กูรูวีไอมองหุ้นไทย ปี2566 (5) หมอพงศ์ศักด์ ธรรมธัชอารี
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
กูรูวีไอมองหุ้นไทย ปี2566 (5) หมอพงศ์ศักด์ ธรรมธัชอารี
โพสต์ที่ 1
พี่หมอพงศ์ศักดิ์ ปกติชอบเรียนรู้ และศึกษาตลอดเวลา ฟังคลิปOpp day หุ้นทุกตัว
ถึงแม้ตอนนี้พอร์ตโตหมื่นกว่าล้านบาทแล้ว แต่ก็ยังมาให้สัมภาษณ์กับรายการMoneyTalk
เหมือนพอร์ตมีแค่5-10ล้านบาทเอง
จำได้ว่าตอนรุมหลังงานกับดร นิเวศน์ที่ตลาดหลักทรัพย์ที่เก่า คลองเตย พี่หมอจะนั่งฟังอยู่ตลอด
ล่าสุดในคลิปที่ฟังก็พบว่า พี่หมอก็ตามอ่านบทความของ ดร นิเวศน์ตลอดเช่นกัน
สมกับ วีไอ ต้องมีนิสัยหมั่นเรียนรู้ตลอดเวลา และ พอร์ตที่ลงในหุ้นตลอด ก็ไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง เพราะ พี่หมอ
บอกว่า ชีวิตมีความหมาย ได้ค้นหาหุ้นใหม่ๆ และ ติดตามหุ้นที่ถืออยู่
(เตือนว่าเป็นความสามารถเฉพาะตัว ถ้าคนธรรมดาอาจลดสัดส่วนหุ้นลงเมื่ออายุมากขึ้น แต่ถ้าเรามีความรู้และ
ประสบการณ์มากพอ จึงทำแบบพี่หมอได้)
คลิปนี้พึ่งมาฟัง แต่ได้อ่านที่หมอบอสคนเก่งเขียนก่อนหน้า เลยสบายขึ้นเพราะมีสรุปมาก่อน
ต้องขอให้เครดิตหมอบอส ขอบทความที่เขียนบางส่วนมาลงด้วยครับ
อาจารย์นิเวศน์ถามคำถามแรก ซึ่งเป็นคำถามเดียวกับวิทยากรก่อนหน้า คือ ผลตอบแทนปีที่แล้วเป็นอย่างไร
พี่หมอบอกว่า ปีที่แล้ว ติดลบไป 15% อาจารย์นิเวศน์บอกว่า ถือว่าดีมากแล้ว เพราะหลายคนไปลงหุ้นต่างประเทศ
ขาดทุนหนักมาก โดยเฉพาะหุ้นเวียดนาม
พี่หมอบอกว่าเป็นโอกาสในการลงทุนมากกว่า ไปลงทุนหุ้นที่ลงมาเยอะๆ
บทเรียนที่พี่หมอพบเจอและแชร์มาในรายการMoneyTalk
1.หุ้นที่เจอปัญหาชั่วคราว ราคาตกลงมามากเกินไป ก็จะซื้อเพิ่ม
2.หุ้นอีกตัว ไม่เข้าใจBusiness modelของบริษัทอย่างถ่องแท้ บริษัทดูเหมือนgrowth
แต่ไส้ในของบริษัท GP ผันผวน ต้องมาประเมินพื้นฐานของเขาใหม่ เลยลดพอร์ตลง แต่ยังถืออยู่ครับ
หลังจากเข้าใจธุรกิจ พบว่า บริษัทควบคุมการแกว่งของGPไม่ดี
3.อีกธุรกิจ มีข่าวดีเข้ามาพร้อมกัน ทำให้ราคาหุ้นวิ่งเร็วเกินไป ก็เลยลดพอร์ตลง
4.ธุรกิจที่มีPEสูงมาก Performanceไม่ค่อยดี ทำให้ราคาลดลงมา แต่ไม่ได้ลดพอร์ต
ตอนนั้นอาจมองไม่ออกว่าราคาหุ้นวิ่งเกินพื้นฐานไป
5.สนใจธุรกิจที่มีrecurring incomeสูง แต่ซื้อได้ไม่เยอะ เพราะสภาพคล่องน้อย ถือเป็นข้อเสียของเรา
เพราะถ้าเป็นคนอื่นที่พอร์ตไม่ใหญ่ ก็สามารถซื้อได้
แต่พี่หมอรู้สึกสนุกกับตลาดหุ้น มีกำไรและขาดทุนบ้าง (คิดว่าพี่หมอเจอโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน)
ปีนี้ชอบหุ้นที่เติบโตสูง มอง Market capก่อนว่าจะโตไปถึงไหน เป็นอันดับแรก
ถ้าลงทุนแล้ว คิดว่าmarket cap โตเยอะ ถ้าชัดมาก ก็จะเข้าไปลงทุน ชอบมาก
วิธีการมอง market cap ก็ต้องมาดูที่ market sizeก่อน สามารถมีmarket share เท่าไหร่
ถ้า market share เล็ก และ มีโอกาสโตเยอะ ก็น่าสนใจ
อันนี้เป็นวิธีการมองคร่าวๆ
แต่ถ้ามองไม่เห็นภาพ ก็จะได้ผลตอบแทนแบบธรรมดา
แต่ถ้าอยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่โตก็ได้ แต่หุ้นเล็กก็ต้องเพิ่มmarket shareได้
การเพิ่มmarket share หุ้นขนาดเล็ก ต้องมีความได้เปรียบจนเป็นอันดับหนึ่งในอุตสาหกรรม
แล้วยิ่งโตยิ่งแข็งแกร่งจากการมีความสามารถในการแข่งขัน มีMOAT ยิ่งน่าสนใจ
เวลาเข้าไปลงทุน ไปฟังผู้บริหารปีที่แล้ว ประทับใจหลายคน อยากเป็นหุ้นส่วนกับเขา ยิ่งบริษัทเล็ก
ผู้บริหารมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้บริษัทเล็กขนาดไม่เกิน10,000ลบ ประสบความสำเร็จ
จะให้น้ำหนักผู้บริหารเยอะ บางทีวิธีการที่ผู้บริหารพูด ฟังแล้วว้าว และน่าสนใจ ความซื่อสัตย์ต้องมีด้วย
ธุรกิจที่น่าสนใจในปีนี้
พี่มองทุกอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่commodity (เพราะไม่มีผู้ชนะ)
เช่น Healthcare,Digital,ค้าปลีก เพราะมีผู้ชนะในอุตสาหกรรม
อาหารไม่มีผู้ชนะที่แท้จริง ทำให้ไม่น่าสนใจเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น แต่ซื้อได้ตอนผิดราคาเทียบกับพื้นฐาน
อาจได้ระยะสั้น 30-50% แล้วหลังจากนั้นได้ 10กว่า% ดูไม่ค่อยน่าสนใจ นอกจากหาหุ้นลงไม่ได้
ส่วนปัจจัยทางด้านMacro ใช้เวลากับMacroเพียง5%เท่านั้น ดูภาพใหญ่ว่าไทยไม่เกิด Recession
ดอกเบี้ยไม่ขึ้นเยอะ ไม่กระทบมาก GDPยังโตได้ ก็ไม่น่ากังวล
แต่ถ้าประเทศไทยเกิดRecession GDPตกต่ำ หรือขึ้นดอกเบี้ยเยอะๆ ก็ต้องดูเยอะเลย อาจต้องลดพอร์ตลง
ตอนนี้ยังไม่เห็นภาพนั้นในเมืองไทย
แสดงว่า ส่วนใหญ่พี่หมอใช้กลยุทธ์ Bottom up มองหาหุ้นรายบริษัท
พี่หมอไม่ใช้margin อย่าเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยง เพราะ ถ้าเจอเหตุที่คาดไม่ได้ ก็ไม่ถูกบังคับขาย ถือยาวไป
ตอนนี้ยังไม่เห็นเหตุอะไรที่ร้ายแรง กระทบตลาดหุ้น เพราะเจอสงคราม และโควิดไปแล้ว
ปีนี้ เศรษฐกิจไทยพึ่งพาท่องเที่ยวมาก ดอกเบี้ยขึ้นไม่เยอะ ภาพรวมโอนเอียงไปทางดี มากกว่าแย่
ปีนี้ตลาดหุ้นดีกว่าเดิม ควรจะบวก เพราะที่ภาคท่องเที่ยวมาช่วย ทำให้GDPโตขึ้น
สิ่งที่เป็นห่วง คือ การเมือง เป็นความไม่แน่นอน นโยบายที่ออกมาจะสุดโต่งไหม
ถ้ามีนโยบายที่ไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ จะเป็นuncertaintyต่อตลาดหุ้นได้
1.ข้อดีของหุ้นไทย คือมีหุ้นใหม่ๆเข้ามาเยอะ เปิดโอกาสให้นักลงทุนได้ลงทุน
Buffet บอกว่า IPO = it's probably overpriced
แต่พี่หมอมองว่า IPO ตอนนี้ อาจจะแปลว่า it's probably opportunity
หรือมันเป็นโอกาส ถ้าอยู่ในช่วงเริ่มต้น
ไอเดียตรงนี้ผมว่าน่าสนใจ
เพราะ IPO หลายๆตัวเป็นธุรกิจที่เพิ่งเข้ามาใหม่
ทำให้อาจจะมีนักลงทุนหลายๆคนที่ยังไม่เข้าใจธุรกิจ
บางทีอาจจะเป็นโอกาสลงทุนก็ได้ ถ้าเราเข้าใจได้เร็วกว่าคนอื่น
หมอบอสเสริมว่า พวกธุรกิจใหม่ก็เช่น
aura ,pri ,warrix ,kliniq
แค่นี้ก็แทบไม่มีธุรกิจในตลาดให้เทียบแล้ว
มันก็อาจจะบอกยากว่าพวก biz model แบบข้างบน
ควรจะให้ PE 10 ,20 ,30 หรือ 40 ดี
บาง PE อาจจะถูกไป
บาง PE อาจจะแพงไปก็ได้
ประเด็นก็คือ IPO อาจจะไม่ได้แพงเสมอไป
แต่อยู่ที่ว่าธุรกิจเป็นแบบไหนมากกว่า อันนี้ต้องอาศัยความสามารถเฉพาะตัวเพื่อวิเคราะห์มากกว่า
ถ้าใครวิเคราะห์ถูก ก็อาจได้หลายเด้งเลย
2. เรื่องหุ้น skin clinic พี่หมอคิดว่าราคาแพง เพราะเคยทำธุรกิจนี้มาก่อนในนาม พงศ์ศักดิ์คลีนิค
และทำรายได้ดีมาตลอด ต่อมาการแข่งขันสูงขึ้นทำให้กำไรลดลง เลยหันมาลงทุนในหุ้นแทนและขายธุรกิจคลีนิคให้กับผู้ร่วมงานไป
(คลีนิคความงาม ซึ่งอาศัยเครื่องมือแพทย์กว่า90% อาศัยฝีมือหมอไม่มาก ต่างกับศัลยกรรมความงาม ซึ่งอาศัยฝีมือของหมอเป็นหลัก)
พี่หมอชมไว้ก่อนว่าพวกนี้คือคนที่เก่งในธุรกิจ
แต่
- ธุรกิจพวกนี้การเติบโตไม่น่าจะ smooth มาก เพราะธุรกิจอาจมีสะดุดบางช่วง
ดังนั้น PE ไม่ควรสูงมาก
จุดที่ผู้บริโภคตัดสินใจใช้บริการ
1.เครื่องมือทันสมัย
2.Brand
3.ราคาสมเหตุผล
4.ใกล้กับผู้ใช้บริการ
สุดท้ายก็สู้กันด้วยราคา เทคโนโลยีท้ายสุดก็ไม่ต่างกัน
- ธุรกิจพวกนี้ GPM 50% (GP ของ Masterpiece ล่าสุด 57.3%)
เป็น product ที่ high margin แต่ไม่มี differentiation
ดังนั้นจะเกิด price war ง่าย
เพราะ clinic เล็กๆ จากหมอที่ออกมาทำเอง และสามารถซื้อเครื่องมือแพทย์แบบผ่อนได้
cost ต่ำกว่ากว่าเจ้าใหญ่ที่มีสาขาเยอะๆ เลย dump margin ลงมาได้ อาจลดไป30%
ลูกค้าปกติ ถ้าเห็นว่าร้านฝีมือใกล้เคียงกัน แต่ราคาต่ำกว่า ก็จะย้ายไปทำที่ถูกกว่าแทน
การเอาดารามาเป็น brand ambassador ก็คงช่วยในระยะสั้นได้
แต่ระยะยาวอาจจะเป็นกึ่งๆ commodity
skin clinic จะสร้าง reputation ยากกว่า
จะต่างกับ surgery clinic
หมอบอส เสริม อารมณ์แบบว่า
ไปรักษาริมน้ำสิ
ไปรักษา BDMS สิ
ไปรักษา BH สิ
หมอเก่งจะตาย
ตรงที่ skin clinic นั้น based on เครื่องมือเยอะกว่า
skill ของหมอมีผลต่างกันไม่เกิน 10-15% เวลากดทำหัตถการต่างๆ
ต่อให้มีเทคนิคยิงให้เข้าถึงผิวมากกว่า
หรืออะไรก็ตาม
ก็ยัง based on เครื่องมือซะเยอะ
(แปลว่าผลไม่ต่างกันมาก)
ต่างกับ surgery clinic ที่ skill ของหมอที่มีผลเยอะ
แถมอีกนิด หมอกว่า 70% มักจะไม่ออกไปทำเอง
เพราะขี้เกียจบริหาร ไม่อยากเป็นผู้ประกอบการ ต่อให้เก่งก็ตาม
อีก 30% คือออกมาทำเอง เก่งเครื่องมือ และ เก่งการตลาด
3. ถ้าจะต้องไปต่างประเทศ ถ้าไม่สามารถหาไอเดียดีๆในการหาหุ้นไทยได้ ก็จะไปต่างประเทศ
แต่ถ้ายังมีไอเดียในการลงทุน อยู่ในตลาดหุ้นไทย สนุกกว่าครับ
เวลาได้คุยพูดกับผู้บริหาร ได้คิด รู้สึกสนุก
ต่างกับลงทุนต่างประเทศ ผ่าน ETF ไม่ได้ดูรายบริษัท ไม่ได้คุยกับผู้บริหาร
การไปทำBottom up ที่ต่างประเทศทำยากมาก (ดร นิเวศน์เสริม
ว่า การไปคุยกับผู้บริหารที่เวียดนามยากมาก นอกจากคุยตอนOpp day)
คุณหมอมองว่า ชีวิตในการลงทุนยังต้องสนุก ได้พูดคุยกับผู้บริหาร
พี่หมอชอบเวียดนามมากกว่าอเมริกา เพราะวิเคราะห์เวียดนามได้ง่าย น่าซื้อมากกว่าอเมริกา
ถ้าซื้อก็ซื้อDRของเวียดนาม ตอนราคาตกมามากๆ
เวียดนามกำลังเดินรอยตามไทยเรา
ทำให้คาดเดาได้ง่ายกว่าว่าจะเป็นประเทศไทยแน่ๆ
แต่อนาคตของอเมริกา
น่าจะคาดเดาได้ยากกว่าเพราะเป็นอนาคตใหม่
ถ้าให้ขยายความก็คือ
เดี๋ยวเวียดนามก็คงมี 7-11 กระจายทั่วเมืองแบบไทย
มีห้างใหญ่ๆเหมือนไทย
แต่รถ EV หรือ food delivery
จะเกิดไหม
หรือเกิดเมื่อไหร่ไม่รู้
สุดท้ายขอขอบคุณพี่หมอพงศ์ศักดิ์ที่มาให้ความรู้ รวมถึง คำตอบดีๆจาก ดร ไพบูลย์และ ดร นิเวศน์ครับ
- Bird.Songwut
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 159
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กูรูวีไอมองหุ้นไทย ปี2566 (5) หมอพงศ์ศักด์ ธรรมธัชอารี
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณสำหรับการสรุปข้อมูลครับ
"มีกระแสน้ำสายหนึ่งในกิจกรรมของคน ซึ่งเมื่อมันไหลบ่าท่วมท้นจะนำไปสู่ความมั่งคั่งมหาศาล"
Investor hub : ห้องลับนักลงทุน https://www.youtube.com/@Investor_hub
Investor hub : ห้องลับนักลงทุน https://www.youtube.com/@Investor_hub