รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 1
เรียนท่านที่ติดตามบทความทุกท่านครับ
ผมเขียนบทความเรื่องเกี่ยวกับความลำเอียงในตัดสินใจในตลาดหุ้น และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่น ๆ ด้วย และเพื่อให้การติดตามอ่านของท่านอื่น ๆ ทำได้ง่าย จากคำแนะนำจากเพื่อนสมาชิกท่านอื่น ๆ ผมจึงขออนุญาตรวบรวมบทความของผม ให้อยู่ในหัวข้อเดียวกัน โดยผมจะค่อย ๆ เริ่ม copy บทความเก่า ๆ เอามาไว้ที่นี่ที่เดียวแล้วกันนะครับ ถ้าท่านสนใจอยากอ่านก็ subscribe topic นี้ได้ตามสะดวกเลยครับ
ต้องขออนุญาตบอกที่มาที่ไปสักเล็กน้อยครับว่าบทความเหล่านี้มีที่มาที่ไปอย่างไร เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด บทความเหล่านี้ มาจากหนังสือ "แค่คิดก็ผิดแล้ว" โดยผมเป็นผู้แต่งหนังสือเล่มนี้เองนะครับ ไม่ได้คัดลอกมาโดยไม่ได้ขออนุญาต (และหนังสือนี้ผมก็พิมพ์เองครับ ไม่ได้เป็นของสำนักพิมพ์ใด)
ที่มาของบทความเหล่านี้ เกิดจากการที่ผมสอนวิชาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และในหัวข้อการวิเคราะห์การตัดสินใจนั้น ผมพบจากงานวิจัย หลาย ๆ งานว่า คนเรามีความลำเอียงในการตัดสินใจอยู่จำนวนมาก
เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจ ผมจึงเลือกตัวอย่าง ที่น่าจะเป็นที่สนใจและใกล้ตัวมากที่สุด ก็คือการตัดสินใจในการลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งเต็มไปด้วยความลำเอียง ประกอบกับ ส่วนตัวผมเองก็ได้ลงทุนในตลาดหุ้นมาเกือบ 20 ปี และสนใจเรื่องนี้มาตลอด จึงเป็นที่มาของบทความเหล่านี้
ผมหวังว่าบทความเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ
ผมเขียนบทความเรื่องเกี่ยวกับความลำเอียงในตัดสินใจในตลาดหุ้น และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่น ๆ ด้วย และเพื่อให้การติดตามอ่านของท่านอื่น ๆ ทำได้ง่าย จากคำแนะนำจากเพื่อนสมาชิกท่านอื่น ๆ ผมจึงขออนุญาตรวบรวมบทความของผม ให้อยู่ในหัวข้อเดียวกัน โดยผมจะค่อย ๆ เริ่ม copy บทความเก่า ๆ เอามาไว้ที่นี่ที่เดียวแล้วกันนะครับ ถ้าท่านสนใจอยากอ่านก็ subscribe topic นี้ได้ตามสะดวกเลยครับ
ต้องขออนุญาตบอกที่มาที่ไปสักเล็กน้อยครับว่าบทความเหล่านี้มีที่มาที่ไปอย่างไร เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด บทความเหล่านี้ มาจากหนังสือ "แค่คิดก็ผิดแล้ว" โดยผมเป็นผู้แต่งหนังสือเล่มนี้เองนะครับ ไม่ได้คัดลอกมาโดยไม่ได้ขออนุญาต (และหนังสือนี้ผมก็พิมพ์เองครับ ไม่ได้เป็นของสำนักพิมพ์ใด)
ที่มาของบทความเหล่านี้ เกิดจากการที่ผมสอนวิชาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ และในหัวข้อการวิเคราะห์การตัดสินใจนั้น ผมพบจากงานวิจัย หลาย ๆ งานว่า คนเรามีความลำเอียงในการตัดสินใจอยู่จำนวนมาก
เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจ ผมจึงเลือกตัวอย่าง ที่น่าจะเป็นที่สนใจและใกล้ตัวมากที่สุด ก็คือการตัดสินใจในการลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งเต็มไปด้วยความลำเอียง ประกอบกับ ส่วนตัวผมเองก็ได้ลงทุนในตลาดหุ้นมาเกือบ 20 ปี และสนใจเรื่องนี้มาตลอด จึงเป็นที่มาของบทความเหล่านี้
ผมหวังว่าบทความเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ
แนบไฟล์
หนังสือแค่คิดก็ผิดแล้ว
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
เล่นหุ้นทำไม มันเสี่ยงออก (Ambiguity effect)
โพสต์ที่ 2
มีเพื่อน ๆ ผมหลายคนที่มีเงินจำนวนไม่น้อย
แต่นำเงินนั้นไปฝากธนาคารไว้เฉย ๆ
และพอมีคนชวนไปลงทุนในหุ้น
หลายคนส่ายหน้า แล้วก็ตอบว่า “มันเสี่ยง”
เดี๋ยวก็หมดตัวหรอก
จริง ๆ ก็ไม่ผิดหรอกนะครับ
คำว่า “เสี่ยง” ของแต่ละคนมีความหมายที่แตกต่างกัน
แต่สิ่งที่กำลังจะบอกคือให้เราระวังการตัดสินใจในลักษณะนี้ให้ดีครับ
คือคนเราโดยทั่วไปนั้น ชอบตัดสินใจทำในสิ่งที่
เราทราบความน่าจะเป็นของผลลัพธ์
มากกว่าสิ่งที่เราไม่ทราบความน่าจะเป็นของผลลัพธ์
เราเรียกสิ่งนี้ว่า Ambiguity effect ครับ
ซึ่งคำนี้ได้รับการค้นพบตั้งแต่ปี 1961
โดย Daniel Ellsberg ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการตัดสินใจ
และเคยทำงานให้กับกองทัพของสหรัฐอเมริกา
คราวนี้ Ambiguity effect คืออะไรกันแน่
ลองมาดูตัวอย่างกันครับ
คนที่ชอบฝากเงินไว้กับธนาคาร
ก็เพราะว่า การฝากเงินนั้น เราทราบความน่าจะเป็นว่าในที่สุดแล้วเราก็ได้ดอกเบี้ยแน่ ๆ
(เกือบจะ 100% ถ้าธนาคารไม่เจ๊งไปซะก่อน ซึ่งคงเกิดยากมาก)
แต่พอลงทุนในตลาดหุ้น
เราไม่ทราบแน่ชัดว่าจะได้กำไรหรือขาดทุนเท่าไร
ถึงแม้ว่ามีสถิติหลายอย่างยืนยันว่า ในระยะยาวแล้วนั้น
การลงทุนตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่า
การฝากเงินกับธนาคารก็ตาม
แต่อย่างที่บอกแหละครับ
คนส่วนใหญ่กลัวความไม่ชัดเจน (Ambiguity)
จึงอาจจะทำให้พลาดโอกาสดี ๆ ไป
จริงความเสี่ยงมันไม่ได้เกิดจากตัวหุ้นหรอกครับ
ความเสี่ยงมันเกิดจากความไม่รู้ของเรามากกว่า
ถ้าอยากไม่ให้เกิด Ambiguity effect
เราก็ต้องศึกษาให้เยอะ
เราจะได้ไม่มองข้ามโอกาสดี ๆ ไปไงครับ
แต่นำเงินนั้นไปฝากธนาคารไว้เฉย ๆ
และพอมีคนชวนไปลงทุนในหุ้น
หลายคนส่ายหน้า แล้วก็ตอบว่า “มันเสี่ยง”
เดี๋ยวก็หมดตัวหรอก
จริง ๆ ก็ไม่ผิดหรอกนะครับ
คำว่า “เสี่ยง” ของแต่ละคนมีความหมายที่แตกต่างกัน
แต่สิ่งที่กำลังจะบอกคือให้เราระวังการตัดสินใจในลักษณะนี้ให้ดีครับ
คือคนเราโดยทั่วไปนั้น ชอบตัดสินใจทำในสิ่งที่
เราทราบความน่าจะเป็นของผลลัพธ์
มากกว่าสิ่งที่เราไม่ทราบความน่าจะเป็นของผลลัพธ์
เราเรียกสิ่งนี้ว่า Ambiguity effect ครับ
ซึ่งคำนี้ได้รับการค้นพบตั้งแต่ปี 1961
โดย Daniel Ellsberg ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการตัดสินใจ
และเคยทำงานให้กับกองทัพของสหรัฐอเมริกา
คราวนี้ Ambiguity effect คืออะไรกันแน่
ลองมาดูตัวอย่างกันครับ
คนที่ชอบฝากเงินไว้กับธนาคาร
ก็เพราะว่า การฝากเงินนั้น เราทราบความน่าจะเป็นว่าในที่สุดแล้วเราก็ได้ดอกเบี้ยแน่ ๆ
(เกือบจะ 100% ถ้าธนาคารไม่เจ๊งไปซะก่อน ซึ่งคงเกิดยากมาก)
แต่พอลงทุนในตลาดหุ้น
เราไม่ทราบแน่ชัดว่าจะได้กำไรหรือขาดทุนเท่าไร
ถึงแม้ว่ามีสถิติหลายอย่างยืนยันว่า ในระยะยาวแล้วนั้น
การลงทุนตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่า
การฝากเงินกับธนาคารก็ตาม
แต่อย่างที่บอกแหละครับ
คนส่วนใหญ่กลัวความไม่ชัดเจน (Ambiguity)
จึงอาจจะทำให้พลาดโอกาสดี ๆ ไป
จริงความเสี่ยงมันไม่ได้เกิดจากตัวหุ้นหรอกครับ
ความเสี่ยงมันเกิดจากความไม่รู้ของเรามากกว่า
ถ้าอยากไม่ให้เกิด Ambiguity effect
เราก็ต้องศึกษาให้เยอะ
เราจะได้ไม่มองข้ามโอกาสดี ๆ ไปไงครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 3
ราคาหุ้นแพงเกินไป เพราะมันขึ้นมาตั้งเท่านึง (Anchoring)
เวลาเราเล่นหุ้นเคยเจอสถานการณ์นี้ไหมครับ
ราคาหุ้นมันเคยวิ่งอยู่แถว ๆ 10 บาท แล้วอยู่ดี ๆ วันหนึ่งมันกระโดดไปซื้อขายกันที่ 20 บาท!!!
หลายคนต้องมีความรู้สึกว่า “หุ้นนี้แพงเกินไป” จริงไหมครับ
ถ้าเราถามตัวเองดูอีกว่าทำไมคิดว่าแพงเกินไป
คำตอบที่คนส่วนใหญ่มักจะตอบก็คือ
“ก็มันเคยมีราคาอยู่ที่ 10 บาท ตอนนี้มันตั้ง 20 บาท แล้วจะบอกว่าไม่แพง ได้ยังไง”
งั้นก็แสดงว่า แพงหรือไม่แพง มันขึ้นอยู่กับว่าตอนแรกที่เรา
รู้จักหุ้นนี้ มันซื้อขายอยู่ที่เท่าไรน่ะสิครับ
มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ หรือ ?
สมมุติแล้วกันนะครับว่า ตอนนี้ร้านหนึ่งขาย IPhone รุ่นใหม่ล่าสุดไม่ใช่ของปลอมนะครับ ในราคาเพียง 100 บาท อันนี้ถือว่าราคาถูกไหมครับ
หลายคนก็คงตอบว่าถูกสิครับ เพราะ IPhone ควรมีมูลค่าเป็นหลักหมื่น
ต่อมาร้านนี้ ขึ้นราคา IPhone จาก 100 เป็น 200 บาท
แสดงว่า IPhone นี้ ราคาแพงแล้วน่ะสิครับ เพราะราคาขึ้นมาตั้งเท่านึง
คนส่วนใหญ่ก็คงไม่เห็นด้วยว่าราคา 200 บาทนี้ มันแพงเกินไปสำหรับ IPhone ใช่ไหมครับ
อ้าว แล้วทำไม ตอนจะซื้อหุ้นที่ราคาเพิ่มขึ้นมาเท่านึง กลับคิดว่าหุ้นนั้นแพงล่ะครับ !!!
อาการของความรู้สึกแบบนี้มีชื่อเรียกว่า Anchoring ครับ
Anchor นั้นตามรากศัพท์แปลว่าสมอเรือ ที่ยึดติดเรือไม่ให้ลอยไปไหน
แต่ในที่นี้ Anchoring คือการที่เราไปให้ความสำคัญกับข้อมูลแรกที่เราได้รับมากจนเกินไป
Amos Tversky และ Daniel Kahneman ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตัดสินใจ ได้เคยทำการทดลอง
โดยให้ลองคำนวณค่าผลคูณ ภายใน 5 วินาที ดังต่อไปนี้
1) 1 x 2 x 3 x 4 x 5 x 6 x 7 x 8
2) 8 x 7 x 6 x 5 x 4 x 3 x 2 x 1
ซึ่งเราเห็นชัดเจนว่า ทั้งข้อที่ 1 หรือ 2 ควรจะได้คำตอบที่เท่ากัน
แต่เนื่องจากผู้เข้าร่วมการทดลองมีเวลาแค่ 5 วินาที เขาจึงต้องใช้การประมาณการ และผลที่ได้รับออกมาว่า ...
ค่าประมาณการของผลคูณในข้อที่ 1 นั้น มีค่ามัธยฐาน (Median) เท่ากับ 512
ในขณะที่ค่าประมาณการของผลคูณในข้อที่ 2 นั้น มีค่ามัธยฐาน (Median) สูงถึง 2,250 !!!
(สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย ค่ามัธยฐาน คือค่ากลางของข้อมูลชุดใดชุดหนึ่ง โดยจะมีจำนวนข้อมูลที่มีค่ามากกว่าค่านี้ เท่า ๆ กับจำนวนข้อมูลที่มีค่าน้อยกว่าค่านี้ครับ เช่น ถ้าข้อมูลชุดหนึ่งคือ 1 3 7 9 11 ค่ามัธยฐานคือค่า 7 ครับ)
เกิดอะไรขึ้นครับ ...
เนื่องจากเวลาที่ให้มีเพียง 5 วินาที
ผู้ร่วมการทดลองมีเวลาในการคำนวณได้เฉพาะผลคูณ 3-4 ตัวแรกเท่านั้น
ดังนั้นในข้อที่ 1 การประมาณการจะทำขึ้นหลังจากการคำนวณผลคูณ 3-4 ตัวแรกเสร็จสิ้น เช่น
1 x 2 = 2 แล้ว 2 x 3 = 6 แล้ว 6 x 4 = 24 แล้วก็หมดเวลา เราจึงต้องเริ่มประมาณการจากเลข 24
ซึ่งไม่เหมือนกรณีที่ 2 ที่เราเริ่มจาก 8 x 7 = 56 แล้ว 56 x 6 = 336 แล้วก็หมดเวลา
เราจะเห็นว่ากรณีที่ 2 นี้ เราจะเริ่มประมาณการจากเลข 336
ผลลัพธ์จึงเป็นอย่างที่เห็นครับ
ดังนั้นเวลาเราจะดูราคาหุ้นว่ามันถูกหรือแพง มันควรจะดูเทียบกับผลประกอบการของบริษัทในขณะนั้นและในอนาคต (ที่เกิดจากการประมาณการภายใต้ข้อมูลที่เรามี) ไม่ใช่ดูจากราคาในอดีตแต่เพียงอย่างเดียวนะครับ
เวลาเราเล่นหุ้นเคยเจอสถานการณ์นี้ไหมครับ
ราคาหุ้นมันเคยวิ่งอยู่แถว ๆ 10 บาท แล้วอยู่ดี ๆ วันหนึ่งมันกระโดดไปซื้อขายกันที่ 20 บาท!!!
หลายคนต้องมีความรู้สึกว่า “หุ้นนี้แพงเกินไป” จริงไหมครับ
ถ้าเราถามตัวเองดูอีกว่าทำไมคิดว่าแพงเกินไป
คำตอบที่คนส่วนใหญ่มักจะตอบก็คือ
“ก็มันเคยมีราคาอยู่ที่ 10 บาท ตอนนี้มันตั้ง 20 บาท แล้วจะบอกว่าไม่แพง ได้ยังไง”
งั้นก็แสดงว่า แพงหรือไม่แพง มันขึ้นอยู่กับว่าตอนแรกที่เรา
รู้จักหุ้นนี้ มันซื้อขายอยู่ที่เท่าไรน่ะสิครับ
มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ หรือ ?
สมมุติแล้วกันนะครับว่า ตอนนี้ร้านหนึ่งขาย IPhone รุ่นใหม่ล่าสุดไม่ใช่ของปลอมนะครับ ในราคาเพียง 100 บาท อันนี้ถือว่าราคาถูกไหมครับ
หลายคนก็คงตอบว่าถูกสิครับ เพราะ IPhone ควรมีมูลค่าเป็นหลักหมื่น
ต่อมาร้านนี้ ขึ้นราคา IPhone จาก 100 เป็น 200 บาท
แสดงว่า IPhone นี้ ราคาแพงแล้วน่ะสิครับ เพราะราคาขึ้นมาตั้งเท่านึง
คนส่วนใหญ่ก็คงไม่เห็นด้วยว่าราคา 200 บาทนี้ มันแพงเกินไปสำหรับ IPhone ใช่ไหมครับ
อ้าว แล้วทำไม ตอนจะซื้อหุ้นที่ราคาเพิ่มขึ้นมาเท่านึง กลับคิดว่าหุ้นนั้นแพงล่ะครับ !!!
อาการของความรู้สึกแบบนี้มีชื่อเรียกว่า Anchoring ครับ
Anchor นั้นตามรากศัพท์แปลว่าสมอเรือ ที่ยึดติดเรือไม่ให้ลอยไปไหน
แต่ในที่นี้ Anchoring คือการที่เราไปให้ความสำคัญกับข้อมูลแรกที่เราได้รับมากจนเกินไป
Amos Tversky และ Daniel Kahneman ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตัดสินใจ ได้เคยทำการทดลอง
โดยให้ลองคำนวณค่าผลคูณ ภายใน 5 วินาที ดังต่อไปนี้
1) 1 x 2 x 3 x 4 x 5 x 6 x 7 x 8
2) 8 x 7 x 6 x 5 x 4 x 3 x 2 x 1
ซึ่งเราเห็นชัดเจนว่า ทั้งข้อที่ 1 หรือ 2 ควรจะได้คำตอบที่เท่ากัน
แต่เนื่องจากผู้เข้าร่วมการทดลองมีเวลาแค่ 5 วินาที เขาจึงต้องใช้การประมาณการ และผลที่ได้รับออกมาว่า ...
ค่าประมาณการของผลคูณในข้อที่ 1 นั้น มีค่ามัธยฐาน (Median) เท่ากับ 512
ในขณะที่ค่าประมาณการของผลคูณในข้อที่ 2 นั้น มีค่ามัธยฐาน (Median) สูงถึง 2,250 !!!
(สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย ค่ามัธยฐาน คือค่ากลางของข้อมูลชุดใดชุดหนึ่ง โดยจะมีจำนวนข้อมูลที่มีค่ามากกว่าค่านี้ เท่า ๆ กับจำนวนข้อมูลที่มีค่าน้อยกว่าค่านี้ครับ เช่น ถ้าข้อมูลชุดหนึ่งคือ 1 3 7 9 11 ค่ามัธยฐานคือค่า 7 ครับ)
เกิดอะไรขึ้นครับ ...
เนื่องจากเวลาที่ให้มีเพียง 5 วินาที
ผู้ร่วมการทดลองมีเวลาในการคำนวณได้เฉพาะผลคูณ 3-4 ตัวแรกเท่านั้น
ดังนั้นในข้อที่ 1 การประมาณการจะทำขึ้นหลังจากการคำนวณผลคูณ 3-4 ตัวแรกเสร็จสิ้น เช่น
1 x 2 = 2 แล้ว 2 x 3 = 6 แล้ว 6 x 4 = 24 แล้วก็หมดเวลา เราจึงต้องเริ่มประมาณการจากเลข 24
ซึ่งไม่เหมือนกรณีที่ 2 ที่เราเริ่มจาก 8 x 7 = 56 แล้ว 56 x 6 = 336 แล้วก็หมดเวลา
เราจะเห็นว่ากรณีที่ 2 นี้ เราจะเริ่มประมาณการจากเลข 336
ผลลัพธ์จึงเป็นอย่างที่เห็นครับ
ดังนั้นเวลาเราจะดูราคาหุ้นว่ามันถูกหรือแพง มันควรจะดูเทียบกับผลประกอบการของบริษัทในขณะนั้นและในอนาคต (ที่เกิดจากการประมาณการภายใต้ข้อมูลที่เรามี) ไม่ใช่ดูจากราคาในอดีตแต่เพียงอย่างเดียวนะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 4
เห็นไหม CEO ออกมาพูดทีไร หุ้นขึ้นทุกที (Attention bias)
เคยมีอารมณ์นี้ไหมครับ
ว่าเราสังเกตเห็นว่าเมื่อมีกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเกิดขึ้น ราคาหุ้นมักจะขึ้น (หรือลง) อย่างมีนัยสำคัญทันที
เช่น เราอาจจะเห็น CEO ออกมาพูดเกี่ยวกับบริษัทเสร็จแล้วราคาก็วิ่งขึ้น
แล้วเราก็อาจจะนำไปเป็นข้อสรุปได้ว่า
“จำไว้เลยนะ ถ้า CEO ออกมาพูดเกี่ยวกับบริษัทเมื่อไร เตรียมซื้อหุ้นได้เลย”
จริง ๆ ข้อความดังกล่าวอาจจะเป็นความจริงก็ได้นะครับ
แต่สิ่งที่อยากบอกคือว่าบางทีเราไป Focus เฉพาะสิ่งที่เราสนใจ
เราเรียกสิ่งนี้ว่า Attention Bias ครับ
เช่นจากตัวอย่างข้างต้น
เราอาจจะ Focus ไปเฉพาะเหตุการณ์ที่เวลา CEO ออกมาพูดแล้วหุ้นขึ้นเพียงเหตุการณ์เดียว
มันจึงทำให้เราเห็นแต่เหตุการณ์นั้น
เราลองถามตัวเราเองอีกสัก 3 คำถามว่า
“เคยมีตอนที่ CEO พูด แล้วหุ้นไม่ขึ้นไหม”
“เคยมีตอนที่ CEO ไม่พูด แล้วหุ้นขึ้นไหม”
“เคยมีตอนที่ CEO ไม่พูด แล้วหุ้นก็ไม่ขึ้นไหม”
บางที เราอาจจะพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นเพียงความบังเอิญเท่านั้น ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติแต่อย่างใดเลย
แต่อย่างว่าแหละครับ คนเราส่วนใหญ่มักจะจับจ้องไปเฉพาะเหตุการณ์ที่เราสนใจเท่านั้น
จึงทำให้หลาย ๆ ครั้ง เราจึงมักคิดว่า หมอดู ดูแม่นไงครับ
เคยมีอารมณ์นี้ไหมครับ
ว่าเราสังเกตเห็นว่าเมื่อมีกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเกิดขึ้น ราคาหุ้นมักจะขึ้น (หรือลง) อย่างมีนัยสำคัญทันที
เช่น เราอาจจะเห็น CEO ออกมาพูดเกี่ยวกับบริษัทเสร็จแล้วราคาก็วิ่งขึ้น
แล้วเราก็อาจจะนำไปเป็นข้อสรุปได้ว่า
“จำไว้เลยนะ ถ้า CEO ออกมาพูดเกี่ยวกับบริษัทเมื่อไร เตรียมซื้อหุ้นได้เลย”
จริง ๆ ข้อความดังกล่าวอาจจะเป็นความจริงก็ได้นะครับ
แต่สิ่งที่อยากบอกคือว่าบางทีเราไป Focus เฉพาะสิ่งที่เราสนใจ
เราเรียกสิ่งนี้ว่า Attention Bias ครับ
เช่นจากตัวอย่างข้างต้น
เราอาจจะ Focus ไปเฉพาะเหตุการณ์ที่เวลา CEO ออกมาพูดแล้วหุ้นขึ้นเพียงเหตุการณ์เดียว
มันจึงทำให้เราเห็นแต่เหตุการณ์นั้น
เราลองถามตัวเราเองอีกสัก 3 คำถามว่า
“เคยมีตอนที่ CEO พูด แล้วหุ้นไม่ขึ้นไหม”
“เคยมีตอนที่ CEO ไม่พูด แล้วหุ้นขึ้นไหม”
“เคยมีตอนที่ CEO ไม่พูด แล้วหุ้นก็ไม่ขึ้นไหม”
บางที เราอาจจะพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นเพียงความบังเอิญเท่านั้น ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติแต่อย่างใดเลย
แต่อย่างว่าแหละครับ คนเราส่วนใหญ่มักจะจับจ้องไปเฉพาะเหตุการณ์ที่เราสนใจเท่านั้น
จึงทำให้หลาย ๆ ครั้ง เราจึงมักคิดว่า หมอดู ดูแม่นไงครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 5
โปรดระวังข่าวที่ถูกกล่าวซ้ำ ๆ (Availability cascade)
นักลงทุนหลายคนชอบอ่านข่าว ซึ่งก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกนะครับ
เพราะถ้าใช้คำว่า “ลงทุน” แล้วเราก็ต้องมีความรอบคอบและต้องคอยเก็บข้อมูลต่าง ๆ
แต่บางทีการหาข่าวนั้น เราก็ต้องมีความระมัดระวังอยู่เหมือนกัน
เพราะในข่าวหลาย ๆ ข่าวนั้นมันมักจะมีสิ่งที่เรียกว่า “กระแส”
“กระแส” คือสิ่งที่หลายคนเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะว่ามันถูกพูดซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า
และหลายครั้งมันก็เกิดจาก ผู้บริหาร หรือ นักข่าวนี่แหละครับ
เราเรียกสิ่งนี้ว่า Availability cascade
ในปี 1977 นั้น Hasher Goldstein และ Toppino ได้ทำการทดลอง โดยให้ข้อความจำนวน 60 ข้อความที่เหมือนจะเป็น “ข้อเท็จจริง” แต่มีคนส่วนน้อยที่จะทราบ
เช่นข้อความดังต่อไปนี้
“ฐานทัพอากาศแห่งแรกถูกสร้างขึ้นในรัฐนิวเม็กซิโก”
“กีฬาบาสเกตบอลเข้ามาแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในปี 1925”
หลังจากนั้น ก็ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองได้ตอบว่าเขาคิดว่าข้อความนี้เป็นจริงในระดับใด โดยให้เลือกใน Scale 1-7 (ถ้าให้คะแนนเท่ากับ 7 คือเชื่อว่าข้อความนี้เป็นจริงแน่นอน)
การศึกษานี้ทำทั้งหมด 3 รอบ โดยแต่ละรอบจะมีข้อความเดิมซ้ำอยู่ 1 ใน 3 หรือ 20 ข้อความ
ผลปรากฏว่า ยิ่งในรอบหลัง ๆ ข้อความที่ถูกกล่าวซ้ำเหล่านี้ยิ่งได้รับการเชื่อว่าเป็นจริงมากขึ้น
เรื่อย ๆ
โดยคะแนนความเชื่อรอบแรกของข้อความนั้นเป็น 4.2 และกลายเป็น 4.6 ในรอบที่ 2 และสุดท้ายพุ่งสูงขึ้นเป็น 4.7
แสดงว่ายิ่งพูดหรืออ่านข้อความนั้นซ้ำมากเท่าไรมันยิ่งน่าเชื่อถือเท่านั้น !!!
อาการของ Availability cascade นั้น มันเกิดจากการมีบางคน ซึ่งอาจจะเป็นนักข่าวหรือ
ใครก็ตามที่เริ่มจุดประเด็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาและหลังจากนั้นเรื่องนั้นก็กลายเป็น “กระแส”
และพอพูดไปเรื่อย ๆ คนส่วนใหญ่ก็จะเชื่อว่ามันเป็นความจริง !!!
บางครั้งคนจุดประเด็นนั้น อาจจะมีจุดประสงค์ดี แต่บางทีก็มีวาระแอบแฝงอยู่
สิ่งที่นักลงทุนควรระวังคือข่าวที่เป็นกระแสที่เกิดจากผู้มีจุดประสงค์แอบแฝงนี่แหละครับ
บางที เขาอาจจะปล่อยข่าวร้ายให้กับบริษัทเพียงเพื่อที่จะหวังว่า คนจะตื่นตกใจ กลายเป็นกระแส
และพอพูดกันบ่อย ๆ เข้า ทุกคนก็เชื่อว่าจริงหลังจากนั้นราคาหุ้นจะได้ตกมาก ๆ เขาจะได้ช้อนซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำซึ่งเป็นประโยชน์กับเขา
เคยมีคำกล่าวว่า
“A simple lie told once may not be well received. But tell the lie a thousand times and it will be believed”
“โกหกครั้งเดียว คนคงไม่เชื่อ แต่ถ้าโกหกซ้ำ ๆ กันเป็นพันครั้ง คนจะเชื่อ”
ดังนั้นอ่านข่าวแล้ว ชั่งใจซะหน่อยนะครับว่ามันน่าเชื่อถือ เพียงเพราะว่ามันถูกพูดซ้ำ ๆ หรือเปล่า
จะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลังนะครับ
นักลงทุนหลายคนชอบอ่านข่าว ซึ่งก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกนะครับ
เพราะถ้าใช้คำว่า “ลงทุน” แล้วเราก็ต้องมีความรอบคอบและต้องคอยเก็บข้อมูลต่าง ๆ
แต่บางทีการหาข่าวนั้น เราก็ต้องมีความระมัดระวังอยู่เหมือนกัน
เพราะในข่าวหลาย ๆ ข่าวนั้นมันมักจะมีสิ่งที่เรียกว่า “กระแส”
“กระแส” คือสิ่งที่หลายคนเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะว่ามันถูกพูดซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า
และหลายครั้งมันก็เกิดจาก ผู้บริหาร หรือ นักข่าวนี่แหละครับ
เราเรียกสิ่งนี้ว่า Availability cascade
ในปี 1977 นั้น Hasher Goldstein และ Toppino ได้ทำการทดลอง โดยให้ข้อความจำนวน 60 ข้อความที่เหมือนจะเป็น “ข้อเท็จจริง” แต่มีคนส่วนน้อยที่จะทราบ
เช่นข้อความดังต่อไปนี้
“ฐานทัพอากาศแห่งแรกถูกสร้างขึ้นในรัฐนิวเม็กซิโก”
“กีฬาบาสเกตบอลเข้ามาแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในปี 1925”
หลังจากนั้น ก็ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองได้ตอบว่าเขาคิดว่าข้อความนี้เป็นจริงในระดับใด โดยให้เลือกใน Scale 1-7 (ถ้าให้คะแนนเท่ากับ 7 คือเชื่อว่าข้อความนี้เป็นจริงแน่นอน)
การศึกษานี้ทำทั้งหมด 3 รอบ โดยแต่ละรอบจะมีข้อความเดิมซ้ำอยู่ 1 ใน 3 หรือ 20 ข้อความ
ผลปรากฏว่า ยิ่งในรอบหลัง ๆ ข้อความที่ถูกกล่าวซ้ำเหล่านี้ยิ่งได้รับการเชื่อว่าเป็นจริงมากขึ้น
เรื่อย ๆ
โดยคะแนนความเชื่อรอบแรกของข้อความนั้นเป็น 4.2 และกลายเป็น 4.6 ในรอบที่ 2 และสุดท้ายพุ่งสูงขึ้นเป็น 4.7
แสดงว่ายิ่งพูดหรืออ่านข้อความนั้นซ้ำมากเท่าไรมันยิ่งน่าเชื่อถือเท่านั้น !!!
อาการของ Availability cascade นั้น มันเกิดจากการมีบางคน ซึ่งอาจจะเป็นนักข่าวหรือ
ใครก็ตามที่เริ่มจุดประเด็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาและหลังจากนั้นเรื่องนั้นก็กลายเป็น “กระแส”
และพอพูดไปเรื่อย ๆ คนส่วนใหญ่ก็จะเชื่อว่ามันเป็นความจริง !!!
บางครั้งคนจุดประเด็นนั้น อาจจะมีจุดประสงค์ดี แต่บางทีก็มีวาระแอบแฝงอยู่
สิ่งที่นักลงทุนควรระวังคือข่าวที่เป็นกระแสที่เกิดจากผู้มีจุดประสงค์แอบแฝงนี่แหละครับ
บางที เขาอาจจะปล่อยข่าวร้ายให้กับบริษัทเพียงเพื่อที่จะหวังว่า คนจะตื่นตกใจ กลายเป็นกระแส
และพอพูดกันบ่อย ๆ เข้า ทุกคนก็เชื่อว่าจริงหลังจากนั้นราคาหุ้นจะได้ตกมาก ๆ เขาจะได้ช้อนซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำซึ่งเป็นประโยชน์กับเขา
เคยมีคำกล่าวว่า
“A simple lie told once may not be well received. But tell the lie a thousand times and it will be believed”
“โกหกครั้งเดียว คนคงไม่เชื่อ แต่ถ้าโกหกซ้ำ ๆ กันเป็นพันครั้ง คนจะเชื่อ”
ดังนั้นอ่านข่าวแล้ว ชั่งใจซะหน่อยนะครับว่ามันน่าเชื่อถือ เพียงเพราะว่ามันถูกพูดซ้ำ ๆ หรือเปล่า
จะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลังนะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 6
เชื่อสัญญาณการเทรดหุ้นนี้ดีไหม (Base rate fallacy)
สมมุติว่าตลาดหุ้นใน 2-3 ปีที่ผ่านมาเป็นตลาดกระทิง คือตลาดที่โอกาสหุ้นขึ้นมีมากกว่าหุ้นตก
โดยสมมุติว่าในตลาดกระทิงนี้โอกาสหุ้นจะขึ้นมีสูงถึง 99.9% โอกาสหุ้นตกมีเพียงแค่ 0.1% เท่านั้น
ต่อมาก็มีคนแนะนำ Indicator ตัวหนึ่งที่ใช้ในการซื้อขายหุ้น
และจากการนำ Indicator นี้ไปทดสอบกับข้อมูลย้อนหลัง (Back test) ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา (ที่เป็นตลาดกระทิง) พบว่าในบรรดาหุ้นที่สุดท้ายราคาขึ้นทั้งหมดนั้น Indicator นี้ ทายถูกว่าหุ้นจะขึ้น 95% ผิดแค่ 5% และในบรรดาหุ้นที่ราคาลงทั้งหมดนั้น Indicator นี้ ทายถูกว่ามันจะลง 100% เลย
โอ้โห นี่มันสุดยอด Indicator ชัด ๆ
วันหนึ่งเรานำ Indicator ตัวนี้ไปวัดหุ้นตัวหนึ่ง แล้วเราพบว่าสัญญาณบ่งชี้ว่าหุ้นนี้มันจะตก
คำถามคือว่าจากข้อมูลที่ให้มานี้ โอกาสที่หุ้นนี้มันจะตกจริง ๆ มีสักกี่เปอร์เซ็นต์ครับ
อ้าว ลองประมาณการกันดูนะครับ
...
...
...
ถ้าท่านเป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ ท่านอาจจะตอบ % ที่สูงมาก ๆ เช่น 95%
เพราะดูแล้ว Indicator นี้มันสุดยอดจริงไหมครับ
ผิดครับ !!!
เพราะจริง ๆ แล้วโอกาสที่หุ้นนี้จะลงมีต่ำกว่า 2% เท่านั้น !!!
เห้ย เป็นไปไม่ได้ นี่มันสุดยอด Indicator นะ
ผมคงไม่ลงรายละเอียดทฤษฏีความน่าจะเป็นนะครับ แต่จะขออธิบายง่าย ๆ แบบนี้ว่า
อย่าลืมว่าตอนนี้ตลาดมันเป็นตลาดกระทิง โอกาสหุ้นขึ้นมันมีสูงถึง 999 ใน 1,0000
โอกาสหุ้นลงมันมีเพียงแค่ 1 ใน 1,000 เท่านั้น (ลองกลับไปอ่านย่อหน้าแรกใหม่ได้นะครับ ถ้าใครลืมความจริงข้อนี้ไป)
คราวนี้ลองมาดูคุณภาพของ Indicator ตัวนี้กันใหม่นะครับ
ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา สมมุติว่ามีหุ้น 1,000 ตัว จะมีหุ้นขึ้นจริง ๆ 999 ตัว และมีหุ้นลงเพียงแค่ 1 ตัว ใช่ไหมครับ
ในบรรดาหุ้นขึ้นจริง ๆ 999 ตัวนั้น Indicator ตัวนี้ทายถูก 95% หรือทายถูกเท่ากับ 0.95 x 999 = 949.05 หรือประมาณ 949 ตัว ซึ่งหมายถึงทายผิดว่าหุ้นลง (ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ มันขึ้น) อยู่ 999 – 949 = 50 ตัว
ในบรรดาหุ้นที่ลงนั้นมันมีแค่ตัวเดียว จาก 1,000 ตัว และ Indicator ตัวนี้ ก็ทายถูก 100% คือตัวที่มันลง ตัวเดียวนี้แหละ ที่ Indicator ตัวนี้ก็ทายว่าหุ้นลง
ดังนั้นลองดูนะครับ ในบรรดาหุ้นที่ Indicator ตัวนี้ทายว่าลง 51 ตัว มันทายผิดไป 50 ตัว ทายถูกแค่ตัวเดียวเอง !!!
หรืออัตราความถูกต้องเวลา Indicator ตัวนี้ทายว่าหุ้นจะลงมีแค่ 1/51 หรือต่ำกว่า 2% !!!
อาการแบบนี้แหละครับที่เราเรียกว่า Base rate fallacy คือเรามักจะไม่ค่อยสนใจสถิติในภาพรวมแต่มุ่งไปที่ภาพเล็ก ๆ มากกว่า
ในเมื่อหุ้น 99% มันขึ้น 1% มันตก ดังนั้นเวลาเราหยิบหุ้นตัวหนึ่งขึ้นมา แล้วทำนายว่าหุ้นตัวนั้นจะตก ไม่ว่าจะใช้วิธีการอะไรก็ตาม
โอกาสที่คำทำนายนั้นมันจะผิดมันก็ย่อมจะมีมากกว่าถูกอยู่แล้ว
ระวังความผิดพลาดในลักษณะนี้ให้ดีนะครับ
โดยเฉพาะการดูพวกสัญญาณ Trade ในรูปแบบต่าง ๆ
เราจะได้ไม่ตกหลุมพรางในลักษณะนี้ครับ
สมมุติว่าตลาดหุ้นใน 2-3 ปีที่ผ่านมาเป็นตลาดกระทิง คือตลาดที่โอกาสหุ้นขึ้นมีมากกว่าหุ้นตก
โดยสมมุติว่าในตลาดกระทิงนี้โอกาสหุ้นจะขึ้นมีสูงถึง 99.9% โอกาสหุ้นตกมีเพียงแค่ 0.1% เท่านั้น
ต่อมาก็มีคนแนะนำ Indicator ตัวหนึ่งที่ใช้ในการซื้อขายหุ้น
และจากการนำ Indicator นี้ไปทดสอบกับข้อมูลย้อนหลัง (Back test) ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา (ที่เป็นตลาดกระทิง) พบว่าในบรรดาหุ้นที่สุดท้ายราคาขึ้นทั้งหมดนั้น Indicator นี้ ทายถูกว่าหุ้นจะขึ้น 95% ผิดแค่ 5% และในบรรดาหุ้นที่ราคาลงทั้งหมดนั้น Indicator นี้ ทายถูกว่ามันจะลง 100% เลย
โอ้โห นี่มันสุดยอด Indicator ชัด ๆ
วันหนึ่งเรานำ Indicator ตัวนี้ไปวัดหุ้นตัวหนึ่ง แล้วเราพบว่าสัญญาณบ่งชี้ว่าหุ้นนี้มันจะตก
คำถามคือว่าจากข้อมูลที่ให้มานี้ โอกาสที่หุ้นนี้มันจะตกจริง ๆ มีสักกี่เปอร์เซ็นต์ครับ
อ้าว ลองประมาณการกันดูนะครับ
...
...
...
ถ้าท่านเป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ ท่านอาจจะตอบ % ที่สูงมาก ๆ เช่น 95%
เพราะดูแล้ว Indicator นี้มันสุดยอดจริงไหมครับ
ผิดครับ !!!
เพราะจริง ๆ แล้วโอกาสที่หุ้นนี้จะลงมีต่ำกว่า 2% เท่านั้น !!!
เห้ย เป็นไปไม่ได้ นี่มันสุดยอด Indicator นะ
ผมคงไม่ลงรายละเอียดทฤษฏีความน่าจะเป็นนะครับ แต่จะขออธิบายง่าย ๆ แบบนี้ว่า
อย่าลืมว่าตอนนี้ตลาดมันเป็นตลาดกระทิง โอกาสหุ้นขึ้นมันมีสูงถึง 999 ใน 1,0000
โอกาสหุ้นลงมันมีเพียงแค่ 1 ใน 1,000 เท่านั้น (ลองกลับไปอ่านย่อหน้าแรกใหม่ได้นะครับ ถ้าใครลืมความจริงข้อนี้ไป)
คราวนี้ลองมาดูคุณภาพของ Indicator ตัวนี้กันใหม่นะครับ
ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา สมมุติว่ามีหุ้น 1,000 ตัว จะมีหุ้นขึ้นจริง ๆ 999 ตัว และมีหุ้นลงเพียงแค่ 1 ตัว ใช่ไหมครับ
ในบรรดาหุ้นขึ้นจริง ๆ 999 ตัวนั้น Indicator ตัวนี้ทายถูก 95% หรือทายถูกเท่ากับ 0.95 x 999 = 949.05 หรือประมาณ 949 ตัว ซึ่งหมายถึงทายผิดว่าหุ้นลง (ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ มันขึ้น) อยู่ 999 – 949 = 50 ตัว
ในบรรดาหุ้นที่ลงนั้นมันมีแค่ตัวเดียว จาก 1,000 ตัว และ Indicator ตัวนี้ ก็ทายถูก 100% คือตัวที่มันลง ตัวเดียวนี้แหละ ที่ Indicator ตัวนี้ก็ทายว่าหุ้นลง
ดังนั้นลองดูนะครับ ในบรรดาหุ้นที่ Indicator ตัวนี้ทายว่าลง 51 ตัว มันทายผิดไป 50 ตัว ทายถูกแค่ตัวเดียวเอง !!!
หรืออัตราความถูกต้องเวลา Indicator ตัวนี้ทายว่าหุ้นจะลงมีแค่ 1/51 หรือต่ำกว่า 2% !!!
อาการแบบนี้แหละครับที่เราเรียกว่า Base rate fallacy คือเรามักจะไม่ค่อยสนใจสถิติในภาพรวมแต่มุ่งไปที่ภาพเล็ก ๆ มากกว่า
ในเมื่อหุ้น 99% มันขึ้น 1% มันตก ดังนั้นเวลาเราหยิบหุ้นตัวหนึ่งขึ้นมา แล้วทำนายว่าหุ้นตัวนั้นจะตก ไม่ว่าจะใช้วิธีการอะไรก็ตาม
โอกาสที่คำทำนายนั้นมันจะผิดมันก็ย่อมจะมีมากกว่าถูกอยู่แล้ว
ระวังความผิดพลาดในลักษณะนี้ให้ดีนะครับ
โดยเฉพาะการดูพวกสัญญาณ Trade ในรูปแบบต่าง ๆ
เราจะได้ไม่ตกหลุมพรางในลักษณะนี้ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 7
ยิ่งแก้ข่าว เรายิ่งเชื่อ (Backfire effect)
เคยอ่านข่าวอะไรที่เกี่ยวกับหุ้นไหมครับ
อ้าว ก็ต้องตอบว่าเคยสิ
ยังถามไม่จบครับ คือเคยอ่านข่าวอะไรอย่างหนึ่งแล้วต่อมา ก็มีการแก้ข่าวว่าข่าวที่ออกมา
มันไม่เป็นความจริงไหมครับ
เช่น อ่านข่าวว่าตอนนี้หุ้นตัวนี้ กำลังจะแตกพาร์ หรือ แจก Warrant
เราก็เลยสนใจอยากซื้อหุ้นตัวนี้
พอข่าวออกไป อีกวันหนึ่ง ก็มีผู้บริหารออกมาปฏิเสธว่ายังไม่มีแผนว่าจะแตกพาร์หรือ
แจก Warrant ใด ๆ ทั้งสิ้น !!!
ถ้าเป็นไปตามเหตุผล เราก็ควรเปลี่ยนใจ และยกเลิกความตั้งใจในการซื้อหุ้นตัวนี้ จริงไหมครับ
แต่เชื่อไหมครับ เวลาเราเจอข่าวแบบนี้
ยิ่งผู้บริหารออกมาให้ข้อเท็จจริงที่ตรงข้ามกับความคิดของเราในตอนแรก (ที่เราก็ได้ข่าวมาเหมือนกันว่าจะแตกพาร์หรือแจก Warrant)
มันกลับทำให้เรายิ่งเชื่อหนักเข้าไปอีกว่าจะต้องแตกพาร์หรือแจก Warrant แน่ ๆ !!!
กลายเป็นว่า ยิ่งแก้ข่าว ก็ยิ่งเชื่อ
อารมณ์แบบนี้ เราเรียกว่า Backfire effect ครับ
ในปี 2006 Brendan Nyhan และ Jason Reifler แห่งมหาวิทยาลัย Michigan และ Georgia State ได้ทำการทดลอง โดยให้ข่าวผิด ๆ กับผู้ถูกทดลอง หลังจากนั้นก็แก้ข่าว โดยให้ข่าวที่ถูกต้อง
แทนที่ผู้ถูกทดลองจะเชื่อการแก้ข่าวนั้น เขากลับยิ่งเชื่อว่าข้อมูลข่าวอันแรกถูกต้องมากขึ้นไปอีก !!!
เวลาได้รับข่าว และเห็นการแก้ข่าวเหล่านี้คอยเตือนตัวเองด้วยนะครับ
ว่าเราตกหลุมพรางนี้กันบ้างหรือเปล่า
เคยอ่านข่าวอะไรที่เกี่ยวกับหุ้นไหมครับ
อ้าว ก็ต้องตอบว่าเคยสิ
ยังถามไม่จบครับ คือเคยอ่านข่าวอะไรอย่างหนึ่งแล้วต่อมา ก็มีการแก้ข่าวว่าข่าวที่ออกมา
มันไม่เป็นความจริงไหมครับ
เช่น อ่านข่าวว่าตอนนี้หุ้นตัวนี้ กำลังจะแตกพาร์ หรือ แจก Warrant
เราก็เลยสนใจอยากซื้อหุ้นตัวนี้
พอข่าวออกไป อีกวันหนึ่ง ก็มีผู้บริหารออกมาปฏิเสธว่ายังไม่มีแผนว่าจะแตกพาร์หรือ
แจก Warrant ใด ๆ ทั้งสิ้น !!!
ถ้าเป็นไปตามเหตุผล เราก็ควรเปลี่ยนใจ และยกเลิกความตั้งใจในการซื้อหุ้นตัวนี้ จริงไหมครับ
แต่เชื่อไหมครับ เวลาเราเจอข่าวแบบนี้
ยิ่งผู้บริหารออกมาให้ข้อเท็จจริงที่ตรงข้ามกับความคิดของเราในตอนแรก (ที่เราก็ได้ข่าวมาเหมือนกันว่าจะแตกพาร์หรือแจก Warrant)
มันกลับทำให้เรายิ่งเชื่อหนักเข้าไปอีกว่าจะต้องแตกพาร์หรือแจก Warrant แน่ ๆ !!!
กลายเป็นว่า ยิ่งแก้ข่าว ก็ยิ่งเชื่อ
อารมณ์แบบนี้ เราเรียกว่า Backfire effect ครับ
ในปี 2006 Brendan Nyhan และ Jason Reifler แห่งมหาวิทยาลัย Michigan และ Georgia State ได้ทำการทดลอง โดยให้ข่าวผิด ๆ กับผู้ถูกทดลอง หลังจากนั้นก็แก้ข่าว โดยให้ข่าวที่ถูกต้อง
แทนที่ผู้ถูกทดลองจะเชื่อการแก้ข่าวนั้น เขากลับยิ่งเชื่อว่าข้อมูลข่าวอันแรกถูกต้องมากขึ้นไปอีก !!!
เวลาได้รับข่าว และเห็นการแก้ข่าวเหล่านี้คอยเตือนตัวเองด้วยนะครับ
ว่าเราตกหลุมพรางนี้กันบ้างหรือเปล่า
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 8
เขาว่ากันว่าหุ้นนี้ดี หุ้นนี้ก็คงจะดี (Bandwagon effect)
เคยเล่นหุ้นแล้วเข้ากลุ่มคุยกับเพื่อน ๆ ไหมครับ
บางทีเริ่มจากที่เราไม่รู้จักหุ้นตัวนี้เลย แล้วก็เริ่มได้ยินเพื่อน ๆ พูดกันว่า
"หุ้นตัวนี้ดีมากนะ อีกไม่นานจะมีข่าวดี (อะไรก็ไม่รู้)"
"เราได้ยินมาว่า เขากำลังจะได้รับ Order ใหญ่นะ บริษัทนี้ดีมาก ๆ "
เสร็จแล้วเราก็เห็นว่าหนังสือพิมพ์ก็ลงข่าวประมาณนี้
แถมอ่านใน Webboard ที่ไหนก็มีข่าวหุ้นนี้มาตลอด
ลงเอยด้วยการตัดสินใจซื้อหุ้นตัวนี้ไป
เสร็จแล้วก็ติดดอยตามระเบียบ !!! (คือซื้อเสร็จ ราคาก็ลงตลอดน่ะครับ 5555)
เราเรียกความผิดพลาดในการตัดสินใจประเภทนี้ว่า Bandwagon effect ครับ
ในปี 1935 Muzafer Sherif นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ทำการทดลองอันหนึ่งโดยเขาให้ผู้ถูกทดลองแต่ละคนไปอยู่ในห้องมืดห้องหนึ่งและให้ดูจุดไฟจุดหนึ่งที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 15 ฟุต
เสร็จแล้วก็ถามผู้ถูกทดลองว่าจุดนี้มันเคลื่อนที่ไปกี่ฟุต ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงมันอยู่นิ่ง
แต่เนื่องจากมันเกิดภาพลวงตา หลาย ๆ คนจึงดูเหมือนจุดไฟนี้มันเคลื่อนไปผู้ถูกทดลองแต่ละคนก็ให้คำตอบมาว่ามันเคลื่อนไปประมาณกี่ฟุต การทดลองนี้แต่ละคนทดลองแยกจากกันนะครับ
คราวนี้ 2-3 วันต่อมา
เขาก็ให้ผู้เข้าร่วมทดลองกลุ่มเดิมมาทดลองอีก
แต่คราวนี้ เข้าไปทดลองพร้อม ๆ กันทีละ 3 คน
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทั้งสามคนนี้ประมาณค่าของระยะทางของการเคลื่อนที่ออกมาไม่แตกต่างกัน
ทั้ง ๆ ที่การทดลองรอบแรก 3 คนนี้ให้ค่าที่แตกต่างกัน !!!
ถึงแม้ว่าต่อมาหลังจากนั้น
Sherif จะให้แต่ละคนแยกกันประมาณการ แต่ทั้งสามคนก็ยังยืนยันค่าเดิม ที่เป็นการประมาณการของกลุ่ม มากกว่าที่จะเชื่อตัวเอง!!!
จะเห็นว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมและต้องการการยอมรับ ไม่ต้องการการแปลกแยกออกไป
เรามักถูกหลอกล่อแบบนี้อยู่เสมอ
ระวังให้ดีครับ ถ้ามีคนบอกเราว่า
"หุ้นนี้ดีนะ ใคร ๆ เขาก็ซื้อกัน" หรือ “หุ้นนี้เขาซื้อกัน ถ้าไม่ซื้อระวังตกรถนะ”
เราอาจจะตกหลุมพรางในลักษณะนี้ก็เป็นได้ครับ
เคยเล่นหุ้นแล้วเข้ากลุ่มคุยกับเพื่อน ๆ ไหมครับ
บางทีเริ่มจากที่เราไม่รู้จักหุ้นตัวนี้เลย แล้วก็เริ่มได้ยินเพื่อน ๆ พูดกันว่า
"หุ้นตัวนี้ดีมากนะ อีกไม่นานจะมีข่าวดี (อะไรก็ไม่รู้)"
"เราได้ยินมาว่า เขากำลังจะได้รับ Order ใหญ่นะ บริษัทนี้ดีมาก ๆ "
เสร็จแล้วเราก็เห็นว่าหนังสือพิมพ์ก็ลงข่าวประมาณนี้
แถมอ่านใน Webboard ที่ไหนก็มีข่าวหุ้นนี้มาตลอด
ลงเอยด้วยการตัดสินใจซื้อหุ้นตัวนี้ไป
เสร็จแล้วก็ติดดอยตามระเบียบ !!! (คือซื้อเสร็จ ราคาก็ลงตลอดน่ะครับ 5555)
เราเรียกความผิดพลาดในการตัดสินใจประเภทนี้ว่า Bandwagon effect ครับ
ในปี 1935 Muzafer Sherif นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ทำการทดลองอันหนึ่งโดยเขาให้ผู้ถูกทดลองแต่ละคนไปอยู่ในห้องมืดห้องหนึ่งและให้ดูจุดไฟจุดหนึ่งที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 15 ฟุต
เสร็จแล้วก็ถามผู้ถูกทดลองว่าจุดนี้มันเคลื่อนที่ไปกี่ฟุต ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงมันอยู่นิ่ง
แต่เนื่องจากมันเกิดภาพลวงตา หลาย ๆ คนจึงดูเหมือนจุดไฟนี้มันเคลื่อนไปผู้ถูกทดลองแต่ละคนก็ให้คำตอบมาว่ามันเคลื่อนไปประมาณกี่ฟุต การทดลองนี้แต่ละคนทดลองแยกจากกันนะครับ
คราวนี้ 2-3 วันต่อมา
เขาก็ให้ผู้เข้าร่วมทดลองกลุ่มเดิมมาทดลองอีก
แต่คราวนี้ เข้าไปทดลองพร้อม ๆ กันทีละ 3 คน
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทั้งสามคนนี้ประมาณค่าของระยะทางของการเคลื่อนที่ออกมาไม่แตกต่างกัน
ทั้ง ๆ ที่การทดลองรอบแรก 3 คนนี้ให้ค่าที่แตกต่างกัน !!!
ถึงแม้ว่าต่อมาหลังจากนั้น
Sherif จะให้แต่ละคนแยกกันประมาณการ แต่ทั้งสามคนก็ยังยืนยันค่าเดิม ที่เป็นการประมาณการของกลุ่ม มากกว่าที่จะเชื่อตัวเอง!!!
จะเห็นว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมและต้องการการยอมรับ ไม่ต้องการการแปลกแยกออกไป
เรามักถูกหลอกล่อแบบนี้อยู่เสมอ
ระวังให้ดีครับ ถ้ามีคนบอกเราว่า
"หุ้นนี้ดีนะ ใคร ๆ เขาก็ซื้อกัน" หรือ “หุ้นนี้เขาซื้อกัน ถ้าไม่ซื้อระวังตกรถนะ”
เราอาจจะตกหลุมพรางในลักษณะนี้ก็เป็นได้ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 9
ความพึงพอใจลูกค้าเพิ่มขึ้น กำไรจึงเพิ่มขึ้น (Belief bias)
ความพึงพอใจลูกค้าเพิ่มขึ้น กำไรจึงเพิ่มขึ้น (Belief bias)
เคยอ่านเจอบทวิเคราะห์ที่มีข้อความเหล่านี้ไหมครับ
“บริษัทมีการออกผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าชื่นชอบส่งผลให้กำไรไตรมาสนี้ของบริษัทเพิ่มสูงขึ้น”
ฟังดูเผิน ๆ ก็ไม่เห็นแปลกนี่ครับ
มันก็จริงที่ลูกค้าของบริษัทมีความพึงพอใจสูงขึ้นและมันก็จริงที่กำไรของบริษัทก็สูงขึ้น
แต่พอเราบอกว่ากำไรของบริษัทสูงขึ้นเป็นเพราะลูกค้ามีความพึงพอใจสูงขึ้น
ข้อสรุปนี้กลับอาจจะมีความผิดพลาด !!!
เพราะจริง ๆ กำไรที่เพิ่มสูงขึ้นมันอาจจะมาจากสาเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจลูกค้าก็เป็นไปได้
เราเรียกหลุมพรางนี้ว่า Belief bias ครับ คือเรามักจะเชื่อมาก่อนแล้วมามันถูก
พอไปเจอข้อสรุปที่ตรงใจเรา เราก็มักจะเชื่อทันทีว่าใช่
ผมลองยกตัวอย่างให้เห็นชัดนะครับ
นักกีฬาวิ่งโอลิมปิกทุกคนต้องซ้อมวิ่งทุกเช้า
ผมซ้อมวิ่งทุกเช้า ดังนั้นผมจึงเป็นนักกีฬาวิ่งโอลิมปิก !!!
จะเห็นได้ชัดว่า 2 ประโยคแรกเป็นความจริง
คือนักกีฬาวิ่งโอลิมปิกทุกคนต้องซ้อมวิ่งทุกเช้า ... ใช่
และผมก็ซ้อมวิ่งทุกเช้า ... ใช่
แต่พอไปสรุปว่าผมจึงเป็นนักกีฬาโอลิมปิก
อันนี้อาจจะไม่ใช่ก็ได้
ดังนั้นเวลาอ่านข่าวอะไร ต้องระวังให้ดีครับ
อย่าเพิ่งไปหลงเชื่อ เพียงเพราะฟังดูแล้วมันน่าเชื่อครับ !
ความพึงพอใจลูกค้าเพิ่มขึ้น กำไรจึงเพิ่มขึ้น (Belief bias)
เคยอ่านเจอบทวิเคราะห์ที่มีข้อความเหล่านี้ไหมครับ
“บริษัทมีการออกผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าชื่นชอบส่งผลให้กำไรไตรมาสนี้ของบริษัทเพิ่มสูงขึ้น”
ฟังดูเผิน ๆ ก็ไม่เห็นแปลกนี่ครับ
มันก็จริงที่ลูกค้าของบริษัทมีความพึงพอใจสูงขึ้นและมันก็จริงที่กำไรของบริษัทก็สูงขึ้น
แต่พอเราบอกว่ากำไรของบริษัทสูงขึ้นเป็นเพราะลูกค้ามีความพึงพอใจสูงขึ้น
ข้อสรุปนี้กลับอาจจะมีความผิดพลาด !!!
เพราะจริง ๆ กำไรที่เพิ่มสูงขึ้นมันอาจจะมาจากสาเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจลูกค้าก็เป็นไปได้
เราเรียกหลุมพรางนี้ว่า Belief bias ครับ คือเรามักจะเชื่อมาก่อนแล้วมามันถูก
พอไปเจอข้อสรุปที่ตรงใจเรา เราก็มักจะเชื่อทันทีว่าใช่
ผมลองยกตัวอย่างให้เห็นชัดนะครับ
นักกีฬาวิ่งโอลิมปิกทุกคนต้องซ้อมวิ่งทุกเช้า
ผมซ้อมวิ่งทุกเช้า ดังนั้นผมจึงเป็นนักกีฬาวิ่งโอลิมปิก !!!
จะเห็นได้ชัดว่า 2 ประโยคแรกเป็นความจริง
คือนักกีฬาวิ่งโอลิมปิกทุกคนต้องซ้อมวิ่งทุกเช้า ... ใช่
และผมก็ซ้อมวิ่งทุกเช้า ... ใช่
แต่พอไปสรุปว่าผมจึงเป็นนักกีฬาโอลิมปิก
อันนี้อาจจะไม่ใช่ก็ได้
ดังนั้นเวลาอ่านข่าวอะไร ต้องระวังให้ดีครับ
อย่าเพิ่งไปหลงเชื่อ เพียงเพราะฟังดูแล้วมันน่าเชื่อครับ !
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 10
ตัวเราดีที่สุด (Bias blind spot)
ถ้าใครติดตามงานเขียนของผมเรื่อย ๆ ก็จะเห็นว่า หลุมพรางในการตัดสินใจมีมากมายเลยทีเดียว
แต่ข่าวดีคือ ตอนนี้เรารู้แล้วว่าหลุมพรางมีอะไรบ้าง เราจะได้คอยระวังไม่ให้ตกหลุมพรางอีก
ตอนนี้มีอีกหนึ่งหลุมพรางที่ผมคิดว่าเป็นหลุมพรางที่เราอาจจะตกลงไปได้ง่ายที่สุด และเผลอ ๆ เป็นการตกไปแบบไม่รู้ตัวซะด้วยซ้ำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มักจะเกิดกับคนที่รู้จักหลุมพรางต่าง ๆ เป็นอย่างดี !!!
ที่เราเรียกกันว่า “กูรู้” เอ้ย “กูรู” นั่นแหละครับ
เนื่องจากกูรูเหล่านี้ (อาจจะรวมถึงคนอ่านและคนเขียนด้วย 555) เรียนรู้เรื่องความลำเอียง ในการตัดสินใจจำนวนมาก จึงทำให้เรามักจะมองเห็นคนอื่นว่า เขาตกหลุมพรางอะไรบ้าง จนกระทั่งลืมมองดูตัวเราเอง !!!
การที่เราไปมองเห็นแต่ว่าคนอื่นตัดสินใจผิดพลาดอย่างไร โดยลืมมองไปว่า เราก็ทำผิดพลาดเหมือนกัน เราเรียกอาการนี้ว่า Bias blind spot ครับ
ในการทดลองของ Emily Pronin และ Matthew Kugler แห่งมหาวิทยาลัย Princeton ในปี 2007 นั้น ได้ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวเอง และเกี่ยวกับสิ่งอื่น
และก็ไม่น่าประหลาดใจว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมี Bias ในการตัดสินใจ
เช่น ให้คะแนนเกี่ยวกับตัวเองสูงกว่าคนอื่นในเรื่องที่ดี
คราวนี้ ผู้ทดลองก็ได้อธิบายว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมีความลำเอียงในการตัดสินใจแบบไหน อย่างไร และถามผู้เข้าร่วมการทดลองว่ามันส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของเขาหรือไม่อย่างไร
ผู้เข้าร่วมการทดลองให้ความเห็นว่ามันส่งผลกระทบต่อเขาน้อยกว่าคนอื่น
หรือเรียกง่าย ๆ ว่าแต่ละคนบอกว่าเขาไม่มีความลำเอียง ในขณะที่คนอื่นมีความลำเอียง !!!
นี่แหละครับที่เรียกว่า Bias blind spot
เหตุผลง่าย ๆ คือคนส่วนใหญ่มักจะเข้าข้างตัวเองอยู่เสมอ และคำว่า Bias นั้น มันเป็นความรู้สึกเชิงลบ ดังนั้นคนทั่วไปมักจะคิดว่าเราไม่มีอาการแบบนั้น !!!
คราวนี้ เวลาเราเห็นใครที่ตัดสินใจอะไรผิด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นหุ้นหรือเรื่องใด ๆ ก็ตาม
ก่อนที่จะไปว่าเขา ลองกลับมานึกถึงตัวเราด้วยนะครับ
จะได้ไม่เกิดจุดบอดเหมือนที่กล่าวไปแล้วไงครับ
ถ้าใครติดตามงานเขียนของผมเรื่อย ๆ ก็จะเห็นว่า หลุมพรางในการตัดสินใจมีมากมายเลยทีเดียว
แต่ข่าวดีคือ ตอนนี้เรารู้แล้วว่าหลุมพรางมีอะไรบ้าง เราจะได้คอยระวังไม่ให้ตกหลุมพรางอีก
ตอนนี้มีอีกหนึ่งหลุมพรางที่ผมคิดว่าเป็นหลุมพรางที่เราอาจจะตกลงไปได้ง่ายที่สุด และเผลอ ๆ เป็นการตกไปแบบไม่รู้ตัวซะด้วยซ้ำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มักจะเกิดกับคนที่รู้จักหลุมพรางต่าง ๆ เป็นอย่างดี !!!
ที่เราเรียกกันว่า “กูรู้” เอ้ย “กูรู” นั่นแหละครับ
เนื่องจากกูรูเหล่านี้ (อาจจะรวมถึงคนอ่านและคนเขียนด้วย 555) เรียนรู้เรื่องความลำเอียง ในการตัดสินใจจำนวนมาก จึงทำให้เรามักจะมองเห็นคนอื่นว่า เขาตกหลุมพรางอะไรบ้าง จนกระทั่งลืมมองดูตัวเราเอง !!!
การที่เราไปมองเห็นแต่ว่าคนอื่นตัดสินใจผิดพลาดอย่างไร โดยลืมมองไปว่า เราก็ทำผิดพลาดเหมือนกัน เราเรียกอาการนี้ว่า Bias blind spot ครับ
ในการทดลองของ Emily Pronin และ Matthew Kugler แห่งมหาวิทยาลัย Princeton ในปี 2007 นั้น ได้ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวเอง และเกี่ยวกับสิ่งอื่น
และก็ไม่น่าประหลาดใจว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมี Bias ในการตัดสินใจ
เช่น ให้คะแนนเกี่ยวกับตัวเองสูงกว่าคนอื่นในเรื่องที่ดี
คราวนี้ ผู้ทดลองก็ได้อธิบายว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมีความลำเอียงในการตัดสินใจแบบไหน อย่างไร และถามผู้เข้าร่วมการทดลองว่ามันส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของเขาหรือไม่อย่างไร
ผู้เข้าร่วมการทดลองให้ความเห็นว่ามันส่งผลกระทบต่อเขาน้อยกว่าคนอื่น
หรือเรียกง่าย ๆ ว่าแต่ละคนบอกว่าเขาไม่มีความลำเอียง ในขณะที่คนอื่นมีความลำเอียง !!!
นี่แหละครับที่เรียกว่า Bias blind spot
เหตุผลง่าย ๆ คือคนส่วนใหญ่มักจะเข้าข้างตัวเองอยู่เสมอ และคำว่า Bias นั้น มันเป็นความรู้สึกเชิงลบ ดังนั้นคนทั่วไปมักจะคิดว่าเราไม่มีอาการแบบนั้น !!!
คราวนี้ เวลาเราเห็นใครที่ตัดสินใจอะไรผิด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นหุ้นหรือเรื่องใด ๆ ก็ตาม
ก่อนที่จะไปว่าเขา ลองกลับมานึกถึงตัวเราด้วยนะครับ
จะได้ไม่เกิดจุดบอดเหมือนที่กล่าวไปแล้วไงครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 11
นักเล่นหุ้น กลุ่มนี้เก่งจัง (Cheerleader Effect)
เคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับหุ้นไหมครับ
เราจะมักจะเห็นและชื่นชมนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ
และเชื่อไหมครับว่า ...
ถ้าจับนักลงทุนเหล่านี้มารวมกลุ่มกันเราจะมีความชื่นชมนักลงทุนแต่ละคนในกลุ่มมากกว่าเมื่อเทียบกับเราดูนักลงทุนแต่ละคนแยกจากกัน
มันเหมือนกับเวลาเราดูเกมกีฬาเหมือนกันครับ
ถ้าเราดูเป็นทีม โดยเฉพาะทีมที่เก่ง เราจะคิดว่าทุกคนในทีมเก่งมากกว่าปกติ
แต่ถ้าแยกดูกันทีละคน ความรู้สึกว่าเขาเก่งจะลดลงไป
เราเรียก Effect แบบนี้ว่า Cheerleader effect ครับ
คำนี้เข้ามาใน Urban Dictionary ตั้งแต่ปี 2008
โดยมีคำกล่าวว่า ...
เชียร์ลีดเดอร์เมื่ออยู่เป็นกลุ่มจะดูสวยทุกคน
แต่ถ้าแยกมาดูทีละคน ความสวยของแต่ละคนจะลดลง !
Drew Walker และ Edward Vul แห่ง University of California ที่ San Diego ได้ทำการทดลองหนึ่งโดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองดูรูปและให้คะแนนความสวยหรือความหล่อ โดยให้ดูทั้งรูปเดี่ยว ๆ กับรูปที่ถ่ายกับกลุ่ม ทั้ง ๆ ที่รูปก็เป็นรูปเดิมนั่นแหละ
ผลปรากฏว่าไม่ว่าจะเป็นรูปผู้หญิงหรือผู้ชาย รูปที่ถ่ายกับกลุ่มจะได้รับคะแนนความสวยหรือความหล่อสูงกว่ารูปเดี่ยวเสมอ !!!
ข้อคิดที่อยากทิ้งท้ายไว้มี 2 ข้อครับ
1) เวลามองอะไร โดยเฉพาะเมื่อมาเป็นกลุ่ม ต้องมองดูดี ๆ นะครับ
2) เวลาถ่ายรูป เน้นรูปกลุ่มนะครับ ทำอะไรเกาะกลุ่มเข้าไว้ดีกว่าครับ 55555
เคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับหุ้นไหมครับ
เราจะมักจะเห็นและชื่นชมนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ
และเชื่อไหมครับว่า ...
ถ้าจับนักลงทุนเหล่านี้มารวมกลุ่มกันเราจะมีความชื่นชมนักลงทุนแต่ละคนในกลุ่มมากกว่าเมื่อเทียบกับเราดูนักลงทุนแต่ละคนแยกจากกัน
มันเหมือนกับเวลาเราดูเกมกีฬาเหมือนกันครับ
ถ้าเราดูเป็นทีม โดยเฉพาะทีมที่เก่ง เราจะคิดว่าทุกคนในทีมเก่งมากกว่าปกติ
แต่ถ้าแยกดูกันทีละคน ความรู้สึกว่าเขาเก่งจะลดลงไป
เราเรียก Effect แบบนี้ว่า Cheerleader effect ครับ
คำนี้เข้ามาใน Urban Dictionary ตั้งแต่ปี 2008
โดยมีคำกล่าวว่า ...
เชียร์ลีดเดอร์เมื่ออยู่เป็นกลุ่มจะดูสวยทุกคน
แต่ถ้าแยกมาดูทีละคน ความสวยของแต่ละคนจะลดลง !
Drew Walker และ Edward Vul แห่ง University of California ที่ San Diego ได้ทำการทดลองหนึ่งโดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองดูรูปและให้คะแนนความสวยหรือความหล่อ โดยให้ดูทั้งรูปเดี่ยว ๆ กับรูปที่ถ่ายกับกลุ่ม ทั้ง ๆ ที่รูปก็เป็นรูปเดิมนั่นแหละ
ผลปรากฏว่าไม่ว่าจะเป็นรูปผู้หญิงหรือผู้ชาย รูปที่ถ่ายกับกลุ่มจะได้รับคะแนนความสวยหรือความหล่อสูงกว่ารูปเดี่ยวเสมอ !!!
ข้อคิดที่อยากทิ้งท้ายไว้มี 2 ข้อครับ
1) เวลามองอะไร โดยเฉพาะเมื่อมาเป็นกลุ่ม ต้องมองดูดี ๆ นะครับ
2) เวลาถ่ายรูป เน้นรูปกลุ่มนะครับ ทำอะไรเกาะกลุ่มเข้าไว้ดีกว่าครับ 55555
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 12
หุ้นที่เรามี มันดีเสมอ (Choice-supportive bias)
เวลาซื้อหุ้นเคยมีอารมณ์นี้ไหมครับ
ตอนแรกเราก็ลังเลใจว่าจะซื้อหุ้นตัวไหนดีระหว่างบริษัท A กับ B
หลังจากเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียต่าง ๆ แล้ว ในที่สุดเราก็เลือกซื้อหุ้น A
คราวนี้ในเวลาต่อมา อาจจะมีคนมาถามว่า...
ทำไมถึงซื้อหุ้น A หรือทำไมไม่ซื้อหุ้น B
คำตอบของเรามักจะเข้าข้างตัวเองเสมอ
คือเรามักจะจำได้ว่าหุ้น A ดีอย่างไร มากกว่าหุ้น B ดีอย่างไร หรือ
หุ้น B ไม่ดีอย่างไร มากกว่า หุ้น A ไม่ดีอย่างไร
ไม่ได้แกล้งนะครับ
เราจะมีแนวโน้มที่จะลืมข้อเสียของหุ้นที่เราถืออยู่และลืมข้อดีของหุ้นที่เราไม่ได้ถือ
ถ้าท่านมีความรู้สึกแบบนี้ก็แสดงว่าท่านกำลังมีสิ่งที่เรียกว่า Choice-supportive bias ครับ
Choice-supportive bias เป็นอาการที่เรามักจะรู้สึกดีกับสิ่งที่เราเลือกมากกว่าความเป็นจริง
ในปี 1996 Bahrick Hall และ Berger ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง "Accuracy and Distortion in Memory for High School Grades" โดยผลการศึกษาบ่งชี้ว่าเมื่อนักศึกษาปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย จำนวน 99 คนถูกถามถึงเกรดสมัยเรียนมัธยม
คำตอบก็อาจจะมีถูกหรือผิดบ้าง แต่ที่น่าสนใจคือความผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดขึ้นในลักษณะของการบอกเกรดที่มากกว่าความเป็นจริง !!!
หรือพูดง่าย ๆ คือเรามักจะมีแนวโน้มเข้าข้างตัวเองเสมอ !!
เกรดที่แย่ จำไม่ได้ จำได้แต่เกรดที่ดี ๆ เท่านั้น ว่างั้นเถอะ
ดังนั้นเวลาเราจะประเมินผลการตัดสินใจลงทุนของเรา ถ้าเราพลาด ก็ยอมรับว่าพลาดนะครับ
อย่า Defend การตัดสินใจที่ผิดพลาดของเรา เพราะมันอาจทำให้ทุกอย่างแย่ลงไปอีก
ระวังเรื่อง Choice-supportive bias กันนะครับ
เวลาซื้อหุ้นเคยมีอารมณ์นี้ไหมครับ
ตอนแรกเราก็ลังเลใจว่าจะซื้อหุ้นตัวไหนดีระหว่างบริษัท A กับ B
หลังจากเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียต่าง ๆ แล้ว ในที่สุดเราก็เลือกซื้อหุ้น A
คราวนี้ในเวลาต่อมา อาจจะมีคนมาถามว่า...
ทำไมถึงซื้อหุ้น A หรือทำไมไม่ซื้อหุ้น B
คำตอบของเรามักจะเข้าข้างตัวเองเสมอ
คือเรามักจะจำได้ว่าหุ้น A ดีอย่างไร มากกว่าหุ้น B ดีอย่างไร หรือ
หุ้น B ไม่ดีอย่างไร มากกว่า หุ้น A ไม่ดีอย่างไร
ไม่ได้แกล้งนะครับ
เราจะมีแนวโน้มที่จะลืมข้อเสียของหุ้นที่เราถืออยู่และลืมข้อดีของหุ้นที่เราไม่ได้ถือ
ถ้าท่านมีความรู้สึกแบบนี้ก็แสดงว่าท่านกำลังมีสิ่งที่เรียกว่า Choice-supportive bias ครับ
Choice-supportive bias เป็นอาการที่เรามักจะรู้สึกดีกับสิ่งที่เราเลือกมากกว่าความเป็นจริง
ในปี 1996 Bahrick Hall และ Berger ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง "Accuracy and Distortion in Memory for High School Grades" โดยผลการศึกษาบ่งชี้ว่าเมื่อนักศึกษาปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย จำนวน 99 คนถูกถามถึงเกรดสมัยเรียนมัธยม
คำตอบก็อาจจะมีถูกหรือผิดบ้าง แต่ที่น่าสนใจคือความผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดขึ้นในลักษณะของการบอกเกรดที่มากกว่าความเป็นจริง !!!
หรือพูดง่าย ๆ คือเรามักจะมีแนวโน้มเข้าข้างตัวเองเสมอ !!
เกรดที่แย่ จำไม่ได้ จำได้แต่เกรดที่ดี ๆ เท่านั้น ว่างั้นเถอะ
ดังนั้นเวลาเราจะประเมินผลการตัดสินใจลงทุนของเรา ถ้าเราพลาด ก็ยอมรับว่าพลาดนะครับ
อย่า Defend การตัดสินใจที่ผิดพลาดของเรา เพราะมันอาจทำให้ทุกอย่างแย่ลงไปอีก
ระวังเรื่อง Choice-supportive bias กันนะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 13
ในที่สุดเราก็จะเจอ Pattern ของราคาหุ้น (Clustering illusion)
ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เพิ่งเข้ามาในตลาดหุ้น มีความมุ่งมั่นในการหา “สูตรลับ” ที่เชื่อว่าจะใช้ได้ผลในการทำนายราคาหุ้น
เพราะถ้าได้ “สูตรลับ” นี้ไป สงสัยจะนั่งนับเงินกันไม่ไหวเลยทีเดียว !!!
เชื่อไหมครับ ว่าเรามักจะเจอสิ่งที่เรามองหา ไม่ช้าก็เร็ว เราก็อาจจะสังเกตเห็นอะไรบางอย่าง
เช่นถ้าหุ้นขึ้นติดกัน 2 วัน วันที่ 3 หุ้นจะลง (อันนี้ ผมยกตัวอย่างเล่น ๆ นะครับ เดี๋ยวบางคน
จะหลงผิดคิดว่าผมบอกสูตรลับจะยุ่งกันใหญ่)
พอลองดูสักสัปดาห์ เออ เป็นจริง ๆ ที่หว่า
เห็นไหม ถ้าขึ้น 2 วันติด วันที่ 3 ลงทุกที
เจอแล้ว สูตรลับหุ้นตัวนี้...
คงไม่ต้องบอกนะครับว่าพอเอาสูตรลับนี้ไปใช้ จะเกิดอะไรขึ้น !!!
สิ่งที่เกิดขึ้นกับความคิดเหล่านี้ เราเรียกมันว่า Clustering illusion ครับ
มันเป็นภาพลวงตาประเภทหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับจำนวนตัวอย่างที่มีจำนวนค่อนข้างน้อย
เช่นเราสังเกตราคาหุ้นเพียงแค่ 1-2 สัปดาห์ มันก็มีความเป็นไปได้ครับที่เราจะเห็น Pattern แบบนั้น แต่ถ้าท่านมีอาการแบบนี้ก็ไม่ต้องตกใจนะครับ เป็นกันทั้งโลกแหละครับ
Gilovich ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “How We Know What Isn't So: The Fallibility of Human Reason in Everyday Life” ก็ได้ยกตัวอย่างหลายตัวอย่างของภาพลวงตาแบบนี้
เช่นการทิ้งระเบิดในกรุงลอนดอนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
หรือการขึ้นลงของราคาหุ้น ที่ดูเหมือนจะมีรูปแบบที่ชัดเจน ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงมันเป็นการเกิดขึ้นแบบ Random เท่านั้น!!
ถ้างั้นเวลาเจอสูตรลับอะไร ที่ดูเหมือนเป็น Pattern อย่างเพิ่งตื่นเต้นดีใจไปนะครับ
ท่านอาจกำลังถูกภาพลวงตาประเภทนี้หลอกอยู่
แต่ถ้าทดลองดูข้อมูลในระยะยาว แล้วเจอจริง ๆ
อันนี้อย่าลืมบอกกันบ้างนะครับ 55555
ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เพิ่งเข้ามาในตลาดหุ้น มีความมุ่งมั่นในการหา “สูตรลับ” ที่เชื่อว่าจะใช้ได้ผลในการทำนายราคาหุ้น
เพราะถ้าได้ “สูตรลับ” นี้ไป สงสัยจะนั่งนับเงินกันไม่ไหวเลยทีเดียว !!!
เชื่อไหมครับ ว่าเรามักจะเจอสิ่งที่เรามองหา ไม่ช้าก็เร็ว เราก็อาจจะสังเกตเห็นอะไรบางอย่าง
เช่นถ้าหุ้นขึ้นติดกัน 2 วัน วันที่ 3 หุ้นจะลง (อันนี้ ผมยกตัวอย่างเล่น ๆ นะครับ เดี๋ยวบางคน
จะหลงผิดคิดว่าผมบอกสูตรลับจะยุ่งกันใหญ่)
พอลองดูสักสัปดาห์ เออ เป็นจริง ๆ ที่หว่า
เห็นไหม ถ้าขึ้น 2 วันติด วันที่ 3 ลงทุกที
เจอแล้ว สูตรลับหุ้นตัวนี้...
คงไม่ต้องบอกนะครับว่าพอเอาสูตรลับนี้ไปใช้ จะเกิดอะไรขึ้น !!!
สิ่งที่เกิดขึ้นกับความคิดเหล่านี้ เราเรียกมันว่า Clustering illusion ครับ
มันเป็นภาพลวงตาประเภทหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับจำนวนตัวอย่างที่มีจำนวนค่อนข้างน้อย
เช่นเราสังเกตราคาหุ้นเพียงแค่ 1-2 สัปดาห์ มันก็มีความเป็นไปได้ครับที่เราจะเห็น Pattern แบบนั้น แต่ถ้าท่านมีอาการแบบนี้ก็ไม่ต้องตกใจนะครับ เป็นกันทั้งโลกแหละครับ
Gilovich ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “How We Know What Isn't So: The Fallibility of Human Reason in Everyday Life” ก็ได้ยกตัวอย่างหลายตัวอย่างของภาพลวงตาแบบนี้
เช่นการทิ้งระเบิดในกรุงลอนดอนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
หรือการขึ้นลงของราคาหุ้น ที่ดูเหมือนจะมีรูปแบบที่ชัดเจน ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงมันเป็นการเกิดขึ้นแบบ Random เท่านั้น!!
ถ้างั้นเวลาเจอสูตรลับอะไร ที่ดูเหมือนเป็น Pattern อย่างเพิ่งตื่นเต้นดีใจไปนะครับ
ท่านอาจกำลังถูกภาพลวงตาประเภทนี้หลอกอยู่
แต่ถ้าทดลองดูข้อมูลในระยะยาว แล้วเจอจริง ๆ
อันนี้อย่าลืมบอกกันบ้างนะครับ 55555
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 14
เราก็ซื้อหุ้นตัวนี้นะ หุ้นดีมีอนาคตจริง ๆ (Confirmation Bias)
เคยเจอสถานการณ์นี้ไหมครับ
เวลาเราตัดสินใจว่าจะซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง
แล้วเราเกิดลังเลใจ สิ่งที่เรามักจะทำคือพยายามหาข้อมูล
อ้าว แล้วมันผิดตรงไหนล่ะครับ
ลังเลใจ เราก็หาข้อมูลเพิ่มเติมสิ
ก็ไม่ผิดหรอกครับ ถ้าเราจะหาข้อมูลเพิ่ม
แต่ที่เราชอบทำกันคือ ...
เราเริ่มโทรไปหาคนที่ถือหุ้นตัวที่เราสนใจอยู่แล้วถามว่าหุ้นตัวนี้ดีไหม !!!
เราเข้าไปใน Webboard แล้วถามคนที่ถือหุ้นตัวนั้นว่าหุ้นนี้มีอนาคตเป็นอย่างไร !!!
คงเดาได้ใช่ไหมครับว่าคำตอบมันจะเป็นอย่างไร !!!
มันก็เหมือนว่าเราอยากจะซื้อรถเบนซ์ แล้วเข้าไปถามเซลล์ขายรถเบนซ์ว่ารถเบนซ์ดีไหม !!!
แน่นอนครับ สิ่งที่เราได้กลับมาก็คือความคิดเห็นทางด้านบวกเท่านั้น
คนถือหุ้นตัวนั้นอยู่ ...
เขาก็ต้องบอกว่าหุ้นตัวนั้นดีจริงไหมครับ
สิ่งที่เราทำมันไม่ใช่การหาข้อมูลอย่างเป็นกลาง
มันเป็นการหาข้อมูลเพื่อ confirm ความคิดของเราเท่านั้น
ถ้าท่านทำแบบนี้ แสดงว่าท่านกำลังมี Confirmation bias ครับ
ในการลงทุนก็เช่นกันครับ เราอาจจะดูเหมือนว่ากำลังหาข้อมูล
ทั้ง ๆ ที่ จริงจริงแล้ว เราต้องการหาข้อมูลที่ Confirm ความคิดของเราต่างหาก
บางที บางข้อคิดเห็นอาจจะเป็นไปในทางลบ แต่ถ้าเราเชื่อและตัดสินใจว่าหุ้นตัวที่เราจะซื้อมันดีแล้ว เราก็หาทางจะแปลผลให้เป็นบวกได้
เช่นหุ้นตัวนี้ Price to Earning (PE) Ratio มันสูงนะ (สำหรับคนที่ไม่ทราบ PE Ratio เป็นการวัดอัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นกับกำไรต่อหุ้น ยิ่งสูง ยิ่งแสดงว่าหุ้นถูกตั้งราคาไว้แพงมากเมื่อเทียบกับกำไรของบริษัทที่ทำได้)
ถ้าเรามี confirmation bias เราก็อาจจะแปลผลเข้าข้างตัวเอง เช่น ก็ดีสิ แสดงว่านักลงทุนให้ความสนใจมาก อาจมีข่าวดีซ่อนอยู่
เราทุกคนมี Bias ลักษณะนี้อยู่ครับ
เหมือนกับที่ Bart Ehrman Professor ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการศึกษาทางด้านศาสนาจาก University of North Carolina ที่ Chapel Hill ได้เคยกล่าวไว้ว่า
"People almost always find what they're expecting to find if they allow their expectations to guide their search"
"คนเรามักจะเจอ สิ่งที่เราคาดว่าจะเจอ ถ้าเรายอมให้คาดหวังของเราชี้นำการค้นหาของเรา"
หรือแปลเป็น version ง่าย ๆ ว่า "หาอะไร ก็เจอสิ่งนั้น" แหละครับ
เคยเจอสถานการณ์นี้ไหมครับ
เวลาเราตัดสินใจว่าจะซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง
แล้วเราเกิดลังเลใจ สิ่งที่เรามักจะทำคือพยายามหาข้อมูล
อ้าว แล้วมันผิดตรงไหนล่ะครับ
ลังเลใจ เราก็หาข้อมูลเพิ่มเติมสิ
ก็ไม่ผิดหรอกครับ ถ้าเราจะหาข้อมูลเพิ่ม
แต่ที่เราชอบทำกันคือ ...
เราเริ่มโทรไปหาคนที่ถือหุ้นตัวที่เราสนใจอยู่แล้วถามว่าหุ้นตัวนี้ดีไหม !!!
เราเข้าไปใน Webboard แล้วถามคนที่ถือหุ้นตัวนั้นว่าหุ้นนี้มีอนาคตเป็นอย่างไร !!!
คงเดาได้ใช่ไหมครับว่าคำตอบมันจะเป็นอย่างไร !!!
มันก็เหมือนว่าเราอยากจะซื้อรถเบนซ์ แล้วเข้าไปถามเซลล์ขายรถเบนซ์ว่ารถเบนซ์ดีไหม !!!
แน่นอนครับ สิ่งที่เราได้กลับมาก็คือความคิดเห็นทางด้านบวกเท่านั้น
คนถือหุ้นตัวนั้นอยู่ ...
เขาก็ต้องบอกว่าหุ้นตัวนั้นดีจริงไหมครับ
สิ่งที่เราทำมันไม่ใช่การหาข้อมูลอย่างเป็นกลาง
มันเป็นการหาข้อมูลเพื่อ confirm ความคิดของเราเท่านั้น
ถ้าท่านทำแบบนี้ แสดงว่าท่านกำลังมี Confirmation bias ครับ
ในการลงทุนก็เช่นกันครับ เราอาจจะดูเหมือนว่ากำลังหาข้อมูล
ทั้ง ๆ ที่ จริงจริงแล้ว เราต้องการหาข้อมูลที่ Confirm ความคิดของเราต่างหาก
บางที บางข้อคิดเห็นอาจจะเป็นไปในทางลบ แต่ถ้าเราเชื่อและตัดสินใจว่าหุ้นตัวที่เราจะซื้อมันดีแล้ว เราก็หาทางจะแปลผลให้เป็นบวกได้
เช่นหุ้นตัวนี้ Price to Earning (PE) Ratio มันสูงนะ (สำหรับคนที่ไม่ทราบ PE Ratio เป็นการวัดอัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นกับกำไรต่อหุ้น ยิ่งสูง ยิ่งแสดงว่าหุ้นถูกตั้งราคาไว้แพงมากเมื่อเทียบกับกำไรของบริษัทที่ทำได้)
ถ้าเรามี confirmation bias เราก็อาจจะแปลผลเข้าข้างตัวเอง เช่น ก็ดีสิ แสดงว่านักลงทุนให้ความสนใจมาก อาจมีข่าวดีซ่อนอยู่
เราทุกคนมี Bias ลักษณะนี้อยู่ครับ
เหมือนกับที่ Bart Ehrman Professor ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการศึกษาทางด้านศาสนาจาก University of North Carolina ที่ Chapel Hill ได้เคยกล่าวไว้ว่า
"People almost always find what they're expecting to find if they allow their expectations to guide their search"
"คนเรามักจะเจอ สิ่งที่เราคาดว่าจะเจอ ถ้าเรายอมให้คาดหวังของเราชี้นำการค้นหาของเรา"
หรือแปลเป็น version ง่าย ๆ ว่า "หาอะไร ก็เจอสิ่งนั้น" แหละครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 15
มันต้องเป็นอย่างนี้ ไม่มีทางเป็นอย่างอื่น (Congruence bias)
เคยเล่นหุ้นแล้วอยากจะทดสอบอะไรบางอย่างไหมครับ
เช่นบางทีเราอาจจะสงสัยว่า ถ้ากำไรขึ้นแล้วหุ้นมันขึ้นไหม แล้วเราทำอะไรต่อมาครับ
เราก็ไปดูในบริษัทที่กำไรเพิ่มขึ้น แล้วเราก็ไปดูว่าราคาหุ้นมันขึ้นหรือไม่
ไปศึกษามาหลาย ๆ ตัวก็ยิ่งมั่นใจว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ
เพราะบริษัทที่กำไรเพิ่มขึ้น ราคาหุ้นมันก็เพิ่มขึ้น จึงทำให้เกิดความคิดว่ากำไรนี่แหละคือปัจจัยที่ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น
อ้าว แล้วมันผิดตรงไหน
“มันต้องเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้หรอก”
ก่อนที่จะมาคุยกันต่อ เรามาลองเล่นเกมง่าย ๆ อันหนึ่งก่อนดีกว่าครับ
เกมนี้คิดค้นขึ้นโดย Peter Watson นักจิตวิทยาจาก University College London ในปี 1960 เรียกกันว่า “2-4-6 Problem”
คือนักวิจัยจะเริ่มบอกตัวเลขเรียงลำดับกันมาหนึ่งชุด และขอให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยบอกตัวเลขตัวต่อมา แล้วนักวิจัยจะตอบว่าตัวเลขที่ผู้ร่วมวิจัยตอบมานั้นเป็นไปตามกฎของลำดับนั้นไหม
ผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถบอกตัวเลขต่อมาได้เรื่อย ๆ ในขณะที่นักวิจัยก็จะตอบว่าตัวเลขที่บอกต่อๆ มานั้นเป็นไปตามกฎหรือไม่
เมื่อผู้เข้าร่วมวิจัยรู้สึกมั่นใจ ก็จะบอกว่ากฎของลำดับนั้นคืออะไร และนักวิจัยก็จะตอบว่าผิดหรือถูก
เกมนี้จะเริ่มจากตัวเลขนี้ครับ 2,4,6, ...
ถ้าท่านเหมือนคนทั่วไป ท่านก็จะลองบอกว่า 8
ซึ่งนักวิจัยก็จะตอบว่าเป็นไปตามกฎ
เสร็จแล้วผู้เข้าร่วมการวิจัยส่วนใหญ่ก็จะถามว่า แล้ว 10 ล่ะ นักวิจัยก็บอกว่าก็เป็นไปตามกฎ
มาถึงตอนนี้หลายคนอยากตอบแล้วใช่ไหมครับว่า กฎคือ “บวก 2 จากตัวเลขสุดท้าย”
.....
.....
.....
คำตอบคือ “ผิด” ครับ !!!
ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะงงว่าผิดได้อย่างไร (วะ)
ก็มันชัด ๆ อยู่แล้วนี่ ว่าบวกทีละ 2
มันชัดเพราะอะไรรู้ไหมครับ
เพราะว่าการที่เราทดสอบเลข 8 หรือ 10 ต่อมานั้น เราทำเพื่อยืนยันสิ่งที่เราคิดไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว
คือพอเราเห็น 2 4 6 เราก็คิดว่ากฎมันต้องบวก 2 จากตัวเลขสุดท้าย จริงไหมครับ พอเราทดลองด้วย 8 กับ 10 ผลมันก็ยืนยันสิ่งที่เราอยากจะยืนยัน แล้วเราก็ลงเอยด้วยความผิดพลาด
จริง ๆ แล้วกฎนี้ที่นักวิจัยกำหนดไว้คืออะไรเหรอครับ มันก็แค่ ขอให้ตัวเลขตัวต่อมามันเพิ่มขึ้นก็เท่านั้นเอง
ถ้าท่านตอบด้วยตัวเลข 7 หรืออะไรก็ได้ (แทนที่จะเป็น 8 หรือ 10) มันก็ยังเป็นไปตามกฎอยู่ดี หรือถ้าทดลองตอบด้วย -5 -23 หรืออะไรก็ได้ คำตอบก็คือไม่เป็นไปตามกฎ (เพราะตัวเลขมันน้อยลง)
แต่เห็นไหมครับว่าเกิดอะไรขึ้น เราไม่เคยคิดถึงตัวเลขแบบนั้นเลย เพราะเรามัวจ้องมอง เฉพาะสิ่งที่เราต้องการยืนยันไงครับ
ความลำเอียงในลักษณะนี้มีชื่อเรียกว่า Congruence bias
มันคือความลำเอียงที่เกิดจากความพยายามที่จะทดสอบสมมุติฐานที่เราตั้งไว้ โดยไม่ได้ดูทางเลือกอื่น ๆ เลย
กลับมาปัญหาตอนต้น
เราจะเห็นได้ชัดว่า ก็เราเลือกดูแค่บริษัทที่มีกำไรเพิ่ม เราจึงสังเกตเห็นว่าราคาหุ้นก็เพิ่ม
แล้วเราก็ไปตั้งกฎว่ากำไรเพิ่มทำให้ราคาหุ้นเพิ่ม !!! โดยเราไม่ได้ดูทางเลือกอื่น ๆ ที่เป็นไปได้เลย เช่น แล้วบริษัทที่กำไรไม่เพิ่มล่ะ ราคาหุ้นมันเพิ่มไหม
อย่างว่าแหละครับเรามักจะยืนยันสิ่งที่เราเชื่อเสมอ จริงไหมครับ
เคยเล่นหุ้นแล้วอยากจะทดสอบอะไรบางอย่างไหมครับ
เช่นบางทีเราอาจจะสงสัยว่า ถ้ากำไรขึ้นแล้วหุ้นมันขึ้นไหม แล้วเราทำอะไรต่อมาครับ
เราก็ไปดูในบริษัทที่กำไรเพิ่มขึ้น แล้วเราก็ไปดูว่าราคาหุ้นมันขึ้นหรือไม่
ไปศึกษามาหลาย ๆ ตัวก็ยิ่งมั่นใจว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ
เพราะบริษัทที่กำไรเพิ่มขึ้น ราคาหุ้นมันก็เพิ่มขึ้น จึงทำให้เกิดความคิดว่ากำไรนี่แหละคือปัจจัยที่ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น
อ้าว แล้วมันผิดตรงไหน
“มันต้องเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้หรอก”
ก่อนที่จะมาคุยกันต่อ เรามาลองเล่นเกมง่าย ๆ อันหนึ่งก่อนดีกว่าครับ
เกมนี้คิดค้นขึ้นโดย Peter Watson นักจิตวิทยาจาก University College London ในปี 1960 เรียกกันว่า “2-4-6 Problem”
คือนักวิจัยจะเริ่มบอกตัวเลขเรียงลำดับกันมาหนึ่งชุด และขอให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยบอกตัวเลขตัวต่อมา แล้วนักวิจัยจะตอบว่าตัวเลขที่ผู้ร่วมวิจัยตอบมานั้นเป็นไปตามกฎของลำดับนั้นไหม
ผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถบอกตัวเลขต่อมาได้เรื่อย ๆ ในขณะที่นักวิจัยก็จะตอบว่าตัวเลขที่บอกต่อๆ มานั้นเป็นไปตามกฎหรือไม่
เมื่อผู้เข้าร่วมวิจัยรู้สึกมั่นใจ ก็จะบอกว่ากฎของลำดับนั้นคืออะไร และนักวิจัยก็จะตอบว่าผิดหรือถูก
เกมนี้จะเริ่มจากตัวเลขนี้ครับ 2,4,6, ...
ถ้าท่านเหมือนคนทั่วไป ท่านก็จะลองบอกว่า 8
ซึ่งนักวิจัยก็จะตอบว่าเป็นไปตามกฎ
เสร็จแล้วผู้เข้าร่วมการวิจัยส่วนใหญ่ก็จะถามว่า แล้ว 10 ล่ะ นักวิจัยก็บอกว่าก็เป็นไปตามกฎ
มาถึงตอนนี้หลายคนอยากตอบแล้วใช่ไหมครับว่า กฎคือ “บวก 2 จากตัวเลขสุดท้าย”
.....
.....
.....
คำตอบคือ “ผิด” ครับ !!!
ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะงงว่าผิดได้อย่างไร (วะ)
ก็มันชัด ๆ อยู่แล้วนี่ ว่าบวกทีละ 2
มันชัดเพราะอะไรรู้ไหมครับ
เพราะว่าการที่เราทดสอบเลข 8 หรือ 10 ต่อมานั้น เราทำเพื่อยืนยันสิ่งที่เราคิดไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว
คือพอเราเห็น 2 4 6 เราก็คิดว่ากฎมันต้องบวก 2 จากตัวเลขสุดท้าย จริงไหมครับ พอเราทดลองด้วย 8 กับ 10 ผลมันก็ยืนยันสิ่งที่เราอยากจะยืนยัน แล้วเราก็ลงเอยด้วยความผิดพลาด
จริง ๆ แล้วกฎนี้ที่นักวิจัยกำหนดไว้คืออะไรเหรอครับ มันก็แค่ ขอให้ตัวเลขตัวต่อมามันเพิ่มขึ้นก็เท่านั้นเอง
ถ้าท่านตอบด้วยตัวเลข 7 หรืออะไรก็ได้ (แทนที่จะเป็น 8 หรือ 10) มันก็ยังเป็นไปตามกฎอยู่ดี หรือถ้าทดลองตอบด้วย -5 -23 หรืออะไรก็ได้ คำตอบก็คือไม่เป็นไปตามกฎ (เพราะตัวเลขมันน้อยลง)
แต่เห็นไหมครับว่าเกิดอะไรขึ้น เราไม่เคยคิดถึงตัวเลขแบบนั้นเลย เพราะเรามัวจ้องมอง เฉพาะสิ่งที่เราต้องการยืนยันไงครับ
ความลำเอียงในลักษณะนี้มีชื่อเรียกว่า Congruence bias
มันคือความลำเอียงที่เกิดจากความพยายามที่จะทดสอบสมมุติฐานที่เราตั้งไว้ โดยไม่ได้ดูทางเลือกอื่น ๆ เลย
กลับมาปัญหาตอนต้น
เราจะเห็นได้ชัดว่า ก็เราเลือกดูแค่บริษัทที่มีกำไรเพิ่ม เราจึงสังเกตเห็นว่าราคาหุ้นก็เพิ่ม
แล้วเราก็ไปตั้งกฎว่ากำไรเพิ่มทำให้ราคาหุ้นเพิ่ม !!! โดยเราไม่ได้ดูทางเลือกอื่น ๆ ที่เป็นไปได้เลย เช่น แล้วบริษัทที่กำไรไม่เพิ่มล่ะ ราคาหุ้นมันเพิ่มไหม
อย่างว่าแหละครับเรามักจะยืนยันสิ่งที่เราเชื่อเสมอ จริงไหมครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 16
ยิ่งละเอียด ยิ่งมีโอกาสถูกสูง จริงหรือ (Conjunction fallacy)
เราลองมาเล่นเกมอะไรกันดูนะครับ
ขอเริ่มต้นด้วยข้อมูลชุดนี้
“บริษัท A เป็นบริษัทขนาดเล็ก ที่แต่ละวัน ก็ไม่ค่อยมี Volume ในการซื้อขายสักเท่าไร เมื่อไม่นานมานี้ Volume ในการซื้อขายของหุ้น A นี้ เริ่มหนาแน่นขึ้นแบบผิดปกติ และอีกไม่นาน ก็มีการปล่อยข่าวลือ ข่าวดีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและ ราคาหุ้นก็เพิ่มสูงขึ้นถึง 1 เท่า ในเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์”
เมื่ออ่านข้อความดังกล่าวแล้ว ให้ท่านคิดว่าข้อใดต่อไปนี้ เป็นไปได้มากที่สุด
1) ในสัปดาห์หน้าราคาหุ้นของบริษัท A จะยังคงปรับตัวสูงขึ้น
2) ในสัปดาห์หน้าราคาหุ้นของบริษัท A จะยังคงปรับตัวสูงขึ้น และหลังจากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะมีการปั่นหุ้นเกิดขึ้น
ข้อไหนน่าจะเป็นไปได้มากกว่ากันครับ
...
...
ถ้าท่านเป็นเหมือนกับคนส่วนใหญ่
คำตอบที่เรามักจะเลือกคือข้อที่ 2) ครับ
เพราะหลังจากเราอ่านข้อมูลแล้ว มันมีแนวโน้มให้เชื่อว่ามันน่าจะเป็นการปั่นหุ้นใช่ไหมครับ แต่ถ้าลองกลับไปอ่านคำถามดี ๆ คำถามถามว่าข้อไหนมีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด
คำตอบที่เราควรจะตอบคือข้อที่ 1 ครับ !!!
ทำไมหรือครับ
ลองคิดตามอย่างนี้นะครับ ถ้าข้อที่ 2 ถูก ยังไงข้อที่ 1 ต้องถูกเสมอ ใช่ไหมครับ
แต่... ถ้าข้อที่ 1 ถูก ข้อที่ 2 อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ดังนั้นข้อที่ 1 จึงมีความเป็นไปได้ที่จะถูกมากกว่าข้อที่ 2 เสมอ จริงไหมครับ
ตัวอย่างข้างต้นนี้คือตัวอย่างของสิ่งที่เรียกว่า Conjunction fallacy ที่เป็นอาการของคนเราที่มักจะคิดว่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจง จะมีมากกว่าเหตุการณ์ทั่วไปที่ไม่เฉพาะเจาะจง
ในปี 1980 สองกูรูชื่อดังในเรื่องการตัดสินใจ คือ Amos Tversky และ Daniel Kahneman
ได้ทำการทดลองโดยถามผู้เข้าร่วมการทดลองด้วยคำถามต่อไปนี้
“ถ้าสมมุติว่า บยอร์น บอร์ก เข้าชิงเทนนิสวิมเบิลดัน ในปี 1981 ให้ท่านเรียงลำดับของความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้ จากมากที่สุดไปน้อยที่สุด”
1) บอร์กจะชนะการแข่งขันในแมชท์นี้
2) บอร์กจะแพ้ในการแข่งขันเซ็ตแรก
3) บอร์กจะแพ้ในการแข่งขันเซ็ตแรกแต่ในที่สุดจะชนะการแข่งขันในแมชท์นี้
4) บอร์กจะชนะการแข่งขันเซ็ตแรก แต่ในที่สุดจะแพ้การแข่งขันในแมชท์นี้
จากผลการทดลองพบว่า คนส่วนใหญ่เลือกที่จะเชื่อว่าข้อความที่ 3 มีความเป็นไปได้มากกว่าข้อความที่ 2 !!!
ถ้าอ่านดี ๆ ข้อ 3 ถ้าจะเกิดขึ้น ข้อ 2 ก็จะต้องเกิดขึ้นด้วยเสมอจริงไหมครับ ดังนั้นไม่มีทางที่ข้อ 3 จะมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าข้อ 2
แต่อย่างว่าแหละครับ มนุษย์เราทั่วไปก็ตกหลุมพรางในลักษณะนี้อยู่เสมอ
ระวังนะครับ บางทีเราก็ Overestimate ความสามารถของเราจนเกินไป จนบางครั้งเราเชื่อว่าข้อมูลที่มีรายละเอียดมาก ๆ มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าข้อมูลทั่วไป
ดังนั้นเวลาอ่านข่าวที่เกี่ยวกับหุ้นคอยเตือนตัวเองดี ๆ นะครับว่าที่ดูข่าวมันน่าเชื่อถือ มันเป็นเพียงเพราะว่าเราไปเจอรายละเอียดเยอะ ๆ เท่านั้นหรือเปล่านะครับ
เราลองมาเล่นเกมอะไรกันดูนะครับ
ขอเริ่มต้นด้วยข้อมูลชุดนี้
“บริษัท A เป็นบริษัทขนาดเล็ก ที่แต่ละวัน ก็ไม่ค่อยมี Volume ในการซื้อขายสักเท่าไร เมื่อไม่นานมานี้ Volume ในการซื้อขายของหุ้น A นี้ เริ่มหนาแน่นขึ้นแบบผิดปกติ และอีกไม่นาน ก็มีการปล่อยข่าวลือ ข่าวดีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและ ราคาหุ้นก็เพิ่มสูงขึ้นถึง 1 เท่า ในเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์”
เมื่ออ่านข้อความดังกล่าวแล้ว ให้ท่านคิดว่าข้อใดต่อไปนี้ เป็นไปได้มากที่สุด
1) ในสัปดาห์หน้าราคาหุ้นของบริษัท A จะยังคงปรับตัวสูงขึ้น
2) ในสัปดาห์หน้าราคาหุ้นของบริษัท A จะยังคงปรับตัวสูงขึ้น และหลังจากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะมีการปั่นหุ้นเกิดขึ้น
ข้อไหนน่าจะเป็นไปได้มากกว่ากันครับ
...
...
ถ้าท่านเป็นเหมือนกับคนส่วนใหญ่
คำตอบที่เรามักจะเลือกคือข้อที่ 2) ครับ
เพราะหลังจากเราอ่านข้อมูลแล้ว มันมีแนวโน้มให้เชื่อว่ามันน่าจะเป็นการปั่นหุ้นใช่ไหมครับ แต่ถ้าลองกลับไปอ่านคำถามดี ๆ คำถามถามว่าข้อไหนมีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด
คำตอบที่เราควรจะตอบคือข้อที่ 1 ครับ !!!
ทำไมหรือครับ
ลองคิดตามอย่างนี้นะครับ ถ้าข้อที่ 2 ถูก ยังไงข้อที่ 1 ต้องถูกเสมอ ใช่ไหมครับ
แต่... ถ้าข้อที่ 1 ถูก ข้อที่ 2 อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ดังนั้นข้อที่ 1 จึงมีความเป็นไปได้ที่จะถูกมากกว่าข้อที่ 2 เสมอ จริงไหมครับ
ตัวอย่างข้างต้นนี้คือตัวอย่างของสิ่งที่เรียกว่า Conjunction fallacy ที่เป็นอาการของคนเราที่มักจะคิดว่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจง จะมีมากกว่าเหตุการณ์ทั่วไปที่ไม่เฉพาะเจาะจง
ในปี 1980 สองกูรูชื่อดังในเรื่องการตัดสินใจ คือ Amos Tversky และ Daniel Kahneman
ได้ทำการทดลองโดยถามผู้เข้าร่วมการทดลองด้วยคำถามต่อไปนี้
“ถ้าสมมุติว่า บยอร์น บอร์ก เข้าชิงเทนนิสวิมเบิลดัน ในปี 1981 ให้ท่านเรียงลำดับของความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้ จากมากที่สุดไปน้อยที่สุด”
1) บอร์กจะชนะการแข่งขันในแมชท์นี้
2) บอร์กจะแพ้ในการแข่งขันเซ็ตแรก
3) บอร์กจะแพ้ในการแข่งขันเซ็ตแรกแต่ในที่สุดจะชนะการแข่งขันในแมชท์นี้
4) บอร์กจะชนะการแข่งขันเซ็ตแรก แต่ในที่สุดจะแพ้การแข่งขันในแมชท์นี้
จากผลการทดลองพบว่า คนส่วนใหญ่เลือกที่จะเชื่อว่าข้อความที่ 3 มีความเป็นไปได้มากกว่าข้อความที่ 2 !!!
ถ้าอ่านดี ๆ ข้อ 3 ถ้าจะเกิดขึ้น ข้อ 2 ก็จะต้องเกิดขึ้นด้วยเสมอจริงไหมครับ ดังนั้นไม่มีทางที่ข้อ 3 จะมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าข้อ 2
แต่อย่างว่าแหละครับ มนุษย์เราทั่วไปก็ตกหลุมพรางในลักษณะนี้อยู่เสมอ
ระวังนะครับ บางทีเราก็ Overestimate ความสามารถของเราจนเกินไป จนบางครั้งเราเชื่อว่าข้อมูลที่มีรายละเอียดมาก ๆ มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าข้อมูลทั่วไป
ดังนั้นเวลาอ่านข่าวที่เกี่ยวกับหุ้นคอยเตือนตัวเองดี ๆ นะครับว่าที่ดูข่าวมันน่าเชื่อถือ มันเป็นเพียงเพราะว่าเราไปเจอรายละเอียดเยอะ ๆ เท่านั้นหรือเปล่านะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 17
ไม่นะ ไม่ มันไม่จริง (Conservatism bias)
นักเล่นหุ้นหลายคนเคยเจอเหตุการณ์นี้ไหมครับ
ราคาหุ้นก็อาจจะกำลังขึ้นอยู่ดี ๆ
เสร็จแล้วก็เจอข่าวร้ายอย่างหนึ่งของบริษัท
เคยสังเกตไหมครับว่า
พอมีข่าวแบบนี้มา เกิดอะไรขึ้นกับเรา
ผมต้องบอกก่อนนะครับว่าสมมุติว่าข่าวนั้นเป็นข่าวจริง ๆ ไม่ใช่ข่าวลือ ข่าวปล่อย
หลายครั้ง เราจะเห็นคนเล่นหุ้นหลายคนตะลึงกับข่าวดังกล่าว
เพราะมันเป็นข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น โดยที่เราไม่ได้คาดคิด มันขัดแย้งกับความเชื่อเดิมที่เรามีอยู่คือ
ราคาหุ้นมันต้องขึ้น
ไอ้ช่วงที่เรากำลังตะลึงนี่แหละครับ เรากำลังอยู่ในห้วงอารมณ์ของ Conservatism bias
อารมณ์นี้คืออารมณ์ที่เรามักจะลังเลสงสัย ไม่เชื่อข้อมูลใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
ด้วยเหตุผลเดียวคือ มันขัดแย้งกับความเชื่อเดิมที่เรามีอยู่
เราเคยเชื่อว่าหุ้นจะขึ้น แต่วันหนึ่งดันมีข่าวร้ายเกิดขึ้น มันทำให้เราเชื่อได้ยากกว่าปกติ ว่าหุ้นไม่ขึ้นหรอก มันจะลงแล้ว
ถ้าสังเกตดู ใครมี Bias ลักษณะนี้เยอะ เราจะเป็นคนที่ช้าไปเสมอ ไม่ว่าจะขายหุ้น หุ้นก็ตกลงมากแล้ว หรือไม่ว่าจะอยากซื้อหุ้น เพราะมีข่าวดี (เป็นข้อมูลใหม่) กว่าเราจะทำใจเชื่อได้ หุ้นก็ขึ้นไปมากแล้ว
มีงานวิจัยในปี 2004 จาก Padmaja Kadiyala จาก Pace University และ Raghavendra Rau จาก Cambridge University พบว่านักลงทุนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยเปลี่ยนการตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพียงพอ เมื่อมีข้อมูลใหม่ ๆ เกิดขึ้นกับบริษัท เช่น ข่าวผลประกอบการ การเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินปันผล หรือการ Split หุ้น เป็นต้น
ลองสังเกตดูดี ๆ นะครับว่าเราเป็นอย่างนี้หรือเปล่า
ถ้าเป็นก็แสดงว่าเราเป็นพวกอนุรักษ์นิยมมาก ๆ
ไม่ค่อยชอบที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองสักเท่าไรครับ
นักเล่นหุ้นหลายคนเคยเจอเหตุการณ์นี้ไหมครับ
ราคาหุ้นก็อาจจะกำลังขึ้นอยู่ดี ๆ
เสร็จแล้วก็เจอข่าวร้ายอย่างหนึ่งของบริษัท
เคยสังเกตไหมครับว่า
พอมีข่าวแบบนี้มา เกิดอะไรขึ้นกับเรา
ผมต้องบอกก่อนนะครับว่าสมมุติว่าข่าวนั้นเป็นข่าวจริง ๆ ไม่ใช่ข่าวลือ ข่าวปล่อย
หลายครั้ง เราจะเห็นคนเล่นหุ้นหลายคนตะลึงกับข่าวดังกล่าว
เพราะมันเป็นข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น โดยที่เราไม่ได้คาดคิด มันขัดแย้งกับความเชื่อเดิมที่เรามีอยู่คือ
ราคาหุ้นมันต้องขึ้น
ไอ้ช่วงที่เรากำลังตะลึงนี่แหละครับ เรากำลังอยู่ในห้วงอารมณ์ของ Conservatism bias
อารมณ์นี้คืออารมณ์ที่เรามักจะลังเลสงสัย ไม่เชื่อข้อมูลใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
ด้วยเหตุผลเดียวคือ มันขัดแย้งกับความเชื่อเดิมที่เรามีอยู่
เราเคยเชื่อว่าหุ้นจะขึ้น แต่วันหนึ่งดันมีข่าวร้ายเกิดขึ้น มันทำให้เราเชื่อได้ยากกว่าปกติ ว่าหุ้นไม่ขึ้นหรอก มันจะลงแล้ว
ถ้าสังเกตดู ใครมี Bias ลักษณะนี้เยอะ เราจะเป็นคนที่ช้าไปเสมอ ไม่ว่าจะขายหุ้น หุ้นก็ตกลงมากแล้ว หรือไม่ว่าจะอยากซื้อหุ้น เพราะมีข่าวดี (เป็นข้อมูลใหม่) กว่าเราจะทำใจเชื่อได้ หุ้นก็ขึ้นไปมากแล้ว
มีงานวิจัยในปี 2004 จาก Padmaja Kadiyala จาก Pace University และ Raghavendra Rau จาก Cambridge University พบว่านักลงทุนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยเปลี่ยนการตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพียงพอ เมื่อมีข้อมูลใหม่ ๆ เกิดขึ้นกับบริษัท เช่น ข่าวผลประกอบการ การเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินปันผล หรือการ Split หุ้น เป็นต้น
ลองสังเกตดูดี ๆ นะครับว่าเราเป็นอย่างนี้หรือเปล่า
ถ้าเป็นก็แสดงว่าเราเป็นพวกอนุรักษ์นิยมมาก ๆ
ไม่ค่อยชอบที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองสักเท่าไรครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 18
กำไรเท่ากัน แต่ความรู้สึกไม่เหมือนกัน (Contrast Effect)
สมมุตินะครับว่าเราเคยจับจ้องมองหุ้นของบริษัทหนึ่ง เรานั่งไล่อ่านงบแล้วพบว่า กำไรของบริษัทในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วตั้ง 20% จาก 200 ล้านบาท เป็น 240 ล้านบาท เราคงรู้สึกดีใช่ไหมครับ
นอกจากนั้น ถ้าเราไปเปรียบเทียบกับบริษัทอีกบริษัทหนึ่งที่เราก็จับจ้องมองไว้อยู่เหมือนกัน แต่บริษัทนั้น กำไรกลับลดลงตั้ง 10%
อย่างนี้เราเริ่มจะรู้สึกว่าบริษัทแรกดีมากขึ้นไปอีกเลยใช่ไหมครับ
เอาใหม่นะครับ ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนไป กำไรของบริษัทที่เรามองอยู่ (บริษัทแรก) ลดลง 50% จากปีที่แล้ว คือเคยได้กำไร 480 ล้านบาท ตอนนี้เหลือเพียง 240 ล้านบาท เราคงเริ่มรู้สึกไม่ดีกับบริษัทแรกใช่ไหมครับ
แล้วถ้าอีกบริษัทหนึ่งที่เราก็มองไว้เหมือนกัน กำไรดันเพิ่มขึ้นตั้ง 10% คราวนี้รู้สึกอย่างไรครับ
คำตอบคือ ก็คงรู้สึกแย่กับบริษัทแรกมากขึ้นไปอีก !!!
ทั้ง ๆ ที่ทั้งในกรณีที่ 1 และ 2 ที่ผมยกตัวอย่างนั้น บริษัทแรกมีกำไร 240 ล้านบาทเท่ากัน
แต่ความรู้สึกต่างกันราวฟ้ากับเหว
ความรู้สึกนี้ไม่แปลกหรอกครับ มันก็เป็นความรู้สึกเหมือนตอนเราเด็ก ๆ แล้วคุณครูเคยให้ทดลองให้เราเอามือซ้ายจุ่มน้ำร้อน มือขวาจุ่มน้ำเย็น แล้วสักพักให้เอามือสองมือมาจุ่มน้ำธรรมดาพร้อม ๆ กัน ทั้ง ๆ ที่น้ำธรรมดาในอ่างนั้นอุณหภูมิเท่ากันทั้งอ่าง แต่มือซ้ายเรากับรู้สึกเย็น (เพราะเคยจุ่มน้ำร้อนมาก่อน) ในขณะที่มือขวาเรารู้สึกร้อน (เพราะเคยจุ่มน้ำเย็นมาก่อน)
ซึ่งจริง ๆ การทดลองนี้มีมาตั้งนานแล้วครับ เป็นการทดลองของนักปรัชญาที่ชื่อว่า John Locke
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 โน่นแน่ะ
สิ่งที่เราเจอมีชื่อเรียกว่า Contrast effect ครับ
คือคนเรามักจะมีความรู้สึกในเชิงเปรียบเทียบเสมอ เวลาเราบอกว่าบริษัทดีหรือไม่ดี บางทีมันไม่ได้มาจากตัวเลขผลประกอบการอย่างเดียวหรอกครับ มันมาจากประสบการณ์ของแต่ละคนด้วย
ดังนั้นเวลาไปถามนักวิเคราะห์ หรือ กูรูท่านใด ฟังแล้ว ต้องระวังด้วยนะครับ เนื่องจากคำว่า “ดี” ของแต่ละท่านนั้น มันอาจจะมี Contrast effect แฝงอยู่ก็เป็นได้
เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งเชื่อเขา 100% ในทันทีนะครับ
สมมุตินะครับว่าเราเคยจับจ้องมองหุ้นของบริษัทหนึ่ง เรานั่งไล่อ่านงบแล้วพบว่า กำไรของบริษัทในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วตั้ง 20% จาก 200 ล้านบาท เป็น 240 ล้านบาท เราคงรู้สึกดีใช่ไหมครับ
นอกจากนั้น ถ้าเราไปเปรียบเทียบกับบริษัทอีกบริษัทหนึ่งที่เราก็จับจ้องมองไว้อยู่เหมือนกัน แต่บริษัทนั้น กำไรกลับลดลงตั้ง 10%
อย่างนี้เราเริ่มจะรู้สึกว่าบริษัทแรกดีมากขึ้นไปอีกเลยใช่ไหมครับ
เอาใหม่นะครับ ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนไป กำไรของบริษัทที่เรามองอยู่ (บริษัทแรก) ลดลง 50% จากปีที่แล้ว คือเคยได้กำไร 480 ล้านบาท ตอนนี้เหลือเพียง 240 ล้านบาท เราคงเริ่มรู้สึกไม่ดีกับบริษัทแรกใช่ไหมครับ
แล้วถ้าอีกบริษัทหนึ่งที่เราก็มองไว้เหมือนกัน กำไรดันเพิ่มขึ้นตั้ง 10% คราวนี้รู้สึกอย่างไรครับ
คำตอบคือ ก็คงรู้สึกแย่กับบริษัทแรกมากขึ้นไปอีก !!!
ทั้ง ๆ ที่ทั้งในกรณีที่ 1 และ 2 ที่ผมยกตัวอย่างนั้น บริษัทแรกมีกำไร 240 ล้านบาทเท่ากัน
แต่ความรู้สึกต่างกันราวฟ้ากับเหว
ความรู้สึกนี้ไม่แปลกหรอกครับ มันก็เป็นความรู้สึกเหมือนตอนเราเด็ก ๆ แล้วคุณครูเคยให้ทดลองให้เราเอามือซ้ายจุ่มน้ำร้อน มือขวาจุ่มน้ำเย็น แล้วสักพักให้เอามือสองมือมาจุ่มน้ำธรรมดาพร้อม ๆ กัน ทั้ง ๆ ที่น้ำธรรมดาในอ่างนั้นอุณหภูมิเท่ากันทั้งอ่าง แต่มือซ้ายเรากับรู้สึกเย็น (เพราะเคยจุ่มน้ำร้อนมาก่อน) ในขณะที่มือขวาเรารู้สึกร้อน (เพราะเคยจุ่มน้ำเย็นมาก่อน)
ซึ่งจริง ๆ การทดลองนี้มีมาตั้งนานแล้วครับ เป็นการทดลองของนักปรัชญาที่ชื่อว่า John Locke
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 โน่นแน่ะ
สิ่งที่เราเจอมีชื่อเรียกว่า Contrast effect ครับ
คือคนเรามักจะมีความรู้สึกในเชิงเปรียบเทียบเสมอ เวลาเราบอกว่าบริษัทดีหรือไม่ดี บางทีมันไม่ได้มาจากตัวเลขผลประกอบการอย่างเดียวหรอกครับ มันมาจากประสบการณ์ของแต่ละคนด้วย
ดังนั้นเวลาไปถามนักวิเคราะห์ หรือ กูรูท่านใด ฟังแล้ว ต้องระวังด้วยนะครับ เนื่องจากคำว่า “ดี” ของแต่ละท่านนั้น มันอาจจะมี Contrast effect แฝงอยู่ก็เป็นได้
เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งเชื่อเขา 100% ในทันทีนะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 19
มันง่ายแค่นี้ ทำไมถึงไม่รู้ (Curse of Knowledge)
เวลาเล่นหุ้น หลายครั้ง เราก็อยากปรึกษากูรูที่น่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในวงการ
แต่เชื่อไหมครับว่า กูรู ก็มีจุดอ่อน !!!
อะไรนะ !! จะมีจุดอ่อนได้อย่างไร ก็เขาเก่งขนาดนี้ รอบรู้ขนาดนี้
เชื่อไหมครับ บางทีความรู้ที่มีมันก็อาจจะกลายเป็น “คำสาบ” โดยไม่รู้ตัว
เราเรียกมันว่า Curse of knowledge ครับ
จริง ๆ คำนี้มีที่มามานานแล้ว แต่เป็นคำเริ่มเป็นที่รู้จักจากนักเศรษฐศาสตร์ 3 คนได้แก่ Colin Camerer George Loewenstein และ Martin Weber ซึ่งเขาพิสูจน์ว่ามีหลายสถานการณ์ที่คนที่รู้มากนั้น กลับมีบางอย่างที่เสียเปรียบคนที่รู้น้อยกว่า
ยกตัวอย่างเช่นในวงการเรียนการสอน บางทีเราจะเห็นว่าอาจารย์คนนี้ ตอนเป็นนักเรียนก็เป็นนักเรียนที่เก่งมาก จบปริญญาเอก ความรู้มีเยอะมากในวิชาที่สอน กลับสอนไม่รู้เรื่อง สู้อาจารย์ที่ตอนเรียน เรียนไม่ค่อยเก่งไม่ได้ซะด้วยซ้ำ !!!
เหตุผลคือ เขานึกไม่ออกว่าคนไม่รู้ เขารู้สึกอย่างไร เพราะเขารู้แล้ว เขาเลยอาจจะคิดว่าคนอื่นก็น่าจะเป็นแบบเขา ดังนั้นความรู้เยอะนี่แหละ จึงทำให้เขาไม่สามารถถ่ายทอดได้ดีเท่ากับคนที่รู้ไม่เยอะนัก !!!
อยากรู้ว่า Curse of knowledge มันอารมณ์ประมาณไหน ลองทำอย่างนี้ดูครับ
ลองคิดเพลง ๆ หนึ่งในใจ เสร็จแล้ว บอกเพื่อนว่าเดี๋ยวเราจะเคาะจังหวะ แล้วให้เพื่อนทายนะ
ว่าเป็นเพลงอะไร
เราจะมีความเชื่อว่าเพื่อนน่าจะทายถูก เพราะไม่น่ายาก แต่เชื่อไหมครับว่าความเป็นจริง โอกาสที่เพื่อนจะทายถูกนั้น น้อยมาก ๆ !!!
ทำไมเราถึงรู้สึกอย่างนั้นรู้ไหมครับ ก็เพราะว่า เรามี “ความรู้” แล้วไงครับว่าเพลงนั้นมันเพลงอะไร และเราก็ไม่สามารถกลับไปรู้สึก “ไม่รู้” อีกครั้งได้
กูรูหุ้นก็เหมือนกันครับ เขาอาจจะรู้ดีมาก จนกระทั่งไม่เข้าใจว่า “ไม่รู้” คืออะไร
การถ่ายทอดของเขาบางครั้ง จึงอาจขาดตกบกพร่องไปบ้าง
แต่ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า ถ้างั้นอย่าไปมีความรู้เยอะเลยมีน้อย ๆ ดีกว่า
แค่ให้ระวังไว้เท่านั้นครับ ว่าความรู้บางครั้งมันก็อาจจะทำให้เรามองอะไร พลาดไปได้เหมือนกันครับ
เวลาเล่นหุ้น หลายครั้ง เราก็อยากปรึกษากูรูที่น่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในวงการ
แต่เชื่อไหมครับว่า กูรู ก็มีจุดอ่อน !!!
อะไรนะ !! จะมีจุดอ่อนได้อย่างไร ก็เขาเก่งขนาดนี้ รอบรู้ขนาดนี้
เชื่อไหมครับ บางทีความรู้ที่มีมันก็อาจจะกลายเป็น “คำสาบ” โดยไม่รู้ตัว
เราเรียกมันว่า Curse of knowledge ครับ
จริง ๆ คำนี้มีที่มามานานแล้ว แต่เป็นคำเริ่มเป็นที่รู้จักจากนักเศรษฐศาสตร์ 3 คนได้แก่ Colin Camerer George Loewenstein และ Martin Weber ซึ่งเขาพิสูจน์ว่ามีหลายสถานการณ์ที่คนที่รู้มากนั้น กลับมีบางอย่างที่เสียเปรียบคนที่รู้น้อยกว่า
ยกตัวอย่างเช่นในวงการเรียนการสอน บางทีเราจะเห็นว่าอาจารย์คนนี้ ตอนเป็นนักเรียนก็เป็นนักเรียนที่เก่งมาก จบปริญญาเอก ความรู้มีเยอะมากในวิชาที่สอน กลับสอนไม่รู้เรื่อง สู้อาจารย์ที่ตอนเรียน เรียนไม่ค่อยเก่งไม่ได้ซะด้วยซ้ำ !!!
เหตุผลคือ เขานึกไม่ออกว่าคนไม่รู้ เขารู้สึกอย่างไร เพราะเขารู้แล้ว เขาเลยอาจจะคิดว่าคนอื่นก็น่าจะเป็นแบบเขา ดังนั้นความรู้เยอะนี่แหละ จึงทำให้เขาไม่สามารถถ่ายทอดได้ดีเท่ากับคนที่รู้ไม่เยอะนัก !!!
อยากรู้ว่า Curse of knowledge มันอารมณ์ประมาณไหน ลองทำอย่างนี้ดูครับ
ลองคิดเพลง ๆ หนึ่งในใจ เสร็จแล้ว บอกเพื่อนว่าเดี๋ยวเราจะเคาะจังหวะ แล้วให้เพื่อนทายนะ
ว่าเป็นเพลงอะไร
เราจะมีความเชื่อว่าเพื่อนน่าจะทายถูก เพราะไม่น่ายาก แต่เชื่อไหมครับว่าความเป็นจริง โอกาสที่เพื่อนจะทายถูกนั้น น้อยมาก ๆ !!!
ทำไมเราถึงรู้สึกอย่างนั้นรู้ไหมครับ ก็เพราะว่า เรามี “ความรู้” แล้วไงครับว่าเพลงนั้นมันเพลงอะไร และเราก็ไม่สามารถกลับไปรู้สึก “ไม่รู้” อีกครั้งได้
กูรูหุ้นก็เหมือนกันครับ เขาอาจจะรู้ดีมาก จนกระทั่งไม่เข้าใจว่า “ไม่รู้” คืออะไร
การถ่ายทอดของเขาบางครั้ง จึงอาจขาดตกบกพร่องไปบ้าง
แต่ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า ถ้างั้นอย่าไปมีความรู้เยอะเลยมีน้อย ๆ ดีกว่า
แค่ให้ระวังไว้เท่านั้นครับ ว่าความรู้บางครั้งมันก็อาจจะทำให้เรามองอะไร พลาดไปได้เหมือนกันครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 20
ระวังตัวล่อให้ดี บางทีจะทำให้เราเขวได้ (Decoy Effect)
เวลาเราเลือกหุ้นว่าหุ้นไหนที่น่าสนใจ เราก็อาจจะใช้ปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกัน
และสิ่งที่หลายคนชอบทำก็คือเราก็ใช้การเปรียบเทียบหุ้นที่เราสนใจหลาย ๆ ตัว
คราวนี้หากเรามีงบประมาณจำกัด เราก็คงเลือกหุ้นที่น่าสนใจที่สุด จริงไหมครับ
ฟังดูเผิน ๆ ก็ปกติธรรมดานี่ แล้วปัญหาคืออะไร ?
คืออย่างนี้ครับ หลายครั้งเราอาจจะไม่รู้ตัวว่าการเปรียบเทียบ หากเราทำเป็นคู่ ๆ เราอาจจะได้ความรู้สึกอย่างหนึ่ง แต่พอมีทางเลือกมาเพิ่มอีกทาง มันอาจจะทำให้เราเปลี่ยนความรู้สึกไปได้ ทั้ง ๆ ที่ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ได้เปลี่ยนไปเลย
งงไหมครับ ถ้างงมาดูตัวอย่างกัน (ถึงไม่งงก็ดูได้นะครับ 5555)
สมมุติว่าเรากำลังสนใจหุ้น 2 ตัวอยู่คือ หุ้น A กับ B ในขั้นตอนในการเลือกหุ้นนั้น เราดูจาก
ราคาต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (Price to Book หรือ P/B)และผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) (ท่านอื่นอาจจะดูอย่างอื่นก็ได้นะครับ อันนี้เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้น)
จากการศึกษาข้อมูลได้ผลดังนี้ครับ
หุ้น A P/B 4 เท่า หุ้น B 3 เท่า
หุ้น A % ปันผล 3% หุ้น B 2%
ดูแล้วรู้สึกอย่างไรครับ
หลายท่านอาจจะลังเล เพราะหุ้น A ให้ปันผลใน % ที่สูงกว่า แต่ดูเหมือนว่าราคาก็แพงกว่า ถ้ามองจาก P/B เอ้า ลองคิดในใจ (ห้ามคิดนอกใจนะครับ) ว่าถ้าเป็นเรา เราจะเลือกหุ้นไหน ถ้ามีข้อมูลแค่นี้ครับ
คราวนี้ สมมุติว่าเพื่อนคนหนึ่งมาแนะนำว่า ทำไมไม่ลองดูหุ้น C ล่ะ ดีนะ
เราเลยไปหาข้อมูลหุ้น C มาประกอบการตัดสินใจ
คราวนี้เลยได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาดังต่อไปนี้ครับ
หุ้น C มี P/B 4.5 (สูงกว่าหุ้น A อีก) แถมมีปันผลแค่ 2.5% เอง (ต่ำกว่าหุ้น A) อีก
คราวนี้รู้สึกอย่างไรครับ
ถ้าท่านเป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ ท่านจะมองเห็นหุ้น A น่าสนใจมากขึ้นทันที
เพราะ C มีราคาที่แพงกว่า A (ดูจาก P/B) และแถม % ปันผลก็ต่ำกว่าด้วย
แปลกไหมครับ
ตอนที่มี A กับ B เท่านั้น เรากลับลังเล
พอมี C เข้ามาเท่านั้นแหละ A เลยดูโดดเด่นขึ้นมาทันที !!!
เราเรียกอาการแบบนี้ว่า Decoy effect ครับ
เทคนิคนี้มีใช้กันมากในการตลาดครับ เช่น ถ้ามีสินค้าสองรุ่น ลูกค้าอาจจะลังเลไม่แน่ใจว่าจะซื้อรุ่นไหนดี นักการตลาดอาจจะออกสินค้ารุ่นใหม่มา แล้วทำการตั้งราคาและ Spec อื่น ๆ เพื่อให้สินค้ารุ่นเดิมบางรุ่นขายดี
และเชื่อไหมครับว่ามันได้ผลอยู่เป็นประจำ !!!
ระวังกันให้ดีแล้วกันนะครับ อย่าโดนหลอกล่อแบบนี้ เราเตือนคุณแล้ว 55555
เวลาเราเลือกหุ้นว่าหุ้นไหนที่น่าสนใจ เราก็อาจจะใช้ปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกัน
และสิ่งที่หลายคนชอบทำก็คือเราก็ใช้การเปรียบเทียบหุ้นที่เราสนใจหลาย ๆ ตัว
คราวนี้หากเรามีงบประมาณจำกัด เราก็คงเลือกหุ้นที่น่าสนใจที่สุด จริงไหมครับ
ฟังดูเผิน ๆ ก็ปกติธรรมดานี่ แล้วปัญหาคืออะไร ?
คืออย่างนี้ครับ หลายครั้งเราอาจจะไม่รู้ตัวว่าการเปรียบเทียบ หากเราทำเป็นคู่ ๆ เราอาจจะได้ความรู้สึกอย่างหนึ่ง แต่พอมีทางเลือกมาเพิ่มอีกทาง มันอาจจะทำให้เราเปลี่ยนความรู้สึกไปได้ ทั้ง ๆ ที่ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ได้เปลี่ยนไปเลย
งงไหมครับ ถ้างงมาดูตัวอย่างกัน (ถึงไม่งงก็ดูได้นะครับ 5555)
สมมุติว่าเรากำลังสนใจหุ้น 2 ตัวอยู่คือ หุ้น A กับ B ในขั้นตอนในการเลือกหุ้นนั้น เราดูจาก
ราคาต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (Price to Book หรือ P/B)และผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) (ท่านอื่นอาจจะดูอย่างอื่นก็ได้นะครับ อันนี้เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้น)
จากการศึกษาข้อมูลได้ผลดังนี้ครับ
หุ้น A P/B 4 เท่า หุ้น B 3 เท่า
หุ้น A % ปันผล 3% หุ้น B 2%
ดูแล้วรู้สึกอย่างไรครับ
หลายท่านอาจจะลังเล เพราะหุ้น A ให้ปันผลใน % ที่สูงกว่า แต่ดูเหมือนว่าราคาก็แพงกว่า ถ้ามองจาก P/B เอ้า ลองคิดในใจ (ห้ามคิดนอกใจนะครับ) ว่าถ้าเป็นเรา เราจะเลือกหุ้นไหน ถ้ามีข้อมูลแค่นี้ครับ
คราวนี้ สมมุติว่าเพื่อนคนหนึ่งมาแนะนำว่า ทำไมไม่ลองดูหุ้น C ล่ะ ดีนะ
เราเลยไปหาข้อมูลหุ้น C มาประกอบการตัดสินใจ
คราวนี้เลยได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาดังต่อไปนี้ครับ
หุ้น C มี P/B 4.5 (สูงกว่าหุ้น A อีก) แถมมีปันผลแค่ 2.5% เอง (ต่ำกว่าหุ้น A) อีก
คราวนี้รู้สึกอย่างไรครับ
ถ้าท่านเป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ ท่านจะมองเห็นหุ้น A น่าสนใจมากขึ้นทันที
เพราะ C มีราคาที่แพงกว่า A (ดูจาก P/B) และแถม % ปันผลก็ต่ำกว่าด้วย
แปลกไหมครับ
ตอนที่มี A กับ B เท่านั้น เรากลับลังเล
พอมี C เข้ามาเท่านั้นแหละ A เลยดูโดดเด่นขึ้นมาทันที !!!
เราเรียกอาการแบบนี้ว่า Decoy effect ครับ
เทคนิคนี้มีใช้กันมากในการตลาดครับ เช่น ถ้ามีสินค้าสองรุ่น ลูกค้าอาจจะลังเลไม่แน่ใจว่าจะซื้อรุ่นไหนดี นักการตลาดอาจจะออกสินค้ารุ่นใหม่มา แล้วทำการตั้งราคาและ Spec อื่น ๆ เพื่อให้สินค้ารุ่นเดิมบางรุ่นขายดี
และเชื่อไหมครับว่ามันได้ผลอยู่เป็นประจำ !!!
ระวังกันให้ดีแล้วกันนะครับ อย่าโดนหลอกล่อแบบนี้ เราเตือนคุณแล้ว 55555
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 21
เงินเท่ากัน แต่ความรู้สึกต่างกัน (Denomination effect)
มีงานวิจัยอันหนึ่งน่าสนใจครับ เป็นงานวิจัยที่เขาพบว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะจ่ายเงินที่เป็นธนบัตรหรือเหรียญที่มีมูลค่าน้อยหลาย ๆ อัน มากกว่าจะจ่ายเงินที่เป็นธนบัตรใหญ่ ทั้ง ๆ ที่มูลค่ารวมมันเท่ากัน
Priya Raghubir และ Joydeep Srivastava ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยชื่อ Denomination effect ในปี 2009 ใน Journal of Consumer Research โดยงานวิจัยนี้ได้มีการทำการทดลองโดยให้เงินกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
กลุ่มแรกได้ธนบัตรมูลค่า 1 ดอลลาร์ อีกกลุ่มได้เหรียญ Quarter (0.25 ดอลลาร์) จำนวน 4 เหรียญ
เสร็จแล้ว ก็ถามว่าอยากจะใช้เงินมูลค่า 1 ดอลลาร์นั้นไปแลกซื้อขนมหรือไม่
ผลปรากฏว่านักศึกษาที่ได้เหรียญไปนั้นจะมีโอกาสใช้เงินซื้อขนมมากกว่าคนที่ได้ธนบัตร
น่าสนใจดีครับ สงสัยคนที่เล่นหุ้นแล้วชอบคันไม้คันมืออยากซื้อหุ้นบ่อย ๆ ต้องลองไปขอมาร์เก็ตติ้งจ่ายเงินเป็นธนบัตรใบละพัน แต่คนที่ไม่ค่อยชอบซื้อหุ้น แล้วตกรถเป็นประจำ (คือซื้อไม่ทัน ราคาหุ้นขึ้นไปก่อน) ต้องขอมาร์เก็ตติ้งจ่ายค่าหุ้นเป็นเหรียญบาทแล้วมั้งครับ
ล้อเล่นนะครับ แต่งานนี้ก็น่าสนใจสำหรับคนอยากเก็บเงินให้ได้นะครับ
วันหลังมีเหรียญมาก ๆ แลกเป็นแบงก์ไว้นะครับ
มีงานวิจัยอันหนึ่งน่าสนใจครับ เป็นงานวิจัยที่เขาพบว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะจ่ายเงินที่เป็นธนบัตรหรือเหรียญที่มีมูลค่าน้อยหลาย ๆ อัน มากกว่าจะจ่ายเงินที่เป็นธนบัตรใหญ่ ทั้ง ๆ ที่มูลค่ารวมมันเท่ากัน
Priya Raghubir และ Joydeep Srivastava ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยชื่อ Denomination effect ในปี 2009 ใน Journal of Consumer Research โดยงานวิจัยนี้ได้มีการทำการทดลองโดยให้เงินกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
กลุ่มแรกได้ธนบัตรมูลค่า 1 ดอลลาร์ อีกกลุ่มได้เหรียญ Quarter (0.25 ดอลลาร์) จำนวน 4 เหรียญ
เสร็จแล้ว ก็ถามว่าอยากจะใช้เงินมูลค่า 1 ดอลลาร์นั้นไปแลกซื้อขนมหรือไม่
ผลปรากฏว่านักศึกษาที่ได้เหรียญไปนั้นจะมีโอกาสใช้เงินซื้อขนมมากกว่าคนที่ได้ธนบัตร
น่าสนใจดีครับ สงสัยคนที่เล่นหุ้นแล้วชอบคันไม้คันมืออยากซื้อหุ้นบ่อย ๆ ต้องลองไปขอมาร์เก็ตติ้งจ่ายเงินเป็นธนบัตรใบละพัน แต่คนที่ไม่ค่อยชอบซื้อหุ้น แล้วตกรถเป็นประจำ (คือซื้อไม่ทัน ราคาหุ้นขึ้นไปก่อน) ต้องขอมาร์เก็ตติ้งจ่ายค่าหุ้นเป็นเหรียญบาทแล้วมั้งครับ
ล้อเล่นนะครับ แต่งานนี้ก็น่าสนใจสำหรับคนอยากเก็บเงินให้ได้นะครับ
วันหลังมีเหรียญมาก ๆ แลกเป็นแบงก์ไว้นะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 22
หุ้นสองตัวนี้มันต่างกันนะ เอ๊ะ ไม่สิ มันไม่ต่างกันหรอก (Distinction bias)
เวลาจะพิจารณาซื้อหุ้นเคยมีอารมณ์นี้ไหมครับ
คือเอาหุ้น A กับ B มาวิเคราะห์พร้อม ๆ กัน แล้วเราก็จะเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนว่า A ดีกว่า B ตรงไหน หรือ B ดีกว่า A ตรงไหน
แต่ถ้าเราเอาหุ้น 2 ตัวนี้มาวิเคราะห์แยกออกจากกัน
เรากลับมองเห็นว่าหุ้น 2 ตัวนี้ก็ไม่ได้แตกต่างกันสักเท่าไร
ถ้าท่านรู้สึกแบบนี้ ท่านกำลังตกอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า Distinction bias ครับ
ในปี 2004 Hsee และ Zhang ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยใน Journal of Personality and Social Psychology เรื่อง "Distinction bias: Misprediction and mischoice due to joint evaluation"
งานวิจัยนี้พบว่าการเปรียบเทียบของสองสิ่งพร้อม ๆ กันนั้น ทำให้เราเห็นความแตกต่างในรายละเอียดมากกว่า การวิเคราะห์ของนั้นทีละครั้งแยกออกจากกัน
เทคนิคนี้ก็ได้ถูกนำไปใช้เป็นเทคนิคทางการตลาด เช่นการตั้งโทรทัศน์สองรุ่นที่ต้องการขายไว้ติด ๆ กันและนำเสนอให้ลูกค้าพิจารณา
เมื่อทำเช่นนี้ลูกค้าจะเห็นความแตกต่างของสองรุ่นนี้ได้อย่างชัดเจน เช่น รุ่นที่ราคาแพง ภาพจะคมชัดกว่า ขนาดจอใหญ่กว่าเล็กน้อย ฯลฯ
แต่ถ้าให้ลูกค้าแยกดูโทรทัศน์ทีละรุ่นแยกจากกัน บางครั้งลูกค้าจะมองไม่เห็นความแตกต่างเหล่านี้
ดังนั้นการวางโทรทัศน์ 2 รุ่นไว้คู่กัน จึงมีส่วนทำให้ลูกค้าซื้อโทรทัศน์รุ่นที่แพงมากขึ้นนั่นเอง !!!
กลับมาที่หุ้นอีกครั้งครับ ถ้าเราอยากจะเห็นความแตกต่างของหุ้น 2 ตัวที่เราสนใจ
แนะนำให้เอามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน จะดีกว่าแยกวิเคราะห์หุ้นทีละตัวนะครับ
เวลาจะพิจารณาซื้อหุ้นเคยมีอารมณ์นี้ไหมครับ
คือเอาหุ้น A กับ B มาวิเคราะห์พร้อม ๆ กัน แล้วเราก็จะเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนว่า A ดีกว่า B ตรงไหน หรือ B ดีกว่า A ตรงไหน
แต่ถ้าเราเอาหุ้น 2 ตัวนี้มาวิเคราะห์แยกออกจากกัน
เรากลับมองเห็นว่าหุ้น 2 ตัวนี้ก็ไม่ได้แตกต่างกันสักเท่าไร
ถ้าท่านรู้สึกแบบนี้ ท่านกำลังตกอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า Distinction bias ครับ
ในปี 2004 Hsee และ Zhang ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยใน Journal of Personality and Social Psychology เรื่อง "Distinction bias: Misprediction and mischoice due to joint evaluation"
งานวิจัยนี้พบว่าการเปรียบเทียบของสองสิ่งพร้อม ๆ กันนั้น ทำให้เราเห็นความแตกต่างในรายละเอียดมากกว่า การวิเคราะห์ของนั้นทีละครั้งแยกออกจากกัน
เทคนิคนี้ก็ได้ถูกนำไปใช้เป็นเทคนิคทางการตลาด เช่นการตั้งโทรทัศน์สองรุ่นที่ต้องการขายไว้ติด ๆ กันและนำเสนอให้ลูกค้าพิจารณา
เมื่อทำเช่นนี้ลูกค้าจะเห็นความแตกต่างของสองรุ่นนี้ได้อย่างชัดเจน เช่น รุ่นที่ราคาแพง ภาพจะคมชัดกว่า ขนาดจอใหญ่กว่าเล็กน้อย ฯลฯ
แต่ถ้าให้ลูกค้าแยกดูโทรทัศน์ทีละรุ่นแยกจากกัน บางครั้งลูกค้าจะมองไม่เห็นความแตกต่างเหล่านี้
ดังนั้นการวางโทรทัศน์ 2 รุ่นไว้คู่กัน จึงมีส่วนทำให้ลูกค้าซื้อโทรทัศน์รุ่นที่แพงมากขึ้นนั่นเอง !!!
กลับมาที่หุ้นอีกครั้งครับ ถ้าเราอยากจะเห็นความแตกต่างของหุ้น 2 ตัวที่เราสนใจ
แนะนำให้เอามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน จะดีกว่าแยกวิเคราะห์หุ้นทีละตัวนะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 23
เจ็บแต่จบ (Duration neglect)
นักลงทุนทุกคน ไม่ใช่สิ ต้องบอกว่า นัก “เล่นหุ้น” ทุกคนก็คงผ่านการขาดทุนมาไม่มากก็น้อย
และผมก็เชื่อว่า หลายท่านน่าจะจำการขาดทุนที่เจ็บปวดที่สุดของตัวเองได้
เอ้า ให้เวลาเช็ดน้ำตา 1 นาทีครับ 55555
มาคุยกันต่อครับ
จริง ๆ การขาดทุนมันก็มีข้อดีนะครับ เพราะเป็นสร้างประสบการณ์ และทำให้เราได้เรียนรู้
แต่ประเด็นที่อยากกล่าวถึงในเรื่องนี้คือนักลงทุนเรามักจะจำ (และอาจจะเรียนรู้) จากการขาดทุนครั้งสำคัญ แต่เรามักจะละเลยการ “ค่อย ๆ ขาดทุน” ที่ใช้ระยะเวลานาน
อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า “Duration neglect” ครับ
ในปี 1993 นักวิจัยชื่อดังในเรื่องของการตัดสินใจ Daniel Kahneman และ Barbara Fredrickson ได้ทำการศึกษาโดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองดูภาพยนตร์ ที่เป็นภาพยนตร์ที่น่าดู กับภาพยนตร์ที่น่ารังเกียจ และหลังจากดูเสร็จแล้ว ก็ให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง Review ภาพยนตร์นั้น
สิ่งที่สังเกตเห็นคือผู้เข้าร่วมการทดลองเหล่านั้น มักจะละเลยเรื่องของความยาวของภาพยนตร์หรือแปลความหมายได้ว่า คนเรามักจะไม่สนใจระยะเวลา !!!
มีอีกการทดลองหนึ่ง ซึ่งทำโดยทีมวิจัยของ Daniel Kahneman ในปี 1993 เช่นเดียวกัน
เขาแบ่งคนเป็น 2 กลุ่ม โดยทั้ง 2 กลุ่มต้องเอามือจุ่มลงในน้ำเย็นจัดในระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นกลุ่มแรก ให้เอามือออก และจุ่มลงในน้ำที่ค่อย ๆ ทำให้อุ่นขึ้น แต่ก็ยังถือว่าเย็นมากอยู่เหมือนกัน
โดยให้จุ่มต่อไปอีก 30 วินาที กับอีกกลุ่มหนึ่ง ให้เอามือออกทันที
ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 2 กลุ่มบอกว่ามีความรู้สึกโดยรวมไม่ได้แตกต่างกัน !!!
แถมที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือพอถามว่าอยากทำอีกครั้งไหม กลุ่มที่ต้องเอามือจุ่มน้ำเย็น (ที่ค่อย ๆ อุ่นขึ้น) อีก 30 วินาที มีความต้องการที่จะทำการทดลองนี้อีกมากกว่ากลุ่มที่เอามือออกจากน้ำเย็นทันที ทั้ง ๆ ที่การเอามือออกจากน้ำเย็นจัดทันทีนั้น คือการหยุดความเจ็บปวดได้เร็วกว่า การต้องเอามือไปแช่น้ำเย็น(ที่ค่อย ๆ อุ่นขึ้น) อีกตั้ง 30 วินาที นะ
งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับความเจ็บปวดที่สูงสุด (Peak) และประสบการณ์ตอนสุดท้าย (เหมือนน้ำที่ค่อย ๆ อุ่น) มากกว่าระยะเวลาที่เกิดความเจ็บปวด !!!
เล่นหุ้นก็เหมือนกันครับ บางที มันเจ็บมาก ๆ เราก็จำได้นะครับ และเราได้เรียนรู้แต่ค่อย ๆ เจ็บไปนาน ๆ บางทีมันไม่รู้ตัว แต่ไม่รู้ตัว นี่ไม่ได้หมายความว่าไม่ขาดทุนนะครับ
บางทีการเจ็บหนัก ๆ สักที เรายังได้ความรู้กลับมานะครับ เหมือนที่หลาย ๆ คนเรียกกันว่า “เจ็บแต่จบ” ไงครับ
นักลงทุนทุกคน ไม่ใช่สิ ต้องบอกว่า นัก “เล่นหุ้น” ทุกคนก็คงผ่านการขาดทุนมาไม่มากก็น้อย
และผมก็เชื่อว่า หลายท่านน่าจะจำการขาดทุนที่เจ็บปวดที่สุดของตัวเองได้
เอ้า ให้เวลาเช็ดน้ำตา 1 นาทีครับ 55555
มาคุยกันต่อครับ
จริง ๆ การขาดทุนมันก็มีข้อดีนะครับ เพราะเป็นสร้างประสบการณ์ และทำให้เราได้เรียนรู้
แต่ประเด็นที่อยากกล่าวถึงในเรื่องนี้คือนักลงทุนเรามักจะจำ (และอาจจะเรียนรู้) จากการขาดทุนครั้งสำคัญ แต่เรามักจะละเลยการ “ค่อย ๆ ขาดทุน” ที่ใช้ระยะเวลานาน
อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า “Duration neglect” ครับ
ในปี 1993 นักวิจัยชื่อดังในเรื่องของการตัดสินใจ Daniel Kahneman และ Barbara Fredrickson ได้ทำการศึกษาโดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองดูภาพยนตร์ ที่เป็นภาพยนตร์ที่น่าดู กับภาพยนตร์ที่น่ารังเกียจ และหลังจากดูเสร็จแล้ว ก็ให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง Review ภาพยนตร์นั้น
สิ่งที่สังเกตเห็นคือผู้เข้าร่วมการทดลองเหล่านั้น มักจะละเลยเรื่องของความยาวของภาพยนตร์หรือแปลความหมายได้ว่า คนเรามักจะไม่สนใจระยะเวลา !!!
มีอีกการทดลองหนึ่ง ซึ่งทำโดยทีมวิจัยของ Daniel Kahneman ในปี 1993 เช่นเดียวกัน
เขาแบ่งคนเป็น 2 กลุ่ม โดยทั้ง 2 กลุ่มต้องเอามือจุ่มลงในน้ำเย็นจัดในระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นกลุ่มแรก ให้เอามือออก และจุ่มลงในน้ำที่ค่อย ๆ ทำให้อุ่นขึ้น แต่ก็ยังถือว่าเย็นมากอยู่เหมือนกัน
โดยให้จุ่มต่อไปอีก 30 วินาที กับอีกกลุ่มหนึ่ง ให้เอามือออกทันที
ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 2 กลุ่มบอกว่ามีความรู้สึกโดยรวมไม่ได้แตกต่างกัน !!!
แถมที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือพอถามว่าอยากทำอีกครั้งไหม กลุ่มที่ต้องเอามือจุ่มน้ำเย็น (ที่ค่อย ๆ อุ่นขึ้น) อีก 30 วินาที มีความต้องการที่จะทำการทดลองนี้อีกมากกว่ากลุ่มที่เอามือออกจากน้ำเย็นทันที ทั้ง ๆ ที่การเอามือออกจากน้ำเย็นจัดทันทีนั้น คือการหยุดความเจ็บปวดได้เร็วกว่า การต้องเอามือไปแช่น้ำเย็น(ที่ค่อย ๆ อุ่นขึ้น) อีกตั้ง 30 วินาที นะ
งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับความเจ็บปวดที่สูงสุด (Peak) และประสบการณ์ตอนสุดท้าย (เหมือนน้ำที่ค่อย ๆ อุ่น) มากกว่าระยะเวลาที่เกิดความเจ็บปวด !!!
เล่นหุ้นก็เหมือนกันครับ บางที มันเจ็บมาก ๆ เราก็จำได้นะครับ และเราได้เรียนรู้แต่ค่อย ๆ เจ็บไปนาน ๆ บางทีมันไม่รู้ตัว แต่ไม่รู้ตัว นี่ไม่ได้หมายความว่าไม่ขาดทุนนะครับ
บางทีการเจ็บหนัก ๆ สักที เรายังได้ความรู้กลับมานะครับ เหมือนที่หลาย ๆ คนเรียกกันว่า “เจ็บแต่จบ” ไงครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 24
นายไม่เข้าใจเราหรอก (Empathy gap)
เวลาเล่นหุ้น เคยเจอสถานการณ์แบบนี้ไหมครับ
เวลาเราได้กำไร เราก็อยากจะบอกจะแนะนำเพื่อน ว่าต้องดูอัตราส่วนทางการเงินตัวนั้นสิ ตัวนี้สิ
หรือดูสัญญาณหุ้นตัวนั้นสิ ตัวนี้สิ
บางทีพอเพื่อนไม่เชื่อเรา เราก็อาจจะว่าเพื่อนว่าก็บอกแล้วไงให้ทำอย่างนั้น ทำไมถึงไม่ทำล่ะ มันไม่ยากเลยนะ ฯลฯ
บางทีเพื่อนคนนั้นเขาอาจจะอยากจะบอกเราว่า “นายไม่เข้าใจเราหรอก”
และเผลอ ๆ ตัวเขาเอง ก็ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกัน
อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า Empathy gap ครับ
คือคนเราส่วนใหญ่ที่อยู่ในอารมณ์ดีใจ มักจะไม่ค่อยเข้าใจคนที่อยู่ในอารมณ์เสียใจ
คนที่รวยจากตลาดหุ้น ก็มักจะไม่เข้าใจคนที่เจ๊งจากตลาดหุ้น
ในปี 2003 Van Boven จากมหาวิทยาลัย Colorado และทีมวิจัยได้ทำการทดลอง
โดยแบ่งผู้เข้าร่วมการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มผู้ขายถ้วยกาแฟ หลังจากนั้นทีมงานก็ให้ผู้ขายเขียนราคาที่เขาอยากขาย ในขณะที่ผู้ซื้อเขียนราคาที่เขาอยากซื้อถ้วยกาแฟนั้น และหลังจากนั้นก็ให้ผู้ซื้อประมาณราคาที่คิดว่าผู้ขายน่าจะอยากขายด้วย
ผลการทดลองพบว่าผู้ซื้อก็ประมาณราคาที่คิดว่าผู้ขายต้องการจะขายที่ใกล้เคียงกับราคาที่ตนเองอยากซื้ออีกเช่นกัน ซึ่งแตกต่างจากราคาที่ผู้ขายอยากขาย ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า ผู้ซื้อไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้ขายได้ดีพอหรือเกิด Empathy gap ขึ้นนั่นเอง
ดังนั้นอย่าไปโกรธหรือหงุดหงิดใครก็ตามที่ไม่ได้ทำตามคำแนะนำของเรา
คนที่ไม่ได้เล่นหุ้นตามแบบเรา บางทีเขาก็อยู่ในสถานการณ์ที่เคยพลาด เคยเจ๊งมาก่อน
เราที่ไม่เคยพลาดหรือเจ๊งแบบเขา ก็เลยไป Underestimate ความเจ็บปวดที่เขาเคยเจอ
ด้วยคำพูดประมาณว่า “ถึงจะพลาด มันก็ไม่เท่าไร”
บางทีถ้าเราอยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกับเขา เราก็จะเป็นเหมือนเขาเช่นกันนะครับ
เวลาเล่นหุ้น เคยเจอสถานการณ์แบบนี้ไหมครับ
เวลาเราได้กำไร เราก็อยากจะบอกจะแนะนำเพื่อน ว่าต้องดูอัตราส่วนทางการเงินตัวนั้นสิ ตัวนี้สิ
หรือดูสัญญาณหุ้นตัวนั้นสิ ตัวนี้สิ
บางทีพอเพื่อนไม่เชื่อเรา เราก็อาจจะว่าเพื่อนว่าก็บอกแล้วไงให้ทำอย่างนั้น ทำไมถึงไม่ทำล่ะ มันไม่ยากเลยนะ ฯลฯ
บางทีเพื่อนคนนั้นเขาอาจจะอยากจะบอกเราว่า “นายไม่เข้าใจเราหรอก”
และเผลอ ๆ ตัวเขาเอง ก็ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกัน
อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า Empathy gap ครับ
คือคนเราส่วนใหญ่ที่อยู่ในอารมณ์ดีใจ มักจะไม่ค่อยเข้าใจคนที่อยู่ในอารมณ์เสียใจ
คนที่รวยจากตลาดหุ้น ก็มักจะไม่เข้าใจคนที่เจ๊งจากตลาดหุ้น
ในปี 2003 Van Boven จากมหาวิทยาลัย Colorado และทีมวิจัยได้ทำการทดลอง
โดยแบ่งผู้เข้าร่วมการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มผู้ขายถ้วยกาแฟ หลังจากนั้นทีมงานก็ให้ผู้ขายเขียนราคาที่เขาอยากขาย ในขณะที่ผู้ซื้อเขียนราคาที่เขาอยากซื้อถ้วยกาแฟนั้น และหลังจากนั้นก็ให้ผู้ซื้อประมาณราคาที่คิดว่าผู้ขายน่าจะอยากขายด้วย
ผลการทดลองพบว่าผู้ซื้อก็ประมาณราคาที่คิดว่าผู้ขายต้องการจะขายที่ใกล้เคียงกับราคาที่ตนเองอยากซื้ออีกเช่นกัน ซึ่งแตกต่างจากราคาที่ผู้ขายอยากขาย ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า ผู้ซื้อไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้ขายได้ดีพอหรือเกิด Empathy gap ขึ้นนั่นเอง
ดังนั้นอย่าไปโกรธหรือหงุดหงิดใครก็ตามที่ไม่ได้ทำตามคำแนะนำของเรา
คนที่ไม่ได้เล่นหุ้นตามแบบเรา บางทีเขาก็อยู่ในสถานการณ์ที่เคยพลาด เคยเจ๊งมาก่อน
เราที่ไม่เคยพลาดหรือเจ๊งแบบเขา ก็เลยไป Underestimate ความเจ็บปวดที่เขาเคยเจอ
ด้วยคำพูดประมาณว่า “ถึงจะพลาด มันก็ไม่เท่าไร”
บางทีถ้าเราอยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกับเขา เราก็จะเป็นเหมือนเขาเช่นกันนะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 25
หุ้นที่เราซื้อดีกว่าหุ้นที่เราไม่ซื้อเสมอ (Endowment effect)
ก่อนอ่านเนื้อเรื่องในหัวข้อนี้ ให้เวลา 2 นาทีคิดถึงหุ้นที่เราถืออยู่ปัจจุบัน แล้วลองเทียบกับหุ้นที่เราขายไปแล้ว หรือหุ้นที่เราสนใจแต่ยังไม่ซื้อ แล้วตอบตัวเองนะครับว่า หุ้นอันไหนน่าสนใจกว่ากัน
ถ้าท่านเป็นเหมือนกับคนส่วนใหญ่ ก็คงตอบว่า ก็ต้องเป็นหุ้นที่เราถืออยู่สิ จริงไหมครับ
ก็ไม่เห็นน่าแปลกใจเลยนี่ เพราะถ้าหุ้นที่ไม่เราไม่มี มันดีกว่าหุ้นที่เรามี เราก็คงซื้อหุ้นตัวนั้นแล้วจริงไหม และก็คงขายหุ้นที่เรามีอยู่แล้วเช่นกัน
เอ ไม่เห็นมีอะไรน่าตกใจซะหน่อย
ใจเย็น ๆ ครับ ผมกำลังจะบอกสิ่งที่น่าแปลกใจครับ
คนส่วนใหญ่ก็คิดแบบนี้แหละครับ ว่าสิ่งที่เราเลือกมาแล้ว มันก็ต้องดีที่สุดอยู่แล้ว
แต่ถ้าลองเปลี่ยนเป็นว่า ผมเอาหุ้นตัวอื่น ๆ ที่ไม่ใช่หุ้นที่ท่านถืออยู่ตอนนี้มาใส่ไว้ในพอร์ตของท่าน
เชื่อไหมครับ ท่านก็จะพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนว่าหุ้นที่ท่านถือมันดีที่สุดอยู่ดี หรือพูดง่าย ๆ คือ เหตุผล มาทีหลังการถือหุ้นนั่นเอง !!!
เราเรียกอาการแบบนี้ว่า Endowment effect ครับ
ในปี 1990 ทีมวิจัยของ Daniel Kahneman ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความลำเอียงในการตัดสินใจได้ทำการทดลองที่มีชื่อเสียงโด่งดังอันหนึ่ง
โดยในการทดลองนี้ ผู้ถูกทดลองได้รับการแจกแก้วน้ำและได้รับทางเลือกว่าจะขายแก้วน้ำนี้ในราคาเท่าไร ในขณะเดียวกัน คนที่ไม่ได้แก้วน้ำ ก็ถูกถามว่าจะซื้อแก้วน้ำนี้ในราคาที่เท่าไร
ผลการทดลองพบว่าราคาที่คนที่มีแก้วน้ำอยู่และจะขายนั้น มีค่าเป็น 2 เท่าของราคาที่คนที่ไม่มีแก้วน้ำอยากจะซื้อ
หรือแปลความหมายง่าย ๆ พอแก้วน้ำอยู่ในมือเราแล้วมันมีค่าเพิ่มขึ้นมาทันที !!!
เอ้า ต่อไป เวลาคิดไม่อยากจะขายหุ้นที่เราถืออยู่
ลองดูดี ๆ นะครับ ว่าหุ้นมันดีจริง ๆ เพราะเหตุผลอื่น ๆ
หรือมันเป็นหุ้นที่ดี เพียงเพราะว่ามันเป็นหุ้น “ของเรา” เท่านั้นนะครับ
ก่อนอ่านเนื้อเรื่องในหัวข้อนี้ ให้เวลา 2 นาทีคิดถึงหุ้นที่เราถืออยู่ปัจจุบัน แล้วลองเทียบกับหุ้นที่เราขายไปแล้ว หรือหุ้นที่เราสนใจแต่ยังไม่ซื้อ แล้วตอบตัวเองนะครับว่า หุ้นอันไหนน่าสนใจกว่ากัน
ถ้าท่านเป็นเหมือนกับคนส่วนใหญ่ ก็คงตอบว่า ก็ต้องเป็นหุ้นที่เราถืออยู่สิ จริงไหมครับ
ก็ไม่เห็นน่าแปลกใจเลยนี่ เพราะถ้าหุ้นที่ไม่เราไม่มี มันดีกว่าหุ้นที่เรามี เราก็คงซื้อหุ้นตัวนั้นแล้วจริงไหม และก็คงขายหุ้นที่เรามีอยู่แล้วเช่นกัน
เอ ไม่เห็นมีอะไรน่าตกใจซะหน่อย
ใจเย็น ๆ ครับ ผมกำลังจะบอกสิ่งที่น่าแปลกใจครับ
คนส่วนใหญ่ก็คิดแบบนี้แหละครับ ว่าสิ่งที่เราเลือกมาแล้ว มันก็ต้องดีที่สุดอยู่แล้ว
แต่ถ้าลองเปลี่ยนเป็นว่า ผมเอาหุ้นตัวอื่น ๆ ที่ไม่ใช่หุ้นที่ท่านถืออยู่ตอนนี้มาใส่ไว้ในพอร์ตของท่าน
เชื่อไหมครับ ท่านก็จะพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนว่าหุ้นที่ท่านถือมันดีที่สุดอยู่ดี หรือพูดง่าย ๆ คือ เหตุผล มาทีหลังการถือหุ้นนั่นเอง !!!
เราเรียกอาการแบบนี้ว่า Endowment effect ครับ
ในปี 1990 ทีมวิจัยของ Daniel Kahneman ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความลำเอียงในการตัดสินใจได้ทำการทดลองที่มีชื่อเสียงโด่งดังอันหนึ่ง
โดยในการทดลองนี้ ผู้ถูกทดลองได้รับการแจกแก้วน้ำและได้รับทางเลือกว่าจะขายแก้วน้ำนี้ในราคาเท่าไร ในขณะเดียวกัน คนที่ไม่ได้แก้วน้ำ ก็ถูกถามว่าจะซื้อแก้วน้ำนี้ในราคาที่เท่าไร
ผลการทดลองพบว่าราคาที่คนที่มีแก้วน้ำอยู่และจะขายนั้น มีค่าเป็น 2 เท่าของราคาที่คนที่ไม่มีแก้วน้ำอยากจะซื้อ
หรือแปลความหมายง่าย ๆ พอแก้วน้ำอยู่ในมือเราแล้วมันมีค่าเพิ่มขึ้นมาทันที !!!
เอ้า ต่อไป เวลาคิดไม่อยากจะขายหุ้นที่เราถืออยู่
ลองดูดี ๆ นะครับ ว่าหุ้นมันดีจริง ๆ เพราะเหตุผลอื่น ๆ
หรือมันเป็นหุ้นที่ดี เพียงเพราะว่ามันเป็นหุ้น “ของเรา” เท่านั้นนะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 26
“หุ้นที่ดี” มีจริงหรือ (Essentialism)
“หุ้นตัวนี้ดีหรือเปล่า”
ใครเคยถามคำถามลักษณะนี้ไหมครับ ถ้าเคยคำตอบที่ได้รับคืออะไร
“ดีนะ เราว่า”
“ไม่ดีนะ มันหุ้นปั่นชัด ๆ “
“ดีสิ ไม่ดี เราจะซื้อเหรอ”
เรามาถกปรัชญากันหน่อยนะครับ คำว่า “ดี” จริง ๆ แล้วมันคืออะไร
โห ถามแบบนี้ เลิกอ่านดีกว่า 555
งั้นถามใหม่ ถ้าผมให้เวลาสัก 2 นาที ลอง List ลักษณะของ “หุ้นที่ดี” มาหน่อย
ทำได้ไหมครับ ...
ผมเชื่อว่าหลายท่านทำได้ แต่ผมก็เดาอีกว่า แต่ละท่านจะได้ลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เพราะคำว่า “ดี” ของแต่ละท่านมันไม่เหมือนกันไงครับ
ถ้าใครเริ่มที่จะโต้เถียงกับเพื่อนว่าหุ้นตัวนี้ “ดี” แต่เพื่อนบอกว่า “ไม่ดี” แล้วล่ะก็
บางทีเรากำลังตกอยู่ในอารมณ์ของสิ่งที่เรียกว่า Essentialism แล้วครับ
ความคิดนี้ต้องย้อนอดีตไปจนถึงยุคของพลาโตและอริสโตเติล โน่นครับ เพราะเป็นความเชื่อที่ว่า
ทุกอย่างมันต้องมีลักษณะที่แน่ชัด ปราศจากลักษณะเหล่านั้น สิ่งนั้นก็จะไม่เป็นสิ่งนั้น
อ้าว ชักงงละ 555
เช่น “ความเป็นน้ำ” มันต้องมีองค์ประกอบของธาตุไฮโดรเจนกับออกซิเจน ถ้าไม่มีธาตุใดธาตุหนึ่ง มันก็ไม่ใช่น้ำ จริงไหมครับ
คราวนี้ถ้ามันเป็นพวกแร่ธาตุ สารประกอบ อะไรแบบนั้นความเชื่อนี้มันก็น่าจะจริง (ความเชื่อแบบนี้แหละครับที่เรียกว่า Essentialism) แต่พอมาใช้กับนามธรรม เช่นพวกบุคลิกลักษณะต่าง ๆ เช่น คำว่า “สวย” “ซื่อสัตย์” หรือ “ดี” มันก็เลยมีปัญหาน่ะครับ
หุ้นที่ดีมีจริงไหม ผมว่ามีจริงนะครับแต่มันมีหลายรูปแบบ ตามความเชื่อของแต่ละท่านนั่นแหละครับ
ดังนั้นอย่าไปเสียเวลาเถียงในเรื่อง “หุ้นที่ดี” กับเพื่อน ๆ เลยครับ ใช้เวลามาศึกษาการลงทุนในแนวทางของตัวเราเองกันดีกว่าครับ
“หุ้นตัวนี้ดีหรือเปล่า”
ใครเคยถามคำถามลักษณะนี้ไหมครับ ถ้าเคยคำตอบที่ได้รับคืออะไร
“ดีนะ เราว่า”
“ไม่ดีนะ มันหุ้นปั่นชัด ๆ “
“ดีสิ ไม่ดี เราจะซื้อเหรอ”
เรามาถกปรัชญากันหน่อยนะครับ คำว่า “ดี” จริง ๆ แล้วมันคืออะไร
โห ถามแบบนี้ เลิกอ่านดีกว่า 555
งั้นถามใหม่ ถ้าผมให้เวลาสัก 2 นาที ลอง List ลักษณะของ “หุ้นที่ดี” มาหน่อย
ทำได้ไหมครับ ...
ผมเชื่อว่าหลายท่านทำได้ แต่ผมก็เดาอีกว่า แต่ละท่านจะได้ลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เพราะคำว่า “ดี” ของแต่ละท่านมันไม่เหมือนกันไงครับ
ถ้าใครเริ่มที่จะโต้เถียงกับเพื่อนว่าหุ้นตัวนี้ “ดี” แต่เพื่อนบอกว่า “ไม่ดี” แล้วล่ะก็
บางทีเรากำลังตกอยู่ในอารมณ์ของสิ่งที่เรียกว่า Essentialism แล้วครับ
ความคิดนี้ต้องย้อนอดีตไปจนถึงยุคของพลาโตและอริสโตเติล โน่นครับ เพราะเป็นความเชื่อที่ว่า
ทุกอย่างมันต้องมีลักษณะที่แน่ชัด ปราศจากลักษณะเหล่านั้น สิ่งนั้นก็จะไม่เป็นสิ่งนั้น
อ้าว ชักงงละ 555
เช่น “ความเป็นน้ำ” มันต้องมีองค์ประกอบของธาตุไฮโดรเจนกับออกซิเจน ถ้าไม่มีธาตุใดธาตุหนึ่ง มันก็ไม่ใช่น้ำ จริงไหมครับ
คราวนี้ถ้ามันเป็นพวกแร่ธาตุ สารประกอบ อะไรแบบนั้นความเชื่อนี้มันก็น่าจะจริง (ความเชื่อแบบนี้แหละครับที่เรียกว่า Essentialism) แต่พอมาใช้กับนามธรรม เช่นพวกบุคลิกลักษณะต่าง ๆ เช่น คำว่า “สวย” “ซื่อสัตย์” หรือ “ดี” มันก็เลยมีปัญหาน่ะครับ
หุ้นที่ดีมีจริงไหม ผมว่ามีจริงนะครับแต่มันมีหลายรูปแบบ ตามความเชื่อของแต่ละท่านนั่นแหละครับ
ดังนั้นอย่าไปเสียเวลาเถียงในเรื่อง “หุ้นที่ดี” กับเพื่อน ๆ เลยครับ ใช้เวลามาศึกษาการลงทุนในแนวทางของตัวเราเองกันดีกว่าครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 27
มันไม่ "เวอร์" อย่างที่เราคิดเสมอไปหรอก (Exaggerated expectation)
เคยอ่านข่าวแล้วจิตตกกันบ้างไหมครับ
อ่านข่าวเครื่องบินตก เอาล่ะ สิ ฉันกำลังจะบินเร็ว ๆ นี้
อ่านข่าวเศรษฐกิจกำลังจะแย่ เอาล่ะ สิ เพิ่งทุ่มซื้อหุ้นไปเต็มพอร์ตเมื่อวานนี้เอง
จริง ๆ การศึกษาข่าวเหล่านี้ก็มีประโยชน์นะครับ
แต่เมื่อไรก็ตามถ้าเราเริ่ม “จิตตก”
แสดงว่าเราเริ่มจะมีอาการที่เรียกว่า
Exaggerated expectation แล้วครับ
อาการนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับบางคนที่มักจะพยากรณ์อะไรที่มันมากเกินความจริงไปเสมอ
เราลองนึกถึงสิ่งที่เรากลัวสิครับก่อนทำอะไรสักอย่าง เรากลัวโน่นนี่นั่น เต็มไปหมด แต่พอเราทำสิ่งนั้นเสร็จแล้ว เราจะเห็นว่า มันไม่น่ากลัวอย่างที่คิด จริงไหมครับ
ความกลัวไม่ใช่เรื่องผิดครับ แต่บางทีความกลัวมากเกินไปนี่แหละครับ อาจจะเป็นตัวที่หยุดยั้งความสำเร็จในการลงทุนของเราได้
ในทางกลับกันนะครับ อาการ Exaggerated expectation ด้านบวก ก็มีเหมือนกันนะครับ
เช่นอ่านข่าวแล้ว ดูเหมือนเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่เรา “มโน” กันไปใหญ่ว่า มันต้องดีสุด ๆ ทุ่มสุดตัว ซื้อหุ้นเต็มพอร์ต สุดท้ายมันก็ดีนะครับแต่มันไม่ได้ดีขนาดนั้น
เราก็เลย “ติดดอย” กันตามระเบียบ คือมีอาการ “สูงที่สุด ในจุดที่ซื้อ” นั่นแหละครับ
ระวังกันให้ดีนะครับ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นจริง มันมักจะไม่แย่สุด ๆ หรือดีสุด ๆ เหมือนอย่างที่เราคิดหรอกครับ
เคยอ่านข่าวแล้วจิตตกกันบ้างไหมครับ
อ่านข่าวเครื่องบินตก เอาล่ะ สิ ฉันกำลังจะบินเร็ว ๆ นี้
อ่านข่าวเศรษฐกิจกำลังจะแย่ เอาล่ะ สิ เพิ่งทุ่มซื้อหุ้นไปเต็มพอร์ตเมื่อวานนี้เอง
จริง ๆ การศึกษาข่าวเหล่านี้ก็มีประโยชน์นะครับ
แต่เมื่อไรก็ตามถ้าเราเริ่ม “จิตตก”
แสดงว่าเราเริ่มจะมีอาการที่เรียกว่า
Exaggerated expectation แล้วครับ
อาการนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับบางคนที่มักจะพยากรณ์อะไรที่มันมากเกินความจริงไปเสมอ
เราลองนึกถึงสิ่งที่เรากลัวสิครับก่อนทำอะไรสักอย่าง เรากลัวโน่นนี่นั่น เต็มไปหมด แต่พอเราทำสิ่งนั้นเสร็จแล้ว เราจะเห็นว่า มันไม่น่ากลัวอย่างที่คิด จริงไหมครับ
ความกลัวไม่ใช่เรื่องผิดครับ แต่บางทีความกลัวมากเกินไปนี่แหละครับ อาจจะเป็นตัวที่หยุดยั้งความสำเร็จในการลงทุนของเราได้
ในทางกลับกันนะครับ อาการ Exaggerated expectation ด้านบวก ก็มีเหมือนกันนะครับ
เช่นอ่านข่าวแล้ว ดูเหมือนเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่เรา “มโน” กันไปใหญ่ว่า มันต้องดีสุด ๆ ทุ่มสุดตัว ซื้อหุ้นเต็มพอร์ต สุดท้ายมันก็ดีนะครับแต่มันไม่ได้ดีขนาดนั้น
เราก็เลย “ติดดอย” กันตามระเบียบ คือมีอาการ “สูงที่สุด ในจุดที่ซื้อ” นั่นแหละครับ
ระวังกันให้ดีนะครับ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นจริง มันมักจะไม่แย่สุด ๆ หรือดีสุด ๆ เหมือนอย่างที่เราคิดหรอกครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 28
เพื่อนนำโชค (Experimenter's bias)
เคยมีประสบการณ์ไหมครับว่า เวลาเรา trade หุ้นอยู่คนเดียวกับเวลามีเพื่อนมานั่งอยู่ข้าง ๆ ด้วย
พฤติกรรมเรามักจะไม่เหมือนเดิม รวมไปถึงการตัดสินใจด้วย
คนส่วนใหญ่มักจะได้รับผลกระทบเมื่อทราบว่าตัวเองกำลังถูกสังเกตอยู่
หรือเรียกว่ามันเกิด Experimenter’s bias ครับ
Bias ประเภทนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาตลอด เวลาทำการทดลอง เมื่อผู้ถูกทดลองทราบว่าเขากำลังโดนจับจ้องอยู่ พฤติกรรมก็เลยเปลี่ยนไป ไม่เหมือนกับ เวลาที่เขาอะไรได้โดยไม่มีคนจับจ้อง
บางทีเราไปโทษเพื่อนบางคนว่าเป็นตัวนำความโชคร้าย เพราะมา trade หุ้นด้วยกันทีไร เราขาดทุนทุกที หรือไปชื่นชมเพื่อนบางคนว่าเป็นตัวนำโชคเพราะ trade หุ้นด้วยกันทีไร เรากำไรทุกที
จริง ๆ แล้ว อาจไม่ใช่เพื่อนหรอกครับที่นำโชคร้ายหรือโชคดีมาให้เรา เพราะคนที่ตัดสินใจซื้อหรือขาย มันก็ตัวเราเองล้วน ๆ
แต่ที่ผลลัพธ์ที่ได้มันต่างออกไปจากเวลาเราอยู่คนเดียวก็เพราะเราเจอ Bias ประเภทนี้ไงครับ
เคยมีประสบการณ์ไหมครับว่า เวลาเรา trade หุ้นอยู่คนเดียวกับเวลามีเพื่อนมานั่งอยู่ข้าง ๆ ด้วย
พฤติกรรมเรามักจะไม่เหมือนเดิม รวมไปถึงการตัดสินใจด้วย
คนส่วนใหญ่มักจะได้รับผลกระทบเมื่อทราบว่าตัวเองกำลังถูกสังเกตอยู่
หรือเรียกว่ามันเกิด Experimenter’s bias ครับ
Bias ประเภทนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาตลอด เวลาทำการทดลอง เมื่อผู้ถูกทดลองทราบว่าเขากำลังโดนจับจ้องอยู่ พฤติกรรมก็เลยเปลี่ยนไป ไม่เหมือนกับ เวลาที่เขาอะไรได้โดยไม่มีคนจับจ้อง
บางทีเราไปโทษเพื่อนบางคนว่าเป็นตัวนำความโชคร้าย เพราะมา trade หุ้นด้วยกันทีไร เราขาดทุนทุกที หรือไปชื่นชมเพื่อนบางคนว่าเป็นตัวนำโชคเพราะ trade หุ้นด้วยกันทีไร เรากำไรทุกที
จริง ๆ แล้ว อาจไม่ใช่เพื่อนหรอกครับที่นำโชคร้ายหรือโชคดีมาให้เรา เพราะคนที่ตัดสินใจซื้อหรือขาย มันก็ตัวเราเองล้วน ๆ
แต่ที่ผลลัพธ์ที่ได้มันต่างออกไปจากเวลาเราอยู่คนเดียวก็เพราะเราเจอ Bias ประเภทนี้ไงครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 29
มองให้รอบด้าน (Focusing effect)
เวลาเล่นหุ้น เรามองอะไรกันบ้างครับ หลายคนอาจจะตอบว่า PE ratio (อัตราส่วนระหว่างราคากับกำไรต่อหุ้น) บางคนก็อาจจะตอบว่า Dividend Yield (ผลตอบแทนของเงินปันผล) ฯลฯ
ก็ไม่ได้ผิดอะไรครับ แต่อยากให้ระวังสิ่งที่เรียกว่า Focusing effect ให้ดี!!!
Focusing effect เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา เมื่อเราไปเน้นเพียงแค่จุดใดจุดหนึ่งเท่านั้นและทำให้เรามองข้ามจุดอื่น ๆ ไป
ในปี 1998 Schkade กับ Kahneman ได้ทำการศึกษาโดยให้คนในรัฐแคลิฟอร์เนียและคนในรัฐที่อยู่ในแถบตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกาประเมินว่า คนที่อาศัยในรัฐแคลิฟอร์เนียกับคนที่อยู่รัฐอื่น ๆ แถบตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา ใครน่าจะมีความสุขมากกว่ากัน
ผลปรากฏว่าทั้งสองกลุ่มให้คำตอบเหมือนกันคือเขาเชื่อว่าคนที่อยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียน่าจะมีความสุขมากกว่า ทั้ง ๆ ที่ถ้าดูจาก happiness rating แล้ว มันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเลย
เกิดอะไรขึ้นครับ ทำไมคนส่วนใหญ่เลือกที่จะเชื่อว่าคนที่อยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียจะมีความสุขมากกว่าคนที่อยู่รัฐอื่น ?
เหตุผลง่าย ๆ คือเพราะพอพูดถึงรัฐแคลิฟอร์เนียคนส่วนใหญ่จะนึกถึงอากาศที่ดี การใช้ชีวิตที่มีความสุข ไป Focus แต่เรื่องนี้ไงครับ และก็ไม่ได้นึกถึงว่ารัฐนี้มีแผ่นดินไหว หรือมีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ
นี่แหละครับคือสิ่งที่เรียกว่า Focusing effect
หุ้นก็เหมือนกันครับ ถ้าเรารู้สึกว่าหุ้นนี้ PE ต่ำ น่าสนใจ และไป Focus อยู่แค่เรื่องนี้ เรื่องเดียว
บางทีก็อาจจะทำให้เรามองพลาดไปก็ได้นะครับ
มองอะไรให้รอบด้านนะครับ
เวลาเล่นหุ้น เรามองอะไรกันบ้างครับ หลายคนอาจจะตอบว่า PE ratio (อัตราส่วนระหว่างราคากับกำไรต่อหุ้น) บางคนก็อาจจะตอบว่า Dividend Yield (ผลตอบแทนของเงินปันผล) ฯลฯ
ก็ไม่ได้ผิดอะไรครับ แต่อยากให้ระวังสิ่งที่เรียกว่า Focusing effect ให้ดี!!!
Focusing effect เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา เมื่อเราไปเน้นเพียงแค่จุดใดจุดหนึ่งเท่านั้นและทำให้เรามองข้ามจุดอื่น ๆ ไป
ในปี 1998 Schkade กับ Kahneman ได้ทำการศึกษาโดยให้คนในรัฐแคลิฟอร์เนียและคนในรัฐที่อยู่ในแถบตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกาประเมินว่า คนที่อาศัยในรัฐแคลิฟอร์เนียกับคนที่อยู่รัฐอื่น ๆ แถบตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา ใครน่าจะมีความสุขมากกว่ากัน
ผลปรากฏว่าทั้งสองกลุ่มให้คำตอบเหมือนกันคือเขาเชื่อว่าคนที่อยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียน่าจะมีความสุขมากกว่า ทั้ง ๆ ที่ถ้าดูจาก happiness rating แล้ว มันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเลย
เกิดอะไรขึ้นครับ ทำไมคนส่วนใหญ่เลือกที่จะเชื่อว่าคนที่อยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียจะมีความสุขมากกว่าคนที่อยู่รัฐอื่น ?
เหตุผลง่าย ๆ คือเพราะพอพูดถึงรัฐแคลิฟอร์เนียคนส่วนใหญ่จะนึกถึงอากาศที่ดี การใช้ชีวิตที่มีความสุข ไป Focus แต่เรื่องนี้ไงครับ และก็ไม่ได้นึกถึงว่ารัฐนี้มีแผ่นดินไหว หรือมีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ
นี่แหละครับคือสิ่งที่เรียกว่า Focusing effect
หุ้นก็เหมือนกันครับ ถ้าเรารู้สึกว่าหุ้นนี้ PE ต่ำ น่าสนใจ และไป Focus อยู่แค่เรื่องนี้ เรื่องเดียว
บางทีก็อาจจะทำให้เรามองพลาดไปก็ได้นะครับ
มองอะไรให้รอบด้านนะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมบทความจิตวิทยาการลงทุน
โพสต์ที่ 30
เลือกทางไหนดี (Framing effect)
ขอเริ่มต้นด้วยคำถามแล้วกันนะครับ
ถ้าสมมุติว่าคุณได้รับแจกหุ้นจำนวน 10,000 หุ้นฟรี ๆ และคนที่แจกหุ้น ยังใจดีบอกให้เลือกทางเลือก 2 ทางต่อไปนี้ คือ
ทางเลือกที่ 1 ได้รับหุ้นเพิ่มอีก 5,000 หุ้นแน่ ๆ 100%
ทางเลือกที่ 2 ให้โยนหัวก้อย ถ้าออกหัว ให้หุ้นเพิ่มอีก 10,000 หุ้น แต่ถ้าออกก้อย ก็จะไม่ได้อะไรเพิ่ม
เป็นเรา เราจะเลือกทางเลือกไหนครับ ไม่มีคำตอบถูกผิดหรอกนะครับ มันแล้วแต่ความรู้สึกของเรา
เอ้า ให้เวลาคิดสัก 1 นาที ... คิดได้แล้ว จำคำตอบตัวเองไว้นะครับ
คราวนี้เริ่มใหม่ครับ สมมุติสถานการณ์ใหม่ สมมุติว่ามีคนใจดี แจกหุ้นเรา 20,000 หุ้น เสร็จแล้ว เขานึกขึ้นมาได้ว่า แจกเยอะเกินไป เดี๋ยวภรรยาที่บ้านว่าเอา (เกี่ยวอะไรเนี่ย 5555) เขาก็เลยให้ทางเลือก 2 ทางให้เราเลือกคือ
ทางเลือกที่ 1 ขอหุ้นคืนมา 5,000 หุ้น
ทางเลือกที่ 2 โยนหัวก้อย ถ้าออกหัว ไม่ต้องคืนหุ้นเลย แต่ถ้าออกก้อยต้องคืนมา 10,000 หุ้น
คราวนี้เป็นเรา เราจะเลือกทางเลือกไหนดีครับ เอ้าให้เวลาคิดอีก 1 นาที เช่นกัน
คราวนี้ ลองสารภาพมาซะดี ๆ ครับ ว่าในสถานการณ์แรก กับ สถานการณ์ที่ 2 ใครเปลี่ยนทางเลือกบ้าง เช่นสถานการณ์แรก เลือกทางเลือกที่ 1 แต่พอสถานการณ์ที่ 2 กลับเลือกทางเลือกที่ 2 (หรือสลับกันก็ได้นะครับ)
ถ้าท่านเปลี่ยนทางเลือกอย่างที่กล่าวมานั้น แสดงว่าท่านกำลังได้รับผลจากสิ่งที่เรียกว่า Framing effect ครับ
ทำไมน่ะเหรอครับ เพราะสถานการณ์ทั้ง 2 นั้น จริง ๆ แล้วให้ผลของแต่ละทางเลือกเหมือนกันทั้งคู่ นั่นแหละครับ !!!
ลองคิดดูนะครับ ถ้าท่านเลือกทางเลือกที่ 1 ก็แปลว่าท่านจะได้รับหุ้น 15,000 หุ้นแน่ ๆ แต่ถ้าท่านเลือกทางเลือกที่ 2 ก็แสดงว่าท่านมีโอกาส 50% (โยนหัวก้อย) ที่ท่านจะได้หุ้นกลับไป 20,000 หุ้น และอีก 50% ที่ท่านจะได้หุ้นกลับไปเพียง 10,000 หุ้นเท่านั้น
เห็นไหมล่ะครับว่ามันเหมือนกัน แต่ความรู้สึกมันไม่เหมือนกัน เพราะการใช้คำพูดที่ต่างกัน เลยทำให้ความคิดเราต่างกันไงครับ !!!
ในปี 1981 Amos Tversky และ Daniel Kahneman สองกูรูชื่อดังทางด้านการตัดสินใจ ได้ทำการทดลองโดยถามคำถามเกี่ยวกับผู้ทดลองว่า สมมุติว่ามีคนติดเชื้อที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
จำนวน 600 คน
ตอนนี้มีทางเลือกที่จะรักษาขอเรียกว่าทางเลือก A ก็แล้วกันนะครับ จากการศึกษาพบว่าทางเลือก A จะทำให้คนรอด 200 คนตาย 400 คน
แต่เวลาเขาให้ผู้ถูกทดลองเลือก เขาให้คำพูด 2 แบบครับ
แบบเชิงบวกคือ ทางเลือก A จะทำให้เราสามารถรักษาชีวิตคนไว้ได้ 200 คน
แบบเชิงลบคือ ทางเลือก A ทำให้คนตาย 400 คน
ผลปรากฏว่า เวลาใช้คำพูดเชิงบวก (รักษาชีวิตคน) มีคนเลือกทางเลือก A ถึง 72%
แต่พอใช้คำพูดเชิงลบ (ทำให้คนตาย) กลับมีคนเลือกเหลือเพียงแค่ 22% เท่านั้น
ทั้ง ๆ ที่ทั้งสองแบบมันก็ให้ความหมายแบบเดียวกันนั่นแหละ
เวลาอ่านพวกบทวิเคราะห์ที่เชียร์ให้ซื้อและขายหุ้น ก็ระวังกันให้ดีนะครับ คำพูด ถ้าพลิกนิดเดียว อาจจะให้ความรู้สึกที่ต่างกันได้ราวฟ้ากับเหวเลยครับ
ขอเริ่มต้นด้วยคำถามแล้วกันนะครับ
ถ้าสมมุติว่าคุณได้รับแจกหุ้นจำนวน 10,000 หุ้นฟรี ๆ และคนที่แจกหุ้น ยังใจดีบอกให้เลือกทางเลือก 2 ทางต่อไปนี้ คือ
ทางเลือกที่ 1 ได้รับหุ้นเพิ่มอีก 5,000 หุ้นแน่ ๆ 100%
ทางเลือกที่ 2 ให้โยนหัวก้อย ถ้าออกหัว ให้หุ้นเพิ่มอีก 10,000 หุ้น แต่ถ้าออกก้อย ก็จะไม่ได้อะไรเพิ่ม
เป็นเรา เราจะเลือกทางเลือกไหนครับ ไม่มีคำตอบถูกผิดหรอกนะครับ มันแล้วแต่ความรู้สึกของเรา
เอ้า ให้เวลาคิดสัก 1 นาที ... คิดได้แล้ว จำคำตอบตัวเองไว้นะครับ
คราวนี้เริ่มใหม่ครับ สมมุติสถานการณ์ใหม่ สมมุติว่ามีคนใจดี แจกหุ้นเรา 20,000 หุ้น เสร็จแล้ว เขานึกขึ้นมาได้ว่า แจกเยอะเกินไป เดี๋ยวภรรยาที่บ้านว่าเอา (เกี่ยวอะไรเนี่ย 5555) เขาก็เลยให้ทางเลือก 2 ทางให้เราเลือกคือ
ทางเลือกที่ 1 ขอหุ้นคืนมา 5,000 หุ้น
ทางเลือกที่ 2 โยนหัวก้อย ถ้าออกหัว ไม่ต้องคืนหุ้นเลย แต่ถ้าออกก้อยต้องคืนมา 10,000 หุ้น
คราวนี้เป็นเรา เราจะเลือกทางเลือกไหนดีครับ เอ้าให้เวลาคิดอีก 1 นาที เช่นกัน
คราวนี้ ลองสารภาพมาซะดี ๆ ครับ ว่าในสถานการณ์แรก กับ สถานการณ์ที่ 2 ใครเปลี่ยนทางเลือกบ้าง เช่นสถานการณ์แรก เลือกทางเลือกที่ 1 แต่พอสถานการณ์ที่ 2 กลับเลือกทางเลือกที่ 2 (หรือสลับกันก็ได้นะครับ)
ถ้าท่านเปลี่ยนทางเลือกอย่างที่กล่าวมานั้น แสดงว่าท่านกำลังได้รับผลจากสิ่งที่เรียกว่า Framing effect ครับ
ทำไมน่ะเหรอครับ เพราะสถานการณ์ทั้ง 2 นั้น จริง ๆ แล้วให้ผลของแต่ละทางเลือกเหมือนกันทั้งคู่ นั่นแหละครับ !!!
ลองคิดดูนะครับ ถ้าท่านเลือกทางเลือกที่ 1 ก็แปลว่าท่านจะได้รับหุ้น 15,000 หุ้นแน่ ๆ แต่ถ้าท่านเลือกทางเลือกที่ 2 ก็แสดงว่าท่านมีโอกาส 50% (โยนหัวก้อย) ที่ท่านจะได้หุ้นกลับไป 20,000 หุ้น และอีก 50% ที่ท่านจะได้หุ้นกลับไปเพียง 10,000 หุ้นเท่านั้น
เห็นไหมล่ะครับว่ามันเหมือนกัน แต่ความรู้สึกมันไม่เหมือนกัน เพราะการใช้คำพูดที่ต่างกัน เลยทำให้ความคิดเราต่างกันไงครับ !!!
ในปี 1981 Amos Tversky และ Daniel Kahneman สองกูรูชื่อดังทางด้านการตัดสินใจ ได้ทำการทดลองโดยถามคำถามเกี่ยวกับผู้ทดลองว่า สมมุติว่ามีคนติดเชื้อที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
จำนวน 600 คน
ตอนนี้มีทางเลือกที่จะรักษาขอเรียกว่าทางเลือก A ก็แล้วกันนะครับ จากการศึกษาพบว่าทางเลือก A จะทำให้คนรอด 200 คนตาย 400 คน
แต่เวลาเขาให้ผู้ถูกทดลองเลือก เขาให้คำพูด 2 แบบครับ
แบบเชิงบวกคือ ทางเลือก A จะทำให้เราสามารถรักษาชีวิตคนไว้ได้ 200 คน
แบบเชิงลบคือ ทางเลือก A ทำให้คนตาย 400 คน
ผลปรากฏว่า เวลาใช้คำพูดเชิงบวก (รักษาชีวิตคน) มีคนเลือกทางเลือก A ถึง 72%
แต่พอใช้คำพูดเชิงลบ (ทำให้คนตาย) กลับมีคนเลือกเหลือเพียงแค่ 22% เท่านั้น
ทั้ง ๆ ที่ทั้งสองแบบมันก็ให้ความหมายแบบเดียวกันนั่นแหละ
เวลาอ่านพวกบทวิเคราะห์ที่เชียร์ให้ซื้อและขายหุ้น ก็ระวังกันให้ดีนะครับ คำพูด ถ้าพลิกนิดเดียว อาจจะให้ความรู้สึกที่ต่างกันได้ราวฟ้ากับเหวเลยครับ