มันต้องเป็นอย่างนี้ ไม่มีทางเป็นอย่างอื่น (Congruence bias)

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
pinguwing
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 193
ผู้ติดตาม: 0

มันต้องเป็นอย่างนี้ ไม่มีทางเป็นอย่างอื่น (Congruence bias)

โพสต์ที่ 1

โพสต์

https://storylog.co/story/569ce475d87b84e027b99d9c

เคยเล่นหุ้นแล้วอยากจะทดสอบอะไรบางอย่างไหมครับ
เช่นบางทีเราอาจจะสงสัยว่า ถ้ากำไรขึ้นแล้วหุ้นมันขึ้นไหม แล้วเราทำอะไรต่อมาครับ
เราก็ไปดูในบริษัทที่กำไรเพิ่มขึ้น แล้วเราก็ไปดูว่าราคาหุ้นมันขึ้นหรือไม่
ไปศึกษามาหลาย ๆ ตัวก็ยิ่งมั่นใจว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ
เพราะบริษัทที่กำไรเพิ่มขึ้น ราคาหุ้นมันก็เพิ่มขึ้น จึงทำให้เกิดความคิดว่ากำไรนี่แหละคือปัจจัยที่ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น

อ้าว แล้วมันผิดตรงไหน

“มันต้องเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้หรอก”

ก่อนที่จะมาคุยกันต่อ เรามาลองเล่นเกมง่าย ๆ อันหนึ่งก่อนดีกว่าครับ
เกมนี้คิดค้นขึ้นโดย Peter Watson นักจิตวิทยาจาก University College London ในปี 1960 เรียกกันว่า “2-4-6 Problem”

คือนักวิจัยจะเริ่มบอกตัวเลขเรียงลำดับกันมาหนึ่งชุด และขอให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยบอกตัวเลขตัวต่อมา แล้วนักวิจัยจะตอบว่าตัวเลขที่ผู้ร่วมวิจัยตอบมานั้นเป็นไปตามกฎของลำดับนั้นไหม
ผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถบอกตัวเลขต่อมาได้เรื่อย ๆ ในขณะที่นักวิจัยก็จะตอบว่าตัวเลขที่บอกต่อๆ มานั้นเป็นไปตามกฎหรือไม่

เมื่อผู้เข้าร่วมวิจัยรู้สึกมั่นใจ ก็จะบอกว่ากฎของลำดับนั้นคืออะไร และนักวิจัยก็จะตอบว่าผิดหรือถูก

เกมนี้จะเริ่มจากตัวเลขนี้ครับ 2,4,6, ...
ถ้าท่านเหมือนคนทั่วไป ท่านก็จะลองบอกว่า 8
ซึ่งนักวิจัยก็จะตอบว่าเป็นไปตามกฎ

เสร็จแล้วผู้เข้าร่วมการวิจัยส่วนใหญ่ก็จะถามว่า แล้ว 10 ล่ะ นักวิจัยก็บอกว่าก็เป็นไปตามกฎ
มาถึงตอนนี้หลายคนอยากตอบแล้วใช่ไหมครับว่า กฎคือ “บวก 2 จากตัวเลขสุดท้าย”
.....
.....
.....
คำตอบคือ “ผิด” ครับ !!!

ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะงงว่าผิดได้อย่างไร (วะ)
ก็มันชัด ๆ อยู่แล้วนี่ ว่าบวกทีละ 2

มันชัดเพราะอะไรรู้ไหมครับ
เพราะว่าการที่เราทดสอบเลข 8 หรือ 10 ต่อมานั้น เราทำเพื่อยืนยันสิ่งที่เราคิดไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว
คือพอเราเห็น 2 4 6 เราก็คิดว่ากฎมันต้องบวก 2 จากตัวเลขสุดท้าย จริงไหมครับ พอเราทดลองด้วย 8 กับ 10 ผลมันก็ยืนยันสิ่งที่เราอยากจะยืนยัน แล้วเราก็ลงเอยด้วยความผิดพลาด

จริง ๆ แล้วกฎนี้ที่นักวิจัยกำหนดไว้คืออะไรเหรอครับ มันก็แค่ ขอให้ตัวเลขตัวต่อมามันเพิ่มขึ้นก็เท่านั้นเอง

ถ้าท่านตอบด้วยตัวเลข 7 หรืออะไรก็ได้ (แทนที่จะเป็น 8 หรือ 10) มันก็ยังเป็นไปตามกฎอยู่ดี หรือถ้าทดลองตอบด้วย -5 -23 หรืออะไรก็ได้ คำตอบก็คือไม่เป็นไปตามกฎ (เพราะตัวเลขมันน้อยลง)

แต่เห็นไหมครับว่าเกิดอะไรขึ้น เราไม่เคยคิดถึงตัวเลขแบบนั้นเลย เพราะเรามัวจ้องมอง เฉพาะสิ่งที่เราต้องการยืนยันไงครับ

ความลำเอียงในลักษณะนี้มีชื่อเรียกว่า Congruence bias
มันคือความลำเอียงที่เกิดจากความพยายามที่จะทดสอบสมมุติฐานที่เราตั้งไว้ โดยไม่ได้ดูทางเลือกอื่น ๆ เลย

กลับมาปัญหาตอนต้น
เราจะเห็นได้ชัดว่า ก็เราเลือกดูแค่บริษัทที่มีกำไรเพิ่ม เราจึงสังเกตเห็นว่าราคาหุ้นก็เพิ่ม
แล้วเราก็ไปตั้งกฎว่ากำไรเพิ่มทำให้ราคาหุ้นเพิ่ม !!! โดยเราไม่ได้ดูทางเลือกอื่น ๆ ที่เป็นไปได้เลย เช่น แล้วบริษัทที่กำไรไม่เพิ่มล่ะ ราคาหุ้นมันเพิ่มไหม

อย่างว่าแหละครับเรามักจะยืนยันสิ่งที่เราเชื่อเสมอ จริงไหมครับ

ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ ได้ทาง https://storylog.co/Nopadol
โพสต์โพสต์