ย้อนรอยหุ้นปิคนิค ฝันร้ายของนักลงทุน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ktoa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 178
ผู้ติดตาม: 0

ย้อนรอยหุ้นปิคนิค ฝันร้ายของนักลงทุน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สำหรับนักลงทุนที่เพิ่งเข้าตลาดหุ้นอาจจะยังไม่รู้จักคดีหุ้นปิคนิคที่ผู้บริหารสร้างราคาหุ้นด้วยการบิดเบือนข้อมูลทางบัญชี สร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนจำนวนมาก

หุ้นตัวนี้ซื้อขายคึกคักมากในช่วงปี 2547 โดยวิ่งจากราคาต่ำกว่า 1 บาทไปถึง 14 บาทภายในระยะเวลาหนึ่งปีครึ่ง

บริษัทมีกำไรเติบโตแบบก้าวกระโดดโดยเฉพาะช่วงปี 2546 มีกำไรสุทธิ 265 ล้านบาทแต่ในปี 2547 มีกำไรถึง 735 ล้านบาทนอกจากนี้ผู้บริหารยังตั้งเป้าที่จะเติบโตเป็นธุรกิจหมื่นล้าน แต่ฝันร้ายก็มาถึงเมื่อ กลต ค้นพบสิ่งผิดปกติทางบัญชีและได้ขอให้ผู้ตรวจสอบเอินส์ท แอนด์ ยัง เข้าไปตรวจสอบบัญชีอย่างละเอียดถี่ถ้วนและพบว่า

- ปี 2547 ปิคนิคซื้อถังแก็สมา 1900 ล้านบาท ตัดค่าเสื่อม 30 ปี (ปีละ 63 ล้านบาท) แล้วนำมาให้เช่าปีละ 180 ล้านบาท บันทึกเป็นรายได้โชว์กำไรได้ปีละเกือบ 120 ล้านบาท ปิคนิคเปลี่ยนวิธีทางบัญชีการขายแก๊สพร้อมถังให้กับโรงบรรจุแก๊สทั้ง 10 โรงจากเดิมที่โรงงานต้องจ่ายค่ามัดจำถังแก๊สแล้วใช้ไปได้เรื่อยๆรวมทั้งยังสามารถขอเงินค่ามัดจำคืนได้เมื่อไม่ใช้งาน

เปลี่ยนการบันทึกบัญชีเป็นสัญญาเช่าใช้งานสามปีโดยจ่ายค่าเช่าเป็นรายปีค่าเช่าทั้งหมดเทียบเท่ากับค่ามัดจำที่เคยทำไว้จึงทำให้บริษัทสามารถบันทึกรายได้ในปี 2547 ได้ถึง 180 ล้านบาททั้งที่ กลต มองว่าควรจะเข้าไปอยู่ในส่วนของเจ้าหนี้การค้าในงบดุลมากกว่าสำหรับเงินมัดจำ

- ให้โรงงานบรรจุแก๊สทั้ง 10 แห่งซื้อแก๊สจากปิคนิคในราคาสูงกว่าที่ซื้อจากคู่แข่งรายใหญ่ เช่น ปตท 2-3 บาทต่อกิโลกรัมรวมเป็นเงิน 1,700 ล้านบาท ถ้าซื้อราคาตลาดจะประหยัดเงินได้ถึง 300 ล้านบาท เนื่องจากมีผู้บริหารบางคนเป็นเจ้าของโรงงานแก๊สด้วยจึงสามารถทำให้เกิดธุรกรรมประเภทนี้ได้ทำให้รายได้ของปิคนิคสูงเกินจริง

- ปิคนิคซื้อบริษัทย่อยมาสองแห่งในปี 2547 แต่เนื่องจากสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นค่าความนิยมซึ่งสูงถึง 1,049 ล้านบาทคิดเป็น 70% ของราคาที่ซื้อ 1,481 ล้านบาท และบริษัททั้งสองมีกำไรในปี 2547 แค่ 8 ล้านบาททำให้ค่าความนิยมดังกล่าวไม่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับปิคนิคได้ภายใน 20 ปีตามนโยบายบัญชี แนวๆซื้อบริษัทมาด้วยค่าความนิยม 1,049 ล้านบาทแต่สร้างกำไรได้แค่ 8 ล้านบาทต่อปี ต้องใช้เวลาเกือบ 130 ปีถึงคืนทุน กลตจึงเนาะนำให้ตัดค่าความนิยมเป็นค่าใช้จ่ายไปเลย

- ผู้บริหารปล่อยเงินกู้ 85 ล้านบาทแก่นิติบุคคลรายหนึ่งแต่เงินทั้งหมดโอนเข้าบัญชีของผู้บริหาร

บทเรียนของหุ้นปิคนิคน่าจะเป็นเครื่องเตือนใจให้นักลงทุนไม่มองหุ้นในแง่ดีเกินไปเมื่อเทียบกับพื้นฐานธุรกิจ เช่น นักลงทุนคอยติดตามธุรกิจมาตลอดและพบว่าธุรกิจนี้ไม่น่าจะมีกำไรเติบโตมาก แต่กลับรายงานออกมาดีเกินคาดนักลงทุนจะต้องวิเคราะห์งบการเงินอย่างละเอียดถ้าดีจริงก็ดีไปแต่ถ้าไม่ดีจะได้ไม่หลงกลไปลงทุนเหมือนหุ้นปิคนิคที่กำไรสุทธิเติบโตอย่างงดงามแต่ไม่มีใครรู้เบื้องหลังจนวันที่เรื่องเปิดเผยออกมา #แชร์หุ้นปิคนิค

CR: Billionaire VI
Night90
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

Re: ย้อนรอยหุ้นปิคนิค ฝันร้ายของนักลงทุน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ในเคสนี้งบที่เราอ่านมีกลิ่นอะไรมั๊ยครับ แล้วผู้สอบบัญชีให้ความเห็นยังไงบ้าง
โพสต์โพสต์