..... ยีนเห็นแก่ตัว ....
-
- Verified User
- โพสต์: 234
- ผู้ติดตาม: 1
..... ยีนเห็นแก่ตัว ....
โพสต์ที่ 1
*** ยีนเห็นแก่ตัว ***
Richard Dawkins
บางส่วนจากหนังสือยีนเห็นแก่ตัว เป็นหนังสือที่ ดร. นิเวศน์พูดถึงบ่อยมากๆ ค่ะ
.
.
.
.
ยีนเป็นอมตะ ยีนเป็นนิรันดร์
ร่างกายเราเป็นเพียงพาหนะส่งต่อยีน ถึงเวลาก็ตายไป ยีนจะกระโดดต่อไปยังรุ่นต่อๆไป หาได้สนใจร่างกายที่ตายไปแล้วไม่
ยีนที่ดีหลายๆ ยีนอาจไปตกอยู่ในกลุ่มยีนที่ไม่ดี และพบว่าตัวเองอาศัยร่วมร่างกายเดียวกับยีนก่อโรคร้ายแรง ทำให้ร่างกายนั้นต้องเสียชีวิตไปตั้งแต่เด็ก ยีนที่ดีจึงพลอยถูกทำลายไปด้วย แต่นั่นเป็นเพียงร่างกายเดียวเท่านั้น ยังมีสำเนาของยีนดีนั้นที่ยังอยู่ในร่างกายอื่นๆที่ไม่มียีนโรคร้ายแรงดังกล่าว หลายๆสำเนาของยีนดีๆ โดนฉุดรั้งเพียงเพราะว่า บังเอิญ ไปอยู่ร่วมร่างกายเดียวกันกับพวกยีนที่ไม่ดี ขณะที่ยีนดีอีกหลายสำเนาก็ต้องตายลงเพราะความโชคร้ายแบบอื่นๆ เช่นร่างกายของมันอาจถูกฟ้าผ่าตาย แต่โชคนั้นเกิดขึ้นโดยการสุ่ม และยีนใดที่ไปอยู่ฝั่งแพ้เป็นประจำ ความพ่ายแพ้นั้นก็ไม่ใข่ความโชคร้าย แต่เป็นเพราะมันคือยีนที่ไม่ดีจริงๆ
สังคมของมนุษย์ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎความเห็นแก่ตัวอย่างไร้ปราณีโดยทั่วกันของยีน เป็นสังคมที่โหดร้ายมากถ้าต้องอยู่อาศัย โชคร้ายที่ถึงเราจะไม่เห็นด้วยมากแค่ไหน... แต่เราก็หนีความจริงดังกล่าวไปไม่พ้น
การกินพวกเดียวกันเอง (cannibalism) ของตั๊กแตนตำข้าว, การรอให้เพื่อนตัวใดตัวนึงกระโดดลงน้ำไปก่อน เพื่อรอดูว่ามีแมวน้ำแอบรอกินพวกมันอยู่ใต้แผ่นน้ำแข็งหรือไม่ของเพนกวินจักรพรรดิ ล้วนเป็นพฤติกรรมเอาตัวรอด รวมมาถึงพฤติกรรมเอาตัวรอดต่างๆในมนุษย์ด้วย..ไม่ใช่เพื่อให้สปีชีส์ของตัวเองอยู่รอด ... แต่เป็น เพื่อให้ตัวเองอยู่รอด
。
。
เดิมโลกอาจจะมีตัวที่ยอมตายเพื่อส่วนรวม... แต่ตัวที่เห็นแก่ตัวจะอยู่รอด สืบพันธุ์ต่อไป . เพราะตัวที่ยอมพลีชีพมันตายไปหมดแล้ว
สังคมนั้นๆ จะค่อยๆกลายไปเป็นสังคมของคนเห็นแก่ตัวอย่างช้าๆ โดยที่สิ่งมีชีวิตในสังคมนั้นไม่รู้ตัว เพราะวิวัฒนาการไม่เคยมองการณ์ไกลไปถึงอนาคต..
### ความรู้สึกของสมาชิกในสปีชีส์ตัวเอง ว่าควรได้รับการคำนึงถึงจริยธรรมเป็นพิเศษ
....เมื่อเทียบกับสปีชีส์อื่นๆ เป็นความคิดที่หยั่งรากฝังลึกมานานแล้ว การฆาตกรรมผู้อื่นแบบไม่ก่อสงครามไม่ถือเป็นการกระทำอันร้ายแรง
ตัวอ่อนของมนุษย์ที่ไม่มีความรู้สึกมากไปกว่าอะมีบา จะได้รับการปกป้องทางศาสนาและทางกฎหมายมากยิ่งกว่าที่ลิงชิมแปนซีตัวเต็มวัยจะได้รับ ทั้งๆที่ชิมแปนซีมีความรู้สึกนึกคิด ที่อาจจะพัฒนาไปถึงขั้นเรียนรู้ภาษามนุษย์ได้
เมื่อตัวอ่อนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสปีชีส์ของเรา...ก็เป็นเหตุให้ยอมรับว่าโดยทันทีว่า
ตัวอ่อนนั้นมีสิทธิพิเศษ ซึ่งสิ่งนี้ผม (ดอว์กินส์) มองว่ามันไม่ได้อยู่บนพื้นฐานที่เหมาะสมเชิงชีววิทยาวิวัฒนาการเลย
.
.
.
..การเห็นแก่ผู้อื่นนั้นน่าจะอยู่ในระดับใดกันแน่??
。
。
สัตว์ในสปีชีส์เดียวกัน ครึ่งนึงจะมาเป็นคู่ครอง อีกครึ่งนึงจะมาเป็นคู่แข่ง เพราะความเป็นสปีชีส์เดียวกัน ... ความต้องการต่างๆจึงเหมือนกัน
จึงมีแนวโน้มที่ยีนจะโปรเเกรมให้แต่ละตัวกำจัดคู่แข่งออกไปเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง
... Homo Sapiens เป็นสปีชีส์นึงที่ฆ่ากันเอง แต่ทำไมถึงไม่ฆ่ากันทุกครั้งที่เจอหน้า... นั่นคือความยับยั้งชั่งใจจะเกิดขึ้นตอนไหน
ทฤษฎีเกมจะเข้ามาอธิบายตรงนี้ได้ เพราะ ถ้า a ฆ่า b อาจจะสร้างประโยชน์ให้ c โดยที่ c ไม่ต้องทำอะไรเลย ..สู้ปล่อยให้ b กับ c ไปฆ่ากันเองดีกว่า
จะเกิดแบบนี้ได้ต้องมีกลยุทธ์ที่เสถียรทางวิวัฒนาการ (Evolutionarily Stable Strategy - ESS) เป็นกลยุทธ์ที่สมาชิกในสปีชีส์ ส่วนใหญ่เลือกใช้
กลยุทธ์ที่จะถูกเลือกมาใช้นั้นขึ้นอยู่กับว่าเสียงส่วนใหญ่ทำแบบไหน.. ตัวอย่างกลยุทธ์คือ โจมตีฝ่ายตรงข้าม, ถ้าหนีให้ไล่ตาม, ถ้าตอบโต้ค่อยวิ่งหนี
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เพื่อการ เพิ่มผลประโยชน์สูงสุดให้ตัวเอง
.... กลยุทธ์ที่จะเลือกตามประชากรส่วนใหญ่เช่นนี้สามารถประยุกต์ ใช้ในตลาดหุ้นได้เช่นกัน
หน้า 113 จัดว่าเด็ด ... การสมรู้ร่วมคิด (Conspiracy) ที่จะเป็นกลุ่มเดียวกัน เพื่อผลตอบแทนสูงสุด
... มักจะมีช่องว่างให้มีการละเมิด .. สุดท้าย จะจบลงด้วยการหักหลังกันเองภายใน
. .
.
###
Richard Dawkins
บางส่วนจากหนังสือยีนเห็นแก่ตัว เป็นหนังสือที่ ดร. นิเวศน์พูดถึงบ่อยมากๆ ค่ะ
.
.
.
.
ยีนเป็นอมตะ ยีนเป็นนิรันดร์
ร่างกายเราเป็นเพียงพาหนะส่งต่อยีน ถึงเวลาก็ตายไป ยีนจะกระโดดต่อไปยังรุ่นต่อๆไป หาได้สนใจร่างกายที่ตายไปแล้วไม่
ยีนที่ดีหลายๆ ยีนอาจไปตกอยู่ในกลุ่มยีนที่ไม่ดี และพบว่าตัวเองอาศัยร่วมร่างกายเดียวกับยีนก่อโรคร้ายแรง ทำให้ร่างกายนั้นต้องเสียชีวิตไปตั้งแต่เด็ก ยีนที่ดีจึงพลอยถูกทำลายไปด้วย แต่นั่นเป็นเพียงร่างกายเดียวเท่านั้น ยังมีสำเนาของยีนดีนั้นที่ยังอยู่ในร่างกายอื่นๆที่ไม่มียีนโรคร้ายแรงดังกล่าว หลายๆสำเนาของยีนดีๆ โดนฉุดรั้งเพียงเพราะว่า บังเอิญ ไปอยู่ร่วมร่างกายเดียวกันกับพวกยีนที่ไม่ดี ขณะที่ยีนดีอีกหลายสำเนาก็ต้องตายลงเพราะความโชคร้ายแบบอื่นๆ เช่นร่างกายของมันอาจถูกฟ้าผ่าตาย แต่โชคนั้นเกิดขึ้นโดยการสุ่ม และยีนใดที่ไปอยู่ฝั่งแพ้เป็นประจำ ความพ่ายแพ้นั้นก็ไม่ใข่ความโชคร้าย แต่เป็นเพราะมันคือยีนที่ไม่ดีจริงๆ
สังคมของมนุษย์ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎความเห็นแก่ตัวอย่างไร้ปราณีโดยทั่วกันของยีน เป็นสังคมที่โหดร้ายมากถ้าต้องอยู่อาศัย โชคร้ายที่ถึงเราจะไม่เห็นด้วยมากแค่ไหน... แต่เราก็หนีความจริงดังกล่าวไปไม่พ้น
การกินพวกเดียวกันเอง (cannibalism) ของตั๊กแตนตำข้าว, การรอให้เพื่อนตัวใดตัวนึงกระโดดลงน้ำไปก่อน เพื่อรอดูว่ามีแมวน้ำแอบรอกินพวกมันอยู่ใต้แผ่นน้ำแข็งหรือไม่ของเพนกวินจักรพรรดิ ล้วนเป็นพฤติกรรมเอาตัวรอด รวมมาถึงพฤติกรรมเอาตัวรอดต่างๆในมนุษย์ด้วย..ไม่ใช่เพื่อให้สปีชีส์ของตัวเองอยู่รอด ... แต่เป็น เพื่อให้ตัวเองอยู่รอด
。
。
เดิมโลกอาจจะมีตัวที่ยอมตายเพื่อส่วนรวม... แต่ตัวที่เห็นแก่ตัวจะอยู่รอด สืบพันธุ์ต่อไป . เพราะตัวที่ยอมพลีชีพมันตายไปหมดแล้ว
สังคมนั้นๆ จะค่อยๆกลายไปเป็นสังคมของคนเห็นแก่ตัวอย่างช้าๆ โดยที่สิ่งมีชีวิตในสังคมนั้นไม่รู้ตัว เพราะวิวัฒนาการไม่เคยมองการณ์ไกลไปถึงอนาคต..
### ความรู้สึกของสมาชิกในสปีชีส์ตัวเอง ว่าควรได้รับการคำนึงถึงจริยธรรมเป็นพิเศษ
....เมื่อเทียบกับสปีชีส์อื่นๆ เป็นความคิดที่หยั่งรากฝังลึกมานานแล้ว การฆาตกรรมผู้อื่นแบบไม่ก่อสงครามไม่ถือเป็นการกระทำอันร้ายแรง
ตัวอ่อนของมนุษย์ที่ไม่มีความรู้สึกมากไปกว่าอะมีบา จะได้รับการปกป้องทางศาสนาและทางกฎหมายมากยิ่งกว่าที่ลิงชิมแปนซีตัวเต็มวัยจะได้รับ ทั้งๆที่ชิมแปนซีมีความรู้สึกนึกคิด ที่อาจจะพัฒนาไปถึงขั้นเรียนรู้ภาษามนุษย์ได้
เมื่อตัวอ่อนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสปีชีส์ของเรา...ก็เป็นเหตุให้ยอมรับว่าโดยทันทีว่า
ตัวอ่อนนั้นมีสิทธิพิเศษ ซึ่งสิ่งนี้ผม (ดอว์กินส์) มองว่ามันไม่ได้อยู่บนพื้นฐานที่เหมาะสมเชิงชีววิทยาวิวัฒนาการเลย
.
.
.
..การเห็นแก่ผู้อื่นนั้นน่าจะอยู่ในระดับใดกันแน่??
。
。
สัตว์ในสปีชีส์เดียวกัน ครึ่งนึงจะมาเป็นคู่ครอง อีกครึ่งนึงจะมาเป็นคู่แข่ง เพราะความเป็นสปีชีส์เดียวกัน ... ความต้องการต่างๆจึงเหมือนกัน
จึงมีแนวโน้มที่ยีนจะโปรเเกรมให้แต่ละตัวกำจัดคู่แข่งออกไปเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง
... Homo Sapiens เป็นสปีชีส์นึงที่ฆ่ากันเอง แต่ทำไมถึงไม่ฆ่ากันทุกครั้งที่เจอหน้า... นั่นคือความยับยั้งชั่งใจจะเกิดขึ้นตอนไหน
ทฤษฎีเกมจะเข้ามาอธิบายตรงนี้ได้ เพราะ ถ้า a ฆ่า b อาจจะสร้างประโยชน์ให้ c โดยที่ c ไม่ต้องทำอะไรเลย ..สู้ปล่อยให้ b กับ c ไปฆ่ากันเองดีกว่า
จะเกิดแบบนี้ได้ต้องมีกลยุทธ์ที่เสถียรทางวิวัฒนาการ (Evolutionarily Stable Strategy - ESS) เป็นกลยุทธ์ที่สมาชิกในสปีชีส์ ส่วนใหญ่เลือกใช้
กลยุทธ์ที่จะถูกเลือกมาใช้นั้นขึ้นอยู่กับว่าเสียงส่วนใหญ่ทำแบบไหน.. ตัวอย่างกลยุทธ์คือ โจมตีฝ่ายตรงข้าม, ถ้าหนีให้ไล่ตาม, ถ้าตอบโต้ค่อยวิ่งหนี
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เพื่อการ เพิ่มผลประโยชน์สูงสุดให้ตัวเอง
.... กลยุทธ์ที่จะเลือกตามประชากรส่วนใหญ่เช่นนี้สามารถประยุกต์ ใช้ในตลาดหุ้นได้เช่นกัน
หน้า 113 จัดว่าเด็ด ... การสมรู้ร่วมคิด (Conspiracy) ที่จะเป็นกลุ่มเดียวกัน เพื่อผลตอบแทนสูงสุด
... มักจะมีช่องว่างให้มีการละเมิด .. สุดท้าย จะจบลงด้วยการหักหลังกันเองภายใน
. .
.
###
- ksanasen
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 50
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ..... ยีนเห็นแก่ตัว ....
โพสต์ที่ 5
ผมกำลังอ่านหนังสือชื่อ Behave - The Biology of Humans at Our Best and Worst เขียนโดย Dr. Henry Marsh (ซึ่งเป็นหนังสือที่เจ้าพ่อ Venture Cap สองคนแนะนำครับ คือ Marc Andreesen แห่ง Andreessen Horowitz กับ Vinod Khosla แห่ง Khosla Ventures) ถึงบทที่กล่าวถึง (single) gene-centered view ของ Dawkins อยู่บ้างพอดีครับ
ฺในหนังสือ Behave บทที่เกี่ยวกับ the evolution of behaviour นี้ Marsh บอกว่า natural selection นั้นเอาเข้าจริงนั้นมีหลายระดับ "multi-level selection" ทั้งแบบ unit selection และ group/neo-group selection และในระดับระหว่าง genotype -vs- phenotype... แต่เมื่อครบสี่ขากล่าวคือ (1) individual selection (2) kin selection (3) reciprocal altruism และ (4) neo-group selection ก็อาจจะพอใช้รวม ๆ กันอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ได้
ลองหาอ่านประกอบดูครับ สนุกและปวดหัวดี ยังเหลืออีกครึ่งเล่มหรือ part ที่ 2 ที่ผมจะอ่านต่อฮะ : )
ฺในหนังสือ Behave บทที่เกี่ยวกับ the evolution of behaviour นี้ Marsh บอกว่า natural selection นั้นเอาเข้าจริงนั้นมีหลายระดับ "multi-level selection" ทั้งแบบ unit selection และ group/neo-group selection และในระดับระหว่าง genotype -vs- phenotype... แต่เมื่อครบสี่ขากล่าวคือ (1) individual selection (2) kin selection (3) reciprocal altruism และ (4) neo-group selection ก็อาจจะพอใช้รวม ๆ กันอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ได้
ลองหาอ่านประกอบดูครับ สนุกและปวดหัวดี ยังเหลืออีกครึ่งเล่มหรือ part ที่ 2 ที่ผมจะอ่านต่อฮะ : )