ช่วงที่ 2 “แชร์ประสบการณ์และเคล็ดลับการลงทุนหุ้น”
1) คุณ วัชระ แก้วสว่าง / ผู้เชี่ยวชาญหุ้นแนวเทคนิค
2) คุณ เจษฎา สุขทิศ / ผู้ก่อตั้ง FINNOMENA
3) ดร.สมจินต์ ศรไพศาล / ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนผ่านกองทุนรวม
4) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร / ผู้เชี่ยวชาญหุ้นแนวเน้นคุณค่า
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
กลอนเปิด อ.เสน่ห์
“ประสบการณ์ ประสบกรรม นำมาแชร์ เป็นบทเรียน ของแท้ ไว้แก้ไข
พร้อมสูตรเด็ด เคล็ดลับ ประทับใจ จะลงทุน หุ้นอย่างไร ให้ถูกทาง
ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคนิค พลิกชนะ คือเซียนป๋อง วัชระ แก้วสว่าง
มีวิชา น่าเรียนรู้ สู้ทุกบาง เป็นตัวอย่าง นักลงทุน หุ้นสถานการณ์
ฟินโนมีน่า ปรากฏการณ์ ชั้นแนวหน้า คุณเจษฎา สุขทิศ คิดแตกฉาน
เทคโนโลยี ลงทุน หุ้นชำนาญ ผู้เชี่ยวชาญ หุ้นไทยเทศ ทุกเขตคาม
ดร.สมจินต์ ศรไพศาล ชำนาญยิ่ง ทีเอ็มบี อีสต์สปริง สิงห์สนาม
กองทุนรวม พึ่งได้ ในทุกยาม ผู้นิยาม จัดทัพ รับลงทุน
ประสบการณ์ ผ่านวิกฤติ พิษฟองสบู่ ต้องกูรู ต้นตำรับ รับมือหุ้น
ดร.นิเวศน์ เจ้าวีไอ ใจการุณ ไม่ว้าวุ่น หุ้นขึ้นลง คงกำไร
ฟังมือเก๋า เล่าให้ฟัง ทั้งข้อคิด เพื่อพิชิต ความสำเร็จ ทีเด็ดได้
ตลาดหุ้น แบบนี้ มีอะไร จะอ่อนไหว หรือไปต่อ ขอฟันธง”
เงินลงทุนในหุ้น และวิธีการลงทุนของแต่ละท่าน
อ.นิเวศน์
ลงทุนหุ้นเป็นหลัก 90% เงินสด 10%
มีที่เมืองไทยเป็นตัวๆมีไม่มากคิดเป็น 80% ของพอร์ตหุ้น
แต่ไม่ได้ซื้อขายนานเป็นปีแล้ว
ที่เวียดนามมีหุ้นกระจายมาก แต่คิดเป็น 10% ของพอร์ตหุ้น
ที่เมืองไทยไม่มีค่าฝากหุ้น แต่ที่เวียดนามมี แม้จะไม่ได้เทรด
คิดตามจำนวนหุ้นยิ่งมากยิ่งเสียมาก
เสี่ยป๋อง
เดิมลงทุนหุ้น 100% เมื่อ 2-3 ปีก่อน เริ่มกังวลจึงแบ่ง 10%
ไปซื้ออพาร์ตเมนต์ให้เช่า เป็น passive income
เป็นสิ่งที่คนในอยากออกคนนอกอยากเข้า บางทีก็อยากขายเหมือนกัน
มีปัญหาจุกจิกผู้เช่า บางห้องทะเลาะกัน บางห้องก็จ่ายมาเก็บของ จนมีกลิ่นขึ้นรา
ปัจจุบันแบ่งเพิ่มอีก 10% ไปลงทุนหุ้นก่อนเข้าตลาด, startup ,คอนโดให้เช่า,ทองคำบ้าง
วิธีการที่ใช้ตั้งแต่เรียนมา 20 กว่าปีก่อน ก็อาศัยการถาม การฟังจากคนอื่น
ตอนหลังเริ่มมีคนแนะนำเทคนิคอล จึงพอมีแนวทาเอาตัวรอดได้
ส่วนตัวก็ชอบและแนะนำแนวทางพื้นฐาน เพียงแต่ความถนัดส่วนตัวใช้เทคนิคอล
ที่ผ่านมาก็ได้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ ยกเว้นสองปีนี้เล่นยาก
คุณเจษฏา
ช่วง 4 ปีหลังไม่ได้เป็นผู้จัดการกองทุนแล้ว จึงลงทุนหุ้น 100%
ก่อนหน้านี้เคยบริหารกองทุน LTF,ตราสารหนี้, REIT,Property fund หรืออนุพันธ์ต่างๆ
ซึ่งเงินส่วนตัวลงทุนผ่านกองทุนรวมเป็นหลัก
ที่จริงกฏหมายไม่ได้ห้ามผจก.ลงทุนในหุ้น แต่มีขั้นตอนกฏระเบียบมาก
โดยปัจจุบันมีหุ้น 50% ตั้งแต่ปลายปีก่อน ไปถือตราสารหนี้ระยะยาว 20 ปี และทองคำ
ซึ่งซื้อกองทุนที่ไม่มีความเสี่ยงค่าเงินคือ TMBGoldH
สมัยทำ AJF รายงานกับผู้จัดการกองทุนที่ฮ่องกง หรือตอนทำ CIMB ก็มีการทำงานร่วมกับทีม regional
จะได้เรียนรู้วิธีเลือกหุ้นแต่ละแบบ ซึ่งส่วนตัวก็ได้กลับสู่สามัญคือวิธี bottom up
หุ้นในพอร์ตตอนนี้มาจากเห็นคนไทยเล่นอินเทอร์เน็ตมาก 8-9 ชม.ต่อวัน
มี user 44 ล้านคน เล่นไลน์เฉลี่ยคนละ1 ชม. ซึ่งสมัยนี้พฤติกรรมคนเป็น Crowdsourcing
คือมีพฤติกรรมที่ฝูงชนจะตัดสินใจตามกัน เปรียบเทียบไลน์ market cap 2 แสนล้านบาท
รู้สึกว่าไม่สมเหตุสมผลเท่าไร เมื่อเทียบกับ facebook
ก็มีบางบริษัทในไทยที่อาศัยประโยชน์ตรงนี้มาสร้างรายได้ธุรกิจ
อ.สมจินต์
ส่วนตัวลงทุนในหุ้นโดยตรงส่วนหนึ่ง กับลงทุนโดยอ้อมผ่าน กองทุนต่างๆ, LTF,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
คิดว่าสัดส่วนเป็นหุ้นรวมแล้วราว 80%
อ.เสน่ห์
ซื้อไว้นานแล้ว ไม่ขาย เพราะขายไม่ได้ ได้ยึดนคร และเสียนครไปหมดแล้ว
เช่น มหานคร,ศรีนคร,นครธน (หุ้นปิดกิจการ)
ซึ่งนั่นเป็นเงินในอดีต ตอนนี้สร้างพอร์ตตัวเองดีสุด ไปพูดที่ไหนเอาปากไป ไม่ต้องไปซื้อ
พอมีเงินมาส่วนหนึ่งก็ให้ Private fund ของ TMB บริหารอยู่
เราต้องเป็นนักลงทุนมืออาชีพที่ใช้มืออาชีพในการลงทุน
ดร.นิเวศน์
เกือบ 20 ปีที่ผ่านบัฟเฟตต์ผลตอบแทนได้ 7-8% หากเทีบบก็ป็นนักลงทุนธรรมดา
แต่ที่ผ่านมาเขาทำผลงานไว้สูงมาก ถ้าใหญ่ได้ขนาดนี้ก็ยากที่จะทำให้ได้ดีๆเหมือนเดิม
ส่วนตัวที่ผ่านมาก็ขี่กระแสต่างๆมาตลอด ตอนนี้ก็คิดว่าเมืองไทยกระแสสุดท้ายแล้ว
อีก 3-4 ปี เมืองไทยก็เป็นสังคมคนแก่ และอีก 10 กว่าปีจะเป็นสังคมคนแก่ยิ่งยวด
ต่อไปคนทำงานก็ลดลง คิดว่าต้องประคองให้ได้ 10% ไปเรื่อยๆก็มากแล้ว
ช่วงหลังไม่รู้จะซื้อหุ้นตัวไหนดี ที่จะปลอดภัยหน่อย
อ.ไพบูลย์
ที่ผ่านมาลงทุนหุ้น 70% พอใหญ่ขึ้นมาเรื่อยกลายเป็น 90-95% ที่เหลือเป็นเงินสด
เคล็ดลับความสำเร็จ
เสี่ยป๋อง
มี 3 ข้อ 1) ถูกตัว 2)ถูกจังหวะ 3)ถูกใจ
บางทีซื้อถูกตัว ไม่ถูกจังหวะ ก็รอไม่ไหว
ถูกใจคือ ถ้าเราพอใจ 20% ก็ขาย
หุ้นไม่ได้ขึ้นอย่างเดียว เวลาตกเท่าไรก็ไม่รู้ เวลาเอากราฟเข้ามาจับจะช่วยให้เราขายมานั่งดู
ทำให้รอดวิกฤติมาได้หลายรอบ อย่างเช่นตอน subprime ตก 100 จุดแรกก็ซื้อกันใหญ่
พอตก 200 จุดคนเริ่มรู้ แต่กว่าจะเข้าใจก็ตกมา 500-600 จุด
ซึ่งเทคนิคอล ไม่ต้องรู้เรื่องเลย แต่กราฟเสียก็ต้องขาย
สมัยนี้นักลงทุนก็เก่งกันเยอะ มีข่าวสารเยอะ มีเครื่องมือลงทุนใหม่ๆ
(พูดเสริมทีหลัง) เคล็ดลับอีกอย่าง “ใช้กราฟ มีวินัย”
ทุกวันไปทำงานก็ดูหุ้นตั้งแต่เช้าถึงเย็น พยายามค้นพบให้ได้ว่าคนจะใช้วิธีไหน
ซึ่งตัวเองดูพื้นฐานและหาจังหวะในการซื้อขาย ที่ผ่านมารอดตายเพราะมีวินัย
ถ้าซื้อหุ้นตัวหนึ่งกราฟสวย พื้นฐานดี กราฟเสียก็ขายออกมานั่งดู กราฟสวยใหม่ก็ซื้อใหม่
รบไป 10 ครั้ง ชนะ 6 ครั้งก็พอแล้ว
อย่างรับเหมา ก่อนหน้านี้ก็เราพรวดพราด ไม่รู้เพราะอะไร สักพักถึงรู้ว่า งบไม่ดี
ถ้าไม่ดูกราฟก็รู้ช้าไปแล้ว การขายไปไม่ใช่เรื่องผิด ตอนเราซื้อกลับก็ได้หุ้นเพิ่มอีก
"ทุกคนต้องไปค้นพบให้ได้ว่าใช้วิธีไหน ที่ถนัดกับเรา แล้วก็ลงมือทำมัน"
คุณเจษฏา
จากที่ลงทุนเองเต็มเวลาก็ล้มลุกคลุกคลาน มีเคล็ดลับ 2 ประเด็น
1)เลือกความเสี่ยงที่เราถนัด โปรดศึกษาเครื่องมือตัดสินใจจาก app finnomina(แอบโฆษณา)
คือ ความถนัด สิ่งแรกที่เปิดพอร์ตหุ้นชื่อตัวเองตื่นเต้นมาก
ตอนแรกอยากลองเทรด DW, Option เพราะเลยเคยทำ Swop มา ชอบคำนวณโมเดล
ซึ่งช่วงแรกต้องคัทลอสเลย ต้องเปลี่ยนชื่อ DW เป็น Dead Warranty เจ๊งหมด
เราเลยพบว่า Market risk ไม่เหมาะกับเรา ชอบเลือกหุ้นเป็นรายตัวมากกว่า
ซึ่งที่เราชอบคือ liquity risk พวกที่เป็นเพชรในตม คนไม่รู้จัก ซึ่งคนขายใส่ก็ลงเยอะ ซื้อใส่ก็ขึ้นเยอะ
แต่ส่วนตัวยอมรับได้ ถ้าพื้นฐานยังดี ก็ลงทุนได้
2) อย่าไปอินกับมันมาก เพราะคนเยอะมาก ที่ทำงานประจำมีสิ่งที่ต้องทำทุกวัน
อย่าไปหมกมุ่นกับหุ้นมาก
อีกอย่างคือทำในสิ่งที่สำคัญ สิ่งที่มีความหมาย การตื่นมาทำอะไรซักอย่าง
ดิ้นรนเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการมนุษย์
ถ้าตื่นมาแล้วไม่รู้ทำอะไร คือใกล้จบวิวัฒนาการแล้ว
อีกอย่างมนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีเพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน การสืบพันธ์
ถ้าไปอินกับการลงทุนมากจะเสียวิวัฒนาการของตัวเอง
“เลือกรับความเสี่ยงที่ใช่ ลงทุนไป อย่าไปอินกับมันมาก”
อ.สมจินต์
ชีวิตคนเราเกิดขึ้นมาเป็นเด็ก มีชีวิตชีวา โตเป็นวัยรุ่นมีพละกำลัง
ทำงาน สร้างครอบครัว และเกษียณไม่ได้ทำงาน เป็นคุณตาคุณยายที่เหมือนหลาน
แต่ละช่วงชีวิตของเรามีความงามอยู่ ในอดีตที่ผ่านมาเรามีภาพของการเติบโต GDP สูง
โอกาสทำกำไรในตลาดหุ้นมาก ทำให้หลายคนประสบความสำเร็จได้
90 กว่าปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นให้ผลตอบแทน 10-20% แต่พันธบัตรให้ผลตอบแทน 5-6%
ปัจจุบันพันธบัตรอเมริกาหรือไทย 1.5-2% ถือว่าเยอะมาก
ถ้าเทียบกับพันธบัตรอีกหลายประเทศที่ติดลบจากระยะเวลาที่ยาวนาน
เป็นการสะท้อนภาพว่าการเติบโตต่ำทั้งโลกไม่ใช่แค่ประเทศไทย รวมถึงปริมาณเงินที่เยอะขึ้น
ถ้าหากโลกของเรามีหุ้น และมองแต่หุ้นก็จะมองเห็นผลตอบแทนน้อยลง และการเติบโตลดลง
ในทำนองเดียวกันถ้ามองแต่พันธบัตร
ผลตอบแทนจากการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรลดลง การเติบโตก็ลดลงด้วย
เคล็ดลับที่จะประสบความสำเร็จคือ การมีมุมมองที่ครบถ้วนสมบูรณ์
ในการเห็นสิ่งต่างๆ อย่างกว้างขวาง และมองออกไปไกลพอสมควรด้วย
ถ้าเรามองหุ้นแล้วกลัว ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยโลกยังอยู่ในระดับต่ำ และยังคงอยู่ไปอีกนานพอสมควร
รวมถึงอัตราเงินเฟ้อก็ไม่สูงมากนัก
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเสมอคือ การกลัวลงไปแล้วไม่ได้ลงทุน ได้ผลตอบแทนใกล้ 0 หรือ ติดลบ
หรือการกล้าเกินไปลงทุนที่ระดับความเสี่ยงเรารับไม่ได้
New normal เป็นอัตราผลตอบแทนที่จะน้อยลง ถ้าเราเข้าใจและยอมรับความคาดหวังใหม่ได้
เราก็จะสามารถจัดทัพลงทุนให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงใหม่ได้ และมีความคาดหวังใหม่ที่ถูกต้อง
เพื่อให้ ทัพลงทุน สามารถอยู่กับเราไปได้อย่างต่อเนื่อง
เคล็ดลับเริ่มจากการรู้เขารู้เรา ว่าสินทรัพย์ต่างๆได้ผลตอบแทนน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรหรือหุ้น
ส่วนตัวยังเชื่อว่า หุ้นเป็น high risk high return ที่มีความผันผวนมากกว่า แต่ผลตอบแทนดีกว่า
และยังมีปันผลพอสมควร SET ราว 3% S&P ราว 2%
สิ่งที่สำคัญคือ มูลค่าทรัพย์สินต่างๆที่ขึ้นมา และมีความผันผวน
จึงมีความจำเป็นที่เราต้องเข้าใจ และรับความเสี่ยงได้
ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า “เราจำเป็นต้องขายในบางช่วงเวลาที่สั้นเกินไปหรือเปล่า “
หากเราถือครองได้ยาวนานพอจะผ่านความผันผวน โดยพึ่งพาเงินจากปันผล
แล้วถือครองไปได้ยาวๆ จะ ทำให้เราลงทุนได้ต่อไป
สิ่งที่มักแนะนำผู้ลงทุนทั่วไป ให้แบ่งเงินลงทุนเป็น 3 ส่วน
1.กองหน้า เงินที่ตั้งใจสร้างความมั่งคั่งระยะยาว ถือครองได้ 1 วงจรเศรษฐกิจ หรือ 7 ปีขึ้นไป
2.กองหลัง เงินที่ต้องใช้ใน 1 ปี อย่าไปเสี่ยง กองทุนตราสารตลาดเงิน ตราสารหนี้ระยะสั้น
3.กองกลาง เงินที่ไม่ต้องใช้ใน 1 ปี แต่ก็อยู่ไม่ถึง 1 วงจรเศรษฐกิจ ลงทุน กองทุนตราสารหนี้
หรือ Property fund ที่มีการกระจายความเสี่ยง และมีกระแสรายได้เสถียรพอสมควร
การลงทุนแบบนี้เป็นการจัดทัพลงทุนมุ่งวัตถุประสงค์
โดยรู้ว่าถือครองได้นานแค่ไหน และเผชิญความผันผวนได้แค่ไหน
เป็นการลงทุนที่ไม่ได้คาดหวังว่ามันจะขึ้นอย่างเดียว แต่เรายอมรับได้และอยู่กับกระแสรายรับที่ได้มา
ถ้าพูดถึงวินัย เชื่อว่าการลงทุนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เป็นเคล็ดลับในการประสบความสำเร็จ
การลงทุนอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนเฉลี่ยและไม่ถูกบังคับให้ต้องขายออกไปง่ายๆ
และการที่ลงทุนด้วยเงินที่เท่าๆกันไปเรื่อยๆจะมีความได้เปรียบต้นทุน
เป็นหลักแบบเกษตรกร ถ้าหว่านมากก็เก็บเกี่ยวมาก หว่านน้อยก็เก็บเกี่ยวน้อย
นอกจากนั้นต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายหนักๆ ต้องระมัดระวังเรื่องความโลภ ของเรา
หลายคนที่เจ็บปวดเพราะได้ข่าวราคาหุ้นขึ้นเยอะ
แล้วไปทุ่มลงทุนหนักๆ หรือตราสารใหม่ๆ อย่าง cryptocurrency
ความเสี่ยงในการกระจุกตัวถ้าหลีกเลี่ยงได้ ก็จะสร้างความสำเร็จแบบค่อยๆไปได้
อีกอย่างที่ฝากไว้ ที่บัฟเฟตต์เคยบอกไว้ว่าต้องตอบให้ถูกต้อง 2 คำถาม
1. What to buy 2. At what price
สิ่งที่ต้องตอบ 2 คำถามนี้มีอะไรเยอะมาก
บริษัทอะไรที่ดี และราคาแค่ไหนน่าสนใจ เหมาะสมหรือไม่
วิธีตอบของกองทุนที่ชอบมากคือ เวลลิงตัน โกลบอลควอลิตี้โกรธ
วิธีการเลือกหุ้นเราเอาไปประยุกต์ใช้ได้
มี 4+1 คือ ทำการศึกษาและดูว่าอะไรเป็นปัจจัยในการพยากรณ์ผลตอบแทนที่ดีที่สุดของหุ้น
1.คุณภาพบริษัท ถ้าดีมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
นิยามคือ มี Margin สูง ขายของดีได้ในราคาดี ควบคุมต้นทุนได้ดี
ควรเป็น cash flow margin คือสามารถต่อรองและเก็บเงินได้ดีด้วย
2.โอกาสเติบโต ถ้ามีปัจจัยการเติบโตดียิ่งดี cash flow growth
หรือ cash flow margin growth เป็นอย่างไร
3. cash flow yield ถ้าต่ำก็อาจรอก่อน
4. capital return ควรจริงใจกับผู้ถือหุ้น กำไรก็จ่ายปันผล หรือซื้อหุ้นคืน
และ +1 ที่บอก คือ ปัจจัยทาง Macro หรือวงจรเศรษฐกิจมีส่วนกระทบให้ปัจจัยข้างต้นส่งผลต่างกัน
ในช่วงขาขึ้น มี growth และ cash flow yield
แต่ในวงจรขาลง good quality กับ cash flow margin สูง จะตกลงน้อยกว่า
ด้วยการดูปัจจัยข้างต้นประกอบกันจะทำให้ลงทุนในขาขึ้นขึ้นได้มากกว่า ขาลงลงได้น้อยกว่า
นอกจากโลกปัจจุบันยังมีปัจจัยใหม่ๆ อย่าง aging society, disruption ต่างๆ
จึงไม่ควรจำกัดการลงทุนแค่ในประเทศไทย
และยึดหลัก avoid large loss จะไม่ลงทุนในหุ้นตัวใหญ่สุดมากเกินไป และกระจาย7-8 ตัว
ดร.นิเวศน์
ย้อนหลังดู สิ่งสำคัญสุดที่ประสบความสำเร็จคือ ขี้เกียจ
ขี้เกียจหาหุ้น ไม่ค่อยไปคุยผู้บริหาร ไม่ค่อยตัดสินใจขาย และรู้สึกผูกพันกับหุ้น
หลายครั้งก็โชคดีเพราะไม่ได้ขาย แล้วก็กลับขึ้นมาใหม่
บางทีมาเปรียบเทียบกับคนที่ลงทุน VI ก็รู้สึกว่าเขาศึกษาละเอียดมาก
เราไม่เคยรู้ขนาดนั้น เราดูภาพใหญ่ ดูว่าบริษัทเก่งไหม ชอบใช้ไหม เป็นผู้ชนะไหม
คำถามง่ายๆ แล้วไม่ค่อยดูรายละเอียด รู้สึกว่าตัวเองโชคดี
เห็นเซียนระดับโลกได้ 15-18% อย่างบัฟเฟตต์ได้ 20% เป็นระดับโลกไม่เจอแล้วเพราะเขาอยู่มานาน
ซึ่งต่อไปก็จะค่อยลดลงไปเรื่อยๆ หลายๆคนที่เป็นเซียนหุ้นก็โชคดีเหมือนกัน
ซึ่งผ่านไปหลายปีข้างหน้าก็อาจทำไม่ได้แล้ว
อ.เสน่ห์
ฝรั่งบอกว่า No pain No gain ต้องเจ็บบ้าง เช่น สุขภาพ บางคนคิดแต่เรื่องเงินทาง
ก็ต้องดูแลสุขภาพ ก็เป็นเรื่องเงินเหมือนกัน
ภาวะแบบนี้ต้องทำใจนิ่งๆ ได้เรียบเรียงเหตุการณ์เป็นกลอนปิดท้าย
“ผันผวน เหลือหลาย ณ ไทยแลนด์”
ยามฝนแล้ง เด็กน้อย เต้นเน้นขอฝน แล้วบัดดล ฝนเทมา เกินห่าใหญ่
จากน้ำแล้งเป็นน้ำท่วมอ่วมฤทัย เด็กต้องเต้นขออภัยให้ฝนพอ
เมื่อน้ำท่วม อย่าบุกเบิกเลิกทำนา ให้หันมาเลี้ยงปลาดีกว่าหนอ
คำแนะนำท่านนายกน่ายกยอ คงหวังให้น้ำท่วมต่อ ค่อยเลี้ยงปลา
กล่องกระพราไข่ดาว ถูกเขาร้อง เปลี่ยนมาเป็นใบตองถูกต้องกว่า
ลดพลาสติคขยะร้ายในธารา พะยูนมาเรียมตายได้บทเรียน
คิดสร้างสรรค์วาดรูปมาค่าหลายแสน พระพุทธรูปอุลตร้าแมนแม่นแปรเปปลี่ยน
บ้างรับได้บ้างตำหนิบ้างติเตียน เรื่องอวดเศียรฟ้องร้องจ้องเล่นงาน
ออกแบบชุดสุดติสต์ มิสยูนิเวิร์ส ชุดบรรเจิดผีตาโขนจนโจทย์ขาน
ไปลอกเลียนแบบเขามาหารับประทาน ต้องขอโทษที่อาจหาญ ลอกงานไป
คนเลี้ยงลิงยิ่งให้กล้วยยิ่งให้อิ่ม ลิงกลับทิ่มอิ่มไม่เป็นเห็นบ้างไหม
กินแต่กล้วยมืดตำแหน่งยิ่งแหล่งใจ อยู่ทำไมไร้ศักดิ์ศรีที่เป็นลิง
เปิดเพจมา ขายทารกนรกแท้ มันย่ำแย่ค้ามนุษย์สุดดำดิ่ง
สวัสดีประเทศไทยหลายเรื่องจริง ทำใจนิ่ง ใจร่ม ใจข่มใจ
P.S. ขอบคุณท่านอาจารย์,วิทยากรและทีมงานทุกท่านครับ
ช่วงที่1 ทางพี่อมรจะมาโพสต์เพิ่มเติมให้ครับ
MoneyTalk@SET14/9/62MBA ยุคดิจิทอล&แชร์ประสบการณ์และเคล็ดลับลงทุน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
Re: MoneyTalk@SET14/9/62MBA ยุคดิจิทอล&แชร์ประสบการณ์และเคล็ดลับลงทุน
โพสต์ที่ 2
MoneyTalk@SET 14 September 2019 13.30
ช่วงที 1 “MBA ยุคดิจิทอล ภายใต้โลกของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจและการเรียนรู้”
.
1) คุณ วรวุฒิ อุ่นใจ / ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย
2) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร / ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
3) คุณ เจนจิรา ศรีดี / ที่ปรึกษาด้าน Digital Marketing
4) รศ.ดร.ธัชวรรณ กนิษฐ์พงศ์ / Dean, NIDA BUSINESS SCHOOL
.
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
MoneyTalk ครั้งต่อไป วันเสาร์ที่ 19 ตค 2019
ช่วงที่1 มี3บริษัทมาออกรายการ ยังไม่เอ่ยชื่อ แต่เป็นหุ้นที่กำลังมาแรง หุ้นขึ้นมา20-30%
ช่วงที่2 กระแสของMegatrend เกี่ยวกับ พลังงานทางเลือก
จองวันที่12 ตค เวลา 7.00 น
มาเข้าเนื้อหาสัมมนากันครับ
อ.ไพบูลย์แนะนำวิทยากรแต่ละท่านดังนี้
คุณ วรวุฒิ อุ่นใจ หรือ คุณวรวุฒิ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เป็นศิษย์เก่ารุ่น 1 ของ Young Ex MBA จบมา25ปีแล้ว
รศ ดร ธัชวรรณ กนิษฐ์พงศ์ หรือ ดร ธัชวรรณ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ Dean, NIDA Business school
คุณ เจนจิรา ศรีดี หรือ คุณ มินท์ บริษัท Your MKT จำกัด เป็นที่ปรึกษาด้าน Digital Marketing
ดร นิเวศน์ เหมวชิรวราการ ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
เริ่มเข้ารายการ โดยคุณวรวุฒิ เป็นท่านแรกที่พูด
คุณวรวุฒิ พูดถึงหลักสูตร Young Ex MBA ซึ่งเปิดปีแรกที่นิด้า เรียน จันทร์ พุธ ศุกร์ ต้องทำcase study ตลอด
การเรียนครั้งละ 3 ชม ต้อง brain stormกันอีก 3 ชม โดยมาช่วยกันคิดเกี่ยวกับcase study
เทอมแรกยากสุด Text bookเป็นภาษาอังกฤษ สัปดาห์นึงเรียน6คน ให้อ่านทุกบทก็ไม่ทัน
ดังนั้นเราจะแบ่งกันอ่านคนละ1-2บท แล้วมาแชร์กัน
อ ไพบูลย์ ถาม อ นิเวศน์ ว่าจบที่ไหน
อ นิเวศน์ตอบว่า จบตรีวิศวะ และทำงานเป็นช่างในโรงงานน้ำตาลที่ต่างจังหวัด
ตอนนั้นคิดว่าทำอย่างไร เพราะตำแหน่งที่ทำอยู่ก็ตันที่ผู้จัดการโรงงานเท่านั้น
หวังจะเปิดโลกทัศน์ คิดว่าตอนนั้น นิด้าเป็นแห่งเดียวที่เปิดหลักสูตร MBA
เก็บเงินเรียน2ปี และมาสมัครเรียน สุดท้ายก็ไม่ได้ออกจากงาน ทำงานครึ่งเวลา และ เรียนครึ่งเวลา
เช่น วิชา Marketing เรียน 3 ชม ก็เรียนสัปดาห์นึงและหยุดสัปดาห์นึงไปทำงาน
แล้วไปตามเนื้อหาที่ไม่ได้เรียนจากเพื่อนแทน จบนิด้าและได้รับปริญญาโทมา
แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องทำแบบนี้แล้ว มีทางเลือกอื่น
อ ไพบูลย์ถาม คณบดี ดร ธัชวรรณ ว่าเรียนจบจากที่ไหน
ดร ธัชวรรณ ตอบว่า ท่านจบ ปริญญาตรี โท เอก จาก เศรษฐศาสตร์ มธ และกลับมาสอน
คณะบริหารธุรกิจที่ นิด้า สอนวิชา เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ตอนนี้เป็นคณบดี
ส่วน คุณ เจนจิรา หรือ คุณ มินท์ จบปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สาขาวิชาเอก International Management
แล้วมาต่อปริญญาโท MBA สาขาวิชาเอก การตลาดที่นิด้า
เรียน program R-MBA เรียนเช้าถึงเย็น จ-ศ ตอนนี้นิด้า เปิดหลายโปรแกรมมาก เพื่อให้นักศึกษาเลือกให้เหมาะสม
กับตัวเอง ส่วนใหญ่คนมาเรียนก็อยากทำงานไปด้วย เช่น แบบพี่วรวุฒิมาเรียน เหมาะกับเจ้าของกิจการมาเรียนด้วย
อ เสน่ห์ สอบติด คณะทันตแพทย์ จุฬา แต่ตอนวันสัมภาษณ์ เห็นว่าเป็นงานปั้น งานวาด งานศิลปะ
คิดว่าไม่ใช่เป็นอาชีพที่ชอบ ตอนทำงานก็ต้องอยู่ในห้องแคบ ไม่ได้พูดกับใคร
กลัวใครเรียกว่า หมอเสน่ห์ เลยสละสิทธิ์
แล้วไปเรียน คณะวิทยาศาสตร์ ปิโตรเลียม ที่ จุฬา แทน
ส่วน อ ไพบูลย์ จบวิศวะ จุฬา รุ่นเดียวกับ อ นิเวศน์ และมาต่อโท ที่นิด้า
เหตุผลที่พูดเรื่องหลักสูตร MBA เพราะอะไร
หลักสูตร FIRM เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ แต่วันนี้มีหลักสูตรใหม่เป็นภาคภาษาไทยมาแนะนำ
ซึ่งเหมาะกับนักศึกษาที่ไม่เก่งด้านภาษา สามารถมาเรียนหลักสูตร FIRM ภาคภาษาไทยได้
คุณวรวุฒิ ได้พูดถึงโครงสร้างค้าปลีกซึ่งเปลี่ยนแปลงมา20ปี จากการเริ่มใช้ internet ,เรื่อง E-Business
เราต้องสนใจE-Business ตัวอย่างเช่น ร้านอาหารข้างทาง มีคนที่ขายดีขึ้นเกือบ 10 เท่า เพราะปรับตัวได้
ตั้งแต่รู้จัก Grab, Food Panda ,Lineman ซึ่งเป็นบริการสั่งอาหารและมาส่งให้กับลูกค้า
การเข้ามามีส่วนรวมโดย
1.เอาร้านมาเข้าใน Wongnai เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นและมาทานที่ร้านได้
2.สั่งอาหารผ่าน Grab, Food Panda, LineMan
ร้านตัดผม ดูเหมือนไม่น่าจะได้ประโยชน์ แต่ถ้าเรามีร้านตัดผมที่สามารถใช้app ในการจองเวลาทำผม
appช่วยแนะนำการเปลี่ยนทรงผม สีผม ก็จะกระทบกับร้านตัดผมแบบดั้งเดิม
E money วันนี้เราไปเมืองจีน ถ้าไม่มีE money ก็จะเดือดร้อนในการชำระเงิน
แม้แต่ขอทานยังมี QR codeให้บริจาค
ไปรษณีย์ไทย ไม่มีรายได้จากการส่งจดหมาย ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงเป็นคนส่งพัสดุ หรือ Logistic
ซึ่งธุรกิจนี้โตเร็วมาก
ตัวอย่างเช่น บริษัท Kerry ยอดขายเพียงห้าปีโตเป็นหมื่นล้านบาทแล้ว แถมยังมีกำไรด้วย
Facebook ,Google ปกติมีคนส่งข้อมูลให้ตลอดเวลา เช่น ตอนรถติด
ก็ส่งข้อมูลให้Google Map ไม่ว่ายินยอมหรือไม่ ก็ต้องยกข้อมูลให้เขาไปแล้ว
เพราะหลังติดตั้งโปรแกรมGoogle Map และติ๊กยินยอมไปแล้ว
Device IOT ตอนนี้อยู่ที่มือถือและนาฬิกา ต่อไปมีอุปกรณ์ IOT อีกมากมาย
ถ้าเรายังเปิดร้าน หรือ ทำธุรกิจเหมือนเดิม เราจะล้าสมัยไปเรื่อยๆ จนเราต้องออกจากธุรกิจไป
ตอนนี้เป็นกันทั้งโลก ใครปรับตัวไม่ได้ก็ไปไม่รอด
คุณวรวุฒิ ใช้Projectที่ทำเพื่อจบปริญญาโทที่นิด้า มาขอกู้ธนาคาร เพื่อเปิด บริษัท Office Mate
คุณวรวุฒิ บอกว่า ผมเรียนคุ้มสุด เรียนMBA สอนทุกอย่างเรื่องการบริหารจัดการ สอนให้รู้ว่าเราไม่รู้อะไรบ้าง
แต่ถ้าสาขาอื่น เรียนแล้วอาจล้าสมัยเร็วมาก เช่น อาชีพหมอ ซึ่งต้องมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา
อาชีพผู้บริหาร เป็นอาชีพยากที่จะถูกทดแทน
ตำราMBA หลักคิดยังใช้งานได้ดี หลักสูตรไม่ตกยุค ยังทันสมัยเสมอ
ถาม อ นิเวศน์ MBA ยังใช้ประโยชน์จากที่เรียนได้ไหม
อ นิเวศน์ ตอบว่ายังใช้ประโยชน์ได้
อ ยกตัวอย่างเช่น พาหลานไปสมัครเรียนโรงเรียนอินเตอร์ เช่น โรงเรียนที่มาจากประเทศนอร์เวย์ สวีเดน
เขาบอกว่า เด็กเรียนถึงป 6 ไม่ต้องมีการบ้าน ให้ค้นหาตัวเอง
เวลาเรียนน้อยลงเรื่อยๆ สอนให้คิด เช่น ถามหลาน ว่าเรียนอะไร
เขาบอกว่าเรียนเรื่องภูเขาไฟ แล้วกดดูเนื้อหาจากGoogle ซึ่งสอนเก่งกว่าอาจารย์สมัยก่อนเยอะ
เขาจะเรียนน้อยลงเรื่อยๆ รร ที่ประเทศฟินแลนด์ ดีที่สุดในโลก
ครูจะถามว่าอยากเรียนอะไร แล้วถึงเลือกที่สนใจมาสอนให้ และดูเนื้อหาจากGoogle
ดร ธัชวรรณ บอกว่า หลักสูตรก็ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย
เช่น เรื่อง Digital HR โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย
เอา วิชาเกี่ยวกับ AI,Block chain มาเป็นวิชาเลือก
มีวิชา Fin tech มาให้เลือก จนครบวิชาบริหารธุรกิจ
แต่สำหรับนศ เก่า สามารถมาลงเป็น นศ สมทบได้
แต่สำหรับคนที่สนใจมาเรียนไปก่อน หรือ เลือกวิชาเลือกก่อนได้
ถ้าสนใจปริญญาก็ค่อยมาลงเพิ่มได้เพื่อรับปริญญาบัตรได้
ถาม อ นิเวศน์ ว่าวิชาไหนน่าสนใจ
อ ตอบว่า ต้องหาวิชาที่เอาตัวรอดตอนอายุ70-80 ปีได้ จึงดูน่าสนใจ
อ เสน่ห์ถาม ดร ธัชวรรณ เรื่อง reskill , upskill อยู่ในหลักสูตรMBAไหม
ดร ธัชวรรณตอบว่า ก็มีอยู่หลักสูตร ถ้าไม่มีskill ก็มาเติม หรือมาต่อยอดในหลักสูตรที่เรียนได้
พยายามตอบสนองความต้องการของ นศที่มาเรียน
อ ไพบูลย์ บอกว่า คนที่เรียนจบออกไปจะมี4แบบ
1. ไปเป็น CFO, CEO
2. ไปเป็น CFA หรือ นักวิเคราะห์
3. การวางแผนทางการเงิน จัดการเรื่องทรัพย์สินทางการเงิน
4. Reskill เกิดขึ้นตลอด ซึ่งMBAต้องปรับตัวตลอด และมีการเรียนเพิ่มเติม
ถามคุณมินท์ จบนิด้า แล้วไปทำ Digital Marketing (เอาดิจิตอลมาทำธุรกิจ)ได้อย่างไร
คุณมินท์ตอบว่า เราได้ทดลองทำตั้งแต่เรียน มีอาจารย์คอยเป็นผู้แนะนำเรา
ทำการตลาดโครงการนิด้า บริหารคน งบประมาณ ระบบ และสื่อdigitalเพื่อให้ประสบความสำเร็จ
เกิดไอเดีย ว่าถ้านำความรู้ ความสามารถไปทำกับธุรกิจจะเป็นอย่างไร
เลยเปิดบริษัท เพื่อเป็นที่ปรึกษาของบริษัทต่างๆ
Digital disruption คำว่าDigital ไม่น่ากลัว หลายบริษัทยังสามารถอยู่ได้เพียงแต่ใช้สมองซีกขวา
เราไม่ต้องแข่งกับคอมพิวเตอร์ ความรู้จากห้องสมุดทั่วโลก คอมทำได้ ครูผู้สอนไม่สามารถทำได้
เราควรที่จะเพิ่มทักษะความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ
เราต้องใช้ สื่อdigital มาต่อยอดเรื่องความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ และแกนความคิดมาจากที่เรียน MBA
อ เสน่ห์ถามคุณมินท์ ว่าจบมานานไหม
คุณมินท์ บอกว่าจบมาแค่ปีเดียว พึ่งรับปริญญาเมื่อ พค 2562 เอง
ถามดร ธัชวรรณ ว่าที่นิด้าเป็นอาจารย์รุ่นเก่า มองภาพธุรกิจใหม่ได้ไหม
ดร ธัชวรรณ ตอบว่า ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์รุ่นใหม่ที่จบมา5ปี ความรู้ยังไม่updateมาก
ทางนิด้าเลยสนับสนุนให้ไปลงเรียน AI, Blockchain จาก MIT
ส่วน วิชาทำให้เป็นผู้ประกอบการหรือ entrepreneur ก็ส่งอาจารย์ไปเรียน MIT
อายุเฉลี่ยของอาจารย์ที่คณะบริหาร นิด้า 40 ปี
หลังเรียนจบCourseก็มาเปิดcourseสอนนักศึกษาต่อ
อ นิเวศน์ บอกว่า ไม่ต้องทำตามคนอื่น พยายามไม่ทำตัวฉลาด
เช่น คนอื่นบอกว่าต้องทำแบบ ปลาเร็วกินปลาช้า แต่เราไม่ต้องเร็วเหมือนคนอื่น
นักลงทุนช้าจะกินนักลงทุนเร็ว ถือเป็นหลักวีไอ
อ เสน่ห์ ถามคุณวรวุฒิว่า อยากให้สอนอะไรในMBA
คุณ วรวุฒิ บอกว่า หลายบริษัทในต่างประเทศไม่ค่อยสนใจว่าต้องได้รับปริญญาก็ได้เช่น Google
แต่บริษัทในไทย ยังต้องอาศัยปริญญา แต่หลังจบมาแล้ว เราควรรู้ว่าเราไม่รู้อะไร
จะได้ไปเรียนต่อยอดได้
น่าเสียดายว่า หลายหลักสูตรที่กว่าจะอนุมัติ ต้องใช้เวลา3-4ปี กว่าจะออกมาก็ล้าสมัย
เช่น ตอนนี้ ยังต้องเรียนหลักสูตรสื่อสิ่งพิมพ์อยู่ ทั้งที่สิ่งพิมพ์จะค่อยๆหายไปแล้ว
ส่วนหลักสูตรที่น่าสนใจเช่น Youtuber , blocker ไม่มีให้เรียน
คนก็จะไปเรียนหลักสูตรแบบระยะสั้นแทน
ผมเสนอให้หลักสูตรปริญญาตรีแบบบุฟเฟตต์ เช่น หลักสูตรการชงกาแฟ
หลักสูตรควรออกมาตอบสนองกับอาชีพ ควรปรับหลักสูตรให้หลากหลายตรงกับความต้องการ
ทีมบุคลากรในมหาวิทยาลัยยังมีความน่าเชื่อถือสูง กว่าคนที่สอนหลักสูตรระยะสั้นข้างนอก
หลักสูตรMBA เป็นแบบเป็ด เป็นได้ทุกอย่างแต่ไม่เก่ง อยู่ได้ทั้งสามโลก บนบก น้ำ และอากาศ
โดยจ้างคนที่ชำนาญมาทำแทน เป็นหลักสูตรที่ไม่ตาย จบมาแล้วต้องเรียนรู้เพิ่มเติม
คุณวรวุฒิกว่าจะเข้าใจเรื่องการบริหารก็ปาไป10กว่าปี หลังผ่านการทดลองจริงในการเปิดบริษัท Office Mate
คุณจะเรียนรู้จริงจากการทำจริง สัมผัสก็โลกธุรกิจจริง
อาจารย์ที่สอนหลักสูตรMBA ควรมีประสบการณ์จากการทำงานภาคธุรกิจ
ผมเชื่อว่าอาจารย์ที่สอนในนิด้า ก็อยู่ในภาคธุรกิจ บางท่านก็นั่งอยู่ในบอร์ดของบริษัท
ถาม อ นิเวศน์ ได้ฝึกการทดลองหรือเปล่า
อ นิเวศน์ตอบว่า ได้ทดลองเลี้ยงกุ้ง (ได้รับทุนจากซันโย 2,500 บาท) สมัย cp ยังไม่ได้ทำเลย ถ้าผมทำจริง cpไม่ได้เกิด
อ เสน่ห์สอบถามดร ธัชวรรณ ว่ามีเปิดหลักสูตรอะไรบ้าง รุ่นต่อไปเปิดรับสมัครเมื่อไหร่
ดร ตอบว่า เปิดตลอดเวลา แต่มีการสัมภาษณ์สี่ช่วง เพราะเรารับนักศึกษาเข้าปีละสองรอบ
หรือ สองเทอม
หลักสูตรภาคภาษาอังกฤตมี4หลักสูตร
1 English MBA เรียนวันธรรมดา ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่จบมาใหม่ เรียนเป็นภาษาอังกฤต
2 A- MBA ใช้เวลาเรียนปีครึ่ง เป็นภาษาอังกฤษเหมือนกัน
3.Intertional MBA สำหรับอาเซียน เรียนเสาร์และอาทิตย์ มีดูงานต่างประเทศ ค่าเรียนจะสูงนิดนึง
4. Phd หลักสูตรปริญญาเอก
หลักสูตรภาคภาษาไทยมี4หลักสูตร
1. X MBA สำหรับผู้บริหารระดับสูง เรียนตอนเย็น
2. Young Ex MBA ที่คุณวรวุฒิจบมา สำหรับผู้บริหารระดับกลาง เรียนตอนเย็นเหมือนกัน
3. Flexible MBA เรียนช่วงเสาร์ อาทิตย์
4. Professional MBA สำหรับนักศึกษาที่ได้เกียรตินิยมจากการศึกษา และการทำงาน
มีบริษัทที่แนะนำเข้ามาไม่ต้องสอบเข้า สัมภาษณ์อย่างเดียว
FIRM มีทั้งหลักสูตรภาษาอังกฤษ และ เปิดล่าสุดเป็นภาคภาษาไทย สำหรับนักศึกษาที่ไม่เก่งภาษา
และท้ายสุดก่อนจบ ควรสอบCFA Level I ผ่านเป็นอย่างน้อย
โดยได้รับการสนับสนุนค่าสอบจากทางคณะ ถ้าสอบผ่าน สามารถเอาใบเสร็จมาเบิกได้100%
หลักสูตรMBA 2ปี มีราคาตั้งแต่ แสนกว่าจนถึงหลายแสน ซึ่งมีการไปดูงานและเรียนในต่างประเทศ
มีMOU กับต่างประเทศ และนับ1หน่วยกิตได้
นอกจากCertificate CFA เรายังมีสอนวิชา Big DATA/ Data analytic
และสนับสนุนการสอบCertificate SAS และ PMP (Project Management)
ถ้าสอบผ่าน นำใบเสร็จค่าสอบมาเบิกได้เต็มจำนวน
คณะมีทุนในการจ่ายค่าCertificateค่อนข้างมาก
คุณมินท์เรียนจบ Regular MBA (R-MBA) เรียนจันทร์ถึงศุกร์ เรียนเหมือนปริญญาตรีเลย
มีประสบการณ์การทำงานมา2ปีก่อนมาเรียน ชอบทางด้านmarketing
เลือกเรียนmarketingเพราะเป็นหลักสูตรที่เหมาะกับตัวเอง ทำงานมาในสายmarketing
ที่ได้เพิ่มเติมจากแกนวิชาหลักๆในเรื่องการบริหารคน บริหารการเงิน และ บริหารระบบ
ทำให้เรากลับออกไปทำงานในสายของผู้บริหารองค์กร
ถ้าเปรียบเทียบตอน ป ตรี กับ ป โท ซึ่งเรียนมาในสายบริหารทั้งคู่
ป ตรี เรียนในtext book แต่ ป โท ต้องอ่านมาก่อน และ ตอนเรียน มาdiscussร่วมกัน
มาอภิปรายร่วมกัน มาทำwork shopร่วมกัน อย่างเช่น เคยเรียนกับ อ ไพบูลย์ในวิชาFinance
เอางบการเงินมาวิเคราะห์กัน ดูวิธีการทำธุรกิจของเขา ดู ROA,ROE ทำให้เราเข้าใจธุรกิจมากขึ้น
ตั้งแต่เรายังไม่จบออกไปเลย ซึ่งเป็นเคสที่ใหม่มาก และเราได้เห็น visionจากอาจารย์ที่สอน
เวลาที่นักศึกษาวิเคราะห์มันถูกทิศทางหรือไม่ ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
มิ้นท์ทำงานในสาย Digital marketing นิด้าไม่ได้สอน แต่สอนวิธีคิด และ apply
ความรู้ให้เป็นประโยชน์กับตัวเราและธุรกิจข้างนอกได้อย่างไร ไม่ว่าเรียนโครงการไหน
เราต้องมี Right Wrong Learning (เราต้องเรียนรู้ตลอดเวลา) ไม่สามารถหยุดการเรียนรู้ได้
สื่อsocial เราคลุกคลีตลอดเวลา วิธีการทำงาน หรือ Platform
ตอนต้นปี ผ่านมาเก้าเดือน platformไม่เหมือนเดิม เช่น Facebook , Instagram
เราไม่สามารถหยุดการเรียนรู้ได้หลังจบMBA
คุณวรวุฒิแชร์เสริม แนวโน้มการศึกษาในอีกสิบปี อาจได้เห็น
1.ความสำคัญด้านปริญญาลดลง แต่ได้เป็นcertificateแทน
เช่นการเปิดร้านกาแฟ ต้องผ่านหลักสูตรอะไรบ้าง อาจเป็นtake courseสั้นๆมาประกอบกัน
เพื่อให้สามารถเปิดร้านกาแฟได้
ใช้คำง่ายๆว่า Personal Life (หลักสูตรที่ออกแบบตามบุคคล)
2.VR (Virtual Reality )
อนาคตใส่แว่น เรียนในห้องเรียนเสมือน เราเหมือนหลุดเข้าไปในsiteงานจริงๆ
หรือเรียนเรื่องHR เราอาจเห็นการเถียงกันจริงๆ วิเคราะห์กันสดๆแบบนั้น
การเรียนสมัยใหม่ จะเปลี่ยนรูปแบบการเรียนไป
อีกส่วนความสัมพันธ์ขององค์การศึกษากับภาคเอกชนต้องใกล้ชิดกันมากขึ้น
ต้องร่วมมือกัน
ยุคหน้า speedสำคัญมาก เมื่อก่อน นักศึกษาที่จบมาต้องใช้เวลาสองปีจึงทำงานได้
อนาคต นศ ที่จบมาต้องใช้งานได้เลย
อนาคตเราต้องเริ่มคิดว่าอยากได้แบบไหน แล้วไปบอก นศตอนปี3ให้เรียนรู้แบบไหน
จบมาก็ทำงานได้เลย ไม่ต้องฝึกอบรมอีก1-2ปี
ถ้านิด้าปรับตัวได้เร็ว ก็จะได้ประโยชน์มาก
อีกอัน มหาลัย จะแข่งกันทั่วโลก ไม่มีข้อจำกัดด้านภาษา AIจะช่วยแปลให้เลย
ไม่ว่าจะเป็นภาษาจีน หรือ ภาษาญี่ปุ่น AI จะแปลเป็นภาษาที่เราเข้าใจอย่างรวดเร็ว
บวกกับ เทคโนโลยี VR กลายเป็นว่า นิด้า แข่งกับ Harvard ,Sanford
ถ้าเรามองเป็นโอกาส นิด้าจะสอนให้กับนักศึกษาใน CLMV ก็ได้
ในภูมิภาคนี้ เรายังเชื่อว่าไทยยังดีกว่าอีกหลายประเทศ
ซึ่งเรื่องแบบนี้มันจะมาและเร็วมาก ขอฝากไว้ครับ
อ นิเวศน์ อยากเตือนว่าการเรียนในมหาวิทยาลัย ไม่จำเป็นต้องเรียนก็ได้ ให้เรียนเอง
แต่การเรียนจะช่วยย่นเวลาในการเรียนรู้ให้เร็วขึ้น
ทุกวันนี้ความรู้ที่เรียนมาไม่ได้มาจากการเรียนอย่างเดียว ที่เรียนเป็นส่วนน้อย
ไปเรียนนิด้า1ปี เท่ากับเราไปเรียนเอง2-3ปี เราได้กำไรเรื่องเวลามา
ผมจบมา แต่เรียนรู้เองทุกปีทบๆๆ เอาจริงๆ สิ่งที่เรียนสมัยนั้นได้ใช้แค่ไม่ถึง10%
แต่ที่เราอ่านมา40ปี ก็เก็บสะสมไปเรื่อยๆ การเข้าไปเรียนจะช่วยเปิดโลกทัศน์ให้เรา
ว่าเราจะต้องศึกษาอะไรเพิ่มเติมต่อ ซึ่งช่วยเราได้มาก
สมัยนี้สามารถเรียนonline จาก Harvard, Stanford ได้ แต่คนที่ประสบความสำเร็จการเรียนonlineยังไม่มี
ควรไปเรียนแบบเจอหน้า ได้สัมผัส ได้คุย มีการdiscussน่าจะดีกว่า
หลังจากนั้น เราก็ไปต่อยอดให้ได้
สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน ที่มาให้ข้อมูลครับ
ช่วงที 1 “MBA ยุคดิจิทอล ภายใต้โลกของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจและการเรียนรู้”
.
1) คุณ วรวุฒิ อุ่นใจ / ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย
2) ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร / ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
3) คุณ เจนจิรา ศรีดี / ที่ปรึกษาด้าน Digital Marketing
4) รศ.ดร.ธัชวรรณ กนิษฐ์พงศ์ / Dean, NIDA BUSINESS SCHOOL
.
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
MoneyTalk ครั้งต่อไป วันเสาร์ที่ 19 ตค 2019
ช่วงที่1 มี3บริษัทมาออกรายการ ยังไม่เอ่ยชื่อ แต่เป็นหุ้นที่กำลังมาแรง หุ้นขึ้นมา20-30%
ช่วงที่2 กระแสของMegatrend เกี่ยวกับ พลังงานทางเลือก
จองวันที่12 ตค เวลา 7.00 น
มาเข้าเนื้อหาสัมมนากันครับ
อ.ไพบูลย์แนะนำวิทยากรแต่ละท่านดังนี้
คุณ วรวุฒิ อุ่นใจ หรือ คุณวรวุฒิ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เป็นศิษย์เก่ารุ่น 1 ของ Young Ex MBA จบมา25ปีแล้ว
รศ ดร ธัชวรรณ กนิษฐ์พงศ์ หรือ ดร ธัชวรรณ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ Dean, NIDA Business school
คุณ เจนจิรา ศรีดี หรือ คุณ มินท์ บริษัท Your MKT จำกัด เป็นที่ปรึกษาด้าน Digital Marketing
ดร นิเวศน์ เหมวชิรวราการ ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
เริ่มเข้ารายการ โดยคุณวรวุฒิ เป็นท่านแรกที่พูด
คุณวรวุฒิ พูดถึงหลักสูตร Young Ex MBA ซึ่งเปิดปีแรกที่นิด้า เรียน จันทร์ พุธ ศุกร์ ต้องทำcase study ตลอด
การเรียนครั้งละ 3 ชม ต้อง brain stormกันอีก 3 ชม โดยมาช่วยกันคิดเกี่ยวกับcase study
เทอมแรกยากสุด Text bookเป็นภาษาอังกฤษ สัปดาห์นึงเรียน6คน ให้อ่านทุกบทก็ไม่ทัน
ดังนั้นเราจะแบ่งกันอ่านคนละ1-2บท แล้วมาแชร์กัน
อ ไพบูลย์ ถาม อ นิเวศน์ ว่าจบที่ไหน
อ นิเวศน์ตอบว่า จบตรีวิศวะ และทำงานเป็นช่างในโรงงานน้ำตาลที่ต่างจังหวัด
ตอนนั้นคิดว่าทำอย่างไร เพราะตำแหน่งที่ทำอยู่ก็ตันที่ผู้จัดการโรงงานเท่านั้น
หวังจะเปิดโลกทัศน์ คิดว่าตอนนั้น นิด้าเป็นแห่งเดียวที่เปิดหลักสูตร MBA
เก็บเงินเรียน2ปี และมาสมัครเรียน สุดท้ายก็ไม่ได้ออกจากงาน ทำงานครึ่งเวลา และ เรียนครึ่งเวลา
เช่น วิชา Marketing เรียน 3 ชม ก็เรียนสัปดาห์นึงและหยุดสัปดาห์นึงไปทำงาน
แล้วไปตามเนื้อหาที่ไม่ได้เรียนจากเพื่อนแทน จบนิด้าและได้รับปริญญาโทมา
แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องทำแบบนี้แล้ว มีทางเลือกอื่น
อ ไพบูลย์ถาม คณบดี ดร ธัชวรรณ ว่าเรียนจบจากที่ไหน
ดร ธัชวรรณ ตอบว่า ท่านจบ ปริญญาตรี โท เอก จาก เศรษฐศาสตร์ มธ และกลับมาสอน
คณะบริหารธุรกิจที่ นิด้า สอนวิชา เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ตอนนี้เป็นคณบดี
ส่วน คุณ เจนจิรา หรือ คุณ มินท์ จบปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สาขาวิชาเอก International Management
แล้วมาต่อปริญญาโท MBA สาขาวิชาเอก การตลาดที่นิด้า
เรียน program R-MBA เรียนเช้าถึงเย็น จ-ศ ตอนนี้นิด้า เปิดหลายโปรแกรมมาก เพื่อให้นักศึกษาเลือกให้เหมาะสม
กับตัวเอง ส่วนใหญ่คนมาเรียนก็อยากทำงานไปด้วย เช่น แบบพี่วรวุฒิมาเรียน เหมาะกับเจ้าของกิจการมาเรียนด้วย
อ เสน่ห์ สอบติด คณะทันตแพทย์ จุฬา แต่ตอนวันสัมภาษณ์ เห็นว่าเป็นงานปั้น งานวาด งานศิลปะ
คิดว่าไม่ใช่เป็นอาชีพที่ชอบ ตอนทำงานก็ต้องอยู่ในห้องแคบ ไม่ได้พูดกับใคร
กลัวใครเรียกว่า หมอเสน่ห์ เลยสละสิทธิ์
แล้วไปเรียน คณะวิทยาศาสตร์ ปิโตรเลียม ที่ จุฬา แทน
ส่วน อ ไพบูลย์ จบวิศวะ จุฬา รุ่นเดียวกับ อ นิเวศน์ และมาต่อโท ที่นิด้า
เหตุผลที่พูดเรื่องหลักสูตร MBA เพราะอะไร
หลักสูตร FIRM เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ แต่วันนี้มีหลักสูตรใหม่เป็นภาคภาษาไทยมาแนะนำ
ซึ่งเหมาะกับนักศึกษาที่ไม่เก่งด้านภาษา สามารถมาเรียนหลักสูตร FIRM ภาคภาษาไทยได้
คุณวรวุฒิ ได้พูดถึงโครงสร้างค้าปลีกซึ่งเปลี่ยนแปลงมา20ปี จากการเริ่มใช้ internet ,เรื่อง E-Business
เราต้องสนใจE-Business ตัวอย่างเช่น ร้านอาหารข้างทาง มีคนที่ขายดีขึ้นเกือบ 10 เท่า เพราะปรับตัวได้
ตั้งแต่รู้จัก Grab, Food Panda ,Lineman ซึ่งเป็นบริการสั่งอาหารและมาส่งให้กับลูกค้า
การเข้ามามีส่วนรวมโดย
1.เอาร้านมาเข้าใน Wongnai เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นและมาทานที่ร้านได้
2.สั่งอาหารผ่าน Grab, Food Panda, LineMan
ร้านตัดผม ดูเหมือนไม่น่าจะได้ประโยชน์ แต่ถ้าเรามีร้านตัดผมที่สามารถใช้app ในการจองเวลาทำผม
appช่วยแนะนำการเปลี่ยนทรงผม สีผม ก็จะกระทบกับร้านตัดผมแบบดั้งเดิม
E money วันนี้เราไปเมืองจีน ถ้าไม่มีE money ก็จะเดือดร้อนในการชำระเงิน
แม้แต่ขอทานยังมี QR codeให้บริจาค
ไปรษณีย์ไทย ไม่มีรายได้จากการส่งจดหมาย ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงเป็นคนส่งพัสดุ หรือ Logistic
ซึ่งธุรกิจนี้โตเร็วมาก
ตัวอย่างเช่น บริษัท Kerry ยอดขายเพียงห้าปีโตเป็นหมื่นล้านบาทแล้ว แถมยังมีกำไรด้วย
Facebook ,Google ปกติมีคนส่งข้อมูลให้ตลอดเวลา เช่น ตอนรถติด
ก็ส่งข้อมูลให้Google Map ไม่ว่ายินยอมหรือไม่ ก็ต้องยกข้อมูลให้เขาไปแล้ว
เพราะหลังติดตั้งโปรแกรมGoogle Map และติ๊กยินยอมไปแล้ว
Device IOT ตอนนี้อยู่ที่มือถือและนาฬิกา ต่อไปมีอุปกรณ์ IOT อีกมากมาย
ถ้าเรายังเปิดร้าน หรือ ทำธุรกิจเหมือนเดิม เราจะล้าสมัยไปเรื่อยๆ จนเราต้องออกจากธุรกิจไป
ตอนนี้เป็นกันทั้งโลก ใครปรับตัวไม่ได้ก็ไปไม่รอด
คุณวรวุฒิ ใช้Projectที่ทำเพื่อจบปริญญาโทที่นิด้า มาขอกู้ธนาคาร เพื่อเปิด บริษัท Office Mate
คุณวรวุฒิ บอกว่า ผมเรียนคุ้มสุด เรียนMBA สอนทุกอย่างเรื่องการบริหารจัดการ สอนให้รู้ว่าเราไม่รู้อะไรบ้าง
แต่ถ้าสาขาอื่น เรียนแล้วอาจล้าสมัยเร็วมาก เช่น อาชีพหมอ ซึ่งต้องมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา
อาชีพผู้บริหาร เป็นอาชีพยากที่จะถูกทดแทน
ตำราMBA หลักคิดยังใช้งานได้ดี หลักสูตรไม่ตกยุค ยังทันสมัยเสมอ
ถาม อ นิเวศน์ MBA ยังใช้ประโยชน์จากที่เรียนได้ไหม
อ นิเวศน์ ตอบว่ายังใช้ประโยชน์ได้
อ ยกตัวอย่างเช่น พาหลานไปสมัครเรียนโรงเรียนอินเตอร์ เช่น โรงเรียนที่มาจากประเทศนอร์เวย์ สวีเดน
เขาบอกว่า เด็กเรียนถึงป 6 ไม่ต้องมีการบ้าน ให้ค้นหาตัวเอง
เวลาเรียนน้อยลงเรื่อยๆ สอนให้คิด เช่น ถามหลาน ว่าเรียนอะไร
เขาบอกว่าเรียนเรื่องภูเขาไฟ แล้วกดดูเนื้อหาจากGoogle ซึ่งสอนเก่งกว่าอาจารย์สมัยก่อนเยอะ
เขาจะเรียนน้อยลงเรื่อยๆ รร ที่ประเทศฟินแลนด์ ดีที่สุดในโลก
ครูจะถามว่าอยากเรียนอะไร แล้วถึงเลือกที่สนใจมาสอนให้ และดูเนื้อหาจากGoogle
ดร ธัชวรรณ บอกว่า หลักสูตรก็ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย
เช่น เรื่อง Digital HR โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย
เอา วิชาเกี่ยวกับ AI,Block chain มาเป็นวิชาเลือก
มีวิชา Fin tech มาให้เลือก จนครบวิชาบริหารธุรกิจ
แต่สำหรับนศ เก่า สามารถมาลงเป็น นศ สมทบได้
แต่สำหรับคนที่สนใจมาเรียนไปก่อน หรือ เลือกวิชาเลือกก่อนได้
ถ้าสนใจปริญญาก็ค่อยมาลงเพิ่มได้เพื่อรับปริญญาบัตรได้
ถาม อ นิเวศน์ ว่าวิชาไหนน่าสนใจ
อ ตอบว่า ต้องหาวิชาที่เอาตัวรอดตอนอายุ70-80 ปีได้ จึงดูน่าสนใจ
อ เสน่ห์ถาม ดร ธัชวรรณ เรื่อง reskill , upskill อยู่ในหลักสูตรMBAไหม
ดร ธัชวรรณตอบว่า ก็มีอยู่หลักสูตร ถ้าไม่มีskill ก็มาเติม หรือมาต่อยอดในหลักสูตรที่เรียนได้
พยายามตอบสนองความต้องการของ นศที่มาเรียน
อ ไพบูลย์ บอกว่า คนที่เรียนจบออกไปจะมี4แบบ
1. ไปเป็น CFO, CEO
2. ไปเป็น CFA หรือ นักวิเคราะห์
3. การวางแผนทางการเงิน จัดการเรื่องทรัพย์สินทางการเงิน
4. Reskill เกิดขึ้นตลอด ซึ่งMBAต้องปรับตัวตลอด และมีการเรียนเพิ่มเติม
ถามคุณมินท์ จบนิด้า แล้วไปทำ Digital Marketing (เอาดิจิตอลมาทำธุรกิจ)ได้อย่างไร
คุณมินท์ตอบว่า เราได้ทดลองทำตั้งแต่เรียน มีอาจารย์คอยเป็นผู้แนะนำเรา
ทำการตลาดโครงการนิด้า บริหารคน งบประมาณ ระบบ และสื่อdigitalเพื่อให้ประสบความสำเร็จ
เกิดไอเดีย ว่าถ้านำความรู้ ความสามารถไปทำกับธุรกิจจะเป็นอย่างไร
เลยเปิดบริษัท เพื่อเป็นที่ปรึกษาของบริษัทต่างๆ
Digital disruption คำว่าDigital ไม่น่ากลัว หลายบริษัทยังสามารถอยู่ได้เพียงแต่ใช้สมองซีกขวา
เราไม่ต้องแข่งกับคอมพิวเตอร์ ความรู้จากห้องสมุดทั่วโลก คอมทำได้ ครูผู้สอนไม่สามารถทำได้
เราควรที่จะเพิ่มทักษะความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ
เราต้องใช้ สื่อdigital มาต่อยอดเรื่องความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ และแกนความคิดมาจากที่เรียน MBA
อ เสน่ห์ถามคุณมินท์ ว่าจบมานานไหม
คุณมินท์ บอกว่าจบมาแค่ปีเดียว พึ่งรับปริญญาเมื่อ พค 2562 เอง
ถามดร ธัชวรรณ ว่าที่นิด้าเป็นอาจารย์รุ่นเก่า มองภาพธุรกิจใหม่ได้ไหม
ดร ธัชวรรณ ตอบว่า ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์รุ่นใหม่ที่จบมา5ปี ความรู้ยังไม่updateมาก
ทางนิด้าเลยสนับสนุนให้ไปลงเรียน AI, Blockchain จาก MIT
ส่วน วิชาทำให้เป็นผู้ประกอบการหรือ entrepreneur ก็ส่งอาจารย์ไปเรียน MIT
อายุเฉลี่ยของอาจารย์ที่คณะบริหาร นิด้า 40 ปี
หลังเรียนจบCourseก็มาเปิดcourseสอนนักศึกษาต่อ
อ นิเวศน์ บอกว่า ไม่ต้องทำตามคนอื่น พยายามไม่ทำตัวฉลาด
เช่น คนอื่นบอกว่าต้องทำแบบ ปลาเร็วกินปลาช้า แต่เราไม่ต้องเร็วเหมือนคนอื่น
นักลงทุนช้าจะกินนักลงทุนเร็ว ถือเป็นหลักวีไอ
อ เสน่ห์ ถามคุณวรวุฒิว่า อยากให้สอนอะไรในMBA
คุณ วรวุฒิ บอกว่า หลายบริษัทในต่างประเทศไม่ค่อยสนใจว่าต้องได้รับปริญญาก็ได้เช่น Google
แต่บริษัทในไทย ยังต้องอาศัยปริญญา แต่หลังจบมาแล้ว เราควรรู้ว่าเราไม่รู้อะไร
จะได้ไปเรียนต่อยอดได้
น่าเสียดายว่า หลายหลักสูตรที่กว่าจะอนุมัติ ต้องใช้เวลา3-4ปี กว่าจะออกมาก็ล้าสมัย
เช่น ตอนนี้ ยังต้องเรียนหลักสูตรสื่อสิ่งพิมพ์อยู่ ทั้งที่สิ่งพิมพ์จะค่อยๆหายไปแล้ว
ส่วนหลักสูตรที่น่าสนใจเช่น Youtuber , blocker ไม่มีให้เรียน
คนก็จะไปเรียนหลักสูตรแบบระยะสั้นแทน
ผมเสนอให้หลักสูตรปริญญาตรีแบบบุฟเฟตต์ เช่น หลักสูตรการชงกาแฟ
หลักสูตรควรออกมาตอบสนองกับอาชีพ ควรปรับหลักสูตรให้หลากหลายตรงกับความต้องการ
ทีมบุคลากรในมหาวิทยาลัยยังมีความน่าเชื่อถือสูง กว่าคนที่สอนหลักสูตรระยะสั้นข้างนอก
หลักสูตรMBA เป็นแบบเป็ด เป็นได้ทุกอย่างแต่ไม่เก่ง อยู่ได้ทั้งสามโลก บนบก น้ำ และอากาศ
โดยจ้างคนที่ชำนาญมาทำแทน เป็นหลักสูตรที่ไม่ตาย จบมาแล้วต้องเรียนรู้เพิ่มเติม
คุณวรวุฒิกว่าจะเข้าใจเรื่องการบริหารก็ปาไป10กว่าปี หลังผ่านการทดลองจริงในการเปิดบริษัท Office Mate
คุณจะเรียนรู้จริงจากการทำจริง สัมผัสก็โลกธุรกิจจริง
อาจารย์ที่สอนหลักสูตรMBA ควรมีประสบการณ์จากการทำงานภาคธุรกิจ
ผมเชื่อว่าอาจารย์ที่สอนในนิด้า ก็อยู่ในภาคธุรกิจ บางท่านก็นั่งอยู่ในบอร์ดของบริษัท
ถาม อ นิเวศน์ ได้ฝึกการทดลองหรือเปล่า
อ นิเวศน์ตอบว่า ได้ทดลองเลี้ยงกุ้ง (ได้รับทุนจากซันโย 2,500 บาท) สมัย cp ยังไม่ได้ทำเลย ถ้าผมทำจริง cpไม่ได้เกิด
อ เสน่ห์สอบถามดร ธัชวรรณ ว่ามีเปิดหลักสูตรอะไรบ้าง รุ่นต่อไปเปิดรับสมัครเมื่อไหร่
ดร ตอบว่า เปิดตลอดเวลา แต่มีการสัมภาษณ์สี่ช่วง เพราะเรารับนักศึกษาเข้าปีละสองรอบ
หรือ สองเทอม
หลักสูตรภาคภาษาอังกฤตมี4หลักสูตร
1 English MBA เรียนวันธรรมดา ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่จบมาใหม่ เรียนเป็นภาษาอังกฤต
2 A- MBA ใช้เวลาเรียนปีครึ่ง เป็นภาษาอังกฤษเหมือนกัน
3.Intertional MBA สำหรับอาเซียน เรียนเสาร์และอาทิตย์ มีดูงานต่างประเทศ ค่าเรียนจะสูงนิดนึง
4. Phd หลักสูตรปริญญาเอก
หลักสูตรภาคภาษาไทยมี4หลักสูตร
1. X MBA สำหรับผู้บริหารระดับสูง เรียนตอนเย็น
2. Young Ex MBA ที่คุณวรวุฒิจบมา สำหรับผู้บริหารระดับกลาง เรียนตอนเย็นเหมือนกัน
3. Flexible MBA เรียนช่วงเสาร์ อาทิตย์
4. Professional MBA สำหรับนักศึกษาที่ได้เกียรตินิยมจากการศึกษา และการทำงาน
มีบริษัทที่แนะนำเข้ามาไม่ต้องสอบเข้า สัมภาษณ์อย่างเดียว
FIRM มีทั้งหลักสูตรภาษาอังกฤษ และ เปิดล่าสุดเป็นภาคภาษาไทย สำหรับนักศึกษาที่ไม่เก่งภาษา
และท้ายสุดก่อนจบ ควรสอบCFA Level I ผ่านเป็นอย่างน้อย
โดยได้รับการสนับสนุนค่าสอบจากทางคณะ ถ้าสอบผ่าน สามารถเอาใบเสร็จมาเบิกได้100%
หลักสูตรMBA 2ปี มีราคาตั้งแต่ แสนกว่าจนถึงหลายแสน ซึ่งมีการไปดูงานและเรียนในต่างประเทศ
มีMOU กับต่างประเทศ และนับ1หน่วยกิตได้
นอกจากCertificate CFA เรายังมีสอนวิชา Big DATA/ Data analytic
และสนับสนุนการสอบCertificate SAS และ PMP (Project Management)
ถ้าสอบผ่าน นำใบเสร็จค่าสอบมาเบิกได้เต็มจำนวน
คณะมีทุนในการจ่ายค่าCertificateค่อนข้างมาก
คุณมินท์เรียนจบ Regular MBA (R-MBA) เรียนจันทร์ถึงศุกร์ เรียนเหมือนปริญญาตรีเลย
มีประสบการณ์การทำงานมา2ปีก่อนมาเรียน ชอบทางด้านmarketing
เลือกเรียนmarketingเพราะเป็นหลักสูตรที่เหมาะกับตัวเอง ทำงานมาในสายmarketing
ที่ได้เพิ่มเติมจากแกนวิชาหลักๆในเรื่องการบริหารคน บริหารการเงิน และ บริหารระบบ
ทำให้เรากลับออกไปทำงานในสายของผู้บริหารองค์กร
ถ้าเปรียบเทียบตอน ป ตรี กับ ป โท ซึ่งเรียนมาในสายบริหารทั้งคู่
ป ตรี เรียนในtext book แต่ ป โท ต้องอ่านมาก่อน และ ตอนเรียน มาdiscussร่วมกัน
มาอภิปรายร่วมกัน มาทำwork shopร่วมกัน อย่างเช่น เคยเรียนกับ อ ไพบูลย์ในวิชาFinance
เอางบการเงินมาวิเคราะห์กัน ดูวิธีการทำธุรกิจของเขา ดู ROA,ROE ทำให้เราเข้าใจธุรกิจมากขึ้น
ตั้งแต่เรายังไม่จบออกไปเลย ซึ่งเป็นเคสที่ใหม่มาก และเราได้เห็น visionจากอาจารย์ที่สอน
เวลาที่นักศึกษาวิเคราะห์มันถูกทิศทางหรือไม่ ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
มิ้นท์ทำงานในสาย Digital marketing นิด้าไม่ได้สอน แต่สอนวิธีคิด และ apply
ความรู้ให้เป็นประโยชน์กับตัวเราและธุรกิจข้างนอกได้อย่างไร ไม่ว่าเรียนโครงการไหน
เราต้องมี Right Wrong Learning (เราต้องเรียนรู้ตลอดเวลา) ไม่สามารถหยุดการเรียนรู้ได้
สื่อsocial เราคลุกคลีตลอดเวลา วิธีการทำงาน หรือ Platform
ตอนต้นปี ผ่านมาเก้าเดือน platformไม่เหมือนเดิม เช่น Facebook , Instagram
เราไม่สามารถหยุดการเรียนรู้ได้หลังจบMBA
คุณวรวุฒิแชร์เสริม แนวโน้มการศึกษาในอีกสิบปี อาจได้เห็น
1.ความสำคัญด้านปริญญาลดลง แต่ได้เป็นcertificateแทน
เช่นการเปิดร้านกาแฟ ต้องผ่านหลักสูตรอะไรบ้าง อาจเป็นtake courseสั้นๆมาประกอบกัน
เพื่อให้สามารถเปิดร้านกาแฟได้
ใช้คำง่ายๆว่า Personal Life (หลักสูตรที่ออกแบบตามบุคคล)
2.VR (Virtual Reality )
อนาคตใส่แว่น เรียนในห้องเรียนเสมือน เราเหมือนหลุดเข้าไปในsiteงานจริงๆ
หรือเรียนเรื่องHR เราอาจเห็นการเถียงกันจริงๆ วิเคราะห์กันสดๆแบบนั้น
การเรียนสมัยใหม่ จะเปลี่ยนรูปแบบการเรียนไป
อีกส่วนความสัมพันธ์ขององค์การศึกษากับภาคเอกชนต้องใกล้ชิดกันมากขึ้น
ต้องร่วมมือกัน
ยุคหน้า speedสำคัญมาก เมื่อก่อน นักศึกษาที่จบมาต้องใช้เวลาสองปีจึงทำงานได้
อนาคต นศ ที่จบมาต้องใช้งานได้เลย
อนาคตเราต้องเริ่มคิดว่าอยากได้แบบไหน แล้วไปบอก นศตอนปี3ให้เรียนรู้แบบไหน
จบมาก็ทำงานได้เลย ไม่ต้องฝึกอบรมอีก1-2ปี
ถ้านิด้าปรับตัวได้เร็ว ก็จะได้ประโยชน์มาก
อีกอัน มหาลัย จะแข่งกันทั่วโลก ไม่มีข้อจำกัดด้านภาษา AIจะช่วยแปลให้เลย
ไม่ว่าจะเป็นภาษาจีน หรือ ภาษาญี่ปุ่น AI จะแปลเป็นภาษาที่เราเข้าใจอย่างรวดเร็ว
บวกกับ เทคโนโลยี VR กลายเป็นว่า นิด้า แข่งกับ Harvard ,Sanford
ถ้าเรามองเป็นโอกาส นิด้าจะสอนให้กับนักศึกษาใน CLMV ก็ได้
ในภูมิภาคนี้ เรายังเชื่อว่าไทยยังดีกว่าอีกหลายประเทศ
ซึ่งเรื่องแบบนี้มันจะมาและเร็วมาก ขอฝากไว้ครับ
อ นิเวศน์ อยากเตือนว่าการเรียนในมหาวิทยาลัย ไม่จำเป็นต้องเรียนก็ได้ ให้เรียนเอง
แต่การเรียนจะช่วยย่นเวลาในการเรียนรู้ให้เร็วขึ้น
ทุกวันนี้ความรู้ที่เรียนมาไม่ได้มาจากการเรียนอย่างเดียว ที่เรียนเป็นส่วนน้อย
ไปเรียนนิด้า1ปี เท่ากับเราไปเรียนเอง2-3ปี เราได้กำไรเรื่องเวลามา
ผมจบมา แต่เรียนรู้เองทุกปีทบๆๆ เอาจริงๆ สิ่งที่เรียนสมัยนั้นได้ใช้แค่ไม่ถึง10%
แต่ที่เราอ่านมา40ปี ก็เก็บสะสมไปเรื่อยๆ การเข้าไปเรียนจะช่วยเปิดโลกทัศน์ให้เรา
ว่าเราจะต้องศึกษาอะไรเพิ่มเติมต่อ ซึ่งช่วยเราได้มาก
สมัยนี้สามารถเรียนonline จาก Harvard, Stanford ได้ แต่คนที่ประสบความสำเร็จการเรียนonlineยังไม่มี
ควรไปเรียนแบบเจอหน้า ได้สัมผัส ได้คุย มีการdiscussน่าจะดีกว่า
หลังจากนั้น เราก็ไปต่อยอดให้ได้
สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน ที่มาให้ข้อมูลครับ