สนช.เห็นชอบรายงานปฏิรูปภาษีชงเก็บแวตอีก1%
18 พฤษภาคม 2560 เวลา 13:48 น.
มติสนช.เห็นชอบรายงานปฏิรูปภาษี เสนอเก็บแวตเพิ่มอีก1% หวังได้ 8 หมื่นล้าน.......
ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณารายงานเรื่องแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างภาษีและระบบบริหารจัดเก็บเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของแผ่นดิน ซึ่งคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สนช.เป็นผู้เสนอ โดยคณะกมธ.ได้มีข้อเสนอแนะบางประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรมสรรพากรควรพิจารณาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรายเดียวกันที่ประกอบธุรกิจในสาขาต่างๆหลายแห่ง จะต้องทำการแยกบัญชีรายได้และรายจ่ายของสาขาแต่ละแห่งแยกออกจากกัน เพื่อเสียภาษีในเขตพื้นที่ที่สาขานั้นๆตั้งอยู่โดยตรง โดยไม่ให้มีการรวมบัญชีเดียวกันเพื่อเสียภาษีอีกต่อไป
2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม ควรมีการจัดเก็บในรูปแบบที่มีหลายอัตรา โดยพิจารณากำหนดจัดเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันในแต่ละประเภทสินค้า กล่าวคือ พิจารณาว่าสินค้าประเภทใดมีความจำเป็นในการนำเข้า ส่งออกและบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้ ควรมีการปรับเพิ่มอัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมอีกร้อยละ 1 โดยกำหนดให้นำรายได้จากการจัดเก็บภาษีในส่วนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวไปใช้เฉพาะในด้านการศึกษาและการสาธารณสุขเท่านั้น คาดว่าจะทำให้สามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นจำนวนประมาณ 60,000-70,000 ล้านบาท
3.ภาษีลาภลอย ปัจจุบันรัฐบาลมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ การก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง ทำให้มูลค่าที่ดินเพิ่มสูงขึ้นหรือการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่ทำให้ที่ดินมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น แต่รัฐบาลยังไม่สามารถจัดเก็บรายได้ดังกล่าวได้ ดังนั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลังควรมีการพิจารณาศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีกรณีดังกล่าวโดยเปรียบเทียบกับการจัดเก็บภาษีในต่างประเทศและควรเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ทั้งนี้ ที่ประชุมสนช.เห็นชอบกับรายงานฉบับดังกล่าวโดยไม่มีการลงมติจากนั้นจะส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
Ref : http://www.posttoday.com/economy/finance/495390
สนช. เห็นชอบรายงานปฏิรูปภาษีชงเก็บแวตอีก 1%
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สนช. เห็นชอบรายงานปฏิรูปภาษีชงเก็บแวตอีก 1%
โพสต์ที่ 2
สนช.เห็นชอบรายงานปฏิรูปภาษี เสนอเก็บ VAT เพิ่มอีก 1% หวังได้ 8 หมื่นล้าน พัฒนาการศึกษาและสาธารณสุข
18 พ.ค.60 – ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธาน พิจารณารายงานเรื่องแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างภาษีและระบบบริหารจัดเก็บเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของแผ่นดิน ซึ่งคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สนช.เป็นผู้เสนอ โดยนายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการ รายงานสาระสำคัญของรายงาน ว่า เนื่องจากประเทศไทยยังไม่ได้มีการปฏิรูประบบภาษีอากรมาเป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่ปี 2535 ที่เปลี่ยนจากการใช้ภาษีการค้ามาเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยที่ผ่านมาการปรับปรุง โครงสร้างภาษีอากรส่วนใหญ่จะดำเนินการเป็นส่วนๆ เช่น การปรับขั้นและอัตราภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การเพิ่มเพดานและอัตราภาษีสรรพสามิต และการปรับโครงสร้างอากรขาเข้าเป็นกลุ่มสินค้า เป็นต้น ซึ่งไม่ได้พิจารณาการปฏิรูปโครงสร้าง ภาษีอากรในภาพรวมทั้งระบบ อีกทั้งปัจจุบันรัฐบาลมีภาระด้านรายจ่ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการดำเนินการตามนโยบายในโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ของประเทศให้สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้
นายศิริพล กล่าวว่า ที่ผ่านมาการจัดเก็บรายได้ ของรัฐบาลไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยปี 2556 มีรายได้ส่งคลัง2.16 ล้านล้านบาท รายจ่าย 2.40 ล้านล้านบาท ปี 57 มีรายได้ 2.07 ล้านล้านบาท รายจ่าย 2.45 ล้านล้านบาท ปี 58 มีรายได้ 2.20 ล้านล้านบาท รายจ่าย 2.60 ล้านล้านบาท ปี 59 มีรายได้2.41 ล้านล้านบาท รายจ่าย 2.80 ล้านล้านบาท ทั้งนี้เนื่องจากเนื่องจากการจัดเก็บภาษีของแต่ละประเทศภายหลังจาก มีความตกลงภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) และการนี้ ให้เขตการค้าเสรี (Free trade area) ต้องลดอัตราภาษีศุลกากรลง ส่งผลให้รายได้ในการพึ่งพาภาษี ศุลกากรประเภทนี้ลดลงอย่างเป็นอย่างมาก ในต่างประเทศจึงได้มีการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ประเทศต่างๆ ในยุโรปเดิมภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 10 ปัจจุบันส่วนใหญ่ปรับสูงขึ้น เป็นอัตราร้อยละ 20 นอกจากนั้นยังปรับรูปแบบภาษีอื่นเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมาทดแทน
นายศิริพล กล่าวว่า คณะอนุกรรมาธิการ ฯได้ศึกษาแนวทาง การปฏิรูประบบโครงสร้างภาษีและระบบบริหารจัดเก็บภาษีต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางการการปฏิรูประบบภาษีอากร พบว่า 1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรมสรรพากรควรพิจารณาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรายเดียวกันที่ประกอบธุรกิจในสาขาต่างๆหลายแห่ง จะต้องทำการแยกบัญชีรายได้และรายจ่ายของสาขาแต่ละแห่งแยกออกจากกัน เพื่อเสียภาษีในเขตพื้นที่ที่สาขานั้นๆ ตั้งอยู่โดยตรง โดยไม่ให้มีการรวมบัญชีเดียวกันเพื่อเสียภาษีอีกต่อไป
นายศิริพล กล่าวว่า 2.กรณีการเก็บภาษี e-Commerce ที่มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่เป็นช่องว่างที่ผู้ประกอบการ e-Commerce ที่มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศไม่ได้ถูกการเรียกเก็บภาษี สืบเนื่องไม่มีหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีและปัญหาจากการหาตัวตน ประกอบกับข้อตกลงอนุสัญญา ภาษีซ้อนเกิดจุดรั่วไหลอยู่ 2 ประการคือ การให้บริการการโฆษณาโดยสื่อออนไลน์และการเรียกเก็บค่าบริการจองโรงแรม ที่ผู้ใช้บริการที่พักในประเทศไทย เมื่อจ่ายเงินแล้วเงินจะถูกส่งตรงไปยังบริษัทที่มีสำนักงานอยู่ต่างประเทศทั้งหมด ประกอบกับข้อกฎหมายตามประมวลรัษฎากรยังครอบคลุมไม่ทั่วถึงการจัดเก็บภาษีดังกล่าวนั้น ขณะที่การสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบ e-Commerce เมื่อผู้ซื้อที่อยู่ในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็น นิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา ในฐานะผู้บริโภคเมื่อมีการชำระค่าบริการผ่านบัตรเครดิตทำให้เงินไหล ไปต่างประเทศไม่สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ และไม่สามารถนำรายได้ที่คนไทยจ่ายนั้นเป็นรายได้ของบริษัทที่เมื่อมีกำไรแล้วต้องชำระภาษีจึงจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาโดยด่วน ซึ่งคณะอนุกรรมาธิการเห็นว่า กรมสรรพากรควรพิจารณาศึกษา และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดเก็บภาษีจากกรณีดังกล่าว และมีการกำหนดให้บริษัทข้ามชาติดังกล่าวอาจจะต้องเข้ามาจัดตั้งสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในรูปแบบอื่น ๆ
นายศิริพล กล่าวว่า 3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากปัจจุบันได้มีข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับ การลดอัตราภาษีศุลกากรลงเป็นจำนวนมาก ทำให้ประเทศต่างๆ ไม่สามารถจัดเก็บภาษีศุลกากร ส่วนกรณีของประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษี VAT ในรูปแบบอัตราเดียว ย่อมอาจจะไม่เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการค้าการลงทุน ของผู้ประกอบการภายในประเทศ จากกรณีดังกล่าว จึงเห็นว่า ควรมีการจัดเก็บในรูปแบบที่มีหลายอัตรา โดยพิจารณากำหนดจัดเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันในแต่ละประเภทสินค้า กล่าวคือ พิจารณาว่าสินค้าประเภทใดมีความจำเป็นในการนำเข้า ส่งออกและบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้ ควรมีการปรับเพิ่มอัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมอีกร้อยละ 1 โดยกำหนดให้นำรายได้จากการจัดเก็บภาษีในส่วนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวไปใช้เฉพาะในด้านการศึกษาและการสาธารณสุขเท่านั้น คาดว่าจะทำให้สามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นจำนวนประมาณ 60,000-70,000 ล้านบาท
นายศิริพล กล่าวว่า 4.อากรศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากปัจจุบันมีการดำเนินธุรกิจค้าขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์โดยอาศัยช่องว่างของการยกเว้นอากรศุลกากรกรณีที่มีราคาไม่เกิน 1,500 บาท ทำให้รัฐสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก และในทางปฏิบัติจะเห็นว่าสูญเสียภาษีศุลกากร และภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าที่นำเข้าทางไปรษณีย์ที่มีราคาไม่เกิน 1,500 บาท จึงเห็นว่า กรมสรรพากร กรมศุลกากร และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ควรมีการพิจารณากฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่ออุดช่องว่าง การจัดเก็บภาษีในกรณีสินค้านำเข้าที่ได้การยกเว้นอากร ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 41/ 2558 เรื่อง กำหนดราคาของที่นำเข้า ซึ่งได้รับยกเว้นอากรตามประเภท12 ภาค 4 แห่งพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530
นายศิริพล กล่าวว่า 5.การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการส่งออกทั้งที่เป็นการนำเข้ามาตามข้อตกลง WTO มีการปฏิบัติตามพ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มการตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ.2522 พ.ร.บ.มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น พ.ศ.2550 และพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 หรือไม่ ทางคณะอนุกรรมาธิการเห็นว่า ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย กรณีการจัดเก็บอากรปกป้องสินค้านำเข้า (Safeguard Measure) และอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti - dumping) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ และกรมศุลกากร ขาดการบูรณาการ การทำงานร่วมกัน อีกทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอาจไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ ฉะนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวควรมีการประสาน เพื่อบูรณาการการท างานร่วมกันให้ชัดเจนมากขึ้น และจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
นายศิริพล กล่าวว่า 6.ภาษีลาภลอย ปัจจุบันรัฐบาลมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ การก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง ทำให้มูลค่าที่ดินเพิ่มสูงขึ้นหรือการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่ทำให้ที่ดินมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น แต่รัฐบาลยังไม่สามารถจัดเก็บรายได้ดังกล่าวได้ ดังนั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลังควรมีการพิจารณาศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีกรณีดังกล่าวโดยเปรียบเทียบกับการจัดเก็บภาษีในต่างประเทศและควรเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ทั้งนี้ ที่ประชุมสนช.เห็นชอบกับรายงานฉบับดังกล่าวโดยไม่มีการลงมติจากนั้นจะส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป.
อ้างอิง : http://www.komchadluek.net/news/regional/277725
18 พ.ค.60 – ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธาน พิจารณารายงานเรื่องแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างภาษีและระบบบริหารจัดเก็บเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของแผ่นดิน ซึ่งคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สนช.เป็นผู้เสนอ โดยนายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการ รายงานสาระสำคัญของรายงาน ว่า เนื่องจากประเทศไทยยังไม่ได้มีการปฏิรูประบบภาษีอากรมาเป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่ปี 2535 ที่เปลี่ยนจากการใช้ภาษีการค้ามาเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยที่ผ่านมาการปรับปรุง โครงสร้างภาษีอากรส่วนใหญ่จะดำเนินการเป็นส่วนๆ เช่น การปรับขั้นและอัตราภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล การเพิ่มเพดานและอัตราภาษีสรรพสามิต และการปรับโครงสร้างอากรขาเข้าเป็นกลุ่มสินค้า เป็นต้น ซึ่งไม่ได้พิจารณาการปฏิรูปโครงสร้าง ภาษีอากรในภาพรวมทั้งระบบ อีกทั้งปัจจุบันรัฐบาลมีภาระด้านรายจ่ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการดำเนินการตามนโยบายในโครงการต่างๆ เพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ของประเทศให้สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้
นายศิริพล กล่าวว่า ที่ผ่านมาการจัดเก็บรายได้ ของรัฐบาลไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยปี 2556 มีรายได้ส่งคลัง2.16 ล้านล้านบาท รายจ่าย 2.40 ล้านล้านบาท ปี 57 มีรายได้ 2.07 ล้านล้านบาท รายจ่าย 2.45 ล้านล้านบาท ปี 58 มีรายได้ 2.20 ล้านล้านบาท รายจ่าย 2.60 ล้านล้านบาท ปี 59 มีรายได้2.41 ล้านล้านบาท รายจ่าย 2.80 ล้านล้านบาท ทั้งนี้เนื่องจากเนื่องจากการจัดเก็บภาษีของแต่ละประเทศภายหลังจาก มีความตกลงภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) และการนี้ ให้เขตการค้าเสรี (Free trade area) ต้องลดอัตราภาษีศุลกากรลง ส่งผลให้รายได้ในการพึ่งพาภาษี ศุลกากรประเภทนี้ลดลงอย่างเป็นอย่างมาก ในต่างประเทศจึงได้มีการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ประเทศต่างๆ ในยุโรปเดิมภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 10 ปัจจุบันส่วนใหญ่ปรับสูงขึ้น เป็นอัตราร้อยละ 20 นอกจากนั้นยังปรับรูปแบบภาษีอื่นเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมาทดแทน
นายศิริพล กล่าวว่า คณะอนุกรรมาธิการ ฯได้ศึกษาแนวทาง การปฏิรูประบบโครงสร้างภาษีและระบบบริหารจัดเก็บภาษีต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางการการปฏิรูประบบภาษีอากร พบว่า 1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรมสรรพากรควรพิจารณาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรายเดียวกันที่ประกอบธุรกิจในสาขาต่างๆหลายแห่ง จะต้องทำการแยกบัญชีรายได้และรายจ่ายของสาขาแต่ละแห่งแยกออกจากกัน เพื่อเสียภาษีในเขตพื้นที่ที่สาขานั้นๆ ตั้งอยู่โดยตรง โดยไม่ให้มีการรวมบัญชีเดียวกันเพื่อเสียภาษีอีกต่อไป
นายศิริพล กล่าวว่า 2.กรณีการเก็บภาษี e-Commerce ที่มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่เป็นช่องว่างที่ผู้ประกอบการ e-Commerce ที่มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศไม่ได้ถูกการเรียกเก็บภาษี สืบเนื่องไม่มีหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีและปัญหาจากการหาตัวตน ประกอบกับข้อตกลงอนุสัญญา ภาษีซ้อนเกิดจุดรั่วไหลอยู่ 2 ประการคือ การให้บริการการโฆษณาโดยสื่อออนไลน์และการเรียกเก็บค่าบริการจองโรงแรม ที่ผู้ใช้บริการที่พักในประเทศไทย เมื่อจ่ายเงินแล้วเงินจะถูกส่งตรงไปยังบริษัทที่มีสำนักงานอยู่ต่างประเทศทั้งหมด ประกอบกับข้อกฎหมายตามประมวลรัษฎากรยังครอบคลุมไม่ทั่วถึงการจัดเก็บภาษีดังกล่าวนั้น ขณะที่การสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบ e-Commerce เมื่อผู้ซื้อที่อยู่ในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็น นิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา ในฐานะผู้บริโภคเมื่อมีการชำระค่าบริการผ่านบัตรเครดิตทำให้เงินไหล ไปต่างประเทศไม่สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ และไม่สามารถนำรายได้ที่คนไทยจ่ายนั้นเป็นรายได้ของบริษัทที่เมื่อมีกำไรแล้วต้องชำระภาษีจึงจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาโดยด่วน ซึ่งคณะอนุกรรมาธิการเห็นว่า กรมสรรพากรควรพิจารณาศึกษา และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดเก็บภาษีจากกรณีดังกล่าว และมีการกำหนดให้บริษัทข้ามชาติดังกล่าวอาจจะต้องเข้ามาจัดตั้งสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในรูปแบบอื่น ๆ
นายศิริพล กล่าวว่า 3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากปัจจุบันได้มีข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับ การลดอัตราภาษีศุลกากรลงเป็นจำนวนมาก ทำให้ประเทศต่างๆ ไม่สามารถจัดเก็บภาษีศุลกากร ส่วนกรณีของประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษี VAT ในรูปแบบอัตราเดียว ย่อมอาจจะไม่เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการค้าการลงทุน ของผู้ประกอบการภายในประเทศ จากกรณีดังกล่าว จึงเห็นว่า ควรมีการจัดเก็บในรูปแบบที่มีหลายอัตรา โดยพิจารณากำหนดจัดเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันในแต่ละประเภทสินค้า กล่าวคือ พิจารณาว่าสินค้าประเภทใดมีความจำเป็นในการนำเข้า ส่งออกและบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้ ควรมีการปรับเพิ่มอัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมอีกร้อยละ 1 โดยกำหนดให้นำรายได้จากการจัดเก็บภาษีในส่วนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวไปใช้เฉพาะในด้านการศึกษาและการสาธารณสุขเท่านั้น คาดว่าจะทำให้สามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นจำนวนประมาณ 60,000-70,000 ล้านบาท
นายศิริพล กล่าวว่า 4.อากรศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากปัจจุบันมีการดำเนินธุรกิจค้าขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์โดยอาศัยช่องว่างของการยกเว้นอากรศุลกากรกรณีที่มีราคาไม่เกิน 1,500 บาท ทำให้รัฐสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก และในทางปฏิบัติจะเห็นว่าสูญเสียภาษีศุลกากร และภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าที่นำเข้าทางไปรษณีย์ที่มีราคาไม่เกิน 1,500 บาท จึงเห็นว่า กรมสรรพากร กรมศุลกากร และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ควรมีการพิจารณากฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่ออุดช่องว่าง การจัดเก็บภาษีในกรณีสินค้านำเข้าที่ได้การยกเว้นอากร ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 41/ 2558 เรื่อง กำหนดราคาของที่นำเข้า ซึ่งได้รับยกเว้นอากรตามประเภท12 ภาค 4 แห่งพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530
นายศิริพล กล่าวว่า 5.การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการส่งออกทั้งที่เป็นการนำเข้ามาตามข้อตกลง WTO มีการปฏิบัติตามพ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มการตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ.2522 พ.ร.บ.มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น พ.ศ.2550 และพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 หรือไม่ ทางคณะอนุกรรมาธิการเห็นว่า ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย กรณีการจัดเก็บอากรปกป้องสินค้านำเข้า (Safeguard Measure) และอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti - dumping) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ และกรมศุลกากร ขาดการบูรณาการ การทำงานร่วมกัน อีกทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอาจไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ ฉะนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวควรมีการประสาน เพื่อบูรณาการการท างานร่วมกันให้ชัดเจนมากขึ้น และจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
นายศิริพล กล่าวว่า 6.ภาษีลาภลอย ปัจจุบันรัฐบาลมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ การก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง ทำให้มูลค่าที่ดินเพิ่มสูงขึ้นหรือการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่ทำให้ที่ดินมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น แต่รัฐบาลยังไม่สามารถจัดเก็บรายได้ดังกล่าวได้ ดังนั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลังควรมีการพิจารณาศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีกรณีดังกล่าวโดยเปรียบเทียบกับการจัดเก็บภาษีในต่างประเทศและควรเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ทั้งนี้ ที่ประชุมสนช.เห็นชอบกับรายงานฉบับดังกล่าวโดยไม่มีการลงมติจากนั้นจะส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป.
อ้างอิง : http://www.komchadluek.net/news/regional/277725
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.