จิตวิทยาการลงทุน: Functional fixedness
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
จิตวิทยาการลงทุน: Functional fixedness
โพสต์ที่ 1
อย่ายึดติด (Functional fixedness)
ในการซื้อขายหุ้นนั้น หลาย ๆ ครั้ง เราจะมีเครื่องมือจำนวนมาก
ถ้าเป็นทางด้านเทคนิค เราก็มี Indicator ต่าง ๆ จำนวนไม่น้อย รวมถึง Chart อีกจำนวนมหาศาล
ถ้าเป็นด้านพื้นฐาน เราก็มีอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ ที่จะเป็นเครื่องมือให้เราวิเคราะห์ความน่าสนใจของบริษัทที่เราจะเข้าไปลงทุน
คราวนี้สิ่งที่เราเจอคือ เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ มันก็มีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กันออกไป เช่นอัตราส่วนระหว่างหนี้ต่อทุน (D/E Ratio) ก็อาจจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเราวิเคราะห์ว่าบริษัทมีหนี้มากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับทุนที่บริษัทมี
หรือจะเป็น Chart ต่าง ๆ ทางด้านเทคนิค ซึ่งมีสัญญาณต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ละสัญญาณก็จะมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน ไม่ว่าใช้เพื่อดูจุดซื้อขาย หรือใช้เพื่อประเมินแนวโน้ม
คราวนี้บางทีเรามักจะยึดติดกับเครื่องมือเหล่านี้ โดยใช้เครื่องมือเหล่านี้สำหรับวัตถุประสงค์ที่มันถูกสร้างขึ้นมาเท่านั้น
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วเครื่องมือเหล่านี้มันอาจจะมีประโยชน์มากกว่านั้นก็ได้
เราเรียกอาการนี้ว่า Functional fixedness ครับ
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่าสมมุติว่าเราต้องการหาที่ทับกระดาษ เพื่อให้กระดาษปลิว แต่เรามองเห็นแต่ค้อนที่วางอยู่ หลายคนก็มองข้ามไป เพราะเราคิดแค่ว่าค้อนนั้นใช้ได้แต่ตอกตะปูเท่านั้น !!!
จริง ๆ ค้อนก็เอามาทับกระดาษได้นะครับ
จากงานวิจัยของ German และ Defeyter แห่ง University of Essex ในปี 2000 พบว่าอาการแบบนี้ไม่เกิดกับเด็กอายุ 5 ขวบเลยแต่พอโตขึ้นมาสัก 7 ขวบ เราก็จะเริ่มสร้างกรอบของตัวเองขึ้นมา
ลองมองดูอายุเราตอนนี้สิครับ ป่านนี้เราคงสร้างกรอบไว้เยอะแยะไปหมด
ลองกลับไปดูเครื่องมือที่เราใช้ ๆ กันอยู่นะครับ
แล้วถามตัวเองว่า มันสามารถใช้งานอื่น ๆ อะไรได้อีก
หรือในทางกลับกัน หากมีปัญหาหรือคำถามเกิดขึ้น
ลองมองดูเครื่องมือแบบอื่น ๆ บ้างว่ามันสามารถตอบคำถามเหล่านั้นได้หรือไม่นะครับ
ในการซื้อขายหุ้นนั้น หลาย ๆ ครั้ง เราจะมีเครื่องมือจำนวนมาก
ถ้าเป็นทางด้านเทคนิค เราก็มี Indicator ต่าง ๆ จำนวนไม่น้อย รวมถึง Chart อีกจำนวนมหาศาล
ถ้าเป็นด้านพื้นฐาน เราก็มีอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ ที่จะเป็นเครื่องมือให้เราวิเคราะห์ความน่าสนใจของบริษัทที่เราจะเข้าไปลงทุน
คราวนี้สิ่งที่เราเจอคือ เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ มันก็มีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กันออกไป เช่นอัตราส่วนระหว่างหนี้ต่อทุน (D/E Ratio) ก็อาจจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเราวิเคราะห์ว่าบริษัทมีหนี้มากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับทุนที่บริษัทมี
หรือจะเป็น Chart ต่าง ๆ ทางด้านเทคนิค ซึ่งมีสัญญาณต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ละสัญญาณก็จะมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน ไม่ว่าใช้เพื่อดูจุดซื้อขาย หรือใช้เพื่อประเมินแนวโน้ม
คราวนี้บางทีเรามักจะยึดติดกับเครื่องมือเหล่านี้ โดยใช้เครื่องมือเหล่านี้สำหรับวัตถุประสงค์ที่มันถูกสร้างขึ้นมาเท่านั้น
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วเครื่องมือเหล่านี้มันอาจจะมีประโยชน์มากกว่านั้นก็ได้
เราเรียกอาการนี้ว่า Functional fixedness ครับ
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่าสมมุติว่าเราต้องการหาที่ทับกระดาษ เพื่อให้กระดาษปลิว แต่เรามองเห็นแต่ค้อนที่วางอยู่ หลายคนก็มองข้ามไป เพราะเราคิดแค่ว่าค้อนนั้นใช้ได้แต่ตอกตะปูเท่านั้น !!!
จริง ๆ ค้อนก็เอามาทับกระดาษได้นะครับ
จากงานวิจัยของ German และ Defeyter แห่ง University of Essex ในปี 2000 พบว่าอาการแบบนี้ไม่เกิดกับเด็กอายุ 5 ขวบเลยแต่พอโตขึ้นมาสัก 7 ขวบ เราก็จะเริ่มสร้างกรอบของตัวเองขึ้นมา
ลองมองดูอายุเราตอนนี้สิครับ ป่านนี้เราคงสร้างกรอบไว้เยอะแยะไปหมด
ลองกลับไปดูเครื่องมือที่เราใช้ ๆ กันอยู่นะครับ
แล้วถามตัวเองว่า มันสามารถใช้งานอื่น ๆ อะไรได้อีก
หรือในทางกลับกัน หากมีปัญหาหรือคำถามเกิดขึ้น
ลองมองดูเครื่องมือแบบอื่น ๆ บ้างว่ามันสามารถตอบคำถามเหล่านั้นได้หรือไม่นะครับ
- nuthjira
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 233
- ผู้ติดตาม: 1
Re: จิตวิทยาการลงทุน: Functional fixedness
โพสต์ที่ 2
หัวข้อนี้อ่านแล้วยังไม่ค่อยเคลียร์เท่าไหร่ รบกวนพี่pinguwing ยกตัวอย่างเครื่องมือด้านพื้นฐานเพิ่มอีกสักหน่อยได้มั้ยครับ
ขอขอบคุณไว้ก่อนเลยครับ
ขอขอบคุณไว้ก่อนเลยครับ
....ความโลภจะนำนักลงทุนส่วนมาก ไปแสวงหาทางลัดเพื่อความสำเร็จในการลงทุน
แทนที่จะคาดหวังผลตอบแทนทบต้นที่เหมาะสมในระยะยาว ....
แทนที่จะคาดหวังผลตอบแทนทบต้นที่เหมาะสมในระยะยาว ....
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: จิตวิทยาการลงทุน: Functional fixedness
โพสต์ที่ 3
ประมาณนี้ครับ เช่น เราเคยดูค่า ROE เป็นตัววัดพื้นฐานตัวหนึ่งมาตลอด ว่าตัววัดนี้สะท้อนความสามารถในการทำกำไรของบริษัทเมื่อเทียบกับทุน แต่ ROE อาจจะเป็นตัวที่สะท้อนได้อีกแบบคือ เป็นตัวบอกว่าบริษัทนั้น อาจจะใช้หนี้มาเป็นแหล่งที่มาของการลงทุนมากกว่าการใช้ทุน ก็เป็นได้ ดังนั้น ROE ที่สูง บางทีมันไม่ได้บอกได้อย่างเดียวว่า บริษัทนั้นดี แต่มันอาจจะบอกได้ว่าบริษัทนั้น มีความเสี่ยงที่สูงด้วยเช่นกัน เหมือนกับ ค้อน ไม่ได้ใช้ตอกตะปูได้อย่างเดียว แต่อาจจะใช้ทับกระดาษด้วยก็ได้ ประมาณนี้น่ะครับnuthjira เขียน:หัวข้อนี้อ่านแล้วยังไม่ค่อยเคลียร์เท่าไหร่ รบกวนพี่pinguwing ยกตัวอย่างเครื่องมือด้านพื้นฐานเพิ่มอีกสักหน่อยได้มั้ยครับ
ขอขอบคุณไว้ก่อนเลยครับ