Qualitative กับ Quantitative เพื่อนๆVI ทั้งหลายให้ความสำคัญ.

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ForrestGump
Verified User
โพสต์: 1435
ผู้ติดตาม: 0

Qualitative กับ Quantitative เพื่อนๆVI ทั้งหลายให้ความสำคัญ.

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เป็นสัดส่วนอย่างไรบ้างครับ 70% Graham 30% Fisher หรือเปล่าครับ
หรือเป็นสัดส่วนอื่น

ผมเคยถามเสี่ยวิบูลย์ เสี่ยเค้าให้คุณภาพมาก่อนเลยครับ เพราะถ้ากิจการคุณภาพดี กำไรก็จะดีขึ้นเรื่อยๆในอนาคต ส่วนคุณฉัตรชัยก็นักแกะงบมือเยี่ยมอย่างที่เรารู้กัน บอกว่า กิจการเดี๋ยวนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว ให้ความสำคัญกับงบกระแสเงินสดเป็นหลัก และคุณ มน คุณ ครรชิต คุณ นักดูดาว ฯลฯ ก็เยี่ยมยุทธิ์อีกมากมาย แต่ละท่านก็ค้นพบวิถีทางของตัวเองอย่างชัดแจั้งแล้ว

และอีกคำถามที่คาใจผมคือ พวกโมเดลหา instrincsic Value แบบต่างๆ ทั้ง DCF Dividen discount model, Equity growth pric, EBITDA ฯลฯ นั้นทุกท่านใช้โมเดลไหนเป็นหลัก และมันใช้ได้จริงหรือไม่ครับ

ผมยังต้องศึกษาอีกมากมาย และอยากขอถามเพื่อนๆว่าให้ความสำคัญกับปัจจัยไหน เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ครับ หรือ มีอะไรชี้แนะเกี่ยวกับประเด็นนี้บ้าง
กฎข้อที่1 อย่ายอมขาดทุน กฎข้อที่2 กลับไปดูกฎข้อที่ 1
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

Qualitative กับ Quantitative เพื่อนๆVI ทั้งหลายให้ความสำคัญ.

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ลองดูโมเดลของคุณ Invisible hand ครับ


ผมคิดว่าการลงทุนในหุ้นนั้น เป็น art ประมาณ 90% และอีก 10% เป็น science นอกจากนี้ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งมันเกิดจากการสะสมประสบการณ์ การลองผิดลองถูก ความขวนขวาย รวมกันเป็นสิ่งที่เรียกว่า Gut feeling ต่ละคนจะมีไม่เท่ากัน มันไม่ถึงกับเป็นพรสววรค์ สามารถพัฒนากันได้ และเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันไม่ได้ครับ Gut feeling สำคัญมากสำหรับคนที่จะเป็น fund manager และคนที่ลงทุนแบบเก็งกำไร

:wink: :wink: :wink: :wink:

ยกตัวอย่างเช่น หากเราไป company visit ผู้บริหารบริษัทหนึ่ง ผู้บริหารทุกคนย่อมอยากให้หุ้นตัวเองขึ้นอยู่แล้ว ก็อาจจะให้ข้อมูลในทางบวก ซึงบางเรื่องจริง บางเรื่องไม่จริง หากเรามี Gut feeling ที่ดี ก็อาจจะพอแยกแยะได้ว่าอะไรควรเชื่อไม่ควรเชื่อครับ หรือความรู้สึกว่าหุ้นตัวนี้จะขึ้นหรือลงแต่อาจจะยังไม่มีเหตุผล ณ ขณะนั้นบางครั้งก็มาจาก gut feeling เหมือนกันครับ

:lol: :lol: :lol: :lol:

การอ่านหาความรู้มากๆ และการศึกษาประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นและประวัติศาสตร์ทางธุรกิจก็เป็นการพัฒนา gut feeling ได้ในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม หากเรามีวินัยการลงทุนที่เคร่งครัดและศึกษาอย่างดี ก็ไม่ต้องมี gut feeling มากนักก็ประสบความสำเร็จในการลงทุนได้

:wink: :wink: :wink: :wink:

ผมจะตอบคำถามคุณสามัญชนโดย assume ว่าเป็นการเลือกหุ้นสำหรับการลงทุนระยะยาวนะครับ


ประเด็นที่ผมคิดว่าคงจะให้น้ำหนักมากที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องความซื่อสัตย์ ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ผมเชื่อว่าบริษัทที่มีผู้บริหารซื่อสัตย์ มีธรรมาภิบาล ก็ย่อยมีโอกาสประสบความสำเร็จทางธุรกิจ และให้ผลตอบแทนกับนักลงทุนที่ดีในระยะยาวครับ สำหรับหุ้นที่ผู้บริหาร greyๆ หน่อย ก็อาจจะลงทุนในระยะสั้นถึงกลางได้ หากมีปัจจัยอื่นๆ ที่น่าสนใจครับ

:wink: :wink: :wink: :wink:

แต่ปัจจัยเรื่องผู้บริหารนี้มันเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในการพิจารณาเลยครับ บางครั้งเรอาจจะต้องรอดูไปซักพักใหญ่ๆ หรืออาจจะต้องใช้เวลาถือหุ้นตัวนั้นนานทีเดียวถึงจะมีข้อสรุปครับ นี่เป็นเหตุผลว่า ไม่ควรลงทุนระยะยาวในหุ้น ipo เว้นเสียว่าหุ้นตัวนั้นจะน่าสนใจจริงๆ หรือเราพอจะรู้ประวัติของผู้บริหารมาบ้างแล้ว การติดตามข่าวทั้งย้อนหลังและปัจจุบันก็เป็นทางช่วยหนึ่ง บางครั้งผมจะไปห้องสมุดหนังสือพิมพ์มติชนเพื่อค้นหาข่าวเก่าๆ ย้อนหลัง 10 ปีของบริษัทเหล่านี้ รวมไปถึงเรื่องส่วนตัวของผู้บริหารบางทีก็พิจารณาครับ บางครั้งการอ่านหนังสือพิมพ์ชาวบ้านหรือนิตยสารผู้หญิงก็มีส่วนช่วย เช่น ผมจะชอบผู้บริหารหรือเจ้าของบริษัทที่ทำตัวสมถะมากกว่าพวกทำตัวอวดร่ำอวดรวย ฟุ้งเฟ้อ บรรยากาศและการตอบคำถามของผู้บริหารในที่ประชุมผู้ถือหุ้นก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการพิจารณาเช่นกัน รวมไปถึงรายละเอียดในงบการเงินก็ฟ้องพฤติกรรมผู้บริหารได้ในระดับหนึ่งเช่นกันครับ



การดูโหวเฮ้งผู้บริหารก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเช่นกันครับ ผมสังเกตว่าบางคนความโกง ความไม่ดี มันออกที่หน้าตาได้เลยเหมือนกันนะครับ แต่วิธีนี้ก็ไม่ 100% ครับ ha ha



รองลงไปผมคงจะดูธุรกิจ ว่ามี durable competitve advantage แค่ไหน ผมจะไม่ให้น้ำหนักหุ้นที่เป็น commdity cyclical สำหรับการลงทุนระยะยาว แต่ก็สามารถลงทุนระยะสั้นถึงกลางได้ คงจะให้คะแนนบวกสำหรับหุ้นที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงในธุรกิจนั้นๆ ถ้ามี brand name ก็ยิ่งดีเพราะถือว่าเป็น barrier to entry ครับ

:lol: :lol: :lol: :lol:

สำหรับแนวโน้มธุรกิจคงจะพิจารณาเช่นกัน ผมจะชอบธุรกิจที่น่าจะเติบโตสูงกว่า gdp ในระยะยาว เช่น หากสำหรับประเทศไทยที่กำลังพัฒนา ธุรกิจด้านการศึกษาน่าจะเติบโตได้ดี เป็นต้นครับ


ที่สำคัญที่จะไม่ดูไม่ได้ก่อนที่จะซื่อหุ้นทุกตัวคือ valuation ครับเพราะถ้าไม่ดู valuation เราก็อาจจะเหมือนคนที่ซื้อกระเป๋าหลุยส์ วิคตอง ใช้ กระเป๋ายี่ห้อนี้จริงๆ แล้วไม่ใช่แค่แฟชั่นนะครับ แต่หนังที่ใช้ทำกระเป๋านี่ทนมากถ้าไม่ได้เบื่อเสียก่อนสามารถใช้ได้เป็น 10 ปีขึ้นไป และมีการรับประกันตลอดอายุการใช้งาน แต่การซื้อของดีที่ราคา fair value หรือ overvalue มันก็ไม่สามารถทำให้เรามี excess return ได้เหมือนกันครับ

:arrow: :arrow: :arrow: :arrow:

ปกติผมจะดู P/e เป็นหลักสำหรับ valuation ครับ ส่วน p/bv จะดูแต่ไม่ได้เน้นเป็นสาระสำคัญเพราะเราไม่ได้ซื้อกิจการแล้วแยกชิ้นขาย ถ้าทำได้จริงผมคิดว่ายังทำได้กับหลายบริษัทที่ list อยู่ตอนนี้ครับ

:lol: :lol: :lol: :lol:

แต่อีกตัวที่ดูนอกเหนือจาก p/e แล้วก็คือ operating cash flow เพราะเป็นตัวบอก quality of earning เพราะบางบริษัท p/e ต่ำแต่ operating cash flow ติดลบตลอด เหตุผลก็คือ ระยะเวลาเก็บเงินยาวกว่าระยะเวลาการจ่ายเงินมาก ธุรกิจประเภทนี้จะไม่มีทางจ่ายปันผลให้กับนักลงทุนในอัตราที่ดีต่อเนื่องได้เลยครับ

:roll: :roll: :roll: :roll:

ตรงกันข้าม ธุรกิจที่ operating cash flow สูงกว่า net profit มากๆ เหตุผลคือ ขายสด จ่ายเชื่อ เป็นธุรกิจที่ดีมากในสายตาผมและจะเป็นธุรกิจที่สามารถจ่ายปันผลที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นได้ในระยะยาว และการเติบโตของธุรกิจเหล่านี้มักจะไม่รบกวนเงินในกระเป๋าของผู้ถือหุ้นด้วย คือ ไม่ต้องเพิ่มทุนบ่อยๆ นั่นเอง และบริษัทเหล่านี้มักจะมีแนวโน้มที่จะซื้อหุ้นคืนได้ด้วยครับ


:wink: :wink: :wink: :wink:

นอกจากนี้ธุรกิจที่ขายเป็นเงินสดจะไม่มีโอกาสเจ๊งในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจหนักๆ ครับ ในขณะที่ธุรกิจขายเงินเชื่อหลายบริษัทไม่ได้เจ๊งเพราะตัวเอง แต่เจ๊งเพราะลูกค้าส่วนใหญ่เจ๊งเลยทำให้ตัวเองแย่ไปด้วย ดังนั้นหากเห็นสํญญาณความตกต่ำของธุรกิจเมื่อไหร่ ให้ถือหุ้นที่ขายเป็นเงินสดไว้จะปลอดภัยที่สุดครับ



สำหรับ roe นั้น ปัจจัยข้างต้นทั้งเรื่องผู้บริหาร ธุรกิจ มันมักจะสะท้อนอยู่ใน roe อยู่แล้วผมจึงไม่ติดตามตัวเลขดังกล่าวนัก จากประสบการณ์และบทเรียนที่ผ่านมา ผมมักจะกลัวหุ้นที่ roe หรือ profit margin สูงๆ ด้วยซ้ำ เพราะหากธุรกิจไม่มี barrier to entry ที่ดีพอ มันจะทำให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ๆ การขยายกำลังการผลิตมากเกินไป และอนาคต roe หรือ margin ของธุรกิจจะลดลงและ roe ก็จะลดลงด้วย ตัวอย่างเช่น ธุรกิจของ gmmm ที่เคยมี margin สูงมาก หรืออสังหาฯ ปีที่แล้วที่ทุกคนมี roe สูงกันหมด




ส่วน roa ผมไม่ค่อยให้ความสำคัญนักเพราะแต่ละธุรกิจจะมี roa ที่ต่างกัน หากเปรียบเทียบคงต้องเปรียบเทียบในธุรกิจเดียวกันครับ


ผมเลยคิดว่า สำหรับตลาดหุ้นคงจะไม่มีสูตรสำเร็จอะไรที่สามารถใช้ได้ตลอดไป ถึงจะมีก็คงจะใช้ได้ในช่วงสั้นๆ เพระวันหนึ่งหากตลาดทำตาม excess profit ของการใช้สูตรต่างๆ หรือเทคนิคต่างๆ ก็จะลดลง นักลงทุนที่ซื้อหุ้น p/e ต่ำๆ หรือ p/bv ต่ำๆ อาจจะมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนน้อยลงแต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าจะไม่ขาดทุน ยกตัวอย่าง หุ้น tem หรือ Thai engine ก่อนที่จะถูก sp มี p/bv 0.15 โดยประมาณ แต่เกือบทั้งหมดใน asset เป็นลูกหนี้การค้าซึ่งท้ายสุดเป็นหนี้เสีย หุ้น T_ ในกลุ่มบรรจุภัณฑ์ ชื่อเหมือนดอกไม้ เคยมี p/e 2 เท่ากว่าๆ ถึงปัจจุบันราคาก็ยังไม่ไปไหน ราคาก็ลดลงด้วยซ้ำครับ

:lol: :lol: :lol: :lol:

ดังนั้นผมจึงคิดว่าการลงทุนในหุ้นหรือการลงทุนใดๆ ในตลาดการเงินเป็นศิลปะอย่างหนึ่งครับ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ใดๆ ไม่งั้นคนที่จบปริญญาเอกด้านการเงินคงจะรวยกันหมดแล้ว และ Long term capital credit ก็คงไม่เจ๊งเช่นกันครับ

:wink: :wink: :wink: :wink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
harry
Verified User
โพสต์: 4200
ผู้ติดตาม: 0

Qualitative กับ Quantitative เพื่อนๆVI ทั้งหลายให้ความสำคัญ.

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ผมขอตอบอย่างง่ายๆว่า คุณภาพมาก่อนครับ ถ้าคุณภาพได้ซะอย่าง ปริมาณมันจะสะท้อนออกมาเอง ว่าควรเยอะหรือน้อย

แต่ผมมักจะเห็นว่า ของดีมีน้อย มือใครยาวสาวได้สาวเอานะ

ดังนั้นเมื่อหาของดีได้แล้ว ก็รอจังหวะดีๆ ก็สาวมาเก็บไว้ล่ะ
Expecto Patronum!!!!!!
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 0

Qualitative กับ Quantitative เพื่อนๆVI ทั้งหลายให้ความสำคัญ.

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ผมใช้ลูกมั่วครับ ล้อเล่นครับ

หลักการของผมต้องนำด้วยคุณภาพครับ คุณภาพสูงความเสี่ยงต่ำ

ส่วนเรื่องปริมาณนั้น ผมใช้วิธีคิดหลายแบบ แบบที่สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกใช้DCF แบบเป็นวัฎจักรใช้ Reproduction cost และ EPV

ผมอยากจะเน้นในเรื่องคุณภาพมากๆครับ แต่เป็นคุณภาพของจิตใจคุณๆนะครับ ว่ามีความอดทนพอหรือเปล่า เห็นหุ้นเก็งกำไรวิ่งกระฉูดแล้วทำไมหุ้นเรามันนิ่งๆวะ ลองมองตอนมันวิ่งลงซิ ไม่รู้ว่าตอนขึ้นได้ที่แล้วขายทันหรือเปล่า เห็นตอนนี้ เวลาวิ่งเคาะตามแทบไม่ทัน ไอ้ตัวไหนวิ่งลงเคาะทิ้งแทบไม่ทันเหมือนกัน
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
ล็อคหัวข้อ