กรุงเทพธุรกิจ ....แกะรอยผู้บริหาร บจ ซื้อขายหุ้น

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
tom
Verified User
โพสต์: 691
ผู้ติดตาม: 0

กรุงเทพธุรกิจ ....แกะรอยผู้บริหาร บจ ซื้อขายหุ้น

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผมเปิดอ่านดูปรากฎว่ามูลค่า 11 เดือนที่ผ่านมาอันดับ 1 และ 2 ของการซื้อหุ้นกลับเป็นของ TPC แต่บทความไม่ได้กล่าวถึงเลย พูดถึงแต่ RS MIDA SE_ED ไม่ทราบเพราะว่าอะไร ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
tom
Verified User
โพสต์: 691
ผู้ติดตาม: 0

กรุงเทพธุรกิจ ....แกะรอยผู้บริหาร บจ ซื้อขายหุ้น

โพสต์ที่ 2

โพสต์

แกะรอย 11 เดือนผู้บริหาร บจ. "ขายหุ้น"...รวยอื้อ

ณัฐวิทย์ ณ นคร
ตรวจสอบพฤติกรรมการซื้อขาย "หุ้น"...ของบรรดาผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในช่วง 11 เดือนปี 47 (1 ม.ค.-30 พ.ย.47) พบผู้บริหารบจ. "รวยอื้อ" กลุ่มไทเก้นเทหุ้น "โทรีเซนไทย เอเยนซีส์" ทิ้งเกือบเกลี้ยงพอร์ตกว่า 2,879 ล้านบาท

ด้านบิ๊ก "แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์" ทยอยปล่อยหุ้นส่งสัญญาณธุรกิจอาจทำ "พีค" ไปแล้ว ขณะที่หุ้นกลุ่ม "ชินคอร์ป" ผู้บริหารระดับท็อป "แห่ขาย" หุ้นในอาณาจักรออกมาแทบตลอดทั้งปีเกือบ 552 ล้านบาท

------------------------------------------------------------------

นสพ.กรุงเทพธุรกิจ Bizweek ตรวจสอบพฤติกรรมการซื้อขายหุ้นของผู้บริหารระดับสูงบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในช่วง 11 เดือนปี 2547 พบว่า ผู้บริหาร บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนซีส์ (TTA) ที่ถือหุ้นใหญ่โดย "กลุ่มไทเก้น" เทขายหุ้นออกมามากที่สุด โดยขายหุ้นออกเกือบตลอดทั้งปีมูลค่ารวม 2,879.43 ล้านบาท

เฉพาะ "โฟรเด้ ไทเก้น" ขายคนเดียว 47,818,700 หุ้น ได้เงินเข้าบัญชีไป 1,748.04 ล้านบาท ส่วน "โอเล่ย์ ไทเก้น" ขายออกไป 5 ครั้ง จำนวน 29,476,400 หุ้น ได้เงินกลับออกไป 1,128.06 ล้านบาท

ส่วนอีกสองผู้บริหาร "เสฐียร เตชะไพบูลย์" "แลนซ์ ดีพิว" ขาย TTA ออกไปรายละ 45,000 หุ้น และ 16,700 หุ้น เก็บเงินเข้าบัญชีไปคนละ 2.03 ล้านบาท และ 781,284 บาท ตามลำดับ

ข้ามฟากมาที่สถานการณ์ของ "สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์" หรือ "เฮียฮ้อ" ที่ธุรกิจออกอาการซวนเซอย่างเห็นได้ชัด ตลอดปีเขาเพียรพยายาม "กอบกู้" บมจ.อาร์.เอส.โปรโมชั่น "RS" ขึ้นมาจากภาวะ "ดิ่ง" อย่างแรง เมื่อต้องเผชิญกับสภาวะ "ขาดทุน" อย่างหนัก ...เพราะอ่านเกมการตลาดไม่คมเท่าแกรมมี่ฯ

ทำให้ตลอดปีที่ผ่านมา "เฮียฮ้อ" ต้องออกแรงทุบกระปุกถึง 20 ครั้ง เพื่อนำเงิน 11.12 ล้านบาท ไปชุบชีวิตหุ้น RS ขึ้นมาให้ได้ หรืออย่างน้อยเพื่อไม่ให้สถานการณ์หุ้น "ทรุด" ลงไปกว่านี้

ผสานแรงสนับสนุน เพื่อร่วมพยุงหุ้น RS จาก "เกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์" ที่ช่วยเก็บหุ้นเข้ามาอีก 10 ครั้ง รวมจำนวน 200,000 หุ้น หมดหน้าตักไป 3.36 ล้านบาท

คิดคำนวณมูลค่าหุ้น RS ที่คนตระกูล "เชษฐโชติศักดิ์" ร่วมกันลุยซื้อมาตลอด 11 เดือน เป็นจำนวน 809,000 หุ้น เกลี้ยงกระเป๋าไป 14.48 ล้านบาท

ในสถานการณ์ย่ำแย่เหมือนกัน...ขาหุ้นรายใหญ่ "กมล เอี้ยวศิวิกูล" แห่ง บมจ.ไมด้า แอสเซ็ท ที่ผลการดำเนินงานของ MIDA ในปีนี้...กลับ "ผิดคาด" อย่างแรง

เป็นเหตุผลที่ไป "บั่นทอน" เสถียรภาพของราคา MIDA ในตลาดฯ หลังกระจายไอพีโอไปเมื่อปีก่อน

และทำให้เซียนหุ้นรายนี้ต้องออกแรงระดมซื้อหุ้น MIDA คืนตลอดทั้งปีเป็นจำนวนถึง 12 ครั้ง ไล่ซื้อตั้งแต่ราคา 31.28 บาทต่อหุ้น มาหมดแรงที่ราคา 14.48 บาท

"กมล" จึงกระเป๋าฉีกไปกว่า 159.66 ล้านบาท เพื่อพยุงชะตาหุ้นของธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อที่กมลปลุกปั้นขึ้นมากับมือ โดยที่มี "ธเนศ ดิลกศักยวิทูร" รองกรรมการผู้จัดการ เข้ามาช่วยซื้อ MIDA มาเก็บบ่มไว้อีก 700,000 หุ้น ละลายทุนไป 19.93 ล้านบาท

"ชัชวาลย์ เจียรวนนท์" กรรมการบริหาร จากค่าย UBC ...นับเป็นอีกผู้บริหารประเภท "สิงห์ปืนไว" ที่ชิงขายของ "แพง" ออกมา ภายหลังยูบีซีจวนเจียนประกาศผลประกอบการไตรมาส 3 จนปรากฏผลกำไร "ต่อเนื่อง" ตั้งแต่ต้นปี ที่บริษัทสามารถพลิกกลับมาทำกำไรเป็นครั้งแรก

จึงปรากฏรายชื่อผู้บริหารของค่ายเคเบิลทีวีแห่งนี้ คล้ายจะรีบเร่งขาย...ตอนราคาสูงทันที โดยคิดรวมมูลค่าขายรวมกันถึง 25.11 ล้านบาท

เฉพาะเจ้าสัวน้อย "ชัชวาลย์" คนเดียว ใช้ระยะเวลาเพียงเดือนเศษ ปล่อยของออกไป 6 ครั้ง ที่ราคาเฉลี่ย 21.57 บาทต่อหุ้น รวมจำนวน 900,000 หุ้น เช็คบิลรายย่อยเข้ากระเป๋าทันที 19.47 ล้านบาท

ขณะที่ "จอห์น เจมส์ โวลคคิน" และผู้บริหารระดับสูงอีก 3 ราย ช่วยกันขายหุ้น (แพง) ออกไป 5.64 ล้านบาท

บุคคลที่นับว่าร้อนแรงแห่งปีคงหลีกไม่พ้น "เสริมสิน สมะลาภา" ปีนี้แผน "ปั้นหุ้น" N-PARK ล้มเหลวไม่เป็นท่า เมื่อปัจจัยพื้นฐานจริงเริ่มปรากฏ กระทบถึงราคาหุ้นที่ "ดิ่งลง" แทบติดดิน

และอาจไม่น่าเชื่อว่าตั้งแต่ต้นปี "เสริมสิน" จะเลือก SE-ED เป็นแหล่งพักเงินชั่วคราว...ผ่านการทยอยสะสมหุ้น SE-ED ไปถึง 26 ครั้ง รวมจำนวน 9,800,000 หุ้น (ราคาเฉลี่ย 6.17 บาทต่อหุ้น) แลกกับเงินในกระเป๋า 60.06 ล้านบาท

แต่เมื่อหลังฉาก N-PARK เริ่มก่อกวน จนบริษัทมีปัญหาสภาพคล่อง จึงเริ่มปรากฏชื่อของ...เสริมสิน กลับเข้ามา "ขาย" หุ้น SE-ED ออกไปอย่างไร้เยื่อใย จำนวน 3,646,900 หุ้น (ราคาเฉลี่ย 5.96 บาทต่อหุ้น) เบิกเงินในตลาดหุ้นกลับคืน 21.74 ล้านบาท

ในช่วงระยะเวลาไล่เลี่ยกันชื่อเสริมสิน ก็ไปปรากฏเป็น "ผู้ซื้อ" หุ้น N-PARK รวมทั้งหมด 3 ครั้ง ในระยะเวลาเพียง 3 วัน จำนวน 100,000,000 หุ้น ต้องอาศัยกำลังทุน เบ็ดเสร็จ 128.60 ล้านบาท

...ก่อนจะมีข่าวตามมาว่า "ซิตี้เรียลตี้" แห่ง "ตระกูลโสภณพนิช" เตรียมที่จะเทคโอเวอร์ N-PARK ดีลนี้สรุปราคากันแบบ "ไม่แฟร์" กับผู้ถือหุ้นเดิมสักเท่าไหร่!!!

มาดูสไตล์เก็บหุ้นของเจ้าสัว "วิกรม กรมดิษฐ์" เจ้าของ บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชั่น (AMATA) กำลังน่าสนใจ เฉพาะปีนี้เขาทยอยเก็บหุ้นตัวเองเข้าพอร์ตแบบ "ซื้อขาเดียว" ...ตั้งแต่ต้นปี ยันปลายปี

คิดรวมตลอด 11 เดือนที่ผ่านมา "วิกรม" เดินหน้าช้อนหุ้น AMATA เข้ามาแล้ว 14 ครั้ง รวม 6,112,900 หุ้น คิดราคาหลงจ๊ง 82.45 ล้านบาท และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเก็บเพียงแค่นี้นัยว่าเพื่อจะส่งสัญญาณบางอย่างไปถึงผู้ถือหุ้นที่เริ่ม "บ่น" กับภาวะ "ขาลง"ของราคาหุ้น

ฝั่งผู้บริหารโบรกเกอร์เองก็ดอดขายหุ้นตลอดปี จนรวยกันถ้วนหน้า นำโดย บล.กิมเอ็ง หรือ "KEST" ที่กลุ่มผู้บริหารร่วมแรงกัน...ปล่อยของบนยอดดอย (ณ ราคาเฉลี่ย 45.58 บาทต่อหุ้น) รวมทั้งสิ้น 2,735,500 หุ้น เบิกเงินจากตลาดหุ้นไปได้ถึง 122.63 ล้านบาท

โดยมีซีอีโอของกิมเอ็ง "มนตรี ศรไพศาล" เป็นหัวหน้าทีมขายหุ้นไป 1 ครั้ง 150,000 หุ้น เก็บเงินไปเหนาะๆ 9 ล้านบาท

ขณะที่ "โฆษิต บุญเรืองขาว" รองกรรมการผู้จัดการ รวยขึ้น 28.62 ล้านบาท จากการขายหุ้น KEST เพียง 2 ครั้ง "บุญพร บริบูรณ์ส่งศิลป์" ขาย 7 ครั้ง ได้เงิน 27.34 ล้านบาท

ขณะที่ "ภูษิต แก้วมงคลศรี" ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และ "ศุภชัย เอกกุล" กรรมการผู้จัดการ ขายรายละ 5 ครั้ง เก็บเงินเข้ากระกระเป๋า 21.72 ล้านบาท และ 18.32 ล้านบาท ตามลำดับ

"สิทธิพร ศรกาญจน์" ขายหุ้นได้เงินมา 12.29 ล้านบาท จากการเกลี่ยขาย 6 ครั้ง

ทางด้านผู้บริหารจาก บล.ซีมิโก้ (ZMICO) ก็ระบายหุ้นให้พอร์ตออกมาตลอดปี จำนวน 7,027,132 หุ้น คิดรวมมูลค่าได้ถึง 68.54 ล้านบาท นำโดย "เรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์" กรรมการผู้อำนวยการ ที่ขายหุ้นล็อตใหญ่ออกมา 2 ครั้ง รวมจำนวน 5,200,000 หุ้น ผันเป็นเงินสดๆ 47.22 ล้านบาท

"เชาว์ อรัญวัฒน์" กรรมการผู้จัดการ เก็บเงินเข้ากระเป๋าด้วย 14.27 ล้านบาท จากการขาย 3 ครั้ง จำนวน 1,136,000 หุ้น และ "โรเบิร์ต วิลเลียม แม็คมิลเล็น" ขายหุ้นได้เงินมา 4.37 ล้านบาท

ขณะที่หุ้นดาวรุ่ง บมจ.แฟนซีวู๊ด อินดัสตรีส หรือ FANCY ก็ถูกขายออกมาโดย "วิชัย ตันพัฒนรัตน์" กรรมการผู้จัดการใหญ่ จากการขายขาเดียวตลอดปี 51,339,700 หุ้น เกลี่ยขายไป 4 ครั้ง เก็บเงินไปคนเดียว 339.56 ล้านบาท

"ประทีป ตั้งมติธรรม" ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ศุภาลัย หรือ SPALI กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤติศรัทธาของนักลงทุนที่มองว่าธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กำลังเข้าสู่วัฏจักร "อิ่มตัว" เห็นชัดเจนจากผลประกอบการของ SPALI ตั้งแต่ไตรมาส 1 กระทั่งไตรมาส 3 ที่ปรากฏออกมาแบบค่อนข้าง...น่าผิดหวัง

จนเกิดเป็นปฏิบัติการล่าหุ้นคืนของประทีป ด้วยการทยอยเก็บ "วอร์แรนท์" ในตลาดตลอดปี ถึง 60 ครั้ง ได้หุ้นคืนมา 13,419,900 หุ้น ใช้เงินไป 49.67 ล้านบาท

แม้แต่ทีมผู้บริหารของ "แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์" (LH) ทั้ง "วิทย์ ตันติวรวงศ์" อดิศักดิ์ อธิราษฎร์กุล และ นพร สุนทรจิตต์เจริญ ยังทยอยถ่ายหุ้น LH ออกจากพอร์ตตลอดปี กินรวบไปคนละ 105 ล้านบาท 62.3 ล้านบาท และ 58.3 ล้านบาท ตามลำดับ นักวิเคราะห์เชื่อว่าทั้งรายได้ และกำไรของแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ น่าจะผ่านจุด "สูงสุด" ไปแล้ว

ฟากของ "กำจร ชื่นชูจิตร" ผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.โรงงานผ้าไทย หรือ TTI "กำจร" เป็นผู้บริหาร บจ.เพียงรายเดียว ที่ปรากฏพฤติกรรมซื้อหุ้น "มากครั้งที่สุด" ตลอดปี 2547 เขาซื้อหุ้น TTI จำนวน 673,900 หุ้น ใช้เงินไป 17.58 ล้านบาท โดยมีความถี่ในการซื้อถึง 76 ครั้ง
ล็อคหัวข้อ