หุ้นTechต่างประเทศ เลือกแบบวีไอ อย่างไรให้โดน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
pookii
Verified User
โพสต์: 1840
ผู้ติดตาม: 1

หุ้นTechต่างประเทศ เลือกแบบวีไอ อย่างไรให้โดน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

หุ้นTechต่างประเทศ เลือกแบบวีไอ อย่างไรให้โดน

phpBB [video]
ภาพประจำตัวสมาชิก
pookii
Verified User
โพสต์: 1840
ผู้ติดตาม: 1

Re: หุ้นTechต่างประเทศ เลือกแบบวีไอ อย่างไรให้โดน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

อยากมีพอร์ตหุ้นเทคเมกะเทรนด์ พลาดไม่ได้! 3 ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและเทคโนโลยี จะมาแชร์ความรู้และประสบการณ์จริงของการลงทุนหุ้นเทคต่างประเทศ พร้อมให้คุณนำไปปรับใช้ ปั้นพอร์ตหุ้นเทคที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง

พบกับ
1️⃣ คุณโต กิตติศักดิ์ โควินท์ทวีวัฒน์
- เจ้าของเพจ Billionaire VI และนักลงทุนหุ้นต่างประเทศ ที่มาพร้อมประสบการณ์ทำงานในวงการ cloud computing และ AI
2️⃣ คุณหลิน วีระพงษ์ ธัม
- เลขาธิการสมาคม Thai VI และนักลงทุนเน้นคุณค่า ผู้เขียนหนังสือดัง ‘30 กลยุทธ์หุ้นเปลี่ยนชีวิต’
3️⃣ คุณเผ่า ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์
- ผู้ร่วมก่อตั้ง Fintech เพื่อการลงทุน Jitta และ Jitta Wealth และมีประสบการณ์ลงทุนหุ้นสหรัฐฯ มากว่า 10 ปี

phpBB [video]
ภาพประจำตัวสมาชิก
pookii
Verified User
โพสต์: 1840
ผู้ติดตาม: 1

Re: หุ้นTechต่างประเทศ เลือกแบบวีไอ อย่างไรให้โดน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

Outsource หรือการจ้างคนอื่นผลิตเป็น megatrend โลกที่ใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งตั้งแต่ยุคหนังสือ The World is flat ในปี 2005 / FB Verapong Guo Lin Tam

ยุคนั้นส่วนมากเป็น physical outsource จ้างผลิตสินค้า นำโลกสู่ยุค Globalization ซึ่งสร้าง case study ไว้ใน Wall street ยุคนั้นมากมาย
.
Dell ว่าจ้างบริษัทไต้หวันแห่งหนึ่งผลิตคอมพิวเตอร์ให้ และปิดโรงงานตัวเอง เพื่อเพิ่มตัวเลขทางการเงินให้สวย ๆ พยายามเป็น Platform Amazon of PC
.
ROE ของ Dell สูงขึ้นพร้อม ๆ กับราคาหุ้นที่วิ่งสูงลิ่วตลอดช่วงยุคทองของ Dell แต่สุดท้ายใครจะรู้ว่าบริษัทไต้หวันเล็ก ๆ ที่ Dell ว่าจ้างในวันนั้นจะโตขึ้นมาเป็น Asus ที่สามารถเทียบเคียง Dell ในตลาด PC ได้ในที่สุด
.
ล่าสุด Intel สุดยอด Chip maker ของโลกซึ่ง CEO มองออกว่า Intel ต้องเอา Chip กลับมาผลิตเองตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว แต่สุดท้ายด้วยหลายๆ เหตุผลบริษัทไต้หวันอย่าง TSMC ก็ผลิตดีกว่า จน Intel ต้องกลับไป Outsource อีกครั้ง แย่ไปกว่านั้นคือ Intel สูญเสีย focus ของความเป็นผู้นำ chip design ที่น่าจะเป็น core value ตัวเองไปอีก
.
เหตุผลเบื้องต้นเป็นแค่ Case ๆ หนึ่ง แต่จริงๆ มันเกิดขึ้นในทุกอุตสาหกรรม ประเทศตะวันตกรู้สึกถึงภัยคุกคามในความสามารถทางการผลิต (ความขยันผิดมนุษย์) ของเอเชียตะวันออก จึงทำให้ Physical Outsource ซึ่งทำให้ Globalization เฟื่องฟูใน 20 ปีที่ผ่านมาถึงจุดตกต่ำลง เกิดการย้ายฐานการผลิตกลับ เกิด Trade war ซึ่งสุดท้ายผมเชื่อว่าทำได้แค่บางส่วน เพราะมันจะซ้ำรอย Intel
.
แต่อย่าลืมว่ามีบริษัทที่ได้ประโยชน์จาก Globalization และโตขึ้นมาอยู่ในทำเนียบ Dowjones ได้หลายตัวเช่นเดียวกัน
.
โลก Outsource หลังจากนี้คือ SaaS (Software as Service) ซึ่งเป็นการ Outsource Virtual World หรือโลกเสมือน ไปไว้บน Cloud services
.
ความแตกต่างหนึ่งคือ SaaS มักจะ enhance business process มากกว่าไปลด core value creation ของธุรกิจอย่างที่ Outsource ดั้งเดิมทำ และโลกเสมือนก็ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตามที่ผมพูดในเทปนี้ว่าผมว่าโลกกำลังสร้าง The Metrix เหมือนในหนัง
.
บริษัทไทยจำนวนมากยังไม่ได้เข้าถึงประโยชน์ของ SaaS ซึ่งจะนำมาด้วย ประสิทธิภาพและโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ
.
Skill ที่จำเป็นบนโลกอนาคตใบนี้ อาจจะเป็นความสามารถในการใช้ Software เหล่านี้มาประยุกต์ สิ่งที่เราเรียนในห้องเรียนแทบไม่ตอบโจทย์โลกใบใหม่
.
ผมคิดว่าหุ้นพวกนี้จะเติบโตไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่มันคุกคามธุรกิจดั้งเดิม และถูกคุมกำเนิดไม่ว่าจะโดยรัฐ หรือ เอกชนเอากลับไปทำเอง ส่วนราคาหุ้นมันเฟ้อพอสมควร ใครจะลงทุนก็ศึกษาให้ดีครับ
.
ขอบคุณ Jitta ที่เชิญไปคุยนะครับ อนาคตคงไปรบกวนขอความรู้ digital transformation อิอิ ตอนถ่ายทำอุปกรณ์เยอะมาก Set up เยอะกว่าห้องส่งทีวีอีก เตรียมตัวกันดีฝุด ๆ บรรยากาศพนักงานเต็มห้องส่ง รอจนจบ Live สามทุ่ม
.
ทำให้คิดถึงหนังสือที่ดีที่สุดในช่วงปีนี้ของผมเรื่อง The ride of a lifetime ทุกคนทำให้ดีที่สุดจนหาจุดที่ทำให้ดีกว่านี้ไม่ได้แล้ว
.
“Don't be in the business of playing it safe. Be in the business of creating possibilities of greatness” Robert Igor
.
โพสต์โพสต์