Q4 ชิงตั้งกองอสังหาแสนล้าน รับสิทธิภาษี-หนีเกณฑ์ใหม่ แย่งเม็ดเงินกอง"อินฟราฯ"
updated: 11 ต.ค. 2556 เวลา 11:01:04 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
บลจ.แห่ ยื่นไฟลิ่ง ตั้งกองทุนอสังหาฯโค้งท้ายเฉียด 1 แสนล้าน ก่อนหมดเขตสิ้นปีนี้ เผยมีทั้งกลุ่มเจริญกว่า 3 หมื่นล้าน-ซีพี 1 หมื่นล้าน-แลนด์ฯ 1 หมื่นล้าน จับตากองทุนอสังหาฯออกมาชนกับกองทุนอินฟราฯในตลาดรวม 20 กองทุน แข่งแย่งเม็ดเงินในตลาด ฟาก บลจ.ใหญ่เดินเกมขายหน่วยลงทุนให้สถาบันต่างชาติ ทั้งสิงคโปร์-ฮ่องกง หลังพบกำลังซื้อในประเทศมีจำกัด
รายงานข้อมูลจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) ระบุว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการของกองทุนอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ณ เดือน เม.ย. 56 อยู่ที่ 1.55 แสนล้านบาท จากต้นปีที่อยู่ 1.42 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 9.15%
ยื่นไฟลิ่งเฉยด 1 แสน ล.
นางชวินดา หาญรัตนกูล รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานกองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 4 นี้ เชื่อว่า บลจ.ต่าง ๆ จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขอเสนอขายกองทุนอสังหาฯจำนวนมาก และน่าจะมีมูลค่าสินทรัพย์รวมเกือบ 1 แสนล้านบาท
ทั้งนี้เนื่องจากสิ้นปีนี้จะสิ้นสุดเวลาที่ ก.ล.ต.จะอนุญาตให้ บลจ.สามารถยื่นไฟลิ่งกองทุนดังกล่าวได้ ส่วนในปี"57 หากจะออกกองทุนอีกก็จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) โดยผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเหมือนเช่นกองทุนอสังหาฯแล้ว
"ปีนี้ทุกค่ายจะพยายามยื่นไฟลิ่งของกองทุนอสังหาฯให้ทัน และน่าจะมีมูลค่ารวมสูงเกือบถึง 1 แสนล้านบาท และถ้ารวมกับกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) ก็น่าจะเกิน 1 แสนล้านบาท"
โดย บลจ.กรุงไทยก็อยู่ระหว่างยื่นไฟลิ่งกองทุนอสังหาฯต่อ ก.ล.ต. 1 กองทุน ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ซึ่งมีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นโรงแรม 10 แห่งทั่วประเทศ มูลค่าราว 3 หมื่นล้านบาท ถือเป็นกองทุนอสังหาฯโรงแรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นกองทุนที่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (Free Hold) คาดว่าจะเสนอขายภายในปีนี้
นอกจากนี้ บลจ.กรุงไทยยังอยู่ระหว่างจัดตั้งกองทุนอสังหาฯ ซี.พี.ทาวเวอร์โกรท (CPTGF) มูลค่า 10,000 ล้านบาท รอการอนุมัติจาก ก.ล.ต. คาดว่าจะเสนอขายให้กับประชาชนทั่วไป (IPO) ภายในช่วงเดือน พ.ย. 56 ราคาหน่วยลงทุนเบื้องต้นไม่เกิน 11 บาทต่อหน่วย สำหรับผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 6-8% ต่อปี มีเป้าหมายในการจ่ายปันผลทุกไตรมาส รวมทั้ง บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่อยู่ระหว่างจัดตั้งกองทุนอสังหาฯโดยลงทุนในห้างเทอร์มินัล 21 และโฮมโปร มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท รวมถึง บมจ.เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ที่ศึกษานำโรงแรมมาราเกช หัวหิน ตั้งพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ในช่วงปลายปีนี้ มูลค่า 1,000 ล้านบาท
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1381406533
Q4 ชิงตั้งกองอสังหาแสนล้าน รับสิทธิภาษี-หนีเกณฑ์ใหม่ ...
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Q4 ชิงตั้งกองอสังหาแสนล้าน รับสิทธิภาษี-หนีเกณฑ์ใหม่ ...
โพสต์ที่ 2
"กองอสังหาฯ-โครงสร้างพื้นฐาน" ใน 6 เดือนข้างหน้าจ่อระดมทุนกว่า 2 แสนล้านบาท ขณะที่ความต้องการต่ำกว่า
นายวิน อุดมรัตวนิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.วรรณ เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2557 คาดว่าจะมีกองทุนอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ออกมาระดมทุน 200,000 ล้านบาท แม้ปัจจุบันสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์มีอยู่ 900,000 ล้านบาท แต่จะเป็นเงินกลุ่มนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 200,000 ล้านบาท
ดังนั้นกองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะต้องแข่งกันที่ตัวอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สินที่ลงทุนเป็นปัจจัยหลัก เพื่อที่จะดึงดูดนักลงทุนให้ตัดสินใจเข้ามาลงทุน
"ในแง่ของบลจ. จังหวะในการออกกองทุนก็สำคัญ รวมถึงคุณภาพของอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุน ต้องดี หรือมีกระแสรายได้ที่ดีด้วยเช่นกัน อย่างน้อยผลตอบแทนสุทธิ (Net Yield) ที่ไปถึงผู้ถือหน่วยลงทุน ควรจะมากกว่าผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ประมาณ 1- 2% จึงจะน่าสนใจ ที่สำคัญต้องดูด้วยว่า กองทุนนั้นเป็นการลงทุนในกรรมสิทธิ์ หรือลงทุนในสิทธิการเช่า (Lease Hold) โดยเฉพาะกรณีของกองทุนแบบ Lease Hold จะมีทั้งเงินต้นรวมทั้งผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับเราต้องดูผลตอบแทนสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว "
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย กล่าวว่า การออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ถือว่าเป็นเกมของธนาคารพาณิชย์ ที่ต้องการปรับโครงสร้างทางการเงินให้กับลูกหนี้ตัวเอง ด้วยการตั้งกองทุนขึ้นมา แล้วส่งให้บลจ.ลูก เข้าไปรับช่วงต่อในการบริหารจัดการกองทุน เมื่อธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออกให้ จึงไม่มีปัญหาในแง่การขาย แม้จะเป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่
ส่วนของกองทุนขนาดเล็ก ต้องขึ้นกับคุณภาพของสินทรัพย์ที่กองทุนเข้าไปลงทุนเป็นหลัก อย่างกองทุนของบริษัทเอง แม้ไม่มีการการันตีผลตอบแทนขั้นต่ำให้ผู้ถือหน่วย แต่ขายได้หมด และได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี เพราะสินทรัพย์ที่ลงทุนเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพ
ด้านนายศิต ตันศิริ ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานวานิชธนกิจ บล.โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า กองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีออกมาจำนวนมากช่วงนี้ ในแง่ของนักลงทุนที่มีเงินลงทุนจำกัด ต้องพิจารณารายละเอียดกองทุนที่จะเข้าลงทุนด้วย ทั้งเรื่องสินทรัพย์ที่เข้าไปลงทุน กระแสรายได้ที่เข้ามาหรือผลตอบแทนที่ได้รับ รวมถึงความเสี่ยงของกองทุนประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน
ล่าสุดบริษัทอยู่ระหว่างเสนอขาย "กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ยูนิลอฟท์ (UNIPF)" ในช่วงวันที่ 14-25 ต.ค. นี้ มูลค่าโครงการไม่เกิน 520 ล้านบาท มีนโยบายลงทุนในกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ (Freehold) ของโครงการ "หอพักยูนิลอฟท์ ศาลายา" อาคาร 8 ชั้น 3 อาคาร บนที่ดิน 4-3-75.9 ไร่
"ในช่วงแรกกองทุน UNIPF จะได้รับค่าเช่าคงที่จากพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ซึ่งเป็นผู้เช่าเหมา 43.5 ล้านบาทต่อปี ในช่วง 3 ปีแรก และกองทุนมีสิทธิขยายอายุสัญญาให้เช่าแก่ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค อีก 1 ปี หลังจากปีที่ 3 โดยเงินปันผลสุทธิถึงนักลงทุนจะได้รับไม่ต่ำกว่า 6.5% ต่อปี และมีเป้าที่จะสร้างผลตอบแทนสุทธิให้ใกล้เคียง 7.0% ไปตลอดอายุโครงการ บนสมมติฐานอัตราการเช่าที่ 85%"
ปัจจุบันโครงการมีอัตราการเช่าเฉลี่ย 60% เพราะเป็นโครงการใหม่ และคาดสิ้นปีอัตราการเช่าจะปรับขึ้นมาอยู่ที่ 75-80% และปรับตัวดีขึ้นช่วงเดือนมี.ค.2557 ตามลำดับ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... แสนล..html
นายวิน อุดมรัตวนิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.วรรณ เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2557 คาดว่าจะมีกองทุนอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ออกมาระดมทุน 200,000 ล้านบาท แม้ปัจจุบันสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์มีอยู่ 900,000 ล้านบาท แต่จะเป็นเงินกลุ่มนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 200,000 ล้านบาท
ดังนั้นกองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะต้องแข่งกันที่ตัวอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สินที่ลงทุนเป็นปัจจัยหลัก เพื่อที่จะดึงดูดนักลงทุนให้ตัดสินใจเข้ามาลงทุน
"ในแง่ของบลจ. จังหวะในการออกกองทุนก็สำคัญ รวมถึงคุณภาพของอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุน ต้องดี หรือมีกระแสรายได้ที่ดีด้วยเช่นกัน อย่างน้อยผลตอบแทนสุทธิ (Net Yield) ที่ไปถึงผู้ถือหน่วยลงทุน ควรจะมากกว่าผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ประมาณ 1- 2% จึงจะน่าสนใจ ที่สำคัญต้องดูด้วยว่า กองทุนนั้นเป็นการลงทุนในกรรมสิทธิ์ หรือลงทุนในสิทธิการเช่า (Lease Hold) โดยเฉพาะกรณีของกองทุนแบบ Lease Hold จะมีทั้งเงินต้นรวมทั้งผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับเราต้องดูผลตอบแทนสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว "
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย กล่าวว่า การออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ถือว่าเป็นเกมของธนาคารพาณิชย์ ที่ต้องการปรับโครงสร้างทางการเงินให้กับลูกหนี้ตัวเอง ด้วยการตั้งกองทุนขึ้นมา แล้วส่งให้บลจ.ลูก เข้าไปรับช่วงต่อในการบริหารจัดการกองทุน เมื่อธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออกให้ จึงไม่มีปัญหาในแง่การขาย แม้จะเป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่
ส่วนของกองทุนขนาดเล็ก ต้องขึ้นกับคุณภาพของสินทรัพย์ที่กองทุนเข้าไปลงทุนเป็นหลัก อย่างกองทุนของบริษัทเอง แม้ไม่มีการการันตีผลตอบแทนขั้นต่ำให้ผู้ถือหน่วย แต่ขายได้หมด และได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี เพราะสินทรัพย์ที่ลงทุนเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพ
ด้านนายศิต ตันศิริ ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานวานิชธนกิจ บล.โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า กองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีออกมาจำนวนมากช่วงนี้ ในแง่ของนักลงทุนที่มีเงินลงทุนจำกัด ต้องพิจารณารายละเอียดกองทุนที่จะเข้าลงทุนด้วย ทั้งเรื่องสินทรัพย์ที่เข้าไปลงทุน กระแสรายได้ที่เข้ามาหรือผลตอบแทนที่ได้รับ รวมถึงความเสี่ยงของกองทุนประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน
ล่าสุดบริษัทอยู่ระหว่างเสนอขาย "กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ยูนิลอฟท์ (UNIPF)" ในช่วงวันที่ 14-25 ต.ค. นี้ มูลค่าโครงการไม่เกิน 520 ล้านบาท มีนโยบายลงทุนในกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ (Freehold) ของโครงการ "หอพักยูนิลอฟท์ ศาลายา" อาคาร 8 ชั้น 3 อาคาร บนที่ดิน 4-3-75.9 ไร่
"ในช่วงแรกกองทุน UNIPF จะได้รับค่าเช่าคงที่จากพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ซึ่งเป็นผู้เช่าเหมา 43.5 ล้านบาทต่อปี ในช่วง 3 ปีแรก และกองทุนมีสิทธิขยายอายุสัญญาให้เช่าแก่ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค อีก 1 ปี หลังจากปีที่ 3 โดยเงินปันผลสุทธิถึงนักลงทุนจะได้รับไม่ต่ำกว่า 6.5% ต่อปี และมีเป้าที่จะสร้างผลตอบแทนสุทธิให้ใกล้เคียง 7.0% ไปตลอดอายุโครงการ บนสมมติฐานอัตราการเช่าที่ 85%"
ปัจจุบันโครงการมีอัตราการเช่าเฉลี่ย 60% เพราะเป็นโครงการใหม่ และคาดสิ้นปีอัตราการเช่าจะปรับขึ้นมาอยู่ที่ 75-80% และปรับตัวดีขึ้นช่วงเดือนมี.ค.2557 ตามลำดับ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... แสนล..html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.