้พอร์ตเทรด(เก็งกำไร)ของบริษัทหลักทรัพย์ไม่ได้ลงทุนเฉพาะหุ้นอย่างเดียว แต่มีการลงทุนในตลาดอนุพันธ์หรือ ฟิวเจอร์ส การลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(DW) เป็นต้น จึงส่งผลให้ตลาดหุ้นเกิดความผันผวนได้
***ต่างชาติผสมโรง
นอกจากนักลงทุนเล่นเนตฯและพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ที่ถูกให้นิยามว่าเป็น"แก๊ง 4 โมงเย็น"แล้ว แหล่งข่าวยังตั้งข้อสังเกตว่า นักลงทุนต่างประเทศก็ติดกลุ่มนี้เช่นกัน เนื่องจากมีพอร์ตลงทุนหรือพร็อพเทรด และมีการซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือเทรดออนไลน์โดยมีการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จากระบบซื้อขายของผู้ลงทุนหรือ "DMA" (Direct Market Access)
"นักลงทุนต่างชาติกลุ่มนี้ได้วงเงินมาเพื่อบริหารพอร์ตเช่นกัน แต่เขาสามารถเลือกได้ว่าจะเทรดตลาดไหนไม่จำกัดเฉพาะตลาดหุ้นไทยเท่านั้น และมีการไล่หุ้น 3-4 ช่อง แต่คนเล่นหุ้นที่มีประสบการณ์ก็จะรู้ว่าเป็นพอร์ตต่างชาติ แต่มีบางคนไล่ตาม ซึ่งเมื่อต่างชาติมีกำไรเขาก็ต้องเทขาย และมีกำไร 2 เด้ง คือ กำไรจากค่าเงิน และกำไรจากตลาดหุ้น ส่วนนักลงทุนในประเทศที่ไล่ตาม(ซื้อหุ้นตาม)สุดท้ายก็ติดหุ้น
***คลอดแล้วกฎคุมพอร์ตบล.เก็งกำไร
สำหรับความคืบหน้าการออกกฎควบคุมบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบล.เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ" ว่าจากการหารือกับสมาชิกของสมาคมอย่างไม่เป็นทางการมีข้อสรุปเบื้องต้นที่จะเสนอต่อที่ประชุมสมาคมบล.ในวันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2556 อีกครั้ง โดยจะมีการออกกฎเกณฑ์เพื่อคุมพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ 2 เรื่อง คือ
1.การเสนอให้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์หรือค่าคอมมิสชัน สำหรับพอร์ตโบรกเกอร์ในส่วนที่เป็น Directional trading หรือที่เรียกว่าพอร์ตที่มีการซื้อขายระยะสั้นตามทิศทางตลาด ซึ่งรวมการซื้อขายระยะสั้นหรือเดย์เทรดด้วย ไม่รวมพอร์ตลงทุนระยะยาว หรือพอร์ตที่มีไว้สำหรับการป้องกันความเสี่ยงในการรองรับการออกผลิตภัณฑ์การลงทุน อาทิ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(DW) เป็นต้น
โดยค่าคอมมิสชันที่พอร์ตเก็งกำไรจะต้องจ่ายต้องไม่น้อยกว่าที่จัดเก็บจากลูกค้าสถาบัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความทัดเทียมกับนักลงทุนทั่วไปที่ต้องจ่ายค่าคอมมิสชันในการซื้อขายหุ้น
2. การจำกัดวงเงินเทรดของพอร์ตเทรดระยะสั้นจากเดิมให้ลงทุนได้ไม่เกิน 75 % ของส่วนผู้ถือหุ้น โดยคาดว่าลดลงเหลือไม่เกิน 50-60 % ของส่วนผู้ถือหุ้น เป็นต้น แม้ว่าที่ผ่านมาที่ระดับ 75 % ของส่วนผู้ถือหุ้นนั้นทางสมาคมบล.เห็นว่าเพียงพอแล้วก็ตาม ซึ่งแนวทางที่ 2 นี้ถึงแม้ว่าไม่ได้จำกัดที่มูลค่าการซื้อขายหรือโวลุ่มเทรดแต่ไปจำกัดที่วงเงินก็ตาม เนื่องจากการจำกัดที่โวลุ่มซื้อขายได้ถูกเก็บค่าคอมมิสชันไปแล้ว ซึ่งมีต้นทุนเหมือนๆกัน ก็เป็นการสะท้อนว่าหากพอร์ตเทรดมีโวลุ่มสูงก็จะถูกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่ม เป็นต้น
อย่างไรก็ตามนางภัทธีรา กล่าวย้ำว่า การที่บริษัทหลักทรัพย์มีพอร์ตเทรดก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย เนื่องจากยังช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดได้อีกทาง ส่วนกรณีที่พอร์ตเทรดอาจจะมีพฤติกรรมนอกลู่นอกทางนั้นคงเป็นหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ฯในการดำเนินการมากกว่า ซึ่งยอมรับว่าอาจจะมีบ้าง แต่หากลงลึกในรายละเอียด การบริหารพอร์ตระยะสั้นของบริษัทหลักทรัพย์ว่ามีการจ้างผู้บริหารพอร์ตฝีมือดีเพื่อมาลงทุนให้แล้วมีการแบ่งกำไรกันนั้นถือว่าเป็นข้อตกลงกันเองของสมาชิกกับผู้บริหารพอร์ต ทางสมาคมบล.คงไม่ได้ดูลึกในระดับนั้น
***"ก้องเกียรติ"โวยหาแพะ
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบล.เอเซีย พลัสฯ ยืนยันถึงกรณีที่ก.ล.ต. มีการคุมเข้มการลงทุนของบัญชีซื้อขายของพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ว่า ประเด็นนี้ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการซื้อขายของพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์กับการทำหน้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์ให้กับผู้ลงทุนเพราะถูกคุมเข้มจากทั้ง ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ฯที่เข้มงวดอยู่แล้ว
"ดัชนีร่วงตอนแรกก็ให้ต่างชาติเป็นแพะ สักพักให้กองทุนทริกเกอร์ฟันด์เป็นแพะ คราวนี้ก็ให้พอร์ตบริษัทหลักทรัพย์เป็นแพะ " นายก้องเกียรติ กล่าวและว่าสำหรับการขายหุ้นนั้น เมื่อระดับราคาหุ้นปรับขึ้นไปในระดับที่แพงก็จะต้องขายทำกำไรออกมา ถือเป็นเรื่องปกติของการลงทุน
**พิสูจน์ 4 โมงเย็นมาตามนัดจริง
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ"ได้สังเกตการณ์บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยวันที่ 10 กันยายน ที่ผ่านมา โดยจับตาการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่าเมื่อเวลา 15.48 น. ดัชนีปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 1,413.98 จุด เพิ่มขึ้น 29.67 จุด จากวันก่อนหน้าที่ดัชนีปิด 1,384.31 จุด หลังจากนั้นดัชนีก็ถูกกระชากลงลึกเวลา 16.15 น. โดยปรับลงต่ำสุด 1,384.47 จุด ก่อน และปรับขึ้นมาปิดตลาดที่ 1,393.17 จุด
ส่วนมูลค่าการซื้อขายนักลงทุนแยกประเภทในวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา แบ่งเป็นบัญชีนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 2.07 พันล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์หรือพอร์ตโบรกเกอร์ ซื้อสุทธิ 1.24 พันล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 3.53 พันล้านบาท ขณะที่บัญชีนักลงทุนบุคคล ขายสุทธิ 6.84 พันล้านบาท
***8 เดือนเล่นเนตฯ 16 % โวลุ่ม1.49 ล้านล.
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยมูลค่าการซื้อขายในบัญชีเนตเซตเทิลเมนต์ในรอบ 8 เดือน(ม.ค.-ส.ค.56) รวม 1.49 ล้านล้านบาท คิดเป็น 16.08 % ของมูลค่าการซื้อขายรวม 9.24 ล้านล้านบาท
ส่วนมูลค่าการซื้อขายรวมนักลงทุนแยกประเภท รอบ 8 เดือนเศษ (2ม.ค.-9ก.ย.56) แบ่งเป็นนักลงทุนสถาบันในประเทศ 1.56 ล้านล้านบาท ,บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ 2.38 ล้านล้านบาท,นักลงทุนต่างประเทศ 3.97 ล้านล้านบาท และนักลงทุนบุคคลในประเทศ 11.03 ล้านล้านบาท
' แก๊ง 4 โมงเย็น'คืออะไร
-เป็นนิยามที่นักลงทุนในตลาดหุ้น ใช้เรียกนักลงทุนที่มีพฤติกรรมการซื้อขายเร็ว
-มาตามนัดทุกครั้งช่วง 4 โมงเย็น จะตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นก่อนปิดตลาด 5 โมงเย็น โดยเป็นช่วงที่ประเมินหุ้นที่ลงทุนในวันนั้น ๆแล้วจะไปรอดหรือไม่รอด
*ใครบ้างที่มีพฤติกรรมเล่นหุ้นเร็ว เข้าข่ายฉายา"แก๊ง 4 โมงเย็น"
1.พวกที่ซื้อเช้าขายบ่าย เป็นนักลงทุนที่เล่นหุ้นในบัญชีเนตเซตเทิลเมนต์ หรือจับเสือมือเปล่า ที่ต้องขายหุ้นเพื่อหักกลบค่าซื้อค่าขายหุ้นตัวเดียวกันในวันเดียวกัน ซึ่งมีทั้งรายใหญ่ รายย่อย
2.บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ หรือProp Trade มี 2 ปัจจัยเอื้อให้(บางบริษัท)เน้นเก็งกำไรหุ้น
2.1.มีต้นทุนในการซื้อขายต่ำทำให้ได้เปรียบนักลงทุนทั่วไป ตัวอย่างเช่น พอร์ตบริษัทหลักทรัพย์มีต้นทุน 78 บาท ต่อการเทรดหุ้น 1 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนทั่วไปมีต้นทุน(ค่าคอมมิสชัน) 2,578 บาทต่อการเทรดหุ้น 1 ล้านบาท
2.2.ผลประโยชน์จูงใจ เนื่องจากระยะหลังบริษัทหลักทรัพย์(บางราย)จ้างมาร์เก็ตติ้งฝีมือดีบริหารพอร์ตและแบ่งผลประโยชน์กัน เช่น หากมีกำไรก็แบ่งกำไร 50 : 50 ระหว่างมาร์เก็ตติ้งกับบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นเจ้าของเงิน
3. พอร์ตสถาบันต่างประเทศ ที่ปัจจุบันสามารถยิงตรงออร์เดอร์ไปยังตลาดต่าง ๆโดยไม่ต้องผ่านโบรกเกอร์ (ระบบDMA ) ตัวอย่างมีพฤติกรรมไล่หุ้นขึ้น 3-4 ช่อง ก่อนขายออก แต่คนเล่นหุ้นที่มีประสบการณ์จะตามเกมทัน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,878 วันที่ 12 - 14 กันยายน พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 11 กันยายน 2013 เวลา 13:08 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : BIG STORIES พิมพ์
แฉแก๊ง 4 โมงเย็นที่แท้นักเก็งกำไรเล่นสั้นใน 1 วัน พบ 3 กลุ่มพฤติกรรมเข้าข่าย ทั้งนักลงทุน Net settlement หลัง8 เดือน โวลุ่ม1.49 ล้านล้าน กลุ่มพอร์ตบล. Prop trade ยังมีต่างชาติผสมโรง ด้านสมาคมบล. เตรียมออกกฎคุมพอร์ตโบรกเกอร์ จ่อเก็บค่าคอมมิสชัน พอร์ต Directional trading และซื้อขายเดย์เทรด ขณะที่"ก้องเกียรติ" โวยเอาอีกโบรกเกอร์ไม่พ้นตกเป็นแพะ
จากกรณีที่มีกระแสข่าวและวิพากษ์วิจารณ์ถึง"แก๊ง 4 โมงเย็น"กันสนั่นทั้งในสังคมออนไลน์ และโซเชียลเน็ตเวิร์ก อาทิ เฟซบุ๊ก พันทิป และเว็บบอร์ดสื่อธุรกิจชั้นนำ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ที่เข้ามาโพสต์ข้อความ เป็นนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนหน้าใหม่ ผนวกกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ระบุว่าได้มีการหารือกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (สมาคมบล.) ถึงสถานการณ์การซื้อขายของบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (Proprietary trade-Prop Trade) หลังจากมีการตั้งข้อสังเกตว่าบัญชีบล. อาจมีการเอาเปรียบนักลงทุนรายย่อย หรือมีการซื้อขายที่ไม่เหมาะสม
**"เล่นเนตฯ" ขาใหญ่แก๊ง 4 โมงเย็น
แหล่งข่าวจากวงการตลาดหุ้นเปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า"แก๊ง 4 โมงเย็น" ได้ยินกันมานานแล้ว ซึ่งไม่ใช่กลุ่มนักลงทุนที่สร้างราคาหรือปั่นหุ้น แต่เป็นนักลงทุนที่มีพฤติกรรมการลงทุนที่คล้ายๆกัน คือ ซื้อ-ขายเร็ว หรือเก็งกำไรนั่นเอง เช่น ต้องทยอยขายหุ้นออกให้ทันภายในวันเดียวโดยจะต้องเริ่มขายช่วง 4 โมงเย็น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนที่เล่นหุ้นแบบหักกลบค่าซื้อและค่าหุ้นตัวเดียวกันภายในวันเดียวกัน (Net settlement) และกลุ่มที่เป็นบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ หรือพอร์ตลงทุน หรือพร็อพเทรด (Prop trade)
โดยเฉพาะกลุ่มที่เล่นเนตฯ ซึ่งหากไม่ออก(ขายหุ้น)ช่วงเวลา 4 โมงเย็น ถ้าไม่ได้กำไร ก็อาจจะขาดทุนไปเลย เช่น นักลงทุนเล่นเนตฯในวงเงิน 20 ล้านบาท สามารถรับขาดทุนได้สูงสุด 1 ล้านบาท (คิดเป็น 1 % ของวงเงินที่เล่นหุ้น) ดังนั้นในแต่ละวันนักลงทุนเหล่านี้ต้องบริหารพอร์ต
***ถูกบีบ 4 โมงเย็นต้องขาย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในความเป็นจริงนักลงทุนที่เล่นเนตฯ คงไม่รอให้ราคาหุ้นปรับตัวลงถึง 5 % ก็ต้องขายออกมาก่อน โดยเมื่อถึง 4 โมงเย็น ทุกคนก็รู้แล้วว่าไปไม่รอด สุดท้ายก็ต้องแบ่งขายออกมา แม้ไม่อยากเป็นแก๊ง 4 โมงเย็นก็ต้องเป็นช่วยไม่ได้ และบางคนลุ้นนาทีสุดท้ายเพื่อวัดดวง ซึ่งทำได้ในช่วงตลาดขาขึ้น คือ ซื้อเช้าแล้วขายตอนตลาดปิด ( 17.00 น.) แต่หากเป็นตลาดขาลง ก็กลับกัน คือขาย หรือขายช็อตในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์(SBL)และเช้าในวันถัดไปก็ซื้อเพื่อปิดสถานะหรือการนำหุ้นที่ยืมมาคืน
***พอร์ตบล.ติดกลุ่ม
แหล่งข่าวรายเดียวกันยังกล่าวอีกว่า นักลงทุนอีกกลุ่มที่ถูกให้นิยามว่าเป็น"แก๊ง 4 โมงเย็น" คือ คือ พอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ ที่ในระยะหลังๆมีพฤติกรรมการลงทุนที่เข้าออกเร็ว เนื่องจากมีแรงจูงใจเรื่องค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารพอร์ต หลังช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีบริษัทหลักทรัพย์บางรายจ้างเจ้าหน้าที่การตลาดหรือมาร์เก็ตติ้งที่มีประสบการณ์มาบริหารพอร์ต
ตัวอย่างเช่น บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งให้วงเงินบริหาร 200 ล้านบาท แล้วตกลงผลตอบแทนจากการลงทุนกันในสัดส่วน 50 : 50 ของกำไรที่ได้รับ (พอร์ตบล.รับกำไร 50 % มาร์เก็ตติ้งที่บริหารพอร์ตรับกำไร 50 % ) ซึ่งถือเป็นการให้เป็นอินเซนทีฟกับมาร์เก็ตติ้งที่บริหารพอร์ต เป็นเหมือนโบนัสรายเดือน ซึ่งด้านมาร์เก็ตติ้งเองก็ดีเท่ากับลงทุนในหุ้นโดยที่ไม่ต้องมีการวางหลักประกัน และสิ้นเดือนก็จะมาหักในส่วนของกำไรกับขาดทุนก็แบ่งกันระหว่าง 2 ฝ่าย
***ลงทุนยาวสุดข้ามวัน-ต้นทุนต่ำ
แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า จากแรงจูงใจเรื่องการจ่ายผลตอบแทนที่จูงใจทำให้ช่วงหลังๆ เริ่มมีบรรดาบริษัทหลักทรัพย์ที่มีพอร์ตลงทุนมากขึ้น และลักษณะการลงทุนดังกล่าวจะเน้นลงทุนเร็ว หรือเน้นบริหารพอร์ตระยะสั้นๆมากขึ้น อีกทั้งได้ว่าจ้างมาร์เก็ตติ้งที่มีประสบการณ์เพื่อบริหารพอร์ตลงทุนเช่นกัน ทำให้ส่วนใหญ่ไม่นิยมถือลงทุนระยะยาว
ทั้งนี้พบว่าช่วงหลังพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์บางแห่งลงทุนยาวสุดแค่ข้ามวัน ซึ่งหากมีข่าวร้ายช่วงกลางคืน ช่วงเช้าก็ยอมออกก่อน(ขายหุ้น)จึงส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯปรับตัวลงแรง 20 จุด เป็นต้น นอกจากนี้ด้านต้นทุนของพอร์ตเทรดก็ยังได้เปรียบบัญชีทั่วไปคือจ่ายเพียง ล้านละ 78 บาท ขณะที่บัญชีของนักลงทุนทั่วไปมีต้นทุนล้านละ 2,578 บาท(คำนวณโดยอิงค่าคอมมิสชันที่ 0.25 % ของมูลค่าซื้อขาย )
นอกจากนี้พอร์ตเทรด(เก็งกำไร)ของบริษัทหลักทรัพย์ไม่ได้ลงทุนเฉพาะหุ้นอย่างเดียว แต่มีการลงทุนในตลาดอนุพันธ์หรือ ฟิวเจอร์ส การลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(DW) เป็นต้น จึงส่งผลให้ตลาดหุ้นเกิดความผันผวนได้
***ต่างชาติผสมโรง
นอกจากนักลงทุนเล่นเนตฯและพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ที่ถูกให้นิยามว่าเป็น"แก๊ง 4 โมงเย็น"แล้ว แหล่งข่าวยังตั้งข้อสังเกตว่า นักลงทุนต่างประเทศก็ติดกลุ่มนี้เช่นกัน เนื่องจากมีพอร์ตลงทุนหรือพร็อพเทรด และมีการซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือเทรดออนไลน์โดยมีการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จากระบบซื้อขายของผู้ลงทุนหรือ "DMA" (Direct Market Access)
"นักลงทุนต่างชาติกลุ่มนี้ได้วงเงินมาเพื่อบริหารพอร์ตเช่นกัน แต่เขาสามารถเลือกได้ว่าจะเทรดตลาดไหนไม่จำกัดเฉพาะตลาดหุ้นไทยเท่านั้น และมีการไล่หุ้น 3-4 ช่อง แต่คนเล่นหุ้นที่มีประสบการณ์ก็จะรู้ว่าเป็นพอร์ตต่างชาติ แต่มีบางคนไล่ตาม ซึ่งเมื่อต่างชาติมีกำไรเขาก็ต้องเทขาย และมีกำไร 2 เด้ง คือ กำไรจากค่าเงิน และกำไรจากตลาดหุ้น ส่วนนักลงทุนในประเทศที่ไล่ตาม(ซื้อหุ้นตาม)สุดท้ายก็ติดหุ้น
***คลอดแล้วกฎคุมพอร์ตบล.เก็งกำไร
สำหรับความคืบหน้าการออกกฎควบคุมบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบล.เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ" ว่าจากการหารือกับสมาชิกของสมาคมอย่างไม่เป็นทางการมีข้อสรุปเบื้องต้นที่จะเสนอต่อที่ประชุมสมาคมบล.ในวันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2556 อีกครั้ง โดยจะมีการออกกฎเกณฑ์เพื่อคุมพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ 2 เรื่อง คือ
1.การเสนอให้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์หรือค่าคอมมิสชัน สำหรับพอร์ตโบรกเกอร์ในส่วนที่เป็น Directional trading หรือที่เรียกว่าพอร์ตที่มีการซื้อขายระยะสั้นตามทิศทางตลาด ซึ่งรวมการซื้อขายระยะสั้นหรือเดย์เทรดด้วย ไม่รวมพอร์ตลงทุนระยะยาว หรือพอร์ตที่มีไว้สำหรับการป้องกันความเสี่ยงในการรองรับการออกผลิตภัณฑ์การลงทุน อาทิ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(DW) เป็นต้น
โดยค่าคอมมิสชันที่พอร์ตเก็งกำไรจะต้องจ่ายต้องไม่น้อยกว่าที่จัดเก็บจากลูกค้าสถาบัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความทัดเทียมกับนักลงทุนทั่วไปที่ต้องจ่ายค่าคอมมิสชันในการซื้อขายหุ้น
2. การจำกัดวงเงินเทรดของพอร์ตเทรดระยะสั้นจากเดิมให้ลงทุนได้ไม่เกิน 75 % ของส่วนผู้ถือหุ้น โดยคาดว่าลดลงเหลือไม่เกิน 50-60 % ของส่วนผู้ถือหุ้น เป็นต้น แม้ว่าที่ผ่านมาที่ระดับ 75 % ของส่วนผู้ถือหุ้นนั้นทางสมาคมบล.เห็นว่าเพียงพอแล้วก็ตาม ซึ่งแนวทางที่ 2 นี้ถึงแม้ว่าไม่ได้จำกัดที่มูลค่าการซื้อขายหรือโวลุ่มเทรดแต่ไปจำกัดที่วงเงินก็ตาม เนื่องจากการจำกัดที่โวลุ่มซื้อขายได้ถูกเก็บค่าคอมมิสชันไปแล้ว ซึ่งมีต้นทุนเหมือนๆกัน ก็เป็นการสะท้อนว่าหากพอร์ตเทรดมีโวลุ่มสูงก็จะถูกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่ม เป็นต้น
อย่างไรก็ตามนางภัทธีรา กล่าวย้ำว่า การที่บริษัทหลักทรัพย์มีพอร์ตเทรดก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย เนื่องจากยังช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดได้อีกทาง ส่วนกรณีที่พอร์ตเทรดอาจจะมีพฤติกรรมนอกลู่นอกทางนั้นคงเป็นหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ฯในการดำเนินการมากกว่า ซึ่งยอมรับว่าอาจจะมีบ้าง แต่หากลงลึกในรายละเอียด การบริหารพอร์ตระยะสั้นของบริษัทหลักทรัพย์ว่ามีการจ้างผู้บริหารพอร์ตฝีมือดีเพื่อมาลงทุนให้แล้วมีการแบ่งกำไรกันนั้นถือว่าเป็นข้อตกลงกันเองของสมาชิกกับผู้บริหารพอร์ต ทางสมาคมบล.คงไม่ได้ดูลึกในระดับนั้น
***"ก้องเกียรติ"โวยหาแพะ
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบล.เอเซีย พลัสฯ ยืนยันถึงกรณีที่ก.ล.ต. มีการคุมเข้มการลงทุนของบัญชีซื้อขายของพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ว่า ประเด็นนี้ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการซื้อขายของพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์กับการทำหน้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์ให้กับผู้ลงทุนเพราะถูกคุมเข้มจากทั้ง ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ฯที่เข้มงวดอยู่แล้ว
"ดัชนีร่วงตอนแรกก็ให้ต่างชาติเป็นแพะ สักพักให้กองทุนทริกเกอร์ฟันด์เป็นแพะ คราวนี้ก็ให้พอร์ตบริษัทหลักทรัพย์เป็นแพะ " นายก้องเกียรติ กล่าวและว่าสำหรับการขายหุ้นนั้น เมื่อระดับราคาหุ้นปรับขึ้นไปในระดับที่แพงก็จะต้องขายทำกำไรออกมา ถือเป็นเรื่องปกติของการลงทุน
**พิสูจน์ 4 โมงเย็นมาตามนัดจริง
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ"ได้สังเกตการณ์บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยวันที่ 10 กันยายน ที่ผ่านมา โดยจับตาการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่าเมื่อเวลา 15.48 น. ดัชนีปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 1,413.98 จุด เพิ่มขึ้น 29.67 จุด จากวันก่อนหน้าที่ดัชนีปิด 1,384.31 จุด หลังจากนั้นดัชนีก็ถูกกระชากลงลึกเวลา 16.15 น. โดยปรับลงต่ำสุด 1,384.47 จุด ก่อน และปรับขึ้นมาปิดตลาดที่ 1,393.17 จุด
ส่วนมูลค่าการซื้อขายนักลงทุนแยกประเภทในวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา แบ่งเป็นบัญชีนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 2.07 พันล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์หรือพอร์ตโบรกเกอร์ ซื้อสุทธิ 1.24 พันล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 3.53 พันล้านบาท ขณะที่บัญชีนักลงทุนบุคคล ขายสุทธิ 6.84 พันล้านบาท
***8 เดือนเล่นเนตฯ 16 % โวลุ่ม1.49 ล้านล.
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยมูลค่าการซื้อขายในบัญชีเนตเซตเทิลเมนต์ในรอบ 8 เดือน(ม.ค.-ส.ค.56) รวม 1.49 ล้านล้านบาท คิดเป็น 16.08 % ของมูลค่าการซื้อขายรวม 9.24 ล้านล้านบาท
ส่วนมูลค่าการซื้อขายรวมนักลงทุนแยกประเภท รอบ 8 เดือนเศษ (2ม.ค.-9ก.ย.56) แบ่งเป็นนักลงทุนสถาบันในประเทศ 1.56 ล้านล้านบาท ,บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ 2.38 ล้านล้านบาท,นักลงทุนต่างประเทศ 3.97 ล้านล้านบาท และนักลงทุนบุคคลในประเทศ 11.03 ล้านล้านบาท
' แก๊ง 4 โมงเย็น'คืออะไร
-เป็นนิยามที่นักลงทุนในตลาดหุ้น ใช้เรียกนักลงทุนที่มีพฤติกรรมการซื้อขายเร็ว
-มาตามนัดทุกครั้งช่วง 4 โมงเย็น จะตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นก่อนปิดตลาด 5 โมงเย็น โดยเป็นช่วงที่ประเมินหุ้นที่ลงทุนในวันนั้น ๆแล้วจะไปรอดหรือไม่รอด
*ใครบ้างที่มีพฤติกรรมเล่นหุ้นเร็ว เข้าข่ายฉายา"แก๊ง 4 โมงเย็น"
1.พวกที่ซื้อเช้าขายบ่าย เป็นนักลงทุนที่เล่นหุ้นในบัญชีเนตเซตเทิลเมนต์ หรือจับเสือมือเปล่า ที่ต้องขายหุ้นเพื่อหักกลบค่าซื้อค่าขายหุ้นตัวเดียวกันในวันเดียวกัน ซึ่งมีทั้งรายใหญ่ รายย่อย
2.บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ หรือProp Trade มี 2 ปัจจัยเอื้อให้(บางบริษัท)เน้นเก็งกำไรหุ้น
2.1.มีต้นทุนในการซื้อขายต่ำทำให้ได้เปรียบนักลงทุนทั่วไป ตัวอย่างเช่น พอร์ตบริษัทหลักทรัพย์มีต้นทุน 78 บาท ต่อการเทรดหุ้น 1 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนทั่วไปมีต้นทุน(ค่าคอมมิสชัน) 2,578 บาทต่อการเทรดหุ้น 1 ล้านบาท
2.2.ผลประโยชน์จูงใจ เนื่องจากระยะหลังบริษัทหลักทรัพย์(บางราย)จ้างมาร์เก็ตติ้งฝีมือดีบริหารพอร์ตและแบ่งผลประโยชน์กัน เช่น หากมีกำไรก็แบ่งกำไร 50 : 50 ระหว่างมาร์เก็ตติ้งกับบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นเจ้าของเงิน
3. พอร์ตสถาบันต่างประเทศ ที่ปัจจุบันสามารถยิงตรงออร์เดอร์ไปยังตลาดต่าง ๆโดยไม่ต้องผ่านโบรกเกอร์ (ระบบDMA ) ตัวอย่างมีพฤติกรรมไล่หุ้นขึ้น 3-4 ช่อง ก่อนขายออก แต่คนเล่นหุ้นที่มีประสบการณ์จะตามเกมทัน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,878 วันที่ 12 - 14 กันยายน พ.ศ. 2556
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 224
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้น...
โพสต์ที่ 16
ผมว่าค่าคอมที่ถูกลงสำหรับรายใหญ่ที่เทรดก็มีส่วนทำให้ตลาดผันผวนทางที่ดีควรเก็บค่าคอมที่เท่ากันให้ระดับที่แพงหน่อยจะได้คิดดีๆก่อนจะซื้อขายไม่ใช่เล่นซื้อเช้าขายบ่ายไล่หุ้นช่องเดียวแล้วขายรายใหญ่ก็กำไรแล้วส่วนรายย่อยตายเรียบช่องเดียวขาดทุนบางตัวต้องสามถึงสี่ช่องถึงออกได้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้น...
โพสต์ที่ 17
ก.ล.ต.-โบรกฯมึนตึ้บ หาจุดเคลียร์ "แก๊ง 4 โมงเย็น"
updated: 15 ก.ย. 2556 เวลา 13:59:56 น.
ประเด็นร้อนสุดของวงการตลาดการลงทุนไทยในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นสตอรี่การทำราคาปิดท้ายตลาดหุ้นของ "แก๊ง 4 โมงเย็น" ที่ป่วนดัชนีตลาดหุ้นพลิกไปในพริบตา และสร้างแรงกดดันต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่ถูกตั้งข้อกังขาว่าปล่อยตลาดถูกครอบงำด้วยคนกลุ่มหนึ่งได้อย่างไร ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่กำกับดูแลก็ไล่จี้ ตลท.ตรวจสอบ
ความจริงแล้วนักลงทุนก๊วนนี้เป็นใครกันแน่ ? และทำไมเพิ่งมาปรากฏตัวในช่วงนี้ ? เขาคือตัวการป่วนตลาดจริงหรือ ?
"แก๊ง 4 โมงเย็น" ใช้เรียกกลุ่มนักลงทุนที่มีพฤติกรรมชอบเข้ามาลงทุนตามเวลานัดหมายช่วง 4 โมงเย็น และมีการส่งคำสั่งซื้อขายในปริมาณมากอย่างรวดเร็ว โดยกลุ่มที่ถูกฉายสปอตไลต์ คือพอร์ตลงทุนของโบรกเกอร์ (บัญชีโบรกเกอร์) ซึ่งจะมีต้นทุนการซื้อขายต่ำ เพราะเสียค่าธรรมเนียมไม่ถึง 100 บาทต่อรายการให้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ต้องเสียค่าคอมมิสชั่นเหมือนนักลงทุนทั่วไป จึงเข้ามา "จับเสือมือเปล่า" กันง่าย ๆ
"ประชาชาติธุรกิจ" ได้สืบสาวราวเรื่องกับ "เทรดเดอร์" ที่บริหารพอร์ตโบรกเกอร์แห่งหนึ่ง เขาได้สะท้อนในมุมของคนวงในตลาดหุ้นให้ฟังว่า ตัวจริงของแก๊ง 4 โมงเย็นนั้นมีส่วนประกอบจากคนหลาย ๆ กลุ่ม มีทั้งนักลงทุนรายใหญ่และรายย่อยที่เล่นหุ้นด้วย
"บัญชีเน็ตเซตเทิลเมนต์" ซึ่งเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทหักกลบค่าซื้อและค่าขายหลักทรัพย์ที่มีการซื้อและการขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน อีกกลุ่มเป็น "นักลงทุนสถาบันต่างประเทศ" ที่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายไปที่ตลาดหลักทรัพย์โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านโบรกเกอร์ (DMA) ซึ่งมีต้นทุนค่าธรรมเนียมต่ำมากประมาณ 0.05% เท่านั้น
แน่นอนอีกกลุ่มคือ "พอร์ตโบรกเกอร์" ที่เข้ามาผสมโรง เพราะการซื้อขายในช่องทางนี้มีส่วนสำคัญในการสร้างปริมาณการซื้อขาย (วอลุ่ม) เพื่อปั๊มมาร์เก็ตแชร์ และช่วยเพิ่มช่องทางหารายได้โดยใช้ต้นทุนด้านการลงทุนต่ำเมื่อเทียบกับนักลงทุนทั่วไป
"ปกติการซื้อขายของนักลงทุนกลุ่มนี้ก็มีมานานแล้ว ไม่ใช่แค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่มีการรวมตัวกันของคนหลาย ๆ กลุ่ม เงินหลาย ๆ ก้อนที่เห็นจังหวะ เห็นโอกาสทำกำไร หรือกระทั่งจำเป็นต้องซื้อหรือขายให้จบในสิ้นวัน ผมก็รู้สึกแปลกใจที่ทำไมถึงโทษแต่พอร์ตโบรกฯอย่างเดียว" เทรดเดอร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการทำราคาปิดท้ายตลาดของ "แก๊ง 4 โมงเย็น" มีมานานแล้ว แต่ที่เพิ่งมาถูกฉายสปอตไลต์ใส่ในช่วงเวลานี้เนื่องมาจากข้อมูลที่ปูดขึ้นมาของ "สัดส่วนการซื้อขายที่เปลี่ยนไป
จากเดิม" กล่าวคือ สัดส่วนนักลงทุนในกลุ่มอื่น ๆ เช่น นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนต่างชาติปรับตัวลดลง จนทำให้ "พอร์ตโบรกฯ" มีสัดส่วนการซื้อขายเพิ่มขึ้นจนเห็นโดดเด่นออกมา
ข้อมูลในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พอร์ตโบรกเกอร์มีสัดส่วนซื้อขายอยู่ที่ 15.3% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/55 ที่อยู่ราว 11.6% และต่อมาในช่วงสิงหาคม-กันยายน การซื้อขายก็เพิ่มเป็น 15-16% จึงเป็นผลทำให้ถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ
ปรากฏการณ์นี้ร้อนถึง "ภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ" ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ต้องออกมาแจงว่า ในเบื้องต้นจะมีการออกกฎเกณฑ์เพื่อคุมพอร์ตโบรกเกอร์ 3 เรื่อง ได้แก่ การเสนอให้พอร์ตโบรกเกอร์มีต้นทุนในการซื้อขายด้วยการเก็บอัตราค่าฟีในการเทรดที่ไม่ต่ำกว่าลูกค้าสถาบันและนักลงทุนรายย่อย รวมถึงเสนอให้มีการจำกัดวงเงินเทรดของพอร์ตระยะสั้น ซึ่งคาดจะลดลงเหลือ 50-60% ของส่วนผู้ถือหุ้น จากเดิมไม่เกิน 75% ของส่วนผู้ถือหุ้น และกำกับดูแลการซื้อขายในพอร์ตโบรกฯอย่างใกล้ชิด
ขณะที่ "ดวงมน จึงเสถียรทรัพย์" ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต.ได้ระบุว่า หลังจากที่เห็นข้อมูลต่าง ๆ ก็เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับโบรกเกอร์ แต่ก็ต้องพยายามหาหนทางที่จะช่วยให้สภาพการซื้อขายเป็นไปอย่างยุติธรรมด้วย ดังนั้น ก.ล.ต.จะนำข้อมูลที่สมาคมโบรกเกอร์ส่งให้มาพิจารณา เพื่อหาข้อสรุปภายในเดือน ก.ย. นี้
ขณะที่ท่าทีการตรวจสอบดูแลของฟากตลาดหลักทรัพย์ฯที่เป็นคนคุมกระดานตลาดหุ้น ออกมาบอกเพียงว่า ยังไม่พบการซื้อขายที่ผิดปกติ ราวกับส่งสัญญาณว่า พฤติกรรมนี้ไม่ได้ผิดแปลกใดๆ
คงต้องรอดูว่าหลังมาตรการต่าง ๆ ออกมาแล้ว จะเบรกพฤติกรรมของแก๊ง "จุดนัดพบ 4 โมงเย็น" ได้หรือไม่
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1379228485
updated: 15 ก.ย. 2556 เวลา 13:59:56 น.
ประเด็นร้อนสุดของวงการตลาดการลงทุนไทยในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นสตอรี่การทำราคาปิดท้ายตลาดหุ้นของ "แก๊ง 4 โมงเย็น" ที่ป่วนดัชนีตลาดหุ้นพลิกไปในพริบตา และสร้างแรงกดดันต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่ถูกตั้งข้อกังขาว่าปล่อยตลาดถูกครอบงำด้วยคนกลุ่มหนึ่งได้อย่างไร ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่กำกับดูแลก็ไล่จี้ ตลท.ตรวจสอบ
ความจริงแล้วนักลงทุนก๊วนนี้เป็นใครกันแน่ ? และทำไมเพิ่งมาปรากฏตัวในช่วงนี้ ? เขาคือตัวการป่วนตลาดจริงหรือ ?
"แก๊ง 4 โมงเย็น" ใช้เรียกกลุ่มนักลงทุนที่มีพฤติกรรมชอบเข้ามาลงทุนตามเวลานัดหมายช่วง 4 โมงเย็น และมีการส่งคำสั่งซื้อขายในปริมาณมากอย่างรวดเร็ว โดยกลุ่มที่ถูกฉายสปอตไลต์ คือพอร์ตลงทุนของโบรกเกอร์ (บัญชีโบรกเกอร์) ซึ่งจะมีต้นทุนการซื้อขายต่ำ เพราะเสียค่าธรรมเนียมไม่ถึง 100 บาทต่อรายการให้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ต้องเสียค่าคอมมิสชั่นเหมือนนักลงทุนทั่วไป จึงเข้ามา "จับเสือมือเปล่า" กันง่าย ๆ
"ประชาชาติธุรกิจ" ได้สืบสาวราวเรื่องกับ "เทรดเดอร์" ที่บริหารพอร์ตโบรกเกอร์แห่งหนึ่ง เขาได้สะท้อนในมุมของคนวงในตลาดหุ้นให้ฟังว่า ตัวจริงของแก๊ง 4 โมงเย็นนั้นมีส่วนประกอบจากคนหลาย ๆ กลุ่ม มีทั้งนักลงทุนรายใหญ่และรายย่อยที่เล่นหุ้นด้วย
"บัญชีเน็ตเซตเทิลเมนต์" ซึ่งเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทหักกลบค่าซื้อและค่าขายหลักทรัพย์ที่มีการซื้อและการขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน อีกกลุ่มเป็น "นักลงทุนสถาบันต่างประเทศ" ที่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายไปที่ตลาดหลักทรัพย์โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านโบรกเกอร์ (DMA) ซึ่งมีต้นทุนค่าธรรมเนียมต่ำมากประมาณ 0.05% เท่านั้น
แน่นอนอีกกลุ่มคือ "พอร์ตโบรกเกอร์" ที่เข้ามาผสมโรง เพราะการซื้อขายในช่องทางนี้มีส่วนสำคัญในการสร้างปริมาณการซื้อขาย (วอลุ่ม) เพื่อปั๊มมาร์เก็ตแชร์ และช่วยเพิ่มช่องทางหารายได้โดยใช้ต้นทุนด้านการลงทุนต่ำเมื่อเทียบกับนักลงทุนทั่วไป
"ปกติการซื้อขายของนักลงทุนกลุ่มนี้ก็มีมานานแล้ว ไม่ใช่แค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่มีการรวมตัวกันของคนหลาย ๆ กลุ่ม เงินหลาย ๆ ก้อนที่เห็นจังหวะ เห็นโอกาสทำกำไร หรือกระทั่งจำเป็นต้องซื้อหรือขายให้จบในสิ้นวัน ผมก็รู้สึกแปลกใจที่ทำไมถึงโทษแต่พอร์ตโบรกฯอย่างเดียว" เทรดเดอร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการทำราคาปิดท้ายตลาดของ "แก๊ง 4 โมงเย็น" มีมานานแล้ว แต่ที่เพิ่งมาถูกฉายสปอตไลต์ใส่ในช่วงเวลานี้เนื่องมาจากข้อมูลที่ปูดขึ้นมาของ "สัดส่วนการซื้อขายที่เปลี่ยนไป
จากเดิม" กล่าวคือ สัดส่วนนักลงทุนในกลุ่มอื่น ๆ เช่น นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนต่างชาติปรับตัวลดลง จนทำให้ "พอร์ตโบรกฯ" มีสัดส่วนการซื้อขายเพิ่มขึ้นจนเห็นโดดเด่นออกมา
ข้อมูลในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พอร์ตโบรกเกอร์มีสัดส่วนซื้อขายอยู่ที่ 15.3% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/55 ที่อยู่ราว 11.6% และต่อมาในช่วงสิงหาคม-กันยายน การซื้อขายก็เพิ่มเป็น 15-16% จึงเป็นผลทำให้ถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ
ปรากฏการณ์นี้ร้อนถึง "ภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ" ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ต้องออกมาแจงว่า ในเบื้องต้นจะมีการออกกฎเกณฑ์เพื่อคุมพอร์ตโบรกเกอร์ 3 เรื่อง ได้แก่ การเสนอให้พอร์ตโบรกเกอร์มีต้นทุนในการซื้อขายด้วยการเก็บอัตราค่าฟีในการเทรดที่ไม่ต่ำกว่าลูกค้าสถาบันและนักลงทุนรายย่อย รวมถึงเสนอให้มีการจำกัดวงเงินเทรดของพอร์ตระยะสั้น ซึ่งคาดจะลดลงเหลือ 50-60% ของส่วนผู้ถือหุ้น จากเดิมไม่เกิน 75% ของส่วนผู้ถือหุ้น และกำกับดูแลการซื้อขายในพอร์ตโบรกฯอย่างใกล้ชิด
ขณะที่ "ดวงมน จึงเสถียรทรัพย์" ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต.ได้ระบุว่า หลังจากที่เห็นข้อมูลต่าง ๆ ก็เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับโบรกเกอร์ แต่ก็ต้องพยายามหาหนทางที่จะช่วยให้สภาพการซื้อขายเป็นไปอย่างยุติธรรมด้วย ดังนั้น ก.ล.ต.จะนำข้อมูลที่สมาคมโบรกเกอร์ส่งให้มาพิจารณา เพื่อหาข้อสรุปภายในเดือน ก.ย. นี้
ขณะที่ท่าทีการตรวจสอบดูแลของฟากตลาดหลักทรัพย์ฯที่เป็นคนคุมกระดานตลาดหุ้น ออกมาบอกเพียงว่า ยังไม่พบการซื้อขายที่ผิดปกติ ราวกับส่งสัญญาณว่า พฤติกรรมนี้ไม่ได้ผิดแปลกใดๆ
คงต้องรอดูว่าหลังมาตรการต่าง ๆ ออกมาแล้ว จะเบรกพฤติกรรมของแก๊ง "จุดนัดพบ 4 โมงเย็น" ได้หรือไม่
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1379228485
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
- นายมานะ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1167
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ก.ล.ต.ถกโบรกฯสกัดแก๊ง 4 โมงเย็น ตัวการทุบดัชนีหุ้น...
โพสต์ที่ 18
เร่งคุมพอร์ตสกัดแก๊ง4โมงเย็น
นายกสมาคมบล.รับพบพฤติกรรม"แก๊ง 4 โมงเย็น"อาละวาดตั้งโต๊ะเทรดหุ้นและปิดบัญชีในวันเดียวมาเป็นเดือนแล้ว ช่วงตลาดตกใจมาตรการคิวอี รับมีพอร์ตเดย์เทรดของบล.ผสมโรง คลอดแล้วออกกฎคุมวงเงินเทรดไม่เกิน 50 % ของส่วนผู้ถือหุ้น ก่อนเป็นขาใหญ่ในตลาดหุ้น มีผล 1 พ.ย.นี้ เปิดตัวเลขปัจจุบันพอร์ตเก็งกำไรของโบรกเกอร์ 10 บริษัท มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 60 % ของพอร์ตบล.ทั้งหมด
alt นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์(บล.)และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์(บล.)ดีบีเอส วิคเคอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ต่อพฤติกรรมการซื้อขายในตลาดหุ้นของ"แก๊ง 4 โมงเย็น" ซึ่งเป็นกลุ่มนักลงทุนที่ซื้อขายเร็วแบบรายวัน หรือเดย์เทรดว่า เท่าที่สมาคมบล.จับตาดูเห็นพฤติกรรมมาเป็นเดือนแล้ว ตั้งแต่ตลาดหุ้นปรับตัวลงแรงจากความกังวลเรื่องมาตรการคิวอี(QE )ของสหรัฐอเมริกา
ดังนั้นจึงได้สอบถามไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ในฐานะที่ดูแลการซื้อขายในตลาดหุ้น ก็ได้คำตอบว่า"แก๊ง 4 โมงเย็น"ไม่ได้มีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งชัดเจนที่ทิ้งหุ้นช่วงเวลา4โมงเย็น แต่จะเป็นการสลับสับเปลี่ยนไป
ทั้งนี้เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวนสูง ทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจต่อปัจจัยภายนอก จึงขายออกมาก่อน โดยมีทั้งนักลงทุนต่างประเทศ นักลงทุนในประเทศ และรวมถึงบัญชีบริษัทหลักทรัพย์(Prop trade ) หรือพอร์ตบล. ซึ่งไม่ได้ชัดเจนทีเดียวว่าเป็นบัญชีบริษัทหลักทรัพย์อย่างเดียว และเชื่อว่าตลท.จะต้องเห็น และคงไม่ปล่อยให้ทำอย่างนั้นแน่นอน
ส่วนกรณีที่สมาคมบล.ต้องออกกฎเกณฑ์ควบคุมการซื้อขายของพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ นั้นพอร์ตที่เป็นปัญหาคือการเทรดหุ้นเร็วและ เป็นการลงทุนระยะสั้นตามทิศทางของตลาด หรือที่เรียกว่า Directional day trade (พอร์ตเดย์เทรด)จนทำให้มีนักลงทุนบางกลุ่มรู้สึกว่าเสียเปรียบที่พอร์ตเดย์เทรดของบล.ไม่มีต้นทุนในการซื้อขาย ขณะที่นักลงทุนประเภทอื่นมีต้นทุนในการซื้อขาย จึงเป็นสาเหตุให้มีนักลงทุนทั้งประเภทบุคคล และสถาบัน ไปร้องเรียนสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ว่าควรจะมีการดูแลการซื้อขายของพอร์ตบล.บ้าง
"ที่จริงเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เมื่อ 2 ปีก่อนสมาคมบล.ได้ออกหลักเกณฑ์มาคุมพอร์ตเดย์เทรดของบล.ครั้งหนึ่งแล้ว โดยได้คุมวงเงินเทรดไม่เกิน 75 % ของส่วนผู้ถือหุ้น นอกจากนี้เทรดเดอร์จะต้องมีใบอนุญาตหรือไลเซนส์ เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่การตลาดหรือมาร์เก็ตติ้ง ซึ่งก็ได้ผลในขณะนั้นทำให้วงเงินเดย์เทรดของบล.ลดลง"
นายกสมาคมบล.กล่าวและว่า การคุมวงเงินเทรดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงเกินไป และยังให้คณะกรรมการหรือบอร์ดบริษัทรับรู้ด้วย อย่างไรก็ตามสำหรับปี 2556 นี้ อาจเป็นไปได้ว่าตลาดหุ้นบูม จึงทำให้พอร์ตเดย์เทรดของบล.ได้กลับมามีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็น 60 % ของพอร์ตบล.ทั้งหมด ขณะที่มีจำนวนบล.มีพอร์ตเดย์เทรด 10 บริษัท เทียบ 2 ปีก่อนหลังสมาคมออกกฎคุมก็ได้ลดลงเหลือ 12 %
ดังนั้นล่าสุดสมาคมออกหลักเกณฑ์ใหม่โดยให้เทรดหุ้นได้ไม่เกิน 50 % ของส่วนผู้ถือหุ้น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 นี้ อย่างไรก็ตามกลุ่มเดย์เทรดซึ่งมี 60 % ของบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งดูเหมือนจะมีสัดส่วนที่มาก แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดจึงต้องแยกแยะ ดังนั้นกลุ่มนี้จะมีสัดส่วน 8-9 % ของมูลค่าการซื้อขายของตลาดรวม
"พอร์ตเดย์เทรดของโบรกเกอร์จะจบภายในวันเดียว พอตลาดปิดก็ปิดโต๊ะเช้ามาก็เปิดร้านว่ากันใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สมาคมบล. คิดว่าจะต้องเข้าไปดูแลหรือควบคุม"
นางภัทธีรา กล่าวว่าต่อจากนี้ไปพอร์ตเดย์เทรดจะต้องถูกนับเป็นเหมือนลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ด้วย คือ จะต้องมีต้นทุนในการซื้อขายหุ้นโดยการคิดค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (ค่าคอมมิสชัน) ซึ่งในภาคปฏิบัติเทรดเดอร์ก็จะถูกคิดค่าคอมฯจากกำไรที่ได้รับจากซื้อขายหุ้นหรือจากผลการดำเนินงาน( Performance )ของเทรดเดอร์ที่จะต้องมีต้นทุนด้วย
ดังนั้นกล่าวโดยสรุป หลักเกณฑ์ที่สมาคมบล.จะคุมพอร์ตเดย์เทรดของบล. เพื่อให้นักลงทุนสบายใจ มี 3 ข้อหลักๆ คือ 1.จัดเก็บค่าคอมมิสชันไม่ใช่ซื้อขายไปเรื่อย ๆโดยไม่มีต้นทุน 2.คุมวงเงินเทรดให้แคบลง และ 3. กำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์มีการกับและควบคุมพอร์ตบล.ที่เป็นเดย์เทรดอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น หรือจะต้องมีเครื่องมือในการมอนิเตอร์ระหว่างวันด้วย
"หากปล่อยให้พอร์ตเดย์เทรดของบล.โตเกินไปจนทำให้ตลาดหุ้นไทยมีแต่ผู้เล่นที่เป็นพอร์ตโบรกเกอร์อยู่เต็มตลาด ก็จะไม่น่าเทรด เพราะจะทำให้ตลาดผันผวนจนเกินไป ในสายตาต่างชาติก็จะมองว่าตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดที่เล่นกันเอง รีเทลก็ไม่อยากลงทุนเพราะจะกลายเป็นรองโบรกเกอร์ มันเป็นเรื่องของความมั่นใจ"
นายกสมาคมบล.กล่าวอีกว่า หากพอร์ตโบรกเกอร์เติบโตขึ้นจากกำไรที่เพิ่มขึ้น ตลาดหุ้นมีขนาดใหญ่ขึ้น สัดส่วนการลงทุนของพอร์ตบล.ที่เป็นเดย์เทรดก็จะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของตลาด การควบคุมวงเงินก็เป็นเหมือนการจำกัดไว้อีกชั้น
"การคุมพอร์ตเดย์เทรดของบล. ผลโดยรวมจะช่วยให้อุตสาหกรรมแข็งแรงขึ้น ซึ่งมาตรการที่ควบคุมไม่ถือเป็นยาที่แรงจนเกินไป หรือทำให้มูลค่าการซื้อขายของพอร์ตโบรกเกอร์หายไป จนส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายโดยรวมลดลงไปด้วยก็แย่"
ต่อข้อถามที่ว่าทำไมในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา แก๊ง 4 โมงเย็นจึงมองตลาดเหมือนกัน นางภัทรีรา กล่าวว่า ต้องยอมรับช่วง 1 เดือนที่ผ่านมานักลงทุนบุคคลซึ่งรวมรายย่อย ชะลอการลงทุนในตลาดหุ้น เห็นได้จากโวลุ่มตลาดลดลงเหลือเฉลี่ย 4 หมื่นล้านบาทต่อวัน เทียบช่วงต้นปีที่มีโวลุ่มเทรดเฉลี่ย 6 หมื่นล้านบาทต่อวัน ซึ่งถือว่านักลงทุนบุคคลหายไปจำนวนมาก
"กล้าบอกได้เลยตราบใดถ้าดัชนียังไม่ถึง 1,400-1,450 จุด โวลุ่มรายย่อยยังไม่กลับมา ซึ่งก็มีบางคนที่ยอมขายตัดขาดทุน(Cut loss) และบางคนยังถือหุ้นไว้ ซึ่งก็หมายถึงติดหุ้น"
นางภัทธีรา ยังกล่าวว่าสาเหตุที่นักลงทุนรายย่อยติดหุ้นเนื่องจากช่วงแรกๆที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯปรับตัวลงนักลงทุนเข้าไปรับ(เก็บหุ้น)กันจำนวนมาก เห็นได้ชัดว่าบางวันต่างชาติขายสุทธิ 1 หมื่นล้านบาท และรายย่อยก็ซื้อสุทธิ 1 หมื่นล้านบาท ทำให้สะท้อนได้ว่ารายย่อยติดหุ้นที่ราคาสูงเหมือนกัน ดังนั้นดัชนีที่ระดับ 1,450 จุดเป็นเพียงระดับที่รายย่อยจะกลับมาซื้อขายได้
ทั้งนี้การที่นักลงทุนประเภทบุคคลออกไปจากตลาดถือว่าทำถูก ตลาดหุ้นผันผวนในทิศทางขาลงจากปัจจัย QE นักลงทุนจะไม่สามารถรู้ได้ว่าตลาดจะมาในทิศทางไหน และเป็นตามคำแนะนำว่านักลงทุนรายย่อยอย่าเพิ่งลงทุนออกไปอยู่ข้างนอกก่อน ทำให้สัดส่วนนักลงทุนบุคคลลดจาก 60 % เหลือ 48 % ของโวลุ่มรวม หรือหายไปกว่า 10 % ถือว่าลดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2550 ทำให้ตลาดเหลือแต่ผู้เล่นที่เป็นมืออาชีพ คือ พอร์ตบล. นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ
นางภัทธีรา ยังกล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา ได้พบกับผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ (จรัมพร โชติกเสถียร)เพื่อหารือเรื่องการนำเสนอข้อมูล(โรดโชว์)ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้จัดการตลาดหลัททรัพย์ฯก็ยอมรับว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯมีพอร์ตบล.น้อยมาก โบรกเกอร์ส่วนใหญ่เริ่มไม่เน้นแล้ว
ขณะที่ต้องยอมรับว่าตลาดหุ้นย่านเอเชียเป็นตลาดรีเทลต่างกับตลาดฝั่งอเมริกาที่เป็นตลาดสถาบัน และตลาดหุ้นเอเชียยังเน้นความเป็นสีสันบนความถูกต้อง คือ มีความหลากหลายและคละเคล้าที่พอเหมาะ ดังนั้นหากยังต้องการมีรีเทลมาก ๆก็จะต้องให้ความมั่นใจกับรีเทล คุมพอร์ตโบรกไม่ให้มีสัดส่วนมากจนเกินไปจนกระทบสัดส่วนนักลงทุนบุคคล อย่างไรก็ตามไม่ว่านักลงทุนกลุ่มไหนก็จะต้องเทรดบนความถูกต้องด้วยไม่มีการสร้างราคาหรือปั่นหุ้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,879 วันที่ 15 - 18 กันยายน พ.ศ. 2556
นายกสมาคมบล.รับพบพฤติกรรม"แก๊ง 4 โมงเย็น"อาละวาดตั้งโต๊ะเทรดหุ้นและปิดบัญชีในวันเดียวมาเป็นเดือนแล้ว ช่วงตลาดตกใจมาตรการคิวอี รับมีพอร์ตเดย์เทรดของบล.ผสมโรง คลอดแล้วออกกฎคุมวงเงินเทรดไม่เกิน 50 % ของส่วนผู้ถือหุ้น ก่อนเป็นขาใหญ่ในตลาดหุ้น มีผล 1 พ.ย.นี้ เปิดตัวเลขปัจจุบันพอร์ตเก็งกำไรของโบรกเกอร์ 10 บริษัท มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 60 % ของพอร์ตบล.ทั้งหมด
alt นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์(บล.)และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์(บล.)ดีบีเอส วิคเคอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ต่อพฤติกรรมการซื้อขายในตลาดหุ้นของ"แก๊ง 4 โมงเย็น" ซึ่งเป็นกลุ่มนักลงทุนที่ซื้อขายเร็วแบบรายวัน หรือเดย์เทรดว่า เท่าที่สมาคมบล.จับตาดูเห็นพฤติกรรมมาเป็นเดือนแล้ว ตั้งแต่ตลาดหุ้นปรับตัวลงแรงจากความกังวลเรื่องมาตรการคิวอี(QE )ของสหรัฐอเมริกา
ดังนั้นจึงได้สอบถามไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ในฐานะที่ดูแลการซื้อขายในตลาดหุ้น ก็ได้คำตอบว่า"แก๊ง 4 โมงเย็น"ไม่ได้มีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งชัดเจนที่ทิ้งหุ้นช่วงเวลา4โมงเย็น แต่จะเป็นการสลับสับเปลี่ยนไป
ทั้งนี้เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวนสูง ทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจต่อปัจจัยภายนอก จึงขายออกมาก่อน โดยมีทั้งนักลงทุนต่างประเทศ นักลงทุนในประเทศ และรวมถึงบัญชีบริษัทหลักทรัพย์(Prop trade ) หรือพอร์ตบล. ซึ่งไม่ได้ชัดเจนทีเดียวว่าเป็นบัญชีบริษัทหลักทรัพย์อย่างเดียว และเชื่อว่าตลท.จะต้องเห็น และคงไม่ปล่อยให้ทำอย่างนั้นแน่นอน
ส่วนกรณีที่สมาคมบล.ต้องออกกฎเกณฑ์ควบคุมการซื้อขายของพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ นั้นพอร์ตที่เป็นปัญหาคือการเทรดหุ้นเร็วและ เป็นการลงทุนระยะสั้นตามทิศทางของตลาด หรือที่เรียกว่า Directional day trade (พอร์ตเดย์เทรด)จนทำให้มีนักลงทุนบางกลุ่มรู้สึกว่าเสียเปรียบที่พอร์ตเดย์เทรดของบล.ไม่มีต้นทุนในการซื้อขาย ขณะที่นักลงทุนประเภทอื่นมีต้นทุนในการซื้อขาย จึงเป็นสาเหตุให้มีนักลงทุนทั้งประเภทบุคคล และสถาบัน ไปร้องเรียนสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ว่าควรจะมีการดูแลการซื้อขายของพอร์ตบล.บ้าง
"ที่จริงเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เมื่อ 2 ปีก่อนสมาคมบล.ได้ออกหลักเกณฑ์มาคุมพอร์ตเดย์เทรดของบล.ครั้งหนึ่งแล้ว โดยได้คุมวงเงินเทรดไม่เกิน 75 % ของส่วนผู้ถือหุ้น นอกจากนี้เทรดเดอร์จะต้องมีใบอนุญาตหรือไลเซนส์ เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่การตลาดหรือมาร์เก็ตติ้ง ซึ่งก็ได้ผลในขณะนั้นทำให้วงเงินเดย์เทรดของบล.ลดลง"
นายกสมาคมบล.กล่าวและว่า การคุมวงเงินเทรดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงเกินไป และยังให้คณะกรรมการหรือบอร์ดบริษัทรับรู้ด้วย อย่างไรก็ตามสำหรับปี 2556 นี้ อาจเป็นไปได้ว่าตลาดหุ้นบูม จึงทำให้พอร์ตเดย์เทรดของบล.ได้กลับมามีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็น 60 % ของพอร์ตบล.ทั้งหมด ขณะที่มีจำนวนบล.มีพอร์ตเดย์เทรด 10 บริษัท เทียบ 2 ปีก่อนหลังสมาคมออกกฎคุมก็ได้ลดลงเหลือ 12 %
ดังนั้นล่าสุดสมาคมออกหลักเกณฑ์ใหม่โดยให้เทรดหุ้นได้ไม่เกิน 50 % ของส่วนผู้ถือหุ้น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 นี้ อย่างไรก็ตามกลุ่มเดย์เทรดซึ่งมี 60 % ของบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งดูเหมือนจะมีสัดส่วนที่มาก แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดจึงต้องแยกแยะ ดังนั้นกลุ่มนี้จะมีสัดส่วน 8-9 % ของมูลค่าการซื้อขายของตลาดรวม
"พอร์ตเดย์เทรดของโบรกเกอร์จะจบภายในวันเดียว พอตลาดปิดก็ปิดโต๊ะเช้ามาก็เปิดร้านว่ากันใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สมาคมบล. คิดว่าจะต้องเข้าไปดูแลหรือควบคุม"
นางภัทธีรา กล่าวว่าต่อจากนี้ไปพอร์ตเดย์เทรดจะต้องถูกนับเป็นเหมือนลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ด้วย คือ จะต้องมีต้นทุนในการซื้อขายหุ้นโดยการคิดค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (ค่าคอมมิสชัน) ซึ่งในภาคปฏิบัติเทรดเดอร์ก็จะถูกคิดค่าคอมฯจากกำไรที่ได้รับจากซื้อขายหุ้นหรือจากผลการดำเนินงาน( Performance )ของเทรดเดอร์ที่จะต้องมีต้นทุนด้วย
ดังนั้นกล่าวโดยสรุป หลักเกณฑ์ที่สมาคมบล.จะคุมพอร์ตเดย์เทรดของบล. เพื่อให้นักลงทุนสบายใจ มี 3 ข้อหลักๆ คือ 1.จัดเก็บค่าคอมมิสชันไม่ใช่ซื้อขายไปเรื่อย ๆโดยไม่มีต้นทุน 2.คุมวงเงินเทรดให้แคบลง และ 3. กำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์มีการกับและควบคุมพอร์ตบล.ที่เป็นเดย์เทรดอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น หรือจะต้องมีเครื่องมือในการมอนิเตอร์ระหว่างวันด้วย
"หากปล่อยให้พอร์ตเดย์เทรดของบล.โตเกินไปจนทำให้ตลาดหุ้นไทยมีแต่ผู้เล่นที่เป็นพอร์ตโบรกเกอร์อยู่เต็มตลาด ก็จะไม่น่าเทรด เพราะจะทำให้ตลาดผันผวนจนเกินไป ในสายตาต่างชาติก็จะมองว่าตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดที่เล่นกันเอง รีเทลก็ไม่อยากลงทุนเพราะจะกลายเป็นรองโบรกเกอร์ มันเป็นเรื่องของความมั่นใจ"
นายกสมาคมบล.กล่าวอีกว่า หากพอร์ตโบรกเกอร์เติบโตขึ้นจากกำไรที่เพิ่มขึ้น ตลาดหุ้นมีขนาดใหญ่ขึ้น สัดส่วนการลงทุนของพอร์ตบล.ที่เป็นเดย์เทรดก็จะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของตลาด การควบคุมวงเงินก็เป็นเหมือนการจำกัดไว้อีกชั้น
"การคุมพอร์ตเดย์เทรดของบล. ผลโดยรวมจะช่วยให้อุตสาหกรรมแข็งแรงขึ้น ซึ่งมาตรการที่ควบคุมไม่ถือเป็นยาที่แรงจนเกินไป หรือทำให้มูลค่าการซื้อขายของพอร์ตโบรกเกอร์หายไป จนส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายโดยรวมลดลงไปด้วยก็แย่"
ต่อข้อถามที่ว่าทำไมในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา แก๊ง 4 โมงเย็นจึงมองตลาดเหมือนกัน นางภัทรีรา กล่าวว่า ต้องยอมรับช่วง 1 เดือนที่ผ่านมานักลงทุนบุคคลซึ่งรวมรายย่อย ชะลอการลงทุนในตลาดหุ้น เห็นได้จากโวลุ่มตลาดลดลงเหลือเฉลี่ย 4 หมื่นล้านบาทต่อวัน เทียบช่วงต้นปีที่มีโวลุ่มเทรดเฉลี่ย 6 หมื่นล้านบาทต่อวัน ซึ่งถือว่านักลงทุนบุคคลหายไปจำนวนมาก
"กล้าบอกได้เลยตราบใดถ้าดัชนียังไม่ถึง 1,400-1,450 จุด โวลุ่มรายย่อยยังไม่กลับมา ซึ่งก็มีบางคนที่ยอมขายตัดขาดทุน(Cut loss) และบางคนยังถือหุ้นไว้ ซึ่งก็หมายถึงติดหุ้น"
นางภัทธีรา ยังกล่าวว่าสาเหตุที่นักลงทุนรายย่อยติดหุ้นเนื่องจากช่วงแรกๆที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯปรับตัวลงนักลงทุนเข้าไปรับ(เก็บหุ้น)กันจำนวนมาก เห็นได้ชัดว่าบางวันต่างชาติขายสุทธิ 1 หมื่นล้านบาท และรายย่อยก็ซื้อสุทธิ 1 หมื่นล้านบาท ทำให้สะท้อนได้ว่ารายย่อยติดหุ้นที่ราคาสูงเหมือนกัน ดังนั้นดัชนีที่ระดับ 1,450 จุดเป็นเพียงระดับที่รายย่อยจะกลับมาซื้อขายได้
ทั้งนี้การที่นักลงทุนประเภทบุคคลออกไปจากตลาดถือว่าทำถูก ตลาดหุ้นผันผวนในทิศทางขาลงจากปัจจัย QE นักลงทุนจะไม่สามารถรู้ได้ว่าตลาดจะมาในทิศทางไหน และเป็นตามคำแนะนำว่านักลงทุนรายย่อยอย่าเพิ่งลงทุนออกไปอยู่ข้างนอกก่อน ทำให้สัดส่วนนักลงทุนบุคคลลดจาก 60 % เหลือ 48 % ของโวลุ่มรวม หรือหายไปกว่า 10 % ถือว่าลดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2550 ทำให้ตลาดเหลือแต่ผู้เล่นที่เป็นมืออาชีพ คือ พอร์ตบล. นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ
นางภัทธีรา ยังกล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา ได้พบกับผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ (จรัมพร โชติกเสถียร)เพื่อหารือเรื่องการนำเสนอข้อมูล(โรดโชว์)ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้จัดการตลาดหลัททรัพย์ฯก็ยอมรับว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯมีพอร์ตบล.น้อยมาก โบรกเกอร์ส่วนใหญ่เริ่มไม่เน้นแล้ว
ขณะที่ต้องยอมรับว่าตลาดหุ้นย่านเอเชียเป็นตลาดรีเทลต่างกับตลาดฝั่งอเมริกาที่เป็นตลาดสถาบัน และตลาดหุ้นเอเชียยังเน้นความเป็นสีสันบนความถูกต้อง คือ มีความหลากหลายและคละเคล้าที่พอเหมาะ ดังนั้นหากยังต้องการมีรีเทลมาก ๆก็จะต้องให้ความมั่นใจกับรีเทล คุมพอร์ตโบรกไม่ให้มีสัดส่วนมากจนเกินไปจนกระทบสัดส่วนนักลงทุนบุคคล อย่างไรก็ตามไม่ว่านักลงทุนกลุ่มไหนก็จะต้องเทรดบนความถูกต้องด้วยไม่มีการสร้างราคาหรือปั่นหุ้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,879 วันที่ 15 - 18 กันยายน พ.ศ. 2556