การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 1
เพิ่งผ่านระยะเวลาในการจ่ายภาษีนิติบุคคลกลางปีไป ผมรู้สึกเหมือนการจ่ายนี้ไม่เป็นธรรมในหลายๆ เรื่อง
จุดประสงค์ง่ายๆ ของรัฐคืออยากได้เงินภาษีก่อน (ทั้งๆ ที่มีภาษีหัก ณ ที่จ่ายอยู่แล้ว) ดังนั้นบริษัทและห้างหุ้นส่วนต่างๆ ต้องไปจ่ายภาษีครึ่งปีก่อนที่จะจ่ายทีเดียวในปลายปี
คอนเซ็ปต์ผม okay แต่วิธีปฎิบัตินี่ผมไม่ค่อยชอบ
คือมันมีสองวิธีคือถ้าคุณทำงบครึ่งปี ให้ auditor เซ็น (ไม่ฟรีนะครับท่าน) ก็จะใช้สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเพื่อจ่ายภาษีได้ บริษัทเล็กๆ เค้าไม่ทำแบบนี้กันหรอก เพราะไม่อยากเสียค่าเซ็นงบ
อีกวิธีคือการประมาณการรายได้และค่าใช้จ่ายของทั้งปีว่าจะได้กำไรสุทธิเท่าไหร่แล้วค่อยจ่าย 20% ของครึ่งนึงกำไรสุทธิ
อันนี้ก็ okay แต่ปัญหาคือถ้าเราประมาณการผิดพลาดน้อยไปเกิน 25% จะโดนปรับครับ
ไม่มีเหตุผลเลยโดยเฉพาะธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งพึ่งเริ่มต้น ใครจะไปประมาณการได้แม่นยำขนาดนั้น
ที่เค้าทำกันก็คือลองจ่ายให้มากกว่านิดหน่อย เพื่อที่จะไม่โดนปรับตอนปลายปี
ทีนี้ถ้าจ่ายมากไปก็เป็นธรรมเนียมปฎิบัติอีกเหมือนกันที่จะไม่มีการขอคืนภาษี เพราะถ้าขอคืน ถ้ากรมสรรพากรผู้น่ารักก็มาเยี่ยมเยียนท่านแน่ ก็เลยต้องเครดิตค้างไว้
ผมก็เข้าใจว่าภาษีนี้จะไปช่วยพัฒนาชาติบ้านเมืองแบบ "บูรณากู" ได้ แต่ผมว่ากลไกนี้มันทำความยุ่งยากให้กับบริษัทเล็กๆ (อย่างผม) เหลือเกินครับ
ได้แต่บ่นดังๆ ให้ฟังครับ
จุดประสงค์ง่ายๆ ของรัฐคืออยากได้เงินภาษีก่อน (ทั้งๆ ที่มีภาษีหัก ณ ที่จ่ายอยู่แล้ว) ดังนั้นบริษัทและห้างหุ้นส่วนต่างๆ ต้องไปจ่ายภาษีครึ่งปีก่อนที่จะจ่ายทีเดียวในปลายปี
คอนเซ็ปต์ผม okay แต่วิธีปฎิบัตินี่ผมไม่ค่อยชอบ
คือมันมีสองวิธีคือถ้าคุณทำงบครึ่งปี ให้ auditor เซ็น (ไม่ฟรีนะครับท่าน) ก็จะใช้สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเพื่อจ่ายภาษีได้ บริษัทเล็กๆ เค้าไม่ทำแบบนี้กันหรอก เพราะไม่อยากเสียค่าเซ็นงบ
อีกวิธีคือการประมาณการรายได้และค่าใช้จ่ายของทั้งปีว่าจะได้กำไรสุทธิเท่าไหร่แล้วค่อยจ่าย 20% ของครึ่งนึงกำไรสุทธิ
อันนี้ก็ okay แต่ปัญหาคือถ้าเราประมาณการผิดพลาดน้อยไปเกิน 25% จะโดนปรับครับ
ไม่มีเหตุผลเลยโดยเฉพาะธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งพึ่งเริ่มต้น ใครจะไปประมาณการได้แม่นยำขนาดนั้น
ที่เค้าทำกันก็คือลองจ่ายให้มากกว่านิดหน่อย เพื่อที่จะไม่โดนปรับตอนปลายปี
ทีนี้ถ้าจ่ายมากไปก็เป็นธรรมเนียมปฎิบัติอีกเหมือนกันที่จะไม่มีการขอคืนภาษี เพราะถ้าขอคืน ถ้ากรมสรรพากรผู้น่ารักก็มาเยี่ยมเยียนท่านแน่ ก็เลยต้องเครดิตค้างไว้
ผมก็เข้าใจว่าภาษีนี้จะไปช่วยพัฒนาชาติบ้านเมืองแบบ "บูรณากู" ได้ แต่ผมว่ากลไกนี้มันทำความยุ่งยากให้กับบริษัทเล็กๆ (อย่างผม) เหลือเกินครับ
ได้แต่บ่นดังๆ ให้ฟังครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 2
Welcome to Thailand ครับ
สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือความตายกับภาษี
ถ้าน้อง ayethebing เริ่มจดทะเบียน VAT เมื่อไหร่
จะรู้สึกว่า ภาษีครึ่งปีนี่ เรื่องขี้ผงครับ ปัญหาน้อยมาก
เมื่อเทียบกับการหักจ่ายจ่าย VAT ซึ่งเกิดขึ้น "ทุกเดือน"
สรรพากรจะมีอะไรแปลกๆ มาให้อีกเยอะ เช่น บางอันเคลมได้
บางอันเคลมไม่ได้ ที่อยู่ผิด ตกสระไปหนึ่งตัว ครบสามปี
ถ้าจะขอ VAT คืนจะต้องถูกตรวจสอบงบบริษัท ถ้าไม่ขอคืน
ก็จะถูกตรวจ เพราะต้องสงสัยว่าทำไมไม่อยากได้คืน
ฯลฯ
This is only the beginning, believe me.
สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือความตายกับภาษี
ถ้าน้อง ayethebing เริ่มจดทะเบียน VAT เมื่อไหร่
จะรู้สึกว่า ภาษีครึ่งปีนี่ เรื่องขี้ผงครับ ปัญหาน้อยมาก
เมื่อเทียบกับการหักจ่ายจ่าย VAT ซึ่งเกิดขึ้น "ทุกเดือน"
สรรพากรจะมีอะไรแปลกๆ มาให้อีกเยอะ เช่น บางอันเคลมได้
บางอันเคลมไม่ได้ ที่อยู่ผิด ตกสระไปหนึ่งตัว ครบสามปี
ถ้าจะขอ VAT คืนจะต้องถูกตรวจสอบงบบริษัท ถ้าไม่ขอคืน
ก็จะถูกตรวจ เพราะต้องสงสัยว่าทำไมไม่อยากได้คืน
ฯลฯ
This is only the beginning, believe me.
-
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 3
แนะนำ ส่วนที่เกินเครดิตค้างไว้ดีที่สุดแล้วครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 4
แต่หากประมาณการไม่ได้
เสียครึ่งปีดีกว่าครับ พักหลังนี้ สรรพากรเข้มมาก หากมาตรวจย้อนหลังรับคุยกันอีกยาวครับ (แล้วจะรู้ความน่าเบื่อแบบสุดๆ :lol: )
เสียครึ่งปีดีกว่าครับ พักหลังนี้ สรรพากรเข้มมาก หากมาตรวจย้อนหลังรับคุยกันอีกยาวครับ (แล้วจะรู้ความน่าเบื่อแบบสุดๆ :lol: )
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 5
จดแล้วครับ VAT เป็นภาระที่น่าปวดหัวอีกอัน
แต่ VAT ผมว่ายังไม่น่าเกลียดเท่าภาษีครึ่งปี เป็นธรรมไช้ได้
ผมไม่ได้อยากเลี่ยงภาษีนะ แต่การเก็บภาษีอย่างนี้ผมว่ามันเอาเปรียบเกินไปอะ
แต่ VAT ผมว่ายังไม่น่าเกลียดเท่าภาษีครึ่งปี เป็นธรรมไช้ได้
ผมไม่ได้อยากเลี่ยงภาษีนะ แต่การเก็บภาษีอย่างนี้ผมว่ามันเอาเปรียบเกินไปอะ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- Verified User
- โพสต์: 285
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 6
บริษัทเล็กๆ ส่วนใหญ่จ่ายต่ำกว่าที่เป็นจริงอยู่แล้วครับ
ลองคิดดูซิครับเมื่อ3-4 ปีก่อน ก่อนที่จะบังคับให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
เซ็นต์งบได้ไม่เกิน 300 บริษัทต่อหนึ่งท่าน
มือปืนบางคนเซ็นต์ทีหลายหมื่นบริษัทเลยนะครับ
รวมที่ใช้มือปืนเซ็นต์ทั้งหมดก็ เกินครึ่งนึงอย่างแน่นอน
ดังนั้น ผมว่าความไม่ยุติธรรมทางภาษีอีกอย่างนึงคือ
การที่รัฐไม่เก็บภาษีตามจริงนะครับ
ปล่อยให้คนที่หลบหลีกเก่ง ต่อรองเก่ง ได้ประโยชน์
เพราะถ้าถูกสรรพากรเขตเรียกตรวจ ส่วนใหญ่จะต่อรองกันได้ครับ
ทำให้คคนที่เสียภาษีอย่างถูกต้องอยู่ไม่ได้
แล้วจะแข่งขันด้วยคความยากลำบาก
ที่เห็นชัดๆเลยคือภาษีมูลค่าเพิ่มครับ
ลองคิดดูซิครับเมื่อ3-4 ปีก่อน ก่อนที่จะบังคับให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
เซ็นต์งบได้ไม่เกิน 300 บริษัทต่อหนึ่งท่าน
มือปืนบางคนเซ็นต์ทีหลายหมื่นบริษัทเลยนะครับ
รวมที่ใช้มือปืนเซ็นต์ทั้งหมดก็ เกินครึ่งนึงอย่างแน่นอน
ดังนั้น ผมว่าความไม่ยุติธรรมทางภาษีอีกอย่างนึงคือ
การที่รัฐไม่เก็บภาษีตามจริงนะครับ
ปล่อยให้คนที่หลบหลีกเก่ง ต่อรองเก่ง ได้ประโยชน์
เพราะถ้าถูกสรรพากรเขตเรียกตรวจ ส่วนใหญ่จะต่อรองกันได้ครับ
ทำให้คคนที่เสียภาษีอย่างถูกต้องอยู่ไม่ได้
แล้วจะแข่งขันด้วยคความยากลำบาก
ที่เห็นชัดๆเลยคือภาษีมูลค่าเพิ่มครับ
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 8
การหลีกเลี่ยงภาษีแบบถูกกฎหมายเป็นหลักสากลที่ไม่ผิด และเป็นธรรมดาของธุรกิจที่ควรทำ เช่นการวางแผนค่าใช้จ่ายตามรอบบัญชี การวางแผนรายได้ การวางแผนภาษี
การหลบเลี่ยงภาษีแบบผิดกฎหมาย ด้วยใช้การเล่นใต้โต๊ะ ฮั้วกับคนเซ็นงบ (แบบคนเซ็นงบไม่ติดคุก แต่เจ้าของติดคุก) ต่างๆ ไม่สามารถทำให้ธุรกิจเติบโตไปได้ในระยะยาวครับ
ตัวอย่างที่ผมเคยเห็นก็คือ บริษัทไทยๆ รายนึง มีการโยงใยกันในหลายบริษัท อะไรเลี่ยงภาษีได้ก็เลี่ยง เช่นมีรายได้ก็ไม่ออกใบเสร็จ มีค่าใช้จ่ายก็โยกไปโยกมาในบริษัทในเครือ สุดท้ายก็พบว่าการโกงกันภายในเกิดขึ้นได้ง่ายเพราะขาดระบบเอกสารควบคุม เสียหายรั่วไหลเผลอๆ มากกว่าภาษีที่ต้องจ่ายเสียอีก แถมพอทำผิดกฎหมายภาษีเยอะๆ ก็ใช้ใต้โต๊ะนี่แหละ พอหนักเข้าก็ไม่กล้าทำอะไรไปเสียหมด จะร่วมทุนกับใครหรือขายกิจการก็ทำได้ยากเพราะระบบบัญชีมันมั่วไปหมดแล้ว พอมาทำให้ถูกต้องก็ยังต้องกลัวไปอีกหลายปี เพราะเค้าสามารถย้อนตรวจสอบได้เป็นเวลาหลายปี
น่าเสียดายที่เรามักมองกันสั้นๆ ครับ
การหลบเลี่ยงภาษีแบบผิดกฎหมาย ด้วยใช้การเล่นใต้โต๊ะ ฮั้วกับคนเซ็นงบ (แบบคนเซ็นงบไม่ติดคุก แต่เจ้าของติดคุก) ต่างๆ ไม่สามารถทำให้ธุรกิจเติบโตไปได้ในระยะยาวครับ
ตัวอย่างที่ผมเคยเห็นก็คือ บริษัทไทยๆ รายนึง มีการโยงใยกันในหลายบริษัท อะไรเลี่ยงภาษีได้ก็เลี่ยง เช่นมีรายได้ก็ไม่ออกใบเสร็จ มีค่าใช้จ่ายก็โยกไปโยกมาในบริษัทในเครือ สุดท้ายก็พบว่าการโกงกันภายในเกิดขึ้นได้ง่ายเพราะขาดระบบเอกสารควบคุม เสียหายรั่วไหลเผลอๆ มากกว่าภาษีที่ต้องจ่ายเสียอีก แถมพอทำผิดกฎหมายภาษีเยอะๆ ก็ใช้ใต้โต๊ะนี่แหละ พอหนักเข้าก็ไม่กล้าทำอะไรไปเสียหมด จะร่วมทุนกับใครหรือขายกิจการก็ทำได้ยากเพราะระบบบัญชีมันมั่วไปหมดแล้ว พอมาทำให้ถูกต้องก็ยังต้องกลัวไปอีกหลายปี เพราะเค้าสามารถย้อนตรวจสอบได้เป็นเวลาหลายปี
น่าเสียดายที่เรามักมองกันสั้นๆ ครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- Verified User
- โพสต์: 285
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 9
มีอีกเรื่องคือที่ไม่เป็นธรรมอีกก็คือ
การปล่อยบริษัทให้ร้างแล้วรอการจำหน่ายทำได้ง่ายมาก
คือถ้าบริษัทไหนคิดว่าภาษีของตัวเองมันเละเทะไปหมด
ก็อาจจจะไปจดทะเบียนตั้งใหม่ไปเลย
ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นคคือแค่ทุนจดทะเบียน
เช่นจดไว้ 1 ล้านบาท ทุกคนที่ถือหุ้นก็รับผิดชอบไม่เกินนี้
( บริษัทส่วนใหญ่ ในไทยมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท)
แล้วส่วนใหญ่ถ้าไม่ยื่นภาษีมานาน ไม่นานกระทรวงพาณิชย์ก็
จำหน่ายบริษัทนั้นออกจากทะเบียน
และเมื่อจำหน่ายแล้วสรรพากรส่วนใหญ่ก็ไม่อยากจะไปยุ่ง
เพราะตามยาก สรรพากรสมัยนี้จะมีเป้าในการเก็บภาษีของแต่ละเขต
ต้องทำให้ได้ตามเป้า การไปตามบริษัทที่ทิ้งไว้เฉยๆ
พวกสรรพากรส่วนใหญ่คิดว่าเป็นเรื่องที่เสียเวลาครับ
ป.ล.ผมหมายถึงบริษัทเล็กๆเท่านั้นนะครับ
แต่เป็นบริษัทส่วนใหญ่ในประเทศไทย
การปล่อยบริษัทให้ร้างแล้วรอการจำหน่ายทำได้ง่ายมาก
คือถ้าบริษัทไหนคิดว่าภาษีของตัวเองมันเละเทะไปหมด
ก็อาจจจะไปจดทะเบียนตั้งใหม่ไปเลย
ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นคคือแค่ทุนจดทะเบียน
เช่นจดไว้ 1 ล้านบาท ทุกคนที่ถือหุ้นก็รับผิดชอบไม่เกินนี้
( บริษัทส่วนใหญ่ ในไทยมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท)
แล้วส่วนใหญ่ถ้าไม่ยื่นภาษีมานาน ไม่นานกระทรวงพาณิชย์ก็
จำหน่ายบริษัทนั้นออกจากทะเบียน
และเมื่อจำหน่ายแล้วสรรพากรส่วนใหญ่ก็ไม่อยากจะไปยุ่ง
เพราะตามยาก สรรพากรสมัยนี้จะมีเป้าในการเก็บภาษีของแต่ละเขต
ต้องทำให้ได้ตามเป้า การไปตามบริษัทที่ทิ้งไว้เฉยๆ
พวกสรรพากรส่วนใหญ่คิดว่าเป็นเรื่องที่เสียเวลาครับ
ป.ล.ผมหมายถึงบริษัทเล็กๆเท่านั้นนะครับ
แต่เป็นบริษัทส่วนใหญ่ในประเทศไทย
-
- Verified User
- โพสต์: 285
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 10
คนทำถูกต้องทางภาษีผมว่าเสียประโยชน์มากกว่า
(สำหรับบริษัทเล็กๆเท่านั้นนะครับ)
อย่างพวกที่ทำการค้าทั้งหมด
ถ้าไม่ออกบิลขายแล้วใครจะรู้
ถ้าไปเช็คที่ stock ก็ไม่รู้
เพราะstock ที่ซื้อมาก็ไม่มีบิลซื้อ
สรุปซื้อขายนอกระบบ
แต่ถ้ามาตรวจจริงจังก็แค่ปรับ
เท่าที่ตรวจเจอตอนนั้น
แต่ที่ขายหลบๆมาหลายปีก็ไม่รู้อยู่ดี
ตรวจเงินรับเข้าออกก็ไม่ได้
เพราะเป็นบัญชีเงินสด(รวมทั้งเช็ค)
ก็เข้า-ออกบัญชีผู้ถือหุ้นก็สิ้นเรื่อง(ในส่วนที่หลบ)
แต่ถ้าจ้างมือบัญชีดีดีเผลอๆโดนปรับแค่นิดเดียวเองครับ
ส่วนใหญ่ถ้าโดนแค่สรรพากรเขตมาตรวจก็ต่อรองได้ครับ
ทำเป็นว่าตรวจเจอน้อยหน่อยก็จบ
(สำหรับบริษัทเล็กๆเท่านั้นนะครับ)
อย่างพวกที่ทำการค้าทั้งหมด
ถ้าไม่ออกบิลขายแล้วใครจะรู้
ถ้าไปเช็คที่ stock ก็ไม่รู้
เพราะstock ที่ซื้อมาก็ไม่มีบิลซื้อ
สรุปซื้อขายนอกระบบ
แต่ถ้ามาตรวจจริงจังก็แค่ปรับ
เท่าที่ตรวจเจอตอนนั้น
แต่ที่ขายหลบๆมาหลายปีก็ไม่รู้อยู่ดี
ตรวจเงินรับเข้าออกก็ไม่ได้
เพราะเป็นบัญชีเงินสด(รวมทั้งเช็ค)
ก็เข้า-ออกบัญชีผู้ถือหุ้นก็สิ้นเรื่อง(ในส่วนที่หลบ)
แต่ถ้าจ้างมือบัญชีดีดีเผลอๆโดนปรับแค่นิดเดียวเองครับ
ส่วนใหญ่ถ้าโดนแค่สรรพากรเขตมาตรวจก็ต่อรองได้ครับ
ทำเป็นว่าตรวจเจอน้อยหน่อยก็จบ
-
- Verified User
- โพสต์: 285
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 11
ช่องว่างทางกฎหมายเยอะมาก
โดยเฉพาะพวกคคนรวยๆ
ที่มีรายได้เกิน 4 ล้านบาท
เขาก็ใช้ช่องว่างทางกฎหมาย
ของภาษีเงินได้บุคคคคลธรรมดาอันนึง
ซึ่งผมเดาว่ากรมสรรพากรก็รู้กันทั้งกรม
แต่ไม่ยอมแก้ไข เพราะคนที่มีอำนาจแก้ไขได้
ก็ใช้อยู่ ผมว่าใน TVI บางคนก็ใช้
เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี 37% จริงไหมครับ
แต่อย่าให้บอกหน้าเวปเลยว่าคือตัวไหน
ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้เทคนิคต่างๆช่วย
ในการเสียภาษีครับ
โดยเฉพาะพวกคคนรวยๆ
ที่มีรายได้เกิน 4 ล้านบาท
เขาก็ใช้ช่องว่างทางกฎหมาย
ของภาษีเงินได้บุคคคคลธรรมดาอันนึง
ซึ่งผมเดาว่ากรมสรรพากรก็รู้กันทั้งกรม
แต่ไม่ยอมแก้ไข เพราะคนที่มีอำนาจแก้ไขได้
ก็ใช้อยู่ ผมว่าใน TVI บางคนก็ใช้
เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี 37% จริงไหมครับ
แต่อย่าให้บอกหน้าเวปเลยว่าคือตัวไหน
ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องใช้เทคนิคต่างๆช่วย
ในการเสียภาษีครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 12
โอ่ว พี่ TOMOKI เข้ามาโพสให้ความรู้ในเว็ปนี้บ่อยๆนะครับ
และอย่าหายไปไหนนะครับเอาไว้ผมจะได้ปรึกษาเรื่องธุรกิจด้วย
และอย่าหายไปไหนนะครับเอาไว้ผมจะได้ปรึกษาเรื่องธุรกิจด้วย
-
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 13
ช่องว่างทางกฎหมายที่ว่าคืออะไรเหรอครับTOMOKI เขียน:
โดยเฉพาะพวกคคนรวยๆ
ที่มีรายได้เกิน 4 ล้านบาท
เขาก็ใช้ช่องว่างทางกฎหมาย
ของภาษีเงินได้บุคคคคลธรรมดาอันนึง
วิธีที่ผมใช้ก็คือการโอนรายได้ออกไปให้คนที่มีฐานภาษีต่ำกว่าที่เราไว้ใจ
ปัจจุบันนี้ผมก็โอนหุ้นบางส่วนให้คนรับปันผลแทนแม้ว่ารายได้จะยัง
ไม่เกิน 4 ล้านก็เถอะ ซึ่งผมก็คิดว่าไม่ผิดอะไรนี่ครับ เพราะผมก็มีความเสี่ยง
ที่คนที่ผมโอนรายได้ไปให้จะไม่คืนให้
(แต่ถ้าสรรพากรจะเอาผิดผมจริง ๆ ก็คงทำได้มั้งครับ)
-
- Verified User
- โพสต์: 285
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 15
[quote="Anonymous"][quote="TOMOKI"]
โดยเฉพาะพวกคคนรวยๆ
ที่มีรายได้เกิน 4 ล้านบาท
เขาก็ใช้ช่องว่างทางกฎหมาย
ของภาษีเงินได้บุคคคคลธรรมดาอันนึง
[/quote]
ช่องว่างทางกฎหมายที่ว่าคืออะไรเหรอครับ
วิธีที่ผมใช้ก็คือการโอนรายได้ออกไปให้คนที่มีฐานภาษีต่ำกว่าที่เราไว้ใจ
ปัจจุบันนี้ผมก็โอนหุ้นบางส่วนให้คนรับปันผลแทนแม้ว่ารายได้จะยัง
ไม่เกิน 4 ล้านก็เถอะ ซึ่งผมก็คิดว่าไม่ผิดอะไรนี่ครับ เพราะผมก็มีความเสี่ยง
ที่คนที่ผมโอนรายได้ไปให้จะไม่คืนให้
(แต่ถ้าสรรพากรจะเอาผิดผมจริง ๆ ก็คงทำได้มั้งครับ)[/quote]
จะตอบยังไงดีละ
คนที่ใช้อยู่จะด่าผมไหมนี่
งั้นใบ้แล้วกัน
คือทำตัวเราให้เป็นอีกคนหนึ่งตามกฎหมาย
แต่กรรมสิทธิ์ทุกอย่างยังเป็นของเรา
ตอบได้แค่นี้ครับ
โดยเฉพาะพวกคคนรวยๆ
ที่มีรายได้เกิน 4 ล้านบาท
เขาก็ใช้ช่องว่างทางกฎหมาย
ของภาษีเงินได้บุคคคคลธรรมดาอันนึง
[/quote]
ช่องว่างทางกฎหมายที่ว่าคืออะไรเหรอครับ
วิธีที่ผมใช้ก็คือการโอนรายได้ออกไปให้คนที่มีฐานภาษีต่ำกว่าที่เราไว้ใจ
ปัจจุบันนี้ผมก็โอนหุ้นบางส่วนให้คนรับปันผลแทนแม้ว่ารายได้จะยัง
ไม่เกิน 4 ล้านก็เถอะ ซึ่งผมก็คิดว่าไม่ผิดอะไรนี่ครับ เพราะผมก็มีความเสี่ยง
ที่คนที่ผมโอนรายได้ไปให้จะไม่คืนให้
(แต่ถ้าสรรพากรจะเอาผิดผมจริง ๆ ก็คงทำได้มั้งครับ)[/quote]
จะตอบยังไงดีละ
คนที่ใช้อยู่จะด่าผมไหมนี่
งั้นใบ้แล้วกัน
คือทำตัวเราให้เป็นอีกคนหนึ่งตามกฎหมาย
แต่กรรมสิทธิ์ทุกอย่างยังเป็นของเรา
ตอบได้แค่นี้ครับ
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 16
กรณีที่คุณ TOMOKI ทำไม่ผิดครับ สรรพากรก็เอาผิดไม่ได้ด้วย
เช่น ถ้าเราจดทะเบียนคณะบุคคลระหว่างพ่อกับลูกเพื่อซื้อหุ้นปันผล ก็สามารถเรียกคืนภาษีได้เต็มจำนวนหรือในอัตราที่สูง และไม่ผิดกฎหมาย
เช่น การชะลอรายได้ที่เป็นเงินสดในกับตัวเอง ให้เกิดในต้นปีแทนที่จะเป็นปลายปี ก็อาจจะทำให้ระดับภาษีเสียน้อยลงในระบบ progressive rate
เช่น บิดามารดาอยู่ในทะเบียนบ้านเรา ก็สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนได้
เช่น การซื้อกองทุนรวม RMF และประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี
เป็นต้น
การวางแผนภาษีให้เราเสียภาษีให้รัฐน้อยลงในกรอบของกฎหมายถือว่าไม่ผิดครับ
เช่น ถ้าเราจดทะเบียนคณะบุคคลระหว่างพ่อกับลูกเพื่อซื้อหุ้นปันผล ก็สามารถเรียกคืนภาษีได้เต็มจำนวนหรือในอัตราที่สูง และไม่ผิดกฎหมาย
เช่น การชะลอรายได้ที่เป็นเงินสดในกับตัวเอง ให้เกิดในต้นปีแทนที่จะเป็นปลายปี ก็อาจจะทำให้ระดับภาษีเสียน้อยลงในระบบ progressive rate
เช่น บิดามารดาอยู่ในทะเบียนบ้านเรา ก็สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนได้
เช่น การซื้อกองทุนรวม RMF และประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี
เป็นต้น
การวางแผนภาษีให้เราเสียภาษีให้รัฐน้อยลงในกรอบของกฎหมายถือว่าไม่ผิดครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 17
คนโง่เท่านั้น ที่อยากเสียอะไรเต็มๆให้แก่รัฐ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 18
วิธีของคุณ TOMOKI ไม่ผิดกฎหมายครับ ถูกทุกประการ
และจริงๆ แล้ว รัฐคงจะพยายามสนับสนุนให้ผู้มีรายได้ใช้วิธีการนี้ด้วย เพราะ
ถึงแม้จะเก็บภาษีได้น้อยลง แต่ควบคุมได้ง่ายขึ้น
การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีเรื่องการทำบัญชี ฯลฯ เพิ่มขึ้นมาด้วยครับ
แม้ว่าจะเสียภาษีสูงสุดแค่ 30% และหักค่าใช้จ่ายได้เต็ม
โกงภาษีกับบริหารภาษีอาจจะฟังดูคล้ายกัน แต่ในความเป็นจริงต่างกัน
ประมาณดำกับขาวครับ ต่างกันพอๆ กับระหว่าง "การเก็งกำไร" กับ
"การลงทุน"
และจริงๆ แล้ว รัฐคงจะพยายามสนับสนุนให้ผู้มีรายได้ใช้วิธีการนี้ด้วย เพราะ
ถึงแม้จะเก็บภาษีได้น้อยลง แต่ควบคุมได้ง่ายขึ้น
การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีเรื่องการทำบัญชี ฯลฯ เพิ่มขึ้นมาด้วยครับ
แม้ว่าจะเสียภาษีสูงสุดแค่ 30% และหักค่าใช้จ่ายได้เต็ม
โกงภาษีกับบริหารภาษีอาจจะฟังดูคล้ายกัน แต่ในความเป็นจริงต่างกัน
ประมาณดำกับขาวครับ ต่างกันพอๆ กับระหว่าง "การเก็งกำไร" กับ
"การลงทุน"
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 19
ผมหมายถึงคณะบุคคลครับ ไม่ใช่นิติบุคคล
เป็นรูปแบบอีกรูปแบบนึงที่มีหมายเลขผู้เสียภาษีแยกจากของบุคคลธรรมดา เวลายื่นภาษีใช้ภงด 90 หรือ 91 เหมือนบุคคลธรรมดา
เป็นรูปแบบอีกรูปแบบนึงที่มีหมายเลขผู้เสียภาษีแยกจากของบุคคลธรรมดา เวลายื่นภาษีใช้ภงด 90 หรือ 91 เหมือนบุคคลธรรมดา
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- Verified User
- โพสต์: 285
- ผู้ติดตาม: 0
การจ่ายภาษีนิติบุคคลกลา่งปี
โพสต์ที่ 20
[quote="ayethebing"]ผมหมายถึงคณะบุคคลครับ ไม่ใช่นิติบุคคล
เป็นรูปแบบอีกรูปแบบนึงที่มีหมายเลขผู้เสียภาษีแยกจากของบุคคลธรรมดา เวลายื่นภาษีใช้ภงด 90 หรือ 91 เหมือนบุคคลธรรมดา[/quote]
นี่ละครับที่คือช่องว่างทางภาษี
คุณ ayeบอกนะ ผมไม่เกี่ยว(เอาตัวรอดจังเลยนะผมนี่)
ของผู้ที่มีรายได้ส่วนบุคคลมากหน่อย
แต่ถ้ามากๆ เกินสัก 20ล้านขึ้นไป
(รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วนะครับ)
ผมว่าตั้งบริษัทจะดีกว่าครับ
เป็นรูปแบบอีกรูปแบบนึงที่มีหมายเลขผู้เสียภาษีแยกจากของบุคคลธรรมดา เวลายื่นภาษีใช้ภงด 90 หรือ 91 เหมือนบุคคลธรรมดา[/quote]
นี่ละครับที่คือช่องว่างทางภาษี
คุณ ayeบอกนะ ผมไม่เกี่ยว(เอาตัวรอดจังเลยนะผมนี่)
ของผู้ที่มีรายได้ส่วนบุคคลมากหน่อย
แต่ถ้ามากๆ เกินสัก 20ล้านขึ้นไป
(รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วนะครับ)
ผมว่าตั้งบริษัทจะดีกว่าครับ