โอนหุ้นออกไปแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อเลี่ยงภาษีมรดกหรือไม่ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
โอนหุ้นออกไปแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อเลี่ยงภาษีมรดกหรือไม่ครับ
โพสต์ที่ 1
พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) บมจ.(EA) สมโภชน์ อาหุนัย ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 01/02/2559 29/01/2559 630,000,000 0.10 โอนออก โอนให้ SOTUS & Faith # Limited (For setting up the trust, pay in kind transaction)
เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) บมจ.(SAPPE) อานุภาพ รักอริยะพงศ์ ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 01/02/2559 01/02/2559 5,000,000 0.00 โอนออก-เพื่อฝาก ผู้รับฝากและดูแลหลักทรัพย์ : Standard Chartered Bank ถือหลักทรัพย์โดย : UBS AG Singapore Bank
ขอความรู้จากผู้รู้หน่อยครับ
ขอบคุณล่วงหน้า
เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) บมจ.(SAPPE) อานุภาพ รักอริยะพงศ์ ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 01/02/2559 01/02/2559 5,000,000 0.00 โอนออก-เพื่อฝาก ผู้รับฝากและดูแลหลักทรัพย์ : Standard Chartered Bank ถือหลักทรัพย์โดย : UBS AG Singapore Bank
ขอความรู้จากผู้รู้หน่อยครับ
ขอบคุณล่วงหน้า
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: โอนหุ้นออกไปแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อเลี่ยงภาษีมรดกหรือไม่
โพสต์ที่ 3
คือถ้าโอนให้ทายาท ผมก็ไม่แปลกใจครับ
แต่นี่โอนให้ Trust ที่ต่างประเทศ แปลว่า
ต่อไปโอนหุ้นพวกนี้ให้ใครก็ไม่ต้องเสียภาษี
มรดกและการให้ของไทย หรือไม่อย่างไร
อย่างนี้ ถ้าก่อนหน้าบรรดามหาเศรษฐีทั้งหลาย
ไม่โอนทรัพย์สินต่างๆ ไปถือในกองทรัสท์ใน
ต่างประเทศหมดหรือครับ แล้วแทนที่จะเก็บ
ภาษีอย่างอื่นได้ด้วย อาจเก็ยไม่ได้ด้วยหรือไม่ครับ
ดูๆ แล้วภาษีมรดกและการให้คงเป็นภาษีที่
ออกมาทำไม ถ้าสุดท้าย เน็ทๆ แล้วรัฐฯ เก็บ
ภาษีได้น้อยลง เพราะโอนทรัพย์สินไปอยู่
ต่างประเทศหมด หรือถือให้นามทรัสต์ที่ต่างประเทศ
หมด
แต่นี่โอนให้ Trust ที่ต่างประเทศ แปลว่า
ต่อไปโอนหุ้นพวกนี้ให้ใครก็ไม่ต้องเสียภาษี
มรดกและการให้ของไทย หรือไม่อย่างไร
อย่างนี้ ถ้าก่อนหน้าบรรดามหาเศรษฐีทั้งหลาย
ไม่โอนทรัพย์สินต่างๆ ไปถือในกองทรัสท์ใน
ต่างประเทศหมดหรือครับ แล้วแทนที่จะเก็บ
ภาษีอย่างอื่นได้ด้วย อาจเก็ยไม่ได้ด้วยหรือไม่ครับ
ดูๆ แล้วภาษีมรดกและการให้คงเป็นภาษีที่
ออกมาทำไม ถ้าสุดท้าย เน็ทๆ แล้วรัฐฯ เก็บ
ภาษีได้น้อยลง เพราะโอนทรัพย์สินไปอยู่
ต่างประเทศหมด หรือถือให้นามทรัสต์ที่ต่างประเทศ
หมด
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: โอนหุ้นออกไปแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อเลี่ยงภาษีมรดกหรือไม่
โพสต์ที่ 4
ดีเดย์ 1ต.ค. บี้ภาษีกำไรโอนหุ้นนอกตลาดอุดรูโหว่
updated: 16 ก.ย. 2556 เวลา 23:10:18 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
สรรพากร จับมือ ก.ล.ต.รีดภาษี "โอนหุ้นนอกตลาด" อุดช่องโหว่นักลงทุนทำธุรกรรมสูง แจงคิดบนฐาน Capital Gain คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก.ล.ต.เดินหน้าเก็บข้อมูลจากโบรกฯ 1 ต.ค. 56 ส่งข้อมูลงวดแรก 15 พ.ย.นี้ สกัดโยกหุ้น "กำลังซื้อเทียม"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ทำหนังสือแจ้งบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) รวมทั้งธนาคารและศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ว่าทางกรมสรรพากรได้ขอความร่วมมือในการจัดส่งข้อมูลของลูกค้าที่มีการโอนหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ ทั้งในส่วนของหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) ใบสำคัญแสงสิทธิอนุพันธ์ (DW) ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR) ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (DR) เพื่อจัดส่งให้แก่กรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด
เนื่องจากการโอนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนนอกตลาดหลักทรัพย์เป็นธุรกรรมที่ผู้โอน หรือผู้รับโอนมีภาระหน้าที่ต้องเสียภาษีแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ การจัดส่งข้อมูลของลูกค้าโอนหลักทรัพย์นอกตลาด รวมถึงลูกค้าประเภทกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลด้วย โดย บล.มีหน้าที่ต้องรายงานธุรกรรมทุกรายการที่เกิดขึ้น และให้จัดส่งรายงานให้แก่กรมสรรพากรเป็นรายเดือน โดยให้จัดส่งภายใน 15 วัน ของเดือนถัดไป
ในกรณี บล.ที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุน ขอให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ให้ความร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์ ในการรายงานธุรกรรมโอนหลักทรัพย์ กรณีการทำธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างกองทุน (Cross Trade) ภายใต้การจัดการทั้งกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคลด้วย
นอกจากนี้สำนักงาน ก.ล.ต.ระบุว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี ทาง ก.ล.ต.ได้มีหนังสือสอบถามข้อมูลไปยังกรมสรรพากรเกี่ยวกับประเด็นภาระภาษีดังกล่าว ซึ่งหากได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากกรมสรรพากรก็จะซักซ้อมความเข้าใจเพิ่มเติม
รีดภาษีโอนหุ้นนอกตลาด
นางจิตรมณี สุวรรณพูล ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพากรเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การขอความร่วมมือจาก ก.ล.ต.ให้จัดส่งข้อมูลการโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ให้แก่กรมสรรพากรนั้น เป็นเรื่องที่หารือกันมานานพอสมควรแล้ว เนื่องจากทางศูนย์บริหารภาษีนอกระบบของกรมสรรพากรเห็นว่า ธุรกรรมการซื้อขายหุ้นนอกตลาดมีค่อนข้างมาก จึงได้หารือกับทาง ก.ล.ต.ซึ่งแจ้งว่ามีข้อมูลเหล่านี้อยู่
"ทางผู้อำนวยการศูนย์บริหารภาษีนอกระบบก็ได้รายงานอธิบดีกรมสรรพากรว่า ทาง ก.ล.ต.มีข้อมูล อธิบดีก็เลยให้มีหนังสือไปถึง ก.ล.ต.เพื่อขอข้อมูลซึ่งไม่ได้มีเงื่อนไขว่าต้องส่งเมื่อไหร่ แต่พอ ก.ล.ต.ไปออกหนังสือแจ้งไปที่โบรกเกอร์ ก็เลยแตกตื่นกัน" นางจิตรมณีกล่าว
นางจิตรมณียอมรับว่า การจะบังคับให้โบรกเกอร์ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรคงไปทำไม่ได้ จึงต้องขอความร่วมมือกับทาง ก.ล.ต. อย่างไรก็ตาม หากโบรกเกอร์รายใดไม่ให้ความร่วมมือ ทางกรมสรรพากรก็ต้องประสานกับ ก.ล.ต.ให้มีมาตรการบางอย่าง
"ปกติการซื้อขายหุ้นมีกำไรต้องเสียภาษี แต่รัฐบาลเห็นว่าเป็นการระดมทุน ถ้าซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ก็เลยยกเว้นให้ แต่มีบางคนไปซื้อขายกันเองไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งข้อมูลก็อยู่กับโบรกเกอร์และ ก.ล.ต. ดังนั้นถ้ามีการส่งข้อมูลตรงนี้มาก็จะเป็นการบอกว่า อย่าแอบซื้อขายกันนอกตลาด"
โฆษกกรมสรรพากรยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการดำเนินงานตามปกติของกรมสรรพากร ที่ต้องพยายามเก็บภาษีที่ยังอยู่นอกระบบให้ได้มากขึ้น ซึ่งดำเนินการมาตลอด ซึ่งนอกจากกรณีนี้ กรมสรรพากรยังมีความร่วมมือในการขอข้อมูลจากหน่วยงานอื่น ๆ อีก อาทิ ข้อมูลค่าน้ำค่าไฟของโรงงานที่ประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรม หรือข้อมูลจากกรมที่ดิน ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบก ข้อมูลจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นต้น
"พวกนอกระบบยังมีอยู่อีกมาก เราก็ขอข้อมูลมาไว้ตลอด เพื่อให้หน่วยปฏิบัตินำมาวิเคราะห์ และดำเนินการจัดเก็บภาษีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม" นางจิตรมณีกล่าว
ส่งข้อมูลลอตแรก 15 พ.ย.นี้
นางดวงมน จึงเสถียรทรัพย์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ก.ล.ต.ได้ประสานกับ บล.เพื่อขอข้อมูลการโอนหุ้นนอกตลาดของนักลงทุนแล้ว โดยจะเน้นในส่วนที่ บล.ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดการโอนหุ้นระหว่างลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 56 และหลังจากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้รายงานแก่กรมสรรพากรในวันที่ 15 พ.ย. 56
"ที่ผ่านมาการทำธุรกรรมโอนหุ้นนอกตลาดจะต้องเสียภาษีอยู่แล้ว แต่เนื่องจาก บล.ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางไม่มีหน้าที่ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย และที่ผ่านมาสรรพากรก็ไม่เคยให้ บล.รายงานเรื่องนี้ จึงทำให้ไม่มีการเรียกเก็บเกิดขึ้น แต่ตอนนี้เมื่อสรรพากรซึ่งมีอำนาจในการตรวจสอบเห็นควรว่าจะต้องให้รายงานข้อมูล บล.ก็จะต้องให้ความร่วมมือทั้งระบบ" นางดวงมนกล่าว
ปิดช่องโยกหุ้นขอเงินโบรกฯเพิ่ม
นางดวงมนกล่าวว่า การจัดเก็บข้อมูลโอนหุ้นนอกตลาดฯให้สรรพากรนั้น นอกจากจะส่งผลดีต่อสรรพากรในแง่ของการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐเพิ่มขึ้นแล้ว อีกด้านก็เป็นการช่วยสกัด "กำลังซื้อเทียม" ซึ่งเกิดจากการที่นักลงทุนใช้วิธีโอนหุ้นจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง จนทำให้พอร์ตของผู้ที่ได้รับโอนมีหุ้นมากขึ้น สามารถขอวงเงินเพิ่มจาก บล.ได้ ทั้งที่หุ้นในพอร์ตอาจไม่ใช่กรรมสิทธิ์แท้จริงของตน แต่เป็นเพียงเทคนิคที่อาศัยช่องโหว่จากการโอนหุ้นที่ไม่มีต้นทุนภาษีและไม่ต้องจ่ายเงินซื้อขายจริง
"เมื่อสรรพากรเรียกเก็บข้อมูลพวกนี้ ก็จะช่วยให้ธุรกรรมประเภทโอนหลักประกันเพิ่ม สร้างกำลังซื้อเทียมปรับตัวลดลง เพราะที่ผ่านมารูปแบบหนึ่งของการโอนหุ้นเกิดจากการที่นาย A โอนหุ้นไปให้นาย B เพื่อทำให้พอร์ตของนาย B มีหลักทรัพย์ค้ำประกันสูง มีอำนาจในการขอวงเงินซื้อขายหุ้นจากโบรกเกอร์เพิ่มได้ ทั้งที่หุ้นนั้นอาจไม่ใช่ของนาย B จริง ๆ ดังนั้นเราก็มองว่าการที่สรรพากรเข้ามาจัดการเรื่องนี้ก็เป็นประโยชน์ต่อตลาดทุนด้วย" นางดวงมนกล่าว
นายธวัชชัย พิทยโสภณ ผู้อำนวยการฝ่ายงานเลขาธิการ ก.ล.ต.กล่าวว่า ที่ผ่านมาทาง ก.ล.ต.ไม่ได้รวบรวมข้อมูลเรื่องการโอนหุ้นของโบรกเกอร์ไว้ และทางโบรกเกอร์เองก็ไม่ได้เก็บข้อมูลไว้ทั้งหมด จึงไม่มีข้อมูลว่าที่ผ่านมามีผู้ที่โอนหลักทรัพย์นอกตลาดฯมากน้อยแค่ไหน จึงต้องแจ้งให้โบรกเกอร์รับทราบและส่งข้อมูลที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้เป็นต้นไป
นักลงทุนโวยสับสนข้อมูล
แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์รายหนึ่งกล่าวว่า หลังจากที่มีข่าวการเก็บภาษีปรากฏตามสื่อต่าง ๆ พบว่านักลงทุนที่เป็นลูกค้าของบริษัทได้สอบถามเข้ามาอย่างมาก เนื่องจากไม่เข้าใจหลักเกณฑ์ของสรรพากรว่าจะมีการเรียกเก็บภาษีการโอนหลักทรัพย์นอกตลาด ณ ราคาต้นทุน หรือราคา ณ วันโอน และจะคิดในอัตรากี่เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการโอน ฯลฯ ซึ่งโบรกเกอร์เองก็ยังไม่ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวเช่นกัน จึงไม่สามารถชี้แจงได้ ทำให้นักลงทุนอยู่ในภาวะที่สับสนต่อข่าวที่ออกมาเป็นอย่างมาก
"ต้องบอกว่านักลงทุนไม่แฮปปี้กับข่าว เพราะไม่มีรายละเอียดอะไรออกมาเลยว่าจะจัดเก็บภาษีในอัตราเท่าไหร่ จะคิดราคาหุ้นจากต้นทุนที่ได้รับหรือในวันโอน หรือว่าจะเก็บภาษีจากส่วนต่างกำไร แล้วถ้าการโอนหุ้นมีผลขาดทุนจะคิดภาษีอย่างไร ฯลฯ ประเด็นเหล่านี้เราตอบคำถามนักลงทุนไม่ได้เลย จึงอยากให้สรรพากรชี้แจงให้ชัด ฝั่งโบรกฯจะได้ประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนเข้าใจ" แหล่งข่าวกล่าว
แจงเป็นภาษีกำไรจากการขายหุ้น
แหล่งข่าวจากกรมสรรพากรกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เนื่องจากที่ผ่านมามีการซื้อขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ค่อนข้างมาก ซึ่งการซื้อขายหุ้นนอกตลาดต้องเสียภาษี แต่เนื่องจากกรมสรรพากรไม่มีข้อมูลธุรกรรม เพราะข้อมูลจะอยู่ที่โบรกเกอร์ ดังนั้นหากกรมสรรพากรได้ข้อมูลจากโบรกเกอร์ คาดว่าจะได้เม็ดเงินภาษีเพิ่มขึ้นอีกมาก โดยเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่หารือกันมานานแล้ว
แหล่งข่าวกล่าวว่า การเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์จะเป็นการนำเฉพาะกำไรที่เกิดขึ้น เพื่อไปบันทึกเป็นรายได้แล้วคำนวณภาษี โดยการคิดกำไรจะดูจากต้นทุนว่าซื้อเท่าไร และเมื่อโอนออกไปราคาเท่าไหร่แล้วมีกำไร หรือขาดทุน หากขาดทุนก็จะไม่ต้องเสียภาษี เพราะภาษีซื้อขายหุ้นจะคิดจากส่วนล้ำมูลค่าหุ้น ซึ่งก็เป็นการคิดบนฐานภาษี Capital Gain จากกำไรที่ได้จากการขายหลักทรัพย์
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1379324431
updated: 16 ก.ย. 2556 เวลา 23:10:18 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
สรรพากร จับมือ ก.ล.ต.รีดภาษี "โอนหุ้นนอกตลาด" อุดช่องโหว่นักลงทุนทำธุรกรรมสูง แจงคิดบนฐาน Capital Gain คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก.ล.ต.เดินหน้าเก็บข้อมูลจากโบรกฯ 1 ต.ค. 56 ส่งข้อมูลงวดแรก 15 พ.ย.นี้ สกัดโยกหุ้น "กำลังซื้อเทียม"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ทำหนังสือแจ้งบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) รวมทั้งธนาคารและศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ว่าทางกรมสรรพากรได้ขอความร่วมมือในการจัดส่งข้อมูลของลูกค้าที่มีการโอนหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ ทั้งในส่วนของหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) ใบสำคัญแสงสิทธิอนุพันธ์ (DW) ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR) ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (DR) เพื่อจัดส่งให้แก่กรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด
เนื่องจากการโอนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนนอกตลาดหลักทรัพย์เป็นธุรกรรมที่ผู้โอน หรือผู้รับโอนมีภาระหน้าที่ต้องเสียภาษีแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ การจัดส่งข้อมูลของลูกค้าโอนหลักทรัพย์นอกตลาด รวมถึงลูกค้าประเภทกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลด้วย โดย บล.มีหน้าที่ต้องรายงานธุรกรรมทุกรายการที่เกิดขึ้น และให้จัดส่งรายงานให้แก่กรมสรรพากรเป็นรายเดือน โดยให้จัดส่งภายใน 15 วัน ของเดือนถัดไป
ในกรณี บล.ที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุน ขอให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ให้ความร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์ ในการรายงานธุรกรรมโอนหลักทรัพย์ กรณีการทำธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างกองทุน (Cross Trade) ภายใต้การจัดการทั้งกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคลด้วย
นอกจากนี้สำนักงาน ก.ล.ต.ระบุว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี ทาง ก.ล.ต.ได้มีหนังสือสอบถามข้อมูลไปยังกรมสรรพากรเกี่ยวกับประเด็นภาระภาษีดังกล่าว ซึ่งหากได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากกรมสรรพากรก็จะซักซ้อมความเข้าใจเพิ่มเติม
รีดภาษีโอนหุ้นนอกตลาด
นางจิตรมณี สุวรรณพูล ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพากรเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การขอความร่วมมือจาก ก.ล.ต.ให้จัดส่งข้อมูลการโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ให้แก่กรมสรรพากรนั้น เป็นเรื่องที่หารือกันมานานพอสมควรแล้ว เนื่องจากทางศูนย์บริหารภาษีนอกระบบของกรมสรรพากรเห็นว่า ธุรกรรมการซื้อขายหุ้นนอกตลาดมีค่อนข้างมาก จึงได้หารือกับทาง ก.ล.ต.ซึ่งแจ้งว่ามีข้อมูลเหล่านี้อยู่
"ทางผู้อำนวยการศูนย์บริหารภาษีนอกระบบก็ได้รายงานอธิบดีกรมสรรพากรว่า ทาง ก.ล.ต.มีข้อมูล อธิบดีก็เลยให้มีหนังสือไปถึง ก.ล.ต.เพื่อขอข้อมูลซึ่งไม่ได้มีเงื่อนไขว่าต้องส่งเมื่อไหร่ แต่พอ ก.ล.ต.ไปออกหนังสือแจ้งไปที่โบรกเกอร์ ก็เลยแตกตื่นกัน" นางจิตรมณีกล่าว
นางจิตรมณียอมรับว่า การจะบังคับให้โบรกเกอร์ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรคงไปทำไม่ได้ จึงต้องขอความร่วมมือกับทาง ก.ล.ต. อย่างไรก็ตาม หากโบรกเกอร์รายใดไม่ให้ความร่วมมือ ทางกรมสรรพากรก็ต้องประสานกับ ก.ล.ต.ให้มีมาตรการบางอย่าง
"ปกติการซื้อขายหุ้นมีกำไรต้องเสียภาษี แต่รัฐบาลเห็นว่าเป็นการระดมทุน ถ้าซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ก็เลยยกเว้นให้ แต่มีบางคนไปซื้อขายกันเองไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งข้อมูลก็อยู่กับโบรกเกอร์และ ก.ล.ต. ดังนั้นถ้ามีการส่งข้อมูลตรงนี้มาก็จะเป็นการบอกว่า อย่าแอบซื้อขายกันนอกตลาด"
โฆษกกรมสรรพากรยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการดำเนินงานตามปกติของกรมสรรพากร ที่ต้องพยายามเก็บภาษีที่ยังอยู่นอกระบบให้ได้มากขึ้น ซึ่งดำเนินการมาตลอด ซึ่งนอกจากกรณีนี้ กรมสรรพากรยังมีความร่วมมือในการขอข้อมูลจากหน่วยงานอื่น ๆ อีก อาทิ ข้อมูลค่าน้ำค่าไฟของโรงงานที่ประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรม หรือข้อมูลจากกรมที่ดิน ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบก ข้อมูลจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นต้น
"พวกนอกระบบยังมีอยู่อีกมาก เราก็ขอข้อมูลมาไว้ตลอด เพื่อให้หน่วยปฏิบัตินำมาวิเคราะห์ และดำเนินการจัดเก็บภาษีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม" นางจิตรมณีกล่าว
ส่งข้อมูลลอตแรก 15 พ.ย.นี้
นางดวงมน จึงเสถียรทรัพย์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ก.ล.ต.ได้ประสานกับ บล.เพื่อขอข้อมูลการโอนหุ้นนอกตลาดของนักลงทุนแล้ว โดยจะเน้นในส่วนที่ บล.ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดการโอนหุ้นระหว่างลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 56 และหลังจากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้รายงานแก่กรมสรรพากรในวันที่ 15 พ.ย. 56
"ที่ผ่านมาการทำธุรกรรมโอนหุ้นนอกตลาดจะต้องเสียภาษีอยู่แล้ว แต่เนื่องจาก บล.ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางไม่มีหน้าที่ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย และที่ผ่านมาสรรพากรก็ไม่เคยให้ บล.รายงานเรื่องนี้ จึงทำให้ไม่มีการเรียกเก็บเกิดขึ้น แต่ตอนนี้เมื่อสรรพากรซึ่งมีอำนาจในการตรวจสอบเห็นควรว่าจะต้องให้รายงานข้อมูล บล.ก็จะต้องให้ความร่วมมือทั้งระบบ" นางดวงมนกล่าว
ปิดช่องโยกหุ้นขอเงินโบรกฯเพิ่ม
นางดวงมนกล่าวว่า การจัดเก็บข้อมูลโอนหุ้นนอกตลาดฯให้สรรพากรนั้น นอกจากจะส่งผลดีต่อสรรพากรในแง่ของการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐเพิ่มขึ้นแล้ว อีกด้านก็เป็นการช่วยสกัด "กำลังซื้อเทียม" ซึ่งเกิดจากการที่นักลงทุนใช้วิธีโอนหุ้นจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง จนทำให้พอร์ตของผู้ที่ได้รับโอนมีหุ้นมากขึ้น สามารถขอวงเงินเพิ่มจาก บล.ได้ ทั้งที่หุ้นในพอร์ตอาจไม่ใช่กรรมสิทธิ์แท้จริงของตน แต่เป็นเพียงเทคนิคที่อาศัยช่องโหว่จากการโอนหุ้นที่ไม่มีต้นทุนภาษีและไม่ต้องจ่ายเงินซื้อขายจริง
"เมื่อสรรพากรเรียกเก็บข้อมูลพวกนี้ ก็จะช่วยให้ธุรกรรมประเภทโอนหลักประกันเพิ่ม สร้างกำลังซื้อเทียมปรับตัวลดลง เพราะที่ผ่านมารูปแบบหนึ่งของการโอนหุ้นเกิดจากการที่นาย A โอนหุ้นไปให้นาย B เพื่อทำให้พอร์ตของนาย B มีหลักทรัพย์ค้ำประกันสูง มีอำนาจในการขอวงเงินซื้อขายหุ้นจากโบรกเกอร์เพิ่มได้ ทั้งที่หุ้นนั้นอาจไม่ใช่ของนาย B จริง ๆ ดังนั้นเราก็มองว่าการที่สรรพากรเข้ามาจัดการเรื่องนี้ก็เป็นประโยชน์ต่อตลาดทุนด้วย" นางดวงมนกล่าว
นายธวัชชัย พิทยโสภณ ผู้อำนวยการฝ่ายงานเลขาธิการ ก.ล.ต.กล่าวว่า ที่ผ่านมาทาง ก.ล.ต.ไม่ได้รวบรวมข้อมูลเรื่องการโอนหุ้นของโบรกเกอร์ไว้ และทางโบรกเกอร์เองก็ไม่ได้เก็บข้อมูลไว้ทั้งหมด จึงไม่มีข้อมูลว่าที่ผ่านมามีผู้ที่โอนหลักทรัพย์นอกตลาดฯมากน้อยแค่ไหน จึงต้องแจ้งให้โบรกเกอร์รับทราบและส่งข้อมูลที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้เป็นต้นไป
นักลงทุนโวยสับสนข้อมูล
แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์รายหนึ่งกล่าวว่า หลังจากที่มีข่าวการเก็บภาษีปรากฏตามสื่อต่าง ๆ พบว่านักลงทุนที่เป็นลูกค้าของบริษัทได้สอบถามเข้ามาอย่างมาก เนื่องจากไม่เข้าใจหลักเกณฑ์ของสรรพากรว่าจะมีการเรียกเก็บภาษีการโอนหลักทรัพย์นอกตลาด ณ ราคาต้นทุน หรือราคา ณ วันโอน และจะคิดในอัตรากี่เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการโอน ฯลฯ ซึ่งโบรกเกอร์เองก็ยังไม่ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวเช่นกัน จึงไม่สามารถชี้แจงได้ ทำให้นักลงทุนอยู่ในภาวะที่สับสนต่อข่าวที่ออกมาเป็นอย่างมาก
"ต้องบอกว่านักลงทุนไม่แฮปปี้กับข่าว เพราะไม่มีรายละเอียดอะไรออกมาเลยว่าจะจัดเก็บภาษีในอัตราเท่าไหร่ จะคิดราคาหุ้นจากต้นทุนที่ได้รับหรือในวันโอน หรือว่าจะเก็บภาษีจากส่วนต่างกำไร แล้วถ้าการโอนหุ้นมีผลขาดทุนจะคิดภาษีอย่างไร ฯลฯ ประเด็นเหล่านี้เราตอบคำถามนักลงทุนไม่ได้เลย จึงอยากให้สรรพากรชี้แจงให้ชัด ฝั่งโบรกฯจะได้ประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนเข้าใจ" แหล่งข่าวกล่าว
แจงเป็นภาษีกำไรจากการขายหุ้น
แหล่งข่าวจากกรมสรรพากรกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เนื่องจากที่ผ่านมามีการซื้อขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ค่อนข้างมาก ซึ่งการซื้อขายหุ้นนอกตลาดต้องเสียภาษี แต่เนื่องจากกรมสรรพากรไม่มีข้อมูลธุรกรรม เพราะข้อมูลจะอยู่ที่โบรกเกอร์ ดังนั้นหากกรมสรรพากรได้ข้อมูลจากโบรกเกอร์ คาดว่าจะได้เม็ดเงินภาษีเพิ่มขึ้นอีกมาก โดยเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่หารือกันมานานแล้ว
แหล่งข่าวกล่าวว่า การเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์จะเป็นการนำเฉพาะกำไรที่เกิดขึ้น เพื่อไปบันทึกเป็นรายได้แล้วคำนวณภาษี โดยการคิดกำไรจะดูจากต้นทุนว่าซื้อเท่าไร และเมื่อโอนออกไปราคาเท่าไหร่แล้วมีกำไร หรือขาดทุน หากขาดทุนก็จะไม่ต้องเสียภาษี เพราะภาษีซื้อขายหุ้นจะคิดจากส่วนล้ำมูลค่าหุ้น ซึ่งก็เป็นการคิดบนฐานภาษี Capital Gain จากกำไรที่ได้จากการขายหลักทรัพย์
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1379324431
"Become a risk taker, not a risk maker"
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: โอนหุ้นออกไปแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อเลี่ยงภาษีมรดกหรือไม่
โพสต์ที่ 5
ถ้าเป็นเมื่อก่อนการโอนหุ้น ไม่ต้องแจ้งข้อมูลไปทางสรรพากร แต่ไม่กี่ปีก่อน ผมได้รับจดหมายจากโบรกที่ส่งให้ลูกค้า ประมาณว่าถ้าจะมีการโอนหุ้น บล.จะส่งข้อมูลไปให้สรรพากร
ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นเพราะเรื่องภาษีตามข่าวนี้ ซึ่งถ้าดูตามเนื้อผ้า ถ้าบล.แจ้งข้อมูลไปที่สรรพากร แล้วยังมีการจงใจไม่เสียภาษีอีก ก็เตรียมตัวได้เลยว่า อาจจะโดนภาษีย้อนหลัง
ยิ่งข้อมูลดีลใหญ่ ๆ ที่เห็นกันช่วงนี้ ผมคิดว่า ไม่น่าจะรอดสายตาของสรรพากรครับ เพราะยอดโอนสูง สรรพากรสามารถเก็บภาษีได้มากครับ
ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นเพราะเรื่องภาษีตามข่าวนี้ ซึ่งถ้าดูตามเนื้อผ้า ถ้าบล.แจ้งข้อมูลไปที่สรรพากร แล้วยังมีการจงใจไม่เสียภาษีอีก ก็เตรียมตัวได้เลยว่า อาจจะโดนภาษีย้อนหลัง
ยิ่งข้อมูลดีลใหญ่ ๆ ที่เห็นกันช่วงนี้ ผมคิดว่า ไม่น่าจะรอดสายตาของสรรพากรครับ เพราะยอดโอนสูง สรรพากรสามารถเก็บภาษีได้มากครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2846
- ผู้ติดตาม: 1
Re: โอนหุ้นออกไปแบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อเลี่ยงภาษีมรดกหรือไม่
โพสต์ที่ 6
สงสัยอีกหน่อย โอนเงินสดให้กัน สรรพากรก็ต้องเข้ามาดูด้วยหรือป่าวครับ
“Market prices are always wrong in the sense that they present a biased view of the future.”, Soros.
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting