นักลงทุนแบบ GI ในตำนานมีใครบ้างครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 125
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนแบบ GI ในตำนานมีใครบ้างครับ
โพสต์ที่ 7
ในที่สุดผมก็เจอแล้วครับเค้าคือ T.Lowe Price
ถ้าจะให้ Vote กันว่าใครคือคนที่จะเรียกว่าเป็น “Father Of Growth Stock” หรือ “บิดาแห่งการลงทุนในหุ้นโตเร็ว” คนที่จะได้รับคะแนนสูงสุดน่าจะเป็น T. Rowe Price เหตุผลก็คือ เขาเป็นคนแรก ๆ ในตลาดหุ้นนิวยอร์คที่พูดถึงวิธีการลงทุนในหุ้นที่โตเร็วซึ่งคนยังไม่สนใจกัน เพราะก่อนหน้าที่เขาจะพูดนั้นนักลงทุนในวอลสตรีทต่างก็มองว่าหุ้นทุกตัวนั้นเป็นหุ้น Cyclical หรือหุ้นวัฏจักร นั่นคือ มันจะขึ้นลงตามวัฏจักรของเศรษฐกิจ แต่ ที โรว์ ไพร้ซ์ มองต่างออกไป ในปี 1939 เขาเขียนว่า “กำไรของบรรษัทส่วนใหญ่จะผ่านวัฏจักรของชีวิตซึ่งคล้าย ๆ กับชีวิตของคนที่มีช่วงชีวิตสำคัญสามช่วง นั่นคือ เติบโต อิ่มตัว และเสื่อมถอย” ดังนั้น เขาจึงกำหนดแผนการลงทุนที่จะทำให้เขาสามารถเอาชนะตลาดได้โดยการลงทุนในช่วงต้นของวัฏจักร โดยวิธีการนี้และหลังจากการวิเคราะห์อย่างเข้มข้น เขาได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัทที่คนยังไม่ค่อยรู้จักแต่กำลังเติบโตหลายบริษัทเช่น IBM โคคาโคล่า P&G ดาวเคมิเคิล และถือไว้จนกระทั่งมันทำกำไรให้เขามหาศาล
การค้นหาและเลือกหุ้นโตเร็วของไพร้ซนั้นแตกต่างจากวิธีการของ Value Investor อย่าง เบน เกรแฮม ชัดเจน ไพร้ซมองว่าการใช้ข้อมูลทางด้านปริมาณเช่นกำไรหรือยอดขายในการเลือกหุ้นนั้นเป็นวิธีที่ไม่ยืดหยุ่นและไม่สามารถป้องกันข่าวร้ายที่ไม่คาดคิดได้ วิธีของไพร้ซ์นั้น เขาจะมองหาบริษัทอันดับหนึ่งหรือสองในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่กำลังเริ่มต้นและ “มาแรง” ที่แสดงตัวเลขยอดขายที่เป็นหน่วยเติบโตอย่างมั่นคงและต่อเนื่องเช่นเดียวกับกำไรที่เติบโตตามกันไปถึงแม้ว่าธุรกิจจะอยู่ในช่วงวัฏจักรที่ตกต่ำ และเมื่อเขาเจอบริษัทดังกล่าวแล้ว สิ่งที่ไพร้ซ์จะต้องวิเคราะห์ต่อก็คือ บริษัทนั้นควรจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่ง บริษัทจะต้องมีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาทั้งทางด้านผลิตภัณฑ์และการตลาดที่โดดเด่นเหนือกว่าคู่แข่ง
ข้อสอง ไม่มีการแข่งขันแบบเอาเป็นเอาตายเช่นการตัดราคาสินค้ากันในธุรกิจ
ข้อสาม ค่อนข้างจะถูกควบคุมโดยกฎหมายหรือรัฐบาลน้อยกว่าธุรกิจโดยทั่วไป
ข้อสี่ ต้นทุนทางด้านแรงงานต่ำแต่บริษัทจ่ายค่าแรงพนักงานดีกว่าบริษัทอื่น
ข้อห้า บริษัทมีผลตอบแทนจากเม็ดเงินที่ลงทุนในธุรกิจไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี มีกำไรต่อยอดขายที่สูงและต่อเนื่อง และมีการเติบโตของกำไรต่อหุ้นที่โดดเด่น
หลังจากลงทุนไปแล้ว ไพร้ซ์จะขายหุ้นเมื่อบริษัทนั้น “อิ่มตัว” แล้ว ซึ่งปกติมักจะกินเวลาเป็นสิบปีขึ้นไป แต่สัญญาณที่แสดงว่าบริษัทเริ่มอิ่มตัวอย่างชัดเจนนั้นก็คือ การลดลงของยอดขายต่อหน่วย กำไรต่อยอดขาย และผลตอบแทนต่อเม็ดเงินลงทุน นอกจากนั้น ไพร้ซ์ยังจับตาดูเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ที่อาจทำให้เขาขายหุ้น
ข้อหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารที่แย่ลง
ข้อสอง ตลาดเริ่มอิ่มตัว
ข้อสาม ลิขสิทธิ์หมดอายุหรือการคิดค้นใหม่ทำให้สินค้าเดิมมีค่าน้อยลง
ข้อสี่ การแข่งขันรุนแรงขึ้น
ข้อห้า สภาพแวดล้อมทางด้านกฎหมายหรือข้อกำหนดของรัฐเป็นอุปสรรคมากขึ้น
ข้อหก ค่าแรง วัตถุดิบ หรือภาษี เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
ถึงช่วงกลางทศวรรษที่ 1960 ชื่อเสียงของไพร้ซ์ก็โด่งดังและเขามีสาวกที่ติดตาม “แนวทางของ ที โรว์ ไพร้ซ์” จำนวนมาก และหุ้นที่ไพร้ซ์ชื่นชอบกลายเป็น “หุ้น ที โรว์ ไพร้ซ์” ที่ทุกคนอยากมีไว้ในพอร์ต พอถึงปลายทศวรรษหลังจากที่แนวความคิดของเขากลายเป็นกระแสหลักในตลาดหุ้น ไพร้ซ์ก็เริ่มคิดว่าหุ้นเติบโตเหล่านั้นเริ่มจะแพงเกินไปเขาจึงขายกิจการบริหารกองทุน T. Rowe Price & Associates ของเขาทิ้งและถอนการลงทุนในหุ้นโตเร็วที่แพงเกินไป พอถึงปี 1974 เมื่อ “ฟองสบู่” ของหุ้นโตเร็วแตกและราคาหุ้นโตเร็วตกกันลงมาถึง 70-80% ชื่อของไพร้ซ์จึงดังเป็นพลุอีกครั้งหนึ่ง หลังจากตลาดหมีที่รุนแรงในปี 1973-1974 ราคาหุ้นโตเร็วตกลงมามาก ไพร้ซ์กลับเข้ามาซื้อหุ้นโตเร็วอีกครั้งแม้ว่าหลายตัวจะไม่ใช่หุ้นตัวเดิม เช่นหุ้นของพวกเคเบิลทีวี เหตุผลของไพร้ซ์ก็คือ หุ้นโตเร็วหมดความนิยมลงและนั่นคือเวลาซื้อหุ้นอีกครั้งหนึ่ง และนี่ก็เป็นนิสัยของไพร้ซ์ตลอดมาที่เป็น Contrarian หรือเป็นคนที่ชอบมองสวนกระแสหรือที่ในวงการหุ้นบ้านเราเรียกว่าเป็น “ชาวสวน” และก็เช่นเคย ไพร้ซ์ประสบความสำเร็จในการลงทุน
ชีวิตส่วนตัวของไพร้ซ์นั้น เขาเรียนจบทางด้านเคมีแต่ผันตัวเองเป็นนักบริหารการลงทุน เขาเป็นคนที่บ้างานการลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ ดูเหมือนว่าการลงทุนอาจจะสำคัญกว่าครอบครัวด้วยซ้ำ เขาเป็นคนที่ทำงานหนักและมีวินัยการทำงานสูงมาก เป็นคนที่ยืนหยัดในความคิดของตนเองสูงมากดังนั้นเขาจึงเป็นคนที่มีเพื่อนน้อย และก็เช่นเดียวกับนักลงทุนเอกของโลกทั้งหลาย เขาเป็นคนที่สมถะมาก แต่ก็แทบไม่บริจาคเงินกับสาธารณกุศลเลย เขาตายในปี 1983 ด้วยวัย 85 ปี
โลกจดจำไพร้ซ์ในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกคนสำคัญในการลงทุนแบบ Growth Investment แต่คนที่มีเครดิตที่ไม่น้อยหน้ากันก็คือ ฟิลิป ฟิสเชอร์ ผู้เขียนหนังสือ Common Stock and Uncommon Profit ที่บางคนก็ถือว่าเป็น บิดาแห่งหุ้นโตเร็วเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม Growth Investment นั้น ไม่สามารถเปรียบเทียบกับ Value Investment ได้ในแง่ของการวิเคราะห์หุ้น ถ้าจะเปรียบเทียบก็อาจจะคล้ายกับศาสนา Growth อาจจะเป็นแค่นิกาย แต่ Value นั้นเปรียบเสมือนศาสนา เนื้อหานั้นต่างกัน บางที คุณอาจจะต้องเป็น Value ก่อนที่จะเป็น Growth Investor เพราะการเป็น Value นั้นเป็นเสมือนเบสิคหรือพื้นฐานในการเรียนรู้แนวทางอื่นต่อไป
ที่มา http://203.150.20.122/~thaivi/board/vie ... view=print
ถ้าจะให้ Vote กันว่าใครคือคนที่จะเรียกว่าเป็น “Father Of Growth Stock” หรือ “บิดาแห่งการลงทุนในหุ้นโตเร็ว” คนที่จะได้รับคะแนนสูงสุดน่าจะเป็น T. Rowe Price เหตุผลก็คือ เขาเป็นคนแรก ๆ ในตลาดหุ้นนิวยอร์คที่พูดถึงวิธีการลงทุนในหุ้นที่โตเร็วซึ่งคนยังไม่สนใจกัน เพราะก่อนหน้าที่เขาจะพูดนั้นนักลงทุนในวอลสตรีทต่างก็มองว่าหุ้นทุกตัวนั้นเป็นหุ้น Cyclical หรือหุ้นวัฏจักร นั่นคือ มันจะขึ้นลงตามวัฏจักรของเศรษฐกิจ แต่ ที โรว์ ไพร้ซ์ มองต่างออกไป ในปี 1939 เขาเขียนว่า “กำไรของบรรษัทส่วนใหญ่จะผ่านวัฏจักรของชีวิตซึ่งคล้าย ๆ กับชีวิตของคนที่มีช่วงชีวิตสำคัญสามช่วง นั่นคือ เติบโต อิ่มตัว และเสื่อมถอย” ดังนั้น เขาจึงกำหนดแผนการลงทุนที่จะทำให้เขาสามารถเอาชนะตลาดได้โดยการลงทุนในช่วงต้นของวัฏจักร โดยวิธีการนี้และหลังจากการวิเคราะห์อย่างเข้มข้น เขาได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัทที่คนยังไม่ค่อยรู้จักแต่กำลังเติบโตหลายบริษัทเช่น IBM โคคาโคล่า P&G ดาวเคมิเคิล และถือไว้จนกระทั่งมันทำกำไรให้เขามหาศาล
การค้นหาและเลือกหุ้นโตเร็วของไพร้ซนั้นแตกต่างจากวิธีการของ Value Investor อย่าง เบน เกรแฮม ชัดเจน ไพร้ซมองว่าการใช้ข้อมูลทางด้านปริมาณเช่นกำไรหรือยอดขายในการเลือกหุ้นนั้นเป็นวิธีที่ไม่ยืดหยุ่นและไม่สามารถป้องกันข่าวร้ายที่ไม่คาดคิดได้ วิธีของไพร้ซ์นั้น เขาจะมองหาบริษัทอันดับหนึ่งหรือสองในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่กำลังเริ่มต้นและ “มาแรง” ที่แสดงตัวเลขยอดขายที่เป็นหน่วยเติบโตอย่างมั่นคงและต่อเนื่องเช่นเดียวกับกำไรที่เติบโตตามกันไปถึงแม้ว่าธุรกิจจะอยู่ในช่วงวัฏจักรที่ตกต่ำ และเมื่อเขาเจอบริษัทดังกล่าวแล้ว สิ่งที่ไพร้ซ์จะต้องวิเคราะห์ต่อก็คือ บริษัทนั้นควรจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ข้อหนึ่ง บริษัทจะต้องมีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาทั้งทางด้านผลิตภัณฑ์และการตลาดที่โดดเด่นเหนือกว่าคู่แข่ง
ข้อสอง ไม่มีการแข่งขันแบบเอาเป็นเอาตายเช่นการตัดราคาสินค้ากันในธุรกิจ
ข้อสาม ค่อนข้างจะถูกควบคุมโดยกฎหมายหรือรัฐบาลน้อยกว่าธุรกิจโดยทั่วไป
ข้อสี่ ต้นทุนทางด้านแรงงานต่ำแต่บริษัทจ่ายค่าแรงพนักงานดีกว่าบริษัทอื่น
ข้อห้า บริษัทมีผลตอบแทนจากเม็ดเงินที่ลงทุนในธุรกิจไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี มีกำไรต่อยอดขายที่สูงและต่อเนื่อง และมีการเติบโตของกำไรต่อหุ้นที่โดดเด่น
หลังจากลงทุนไปแล้ว ไพร้ซ์จะขายหุ้นเมื่อบริษัทนั้น “อิ่มตัว” แล้ว ซึ่งปกติมักจะกินเวลาเป็นสิบปีขึ้นไป แต่สัญญาณที่แสดงว่าบริษัทเริ่มอิ่มตัวอย่างชัดเจนนั้นก็คือ การลดลงของยอดขายต่อหน่วย กำไรต่อยอดขาย และผลตอบแทนต่อเม็ดเงินลงทุน นอกจากนั้น ไพร้ซ์ยังจับตาดูเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ที่อาจทำให้เขาขายหุ้น
ข้อหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารที่แย่ลง
ข้อสอง ตลาดเริ่มอิ่มตัว
ข้อสาม ลิขสิทธิ์หมดอายุหรือการคิดค้นใหม่ทำให้สินค้าเดิมมีค่าน้อยลง
ข้อสี่ การแข่งขันรุนแรงขึ้น
ข้อห้า สภาพแวดล้อมทางด้านกฎหมายหรือข้อกำหนดของรัฐเป็นอุปสรรคมากขึ้น
ข้อหก ค่าแรง วัตถุดิบ หรือภาษี เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
ถึงช่วงกลางทศวรรษที่ 1960 ชื่อเสียงของไพร้ซ์ก็โด่งดังและเขามีสาวกที่ติดตาม “แนวทางของ ที โรว์ ไพร้ซ์” จำนวนมาก และหุ้นที่ไพร้ซ์ชื่นชอบกลายเป็น “หุ้น ที โรว์ ไพร้ซ์” ที่ทุกคนอยากมีไว้ในพอร์ต พอถึงปลายทศวรรษหลังจากที่แนวความคิดของเขากลายเป็นกระแสหลักในตลาดหุ้น ไพร้ซ์ก็เริ่มคิดว่าหุ้นเติบโตเหล่านั้นเริ่มจะแพงเกินไปเขาจึงขายกิจการบริหารกองทุน T. Rowe Price & Associates ของเขาทิ้งและถอนการลงทุนในหุ้นโตเร็วที่แพงเกินไป พอถึงปี 1974 เมื่อ “ฟองสบู่” ของหุ้นโตเร็วแตกและราคาหุ้นโตเร็วตกกันลงมาถึง 70-80% ชื่อของไพร้ซ์จึงดังเป็นพลุอีกครั้งหนึ่ง หลังจากตลาดหมีที่รุนแรงในปี 1973-1974 ราคาหุ้นโตเร็วตกลงมามาก ไพร้ซ์กลับเข้ามาซื้อหุ้นโตเร็วอีกครั้งแม้ว่าหลายตัวจะไม่ใช่หุ้นตัวเดิม เช่นหุ้นของพวกเคเบิลทีวี เหตุผลของไพร้ซ์ก็คือ หุ้นโตเร็วหมดความนิยมลงและนั่นคือเวลาซื้อหุ้นอีกครั้งหนึ่ง และนี่ก็เป็นนิสัยของไพร้ซ์ตลอดมาที่เป็น Contrarian หรือเป็นคนที่ชอบมองสวนกระแสหรือที่ในวงการหุ้นบ้านเราเรียกว่าเป็น “ชาวสวน” และก็เช่นเคย ไพร้ซ์ประสบความสำเร็จในการลงทุน
ชีวิตส่วนตัวของไพร้ซ์นั้น เขาเรียนจบทางด้านเคมีแต่ผันตัวเองเป็นนักบริหารการลงทุน เขาเป็นคนที่บ้างานการลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ ดูเหมือนว่าการลงทุนอาจจะสำคัญกว่าครอบครัวด้วยซ้ำ เขาเป็นคนที่ทำงานหนักและมีวินัยการทำงานสูงมาก เป็นคนที่ยืนหยัดในความคิดของตนเองสูงมากดังนั้นเขาจึงเป็นคนที่มีเพื่อนน้อย และก็เช่นเดียวกับนักลงทุนเอกของโลกทั้งหลาย เขาเป็นคนที่สมถะมาก แต่ก็แทบไม่บริจาคเงินกับสาธารณกุศลเลย เขาตายในปี 1983 ด้วยวัย 85 ปี
โลกจดจำไพร้ซ์ในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกคนสำคัญในการลงทุนแบบ Growth Investment แต่คนที่มีเครดิตที่ไม่น้อยหน้ากันก็คือ ฟิลิป ฟิสเชอร์ ผู้เขียนหนังสือ Common Stock and Uncommon Profit ที่บางคนก็ถือว่าเป็น บิดาแห่งหุ้นโตเร็วเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม Growth Investment นั้น ไม่สามารถเปรียบเทียบกับ Value Investment ได้ในแง่ของการวิเคราะห์หุ้น ถ้าจะเปรียบเทียบก็อาจจะคล้ายกับศาสนา Growth อาจจะเป็นแค่นิกาย แต่ Value นั้นเปรียบเสมือนศาสนา เนื้อหานั้นต่างกัน บางที คุณอาจจะต้องเป็น Value ก่อนที่จะเป็น Growth Investor เพราะการเป็น Value นั้นเป็นเสมือนเบสิคหรือพื้นฐานในการเรียนรู้แนวทางอื่นต่อไป
ที่มา http://203.150.20.122/~thaivi/board/vie ... view=print
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1116
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนแบบ GI ในตำนานมีใครบ้างครับ
โพสต์ที่ 9
พิมพ์นานมากแล้ว ครับ คงมีแต่ของเก่า ลองหาดูครับ
http://หนังสือหุ้นเก่า.blogspot.com/201 ... ost_9.html
http://หนังสือหุ้นเก่า.blogspot.com/201 ... ost_9.html