เอาเรื่องเก่าๆของ RGR มาเล่าให้ฟัง
- ม้าเฉียว
- Verified User
- โพสต์: 350
- ผู้ติดตาม: 0
เอาเรื่องเก่าๆของ RGR มาเล่าให้ฟัง
โพสต์ที่ 1
RGR vs BHH "สงครามเกียรติยศ" (เมื่อปี 2542)
นานหลายปีที่ไม่ได้เห็นการเปิดศึกการเทกโอเวอร์แบบ hostile ในบริษัทจดทะบียนตลาดหุ้นไทย ห้วงที่ผ่านมาจะเห็นเพียงการควบรวมกิจการแบบฉันมิตรที่เจ้าของเดิมเชื้อเชิญนักลงทุนรายใหม่เข้ามาร่วมลงทุน แต่กรณีโรงแรมรีเจนท์คือการต่อสู้และทำสงครามราคา เงื่อนไขกันชนิด "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" ศึกครั้งนี้จึงกลายเป็นศึกแห่งเกียรติยศและศักดิ์ศรี ซึ่งกำลังกลายเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าของธุรกิจโรงแรมไทย
แนวโน้มธุรกิจโรมแรมและการท่องเที่ยวกำลังจะกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งหลังจากสัญญาณทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ทำให้การลงทุนในธุรกิจนี้เริ่มคึกคักขึ้นมาทันตาเห็นโดยผ่านช่องทางการร่วมลงทุนหรือเทกโอเวอร์ วิธีการดังกล่าวผู้ที่กระทำได้ ต้องมีเงินหนาเท่านั้น
บมจ.โรยัลการ์เด้น รีซอร์ท (RGR) ได้เล็งเห็นศักยภาพธุรกิจโรงแรมจึงได้เข้าลงทุน "ดักหน้า" ด้วยการเข้าไปซื้อหุ้น บมจ.โรงแรมราชดำริ (RHC) หรือโรงแรมรีเจนท์ ผ่านกองทุนชโรเดอร์ จากคีรี กาญจนพาสน์ แห่งบมจ.ธนายง (TYONG) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมสัดส่วน 24.74% ในราคา 25 บาทต่อหุ้น เมื่อปี 2541 สาเหตุที่คีรียอมทิ้งหุ้นโรงแรมรีเจนท์ ในช่วงปีที่แล้วเกิดจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในเวลานั้นซบเซาอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังเกิดภาวะล้นตลาด ของธุรกิจโรงแรมอีกด้วย ราคาหุ้นที่คีรีขายไปนั้นขาดทุนถึง 16 บาทต่อหุ้น จากที่เขาซื้อหุ้นต่อมาจากกลุ่ม EIE International Corporation ในปี 2534 ในราคา 41 บาทต่อหุ้น
ขณะที่กลุ่ม RGR ขอซื้อหุ้นจากคีรีอยู่นั้น โกลด์แมน แซกส์ มีความสนใจเช่นเดียวกัน ก็ได้เสนอราคาซื้อเข้าไปโดยให้ราคาที่ 23 บาทต่อหุ้น ต่อมาเพิ่มเป็น 24 บาทต่อหุ้น ซึ่งก็ผิดหวังเมื่อคีรีตัดสินใจขายให้กับกลุ่ม RGR
"เราสามารถให้ราคาได้เท่ากับหรือมากกว่ากลุ่ม RGR เสนอ แต่เราไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมคีรีถึงขายหุ้นให้กับฝ่ายนั้นแทนที่จะขายให้กับเรา" เฮนรี่ คอร์เนล กรรมการ ผู้จัดการโกลด์แมน แซกส์ (เอเชีย) แอล.แอล.ซี. กล่าวอย่างผิดหวัง (Business in Thailand, พฤษภาคม 2542)
ทางด้าน วิลเลี่ยม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค ประธานกรรมการ RGR เมื่อได้หุ้นโรงแรมรีเจนท์จากคีรีมาครอบครองแล้ว เขาไม่หยุดเพียงแค่นี้ เป้าหมายต่อไป คือ พยายามซื้อหุ้นโรงแรมแห่งนี้เพิ่มมากขึ้น "เราจะไม่จำกัดขอบเขตการถือหุ้นโรงแรมรีเจนท์เพียง 24.74% เท่านั้นแต่จะพยายามเข้าไปถือให้มากขึ้น วัตถุประสงค์ของการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนก็เพื่อช่วยให้กลุ่ม RGR เพิ่มขีดความสามารถในการกำหนดดูแลนโยบายและกลยุทธ์ระยะยาวของรีเจนท์ได้ เพราะเราเห็นแนวโน้มใน การสร้างรายได้ที่ดีในอนาคตของโรงแรมแห่งนี้" (Business in Thailand, เมษายน 2542)
นั่นถือเป็นการประกาศเปิดฉากสงครามราคาเพื่อซื้อกิจการโรงแรมรีเจนท์ และนำให้เกิดการต่อสู้กันยืดเยื้อที่ไม่มีใครยอมใคร
แอพลิโซด 1 : ศึกรีเจนท์ระอุ
หลังจากกลุ่ม RGR และ โกลด์แมน แซกส์ เปิดศึกแย่งหุ้นโรงแรมรีเจนท์ ถือเป็นการประลองฝีมือกันพอหอมปากหอมคอ มาครั้งนี้ทั้งสองได้เริ่มเผชิญหน้ากันอีกรอบ เมื่อกลุ่ม EIE ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทแรนส์เวย์ จำกัด และบริษัทแรนเทค จำกัด ที่ทั้งสองถือหุ้นโรงแรมรีเจนท์รวมกันอยู่ 32.33% ส่งเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นโรงแรมรีเจนท์ออกมา ครั้งนี้โกลด์แมน แซกส์ ได้ร่วมกับกลุ่มชาญอิสสระก่อตั้งบริษัทบางกอก โฮลดิ้ง โฮเต็ล จำกัด (BHH) ขึ้นมาเพื่อเสนอซื้อหุ้นโรงแรมนี้โดยเฉพาะ โดยโกลด์แมน แซกส์ ให้กองทุนจีเอส อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต เรียลเอสเตท แอล.พี. เป็นผู้ร่วมลงทุน
กลุ่ม BHH เปิดฉากอย่างเร้าใจและสวยหรูเมื่อประกาศเจตนาที่จะทำคำเสนอซื้อหุ้น (Tender Offer) โรงแรมรีเจนท์ในราคาหุ้นละ 38 บาท ขณะที่กลุ่ม RGR ให้ราคาเพียง 27 บาทต่อหุ้น ซึ่งราคาทั้งสองฝ่ายเสนอซื้อเข้ามาราวกับว่าเป็น การหยั่งเชิงกันดูเล่นๆ เท่านั้น
แรนส์เวย์และแรนเทค เป็นบริษัทย่อยของ EIE International Corporation ของญี่ปุ่นดำเนินธุรกิจด้านประกันภัย เปิดให้มีการประมูลหุ้นโรงแรมรีเจนท์ในฮ่องกง ซึ่งมีผู้สนใจอย่างมากรวมทั้งกลุ่ม RGR และ BHH อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจว่าจะขายหุ้นให้กับรายไหนขึ้นอยู่กับมิตซูบิชิ ทรัสต์ แอนด์ แบงกิ้ง ที่ปรึกษาการเงินของ EIE แต่ก่อนที่จะมีผลสรุป การขายหุ้นโรงแรมรีเจนท์ออกมาปรากฏว่ากลุ่ม RGR เล่นเกมใต้โต๊ะเมื่อประกาศว่าได้ซื้อหุ้นของโรงแรมรีเจนท์ได้แล้วในราคา 27 บาทต่อหุ้น แต่มิตซูบิชิ ทรัสต์ แอนด์ แบงกิ้ง ออกมาปฏิเสธ "ไม่เป็นความจริง" พร้อมๆ กับข่าวหนาหูว่าเกิดความหมั่นไส้กันระหว่างกลุ่ม RGR กับกลุ่ม BHH จนฝ่าย หลังทนไม่ไหวได้ออกมาปฏิเสธความขัดแย้งดังกล่าว
ขณะที่การประกาศขายหุ้นโรงแรมรีเจนท์ที่ฮ่องกงกำลังเข้มข้น ในช่วงประมาณปลายเดือนมีนาคม 2542 ราคาหุ้นโรงแรมแห่งนี้ในประเทศไทยคึกคักอย่างมากจากราคา 18-20 บาท และไต่ระดับขึ้นไปซื้อขายสูงสุดกันที่ราคา 33.75 บาท จนทางการต้องออกมาเตือนบรรดาแมงเม่าว่าอาจจะมีการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายในหรือทำ inside trading และทำผิดกฎระเบียบอื่นๆ
เหตุผลที่ EIE ประกาศขายหุ้นโรงแรมรีเจนท์ทิ้ง เกิดจากนำหุ้นโรงแรมรีเจนท์ไปค้ำประกันเงินกู้กับ Long Term Credit Bank (LTCB) ในญี่ปุ่น เมื่อถึงเวลาจ่ายหนี้คืน EIE กลับไม่มีเงินจ่ายจึงต้องประกาศขายหุ้นดังกล่าว แต่การที่จะปลดหนี้หมดจะต้องขายหุ้นโรงแรมรีเจนท์ให้ได้ราคาไม่ต่ำกว่า 45 บาท ต่อหุ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2542 EIE ตัดสินใจขายหุ้นโรงแรมรีเจนท์ที่ถือโดยแรนส์เวย์และแรนเทค ให้กับกองทุน จีเอส อีเมอร์จิ้งฯ ด้วยมูลค่า 553 ล้านบาท กองทุนนี้ก่อตั้งและบริหารงานโดยโกลด์แมน แซกส์ ซึ่งเมื่อซื้อหุ้นสำเร็จโกลด์แมนฯ ก็ได้รายงานต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่าตัวเองเข้าไปถือหุ้น ใน โรงแรมรีเจนท์แล้ว 14.55 ล้านหุ้น หรือ 32.33% ของหุ้นที่ออกจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ในราคา 38 บาทต่อหุ้น ทำให้กลุ่ม BHH กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในโรงแรมรีเจนท์ทันที
สู้กันสุดสุด
หลังจากยกแรกที่ทั้งสองกลุ่มระหว่าง RGR กับ BHH ลองเชิงกันด้วยหมัดแย็บคนละหมัด ในที่สุดฝ่ายได้เปรียบเป็นของกลุ่ม BHH เป็นฝ่ายมีภาษีดีกว่าในการต่อสู้เพื่อแย่งชิงหุ้นของโรงแรมรีเจนท์ที่ฮ่องกงแล้ว ดูเหมือนว่าเกมนี้จะยุติโดยเร็ว แต่การณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ "ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก" เมื่อทั้งสองกลุ่มประกาศจัดทำคำเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นรายย่อย (Tender Offer) อีกรอบในวันที่ 12 เมษายน 2542 โดยฝ่าย RGR เพื่อไม่ให้เสียโอกาสก็ได้เสนอซื้อหุ้นที่ราคา 27 บาท จำนวน 10% ของหุ้นทั้งหมดจากนักลงทุนรายย่อย ด้านกลุ่ม BHH ยังยืนอยู่ที่ราคาเดิม แต่ขอซื้อจากนักลงทุนรายย่อยทั้งหมด 100%
"จะไม่มีความเสี่ยงต่อผู้ถือหุ้นเพราะเราซื้อหุ้นทั้งหมดและซื้ออย่างไม่มีเงื่อนไขใดๆ โดยราคาที่ให้ 38 บาทต่อหุ้นเป็นราคาที่มากกว่าราคาหุ้นรีเจนท์ที่ซื้อขายในกระดานในขณะนั้นถึง 62% ที่เราทำ tender offer" คอร์เนล กล่าว
ขณะที่ ไฮเน็ค แห่งกลุ่ม RGR กล่าวในขณะนั้นว่า "เราคงจะถือหุ้นในรีเจนท์ต่อไป แต่ก็ศึกษาทางเลือกอยู่ว่าจะมีการปรับปรุงเงื่อนไขข้อเสนออย่างไรบ้าง เช่น เพิ่มราคาซื้อ เพราะเรามีเงินพร้อมที่จะนำมาลงทุนในรีเจนท์" (Business in Thailand, พฤษภาคม 2542) และจากวันเริ่มต้นตั้งโต๊ะจัดทำคำเสนอซื้อ หุ้นโรงแรมรีเจนท์ได้กลายเป็นดีลแห่งเงื่อนไขด้วยข้อเสนอ และราคาที่แย่งชิงหุ้นในลักษณะของการเทกโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตร หรือที่เรียกว่า Hostile Takeover ไปแล้ว
อย่างไรก็ดี เกมนี้ต้องดูกันยาวๆ ถึงจะตัดสินได้ว่าใครแพ้ ใครชนะ เพราะเมื่อกลุ่ม RGR แก้เกมมาดีโดยยินดีเพิ่มราคาเสนอซื้อหุ้นโรงแรมรีเจนท์จากนักลงทุนรายย่อยเป็นหุ้นละ 42 บาท สูงกว่ากลุ่ม BHH ให้ 4 บาท แต่เงื่อนไขยังคงเดิม ส่วนทางฝ่าย BHH ไม่นิ่งนอนใจเริ่มตอบโต้บ้าง เพียงไม่ถึงสัปดาห์ได้เพิ่มราคาเสนอซื้อเป็น 43 บาทต่อหุ้น
นอกจากทั้งสองฝ่ายได้ต่อสู้ทั้งในที่ลับและที่แจ้งแล้ว ทั้งด้านราคาก็ต่างผลัดกันรุก และรับตลอดเวลายังไม่มีใครเพลี่ยงพล้ำ นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายต่างได้นำเอากลยุทธ์ข้อเสนอและเงื่อนไขให้กับนักลงทุนรายย่อย โดยเฉพาะฝ่าย BHH ที่ทำคำเสนอซื้อไปถึง 100% แต่หากผู้ถือหุ้นเสนอขายหุ้นรวมกันเกินกว่า 15% แล้ว ผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เสนอขายหุ้นได้ในราคาอัตราถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่าง 38-43 บาทต่อหุ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นทั้งหมดที่นำเสนอขาย ซึ่งหลายคนบอกว่ากลุ่ม BHH "หัวใส" เพราะแม้จะให้ราคา 43 บาทต่อหุ้น แต่ต้องได้หุ้นไม่เกิน 15% ถ้าได้มากกว่านั้น "ราคาจะลดลง"
อย่างไรก็ดี ราคาที่สองฝ่ายเสนอให้กับนักลงทุนถ้าเทียบกับมูลค่ากิจการโรงแรมรีเจนท์แล้วถือว่าน่าสนใจ เมื่อ บล.ไทยพาณิชย์ ในฐานะที่ปรึกษาผู้ถือหุ้นโรงแรมรีเจนท์ ได้ประเมินมูลค่าของกิจการ โดยใช้วิธีการคำนวณโดยใช้มูลค่าปัจจุบันของประมาณการกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Valuation : DCF) และวิธีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Net Asset Value Valuation : NAV) ปรากฏว่าเมื่อคำนวณวิธี DCF พบว่ามูลค่าบริษัทย่อยและบริษัทร่วม (ตามสัดส่วนการถือหุ้น) อยู่ในช่วงระหว่าง 1,506.51- 1,689.86 ล้านบาท หรือประมาณ 33.48-37.55 บาทต่อหุ้น ส่วนการประเมิน NAV ราคายุติธรรมจะอยู่ในช่วงระหว่าง 35.84-37.55 บาทต่อหุ้น เมื่อพิจารณา ถึงราคาเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อแล้วจะเป็นราคาสูงกว่าราคายุติธรรม
ดังนั้นคำแนะนำของ บล.ไทยพาณิชย์ คือ "ขาย" แต่ให้นักลงทุนตัดสินใจเองว่าจะขายให้ฝ่ายไหน แต่จากราคาและข้อเสนอที่สองกลุ่มให้แบบยั่วน้ำลายนักลงทุนผลจากการจัดทำคำเสนอซื้อ (สิ้นสุด 21 พฤษภาคม 2542) กลับปรากฎว่ามีนักลงทุนนำหุ้นมาเสนอขายหุ้นให้กลุ่ม RGR เพียง 0.03% หรือ 13,700 หุ้นของจำนวนหุ้นทั้งหมด ขณะที่ฝ่าย BHH ได้หุ้นไป 1.7% หรือ 765,005 หุ้น ถือว่า "เงียบเหงา" และสร้างความผิดหวังให้กับทั้งสองพอสมควรถ้าเทียบกับความคิดจะครอบครองโรงแรมรีเจนท์
เมื่อความเงียบเหงาเข้ามาเยือน ทั้งกลุ่ม RGR และ BHH ต้องหาทางออก ซึ่งทางออกมีทางเดียว คือ การพยายามกระตุ้น ให้นักลงทุนที่มีหุ้นโรงแรมอยู่ในมือนำหุ้นออกมาขายให้กับฝ่าย ตนเอง นั่นคือปรับราคาเสนอซื้อครั้งสุดท้ายขึ้น โดยฝ่าย BHH เริ่มก่อนโดยขยับราคาซื้อไปที่ 48 บาทต่อหุ้น สำหรับการซื้อหุ้นจำนวน 20% ของหุ้นโรงแรมรีเจนท์ แต่หากมีผู้เสนอขาย หุ้นเกินกว่านั้น นักลงทุนแต่ละรายจะขายหุ้นได้ในอัตราถัวเฉลี่ย ถ่วงน้ำหนักระหว่างหุ้นละ 39-48 บาท ขณะที่กลุ่ม RGR เสนอ ราคาซื้อสุดท้ายเป็นหุ้นละ 43 บาท สำหรับจำนวนหุ้น 10%
จากการขึ้นราคาเสนอซื้อหุ้นโรงแรมรีเจนท์ครั้งสุดท้ายนี้ บล.ไทยพาณิชย์ได้ประเมินราคาของกลุ่ม RGR ว่าเป็นราคาที่สูงกว่าราคายุติธรรมประเมินไว้ นับเป็นราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าราคายุติธรรมถึง 14.51%-19.98% ทางด้านการปรับราคาฝ่าย BHH เป็น 48 บาท เป็นราคาสูงกว่าราคายุติธรรม ประมาณ 9.08%-14.29% ซึ่งคำแนะนำของ บล.ไทยพาณิชย์ ยังยืนยันความเห็นเดิมว่าราคาเสนอซื้อในข้อเสนอใหม่เป็นราคาที่เหมาะสมต่อการเสนอขายหุ้น แต่การพิจารณาเสนอขายให้กับผู้เสนอซื้อรายใดนั้นขึ้นอยู่กับ "ดุลยพินิจของนักลงทุน"
หลังจากทั้งคู่ต่อสู้กัน ในที่สุดวันที่ 24 มิ.ย.2542 เป็นวัน สิ้นสุดการทำคำเสนอซื้อหุ้นโรงแรมรีเจนท์ ปรากฏว่ามีผู้เสนอ ขายหุ้นให้ฝ่าย RGR จำนวน 1.25 ล้านหุ้น เมื่อรวมกับจำนวน หุ้นเดิม บริษัทถือหุ้นโรงแรมรีเจนท์ 27.51% ฝ่าย BHH ซื้อหุ้นได้ 3.67 ล้านหุ้น รวมกับของเดิมที่มีอยู่แล้ว มีสัดส่วนการถือหุ้นโรงแรมรีเจนท์ทั้งสิ้น 40.50% ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด
เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้
หากเปรียบเทียบศักยภาพระหว่างกลุ่ม RGR กับ BHH แล้ว ณ ปัจจุบันไม่สามารถมองออกได้เลยว่าใครจะได้เป็นใหญ่ในโรงแรมรีเจนท์ เพราะต่างฝ่ายต่างมีพื้นฐานบริษัทแข็งแกร่งเหมือนกัน โดยกลุ่ม RGR เริ่มจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2521 โดยวิลเวี่ยม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค ทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 3 ล้านบาท เพื่อเข้ารับช่วงการดำเนินกิจการโรงแรมรอยัลการ์เด้น รีสอร์ท ต่อจากบริษัท รอยัลการ์เด้น โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็น ผู้ดำเนินการเดิม โดยมีห้องพักเพียง 26 ห้อง บังกะโลให้เช่า 30 หลังและห้องอาหารเพียงห้องเดียว
ปี 2531 บริษัทนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ปัจจุบันธุรกิจหลักของบริษัทมีกลุ่มธุรกิจโรงแรม ศูนย์การค้าและบันเทิง โดยมีทุนจดทะเบียนสิ้นปี 2541 จำนวน 1,356 ล้านบาท มีห้องพักของโรงแรม 1,646 ห้อง ภายใต้โรงแรม รอยัลการ์เด้น รีสอร์ท พัทยา, รอยัลการ์เด้น รีสอร์ท หัวหิน, รอยัลการ์เด้น วิลเลจ หัวหิน, แมริออต รอยัลการ์เด้น ริเวอร์ไซด์, และรอยัลการ์เด้น ฮาร์เบอร์ วิว ไฮฟอง เวียดนาม
เมื่อดูผู้ถือหุ้น 5 อันดับแรกแล้ว ถือได้ว่าสร้างความหวาดหวั่นต่อคู่แข่งไม่น้อยเหมือนกัน โดย 23.4% ถือโดย HSBC (Singapore) Nominees PTE, 20.2% ถือโดยไมเนอร์ โฮลดิ้ง (ไทย), 7.2% ถือโดย บมจ.เดอะ พิซซ่า, 5.9% ถือโดยวิลเลี่ยม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค และ 4.6% ถือโดย Bermuda Trust (Singapore)
เมื่อเมียงมองเข้าไปดูผลประกอบการปี 2541 ปรากฎว่ามีรายได้รวม 826.74 ล้านบาท กำไรสุทธิ 227.59 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 3,079.56 ล้านบาท ขณะที่หนี้สินรวมมีจำนวน 1,447.47 ล้านบาท
ที่สำคัญเม็ดเงินที่เข้ามาลงทุนในการทำคำเสนอซื้อหุ้นโรงแรมรีเจนท์ ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกสิกรไทย (TFB) อย่างเต็มที่ สำหรับกลุ่ม BHH เป็นการจับมือกันระหว่างกลุ่มชาญอิสสระกับโกลด์แมน แซกส์ ที่ได้ก่อตั้ง BHH ขึ้นมาเฉพาะกิจเพื่อเทกโอเวอร์โรงแรมรีเจนท์ โดยกลุ่ม BHH เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2542 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยฝ่ายกลุ่มชาญอิสสระถือหุ้น 51% และ 49% เป็น ของ โกลด์แมน แซกส์ ที่หาโอกาสลงทุนในธุรกิจที่น่าสนใจในไทย
กลุ่มชาญอิสสระเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เจ้าของโครงการชาญอิสสระ 1 และ 2, นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังเฟส 3, RCA, โรงแรมซันรูท และชะอำบีชคลับ อีกทั้งยังเป็นผู้ค้าน้ำมันยี่ห้อเชลล์แถบภาคใต้ของประเทศ
ด้านโกลด์แมน แซกส์ ยักษ์ใหญ่สถาบันการเงินเพื่อการลงทุน ที่ได้ลงทุนธุรกิจโรงแรมไปทั่วโลก เช่น เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในสตาร์วู้ด โฮเต็ลส์ และรีสอร์ท เจ้าของโรงแรมในกลุ่มเวสติน และเชอราตัน การลงทุนในกลุ่มเวสท์มอน ฮอสพิทอลลิตี้ เจ้าของโรงแรมสเตรทีจิก แคปปิตอล ส่วนในไทยโกลด์แมน แซกส์ ถือหุ้นในโรงแรมดุสิตธานี 30% ดังนั้นศักยภาพด้านเงินลงทุนของกลุ่ม BHH ที่เข้ามาต่อกรกับกลุ่ม RGR จึงหมดกังวลเมื่อเม็ดเงินดังกล่าว โกลด์ แมน แซกส์ ทุ่มเต็มที่
เวทีนี้มีพี่เลี้ยง
ไม่ใช่เฉพาะกลุ่ม RGR กับกลุ่ม BHH เท่านั้นที่กำลังต่อสู้คลุกวงในกันอยู่ แต่มวยคู่นี้จะดุเด็ดเผ็ดมันได้ ต้องมีพี่เลี้ยงคอยแก้เกมอยู่ข้างเวที โดยฝ่าย RGR ได้ที่ปรึกษาทางการเงินในการดำเนินการซื้อหุ้นฝีมือดีอย่าง บล.เจเอฟ ธนาคม นำโดยกรรมการอำนวยการ กรณ์ จาติกวณิช ส่วนฝ่าย BHH ไม่ น้อยหน้าเมื่อได้ บล.แอสเซท พลัส ที่มี ดร.ก้องเกียรติ โอภาส- วงการ ประธานกรรมการบริหาร คอยควบคุมการแข่งขันอยู่ ข้างหลัง โดยใช้โรงแรมรีเจนท์เป็นสนาม
การต่อสู้กันของที่ปรึกษาทั้งสองจึงคู่คี่สูสีไม่แพ้กัน เพราะทั้งคู่คอยรุกและรับกันตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำคำเสนอซื้อโดยเฉพาะในช่วงหลังๆ ที่ดีลโรงแรมรีเจนท์กำลังเข้มข้น ดูเหมือนว่าความดุเดือดก็เพิ่มมากยิ่งขึ้น เมื่อพี่เลี้ยงทั้งสองฝ่ายต่างออกมาเล่นเกมจิตวิทยากันอย่างถึงพริกถึงขิง
ช่วงการปรับราคาที่กลุ่ม BHH ให้ 43 บาท ดร.ก้องเกียรติ กล่าวว่า คำเสนอซื้อของกลุ่ม BHH แตกต่างจากกลุ่ม RGR "โดยสิ้นเชิง" เพราะจะให้โอกาสผู้ถือหุ้นได้ขายหุ้นในราคาสูงและขายจำนวนเท่าใดก็ได้ตามที่ต้องการ ในขณะที่กลุ่ม RGR เสนอซื้ออย่างมีเงื่อนไข คือ ซื้อเพียง 10% ของจำนวน หุ้นทั้งหมดของบริษัท
"เราไม่จำกัดสิทธิ์ผู้ถือหุ้นไม่ว่ารายเล็กรายใหญ่ เขาสามารถขายหุ้นได้ตามต้องการและขายในราคาหุ้นละ 43 บาท ถ้าจำนวนหุ้นมาเสนอขายต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15% แต่ถ้าเกิน กว่านั้น เราจะใช้วิธีราคาอัตราถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่าง 38-43 บาท ต่างจากกลุ่ม RGR เพราะผู้ถือหุ้นรายย่อยมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากอาจสามารถขายหุ้นได้เพียงบางส่วนในราคา หุ้นละ 42 บาท และไม่สามารถจำหน่ายหุ้นที่เหลือได้ เพราะ รับซื้อเพียง 10% หมายความว่าจะต้องเสี่ยงขายในตลาดหลัก ทรัพย์กันเองหลังจบการเสนอซื้อแล้ว" ดร.ก้องเกียรติ กล่าว
ขณะที่ฝ่าย RGR รับซื้อหุ้นเพียง 10% เนื่องจากในสาย ตามองว่าหุ้นในท้องตลาด และโอกาสที่จะขายออกมามีไม่ถึง 10% ซึ่งในที่สุดก็จะซื้อได้เพียง 10% "จึงเชื่อว่าถ้านักลงทุนที่ต้องการขายหุ้นออกมาและขายให้ฝ่ายเรา จะขายได้หมดและได้ราคา 43 บาททุกคน คือ ไม่มีความเสี่ยง" กรณ์ กล่าว
เขายังกล่าวต่อไปว่า "ถ้าถามว่านักลงทุนควรจะคิดอย่างไร เขาคงใช้ความคิดเหมือนกัน คือ ถ้าฝ่าย BHH มองว่าทางฝ่าย RGR ซื้อเพียง 10% ฉะนั้นถ้าสมมติว่ามีคนขายมาเกิน 10% อาจจะขายได้ไม่ครบจำนวน ซึ่งตามทฤษฎีเป็นเช่นนั้น แต่เราคาดไว้อยู่แล้วว่านักลงทุนพอจะดูออกว่าหุ้นจำนวนจริงๆ อยู่ในมือใครบ้าง" เพราะสัดส่วนการถือหุ้นโรงแรมรีเจนท์ประมาณ 35% ถือโดยกลุ่ม BHH, กลุ่ม RGR ถือประมาณ 25%, ธนาคารกสิกรไทย ประมาณ 8%, สำนัก งานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และส่วนพระองค์ ประมาณ 7% "รวมทั้งหมดประมาณ 75% ซึ่งผู้ถือหุ้นทุกคนมีเจตจำนงชัดเจน "ไม่ขาย" "
จากการที่กลุ่ม BHH เสนอซื้อเข้ามาทั้ง 100% กรณ์ มองว่าโอกาสความเป็นไปได้ไม่ถึงกลับเป็น "ศูนย์" แต่ "น้อยมาก" เพราะในระยะแรกๆ กลุ่ม BHH คาดว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่อาจจะขายหุ้นออกมา "แต่ตอนที่เราเข้ามาผู้ถือหุ้นเหล่านั้นจะไม่ขายหุ้นออกมาแน่นอนแล้ว เขาจะได้เฉพาะหุ้นที่ซื้อจากญี่ปุ่นเท่านั้น"
ด้าน ดร.ก้องเกียรติ กล่าวตอบโต้ว่า "ไม่มีใครสามารถพูดแทนผู้ถือหุ้นหรือกรรมการในคณะกรรมการบริหารได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้นและกรรมการแต่ละท่านที่จะพิจารณาว่า จะให้การสนับสนุนฝ่ายใด ตามกฎการทำคำเสนอซื้อของ ก.ล.ต. โรงแรมรีเจนท์ต้องจ้างที่ปรึกษาทางการเงินมาทำการประเมินและให้คำปรึกษาแก่ผู้ถือหุ้น หากยังไม่มีคำแนะนำใดประกาศออกมาให้ทราบ การแสดงความเห็นต่างๆ เกี่ยวกับ คำเสนอซื้อถือว่าไม่สมควร"
จากการที่ฝ่าย BHH เสนอซื้อหุ้น 100% จากนักลงทุนรายย่อยซึ่งหมุนเวียนอยู่ในตลาดประมาณ 20% ในทางทฤษฎีถือว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูง แต่ในทางปฏิบัติกลับต้องมาเจอแผนสะกัดดาวรุ่งจากกลุ่ม RGR "ตอนนี้ BHH ต้องการหุ้นเพิ่มอีกประมาณ 17% เขาก็จะถือหุ้นในรีเจนท์จำนวน 51% ตามที่ต้องการ แต่หุ้นที่อยู่ในมือรายย่อยมีเพียง 19% หาก RGR ได้เพิ่มอีก 3% เขาก็ไม่มีทางเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ได้ เท่านี้เราก็พอใจแล้ว" กรณ์ กล่าว
การประกาศชัดเจนของกรณ์ เกิดจากแนวความคิด "รักชาติ" ที่ฝ่ายไทยไม่ต้องการให้มีต่างชาติเข้ามาครอบงำกิจการ ขณะที่ฝ่ายต่างชาติต้องการ "ฮุบรีเจนท์" ด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ "ฉะนั้นขบวนการที่เราต้องการคือ เพื่อป้องกัน ต่างประเทศเข้ามาครอบงำกิจการ" เพราะนอกจากจะเป็น การแข่งขันด้านอาชีพที่ปรึกษาทางการเงินแล้วยังต้องต่อสู้ทางด้านวัฒนธรรมอีกด้วย
จากการแข่งขันกันในที่แจ้งแล้ว ในที่ลับก็ดุเดือดไม่แพ้กันเมื่อมีข่าวลือว่าฝ่าย RGR บอกว่าหากไม่สามารถทำคำเสนอซื้อได้ในราคา 43 บาทต่อหุ้น หลังเสร็จสิ้นกระบวนการดังกล่าวจะกลับเข้ามาซื้อ และให้ราคาที่ค่อนข้างสูง นั่นหมายถึงจะต้องมากกว่า 48 บาทต่อหุ้น ซึ่งสร้างความไม่พอใจต่อฝ่าย BHH อย่างมาก
"ต้องถามตัวเองก่อนว่าถ้าอยากซื้อจริงๆ ทำไมไม่ตั้งราคาให้สูงไปเลยถ้าคิดว่า 43 บาทต่ำเกินไปและคนไม่อยากขายให้" ดร.ก้องเกียรติ กล่าว
อย่างไรก็ดี ในสายตาท่านผู้ชมมองว่าฝ่าย RGR ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบเล็กน้อย ซึ่งหลายคนสงสัยว่าเกิดจากก่อนที่กลุ่ม RGR จะว่าจ้าง บล.เจเอฟ ธนาคมเป็นที่ปรึกษา ได้ติดต่อ บล.แอสเซท พลัส ก่อน แต่ไม่สามารถตกลงอะไรกันได้ ต่อมาภายหลัง บล.แอสเซท พลัส กลายเป็นที่ปรึกษาให้กับคู่แข่ง จึงอาจจะมีข้อมูลที่ RGR เคยให้กับ บล.แอสเซท พลัส เล็ดลอดออกไปแล้ว ดร.ก้องเกียรติ นำมาใช้ประโยชน์ได้ เรื่องนี้เขาปฏิเสธว่าไม่เคยนำข้อมูลจากฝ่าย RGR มาเปิดเผย
"การเก็บความลับลูกค้า คือ จรรยาบรรณของที่ปรึกษา กรณี RGR เขาเคยมาหาเราแต่ตกลงกันไม่ได้ก็เลิกกันไป ซึ่งก่อนที่จะจ้างที่ปรึกษาได้ให้ข้อมูลทุกอย่างกับเราหรือไม่อย่างมากก็คุยกันเรื่องหลักการเท่านั้น"
จากหมัดต่อหมัดแลกกันกลางเวที ส่งผลให้ดีลนี้กลายเป็นละครชีวิตในทันที เพราะที่ปรึกษาทางการเงินแต่ละฝ่ายจะมีข้อเสนอดีๆ ออกมาตลอดเวลา สามารถเพิ่มรสชาติการแข่งขันโดยมีกฎเกณฑ์ ของ ก.ล.ต. คอยดูแลไม่ให้ทั้งสองฝ่ายออกนอกลู่นอกทาง เพราะประเด็นสำคัญของดีลนี้ คือ ด้วยกฎเกณฑ์ของ ก.ล.ต. มีความชัดเจนและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเกี่ยวกับการเสนอซื้อของทั้งสองฝ่าย ทำให้การแข่งขันเต็มไปด้วยความยุติธรรม ไม่เหมือนในอดีตที่นักลงทุนรายย่อยไม่มีโอกาสรับรู้ข้อมูลมากมายเป็นเพียงรายใหญ่กับรายใหญ่เท่านั้นที่เจรจากัน
อีกทั้ง การแข่งขันกันในลักษณะ hostile เช่นนี้จะเป็นผลดีต่อภาพรวมของธุรกิจไทย เช่น กรณีของโรงแรมรีเจนท์ที่เกิดเหตุการณ์มีนักลงทุนพอใจสินทรัพย์เดียวกัน จะช่วยให้เกิด benchmark ของอสังหาริมทรัพย์โรงแรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี อย่างน้อยสิ่งที่เกิดขึ้นยังมีราคาที่ดีอยู่ภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจ ที่สำคัญจะเกิดประโยชน์ต่อนักลงทุน เนื่องจากเป็นวิธีการใหม่ที่มีราคาแปรผันตามจำนวนหุ้นที่มีการจัดทำคำเสนอซื้อ
สิ่งที่น่าเป็นห่วงของดีลในลักษณะ hostile คือ ความไม่โปร่งใสซึ่งบางครั้งข้อมูลที่ออกมาแต่ละฝ่ายจะไม่ค่อยเป็นธรรมต่อนักลงทุนเท่าไหร่ ดังนั้นการแข่งขันด้วยความยุติธรรมจึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนอยากเห็น เพราะจะเป็นการพัฒนาตลาดทุนไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น เพราะดีลโรงแรมรีเจนท์จะไม่ใช่ครั้งแรกและครั้งสุดท้าย
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ต่างฝ่ายต่างเกทับกันดูเหมือนจะเป็นที่เคลือบแคลงใจของนักลงทุนอย่างมากว่าการแข่งขัน เพื่อชัยชนะครั้งนี้ของทั้งสองฝ่ายมีอะไรแอบแฝง นอกจากการประกาศว่าต้องการลงทุนระยะยาวในโรงแรมรีเจนท์ เท่านั้น
นานหลายปีที่ไม่ได้เห็นการเปิดศึกการเทกโอเวอร์แบบ hostile ในบริษัทจดทะบียนตลาดหุ้นไทย ห้วงที่ผ่านมาจะเห็นเพียงการควบรวมกิจการแบบฉันมิตรที่เจ้าของเดิมเชื้อเชิญนักลงทุนรายใหม่เข้ามาร่วมลงทุน แต่กรณีโรงแรมรีเจนท์คือการต่อสู้และทำสงครามราคา เงื่อนไขกันชนิด "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" ศึกครั้งนี้จึงกลายเป็นศึกแห่งเกียรติยศและศักดิ์ศรี ซึ่งกำลังกลายเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าของธุรกิจโรงแรมไทย
แนวโน้มธุรกิจโรมแรมและการท่องเที่ยวกำลังจะกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งหลังจากสัญญาณทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ทำให้การลงทุนในธุรกิจนี้เริ่มคึกคักขึ้นมาทันตาเห็นโดยผ่านช่องทางการร่วมลงทุนหรือเทกโอเวอร์ วิธีการดังกล่าวผู้ที่กระทำได้ ต้องมีเงินหนาเท่านั้น
บมจ.โรยัลการ์เด้น รีซอร์ท (RGR) ได้เล็งเห็นศักยภาพธุรกิจโรงแรมจึงได้เข้าลงทุน "ดักหน้า" ด้วยการเข้าไปซื้อหุ้น บมจ.โรงแรมราชดำริ (RHC) หรือโรงแรมรีเจนท์ ผ่านกองทุนชโรเดอร์ จากคีรี กาญจนพาสน์ แห่งบมจ.ธนายง (TYONG) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมสัดส่วน 24.74% ในราคา 25 บาทต่อหุ้น เมื่อปี 2541 สาเหตุที่คีรียอมทิ้งหุ้นโรงแรมรีเจนท์ ในช่วงปีที่แล้วเกิดจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในเวลานั้นซบเซาอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังเกิดภาวะล้นตลาด ของธุรกิจโรงแรมอีกด้วย ราคาหุ้นที่คีรีขายไปนั้นขาดทุนถึง 16 บาทต่อหุ้น จากที่เขาซื้อหุ้นต่อมาจากกลุ่ม EIE International Corporation ในปี 2534 ในราคา 41 บาทต่อหุ้น
ขณะที่กลุ่ม RGR ขอซื้อหุ้นจากคีรีอยู่นั้น โกลด์แมน แซกส์ มีความสนใจเช่นเดียวกัน ก็ได้เสนอราคาซื้อเข้าไปโดยให้ราคาที่ 23 บาทต่อหุ้น ต่อมาเพิ่มเป็น 24 บาทต่อหุ้น ซึ่งก็ผิดหวังเมื่อคีรีตัดสินใจขายให้กับกลุ่ม RGR
"เราสามารถให้ราคาได้เท่ากับหรือมากกว่ากลุ่ม RGR เสนอ แต่เราไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมคีรีถึงขายหุ้นให้กับฝ่ายนั้นแทนที่จะขายให้กับเรา" เฮนรี่ คอร์เนล กรรมการ ผู้จัดการโกลด์แมน แซกส์ (เอเชีย) แอล.แอล.ซี. กล่าวอย่างผิดหวัง (Business in Thailand, พฤษภาคม 2542)
ทางด้าน วิลเลี่ยม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค ประธานกรรมการ RGR เมื่อได้หุ้นโรงแรมรีเจนท์จากคีรีมาครอบครองแล้ว เขาไม่หยุดเพียงแค่นี้ เป้าหมายต่อไป คือ พยายามซื้อหุ้นโรงแรมแห่งนี้เพิ่มมากขึ้น "เราจะไม่จำกัดขอบเขตการถือหุ้นโรงแรมรีเจนท์เพียง 24.74% เท่านั้นแต่จะพยายามเข้าไปถือให้มากขึ้น วัตถุประสงค์ของการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนก็เพื่อช่วยให้กลุ่ม RGR เพิ่มขีดความสามารถในการกำหนดดูแลนโยบายและกลยุทธ์ระยะยาวของรีเจนท์ได้ เพราะเราเห็นแนวโน้มใน การสร้างรายได้ที่ดีในอนาคตของโรงแรมแห่งนี้" (Business in Thailand, เมษายน 2542)
นั่นถือเป็นการประกาศเปิดฉากสงครามราคาเพื่อซื้อกิจการโรงแรมรีเจนท์ และนำให้เกิดการต่อสู้กันยืดเยื้อที่ไม่มีใครยอมใคร
แอพลิโซด 1 : ศึกรีเจนท์ระอุ
หลังจากกลุ่ม RGR และ โกลด์แมน แซกส์ เปิดศึกแย่งหุ้นโรงแรมรีเจนท์ ถือเป็นการประลองฝีมือกันพอหอมปากหอมคอ มาครั้งนี้ทั้งสองได้เริ่มเผชิญหน้ากันอีกรอบ เมื่อกลุ่ม EIE ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทแรนส์เวย์ จำกัด และบริษัทแรนเทค จำกัด ที่ทั้งสองถือหุ้นโรงแรมรีเจนท์รวมกันอยู่ 32.33% ส่งเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นโรงแรมรีเจนท์ออกมา ครั้งนี้โกลด์แมน แซกส์ ได้ร่วมกับกลุ่มชาญอิสสระก่อตั้งบริษัทบางกอก โฮลดิ้ง โฮเต็ล จำกัด (BHH) ขึ้นมาเพื่อเสนอซื้อหุ้นโรงแรมนี้โดยเฉพาะ โดยโกลด์แมน แซกส์ ให้กองทุนจีเอส อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต เรียลเอสเตท แอล.พี. เป็นผู้ร่วมลงทุน
กลุ่ม BHH เปิดฉากอย่างเร้าใจและสวยหรูเมื่อประกาศเจตนาที่จะทำคำเสนอซื้อหุ้น (Tender Offer) โรงแรมรีเจนท์ในราคาหุ้นละ 38 บาท ขณะที่กลุ่ม RGR ให้ราคาเพียง 27 บาทต่อหุ้น ซึ่งราคาทั้งสองฝ่ายเสนอซื้อเข้ามาราวกับว่าเป็น การหยั่งเชิงกันดูเล่นๆ เท่านั้น
แรนส์เวย์และแรนเทค เป็นบริษัทย่อยของ EIE International Corporation ของญี่ปุ่นดำเนินธุรกิจด้านประกันภัย เปิดให้มีการประมูลหุ้นโรงแรมรีเจนท์ในฮ่องกง ซึ่งมีผู้สนใจอย่างมากรวมทั้งกลุ่ม RGR และ BHH อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจว่าจะขายหุ้นให้กับรายไหนขึ้นอยู่กับมิตซูบิชิ ทรัสต์ แอนด์ แบงกิ้ง ที่ปรึกษาการเงินของ EIE แต่ก่อนที่จะมีผลสรุป การขายหุ้นโรงแรมรีเจนท์ออกมาปรากฏว่ากลุ่ม RGR เล่นเกมใต้โต๊ะเมื่อประกาศว่าได้ซื้อหุ้นของโรงแรมรีเจนท์ได้แล้วในราคา 27 บาทต่อหุ้น แต่มิตซูบิชิ ทรัสต์ แอนด์ แบงกิ้ง ออกมาปฏิเสธ "ไม่เป็นความจริง" พร้อมๆ กับข่าวหนาหูว่าเกิดความหมั่นไส้กันระหว่างกลุ่ม RGR กับกลุ่ม BHH จนฝ่าย หลังทนไม่ไหวได้ออกมาปฏิเสธความขัดแย้งดังกล่าว
ขณะที่การประกาศขายหุ้นโรงแรมรีเจนท์ที่ฮ่องกงกำลังเข้มข้น ในช่วงประมาณปลายเดือนมีนาคม 2542 ราคาหุ้นโรงแรมแห่งนี้ในประเทศไทยคึกคักอย่างมากจากราคา 18-20 บาท และไต่ระดับขึ้นไปซื้อขายสูงสุดกันที่ราคา 33.75 บาท จนทางการต้องออกมาเตือนบรรดาแมงเม่าว่าอาจจะมีการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายในหรือทำ inside trading และทำผิดกฎระเบียบอื่นๆ
เหตุผลที่ EIE ประกาศขายหุ้นโรงแรมรีเจนท์ทิ้ง เกิดจากนำหุ้นโรงแรมรีเจนท์ไปค้ำประกันเงินกู้กับ Long Term Credit Bank (LTCB) ในญี่ปุ่น เมื่อถึงเวลาจ่ายหนี้คืน EIE กลับไม่มีเงินจ่ายจึงต้องประกาศขายหุ้นดังกล่าว แต่การที่จะปลดหนี้หมดจะต้องขายหุ้นโรงแรมรีเจนท์ให้ได้ราคาไม่ต่ำกว่า 45 บาท ต่อหุ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2542 EIE ตัดสินใจขายหุ้นโรงแรมรีเจนท์ที่ถือโดยแรนส์เวย์และแรนเทค ให้กับกองทุน จีเอส อีเมอร์จิ้งฯ ด้วยมูลค่า 553 ล้านบาท กองทุนนี้ก่อตั้งและบริหารงานโดยโกลด์แมน แซกส์ ซึ่งเมื่อซื้อหุ้นสำเร็จโกลด์แมนฯ ก็ได้รายงานต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่าตัวเองเข้าไปถือหุ้น ใน โรงแรมรีเจนท์แล้ว 14.55 ล้านหุ้น หรือ 32.33% ของหุ้นที่ออกจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ในราคา 38 บาทต่อหุ้น ทำให้กลุ่ม BHH กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในโรงแรมรีเจนท์ทันที
สู้กันสุดสุด
หลังจากยกแรกที่ทั้งสองกลุ่มระหว่าง RGR กับ BHH ลองเชิงกันด้วยหมัดแย็บคนละหมัด ในที่สุดฝ่ายได้เปรียบเป็นของกลุ่ม BHH เป็นฝ่ายมีภาษีดีกว่าในการต่อสู้เพื่อแย่งชิงหุ้นของโรงแรมรีเจนท์ที่ฮ่องกงแล้ว ดูเหมือนว่าเกมนี้จะยุติโดยเร็ว แต่การณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ "ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก" เมื่อทั้งสองกลุ่มประกาศจัดทำคำเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นรายย่อย (Tender Offer) อีกรอบในวันที่ 12 เมษายน 2542 โดยฝ่าย RGR เพื่อไม่ให้เสียโอกาสก็ได้เสนอซื้อหุ้นที่ราคา 27 บาท จำนวน 10% ของหุ้นทั้งหมดจากนักลงทุนรายย่อย ด้านกลุ่ม BHH ยังยืนอยู่ที่ราคาเดิม แต่ขอซื้อจากนักลงทุนรายย่อยทั้งหมด 100%
"จะไม่มีความเสี่ยงต่อผู้ถือหุ้นเพราะเราซื้อหุ้นทั้งหมดและซื้ออย่างไม่มีเงื่อนไขใดๆ โดยราคาที่ให้ 38 บาทต่อหุ้นเป็นราคาที่มากกว่าราคาหุ้นรีเจนท์ที่ซื้อขายในกระดานในขณะนั้นถึง 62% ที่เราทำ tender offer" คอร์เนล กล่าว
ขณะที่ ไฮเน็ค แห่งกลุ่ม RGR กล่าวในขณะนั้นว่า "เราคงจะถือหุ้นในรีเจนท์ต่อไป แต่ก็ศึกษาทางเลือกอยู่ว่าจะมีการปรับปรุงเงื่อนไขข้อเสนออย่างไรบ้าง เช่น เพิ่มราคาซื้อ เพราะเรามีเงินพร้อมที่จะนำมาลงทุนในรีเจนท์" (Business in Thailand, พฤษภาคม 2542) และจากวันเริ่มต้นตั้งโต๊ะจัดทำคำเสนอซื้อ หุ้นโรงแรมรีเจนท์ได้กลายเป็นดีลแห่งเงื่อนไขด้วยข้อเสนอ และราคาที่แย่งชิงหุ้นในลักษณะของการเทกโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตร หรือที่เรียกว่า Hostile Takeover ไปแล้ว
อย่างไรก็ดี เกมนี้ต้องดูกันยาวๆ ถึงจะตัดสินได้ว่าใครแพ้ ใครชนะ เพราะเมื่อกลุ่ม RGR แก้เกมมาดีโดยยินดีเพิ่มราคาเสนอซื้อหุ้นโรงแรมรีเจนท์จากนักลงทุนรายย่อยเป็นหุ้นละ 42 บาท สูงกว่ากลุ่ม BHH ให้ 4 บาท แต่เงื่อนไขยังคงเดิม ส่วนทางฝ่าย BHH ไม่นิ่งนอนใจเริ่มตอบโต้บ้าง เพียงไม่ถึงสัปดาห์ได้เพิ่มราคาเสนอซื้อเป็น 43 บาทต่อหุ้น
นอกจากทั้งสองฝ่ายได้ต่อสู้ทั้งในที่ลับและที่แจ้งแล้ว ทั้งด้านราคาก็ต่างผลัดกันรุก และรับตลอดเวลายังไม่มีใครเพลี่ยงพล้ำ นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายต่างได้นำเอากลยุทธ์ข้อเสนอและเงื่อนไขให้กับนักลงทุนรายย่อย โดยเฉพาะฝ่าย BHH ที่ทำคำเสนอซื้อไปถึง 100% แต่หากผู้ถือหุ้นเสนอขายหุ้นรวมกันเกินกว่า 15% แล้ว ผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เสนอขายหุ้นได้ในราคาอัตราถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่าง 38-43 บาทต่อหุ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นทั้งหมดที่นำเสนอขาย ซึ่งหลายคนบอกว่ากลุ่ม BHH "หัวใส" เพราะแม้จะให้ราคา 43 บาทต่อหุ้น แต่ต้องได้หุ้นไม่เกิน 15% ถ้าได้มากกว่านั้น "ราคาจะลดลง"
อย่างไรก็ดี ราคาที่สองฝ่ายเสนอให้กับนักลงทุนถ้าเทียบกับมูลค่ากิจการโรงแรมรีเจนท์แล้วถือว่าน่าสนใจ เมื่อ บล.ไทยพาณิชย์ ในฐานะที่ปรึกษาผู้ถือหุ้นโรงแรมรีเจนท์ ได้ประเมินมูลค่าของกิจการ โดยใช้วิธีการคำนวณโดยใช้มูลค่าปัจจุบันของประมาณการกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Valuation : DCF) และวิธีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Net Asset Value Valuation : NAV) ปรากฏว่าเมื่อคำนวณวิธี DCF พบว่ามูลค่าบริษัทย่อยและบริษัทร่วม (ตามสัดส่วนการถือหุ้น) อยู่ในช่วงระหว่าง 1,506.51- 1,689.86 ล้านบาท หรือประมาณ 33.48-37.55 บาทต่อหุ้น ส่วนการประเมิน NAV ราคายุติธรรมจะอยู่ในช่วงระหว่าง 35.84-37.55 บาทต่อหุ้น เมื่อพิจารณา ถึงราคาเสนอซื้อของผู้เสนอซื้อแล้วจะเป็นราคาสูงกว่าราคายุติธรรม
ดังนั้นคำแนะนำของ บล.ไทยพาณิชย์ คือ "ขาย" แต่ให้นักลงทุนตัดสินใจเองว่าจะขายให้ฝ่ายไหน แต่จากราคาและข้อเสนอที่สองกลุ่มให้แบบยั่วน้ำลายนักลงทุนผลจากการจัดทำคำเสนอซื้อ (สิ้นสุด 21 พฤษภาคม 2542) กลับปรากฎว่ามีนักลงทุนนำหุ้นมาเสนอขายหุ้นให้กลุ่ม RGR เพียง 0.03% หรือ 13,700 หุ้นของจำนวนหุ้นทั้งหมด ขณะที่ฝ่าย BHH ได้หุ้นไป 1.7% หรือ 765,005 หุ้น ถือว่า "เงียบเหงา" และสร้างความผิดหวังให้กับทั้งสองพอสมควรถ้าเทียบกับความคิดจะครอบครองโรงแรมรีเจนท์
เมื่อความเงียบเหงาเข้ามาเยือน ทั้งกลุ่ม RGR และ BHH ต้องหาทางออก ซึ่งทางออกมีทางเดียว คือ การพยายามกระตุ้น ให้นักลงทุนที่มีหุ้นโรงแรมอยู่ในมือนำหุ้นออกมาขายให้กับฝ่าย ตนเอง นั่นคือปรับราคาเสนอซื้อครั้งสุดท้ายขึ้น โดยฝ่าย BHH เริ่มก่อนโดยขยับราคาซื้อไปที่ 48 บาทต่อหุ้น สำหรับการซื้อหุ้นจำนวน 20% ของหุ้นโรงแรมรีเจนท์ แต่หากมีผู้เสนอขาย หุ้นเกินกว่านั้น นักลงทุนแต่ละรายจะขายหุ้นได้ในอัตราถัวเฉลี่ย ถ่วงน้ำหนักระหว่างหุ้นละ 39-48 บาท ขณะที่กลุ่ม RGR เสนอ ราคาซื้อสุดท้ายเป็นหุ้นละ 43 บาท สำหรับจำนวนหุ้น 10%
จากการขึ้นราคาเสนอซื้อหุ้นโรงแรมรีเจนท์ครั้งสุดท้ายนี้ บล.ไทยพาณิชย์ได้ประเมินราคาของกลุ่ม RGR ว่าเป็นราคาที่สูงกว่าราคายุติธรรมประเมินไว้ นับเป็นราคาเสนอซื้อที่สูงกว่าราคายุติธรรมถึง 14.51%-19.98% ทางด้านการปรับราคาฝ่าย BHH เป็น 48 บาท เป็นราคาสูงกว่าราคายุติธรรม ประมาณ 9.08%-14.29% ซึ่งคำแนะนำของ บล.ไทยพาณิชย์ ยังยืนยันความเห็นเดิมว่าราคาเสนอซื้อในข้อเสนอใหม่เป็นราคาที่เหมาะสมต่อการเสนอขายหุ้น แต่การพิจารณาเสนอขายให้กับผู้เสนอซื้อรายใดนั้นขึ้นอยู่กับ "ดุลยพินิจของนักลงทุน"
หลังจากทั้งคู่ต่อสู้กัน ในที่สุดวันที่ 24 มิ.ย.2542 เป็นวัน สิ้นสุดการทำคำเสนอซื้อหุ้นโรงแรมรีเจนท์ ปรากฏว่ามีผู้เสนอ ขายหุ้นให้ฝ่าย RGR จำนวน 1.25 ล้านหุ้น เมื่อรวมกับจำนวน หุ้นเดิม บริษัทถือหุ้นโรงแรมรีเจนท์ 27.51% ฝ่าย BHH ซื้อหุ้นได้ 3.67 ล้านหุ้น รวมกับของเดิมที่มีอยู่แล้ว มีสัดส่วนการถือหุ้นโรงแรมรีเจนท์ทั้งสิ้น 40.50% ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด
เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้
หากเปรียบเทียบศักยภาพระหว่างกลุ่ม RGR กับ BHH แล้ว ณ ปัจจุบันไม่สามารถมองออกได้เลยว่าใครจะได้เป็นใหญ่ในโรงแรมรีเจนท์ เพราะต่างฝ่ายต่างมีพื้นฐานบริษัทแข็งแกร่งเหมือนกัน โดยกลุ่ม RGR เริ่มจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2521 โดยวิลเวี่ยม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค ทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 3 ล้านบาท เพื่อเข้ารับช่วงการดำเนินกิจการโรงแรมรอยัลการ์เด้น รีสอร์ท ต่อจากบริษัท รอยัลการ์เด้น โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็น ผู้ดำเนินการเดิม โดยมีห้องพักเพียง 26 ห้อง บังกะโลให้เช่า 30 หลังและห้องอาหารเพียงห้องเดียว
ปี 2531 บริษัทนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ปัจจุบันธุรกิจหลักของบริษัทมีกลุ่มธุรกิจโรงแรม ศูนย์การค้าและบันเทิง โดยมีทุนจดทะเบียนสิ้นปี 2541 จำนวน 1,356 ล้านบาท มีห้องพักของโรงแรม 1,646 ห้อง ภายใต้โรงแรม รอยัลการ์เด้น รีสอร์ท พัทยา, รอยัลการ์เด้น รีสอร์ท หัวหิน, รอยัลการ์เด้น วิลเลจ หัวหิน, แมริออต รอยัลการ์เด้น ริเวอร์ไซด์, และรอยัลการ์เด้น ฮาร์เบอร์ วิว ไฮฟอง เวียดนาม
เมื่อดูผู้ถือหุ้น 5 อันดับแรกแล้ว ถือได้ว่าสร้างความหวาดหวั่นต่อคู่แข่งไม่น้อยเหมือนกัน โดย 23.4% ถือโดย HSBC (Singapore) Nominees PTE, 20.2% ถือโดยไมเนอร์ โฮลดิ้ง (ไทย), 7.2% ถือโดย บมจ.เดอะ พิซซ่า, 5.9% ถือโดยวิลเลี่ยม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค และ 4.6% ถือโดย Bermuda Trust (Singapore)
เมื่อเมียงมองเข้าไปดูผลประกอบการปี 2541 ปรากฎว่ามีรายได้รวม 826.74 ล้านบาท กำไรสุทธิ 227.59 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 3,079.56 ล้านบาท ขณะที่หนี้สินรวมมีจำนวน 1,447.47 ล้านบาท
ที่สำคัญเม็ดเงินที่เข้ามาลงทุนในการทำคำเสนอซื้อหุ้นโรงแรมรีเจนท์ ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกสิกรไทย (TFB) อย่างเต็มที่ สำหรับกลุ่ม BHH เป็นการจับมือกันระหว่างกลุ่มชาญอิสสระกับโกลด์แมน แซกส์ ที่ได้ก่อตั้ง BHH ขึ้นมาเฉพาะกิจเพื่อเทกโอเวอร์โรงแรมรีเจนท์ โดยกลุ่ม BHH เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2542 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยฝ่ายกลุ่มชาญอิสสระถือหุ้น 51% และ 49% เป็น ของ โกลด์แมน แซกส์ ที่หาโอกาสลงทุนในธุรกิจที่น่าสนใจในไทย
กลุ่มชาญอิสสระเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เจ้าของโครงการชาญอิสสระ 1 และ 2, นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังเฟส 3, RCA, โรงแรมซันรูท และชะอำบีชคลับ อีกทั้งยังเป็นผู้ค้าน้ำมันยี่ห้อเชลล์แถบภาคใต้ของประเทศ
ด้านโกลด์แมน แซกส์ ยักษ์ใหญ่สถาบันการเงินเพื่อการลงทุน ที่ได้ลงทุนธุรกิจโรงแรมไปทั่วโลก เช่น เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในสตาร์วู้ด โฮเต็ลส์ และรีสอร์ท เจ้าของโรงแรมในกลุ่มเวสติน และเชอราตัน การลงทุนในกลุ่มเวสท์มอน ฮอสพิทอลลิตี้ เจ้าของโรงแรมสเตรทีจิก แคปปิตอล ส่วนในไทยโกลด์แมน แซกส์ ถือหุ้นในโรงแรมดุสิตธานี 30% ดังนั้นศักยภาพด้านเงินลงทุนของกลุ่ม BHH ที่เข้ามาต่อกรกับกลุ่ม RGR จึงหมดกังวลเมื่อเม็ดเงินดังกล่าว โกลด์ แมน แซกส์ ทุ่มเต็มที่
เวทีนี้มีพี่เลี้ยง
ไม่ใช่เฉพาะกลุ่ม RGR กับกลุ่ม BHH เท่านั้นที่กำลังต่อสู้คลุกวงในกันอยู่ แต่มวยคู่นี้จะดุเด็ดเผ็ดมันได้ ต้องมีพี่เลี้ยงคอยแก้เกมอยู่ข้างเวที โดยฝ่าย RGR ได้ที่ปรึกษาทางการเงินในการดำเนินการซื้อหุ้นฝีมือดีอย่าง บล.เจเอฟ ธนาคม นำโดยกรรมการอำนวยการ กรณ์ จาติกวณิช ส่วนฝ่าย BHH ไม่ น้อยหน้าเมื่อได้ บล.แอสเซท พลัส ที่มี ดร.ก้องเกียรติ โอภาส- วงการ ประธานกรรมการบริหาร คอยควบคุมการแข่งขันอยู่ ข้างหลัง โดยใช้โรงแรมรีเจนท์เป็นสนาม
การต่อสู้กันของที่ปรึกษาทั้งสองจึงคู่คี่สูสีไม่แพ้กัน เพราะทั้งคู่คอยรุกและรับกันตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำคำเสนอซื้อโดยเฉพาะในช่วงหลังๆ ที่ดีลโรงแรมรีเจนท์กำลังเข้มข้น ดูเหมือนว่าความดุเดือดก็เพิ่มมากยิ่งขึ้น เมื่อพี่เลี้ยงทั้งสองฝ่ายต่างออกมาเล่นเกมจิตวิทยากันอย่างถึงพริกถึงขิง
ช่วงการปรับราคาที่กลุ่ม BHH ให้ 43 บาท ดร.ก้องเกียรติ กล่าวว่า คำเสนอซื้อของกลุ่ม BHH แตกต่างจากกลุ่ม RGR "โดยสิ้นเชิง" เพราะจะให้โอกาสผู้ถือหุ้นได้ขายหุ้นในราคาสูงและขายจำนวนเท่าใดก็ได้ตามที่ต้องการ ในขณะที่กลุ่ม RGR เสนอซื้ออย่างมีเงื่อนไข คือ ซื้อเพียง 10% ของจำนวน หุ้นทั้งหมดของบริษัท
"เราไม่จำกัดสิทธิ์ผู้ถือหุ้นไม่ว่ารายเล็กรายใหญ่ เขาสามารถขายหุ้นได้ตามต้องการและขายในราคาหุ้นละ 43 บาท ถ้าจำนวนหุ้นมาเสนอขายต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15% แต่ถ้าเกิน กว่านั้น เราจะใช้วิธีราคาอัตราถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่าง 38-43 บาท ต่างจากกลุ่ม RGR เพราะผู้ถือหุ้นรายย่อยมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากอาจสามารถขายหุ้นได้เพียงบางส่วนในราคา หุ้นละ 42 บาท และไม่สามารถจำหน่ายหุ้นที่เหลือได้ เพราะ รับซื้อเพียง 10% หมายความว่าจะต้องเสี่ยงขายในตลาดหลัก ทรัพย์กันเองหลังจบการเสนอซื้อแล้ว" ดร.ก้องเกียรติ กล่าว
ขณะที่ฝ่าย RGR รับซื้อหุ้นเพียง 10% เนื่องจากในสาย ตามองว่าหุ้นในท้องตลาด และโอกาสที่จะขายออกมามีไม่ถึง 10% ซึ่งในที่สุดก็จะซื้อได้เพียง 10% "จึงเชื่อว่าถ้านักลงทุนที่ต้องการขายหุ้นออกมาและขายให้ฝ่ายเรา จะขายได้หมดและได้ราคา 43 บาททุกคน คือ ไม่มีความเสี่ยง" กรณ์ กล่าว
เขายังกล่าวต่อไปว่า "ถ้าถามว่านักลงทุนควรจะคิดอย่างไร เขาคงใช้ความคิดเหมือนกัน คือ ถ้าฝ่าย BHH มองว่าทางฝ่าย RGR ซื้อเพียง 10% ฉะนั้นถ้าสมมติว่ามีคนขายมาเกิน 10% อาจจะขายได้ไม่ครบจำนวน ซึ่งตามทฤษฎีเป็นเช่นนั้น แต่เราคาดไว้อยู่แล้วว่านักลงทุนพอจะดูออกว่าหุ้นจำนวนจริงๆ อยู่ในมือใครบ้าง" เพราะสัดส่วนการถือหุ้นโรงแรมรีเจนท์ประมาณ 35% ถือโดยกลุ่ม BHH, กลุ่ม RGR ถือประมาณ 25%, ธนาคารกสิกรไทย ประมาณ 8%, สำนัก งานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และส่วนพระองค์ ประมาณ 7% "รวมทั้งหมดประมาณ 75% ซึ่งผู้ถือหุ้นทุกคนมีเจตจำนงชัดเจน "ไม่ขาย" "
จากการที่กลุ่ม BHH เสนอซื้อเข้ามาทั้ง 100% กรณ์ มองว่าโอกาสความเป็นไปได้ไม่ถึงกลับเป็น "ศูนย์" แต่ "น้อยมาก" เพราะในระยะแรกๆ กลุ่ม BHH คาดว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่อาจจะขายหุ้นออกมา "แต่ตอนที่เราเข้ามาผู้ถือหุ้นเหล่านั้นจะไม่ขายหุ้นออกมาแน่นอนแล้ว เขาจะได้เฉพาะหุ้นที่ซื้อจากญี่ปุ่นเท่านั้น"
ด้าน ดร.ก้องเกียรติ กล่าวตอบโต้ว่า "ไม่มีใครสามารถพูดแทนผู้ถือหุ้นหรือกรรมการในคณะกรรมการบริหารได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้นและกรรมการแต่ละท่านที่จะพิจารณาว่า จะให้การสนับสนุนฝ่ายใด ตามกฎการทำคำเสนอซื้อของ ก.ล.ต. โรงแรมรีเจนท์ต้องจ้างที่ปรึกษาทางการเงินมาทำการประเมินและให้คำปรึกษาแก่ผู้ถือหุ้น หากยังไม่มีคำแนะนำใดประกาศออกมาให้ทราบ การแสดงความเห็นต่างๆ เกี่ยวกับ คำเสนอซื้อถือว่าไม่สมควร"
จากการที่ฝ่าย BHH เสนอซื้อหุ้น 100% จากนักลงทุนรายย่อยซึ่งหมุนเวียนอยู่ในตลาดประมาณ 20% ในทางทฤษฎีถือว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูง แต่ในทางปฏิบัติกลับต้องมาเจอแผนสะกัดดาวรุ่งจากกลุ่ม RGR "ตอนนี้ BHH ต้องการหุ้นเพิ่มอีกประมาณ 17% เขาก็จะถือหุ้นในรีเจนท์จำนวน 51% ตามที่ต้องการ แต่หุ้นที่อยู่ในมือรายย่อยมีเพียง 19% หาก RGR ได้เพิ่มอีก 3% เขาก็ไม่มีทางเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ได้ เท่านี้เราก็พอใจแล้ว" กรณ์ กล่าว
การประกาศชัดเจนของกรณ์ เกิดจากแนวความคิด "รักชาติ" ที่ฝ่ายไทยไม่ต้องการให้มีต่างชาติเข้ามาครอบงำกิจการ ขณะที่ฝ่ายต่างชาติต้องการ "ฮุบรีเจนท์" ด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ "ฉะนั้นขบวนการที่เราต้องการคือ เพื่อป้องกัน ต่างประเทศเข้ามาครอบงำกิจการ" เพราะนอกจากจะเป็น การแข่งขันด้านอาชีพที่ปรึกษาทางการเงินแล้วยังต้องต่อสู้ทางด้านวัฒนธรรมอีกด้วย
จากการแข่งขันกันในที่แจ้งแล้ว ในที่ลับก็ดุเดือดไม่แพ้กันเมื่อมีข่าวลือว่าฝ่าย RGR บอกว่าหากไม่สามารถทำคำเสนอซื้อได้ในราคา 43 บาทต่อหุ้น หลังเสร็จสิ้นกระบวนการดังกล่าวจะกลับเข้ามาซื้อ และให้ราคาที่ค่อนข้างสูง นั่นหมายถึงจะต้องมากกว่า 48 บาทต่อหุ้น ซึ่งสร้างความไม่พอใจต่อฝ่าย BHH อย่างมาก
"ต้องถามตัวเองก่อนว่าถ้าอยากซื้อจริงๆ ทำไมไม่ตั้งราคาให้สูงไปเลยถ้าคิดว่า 43 บาทต่ำเกินไปและคนไม่อยากขายให้" ดร.ก้องเกียรติ กล่าว
อย่างไรก็ดี ในสายตาท่านผู้ชมมองว่าฝ่าย RGR ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบเล็กน้อย ซึ่งหลายคนสงสัยว่าเกิดจากก่อนที่กลุ่ม RGR จะว่าจ้าง บล.เจเอฟ ธนาคมเป็นที่ปรึกษา ได้ติดต่อ บล.แอสเซท พลัส ก่อน แต่ไม่สามารถตกลงอะไรกันได้ ต่อมาภายหลัง บล.แอสเซท พลัส กลายเป็นที่ปรึกษาให้กับคู่แข่ง จึงอาจจะมีข้อมูลที่ RGR เคยให้กับ บล.แอสเซท พลัส เล็ดลอดออกไปแล้ว ดร.ก้องเกียรติ นำมาใช้ประโยชน์ได้ เรื่องนี้เขาปฏิเสธว่าไม่เคยนำข้อมูลจากฝ่าย RGR มาเปิดเผย
"การเก็บความลับลูกค้า คือ จรรยาบรรณของที่ปรึกษา กรณี RGR เขาเคยมาหาเราแต่ตกลงกันไม่ได้ก็เลิกกันไป ซึ่งก่อนที่จะจ้างที่ปรึกษาได้ให้ข้อมูลทุกอย่างกับเราหรือไม่อย่างมากก็คุยกันเรื่องหลักการเท่านั้น"
จากหมัดต่อหมัดแลกกันกลางเวที ส่งผลให้ดีลนี้กลายเป็นละครชีวิตในทันที เพราะที่ปรึกษาทางการเงินแต่ละฝ่ายจะมีข้อเสนอดีๆ ออกมาตลอดเวลา สามารถเพิ่มรสชาติการแข่งขันโดยมีกฎเกณฑ์ ของ ก.ล.ต. คอยดูแลไม่ให้ทั้งสองฝ่ายออกนอกลู่นอกทาง เพราะประเด็นสำคัญของดีลนี้ คือ ด้วยกฎเกณฑ์ของ ก.ล.ต. มีความชัดเจนและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเกี่ยวกับการเสนอซื้อของทั้งสองฝ่าย ทำให้การแข่งขันเต็มไปด้วยความยุติธรรม ไม่เหมือนในอดีตที่นักลงทุนรายย่อยไม่มีโอกาสรับรู้ข้อมูลมากมายเป็นเพียงรายใหญ่กับรายใหญ่เท่านั้นที่เจรจากัน
อีกทั้ง การแข่งขันกันในลักษณะ hostile เช่นนี้จะเป็นผลดีต่อภาพรวมของธุรกิจไทย เช่น กรณีของโรงแรมรีเจนท์ที่เกิดเหตุการณ์มีนักลงทุนพอใจสินทรัพย์เดียวกัน จะช่วยให้เกิด benchmark ของอสังหาริมทรัพย์โรงแรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี อย่างน้อยสิ่งที่เกิดขึ้นยังมีราคาที่ดีอยู่ภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจ ที่สำคัญจะเกิดประโยชน์ต่อนักลงทุน เนื่องจากเป็นวิธีการใหม่ที่มีราคาแปรผันตามจำนวนหุ้นที่มีการจัดทำคำเสนอซื้อ
สิ่งที่น่าเป็นห่วงของดีลในลักษณะ hostile คือ ความไม่โปร่งใสซึ่งบางครั้งข้อมูลที่ออกมาแต่ละฝ่ายจะไม่ค่อยเป็นธรรมต่อนักลงทุนเท่าไหร่ ดังนั้นการแข่งขันด้วยความยุติธรรมจึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนอยากเห็น เพราะจะเป็นการพัฒนาตลาดทุนไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น เพราะดีลโรงแรมรีเจนท์จะไม่ใช่ครั้งแรกและครั้งสุดท้าย
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ต่างฝ่ายต่างเกทับกันดูเหมือนจะเป็นที่เคลือบแคลงใจของนักลงทุนอย่างมากว่าการแข่งขัน เพื่อชัยชนะครั้งนี้ของทั้งสองฝ่ายมีอะไรแอบแฝง นอกจากการประกาศว่าต้องการลงทุนระยะยาวในโรงแรมรีเจนท์ เท่านั้น
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
เอาเรื่องเก่าๆของ RGR มาเล่าให้ฟัง
โพสต์ที่ 2
ผู้แพ้ในวันนั้น กลับมาเป็นผู้ชนะในวันนี้
รอยัลการ์เด้น รีซอร์ท (RGR) เทกบริษัท โรงแรม ราชดำริ (RHC)
เจ้าของโรงแรมรีเจ้นท์ เกือบ 43% ส่งผลวิลเลี่ยม ไฮเนกกี้
เจ้าพ่อพิชซ่าเมืองไทย ซึ่งเป็นชาวมะกันที่ได้ดีในไทย ผู้ถือหุ้นใหญ่
RGR กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด โรงแรมระดับ 5
ดาวในกรุงเทพฯแห่งนี้ เขาหวังสยายปีกการลงทุนเพิ่มต่อเนื่อง
ครอบคลุมทั่วเอเชียแปซิฟิก จากธุรกิจกลุ่มอาหารสู่โรงแรม และหาก
โอกาสเปิดจะขยายการลงทุนเพิ่มอีก
บริษัท รอยัลการ์เด้น รีซอร์ท จำกัด (มหาชน) (RGR) ซึ่งนาย วิลเลี่ยม
อี. ไฮเนคกี้ ก่อตั้งและถือหุ้น ใหญ่ เพิ่มการลงทุนในบริษัท โรงแรม
ราชดำริ (RHC) จำกัด (มหาชน) เจ้าของโรงแรมรีเจ้นท์ โรงแรมระดับ 5
ดาวในกรุงเทพฯ จาก 30.29% เป็น 42.84% ซึ่งโรงแรมราชดำริถือหุ้น 26.04%
ในโรงแรมรีเจ้นท์ รีสอร์ท เชียงใหม่ ส่งผลให้นายไฮเนคกี้
ชาวมะกันที่ได้ดีในเมืองไทย และ RGR
พลอยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในโรงแรมเชียงใหม่แห่งนี้ด้วย
จากเดิมที่ถืออยู่แล้ว 44.87% เป็น 48.14%
ดีลผ่านบิ๊กล็อต
ขณะที่การซื้อดีลนี้ ทำผ่าน บล. ไทยพาณิชย์ สำหรับหุ้นโรงแรมราชดำริ
ส่วนที่กลุ่มโกลแมน ซาค วาณิชธนากรยักษ์ใหญ่จากแดนมะกัน ถืออยู่
โดยผ่านการซื้อขายกระดานรายใหญ่ 41% หุ้นโรงแรมรีเจ้นท์ กรุงเทพฯ
ในตลาดหลักทรัพย์ไทยวานนี้
RGR ขณะนี้เป็นเจ้าของ และบริหารโรงแรม 9 แห่งในประเทศไทย
ซึ่งมีห้องพักรวมกัน 2,056 ห้อง ภาย ใต้เชนระดับโลก และของไทย อย่าง
แมริออท (Marriott) รีเจ้นท์ (Regent) อนันตรา (Anantara) บ้านโบราณ
และรอยัลการเด้น (Royal Garden) ที่ตั้งอยู่ทั้งในเวียดนาม และ
ประเทศไทย
บริษัท รอยัลการ์เด้น รีซอร์ท (RGR) ลงทุนเพิ่มเติมบริษัท โรงแรม
ราชดำริ 5,647,641 หุ้น ราคาเฉลี่ยหุ้นละ 43.47 บาท รวมเป็นเงินลงทุน
245,508,448.35 บาท ซื้อผ่านตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
จากบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ ทำให้ RGR ถือหุ้นรวม 19,277,965 หุ้น
หรือ 42.84% หลังการลงทุนครั้งนี้
การซื้อหุ้น RHC ครั้งนี้ ถือเป็น การซื้อหุ้นเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ RGR
มีหุ้น RHC โดยทยอยซื้อเก็บไว้ในมืออยู่แล้ว 30%
หวังคุมธุรกิจทั่วเอเชีย-แปซิฟิก
แหล่งข่าว RGR กล่าวว่า การซื้อหุ้นครั้งนี้
เป็นการลงทุนธุรกิจที่เอื้อ ประโยชน์ธุรกิจของกลุ่ม และถือว่า
เป็นการขยายเครือข่ายทำธุรกิจ เพื่อครอบคลุมทั่วเอเชียแปซิฟิก
"แม้ว่าหุ้นตัวนี้ คือ RHC จะไม่มีสภาพคล่อง การซื้อขาย
แต่ผลตอบให้ผู้ถือหุ้นดีมาก เราเก็บหุ้นนี้ไว้ในมือ
และทยอยเก็บมาเรื่อยๆ ซึ่งเราก็มีธุรกิจโรงแรมหลายแห่ง
ที่บริหารอยู่ก่อนแล้ว และเราก็มีสภาพคล่องการเงินเหลืออยู่มาก
การนำเงินไปลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนกลับมายังบริษัท
น่าจะดีกว่าเก็บเงินไว้เฉยๆ" แหล่งข่าวกล่าว
รอยัลการ์เด้น รีซอร์ท (RGR) เทกบริษัท โรงแรม ราชดำริ (RHC)
เจ้าของโรงแรมรีเจ้นท์ เกือบ 43% ส่งผลวิลเลี่ยม ไฮเนกกี้
เจ้าพ่อพิชซ่าเมืองไทย ซึ่งเป็นชาวมะกันที่ได้ดีในไทย ผู้ถือหุ้นใหญ่
RGR กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด โรงแรมระดับ 5
ดาวในกรุงเทพฯแห่งนี้ เขาหวังสยายปีกการลงทุนเพิ่มต่อเนื่อง
ครอบคลุมทั่วเอเชียแปซิฟิก จากธุรกิจกลุ่มอาหารสู่โรงแรม และหาก
โอกาสเปิดจะขยายการลงทุนเพิ่มอีก
บริษัท รอยัลการ์เด้น รีซอร์ท จำกัด (มหาชน) (RGR) ซึ่งนาย วิลเลี่ยม
อี. ไฮเนคกี้ ก่อตั้งและถือหุ้น ใหญ่ เพิ่มการลงทุนในบริษัท โรงแรม
ราชดำริ (RHC) จำกัด (มหาชน) เจ้าของโรงแรมรีเจ้นท์ โรงแรมระดับ 5
ดาวในกรุงเทพฯ จาก 30.29% เป็น 42.84% ซึ่งโรงแรมราชดำริถือหุ้น 26.04%
ในโรงแรมรีเจ้นท์ รีสอร์ท เชียงใหม่ ส่งผลให้นายไฮเนคกี้
ชาวมะกันที่ได้ดีในเมืองไทย และ RGR
พลอยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในโรงแรมเชียงใหม่แห่งนี้ด้วย
จากเดิมที่ถืออยู่แล้ว 44.87% เป็น 48.14%
ดีลผ่านบิ๊กล็อต
ขณะที่การซื้อดีลนี้ ทำผ่าน บล. ไทยพาณิชย์ สำหรับหุ้นโรงแรมราชดำริ
ส่วนที่กลุ่มโกลแมน ซาค วาณิชธนากรยักษ์ใหญ่จากแดนมะกัน ถืออยู่
โดยผ่านการซื้อขายกระดานรายใหญ่ 41% หุ้นโรงแรมรีเจ้นท์ กรุงเทพฯ
ในตลาดหลักทรัพย์ไทยวานนี้
RGR ขณะนี้เป็นเจ้าของ และบริหารโรงแรม 9 แห่งในประเทศไทย
ซึ่งมีห้องพักรวมกัน 2,056 ห้อง ภาย ใต้เชนระดับโลก และของไทย อย่าง
แมริออท (Marriott) รีเจ้นท์ (Regent) อนันตรา (Anantara) บ้านโบราณ
และรอยัลการเด้น (Royal Garden) ที่ตั้งอยู่ทั้งในเวียดนาม และ
ประเทศไทย
บริษัท รอยัลการ์เด้น รีซอร์ท (RGR) ลงทุนเพิ่มเติมบริษัท โรงแรม
ราชดำริ 5,647,641 หุ้น ราคาเฉลี่ยหุ้นละ 43.47 บาท รวมเป็นเงินลงทุน
245,508,448.35 บาท ซื้อผ่านตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
จากบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ ทำให้ RGR ถือหุ้นรวม 19,277,965 หุ้น
หรือ 42.84% หลังการลงทุนครั้งนี้
การซื้อหุ้น RHC ครั้งนี้ ถือเป็น การซื้อหุ้นเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ RGR
มีหุ้น RHC โดยทยอยซื้อเก็บไว้ในมืออยู่แล้ว 30%
หวังคุมธุรกิจทั่วเอเชีย-แปซิฟิก
แหล่งข่าว RGR กล่าวว่า การซื้อหุ้นครั้งนี้
เป็นการลงทุนธุรกิจที่เอื้อ ประโยชน์ธุรกิจของกลุ่ม และถือว่า
เป็นการขยายเครือข่ายทำธุรกิจ เพื่อครอบคลุมทั่วเอเชียแปซิฟิก
"แม้ว่าหุ้นตัวนี้ คือ RHC จะไม่มีสภาพคล่อง การซื้อขาย
แต่ผลตอบให้ผู้ถือหุ้นดีมาก เราเก็บหุ้นนี้ไว้ในมือ
และทยอยเก็บมาเรื่อยๆ ซึ่งเราก็มีธุรกิจโรงแรมหลายแห่ง
ที่บริหารอยู่ก่อนแล้ว และเราก็มีสภาพคล่องการเงินเหลืออยู่มาก
การนำเงินไปลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนกลับมายังบริษัท
น่าจะดีกว่าเก็บเงินไว้เฉยๆ" แหล่งข่าวกล่าว
แก้ไขล่าสุดโดย ลูกอิสาน เมื่อ พุธ ธ.ค. 01, 2004 8:27 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- Golden Stock
- Verified User
- โพสต์: 615
- ผู้ติดตาม: 0
เอาเรื่องเก่าๆของ RGR มาเล่าให้ฟัง
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
เอาเรื่องเก่าๆของ RGR มาเล่าให้ฟัง
โพสต์ที่ 4
We are always looking to consolidate in this industry, he said,
adding that a price tag of 60 baht per share of RHC would be
ridiculous. Heinecke said.
adding that a price tag of 60 baht per share of RHC would be
ridiculous. Heinecke said.
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
เอาเรื่องเก่าๆของ RGR มาเล่าให้ฟัง
โพสต์ที่ 5
วิลเลี่ยม ไฮเนกกี้ ชื่อนี้ไม่ธรรมดาจริงๆ ครับ ไม่เชื่อไปถาม ไทรคอน เจ้าของ pizza hut ดูได้