MoneyTalk Special หุ้นไทย จะรุ่งหรือร่วง 21 พค 2020 กับ ดร ก้องเกียรติ โอภาสวงการ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

MoneyTalk Special หุ้นไทย จะรุ่งหรือร่วง 21 พค 2020 กับ ดร ก้องเกียรติ โอภาสวงการ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

MoneyTalk Special หุ้นไทย จะรุ่งหรือร่วง 21พค 2020 กับ ดร ก้องเกียรติ โอภาสวงการ
ผู้ดำเนินรายการ ดร ไพบูลย์ และ ดร นิเวศน์

ดร นิเวศน์ สอบถาม ว่าวิกฤตCovid-19 เทียบกับ วิกฤตที่ผ่านมา เป็นอย่างไร
ดร ก้องเกียรติ ตอบว่า วิกฤตคราวนี้หนักกว่า ครั้งก่อนๆมาก เช่น
ตอนต้มยำกุ้ง โรงแรมยังมีรายได้ดี เพราะรับรายได้เป็นเงิน$ซึ่งตอนนั้น 50กว่าบาทต่อ$
แต่ตอนนี้ รร ขาดรายได้ เพราะนักท่องเที่ยวหายไปหมด
ไทย ศก โตช้า ปีที่แล้วก็เติบโตแค่ 2%กว่า ก่อนหน้าก็ 4%
ไทยไม่มีอุตสาหกรรมใหม่ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ไม่เหมือนกับ US ที่มีกลุ่มเทคโนโลยีใหม่
ไทย ไม่มี บริษัทที่ขนาดรายได้ขนาด Unicorn ( 1,000 ล้าน US )
ดัชนีNasdaq(หุ้นIT) เพิ่มขึ้น 7% ตั้งแต่ต้นปี ซึ่งตลาดหุ้นทั่วโลกยังติดลบอยู่รวมทั้งไทยด้วย

ดร ก้องเกียรติ แนะนำว่าตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนไม่ถึง 0.5%ของโลก และ เติบโตต่ำ
อัตราการเติบโตเริ่มชะลอตัว ไม่มีธุรกิจไอทีที่ทำให้เติบโตต่อ ถ้าเราไปลงในหุ้นไอที
โดยให้แบ่งเงินส่วนนึงลงทุนในบริษัทไอทีในต่างประเทศ
ลงทุนทางตรง หรือ ลงทุนผ่านกองทุนรวมก็ได้ การกระจายมากน้อยขึ้นกับแต่ละคน
การลงทุนตรง จะต้องระวังเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน หรือ ค่าเงิน
แต่ถ้าลงผ่านกองทุนรวม เขาจะดูแลเรื่องค่าเงินให้
คนไทยต้องกระจายความเสี่ยง ธุรกิจไทยก็ลงในต่างประเทศเยอะ
บางบริษัทเป็นอันดับหนึ่งของโลก
การลงทุนส่วนบุคคล ก็มีลงในต่างประเทศ แต่ยังไม่ใช่ก้อนใหญ่
ฐานลูกค้าของบริษัทมีความสนใจ ลงมา10ปีแล้ว
การติดตามข่าวสารตอนนี้ง่ายกว่าเมื่อก่อนเยอะ

ส่วนตลาดหุ้นไทยหลังCovid-19 มองเห็นภาพอย่างไร
ดร ก้องเกียรติตอบว่า ที่ตอนนี้อยู่ที่ 1,3xx จุด ความท้าทายรอบต่อไป
อยู่ที่งบไตรมาสสอง ซึ่งไม่น่าจะดี แย่กว่าไตรมาสหนึ่ง
หลังจากนั้น สถาบันไทย ก็ยังประคองตัว และลงทุนในหุ้นไทย ซื้อและขาย
หุ้นขนาดใหญ่ที่ผลประกอบการดี ยังไปได้ ก็ยังพอพยุงกันอยู่ ส่วนหุ้นที่ผลประกอบการไม่ดี ก็ไม่มีคนลงทุน
ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น พลังงาน สื่อสาร ตอนนี้เริ่มตีบตันแล้ว
ธุรกิจก็มีระยะวงจรสั้นลงเยอะ ยกตัวอย่าง ธุรกิจเสริมสวย ความงาม ที่มีLife Cycleสั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ดี
พอขาลง ทุกคนก็เลยหนีหมดเลย
เชื่อว่า ตลาดหุ้นปีนี้คงประคองตัวผ่านไปได้ สิ่งที่กระตุ้นได้มีสองอย่างคือ
1.ธุรกิจขนาดใหญ่จะช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก หรือ ชาวไร่ ชาวนา ได้อย่างไร
2.ขึ้นกับรัฐบาล นอกจากการอัดฉีด ซึ่งใช้หมดไม่นาน เช่น โครงการต่างๆที่ค้างคา
และมีโครงการอนุมัติไปเยอะ แต่อยากให้เพิ่มสาธาณูโภคมากขึ้น

ณ วันนี้ ยังไว้ใจ ศก ไม่ได้ ยังตามบริษัทยาอยู่ว่า จะได้อนุมัติวัคซีนเมื่อไหร่
ศก โลก ถ้าไม่ดี ไทยก็ไปยาก เพราะรายได้ส่วนใหญ่จากท่องเที่ยว รพ หรือ รถยนต์
ส่วน อุตสาหกรรม มือถือ อิเลคทรอนิคส์ ที่ย้ายฐานจากจีน ไทยก็ไม่ได้ประโยชน์สักเท่าไหร่
เพราะส่วนใหญ่ก็ย้ายไปอินเดีย และ เวียดนาม
ดังนั้น ดร เป็นห่วงเรื่อง Soft skill มากกว่า
Us ยังมีโรคระบาดอยู่เยอะ คนก็ไม่มาเที่ยวไทย

ดร ไพบูลย์ ถามว่า เรายังต้องระมัดระวังมาก แต่เปรียบเทียบกับ ต้มยำกุ้ง
ลงจาก 1700 มาถึง 200 จะลงมา400-500 จุดไหม

ดร ก้องเกียรติ บอกว่า ธุรกิจในตลาดหุ้นตอนนี้ต่างกับตอนต้มยำกุ้งเยอะ
ธุรกิจยังใช้ได้ และ กระจายไปเยอะ แต่ดัชนียังไม่พ้นจุดสูงสุด เหมือนกับญี่ปุ่น
เราไม่แย่เท่าญี่ปุ่น แต่ขนาดน้องๆ ซึ่งไม่ค่อยดี

ดร ไพบูลย์ถามต่อว่า กลุ่มที่โดนกระทบ ต้องระมัดระวัง และ กลุ่มไหนที่ดี
ดร ก้องเกียรติ ตอบว่า กลุ่มที่จับจ่ายใช้สอย เช่น ค้าปลีก ยังไปได้ ต้องดูเป็นรายตัว
ธุรกิจธนาคารไม่ค่อยดี แต่ธุรกิจเก็บหนี้ ยังดีในขาลง
ธุรกิจ โรงแรม อาจยังน่าสนใจ หลังลงสุดๆ ถ้า รร ไหน ไม่มีท่าทีล้ม แข็งแรงมาก
มีสถาบันการเงินขนาดใหญ่ช่วยเหลือ อาจรอดได้
บริษัทน้ำมันที่ราคาหุ้นตกลงมาเยอะๆ ก็น่าสนใจ
เมืองนอก โบอิ้งก็น่าสนใจ รวมถึง บริษัทเดินเรือที่ตกหนัก ก็น่าสนใจ
ซึ่งในเมืองไทยไม่เห็นในลักษณะนี้

ตอนต้มยำกุ้ง บริษัทอสังหา ถูกมาก แต่ตอนนี้ หุ้นรอบนี้ตกหนัก แต่เด้งเร็วมาก ไม่ถูกเหมือนตอนต้มยำกุ้ง

ดร นิเวศน์ ถามว่า ธนาคารของไทยราคาตกมาเยอะ เมืองนอกเป็นอย่างไร
ดร ก้องเกียรติ ตอบว่า ธนาคาร เช่น Citi, JP Morgan ก็ตกเยอะ แต่ถ้าเทียบกับวิกฤตคราวก่อน ยังไม่เยอะ แค่ 30-40%
ไม่ต่างจากไทย แต่ ดร ก้องเกียรติ ขายออกไปแล้ว
สถาบัน ต่างประเทศ เช่น ซาอุ ก็เริ่มซื้อ โบอิ้ง Citi หรือ เรือสำราญ เข้าPort
เวลาหุ้นขึ้นเป็น V shape แต่กำไรของบริษัท จะฟื้นช้าๆ เป็นรูป U shape

ดร นิเวศน์ สอบถามว่า การท่องเที่ยว ที่มีหนี้เยอะ เช่น โรงแรม จะเป็นอย่างไร
ดร ก้องเกียรติ ตอบว่า ส่วนใหญ่ ก็มีการแก้ไขคือ
1. ถ้าได้ปรับโครงสร้างหนี้ได้ ก็ไม่กระทบ
2.ขายกิจการบางประเภท เพื่อลดหนี้
3 ถ้าโอกาสเปิด ก็ออกหุ้นกู้
4.การเพิ่มทุน
ถ้าทำทุกอย่างแล้ว ไม่พอ ก็ต้องยอม หรือ ขายกิจการให้คนที่มีเงิน
บริษัทอสังหา บางบริษัท ขายทรัพย์สินบางอย่างทิ้ง บางบริษัทขายช้า ก็ขายราคาถูก ก็ต้องยอม

สุดท้ายขอขอบคุณ ดร ก้องเกียรติ ดร ไพบูลย์ และ ดร นิเวศน์ มากๆครับ
แนบไฟล์

โพสต์โพสต์