แชร์ List 10 หุ้นพื้นฐานดี จาก เพจ ซั่มหุ้น ตอนที่ 2

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

แชร์ List 10 หุ้นพื้นฐานดี จาก เพจ ซั่มหุ้น ตอนที่ 2

โพสต์ที่ 1

โพสต์

แชร์ List 10 หุ้นพื้นฐานดี จาก เพจ ซั่มหุ้น ตอนที่ 2

"ที่สามารถ ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจในรอบนี้ไปได้"

โดยที่ ROE สูง D/E ต่ำ งบการเงินแข็งแกร่ง ในหลายอุตสาหกรรม
.
วันพุธที่ 8 เมษายน 2563 เวลา 20.30 น.

หุ้นที่เลือกนอกจากเก่งยังไม่พอ ต้องมีความแข็งแกร่งทางด้านการเงินด้วย
แต่เรื่องมูลค่าหุ้น ให้แต่ละคนไปทำการบ้านต่อ
บางหุ้นยังไม่ถูก ก็ต้องรอเวลา
หุ้นเกรดA ปกติราคาอยู่ในช่วงpremiumมาก เวลาถือเป็นช่วงที่ดี
เป็นเหตุการณ์ใหญ่ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย โอกาสที่นานๆมาหนึ่งครั้ง
ลงแรงทั้งตลาด กลายเป็นโอกาสเก็บหุ้นคุณค่า
หุ้นเหล่านี้ไม่เหมาะในการtrading ตอนนี้น่าจะเป็นช่วงถือหุ้นข้ามไปเลย
อาจทยอยซื้อได้ในช่วงเวลาลงแรงๆ และถือข้ามไปให้ได้
ราคานี้สะท้อนอะไรหลายอย่างในอนาคต
บางตัวถูกมาก บางตัวถูกกลางๆ
ราคาหุ้นบางตัวสะท้อนในอนาคตไปแล้ว แต่มีโจทย์หนึ่งที่ต้องตอบตัวเอง
เหตุที่ทำให้หุ้นลงแรง เกิดแล้วจบไหม ถ้าโรคระบาดควบคุมได้
ตลาดหุ้นจะฟื้นไหม ถ้าทุกอย่างเกิดมาดีขึ้น ทุกคนเริ่มมีวัคซีนในอีก1-2ปี
การท่องเที่ยวเริ่มกลับมา เราเริ่มออกมาข้างนอก ราคาหุ้นตอนนี้จะไม่ได้เห็นอีก
ดังนั้นถ้าจะซื้อก็ต้องซื้อในช่วงนี้ ถือเป็นมุมมองของเพจ ซั่มหุ้น

เงื่อนไขในการเลือกหุ้น
1.ความแข็งแกร่งในงบการเงิน เพื่ออยู่รอดได้
2. roe สูง สะท้อนถึงความเก่ง และทำให้ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นสูงด้วย
เป็นหุ้นที่กลุ่มสถาบันลงทุน ยิ่งลงระยะยาวยิ่งได้returnสูง
ปกติหุ้นพื้นฐานดี จะถือกันยาว
ไล่จาก ROE สูง ไป ต่ำ
ตอนนี้เป็นตอนที่2 แล้ว คราวที่แล้ว พูดถึง อันดับที่ 6-10 คราวนี้จะเป็นอันดับ 1-5

1. NETbay
สท 600 ลบ หนี้สิน147 ลบ
รายได้ 422 ลบ เติบโตต่อเนื่อง
ROE 36% บนหนี้ที่น้อย สมัยก่อนจะมีหุ้นเครื่องสำอาง
PE 30 เท่ายังไม่ถูก
Digital Disruption / Transformation
WFH ทำให้เกิด disruption อาจไม่จำเป็นต้องทำที่ทำงาน conference จากบ้านหรือที่ไหนก็ได้
บางบริษัทอาจปลดlock ทำที่บ้านได้
การสั่งอาหาร ตอนนี้สั่งจากหลายร้านมากินที่บ้าน เช่น S&P
วันนึงที่ Covid จบลง อาจไปซื้อ S&P ต่อได้ ไม่ย้อนกลับไปที่ห้างแล้ว อาจมีโอกาสเพิ่มขึ้น

NETbay เกี่ยวข้องอย่างไร
ทุกคนเริ่มonlineมากขึ้น
NETbay เค้าไปdisrupt ช่วยหลายอุตสาหกรรมให้ง่ายขึ้น ลดเรื่องกระดาษลง ทำบนplatform online
ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายถูกลง การแลกเปลี่ยนเอกสารขึ้นเป็น online หมด
กิจการที่เคยใช้บริการ ก็ไม่กลับไปใช้บนกระดาษอีกแล้ว

โครงสร้างรายได้
1.Digital disrupt 98% ถือเป็นรายได้หลัก

งบการเงิน
สท 600 ลบ หนี้สิน 150 ลบ
เงินสด เงินลงทุน 300 ลบ เรารู้ว่า เป็นกิจการ Net cash company
ลูกหนี้การค้า 65 ลบ
สินค้าคงเหลือ 209,000 บาท
สท ไม่หมุนเวียน ก้อนใหญ่ คือเงินลงทุนระยะยาว 198 ลบ คิดเป็น 30.6%
ที่ดิน อาคาร 31 ลบ
ไม่มีการค้างstock ถ้าปิดกิจการ

หนี้สินมีน้อย
หนี้สินระยะสั้น ไม่มีเงินกู้ยืมระยะสั้น และ ระยะยาว
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 51 ลบ และ รายได้รับล่วงหน้า 46 ลบ

งบการเงินแข็งแกร่งมาก
ส่วนผู้ถือหุ้นเติบโตขึ้น ทส และ หนี้สิน ก็เติบโต
รายได้กิจการ และ ยอดขาย ใกล้เคียงกัน แสดงว่าไม่มีกำไรพิเศษ
ยอดขายโตตลอด ประมาณ 15%
Trade war ทำให้นำเข้า ส่งออกลดลง แต่ Q3 , Q4 โต 15% บ่งบอกว่า
Scale transform ยังโตอยู่ และโดนกระทบนิดหน่อย 3%

GP 80% ปกติเป็นหุ้นเครื่องสำอาง ที่ได้เยอะ เพราะทำเป็น platform
SG&A โตขึ้น 12.9% แต่รายได้โตกว่า ประมาณ 15%
ทำให้ SG&A to Sale ลดลง จาก 44.5% ลงมาที่ 38.9%
กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปี 2016 32% ถึง 2019 40%

ราคาหุ้น แข็งแกร่งกว่าตลาด ลงมานิดหน่อยและเด้งขึ้น

มุมมองส่วนตัว
Trend Digital Transformation , Business Model เอื้อต่อการเติบโต , งบการเงินแข็งแกร่ง Net cash company
แต่ราคาแพงไป อยากให้ราคาลงมา





2. Makro
สาขา 141 สาขา ในไทย 134 สาขา ซึ่งมีหลายสเกล เช่น Food service, Eco plus , Food shop,Siam Fozen
รายได้อาจไม่ลง และ ขึ้นด้วยซ้ำ
DE 2 เท่า สูง แต่ค่อนข้างใกล้เคียง 7-11

สท 62,000 ลบ หนี้สิน 40,000 ลบ เป็นหนี้ที่ดี
Margin บางหน่อย ขาย scale ใหญ่ PE 27 เท่า เพราะกิจการดี ถือว่าเป็นหุ้นที่ไม่ลงเลย
เป็นหุ้นที่มีฟรีโพสตน้อย

สท เงินสด 4800 ลบ
สท ไม่หมุนเวียน เป็น อาคาร 50%
หนี้สิน เงินกู้ระยะสั้น 800 ลบ เจ้าหนี้การค้าอื่น 24,493 ลบ คล้ายกับ 7-11
สรุปหนี้สินจริง 8,000 ลบ

หนี้ระยะยาว ก็ไม่มีประเด็นอะไร

วงจรเงินสด
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 10,269 ลบ
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน -3130 ลบ
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน -7,402ลบ
เงินสดสุทธิ -262 ลบ

หนี้สินที่มีดอกเบี้ยต่อทุน 0.8 เท่า

รายได้ โต 5-9% จากการโตของการเปิดสาขา และ SSS ของสาขาเดิม
SG&A 8% ดีกว่า CPALL 19.5% เพราะกระจายสาขา ค่าใช้จ่ายสูงกว่าแมคโคร
NP 3% เทียบกับ CPALL 3.9%
งบระเบิดจาก NP ขยับเพิ่มขึ้น

ระยะเวลาเก็บหนี้ 1.6 วัน
ระยะเวลาขาย 27 วัน
คืนเงิน supplier 47 วัน modelใกล้กับ Cpall 63.9 วัน

ราคาหุ้น ลงแล้วเด้งในรอบล่าสุด

มุมมอง
1.หุ้นคุณค่า
2.วงจรเงินสดติดลบ
3.กระแสเงินสดจากการดำเนินงานสูง
4.Interest Coverage Ratio สูง
5.สามารถเติบโตในต่างประเทศ



3. CPALL
สัดส่วนรายได้ 7-11 59% , Makro 34%
สาขา 7-11 117,00 สาขาตอนสิ้นปี62
DE 2.8 เท่า และมีการ take Lotus และ ซื้อหุ้นคืนอีก
DE ขนาดนี้จะกู้ไหวหรือเปล่า เรามาเช็คกัน
รายได้ 7-11 ปีนี้ลดลงแต่ไม่มาก แต่ดีการตลาดหุ้นรวม
สท 370,000 ลบ หนี้สิน 260,000 ลบ
รายได้ 570,000 ลบ SSS ดีจากการเพิ่มสาขา
กำไร โต 10%
ROE 25% แต่มีหนี้พอสมควร
แต่ไม่น่าจะสูงจากการใช้หนี้ ต้องไปดูรายละเอียด
PE 25 เท่า ไม่แพงแล้ว
ปันผล 2%

งบการเงิน

เงินสด 30,000 ลบ จาก สท 370,000 ลบ หนี้สิน 260,000 ลบ
ลูกหนี้การค้า 1,700 ลบ ลูกหนี้หมุนเวียนอื่น 7,700 ลบ
สินค้าคงเหลือ 31,537 ลบ
ที่ดินอาคาร 116,000 ลบ ค่าความนิยม 128,000 ลบ จากการtake over กิจกรรม
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นๆ 51,383 ลบ

หนี้สินระยะสั้น 3,000 ลบ
เจ้าหนี้การค้า 78,000 ลบ ถือว่าเยอะมาก เทียบกับ หนี้ระยะสั้น แต่เจ้าหนี้การค้ายิ่งเยอะถือเป็นข้อดี
บ่งบอก ถึงประสิทธิภาพของกิจการ เอาของมาก่อน แล้วจ่ายทีหลัง ถือเป็นหนี้ดี
แต่เวลาเก็บเงินลูกค้า เป็นเงินสด เจ้าหนี้ติดไว้ก่อน ถือเป็นสภาพคล่องของกิจการ
กลายเป็นว่า เจ้าหนี้การค้า ยิ่งมีเยอะ
หุ้นกู้ชำระภายใน 1 ปี 12,289 ลบ ซึ่งกองทุนไหนก็อยากซื้อ

หนี้สินไม่หมุนเวียน
หุ้นกู้ 120,000 ลบ ไม่มีประเด็น เป็นหุ้นกู้ที่ออกมาล๊อกดอกเบี้ยไว้
เงินกู้ยืมระยะยาว 8,599 ลบ

กระแสเงินสด จะดูเฉพาะกิจการที่ค้าขายได้ช่วงนี้เท่านั้น แต่หลายบริษัทดูไม่ได้ เพราะปิดกิจการ
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 40,476 ลบ เทียบกับกำไร 22,343 ลบ เพราะมีค่าเสื่อมที่บวกกลับเข้ามา
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน -16,583 ลบ
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน -27,938 ลบ
เงินสดสุทธิ -4,045 ลบ

ดังนั้น DE 2.8 เท่า ไม่มีปัญหา ถ้า รายได้หายไป 30% PE ก็ยังไม่แพง
กำไรสุทธิหายไป 30% เหลือ = 15,400 ลบ ดังนั้น PE 36 เท่า
เริ่มแพงบนปีที่ไม่ปกติ แต่ไม่แย่ตลอดเวลา
ปีที่ 3,4,5 กำไรก็กลับมา PE จะตกลงมา เพราะกำไรเพิ่มขึ้น

สรุป
1. มีความแข็งแกร่งเชิง การบริหารจัดการสู.
2. วงจรเงินสดติดลบ
3. กระแสเงินสดดำเนินงาน กว่า 2 เท่าของกำไรสุทธิ
4. หุ้นคุณค่าเป็นผู้นำ Sector ค้าปลีก
5. ดีลซื้อ Tesco ไม่เพิ่มทุน อาจกระทบกำไรใน 1-2 ปีแรก
6. ซื้อหุ้นคืน 1.3 หมื่นล้านบาท หรือ 2% ของหุ้น





4. SPA ที่น่าสนใจ รายได้อิงกับนักท่องเที่ยวพอสมควร
ตอนนี้ไม่ได้ดำเนินงาน โดนกระทบเต็มๆ
งบ Q1,2,3 ก็แย่ แต่มีบางอย่างน่าสนใจ
ตัวเลขนักท่องเที่ยว หายไปแทบเหลือ 0 ตอนนี้ปิดสนามบิน
สิ่งที่เกิดขึ้น รายได้dropไปพอสมควร และฟื้นตัวเมื่อเปิดเมือง
รายได้ฟื้นตัว แต่ไม่เร็วมาก กำไรจากการลงทุนอีก 9-12 เดือน เป็นการทำการบ้าน
คาดหวังการเติบโตในอนาคต

งบการเงิน
ดูROE , ROA ไม่มีประโยชน์เพราะร้านปิด
ดูสินทรัพย์ 1500 ลบ หนี้สิน 380 ลบ
DE ratio 0.3 เท่า ถือว่าหนี้น้อย

ดูรายละเอียดหนี้
เงินสด และ เงินลงทุนชั่วคราว 120 ลบ
สินค้าคงเหลือค่อนข้างน้อย
สินทรัพย์ระยะยาว คือ ที่ดินและอาคาร 1,082 ลบ เป็นถึง 70% ของสท

หนี้สินระยะสั้น 240 ลบมาจาก เงินเบิก กู้ยืม 4ลบ
เจ้าหนี้การค้า 90 ลบ เงินกู้ยืมระยะยาวใน1 ปี คือ 80 ลบ
สภาพคล่องดี เงินสด 120 ลบ คิดว่า DE ต่ำ ไม่น่ากังวล
หนี้ระยะยาว เงินกู้ 80 ลบ

ร้านปิดถึงสิ้นเดือน เมษายน ส่วนค่าเช่าไม่ต้องรับภาระ เช่น CPN ช่วยเหลือ รวมถึงค่าใช้จ่ายพนักงานไม่ได้จ่ายรายได้
พนักงาน เรียกร้องจาก ประกันสังคมแทน
สรุป รายได้ และ ค่าใช้จ่าย ไม่มี ต่อให้ปิดยาวๆ ก็กลับมาได้

ราคาหุ้นลงจาก 16 บาท เหลือ 8 บาท ยิ่งถ้าเทียบจากราคาสูงสุด
PE 18 เท่า
ถือเป็นหุ้นเติบโต โครงสร้างประชากร คนเริ่มสูงอายุ รายได้เติบโตจากการเปิดสาขาเพิ่มขึ้น
เทรนเรื่องสุขภาพ เรื่องปวดเมื่อยของคนสูงอายุ หรือคนอายุ30ปีขึ้นไปก็มาใช้บริการ

เราทำการบ้านรอไว้ ถ้าการท่องเที่ยวกลับมา จะมาช่วงท้ายๆหลังเปิดเมือง คนเริ่มเชื่อมั่นว่าหายแล้ว คนออกมาใช้ชีวิต
ถ้าตอนกลับมา ราคาหุ้นยังไม่ขึ้น

5. BDMS ตอนแรกเลือก SVH แต่ดูข้อมูลพบว่า BDMS ถือ SVH หนี้สินกับทุนใกล้เคียงกัน เลยเลือกตัวนี้แทน
รพ ในเครือ เช่น รพ กรุงเทพดุสิต สมิติเวช BNH รพ ประสิทธิพัฒนา (PYT) เปาโล เป็นหลัก 5 รพ
การบริหารแบบกระจายศูนย์ ซึ่งต่างจาก BH ซึ่งรวมศูนย์
งบการเงิน
สท 130,000 ลบ หนี้สิน 46,000 ลบ ผู้ถือหุ้น 83,000 ลบ
รายได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ ปีที่แล้ว Q1 2019 มีขายเงินลงทุนของ รพ รามคำแหง ขึ้นมา
ROE 20% จากเมื่อก่อน 13-15% PE 20 เท่า เหมือนจะถูก แต่มีกำไรพิเศษเข้ามา
จริงๆไม่ได้ถูกขนาดนี้ ต้องถอดกำไรพิเศษออกมา

สท หมุนเวียน 16,325 ลบ เงินสด 4,600 ลบ (3%)
ลูกหนี้การค้า 8,850 ลบ แต่ไม่น่ากลัว เช่น ประกันสังคม
สินค้าคงเหลือ 1,843 ลบ ไม่ล้าสมัย

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
เงินลงทุนในบริษัทร่วม 17,000 ( 10% )
ที่ดิน อาคาร 78,439 ลบ ถือเป็นส่วนใหญ่ เหมือน BH

หนี้สิน ระยะสั้น ใช้ใน1ปี เช่น
เจ้าหนี้การค้า 5,900 (4%)
เงินกู้ธนาคาร 20 ลบเอง ถือว่าน้อยมาก
หุ้นกู้ 4,900 ลบ ถามว่า น่ากลัวไหม ต้องไปดู DE Ratio ปกติที่น่ากลัว คือบริษัทที่มีหนี้เยอะ
DE ต่ำมาก ประมาณ 0.55 เท่า (BH DE 0.30 เท่า )
Quick ration คือ ความสามารถในการจ่ายหนี้ โดยเอา กำไรก่อนหักภาษีมาเทียบดอกเบี้ยจ่าย ยิ่งสูงยิ่งดี
BDMS = 20 เท่า ก็ถือว่าดี ตัดความกังวลได้ (BH 30 เท่า)

หนี้ระยะยาว จากสถาบันการเงิน 4,500 ลบ หุ้นกู้ 14,000 ลบ
ซึ่งดูแล้วไม่มีประเด็น พอใกล้ครบกำหนด ก็จะทำ Roll over


ROA 12% (BH 15%)
ROE 22% (BH 20%) BDMS ปกติ 15% ปีที่แล้วมีกำไรพิเศษ

ยอดขาย เติบโตขึ้นทั้งคู่
การเติบโตของรายได้

BDMS เติบโต 10กว่า% (BH 1-2%)
อัตรากำไรขั้นต้น BH ดีกว่า
ทำให้เราได้ข้อมูลว่า BH การบริหารจัดการดีกว่า BDMS

BH GP 40% ดีกว่า BDMS 30% เพราะบริหาร แบบศูนย์กลาง

สุขภาพการเงิน BH แข็งแกร่งกว่า เพราะหนี้น้อยกว่า

BDMS มีส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุน 5,464 ลบ
ถ้าหักออกจาก 15,892 ลบ แล้ว กำไรปกติ 10,000 ลบ
10,000/15,892 = 0.63 คูณกับราคา20.2บาท ถ้าคิด PE จะเท่ากับ 31 เท่า
ถามว่าแพงไหม ไม่แพง แต่ยังไม่ถูก ก็ต้องรอให้ราคาลงมากกว่านี้ มากกว่าไปไล่ราคา
ถ้า PE 20ต้นๆถึงกลาง ก็น่าสนใจเลย
โพสต์โพสต์