ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4562
- ผู้ติดตาม: 0
ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 1
สวัสดีครับ ลองชวนคุยดูนะครับ ในนี้มีพี่ท่านไหนที่ลงทุนในหุ้นอเมริกา เป็นอาชีพ และมีประสบการณ์ลงทุนเกินกว่า 5-7 ปีไหมครับ
.
ก่อนอื่น ออกตัวก่อนนะครับว่า ผมเป็นมือใหม่มากๆ เรื่องลงทุนหุ้นต่างประเทศ เลยอาจจะถามคำถามที่ค่อนข้าง basic สำหรับ เซียนๆในห้องนี้พอสมควรครับ ถ้าอันไหน ไม่สะดวก จะข้ามไปได้นะครับ
1. ปกติ เล่นหุ้นเมกา ผลตอบแทนเฉลี่ย เทียบกับการลงทุนในหุ้นประเทศอื่นๆ เป็นอย่างไร (เอาแบบเทียบค่าเฉลี่ย ระยะยาว)นะครับ ความคุ้มค่าในการหาข้อมูล คือ หุ้นไทย บางคนก็บอกว่า ถือยาวๆ ไม่ค่อยได้ เพราะ ตลาดไม่ค่อยโต การจะหาหุ้น superstock อาจจะยากกว่าในเมกา พอสมควร ชนิดที่ ดร.เคยบอกว่า ซื้อแล้วนั่งกระดิกเท้ารอ ก็ยังได้ ตามหัวข้อ ของคำว่าคุ้มคือ คุ้มกับเวลาที่เราใช้ในการศึกษา หรือ เทียบกับ สุขภาพจิต เวลาเกิดการผันผวน แรงๆ ครับ
2. กลยุทธ การลงทุนหุ้นไทย กับ หุ้นเมกา เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดี แตกต่างกันไหมครับ เท่าที่ผมเข้าใจ หลัก การ vi ที่ดี คือ แบบ บัฟเฟต คือ ซื้อเมื่อราคาตกลงมาเยอะๆ แล้ว valuation ถูก เมื่อเทียบกับ moat และ growth ในระยะยาว ขณะที่ ถ้าไปตามเวป เมกา อย่าง motley fool หรือพวก seeking alpha ก็จะมี สาย ซื้อเมื่อ กราฟ เบรก new high แล้วเอา funda มาจับอีกที คือ อยากถามแบบประสบการณ์จริงๆ ว่า เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดี คิดว่ากลยุทธไหนดีที่สุด
3. ในแง่ของ valuation ผมสังเกตว่า หุ้นกลุ่ม nasdaq ที่ร่วงลงมา 70-80% ส่วนใหญ่่ เป็นหุ้นที่ ได้รับความนิยมสูงมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่ง การ forecast R กับ EPS จะถูก คาดการณ์ล่วงหน้าถึง 10 ปี ซึ่ง ตามที่ผมเข้าใจคือ ในบรรดา หุ้นที่ลงมา แบบนี้ จะมีกลุ่มนึง ที่ไม่กลับมาที่เดิม กับอีกกลุ่มอาจจะใช้เวลาสักพักก่อนกลับมาใหม่ได้ ขณะที่หุ้นที่ perform ดีๆ กว่า กลับเป็นหุ้นที่มี moat แข็งแกร่ง และ อาจจะทนทานกับสภาวะเงินเฟ้อได้มากกว่า หรือไม่ก็เป็นหุ้น ถูก PE แถวๆ 10-20 และอยู่ในเทรน เช่น คอมโม พลังงาน
คำถามในข้อ นี้คือ การ valuation หุ้นเมกา กับหุ้นไทย คิดว่าใช้วิธี valuation ต่างกันมากไหมครับ ในเมกา ใช้ rule of 40 นั้น คิดว่าใช้ได้ในระยะยาวไหมครับ ขณะที่หุ้นไทย หลักๆ ก็ใช้ PE แต่สำหรับหุ้น growth ก็จะใช้ PEG หรือ บางคนก็อาจจะใช้ DCF แต่ ผมว่า การใช้ DCF ก็เป็นความเสี่ยงพอสมควร เพราะ ตัวแปร ในระยะยาว ก็มีความเคลื่อนเยอะอยู่
ขอเสริมอีกสักนิดครับ เท่าที่ผมศึกษามา ข้อเสียของหุ้น high growth ที่ไม่มีกำไร จะมีความเสี่ยงตอนเงินเฟ้อขึ้นแรงๆ ในอดีตนั้น ช่วงที่ค่าแรงขึ้นมากๆ พวก high growth เหล่านี้ โดนปรับ valuation แรงมาก เพราะ คนกังวลว่าค่าแรงที่เพิ่มขึ้น จนทำให้ บริษัทพวกนี้ ทำกำไรยากขึ้นกว่าเดิม จน มีหลายบริษัทที่ต้องพ่ายแพ้ไป อยากลองคุยว่า สถานการณ์ตอนนี้จะต่างกับตอนสมัยก่อนๆ มากน้อยแค่ไหน
4. ข้อมูลประกอบ การตัดสินใจ ใน ไทย การอ่าน 56-1 เหมือนจะปวดหัว แต่ก็ไม่ยาวมากเท่าของเมกา แถมมี บวค กับข่าว ค่อนข้างเยอะ (แม้ว่า บวค ที่วิเคราะห์เจาะลึกจะหาได้ยากหน่อย แต่ก็ได้ฟรี) แถมมี ผบห ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างๆพอสมควร รวมไปถึง oppday ส่วนในตลาดเมกา นั้น เท่าที่ผมเข้าใจ คือ ข้อมูล เยอะกว่าของไทยมากๆ ที่เปิดเผย public แต่ บทวิเคราะห์ดีๆจะหายากหน่อย (คือ ไม่รู้แหล่งเข้าถึงพวกนี้ ต้องเข้ายังไงเหมือนกัน)
ผมเลยเลือกอ่านใน seekingalpha ก็จะมี เซียนหุ้นที่เคยเก่งมากๆ เมื่อปีก่อนๆ ที่เชียร์หุ้นเทพๆหลายตัว แต่พอ สถานการณ์เปลี่ยน หุ้นที่น่าจะได้ประโยชน์จากโควิดแค่ชั่วคราว แต่ก็ยังเชียร์ต่อเนื่องๆ (อันนี้ อย่างที่บอกว่าประสบการณ์ผมน้อย อาจจะเข้าใจผิด ผ่านไปอีก 2-3 ปี เขาอาจจะถูกก็ได้) กลายเป็นกลยุทธ ลอกเซียน ในเมกา อาจจะยากกว่าที่คิด
5. สิ่งหนึ่ง ที่เป็นปัจจัยหลัก ในการลงทุน คือ การทำความเข้าใจในกิจการ
ในไทยนั้น อาจจะ ใช้วิธีการ แยก segment ออกมา ได้ง่ายระดับหนึ่ง เช่น อุตสาหกรรมทวงหนี้ อุตสาหกรรม ร้านอาหาร หรือ ค้าปลีกเฉพาะทาง บางอย่าง ซึ่ง การทำความเข้าใจ กิจการ ว่า ใครเป็นผู้นำ ในตลาดนี้ หรือ ใครจะเป็นผู้เล่นที่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์นั้นๆ หรือ เข้าใกล้ช่วงเก็บเกี่ยวผลตอบแทน อาจจะเป็นประเด็นที่ นักลงทุนสามารถใช้ในการประเมิน การลงทุนได้ ง่ายกว่า ไหมครับ คือ ในแง่ของข้อมูลอเมริกา ผมเชื่อว่า การให้ข้อมูลของแต่ละบริษัท หลายที่ให้ข้อมูลได้ดีกว่าไทยเยอะ เช่น ภาพของ TAM หรือ ภาพของ business model
คำถามข้อนี้ คือ ในประสบการณ์การลงทุน หุ้นเติบโตใน อเมริกานั้น คิดว่า การทำความเข้าใจธุรกิจเพื่อประเมินกำไรในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ยากกว่า ไทย หรือ ง่ายกว่าไทยครับ
ลองชวนคุยดูนะครับ ใครมีประเด็นอื่น เสริมเพิ่ม ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
หมายเหตุ - กระทู้นี้ไม่ได้มีเจตนาพาดพิงบุคคลใด ทั้งสิ้น ผมเขียนข้อสังเกตจากประสบการณ์ส่วนตัวในหุ้นเมกา ซึ่งยอมรับว่า อ่อนด้อยมาก และ อยากลองฟังความรู้เพื่อจะได้นำไปปรับใช้ต่อไป
.
ก่อนอื่น ออกตัวก่อนนะครับว่า ผมเป็นมือใหม่มากๆ เรื่องลงทุนหุ้นต่างประเทศ เลยอาจจะถามคำถามที่ค่อนข้าง basic สำหรับ เซียนๆในห้องนี้พอสมควรครับ ถ้าอันไหน ไม่สะดวก จะข้ามไปได้นะครับ
1. ปกติ เล่นหุ้นเมกา ผลตอบแทนเฉลี่ย เทียบกับการลงทุนในหุ้นประเทศอื่นๆ เป็นอย่างไร (เอาแบบเทียบค่าเฉลี่ย ระยะยาว)นะครับ ความคุ้มค่าในการหาข้อมูล คือ หุ้นไทย บางคนก็บอกว่า ถือยาวๆ ไม่ค่อยได้ เพราะ ตลาดไม่ค่อยโต การจะหาหุ้น superstock อาจจะยากกว่าในเมกา พอสมควร ชนิดที่ ดร.เคยบอกว่า ซื้อแล้วนั่งกระดิกเท้ารอ ก็ยังได้ ตามหัวข้อ ของคำว่าคุ้มคือ คุ้มกับเวลาที่เราใช้ในการศึกษา หรือ เทียบกับ สุขภาพจิต เวลาเกิดการผันผวน แรงๆ ครับ
2. กลยุทธ การลงทุนหุ้นไทย กับ หุ้นเมกา เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดี แตกต่างกันไหมครับ เท่าที่ผมเข้าใจ หลัก การ vi ที่ดี คือ แบบ บัฟเฟต คือ ซื้อเมื่อราคาตกลงมาเยอะๆ แล้ว valuation ถูก เมื่อเทียบกับ moat และ growth ในระยะยาว ขณะที่ ถ้าไปตามเวป เมกา อย่าง motley fool หรือพวก seeking alpha ก็จะมี สาย ซื้อเมื่อ กราฟ เบรก new high แล้วเอา funda มาจับอีกที คือ อยากถามแบบประสบการณ์จริงๆ ว่า เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดี คิดว่ากลยุทธไหนดีที่สุด
3. ในแง่ของ valuation ผมสังเกตว่า หุ้นกลุ่ม nasdaq ที่ร่วงลงมา 70-80% ส่วนใหญ่่ เป็นหุ้นที่ ได้รับความนิยมสูงมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่ง การ forecast R กับ EPS จะถูก คาดการณ์ล่วงหน้าถึง 10 ปี ซึ่ง ตามที่ผมเข้าใจคือ ในบรรดา หุ้นที่ลงมา แบบนี้ จะมีกลุ่มนึง ที่ไม่กลับมาที่เดิม กับอีกกลุ่มอาจจะใช้เวลาสักพักก่อนกลับมาใหม่ได้ ขณะที่หุ้นที่ perform ดีๆ กว่า กลับเป็นหุ้นที่มี moat แข็งแกร่ง และ อาจจะทนทานกับสภาวะเงินเฟ้อได้มากกว่า หรือไม่ก็เป็นหุ้น ถูก PE แถวๆ 10-20 และอยู่ในเทรน เช่น คอมโม พลังงาน
คำถามในข้อ นี้คือ การ valuation หุ้นเมกา กับหุ้นไทย คิดว่าใช้วิธี valuation ต่างกันมากไหมครับ ในเมกา ใช้ rule of 40 นั้น คิดว่าใช้ได้ในระยะยาวไหมครับ ขณะที่หุ้นไทย หลักๆ ก็ใช้ PE แต่สำหรับหุ้น growth ก็จะใช้ PEG หรือ บางคนก็อาจจะใช้ DCF แต่ ผมว่า การใช้ DCF ก็เป็นความเสี่ยงพอสมควร เพราะ ตัวแปร ในระยะยาว ก็มีความเคลื่อนเยอะอยู่
ขอเสริมอีกสักนิดครับ เท่าที่ผมศึกษามา ข้อเสียของหุ้น high growth ที่ไม่มีกำไร จะมีความเสี่ยงตอนเงินเฟ้อขึ้นแรงๆ ในอดีตนั้น ช่วงที่ค่าแรงขึ้นมากๆ พวก high growth เหล่านี้ โดนปรับ valuation แรงมาก เพราะ คนกังวลว่าค่าแรงที่เพิ่มขึ้น จนทำให้ บริษัทพวกนี้ ทำกำไรยากขึ้นกว่าเดิม จน มีหลายบริษัทที่ต้องพ่ายแพ้ไป อยากลองคุยว่า สถานการณ์ตอนนี้จะต่างกับตอนสมัยก่อนๆ มากน้อยแค่ไหน
4. ข้อมูลประกอบ การตัดสินใจ ใน ไทย การอ่าน 56-1 เหมือนจะปวดหัว แต่ก็ไม่ยาวมากเท่าของเมกา แถมมี บวค กับข่าว ค่อนข้างเยอะ (แม้ว่า บวค ที่วิเคราะห์เจาะลึกจะหาได้ยากหน่อย แต่ก็ได้ฟรี) แถมมี ผบห ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างๆพอสมควร รวมไปถึง oppday ส่วนในตลาดเมกา นั้น เท่าที่ผมเข้าใจ คือ ข้อมูล เยอะกว่าของไทยมากๆ ที่เปิดเผย public แต่ บทวิเคราะห์ดีๆจะหายากหน่อย (คือ ไม่รู้แหล่งเข้าถึงพวกนี้ ต้องเข้ายังไงเหมือนกัน)
ผมเลยเลือกอ่านใน seekingalpha ก็จะมี เซียนหุ้นที่เคยเก่งมากๆ เมื่อปีก่อนๆ ที่เชียร์หุ้นเทพๆหลายตัว แต่พอ สถานการณ์เปลี่ยน หุ้นที่น่าจะได้ประโยชน์จากโควิดแค่ชั่วคราว แต่ก็ยังเชียร์ต่อเนื่องๆ (อันนี้ อย่างที่บอกว่าประสบการณ์ผมน้อย อาจจะเข้าใจผิด ผ่านไปอีก 2-3 ปี เขาอาจจะถูกก็ได้) กลายเป็นกลยุทธ ลอกเซียน ในเมกา อาจจะยากกว่าที่คิด
5. สิ่งหนึ่ง ที่เป็นปัจจัยหลัก ในการลงทุน คือ การทำความเข้าใจในกิจการ
ในไทยนั้น อาจจะ ใช้วิธีการ แยก segment ออกมา ได้ง่ายระดับหนึ่ง เช่น อุตสาหกรรมทวงหนี้ อุตสาหกรรม ร้านอาหาร หรือ ค้าปลีกเฉพาะทาง บางอย่าง ซึ่ง การทำความเข้าใจ กิจการ ว่า ใครเป็นผู้นำ ในตลาดนี้ หรือ ใครจะเป็นผู้เล่นที่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์นั้นๆ หรือ เข้าใกล้ช่วงเก็บเกี่ยวผลตอบแทน อาจจะเป็นประเด็นที่ นักลงทุนสามารถใช้ในการประเมิน การลงทุนได้ ง่ายกว่า ไหมครับ คือ ในแง่ของข้อมูลอเมริกา ผมเชื่อว่า การให้ข้อมูลของแต่ละบริษัท หลายที่ให้ข้อมูลได้ดีกว่าไทยเยอะ เช่น ภาพของ TAM หรือ ภาพของ business model
คำถามข้อนี้ คือ ในประสบการณ์การลงทุน หุ้นเติบโตใน อเมริกานั้น คิดว่า การทำความเข้าใจธุรกิจเพื่อประเมินกำไรในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ยากกว่า ไทย หรือ ง่ายกว่าไทยครับ
ลองชวนคุยดูนะครับ ใครมีประเด็นอื่น เสริมเพิ่ม ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
หมายเหตุ - กระทู้นี้ไม่ได้มีเจตนาพาดพิงบุคคลใด ทั้งสิ้น ผมเขียนข้อสังเกตจากประสบการณ์ส่วนตัวในหุ้นเมกา ซึ่งยอมรับว่า อ่อนด้อยมาก และ อยากลองฟังความรู้เพื่อจะได้นำไปปรับใช้ต่อไป
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4562
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 3
ผมว่า อาจารย์ตี่ น่าจะ qualified ระดับต้นๆของเวปไทยวีไอแล้วครับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 4
ถ้าตอนสั้นๆ สำหรับหมอเค ลงทุนหุ้นไทยคุ้มกว่าครับ ข้อได้เปรียบที่หมอเค มีในตลาดไทย ไม่คุ้มค่ากับผมตอบแทนสามัญธรรมดาที่ได้จากตลาดหุ้นต่างประเทศหรอกครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4562
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณสำหรับคำตอบครับอาจารย์ตี่
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 6
สำหรับ Passive Investing ผลตอบแทนเฉลี่ยสามารถดูง่ายๆผ่านตัวดัชนีได้เลยครับ ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นอเมริกาให้ผลตอบแทนดีที่สุด จากข้อมูลที่ผมทำเก็บไว้เพื่อใช้เป็น benchmark วัดผลงานการลงทุนของผมเอง ผมใช้ดัชนีหุ้นไทย (SET Index), ดัชนีหุ้นฮ่องกง (Hang Seng Index), ดัชนีหุ้นญี่ปุ่น (Nikkei 225), และดัชนีหุ้นอเมริกา (S&P500)1. ปกติ เล่นหุ้นเมกา ผลตอบแทนเฉลี่ย เทียบกับการลงทุนในหุ้นประเทศอื่นๆ เป็นอย่างไร (เอาแบบเทียบค่าเฉลี่ย ระยะยาว)นะครับ ความคุ้มค่าในการหาข้อมูล คือ หุ้นไทย บางคนก็บอกว่า ถือยาวๆ ไม่ค่อยได้ เพราะ ตลาดไม่ค่อยโต การจะหาหุ้น superstock อาจจะยากกว่าในเมกา พอสมควร ชนิดที่ ดร.เคยบอกว่า ซื้อแล้วนั่งกระดิกเท้ารอ ก็ยังได้ ตามหัวข้อ ของคำว่าคุ้มคือ คุ้มกับเวลาที่เราใช้ในการศึกษา หรือ เทียบกับ สุขภาพจิต เวลาเกิดการผันผวน แรงๆ ครับ
S&P 500 ให้ผลตอบแทนเกิน 100% รองลงมาคือญี่ปุ่น ราวๆ 50-60% ตลาดหุ้นไทยราวๆ 20% และท้ายสุดคือตลาดหุ้นฮ่องกงที่ให้ผลตอบแทนราวๆ 10%
สำหรับ Active Investing คำถามที่ว่าคุ้มกับเวลา และอื่นๆ มั๊ย ให้มองดูผลตอบแทนของหุ้นกลุ่ม MAAMA (Microsoft, Apple, Amazon, Meta, Alphabet) ซึ่งเรามีความคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์และบริการของเค้าอยู่แล้ว ซึ่งน่าจะทำให้เราเห็นโอกาสได้ไม่ยาก
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 7
กลยุทธ์การลงทุนขึ้นกับจริตของแต่ละคนครับ ส่วนตัวแล้วผมใช้หลักการเดียวกันในการลงทุนไม่ว่าจะลงทุนในประเทศไหน และผมคิดว่าเราไม่ควรจะไป mix and match แต่ละวิธีหากใช้ให้เป็นก็สร้างผลตอบแทนที่ดีได้ครับ2. กลยุทธ การลงทุนหุ้นไทย กับ หุ้นเมกา เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดี แตกต่างกันไหมครับ เท่าที่ผมเข้าใจ หลัก การ vi ที่ดี คือ แบบ บัฟเฟต คือ ซื้อเมื่อราคาตกลงมาเยอะๆ แล้ว valuation ถูก เมื่อเทียบกับ moat และ growth ในระยะยาว ขณะที่ ถ้าไปตามเวป เมกา อย่าง motley fool หรือพวก seeking alpha ก็จะมี สาย ซื้อเมื่อ กราฟ เบรก new high แล้วเอา funda มาจับอีกที คือ อยากถามแบบประสบการณ์จริงๆ ว่า เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดี คิดว่ากลยุทธไหนดีที่สุด
สำหรับผมแล้ว ปรัชญาการลงทุนของผมคือการมองหาบริษัทที่เป็น Great Companies และบริษัทที่มีศักยภาพที่จะเป็น Great Companies ผมพร้อมที่จะ buy and hold กับบริษัทเหล่านี้ เมื่อผมหาบริษัทในสเป็คที่ผมต้องการไม่ได้ในตลาดหุ้นไทย ผมจึงไปมองหาในตลาดต่างประเทศ (ไม่จำเป็นต้องจำกัดแค่อเมริกา) ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนเยอะมาก บริษัทเหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่บริษัทในกลุ่มเทค นอกกลุ่มเทคก็มี เช่น Deere, Costco เป็นต้น
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 8
หลักการ valuation ไม่ว่าจะตลาดไหนก็เหมือนครับ แต่การเอาไปประยุกต์ใช้จะมีความแตกต่างกัน กฎที่เป็น rule of thumb ทั้งหลายใช้ได้แบบหยาบๆเท่านั้นครับ ในการลงทุนแล้วต้องไปเจาะลึก fundamental ให้แตกก่อน เพื่อที่จะสร้าง narrative หรือ Story ของหุ้นตัวนั้น เพื่อที่จะเป็นกรอบให้เราใช้ในการ valuation3. ในแง่ของ valuation ผมสังเกตว่า หุ้นกลุ่ม nasdaq ที่ร่วงลงมา 70-80% ส่วนใหญ่่ เป็นหุ้นที่ ได้รับความนิยมสูงมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่ง การ forecast R กับ EPS จะถูก คาดการณ์ล่วงหน้าถึง 10 ปี ซึ่ง ตามที่ผมเข้าใจคือ ในบรรดา หุ้นที่ลงมา แบบนี้ จะมีกลุ่มนึง ที่ไม่กลับมาที่เดิม กับอีกกลุ่มอาจจะใช้เวลาสักพักก่อนกลับมาใหม่ได้ ขณะที่หุ้นที่ perform ดีๆ กว่า กลับเป็นหุ้นที่มี moat แข็งแกร่ง และ อาจจะทนทานกับสภาวะเงินเฟ้อได้มากกว่า หรือไม่ก็เป็นหุ้น ถูก PE แถวๆ 10-20 และอยู่ในเทรน เช่น คอมโม พลังงาน
คำถามในข้อ นี้คือ การ valuation หุ้นเมกา กับหุ้นไทย คิดว่าใช้วิธี valuation ต่างกันมากไหมครับ ในเมกา ใช้ rule of 40 นั้น คิดว่าใช้ได้ในระยะยาวไหมครับ ขณะที่หุ้นไทย หลักๆ ก็ใช้ PE แต่สำหรับหุ้น growth ก็จะใช้ PEG หรือ บางคนก็อาจจะใช้ DCF แต่ ผมว่า การใช้ DCF ก็เป็นความเสี่ยงพอสมควร เพราะ ตัวแปร ในระยะยาว ก็มีความเคลื่อนเยอะอยู่
ขอเสริมอีกสักนิดครับ เท่าที่ผมศึกษามา ข้อเสียของหุ้น high growth ที่ไม่มีกำไร จะมีความเสี่ยงตอนเงินเฟ้อขึ้นแรงๆ ในอดีตนั้น ช่วงที่ค่าแรงขึ้นมากๆ พวก high growth เหล่านี้ โดนปรับ valuation แรงมาก เพราะ คนกังวลว่าค่าแรงที่เพิ่มขึ้น จนทำให้ บริษัทพวกนี้ ทำกำไรยากขึ้นกว่าเดิม จน มีหลายบริษัทที่ต้องพ่ายแพ้ไป อยากลองคุยว่า สถานการณ์ตอนนี้จะต่างกับตอนสมัยก่อนๆ มากน้อยแค่ไหน
ยิ่งบริษัทในต่างประเทศมีโมเดลทางธุรกิจที่เราไม่ค่อยเห็นในเมืองไทย ยิ่งต้องใช้เวลาในการศึกษาให้มาก การใช้ rule of thumb แบบโต้งๆเลยมีความเสี่ยงมากครับ
อย่างไรก็ดี แต่ละวิธีที่เอามาใช้ ไม่ว่าจะเป็น rule of thumb, relative valuation อย่าง PE หรือ intrinsic valuation อย่าง DCF เราต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ สามารถตอบกับตัวเองได้ว่าทำไมถึงใช้ค่านี้ในโมเดลของเรา
การลงทุนเป็นการมองไปข้างหน้า เพราะฉะนั้นอย่ากลัวที่ค่าที่เราใช้จะคาดเคลื่อน เพราะมันคลาดเคลื่อนแน่ๆ ดังนั้น fundamental จึงสำคัญที่สุด มาก่อนที่เราจะประเมินมูลค่าเสียอีก
สำหรับสถานการณ์เงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ย และผลกระทบกับหุ้น high growth ที่ยังไม่มีกำไร ผมอยากให้เปลี่ยนจากการมองแบบ generalisation ไปเป็นแบบ more specific ครับ อาจจะเห็นภาพที่แตกต่างออกไปได้ครับ เช่น บริษัทแบบไหนที่ได้รับผลกระทบหรือบริษัทแบบไหนที่ไม่ได้รับผลกระทบ บริษัทที่มี moat มักจะไม่ได้รับผลกระทบ ดังนั้น บริษัท high growth ที่ยังไม่มีกำไร แต่มี moat ก็จะไม่ได้รับผลกระทบครับ
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 9
ความเหลื่อมล้ำของข้อมูลในไทย มากกว่า ที่อเมริกาเยอะเลยครับ ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบอย่างเห็นได้ชัดระหว่าง นักลงทุนรายใหญ่ที่มีช่องทางเข้าถึงข้อมูลล่วงหน้าก่อนนักลงทุนรายย่อย4. ข้อมูลประกอบ การตัดสินใจ ใน ไทย การอ่าน 56-1 เหมือนจะปวดหัว แต่ก็ไม่ยาวมากเท่าของเมกา แถมมี บวค กับข่าว ค่อนข้างเยอะ (แม้ว่า บวค ที่วิเคราะห์เจาะลึกจะหาได้ยากหน่อย แต่ก็ได้ฟรี) แถมมี ผบห ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างๆพอสมควร รวมไปถึง oppday ส่วนในตลาดเมกา นั้น เท่าที่ผมเข้าใจ คือ ข้อมูล เยอะกว่าของไทยมากๆ ที่เปิดเผย public แต่ บทวิเคราะห์ดีๆจะหายากหน่อย (คือ ไม่รู้แหล่งเข้าถึงพวกนี้ ต้องเข้ายังไงเหมือนกัน)
ผมเลยเลือกอ่านใน seekingalpha ก็จะมี เซียนหุ้นที่เคยเก่งมากๆ เมื่อปีก่อนๆ ที่เชียร์หุ้นเทพๆหลายตัว แต่พอ สถานการณ์เปลี่ยน หุ้นที่น่าจะได้ประโยชน์จากโควิดแค่ชั่วคราว แต่ก็ยังเชียร์ต่อเนื่องๆ (อันนี้ อย่างที่บอกว่าประสบการณ์ผมน้อย อาจจะเข้าใจผิด ผ่านไปอีก 2-3 ปี เขาอาจจะถูกก็ได้) กลายเป็นกลยุทธ ลอกเซียน ในเมกา อาจจะยากกว่าที่คิด
กฎระเบียบต่างๆในไทยก็ดูจะไม่เอื้อกับนักลงทุนมากนักแม้ว่าจะมีการพัฒนาให้ดีขึ้นมากกว่าแต่ก่อนแล้วก็ตาม เช่น การต้องเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์เพื่อการเข้าดู opp day ทั้งๆที่ข้อมูลนำเสนอเหล่านี้เป็น price sensitive หรือการไม่อนุญาตให้บริษัทให้ guidance (บางบริษัทจึงให้ guidance เป็น Market Cap แทนเลย ซึ่งไม่ผิดกฎ) เป็นต้น
ข้อเสียเปรียบอย่างนึงในการลงทุนหุ้นต่างประเทศคือ การได้จับต้องหรือใช้บริการของบริษัทที่เราลงทุน ทำให้เราขาด sense ในการประเมินว่าบริษัทนี้ดีหรือไม่ดีอย่างไร ซึ่งการแก้ปัญหานี้คือการหาข้อมูลรองมาใช้แทน (เช่น การรีวิวในเว็ป) แต่ก็ต้องใช้เวลาในการศึกษา
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 10
ที่ไทยง่ายกว่าเยอะครับ เพราะ business model ไม่มีอะไรใหม่ Playbook ที่ใช้ก็เป็น playbook ที่มีตัวอย่างให้เห็นอยู่แล้ว5. สิ่งหนึ่ง ที่เป็นปัจจัยหลัก ในการลงทุน คือ การทำความเข้าใจในกิจการ
ในไทยนั้น อาจจะ ใช้วิธีการ แยก segment ออกมา ได้ง่ายระดับหนึ่ง เช่น อุตสาหกรรมทวงหนี้ อุตสาหกรรม ร้านอาหาร หรือ ค้าปลีกเฉพาะทาง บางอย่าง ซึ่ง การทำความเข้าใจ กิจการ ว่า ใครเป็นผู้นำ ในตลาดนี้ หรือ ใครจะเป็นผู้เล่นที่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์นั้นๆ หรือ เข้าใกล้ช่วงเก็บเกี่ยวผลตอบแทน อาจจะเป็นประเด็นที่ นักลงทุนสามารถใช้ในการประเมิน การลงทุนได้ ง่ายกว่า ไหมครับ คือ ในแง่ของข้อมูลอเมริกา ผมเชื่อว่า การให้ข้อมูลของแต่ละบริษัท หลายที่ให้ข้อมูลได้ดีกว่าไทยเยอะ เช่น ภาพของ TAM หรือ ภาพของ business model
คำถามข้อนี้ คือ ในประสบการณ์การลงทุน หุ้นเติบโตใน อเมริกานั้น คิดว่า การทำความเข้าใจธุรกิจเพื่อประเมินกำไรในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ยากกว่า ไทย หรือ ง่ายกว่าไทยครับ
แต่การศึกษาตัวธุรกิจของหุ้นเติบโตในอเมริกาก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิดครับ เนื่องจากมีแหล่งข้อมูลเยอะมาก ไม่ว่าจะจากตัวบริษัทเอง จากสื่อต่างๆ และกูรู ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากเพิ่ม circle of competence ของเรารึเปล่า เราอยากสร้างจุดใหม่ๆ เพิ่มขึ้นรึเปล่า เพื่อว่าในอนาคตเราอาจจะมีโอกาสลากเส้นเชื่อมจุดเหล่านั้นเข้าด้วยกัน (ซึ่งมันจะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ผลตอบแทนการลงทุน)
สำหรับผม ผมรู้สึกสนุกที่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ จึงไม่รู้สึกว่ามันเป็น burden ครับ
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 11
ผลตอบแทนหุ้นไทยน่าจะดีกว่าต่างประเทศที่ความสามารถกับการลงแรงเท่า ๆ กัน
สาเหตุคือ
1. เราใกล้ชิดตลาด เข้าใจดีกว่า
2. ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดตลาดหนึ่งของโลก
แต่ข้อ 2 กำลังจะกลายเป็นอดีตไปแล้ว (หรือเป็นไปแล้ว)
ส่วนข้อ 1 ก็ขึ้นกับความพยายาม เอาเข้าจริง ๆ ถ้าไม่หวังผลตอบแทนสูงส่ง
ตลาดต่างประเทศหาหุ้นให้ return 10% ต่อปีต่อเนื่องได้ง่ายกว่าไทยมาก
ส่วนตลาดหุ้นไทยนั้น หุ้นที่ทำได้แบบนี้มีน้อยลงมาก ส่วนใหญ่อาจจะต้องผสมกับการเก็งกำไรด้วย ถึงจะได้ในเวลานี้
ซึ่งถ้าจะออกแนวเก็งกำไร หุ้นไทยดีกว่ามาก ๆ
หุ้นต่างประเทศควรจะตั้งธงว่า ไปเพื่อกระจายความเสี่ยง และคาดหวังผลตอบแทนที่เหมาะสม
แบบที่จะเปลี่ยนชีวิตแบบหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา ยังรอวีไอไทยมาพิสูจน์ได้ว่ามันทำได้จริง
สาเหตุคือ
1. เราใกล้ชิดตลาด เข้าใจดีกว่า
2. ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดตลาดหนึ่งของโลก
แต่ข้อ 2 กำลังจะกลายเป็นอดีตไปแล้ว (หรือเป็นไปแล้ว)
ส่วนข้อ 1 ก็ขึ้นกับความพยายาม เอาเข้าจริง ๆ ถ้าไม่หวังผลตอบแทนสูงส่ง
ตลาดต่างประเทศหาหุ้นให้ return 10% ต่อปีต่อเนื่องได้ง่ายกว่าไทยมาก
ส่วนตลาดหุ้นไทยนั้น หุ้นที่ทำได้แบบนี้มีน้อยลงมาก ส่วนใหญ่อาจจะต้องผสมกับการเก็งกำไรด้วย ถึงจะได้ในเวลานี้
ซึ่งถ้าจะออกแนวเก็งกำไร หุ้นไทยดีกว่ามาก ๆ
หุ้นต่างประเทศควรจะตั้งธงว่า ไปเพื่อกระจายความเสี่ยง และคาดหวังผลตอบแทนที่เหมาะสม
แบบที่จะเปลี่ยนชีวิตแบบหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา ยังรอวีไอไทยมาพิสูจน์ได้ว่ามันทำได้จริง
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 12
สุดยอดเลยครับพี่ กด like ให้ทุกความเห็นเลยครับA27290 เขียน: ↑อาทิตย์ ก.พ. 06, 2022 12:22 pm...สำหรับสถานการณ์เงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ย และผลกระทบกับหุ้น high growth ที่ยังไม่มีกำไร ผมอยากให้เปลี่ยนจากการมองแบบ generalisation ไปเป็นแบบ more specific ครับ อาจจะเห็นภาพที่แตกต่างออกไปได้ครับ เช่น บริษัทแบบไหนที่ได้รับผลกระทบหรือบริษัทแบบไหนที่ไม่ได้รับผลกระทบ บริษัทที่มี moat มักจะไม่ได้รับผลกระทบ ดังนั้น บริษัท high growth ที่ยังไม่มีกำไร แต่มี moat ก็จะไม่ได้รับผลกระทบครับ
เอาจริงๆ ที่ผมตอบหมอเคว่า ไม่คุ้มกับเหมาะเค เพราะ ผมคิดว่าผมเข้าใจนิสัย วิธีการลงทุน และข้อได้เปรียบในตลาดหุ้นไทยของหมอเคระดับหนึ่ง ผมเลยสรุปไปเลยว่า สำหรับหมอเคแล้วไม่คุ้ม
แต่ถ้าเป็นนักลงทุนมือใหม่ หรือคนที่ไม่ได้มีข้อได้เปรียบในการลงทุนหุ้นไทยมาถามผม ผมก็จะตอบว่าคุ้มกว่ามากที่จะไปลงทุนในต่างประเทศ ไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนในไทย เพราะ
การที่ดัชนีหุ้นไทยไม่ไปไหนมาเป็น 10 ปี สาเหตุจริงๆ คือ รายได้และกำไรของเราไม่ไปไหนครับ รายได้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์เราลดลง เกือบ 20% ในช่วงปี 2013-2021 ในขณะที่กำไรทรงๆ มาตลอด
ในขณะที่รายได้ของบริษัทใน nasdaq โต ขึ้นมา 120% ในขณะที่กำไรโตขึ้นมา 176%
สิ่งที่เกิดขึ้น คือ digital disruption เกิดขึ้นจริง จาก smartphone revolution ในช่วงที่ผ่านมา รายได้เศรษฐกิจเก่าไม่โต แต่กำไรดีขึ้นจากการลดต้นทุน จากการเอาเทคโนโลยีในใช้
ในขณะที่กิจการเทค โตขึ้นจริงทั้งรายได้ และอัตราทำกำไร
ในการลงทุนในตลาดที่รายได้และกำไรไม่ค่อยไปไหน เกมส์จะเป็น zero sum game คนที่อยู่เราในตลาดมาก่อน และได้เปรียบอย่างหมอเค จะกินเงินมือใหม่ที่เข้ามาทีหลัง โดยใช้ประสบการณ์ และ ข้อได้เปรียบที่มี
ในขณะที่การลงทุนในตลาดที่มีการเติบโตของรายได้และกำไร การลงทุนจะไม่ใช่ zero sum games นักลงทุนยังมีโอกาสที่จะได้กำไรจากการลงทุนในกิจการที่ดี ที่ยังมีการเติบโตได้ หากลงทุนในระยะยาว
การลงทุนเป็นการมองไปข้างหน้า คำถามคือ จริงๆ แล้วอนาคตมันอยู่ที่ไหน และราคาตอนนี้ สะท้อนอนาคตไปขนาดไหน
ในอดีตไทยเคยมีช่วงรุ่งโรจน์จากหลังวิกฤตต้มยำกุ้งจนมา peak ตอนปี 2013 สิ่งที่เกิดขึ้น คือ มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างครั้งใหญ่ทางเศรษฐกิจ และสังคม ในขณะที่หุ้นราคาถูกมากๆ จากฟองสบู่ที่พึ่งแตกไป value investing จึงได้ประโยชน์ในช่วงต้น จนเกิดเป็นเว็บนี้ขึ้น
ในช่วงถัดมาหุ้นที่ outperform คือ หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ consolidate ธุรกิจ บริหารจัดการแบบรวมศูนย์
อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดการปฏิวัติทางด้าน smartphone การแข่งขันจึงไม่ใช่การแข่งขันกันในชาติอีกต่อไป แต่เป็นบริษัทข้ามชาติสามารถเจาะตลาดไทย ผ่าน platform business model ซึ่งเทรนด์นี้เป็นไปกันทั้งโลก ถ้าไปดูรายได้ของกิจการโดยรวมของยุโรป ก็ออกมาในทรงคล้ายๆ กัน
การเติบโตในกิจการช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจึงไปเกิดที่หุ้นเทค
ความคุ้มค่าของการลงทุนในภาพรวมในอีก 10 ปีข้างหน้า จึงต้องคิดถึงว่าเรื่อง trend นี้จบลงหรือยัง มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้น และราคา ณ ขณะนี้สะท้อนพื้นฐานอยู่ที่เท่าไร
แต่เท่าๆ ที่ศึกษา ผมเชื่อว่าการเติบโตก็น่ายังไปอยู่ที่บริษัทที่ทำ platform ใน generation ถัดไป ที่ทำให้คนมีโอกาสในชีวิตมากยิ่งขึ้น
COVID ได้เปิดประตู tele anything ขึ้น และจะเป็น next phase ของ digital disruption การไปลงทุนในระบบเศรษฐกิจที่ยังมีการเติบโตอยู่ น่าจะยังดีกว่าการลงทุนในไทย ถ้าหากว่าคุณไม่มีข้อได้เปรียบแบบที่หมอเคมี
เมื่ออวสานสิ่งหนึ่ง ก็เป็นจุดเริ่มต้นของอีกสิ่ง เงินไม่เคยหยุดนิ่ง แต่ไหลจากที่ๆ ผลตอบแทนต่ำไปที่ๆ ผลตอบแทนสูง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 262
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 13
Why moats matter? เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ Business moats ที่ดีที่สุดใช้ไหมครับ หรือมีเล่มอื่นๆ แนะนำอีกครับA27290 เขียน: ↑อาทิตย์ ก.พ. 06, 2022 3:38 amบริษัทแบบไหนที่ได้รับผลกระทบหรือบริษัทแบบไหนที่ไม่ได้รับผลกระทบ บริษัทที่มี moat มักจะไม่ได้รับผลกระทบ ดังนั้น บริษัท high growth ที่ยังไม่มีกำไร แต่มี moat ก็จะไม่ได้รับผลกระทบครับ
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 14
ภาพปลากรอบ
ดูตัวเลขของ nasdaq ยาวๆ ดัชนีที่ขึ้นมา จาก 3,5xx มาที่ 16,xxx เป็นผลจาก ปัจจัยพื้นฐาน 68% จาก p/e ที่สูงขึ้น 32%
ดูตัวเลขของ nasdaq ยาวๆ ดัชนีที่ขึ้นมา จาก 3,5xx มาที่ 16,xxx เป็นผลจาก ปัจจัยพื้นฐาน 68% จาก p/e ที่สูงขึ้น 32%
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 296
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 15
ส่วนตัวผมคิดว่าต้องถามว่า คุ้มค่า นี่นิยามว่าอย่างไรก่อนถึงจะตอบได้
ถ้าคุ้มค่าคือ เงินที่หาได้/ทรัพยากรที่ใช้ สำหรับหลายๆคนที่ลงทุนในหุ้นไทยมานาน อยู่ใน Thaivi มานานๆ มีเพื่อนนักลงทุนเยอะๆ เป็นเพื่อนกับนักลงทุนพอร์ตใหญ่ๆที่เราเอาหุ้นไป present ให้ฟังได้เรื่อยๆ ยิ่งถ้าเข้าถึงผู้บริหารได้แบบนี้หุ้นไทยคุ้มกว่าแน่นอนครับ
แต่ส่วนตัว (ย้ำว่าส่วนตัวจริงๆ) ผมคิดว่าการไปลงทุนหุ้นต่างประเทศเป็น a must สำหรับนักลงทุน full time สัญชาติไทยอย่างผม ถามว่าเพราะอะไร???
ผมคิดว่านักลงทุน full time นั้น ส่วนมากจะใช้เวลาชีวิตไปกับเรื่องการลงทุน ดังนั้นการไปลงทุนต่างประเทศ มันไม่ใช่การไปหาเงินอย่างเดียวแต่มันเป็นการกำหนดกิจกรรมและความสนใจของตัวเราเองด้วย
ส่วนตัวผมนั้นเห็นชัดเจนว่า ผลตอบแทนช่วงที่ผ่านมาของตัวผม หุ้นไทยยังบวกดีกว่ามาก ผันผวนน้อยกว่ามาก แต่การไปลงทุนต่างประเทศทำให้ผมได้+เรียนรู้อะไรหลายอย่าง เช่น
1.การซื้อหุ้นตามเซียนหุ้นที่เรารู้จักไม่ให้ผลตอบแทนดีเท่ากับหุ้นไทย
2.เราโง่มากถ้าคิดว่าตัวเองเก่ง
3.เราจำเป็นต้องลำบาก ขวนขวายทุกอย่างด้วยตัวเอง ไม่เหมือนหุ้นไทยที่ทุกวันนี้สบาย cvก็ไปตามเพื่อนชวน โทรหาir ตีสนิทผู้บริหาร หาconnectionจากกลุ่มนักลงทุนต่างๆ
4.ใช้เวลาชีวิตเปลี่ยนไป จากคอยออกจากบ้านไป cv ไปคุยกับผู้บริหาร ไปสังสรรค์กับนักลงทุน กลายเป็นอยู่บ้านเพื่ออ่านและฟัง แบบไม่รู้เท่าไรถึงจะพอ เท่าไรก็ไม่หมด
5.ความรู้ก็ต้องหา ข้อมูลก็ต้องหา เงินก็ต้องหา ลำบากกายและเหนื่อยมาก แต่ที่ไม่ต้องทำคือ หาเงินด้วยวิธีกึ่งดิบกึ่งดีให้ต้องลำบากใจ
6.เราได้มองเห็นโลกและสังคม รวมทั้งตัวเราเองจากมุมมองใหม่ๆที่ไม่เคยได้เห็น
เอา 6 อันก่อนเนอะวันนี้
ทุกวันนี้ถ้าผมสามารถรู้สึกว่ายืนในตลาดหุ้นนอกได้ ผมจะไม่ลงทุนหุ้นไทยอีกเลยครับ ผมสบายใจขึ้นมากกับชีวิตที่ไม่ต้องไป CV ไม่ต้องไปคอยสร้าง connection ไม่ต้องเกี่ยวข้องหรือรับรู้เกี่ยวกับ inside ไม่ต้องมาคอยเอาหุ้นไปเชียร์คนนู้นคนนี้ ไม่ต้องมาดูว่ารายใหญ่จะเข้าหุ้นอะไร ไม่ต้องคอยคุยกับผู้บริหาร
ที่สำคัญพอใจสบาย ชีวิตมันก็เหมือนจะสบายไปด้วย ไม่รู้หลอกตัวเองไหม เพราะถ้ารวยหุ้นไทยเหมือนหลายๆท่านชีวิตก็ดูสบายมากๆอยู่
ที่ผมยังต้องแบ่งพอร์ตไป ไม่ไปแบบเต็มตัวเพราะรู้ตัวว่าอาจจะไปไม่รอดในหุ้นโลกก็ได้ ผมยังไม่เก่งพอ ประสบการณ์ก็น้อย และอายุที่มากขึ้นทำให้ไฟไม่ลุกโชนเท่า10กว่าปีก่อน ไม่รู้จะพัฒนาตัวเองทันไหม ทำให้ผมยังต้องเกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นไทยอยู่ต่อไป
ผมหวังว่าด้วยเจตนาที่(ผมคิดว่า)ดี จะส่งผลให้ผมสามารถสำเร็จได้ตามที่ปรารถนา...แต่ผมไม่ได้เป็นคนโลกสวยขนาดที่จะคิดว่า เจตนายังไงก็ต้องได้อย่างนั้น ถ้าผมไม่ไหวกับหุ้นนอกจริงๆ ก็จะกลับมาหุ้นไทยครับ
ถ้าคุ้มค่าคือ เงินที่หาได้/ทรัพยากรที่ใช้ สำหรับหลายๆคนที่ลงทุนในหุ้นไทยมานาน อยู่ใน Thaivi มานานๆ มีเพื่อนนักลงทุนเยอะๆ เป็นเพื่อนกับนักลงทุนพอร์ตใหญ่ๆที่เราเอาหุ้นไป present ให้ฟังได้เรื่อยๆ ยิ่งถ้าเข้าถึงผู้บริหารได้แบบนี้หุ้นไทยคุ้มกว่าแน่นอนครับ
แต่ส่วนตัว (ย้ำว่าส่วนตัวจริงๆ) ผมคิดว่าการไปลงทุนหุ้นต่างประเทศเป็น a must สำหรับนักลงทุน full time สัญชาติไทยอย่างผม ถามว่าเพราะอะไร???
ผมคิดว่านักลงทุน full time นั้น ส่วนมากจะใช้เวลาชีวิตไปกับเรื่องการลงทุน ดังนั้นการไปลงทุนต่างประเทศ มันไม่ใช่การไปหาเงินอย่างเดียวแต่มันเป็นการกำหนดกิจกรรมและความสนใจของตัวเราเองด้วย
ส่วนตัวผมนั้นเห็นชัดเจนว่า ผลตอบแทนช่วงที่ผ่านมาของตัวผม หุ้นไทยยังบวกดีกว่ามาก ผันผวนน้อยกว่ามาก แต่การไปลงทุนต่างประเทศทำให้ผมได้+เรียนรู้อะไรหลายอย่าง เช่น
1.การซื้อหุ้นตามเซียนหุ้นที่เรารู้จักไม่ให้ผลตอบแทนดีเท่ากับหุ้นไทย
2.เราโง่มากถ้าคิดว่าตัวเองเก่ง
3.เราจำเป็นต้องลำบาก ขวนขวายทุกอย่างด้วยตัวเอง ไม่เหมือนหุ้นไทยที่ทุกวันนี้สบาย cvก็ไปตามเพื่อนชวน โทรหาir ตีสนิทผู้บริหาร หาconnectionจากกลุ่มนักลงทุนต่างๆ
4.ใช้เวลาชีวิตเปลี่ยนไป จากคอยออกจากบ้านไป cv ไปคุยกับผู้บริหาร ไปสังสรรค์กับนักลงทุน กลายเป็นอยู่บ้านเพื่ออ่านและฟัง แบบไม่รู้เท่าไรถึงจะพอ เท่าไรก็ไม่หมด
5.ความรู้ก็ต้องหา ข้อมูลก็ต้องหา เงินก็ต้องหา ลำบากกายและเหนื่อยมาก แต่ที่ไม่ต้องทำคือ หาเงินด้วยวิธีกึ่งดิบกึ่งดีให้ต้องลำบากใจ
6.เราได้มองเห็นโลกและสังคม รวมทั้งตัวเราเองจากมุมมองใหม่ๆที่ไม่เคยได้เห็น
เอา 6 อันก่อนเนอะวันนี้
ทุกวันนี้ถ้าผมสามารถรู้สึกว่ายืนในตลาดหุ้นนอกได้ ผมจะไม่ลงทุนหุ้นไทยอีกเลยครับ ผมสบายใจขึ้นมากกับชีวิตที่ไม่ต้องไป CV ไม่ต้องไปคอยสร้าง connection ไม่ต้องเกี่ยวข้องหรือรับรู้เกี่ยวกับ inside ไม่ต้องมาคอยเอาหุ้นไปเชียร์คนนู้นคนนี้ ไม่ต้องมาดูว่ารายใหญ่จะเข้าหุ้นอะไร ไม่ต้องคอยคุยกับผู้บริหาร
ที่สำคัญพอใจสบาย ชีวิตมันก็เหมือนจะสบายไปด้วย ไม่รู้หลอกตัวเองไหม เพราะถ้ารวยหุ้นไทยเหมือนหลายๆท่านชีวิตก็ดูสบายมากๆอยู่
ที่ผมยังต้องแบ่งพอร์ตไป ไม่ไปแบบเต็มตัวเพราะรู้ตัวว่าอาจจะไปไม่รอดในหุ้นโลกก็ได้ ผมยังไม่เก่งพอ ประสบการณ์ก็น้อย และอายุที่มากขึ้นทำให้ไฟไม่ลุกโชนเท่า10กว่าปีก่อน ไม่รู้จะพัฒนาตัวเองทันไหม ทำให้ผมยังต้องเกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นไทยอยู่ต่อไป
ผมหวังว่าด้วยเจตนาที่(ผมคิดว่า)ดี จะส่งผลให้ผมสามารถสำเร็จได้ตามที่ปรารถนา...แต่ผมไม่ได้เป็นคนโลกสวยขนาดที่จะคิดว่า เจตนายังไงก็ต้องได้อย่างนั้น ถ้าผมไม่ไหวกับหุ้นนอกจริงๆ ก็จะกลับมาหุ้นไทยครับ
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 17
The Little Book That Builds Wealth เขียนโดยผู้เขึยนคนเดียวกัน ก็อ่านเข้าใจง่ายดีครับ อีกเล่มที่แนะนำคือ 7 Powers นอกจากนี้ก็มีหนังสือที่เพิ่งออกมาใหม่ของ อ. Jeff Towson ครับ ชื่อ Moat and Marathon ผมแนะนำให้ subscribe งานจองอาจารย์ด้วยครับ
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 18
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1399
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 19
เป็นเนื้อหาที่ดีครับ
และตามประสบการณ์ผมส่วนใหญ่คนที่ถือหุ้น p/e สูงๆในประเทศที่เติบโตตกต่ำอย่างไทย มีจุดยึดเหนี่ยวจิตใจสูงสุดคือ ข้อมูลภายใน ผมเองก็มีสัดส่วนหุ้นในไทยต่ำกว่า 20% ไปแล้วครับ และคิดว่าตปท.ก็คือบทพิสูจน์แต่อาจจะต้องพิสูจน์กันระดับ 15ปี
ส่วนไทยผมว่าง่ายนะในตอนนี้ กินเงินนักลงทุนใหม่ เพราะเราพออ่านเกมส์พอออกสำหรับผลตอบแทนแถวๆ 10% แต่ถ้าตลาดแตกเมื่อไหร่ 10% ดูยากทันที
และตามประสบการณ์ผมส่วนใหญ่คนที่ถือหุ้น p/e สูงๆในประเทศที่เติบโตตกต่ำอย่างไทย มีจุดยึดเหนี่ยวจิตใจสูงสุดคือ ข้อมูลภายใน ผมเองก็มีสัดส่วนหุ้นในไทยต่ำกว่า 20% ไปแล้วครับ และคิดว่าตปท.ก็คือบทพิสูจน์แต่อาจจะต้องพิสูจน์กันระดับ 15ปี
ส่วนไทยผมว่าง่ายนะในตอนนี้ กินเงินนักลงทุนใหม่ เพราะเราพออ่านเกมส์พอออกสำหรับผลตอบแทนแถวๆ 10% แต่ถ้าตลาดแตกเมื่อไหร่ 10% ดูยากทันที
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4562
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 20
ขอบคุณ กัลยาณมิตร ทุกท่านที่เข้ามาให้ความรู้นะครับ
ผมว่า ได้ ความรู้ ที่มีค่ามากๆครับ
ผมว่า ได้ ความรู้ ที่มีค่ามากๆครับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 21
สวัสดีครับ ผมไม่เคยโพสต์ในเว็บ ThaiVI มาก่อน แต่ผมเริ่มลงทุนในไทยตอนปี 2006 และเริ่มลงทุนในตลาดอเมริกา ตั้งแต่ปี 2008 หลังจากนั้นตอนปี 2013 ผมได้ย้ายพอร์ตเกือบทั้งหมดไปที่ตลาดอเมริกาและตลาดอื่นๆนอกประเทศไทย ตอนนี้ผมลงทุนพอร์ตของตัวเองและบริหารกองทุนที่ผมตั้งขึ้นครับ
ขออนุญาติแชร์ความเห็นเกี่ยวกับการลงทุนในอเมริกานะครับ
* เห็นด้วยกับคุณ Picatos ครับว่า trend ของ global tech platforms จะเป็นประโยชน์ต่อหุ้นอเมริกาเนื่องจากตลาดอเมริกา มีสัดส่วนของบริษัท tech ที่สูงกว่าตลาดอื่นมาก
* Tech platforms แย่งกำไรจากบริษัท local ที่มีคุณภาพไปยังบริษัทอเมริกัน ทำให้ตลาดอเมริกามีบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรที่ดีเป็นจำนวนมาก และทำให้ธุรกิจที่มีคุณภาพในตลาดอื่นๆมีจำนวนน้อยลง (ยกตัวอย่างเช่น BEC ซึ่งเคยเป็นธุรกิจที่ดีถูก global platforms อย่าง Google Netflix และ Facebook แย่งรายได้และกำไรไป) ผมคิดว่า dynamic แบบนี้พึ่งเริ่มต้น และในอนาคตบริษัทจำนวนมากขึ้นอาจจะถูก disrupt ในลักษณะเดียวกัน
* สำหรับหุ้นในอุตลาหกรรมเดียวกัน ผมคิดว่าวิธี valuation หุ้นไทยกับหุ้นอเมริกา ไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญนะครับ ความแตกต่างหลักคือตลาดต่างประเทศมีธุรกิจหลายชนิดที่ในไทยไม่มีบริษัทที่ใกล้เคียง เช่นหุ้น tech ผมให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจ competitive dynamic และความสามารถในการทำกำไรในระยะยาวจะเป็นอย่างไร มากกว่า DCF (qualitative measures มีความสำคัญกว่า) งบการเงินของบริษัท tech ที่ดีและไม่ดีอาจดูคล้ายกันมาก เช่นกำไรไม่มาก หรือขาดทุนมาก แต่ investment spending ของบริษัท tech ที่ดีนั้นมี ROI สูงและ customer retention ที่สูง ส่งผลถึงการสร้าง shareholder value
* ในขณะที่บริษัทในหลายๆประเทศให้ความสำคัญกับ stakeholders ทั้งหมด อเมริกาเป็นประเทศที่หนึ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญกับ shareholder เป็นหลัก ถึงแม้การทำแบบบนั้นอาจจะสร้างผลลบต่อสังคมโดยรวม ถ้ามองในมุมของ shareholder แล้ว shareholder ของหุ้นอเมริกาได้ประโยชน์จาก value creation จากบริษัทมากกว่า shareholder ของบริษัทในประเทศอื่นๆส่วนใหญ่
* บริษัทในอเมริกาโดยทั่วไปมี capital allocation ที่ดีกว่า ผมคิดว่าจุดนี้สร้างความแตกต่างอย่างมาก แม้กระทั่งก่อนที่บริษัท tech จะ dominate ตลาดอเมริกา ตลาดอเมริกาก็ outperform emerging market ส่วนมากด้วยเหตุผลนี้
แหล่งข้อมูลที่อาจจะช่วยในการลงทุนในอเมริกา
* Newsletter เช่น Stratechery, Scuttleblurb, Liberty's, Front Month, Benedict Evans เป็นต้น ช่วงหลัง Covid มานี้มี newsletter ใหม่ๆที่มีคุณภาพดีเกิดขึ้นมามากมายครับ ผมคิดว่า newsletter พวกนี้ดีกว่า institutional research เสียอีก
* Twitter - คนเก่งๆที่อเมริกาหลายคนเล่น Twitter ครับ ถ้าเราเลือกคนที่เรา follow ให้ดี เราจะได้ first-hand information ที่สำคัญ (เช่น discussion ของ leading scientists เกี่ยวกับความเสี่ยงของ Covid ตั้งแต่ก่อนที่ตลาดหุ้นจะตก) ผู้จัดการกองทุนที่เก่งๆหลายคนก็แชร์ไอเดียการลงทุนใน Twitter ครับ (หลายคนด้วย pseudonymous account) ผมคิดว่า Twitter เป็นเหมือน ThaiVI เวอร์ชั่น ตลาดอเมริกา/โลก (แต่อาจจะคึกคักกว่าพอสมควรครับ) สิ่งที่สำคัญที่สุดของ Twitter คงเป็นการเลือกคน follow ให้ดีเพราะว่าข้อมูลห่วยๆบน Twitter ก็มีเยอะเช่นกันครับ นอกจากนี้ เรายังสามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ผ่าน direct message เพื่อขอ consult เป็นรายชั่วโมง ซึ่งเป็นประโยชน์กับการค้นคว้าหาข้อมูลมากๆครับ ก่อนหน้านี้ผมใช้ Twitter ในการอ่านเฉยๆ แต่เร็วๆนี้่พอเริ่มโพสต์และโต้ตอบกับคนอื่นใน community ก็ยิ่งได้ประโยชน์มากขึ้น
* Podcast เช่น Business Breakdown, InPractise, Acquired, etc. ซึ่งพูดคุยลงรายละเอียดเกี่ยว business models ก็เป็นอีกช่องทางนึงที่ดีครับ
* SeekingAlpha อาจจะเป็นช่องทางที่ไม่ค่อยดีนักเนื่องจากปัจจุบันไม่ค่อยมีคนเก่งๆโพสต์แล้ว ผมคิดว่าข้อมูลที่ได้จากแหล่งอื่นๆคุณภาพดีกว่ามากครับ
* Alternative Data เป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างสำคัญสำหรับตลาดอเมริกา เช่น credit card data ของ Second Measure ช่วยให้เรารู้แนวโน้มของยอดขายแบบรายวัน/สัปดาห์ แทนที่จะต้องรอหลังงบออก และสามารถนำมาใช้คำนวน customer retention และทำ cohort analysis ได้ ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ไม่ได้ disclose ข้อมูลพวกนี้ ข้อเสียของ alternative data คือมันมีราคาค่อนข้างสูงครับ
ฺ * Bloomberg Terminal และ BamSEC เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาและเข้าถึง financial information และ filings ต่างๆได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้นมากครับ ผมคิดว่าถ้าจะลงทุนหุ้นต่างประเทศอย่างจริงจังจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือพวกนี้ครับ
ผมคิดว่าการหา alpha ในตลาดอเมริกาแตกต่างจากตลาดหุ้นไทยตรงที่ alpha ในตลาดหุ้นไทยมาจากการ build relationship กับผู้บริหารและนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ต่อ ในขณะที่ alpha ในตลาดหุ้นอเมริกามาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็น public อยู่แล้วแต่เราอาจจะมี insight ในการมองเห็นข้อมูลเดียวกันนั้นต่างกับคนอื่น ซึ่งถ้าเราคิดถูกเราก็จะได้ excess return ผมใช้วิธีอ่าน analysis ของคนอื่นซึ่งมีคุณภาพที่สูงและมีเป็นจำนวนมาก และพยายาม build on top ด้วย idea ที่มี
ผมคิดว่านักลงทุนควรที่จะใช้เวลาในการศึกษาตลาดอเมริกาบ้าง เพราะความสำคัญของ global tech platforms ในโลกธุรกิจ/เศรษฐกิจโลกนั้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่านักลงทุนบางท่านอาจจะไม่อยากลงทุนในหุ้นของบริษัทเหล่านั้นในตอนนี้ ผมคิดว่าหลายๆบริษัทที่หลายๆคนลงทุนอยู่มีโอกาศที่จะถูกกระทบโดย global หรือ regional tech platforms ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมครับ
ตลาดไทยมีเงินทุนไหลเข้าแต่กำไรของบริษัทเติบโตค่อนข้างน้อย ทำให้ valuation ค่อนข้างสูง แต่สำหรับ Big Tech กำไรของบริษัทพวกนั้นเติบโตมากจน capital flow ไล่ตามไม่ทัน (operating income ของ Big Tech ห้าบริษัทเติบโตขึ้น $158,000 ล้านภายในสองปีที่ผ่านมา) ส่วนตัวผมคิดว่าหุ้น Big Tech เทรดที่ discount จากหุ้นไทยที่มีคุณภาพมากครับ เมื่อเร็วๆนี้ผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับ systemic undervaluation ของหุ้นกลุ่มนี้ ถ้าสนใจสามารถตามไปอ่านได้ที่ link นี้ครับ
ขออนุญาติแชร์ความเห็นเกี่ยวกับการลงทุนในอเมริกานะครับ
* เห็นด้วยกับคุณ Picatos ครับว่า trend ของ global tech platforms จะเป็นประโยชน์ต่อหุ้นอเมริกาเนื่องจากตลาดอเมริกา มีสัดส่วนของบริษัท tech ที่สูงกว่าตลาดอื่นมาก
* Tech platforms แย่งกำไรจากบริษัท local ที่มีคุณภาพไปยังบริษัทอเมริกัน ทำให้ตลาดอเมริกามีบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรที่ดีเป็นจำนวนมาก และทำให้ธุรกิจที่มีคุณภาพในตลาดอื่นๆมีจำนวนน้อยลง (ยกตัวอย่างเช่น BEC ซึ่งเคยเป็นธุรกิจที่ดีถูก global platforms อย่าง Google Netflix และ Facebook แย่งรายได้และกำไรไป) ผมคิดว่า dynamic แบบนี้พึ่งเริ่มต้น และในอนาคตบริษัทจำนวนมากขึ้นอาจจะถูก disrupt ในลักษณะเดียวกัน
* สำหรับหุ้นในอุตลาหกรรมเดียวกัน ผมคิดว่าวิธี valuation หุ้นไทยกับหุ้นอเมริกา ไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญนะครับ ความแตกต่างหลักคือตลาดต่างประเทศมีธุรกิจหลายชนิดที่ในไทยไม่มีบริษัทที่ใกล้เคียง เช่นหุ้น tech ผมให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจ competitive dynamic และความสามารถในการทำกำไรในระยะยาวจะเป็นอย่างไร มากกว่า DCF (qualitative measures มีความสำคัญกว่า) งบการเงินของบริษัท tech ที่ดีและไม่ดีอาจดูคล้ายกันมาก เช่นกำไรไม่มาก หรือขาดทุนมาก แต่ investment spending ของบริษัท tech ที่ดีนั้นมี ROI สูงและ customer retention ที่สูง ส่งผลถึงการสร้าง shareholder value
* ในขณะที่บริษัทในหลายๆประเทศให้ความสำคัญกับ stakeholders ทั้งหมด อเมริกาเป็นประเทศที่หนึ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญกับ shareholder เป็นหลัก ถึงแม้การทำแบบบนั้นอาจจะสร้างผลลบต่อสังคมโดยรวม ถ้ามองในมุมของ shareholder แล้ว shareholder ของหุ้นอเมริกาได้ประโยชน์จาก value creation จากบริษัทมากกว่า shareholder ของบริษัทในประเทศอื่นๆส่วนใหญ่
* บริษัทในอเมริกาโดยทั่วไปมี capital allocation ที่ดีกว่า ผมคิดว่าจุดนี้สร้างความแตกต่างอย่างมาก แม้กระทั่งก่อนที่บริษัท tech จะ dominate ตลาดอเมริกา ตลาดอเมริกาก็ outperform emerging market ส่วนมากด้วยเหตุผลนี้
แหล่งข้อมูลที่อาจจะช่วยในการลงทุนในอเมริกา
* Newsletter เช่น Stratechery, Scuttleblurb, Liberty's, Front Month, Benedict Evans เป็นต้น ช่วงหลัง Covid มานี้มี newsletter ใหม่ๆที่มีคุณภาพดีเกิดขึ้นมามากมายครับ ผมคิดว่า newsletter พวกนี้ดีกว่า institutional research เสียอีก
* Twitter - คนเก่งๆที่อเมริกาหลายคนเล่น Twitter ครับ ถ้าเราเลือกคนที่เรา follow ให้ดี เราจะได้ first-hand information ที่สำคัญ (เช่น discussion ของ leading scientists เกี่ยวกับความเสี่ยงของ Covid ตั้งแต่ก่อนที่ตลาดหุ้นจะตก) ผู้จัดการกองทุนที่เก่งๆหลายคนก็แชร์ไอเดียการลงทุนใน Twitter ครับ (หลายคนด้วย pseudonymous account) ผมคิดว่า Twitter เป็นเหมือน ThaiVI เวอร์ชั่น ตลาดอเมริกา/โลก (แต่อาจจะคึกคักกว่าพอสมควรครับ) สิ่งที่สำคัญที่สุดของ Twitter คงเป็นการเลือกคน follow ให้ดีเพราะว่าข้อมูลห่วยๆบน Twitter ก็มีเยอะเช่นกันครับ นอกจากนี้ เรายังสามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ผ่าน direct message เพื่อขอ consult เป็นรายชั่วโมง ซึ่งเป็นประโยชน์กับการค้นคว้าหาข้อมูลมากๆครับ ก่อนหน้านี้ผมใช้ Twitter ในการอ่านเฉยๆ แต่เร็วๆนี้่พอเริ่มโพสต์และโต้ตอบกับคนอื่นใน community ก็ยิ่งได้ประโยชน์มากขึ้น
* Podcast เช่น Business Breakdown, InPractise, Acquired, etc. ซึ่งพูดคุยลงรายละเอียดเกี่ยว business models ก็เป็นอีกช่องทางนึงที่ดีครับ
* SeekingAlpha อาจจะเป็นช่องทางที่ไม่ค่อยดีนักเนื่องจากปัจจุบันไม่ค่อยมีคนเก่งๆโพสต์แล้ว ผมคิดว่าข้อมูลที่ได้จากแหล่งอื่นๆคุณภาพดีกว่ามากครับ
* Alternative Data เป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างสำคัญสำหรับตลาดอเมริกา เช่น credit card data ของ Second Measure ช่วยให้เรารู้แนวโน้มของยอดขายแบบรายวัน/สัปดาห์ แทนที่จะต้องรอหลังงบออก และสามารถนำมาใช้คำนวน customer retention และทำ cohort analysis ได้ ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ไม่ได้ disclose ข้อมูลพวกนี้ ข้อเสียของ alternative data คือมันมีราคาค่อนข้างสูงครับ
ฺ * Bloomberg Terminal และ BamSEC เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาและเข้าถึง financial information และ filings ต่างๆได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้นมากครับ ผมคิดว่าถ้าจะลงทุนหุ้นต่างประเทศอย่างจริงจังจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือพวกนี้ครับ
ผมคิดว่าการหา alpha ในตลาดอเมริกาแตกต่างจากตลาดหุ้นไทยตรงที่ alpha ในตลาดหุ้นไทยมาจากการ build relationship กับผู้บริหารและนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ต่อ ในขณะที่ alpha ในตลาดหุ้นอเมริกามาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็น public อยู่แล้วแต่เราอาจจะมี insight ในการมองเห็นข้อมูลเดียวกันนั้นต่างกับคนอื่น ซึ่งถ้าเราคิดถูกเราก็จะได้ excess return ผมใช้วิธีอ่าน analysis ของคนอื่นซึ่งมีคุณภาพที่สูงและมีเป็นจำนวนมาก และพยายาม build on top ด้วย idea ที่มี
ผมคิดว่านักลงทุนควรที่จะใช้เวลาในการศึกษาตลาดอเมริกาบ้าง เพราะความสำคัญของ global tech platforms ในโลกธุรกิจ/เศรษฐกิจโลกนั้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่านักลงทุนบางท่านอาจจะไม่อยากลงทุนในหุ้นของบริษัทเหล่านั้นในตอนนี้ ผมคิดว่าหลายๆบริษัทที่หลายๆคนลงทุนอยู่มีโอกาศที่จะถูกกระทบโดย global หรือ regional tech platforms ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมครับ
ตลาดไทยมีเงินทุนไหลเข้าแต่กำไรของบริษัทเติบโตค่อนข้างน้อย ทำให้ valuation ค่อนข้างสูง แต่สำหรับ Big Tech กำไรของบริษัทพวกนั้นเติบโตมากจน capital flow ไล่ตามไม่ทัน (operating income ของ Big Tech ห้าบริษัทเติบโตขึ้น $158,000 ล้านภายในสองปีที่ผ่านมา) ส่วนตัวผมคิดว่าหุ้น Big Tech เทรดที่ discount จากหุ้นไทยที่มีคุณภาพมากครับ เมื่อเร็วๆนี้ผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับ systemic undervaluation ของหุ้นกลุ่มนี้ ถ้าสนใจสามารถตามไปอ่านได้ที่ link นี้ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 22
เพิ่มเติมนะครับเผื่อมีคนสนใจพวก Newsletter
Stratechery
Scuttleblurb
Liberty's
Ben Evans
Front Month
Fabricated Knowledge
MBI Deep Dives
สำหรับ Twitter ถ้าไม่รู้ว่าจะ follow ใครดีลองเริ่มจาก list อันนี้ของ Barbarian Capital ก็ได้ครับ
Stratechery
Scuttleblurb
Liberty's
Ben Evans
Front Month
Fabricated Knowledge
MBI Deep Dives
สำหรับ Twitter ถ้าไม่รู้ว่าจะ follow ใครดีลองเริ่มจาก list อันนี้ของ Barbarian Capital ก็ได้ครับ
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4562
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 23
ขอบคุณมากๆสำหรับประสบการณ์ที่มีค่าอย่างยิ่งครับ
ผมพูดตรงๆ ศึกษาหุ้นตปท มา ได้ปีกว่าๆ ผมไม่เคยรู้จัก newletter ที่คุณ nayut ว่าเลย
ได้แต่อ่าน seeking alpha กับ อ่านพวก twitter แต่ก็ยังพบว่า twitter หลายอันจะเน้น ไป 2 ทาง คือ เน้นพวก เล่นเทคนิค กับ พวก จงเชื่อในหุ้นอย่าขาย (แม้บางตัวจะได้ประโยชน์ชั่วคราวจากโควิด)
ขอบคุณมากๆครับ เดี๋ยวไปลองดูนะครับ
ผมพูดตรงๆ ศึกษาหุ้นตปท มา ได้ปีกว่าๆ ผมไม่เคยรู้จัก newletter ที่คุณ nayut ว่าเลย
ได้แต่อ่าน seeking alpha กับ อ่านพวก twitter แต่ก็ยังพบว่า twitter หลายอันจะเน้น ไป 2 ทาง คือ เน้นพวก เล่นเทคนิค กับ พวก จงเชื่อในหุ้นอย่าขาย (แม้บางตัวจะได้ประโยชน์ชั่วคราวจากโควิด)
ขอบคุณมากๆครับ เดี๋ยวไปลองดูนะครับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4562
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 24
คุณ nayut blog เขียนดีมากๆครับnayut เขียน: ↑อังคาร ก.พ. 08, 2022 3:38 pmเพิ่มเติมนะครับเผื่อมีคนสนใจพวก Newsletter
Stratechery
Scuttleblurb
Liberty's
Ben Evans
Front Month
Fabricated Knowledge
MBI Deep Dives
สำหรับ Twitter ถ้าไม่รู้ว่าจะ follow ใครดีลองเริ่มจาก list อันนี้ของ Barbarian Capital ก็ได้ครับ
ผมเข้าตามลิงค์ newsletter ต่างๆ ตามที่แนะนำ เหมือนแต่ละอัน เป็นลักษณะ pay per view ใช่ไหมครับ
จะเป็นการรบกวนเกินไปไหม ถ้า คุณ nayut ช่วยแนะนำได้ไหมครับ ว่า แตกต่างกันอย่างไรครับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 25
I’m going to respond in English na kub. I’m a very slow Thai typer, so this will allow me to get across more information.
I keep a list of things I read and listen to that I like, and I’ll share it here with you and the ThaiVI community. Some of the newsletters generally have some articles that are free kub and there are a lot of people who write interesting things and don’t put them behind a paywall.
Talking to my analyst just now, it is our general observations (and we may be wrong here) that information sources that many Thai investors use on foreign stocks might be sub-optimal, e.g., general news sites, SeekingAlpha, Motley Fool, etc., which don’t have good in-depth analysis. And many good “fintwit” accounts on Twitter are not well known among Thai investors.
Below are some of the articles, podcasts, and Twitter handles that I like. I picked out ones that can be freely accessed and recommend two with paywalls below kub. They should at least help get you and others who are interested in generally higher quality resources to get started kub.
Ben Thompson’s Stratechery puts out several articles laying out the core concepts over the years that have been recited numerous times in analyzing technology stocks.
Aggregation Theory
The disruption caused by the Internet in industry after industry has a common theoretical basis described by Aggregation Theory.
Publishers and the Smiling Curve
Publishers used to live at the point of integration. The value of that integration, though, is gone with the Internet, which means value flows to suppliers and aggregators.
Differentiation and Value Capture in the Internet Age
The implication of the Smiling Curve is not only that aggregators have increased economic power, but that differentiated suppliers do as well; Omni Software is an example.
A Framework for Regulating Competition on the Internet
Understanding the differences between platforms and Aggregators is critical when it comes to considering regulation.
Defining Aggregators
A precise definition of the characteristics of aggregators, and a classification system based on suppliers. Plus, how to think about aggregator regulation.
The link to all key concept articles from Stratechery are here kub
Other good works
Screenshot Essays: short summary of many important key concepts that one understand technology companies
Above the Crowd blog by Bill Gurley - Money Out of Nowhere: How Internet Marketplaces Unlock Economic Wealth
Zack Kanter - What is Amazon? - explaining business model of Amazon
Benedict Evans annual presentation: Every year, I produce a big presentation exploring macro and strategic trends in the tech industry. This year, ‘Three Steps to the Future’.
Benedict Evans popular essays
Moxie Marlinspike - My first impressions of web3 - good argument that web3/crypto doesn’t deliver on decentralization and other benefits that its advocate try to “sell”
Eugenue Wei - Status as a Service
Matthew Ball - The Flaws of "Subscription Fatigue", "SVOD Fatigue", and the "Streaming Wars"
For paid subscription, I think Stratechery and Scuttleblurb are definitely worth subscribing to kub. Scuttleblurb does a very good analysis on many companies and would be a good starting point for doing research on many wide-moat companies kub.
Podcast
Business breakdown - Visa
Business breakdown - Chipotle
Business breakdown - Shopify
Business breakdown - Moderna
Business breakdown - Facebook
Acquired - TSMC
Acquired - Ho Nam
Acquired - ESPN
Invest like the best - John Harris Jun 64
Invest like the best - Carl Kawaja Jul 64
Invest like the best - Jeremy Grantham Feb 64
Invest like the best - Modest Proposal Sep 63
Odd Lots - Michael Pettis Oct 64
Odd Lots - Dan Wang Sep 64
Inside the Rope - Ep 87 John Hempton
Decoder - Global chip shortage Aug 64
Twitter - These are some of the accounts that are interesting to me kub. For more accounts, you can refer to the list of good “fintwits” accounts that I shared earlier.
@michaelxpettis | good thoughts on China economy and its debt bubble
@modestproposal1 | stats, excerpts, and thoughts from news, institutional research reports, transcripts, etc.
@Paulkrugman | economic Nobel laureate | some very good tweets on the economy
@patrick_oshag | popular fintwit account | often share insightful information
@muddywatersresearch | a short fund | interesting short ideas
@citronresearch | mostly short ideas
@GavinSBaker | CIO at Atreides | comments on tech, consumer companies, and markets
@TidefallCapital | PM at Tidefall Capital | comments on tech companies and markets
@Post_Market | comments on tech and consumer companies | long and short ideas
@S_curvecap | comments on tech companies
@borrowed_ideas | writer of MBI Deep Dives | company-focused threads | quarterly earnings recaps
@JohnHuber72 | PM at Saber Capital | comments on tech companies mostly
@PreparedRemarks | observations on consumer internet companies
@realdennishong | CIO at ShawSpring Partners | interesting stats and charts
@AltaFoxCapital | Founder of Alta Fox Capital | small-cap ideas
@Josh_Young_1 | PM at Bison Interests | comments on oil & gas industry
I keep a list of things I read and listen to that I like, and I’ll share it here with you and the ThaiVI community. Some of the newsletters generally have some articles that are free kub and there are a lot of people who write interesting things and don’t put them behind a paywall.
Talking to my analyst just now, it is our general observations (and we may be wrong here) that information sources that many Thai investors use on foreign stocks might be sub-optimal, e.g., general news sites, SeekingAlpha, Motley Fool, etc., which don’t have good in-depth analysis. And many good “fintwit” accounts on Twitter are not well known among Thai investors.
Below are some of the articles, podcasts, and Twitter handles that I like. I picked out ones that can be freely accessed and recommend two with paywalls below kub. They should at least help get you and others who are interested in generally higher quality resources to get started kub.
Ben Thompson’s Stratechery puts out several articles laying out the core concepts over the years that have been recited numerous times in analyzing technology stocks.
Aggregation Theory
The disruption caused by the Internet in industry after industry has a common theoretical basis described by Aggregation Theory.
Publishers and the Smiling Curve
Publishers used to live at the point of integration. The value of that integration, though, is gone with the Internet, which means value flows to suppliers and aggregators.
Differentiation and Value Capture in the Internet Age
The implication of the Smiling Curve is not only that aggregators have increased economic power, but that differentiated suppliers do as well; Omni Software is an example.
A Framework for Regulating Competition on the Internet
Understanding the differences between platforms and Aggregators is critical when it comes to considering regulation.
Defining Aggregators
A precise definition of the characteristics of aggregators, and a classification system based on suppliers. Plus, how to think about aggregator regulation.
The link to all key concept articles from Stratechery are here kub
Other good works
Screenshot Essays: short summary of many important key concepts that one understand technology companies
Above the Crowd blog by Bill Gurley - Money Out of Nowhere: How Internet Marketplaces Unlock Economic Wealth
Zack Kanter - What is Amazon? - explaining business model of Amazon
Benedict Evans annual presentation: Every year, I produce a big presentation exploring macro and strategic trends in the tech industry. This year, ‘Three Steps to the Future’.
Benedict Evans popular essays
Moxie Marlinspike - My first impressions of web3 - good argument that web3/crypto doesn’t deliver on decentralization and other benefits that its advocate try to “sell”
Eugenue Wei - Status as a Service
Matthew Ball - The Flaws of "Subscription Fatigue", "SVOD Fatigue", and the "Streaming Wars"
For paid subscription, I think Stratechery and Scuttleblurb are definitely worth subscribing to kub. Scuttleblurb does a very good analysis on many companies and would be a good starting point for doing research on many wide-moat companies kub.
Podcast
Business breakdown - Visa
Business breakdown - Chipotle
Business breakdown - Shopify
Business breakdown - Moderna
Business breakdown - Facebook
Acquired - TSMC
Acquired - Ho Nam
Acquired - ESPN
Invest like the best - John Harris Jun 64
Invest like the best - Carl Kawaja Jul 64
Invest like the best - Jeremy Grantham Feb 64
Invest like the best - Modest Proposal Sep 63
Odd Lots - Michael Pettis Oct 64
Odd Lots - Dan Wang Sep 64
Inside the Rope - Ep 87 John Hempton
Decoder - Global chip shortage Aug 64
Twitter - These are some of the accounts that are interesting to me kub. For more accounts, you can refer to the list of good “fintwits” accounts that I shared earlier.
@michaelxpettis | good thoughts on China economy and its debt bubble
@modestproposal1 | stats, excerpts, and thoughts from news, institutional research reports, transcripts, etc.
@Paulkrugman | economic Nobel laureate | some very good tweets on the economy
@patrick_oshag | popular fintwit account | often share insightful information
@muddywatersresearch | a short fund | interesting short ideas
@citronresearch | mostly short ideas
@GavinSBaker | CIO at Atreides | comments on tech, consumer companies, and markets
@TidefallCapital | PM at Tidefall Capital | comments on tech companies and markets
@Post_Market | comments on tech and consumer companies | long and short ideas
@S_curvecap | comments on tech companies
@borrowed_ideas | writer of MBI Deep Dives | company-focused threads | quarterly earnings recaps
@JohnHuber72 | PM at Saber Capital | comments on tech companies mostly
@PreparedRemarks | observations on consumer internet companies
@realdennishong | CIO at ShawSpring Partners | interesting stats and charts
@AltaFoxCapital | Founder of Alta Fox Capital | small-cap ideas
@Josh_Young_1 | PM at Bison Interests | comments on oil & gas industry
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4562
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 26
nayut เขียน: ↑พุธ ก.พ. 09, 2022 2:39 pmI’m going to respond in English na kub. I’m a very slow Thai typer, so this will allow me to get across more information.
I keep a list of things I read and listen to that I like, and I’ll share it here with you and the ThaiVI community. Some of the newsletters generally have some articles that are free kub and there are a lot of people who write interesting things and don’t put them behind a paywall.
Talking to my analyst just now, it is our general observations (and we may be wrong here) that information sources that many Thai investors use on foreign stocks might be sub-optimal, e.g., general news sites, SeekingAlpha, Motley Fool, etc., which don’t have good in-depth analysis. And many good “fintwit” accounts on Twitter are not well known among Thai investors.
Below are some of the articles, podcasts, and Twitter handles that I like. I picked out ones that can be freely accessed and recommend two with paywalls below kub. They should at least help get you and others who are interested in generally higher quality resources to get started kub.
Ben Thompson’s Stratechery puts out several articles laying out the core concepts over the years that have been recited numerous times in analyzing technology stocks.
Aggregation Theory
The disruption caused by the Internet in industry after industry has a common theoretical basis described by Aggregation Theory.
Publishers and the Smiling Curve
Publishers used to live at the point of integration. The value of that integration, though, is gone with the Internet, which means value flows to suppliers and aggregators.
Differentiation and Value Capture in the Internet Age
The implication of the Smiling Curve is not only that aggregators have increased economic power, but that differentiated suppliers do as well; Omni Software is an example.
A Framework for Regulating Competition on the Internet
Understanding the differences between platforms and Aggregators is critical when it comes to considering regulation.
Defining Aggregators
A precise definition of the characteristics of aggregators, and a classification system based on suppliers. Plus, how to think about aggregator regulation.
The link to all key concept articles from Stratechery are here kub
Other good works
Screenshot Essays: short summary of many important key concepts that one understand technology companies
Above the Crowd blog by Bill Gurley - Money Out of Nowhere: How Internet Marketplaces Unlock Economic Wealth
Zack Kanter - What is Amazon? - explaining business model of Amazon
Benedict Evans annual presentation: Every year, I produce a big presentation exploring macro and strategic trends in the tech industry. This year, ‘Three Steps to the Future’.
Benedict Evans popular essays
Moxie Marlinspike - My first impressions of web3 - good argument that web3/crypto doesn’t deliver on decentralization and other benefits that its advocate try to “sell”
Eugenue Wei - Status as a Service
Matthew Ball - The Flaws of "Subscription Fatigue", "SVOD Fatigue", and the "Streaming Wars"
For paid subscription, I think Stratechery and Scuttleblurb are definitely worth subscribing to kub. Scuttleblurb does a very good analysis on many companies and would be a good starting point for doing research on many wide-moat companies kub.
Podcast
Business breakdown - Visa
Business breakdown - Chipotle
Business breakdown - Shopify
Business breakdown - Moderna
Business breakdown - Facebook
Acquired - TSMC
Acquired - Ho Nam
Acquired - ESPN
Invest like the best - John Harris Jun 64
Invest like the best - Carl Kawaja Jul 64
Invest like the best - Jeremy Grantham Feb 64
Invest like the best - Modest Proposal Sep 63
Odd Lots - Michael Pettis Oct 64
Odd Lots - Dan Wang Sep 64
Inside the Rope - Ep 87 John Hempton
Decoder - Global chip shortage Aug 64
Twitter - These are some of the accounts that are interesting to me kub. For more accounts, you can refer to the list of good “fintwits” accounts that I shared earlier.
@michaelxpettis | good thoughts on China economy and its debt bubble
@modestproposal1 | stats, excerpts, and thoughts from news, institutional research reports, transcripts, etc.
@Paulkrugman | economic Nobel laureate | some very good tweets on the economy
@patrick_oshag | popular fintwit account | often share insightful information
@muddywatersresearch | a short fund | interesting short ideas
@citronresearch | mostly short ideas
@GavinSBaker | CIO at Atreides | comments on tech, consumer companies, and markets
@TidefallCapital | PM at Tidefall Capital | comments on tech companies and markets
@Post_Market | comments on tech and consumer companies | long and short ideas
@S_curvecap | comments on tech companies
@borrowed_ideas | writer of MBI Deep Dives | company-focused threads | quarterly earnings recaps
@JohnHuber72 | PM at Saber Capital | comments on tech companies mostly
@PreparedRemarks | observations on consumer internet companies
@realdennishong | CIO at ShawSpring Partners | interesting stats and charts
@AltaFoxCapital | Founder of Alta Fox Capital | small-cap ideas
@Josh_Young_1 | PM at Bison Interests | comments on oil & gas industry
สุดยอดมากๆเลยครับ เดี๋ยวผมขอใช้เวลาย่อยสักพักนะครับ เดี๋ยวลองเข้าไปดูตามลิงค์ทีละอันครับ
ขอบคุณอีกหลายๆครั้งครับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 27
ดีจังครับ ขอบคุณหมอเคที่ตั้งกระทู้ดี ๆ นะครับ
ผมคิดว่ามีเซียนหุ้นต่างประเทศอยู่ใน thaivi อย่างคุณ nayut อีก ที่แชร์มาผมรู้จักไม่ถึงครึ่ง ขนาดอ่านอยู่ทุกวี่วันเกือบสองปี
ร่นเวลาคนรุ่นหลังได้เยอะเลย
เราเห็นข้อมูล ข้อเขียนดี ๆ ในต่างประเทศ ฝังอยู่ตามจุดต่าง ๆ เต็มไปหมด ผมเลยรู้เลยว่า เค้าแกะกันลึกและเหนือกว่าวีไอไทยขึ้นไปอีก(เยอะเลย)
ความคุ้มค่าที่สุดของผมคือความมันส์ที่ได้เจอคนเทพ ๆ นี่แหละครับ เหมือนอารมณ์ผมไปมุงเซียนวีไอ ตอนผมยังเยาว์วัยเลย อิอิ
ผมคิดว่ามีเซียนหุ้นต่างประเทศอยู่ใน thaivi อย่างคุณ nayut อีก ที่แชร์มาผมรู้จักไม่ถึงครึ่ง ขนาดอ่านอยู่ทุกวี่วันเกือบสองปี
ร่นเวลาคนรุ่นหลังได้เยอะเลย
เราเห็นข้อมูล ข้อเขียนดี ๆ ในต่างประเทศ ฝังอยู่ตามจุดต่าง ๆ เต็มไปหมด ผมเลยรู้เลยว่า เค้าแกะกันลึกและเหนือกว่าวีไอไทยขึ้นไปอีก(เยอะเลย)
ความคุ้มค่าที่สุดของผมคือความมันส์ที่ได้เจอคนเทพ ๆ นี่แหละครับ เหมือนอารมณ์ผมไปมุงเซียนวีไอ ตอนผมยังเยาว์วัยเลย อิอิ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 28
ขอบคุณครับ
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4562
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 29
ขอบคุณสำหรับคำชมครับ ประธานหลินLinzhi เขียน: ↑พฤหัสฯ. ก.พ. 10, 2022 9:10 amดีจังครับ ขอบคุณหมอเคที่ตั้งกระทู้ดี ๆ นะครับ
ผมคิดว่ามีเซียนหุ้นต่างประเทศอยู่ใน thaivi อย่างคุณ nayut อีก ที่แชร์มาผมรู้จักไม่ถึงครึ่ง ขนาดอ่านอยู่ทุกวี่วันเกือบสองปี
ร่นเวลาคนรุ่นหลังได้เยอะเลย
เราเห็นข้อมูล ข้อเขียนดี ๆ ในต่างประเทศ ฝังอยู่ตามจุดต่าง ๆ เต็มไปหมด ผมเลยรู้เลยว่า เค้าแกะกันลึกและเหนือกว่าวีไอไทยขึ้นไปอีก(เยอะเลย)
ความคุ้มค่าที่สุดของผมคือความมันส์ที่ได้เจอคนเทพ ๆ นี่แหละครับ เหมือนอารมณ์ผมไปมุงเซียนวีไอ ตอนผมยังเยาว์วัยเลย อิอิ
ผมเอง ไม่ได้โพสต์เวปไทยวีไอ ราวๆ 5 ปีแล้วมั๊งครับ พอดีช่วงหลัง ผมมีความคิดว่า หากจำเป็นต้องย้ายไปทำงานหรือ อาศัยที่ต่างประเทศ แล้ว เราควรปรับตัวยังไงบ้าง
ในแง่ผลตอบแทนการลงทุนในหุ้นเมกา
ตอนปี 2016 ผมเดินทางไปเที่ยว NY และได้ เข้ากลุ่ม meeting ของ value investor ในตอนนั้น เขาถามว่าเรามาจากไหน ผมบอกว่า มาจากไทย เขาก็บอกว่า ตอนอยู่เมกาเขาลงทุนเฉลี่ยกันได้ผลตอบแทน 10% ก็หรูแล้ว พอเราบอกว่า มาจากไทยแลนด์ เห็นเพื่อนๆ วีไอไทย เล่นกันได้ ปีละ 30-50% เขาก็ไม่ค่อยสนใจด้วยซ้ำ บอกว่า หุ้นเอเชีย fraud เยอะ
ตอนนั้น ถามว่าเขาคุยหุ้นตัวไหน ส่วนใหญ่จะเป็นแนว bottom up แบบ ลงทุนหุ้นพวก GM หรือ BB กะว่า ธุรกิจจะฟื้นตัว หรือไม่ก็ เล่นพวก ยานยนต์ (ผมจำไม่ได้จริงๆ มันนานมากแล้ว)
ดังนั้นผมเลยรู้สึกว่า ตลาดเมกา มัน too hard จนพลอยขี้เกียจศึกษา ไปเลยครับ
และ จนตกจรวดมากๆ ในปี 2020 ซึ่ง ก็โชคดี ที่ แอบใส่เงินมาแบบไม่มาก พอจะได้กำไรอยู่บ้าง แต่ก็ขายไปไม่มาก สุดท้าย ตอนตกหนักๆ เนื่องจากถือหุ้นเทค พอสมควร ก็ เลย เกือบจะเท่าทุนเดิม แต่ก็ถือว่า เป็นการศึกษาใหม่ๆ ผมก็นั่งไล่อ่านใน seeking alpha motley fool ซึ่งก็เห็นว่า หลายคนที่เป็นเซียนจะมาตอนปี 2020 แต่ก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้น ก็ไม่ได้ perform ดีเหมือนเดิม โดยเฉพาะ ปลายปี 2021
ผมลองเทียบๆดู ความสงสัยเรื่องหุ้นเมกา เรื่องข้อได้เปรียบกับเสียเปรียบ
ผมคิดว่า ตลาดหุ้นไทยนั้น หาก เราอ่านข่าวหนังสือพิมพ์หรือฟัง พวกบทวิเคราะห์บ่อยๆ ก็จะพอเดาทิศทางของ การเกิด sector rotation รวมไปถึงการคาดการณ์ earning momentum ได้ พอสมควร หรือ แม้กระทั่งฟัง moat หรือ competitive ก็จะ เข้าใจได้มากกว่า อาจจะเป็นเพราะ ตลาดไทยมันเป็นตลาดเล็กไปหน่อย ซึ่ง ยักษ์ใหญ่บางรายก็เลือกไม่เข้าตลาดไทยก็ได้ (อันนี้หมายถึงบางธุรกิจนะครับ)
เรื่อง first hand information นั้น ต้องยอมรับว่า นักวิเคราะห์ หรือ กองทุน หรือ ... ก็อาจจะมี ข้อมูลมากกว่าเราทำให้เราเสียเปรียบได้ ดังนั้น การจะวัดกัน ก็ต้องเป็นการมองทิศทางธุรกิจระยะยาวมากกว่า
แต่สิ่งที่ผมมักจะงงๆ คือ หุ้นตปท มันดันมีเกณฑ์ แปลกๆ เช่น การทำ stock compensation หรือ อยู่ๆ ผบห ก็ขายหุ้น ออกมา (เอาจริงๆ จะเห็นว่า บ้านเรา ผบห อาจจะไม่ค่อยขายโชว์ในตลาดมากนัก คือ ขายจริงๆ จะเป็นพวก ยก biglot ให้กองทุน หรือคนอื่นๆ หรือ บางคนอาจจะ ใช้ nominee ขาย - ซึ่งอันนี้ ในฐานะนลทที่อยู่มานาน ก็จะพอรู้ว่า เหตุการณ์ต่างๆ มันจะนำไปสู่อะไร ได้)
ผมถึงได้มาตั้งกระทู้ อันนี้ ว่า หากเราจะเลี้ยงชีพด้วยการลงทุนแล้ว และคาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาว 10-15% ต่อปี การลงทุนในไทยหรือต่างประเทศจะได้ผลคุ้มค่ากว่ากัน ซึ่งจะนำผลถึง การจัดการ asset allocation ว่า portfolio ควรมี diversification อย่างไร
คำว่าคุ้มค่า ผมหมายถึง การแบ่งเวลาในการศึกษาหุ้น หรือ ศึกษาธุรกิจ จะทำอย่างไร
เพราะต้องเทียบกับ ผลตอบแทน จากการที่เราทุ่มเทเวลา หรือพลังงานในการศึกษา กับ ผลตอบแทนจากกำไรจากการลงทุน และต้องไปหักกับภาษีที่ต้องเสียไป ซึ่ง ตปท นั้น เสีย capital gain tax สูงกว่าเราแน่ๆอยู่แล้ว
อีกอย่าง การที่เราต้องดู ข้อมูลต่างๆในโลกอีกซีก เมื่อ time zone มันไม่เหมือนกัน ก็ไม่รู้ว่าชีวิตจะจัดการอย่างไร ผมได้ยินว่า นลทวีไอไทยหลายคนที่เล่นหุ้นเมกา บางคน ปรับเวลานอนแบบกลับข้าง หรือไม่ก็ นอนกลางวันแทน ซึ่งผมว่า อันนี้ ถ้าไม่ชิน ก็เสียสุขภาพจิตพอสมควร โดยเฉพาะวันที่หุ้น ตปทปรับลง วันละ 20% ติดๆกัน
เอาจริงๆ ก็อยากไปตั้งกระทู้ถามคนที่อาศัยอยู่ต่างประเทศจริงๆ ว่าจัดการ portfolio อย่างไร แต่ ก็ไม่อยากรบกวนพื้นที่ในเวปบอร์ดจนเกินไปเช่นกัน
เท่าที่ผมได้คุยกับ พี่ๆนักลงทุนที่อาศัยในตปท ก็มี คนบอกว่า ไทยมันโตช้า แต่ก็ดีตรงที่ภาษี cap gain tax เสียไม่มากนัก
กลับมาที่ประเด็นของคำถามต่อนะครับ หวังว่า ถ้ามีคนไทยที่อยู่ต่างประเทศและเลี้ยงชีพด้วยการลงทุนหุ้น จะมาช่วยตอบนะครับ
1. บริหารจัดการการศึกษาหุ้นอย่างไร ให้ได้ประสิทธิภาพที่สุดเหรอครับ
คือ ในไทย ผมจะตื่นมาอ่านข่าว และฟัง คลิป ต่างๆ และจากนั้นจะค่อยๆ ไล่ฟัง oppday หรือแกะงบกิจการไป ซึ่งถ้ามีตรงไหนติดใจ ก็จะโทรไปสอบถาม IR หลังทำการบ้านเสร็จแล้ว
ถึงแม้สุดท้าย จะไม่ได้ลงทุนในบริษัทนั้นๆ แต่ก็จะเข้าใจภาพอุตสาหกรรม ว่า ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงของ mshare กับ msize อย่างไร ซึ่ง ข้อเสียของการศึกษาหุ้นตปท ในมุมมองของผมคือ ผมพอจะเข้าใจ model ของธุรกิจ ว่า business model อย่างไร และ ตปทจะมี earning forecast ค่อนข้างชัด แต่หลายครั้ง หุ้นจะถูก penalty ที่รุนแรงมากๆ เวลา บริษัท ออกมา guidance ว่า งบน่าจะเน่า ในไตรมาสถัดไป แม้ว่า ไตรมาสนั้นๆ จะประกาศออกมางบดีสุดๆ
ในแง่การอ่านข่าวหรือวิเคราะห์ข่าว คนที่เล่นหุ้นต่างประเทศนั้น สามารถคาดการณ์กำไรในปีนั้นๆ ได้จากช่องทางไหน นอกจาก earning preview ของ บริษัทนั้นๆ ได้อีกไหมครับ หรือว่า มี บทวิเคราะห์ ที่เราหาดูได้ ในฐานะนลททั่วๆไป เหมือน กับ ของไทยที่มี แจก ฟรี ใน settrade ไหมครับ
2. ในแง่ของ portfolio management ผมว่า หุ้นไทย เองมีความผันผวนมากกว่า ผมสังเกตว่า หุ้น super stock ในไทย ก็จะมี การเปลี่ยนแปลง 2 ปี ขึ้น 100% อีก ปี ลงเกิน 50% ดังนั้น หลายๆครั้ง หุ้นไทยจะเหมาะกับการเล่นเป็น theme มากกว่า (ไม่นับรวม port longterm)
ผมเข้าใจว่า พี่ที่ลงทุนหุ้น ที่แข็งแกร่ง ในเมกา มีข้อได้เปรียบ เพราะ บริษัทเหล่านี้ ขยาย TAM ได้เรื่อยๆ จากการไปกินธุรกิจใหม่ๆ หรือไปในดินแดนใหม่ๆ แต่ขณะเดียวกัน มันมีจุด trigger point ไหนไหมครับ ที่บอกว่า ที่เราเห็นว่า TAM ใหญ่มากๆ และ Market penetration น้อยนิด ซึ่งมี potential growth มหาศาล จะไม่เป็นตามคาด
กับอีกประเด็นคือ ระยะเวลาในการ hold หุ้นต่างประเทศ ในชีวิตจริง เหมือนหุ้นไทยไหมครับ จริงอยู่ ทุกคนที่เล่นหุ้นต่างประเทศ เพราะต้องการ หุ้น แบบ amazon หรือ อย่าง domino pizza ซึ่งแค่กอดไว้ก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว แต่ไม่รู้ว่า การลงทุนหุ้น ตปท นี่ เราจะ แบ่ง longterm port กับ shortterm port อย่างไร
3. วีไอ การจับจังหวะ ตลาด เป็นของแสลง แต่ผมเชื่อว่า หลายๆคนก็ประเมิน เรื่อง market direction ในไทยนั้น จะเห็นว่า หุ้นที่เป็น best stock gainer แต่ละปี ก็ไปตาม theme ต่างๆ เช่น ปี 2014-2016 หุ้นนักท่องเที่ยวจีนมา
ปี 2020-2021 พวก digital transformation มา
ไม่รู้ว่า ต่างประเทศจะมี theme แบบนี้ หรือเราจำเป็นต้องลงทุนตาม theme แบบนี้ บ้างไหมครับ
เท่าที่ผมอ่านพวก guru ต่างประเทศ มักนิยมหุ้นที่เป็นแบบ trend 10-20 ปี ซึ่งมองยาวๆไปเลย ซึ่งแน่นอนว่า บางทีความผันผวนก็จะรุนแรงกว่ามาก เช่นปี 2019 ที่ keth bendig ออกมา bullish เรื่อง cloud แต่ตอนนั้น ไม่ค่อยมีคนเชื่อ หุ้นก็ไม่ค่อย perform จน ปี 2020 เธอเลยกลายเป็น เทพ ส่วน ARK ผมเพิ่งมาติดตาม Cathie ตอนที่หุ้นหลายๆตัวขึ้นมาเยอะแล้ว เลยไม่แน่ใจว่า ในแง่ longterm view ของเธอมีความผันผวนแค่ไหน
4. อีกประเด็นนึง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญสุด คือ การวิเคราะห์ ผบห
ในไทย นั้น การวิเคราะห์ ผบห จะดูที่ นิสัยของผบห ว่า สิ่งที่เขาให้สัมภาษณ์ตามสื่อ หรือ ว่า ใน oppday ผบห ตอบคำถามอย่างไร เป็น คน conservative หรือ aggressive และ ทำผลดำเนินงานได้ miss เป้าแค่ไหน (ถ้า miss เพราะ เหตุการณ์ชั่วคราว ก็อาจจะพอรับได้ )
ส่วนในเมกา เวลาผมค้น ผบห ส่วนใหญ่จะเจอคลิปของ mad money ก็จะเป็นบทสัมภาษณ์สั้นๆ ไม่แน่ใจว่า เวลา นลทเราจะ วิเคราะห์ ผบห ต่างประเทศว่าเก่งไหม นี่ พอจะแนะนำวิธีการหรือแหล่งข้อมูลได้ไหมครับ
อย่างเร็วๆนี้ หุ้นหลายๆบริษัทอย่าง pton ที่สร้างผลประกอบการดีมากๆ ในช่วง โควิด ตอนแรก เขาคือเทพแห่ง marketing company ที่เทียบเท่า apple แต่ตอนหลังก็โดน ผถห โหวตออก
ทั้งหมดที่ผมถาม ผมไม่ได้บอกว่า หุ้นตปท ดี กว่าไทย หรือ แย่กว่าไทยนะครับ
เพราะตามที่ผมบอกว่า ผมมีความรู้น้อยมากๆ ศึกษาน้อยกว่าคนอื่นๆในเวปเยอะ แต่ยังไงก็อยากเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตปทมากขึ้นเรื่อยๆ เลยลองมาชวนคุยดูครับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 411
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
โพสต์ที่ 30
ยิ่งอ่านยิ่งนึกถึงคําพูดของBuffettที่ว่า
I don't look to jump over 7 foot bars;
I look around 1 foot bars that I can step over.
สําหรับผมหุ้นอเมริกานี่ 10 foot barเลย
และอีกอันที่นึกถึงของMunger
"ผมแค่อยากรู้ว่าผมจะตายที่ไหน
แล้วผมจะไม่ไปที่นั่นตลอดชีวิต"
ปล.ต้องขออภัยที่ขวางกระแส
แต่คนอายุ61แบบผมรู้สึกแบบนี้จริงๆ
I don't look to jump over 7 foot bars;
I look around 1 foot bars that I can step over.
สําหรับผมหุ้นอเมริกานี่ 10 foot barเลย
และอีกอันที่นึกถึงของMunger
"ผมแค่อยากรู้ว่าผมจะตายที่ไหน
แล้วผมจะไม่ไปที่นั่นตลอดชีวิต"
ปล.ต้องขออภัยที่ขวางกระแส
แต่คนอายุ61แบบผมรู้สึกแบบนี้จริงๆ