Interconnection Charge

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
eak
Verified User
โพสต์: 45
ผู้ติดตาม: 0

Interconnection Charge

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อยากได้รายละเอียดเกี่ยวกับการปรับใช้ค่าเชื่อมโยงเครือข่าย ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ใครได้ประโยชน์ มากน้อยแค่ไหน
ภาพประจำตัวสมาชิก
harry
Verified User
โพสต์: 4200
ผู้ติดตาม: 0

Interconnection Charge

โพสต์ที่ 2

โพสต์

คร่าวๆ มันเป็นค่าเชื่อมโยงเครือข่าย เมื่อมีการโทรข้ามเครือข่าย เช่น โทรจากระบบของ ais ไป dtac ทาง ais ก็ต้องจ่ายให้ dtac เห็นว่าจะคิดกันที่นาทีละ 25 สตางค์ ก็ไม่รู้แน่ว่าจะออกมาเท่าไหร่

แต่เห็นว่าจะทำให้ไม่มีการแข่งขันนาทีละบาทอีกต่อไป เพื่อจะได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
Expecto Patronum!!!!!!
ภาพประจำตัวสมาชิก
edd
Verified User
โพสต์: 325
ผู้ติดตาม: 0

Interconnection Charge

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ค่าเชื่ิอมโยงโครงข่าย เป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้บริการรายหนึ่งต้องจ่ายให้กับผู้ให้บริการอีกรายหนึ่ง เมื่อไปใช้โครงข่ายของผู้ให้บริการรายนั้นๆ

ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้า TRUE โทรหาลูกค้า TT&T TRUE จะได้เงินค่าใช้บริการจากลูกค้า แต่ต้องนำเงินนี้บางส่วนมาจ่ายให้กับ TT&T เนื่องจากในการโทรหา TT&T ต้องใช้โครงข่ายของ TT&T ด้วย โดยอัตราค่าบริการนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก กทช. ก่อน ซึ่งอัตราคงอยู่ประมาณ 1-2 บาท

ก่อนที่จะตอบคำถามว่าเมื่อนำมาใช้แล้วใครได้ใครเสีย ก็ต้องรู้ว่าปัจจุบันผู้ให้บริการโทรศัพท์ดำเนินการกันอย่างไร

ปัจจุบันนี้ ใช้ระบบ Sender keep all หมายถึงผู้ใช้บริการรายใดได้รายได้จากลูกค้า ก็จะเก็บไว้เองทั้งหมด และจะนำรายได้มาแบ่งส่วนให้กับรัฐ ตามสัญญาสัมปทานของแต่ละราย

ที่จริงเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก เนื่องจากมันยังไปเกี่ยวข้องกับส่วนแบ่งรายได้ที่บริษัทเหล่านี้ต้องจ่ายให้กับรัฐ รวมทั้งค่า access charge(ปัจจุบันจ่ายให้ TOT และ CAT)ด้วย
เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ถือว่าได้จ่ายเงินให้รัฐแล้ว เมื่อมีค่าเชื่ิอมโยงโครงข่ายเข้ามา บริษัทเหล่านี้ก็ไม่ควรมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีก (โดยเฉพาะบริษัทที่ net trafficเป็นลบ ต้องจ่ายค่าเชื่ิอมโยงเพิ่ม)

ถ้าดูเฉพาะเรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่ายอย่างเดียว จากข้อมูลในต่างประเทศจะพบว่าโครงข่ายเล็กจะมี traffic ที่โทรไปหาโครงข่ายที่มีขนาดใหญ่กว่าเสมอ
จากสมมุติฐานนี้ AIS จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากเลขหมายประมาณ 25 ล้าน
เลขหมาย รองลงมาคือ DTAC ที่มีประมาณ 17 ล้านเลขหมาย

ยิ่งถ้ามามองในแง่ที่ต้องยกเลิกส่วนแบ่งรายได้ด้วยแล้ว
AIS จ่าย TOT อยู่ 25-30 เปอร์เซนต์ของรายได้
DTAC จ่าย CAT ไม่แน่ใจคงประมาณ 20 เปอร์เซนต์ และต้องจ่ายให้ TOT ค่า Access Charge อีกเดือนละเป็นร้อยล้านบาท
TRUE จ่ายให้ TOT ประมาณ16 เปอร์เซนต์ของรายได้
TT&T จ่ายให้ TOT ประมาณ 43 เปอร์เซนต์ของรายได้

จะเห็นได้ว่า AIS จะได้ประโยชน์สุดๆ
รองลงมาคือ SHIN ที่ถือหุ้น AIS อยู่มากที่ประมาณ 89% ของ NAV
ในส่วนของตัวอื่นๆก็จะได้ประโยชน์ลดหลั่นกันลงไป

ในความคิดส่วนตัวพวก FIXED LINE คือ TRUE และ TT&T คงต้องเสียค่าเชื่อมโยงโครงข่ายมากพอสมควร แต่ถ้าไม่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ก็คงทำให้ฐานะทางการเงินดีขึ้น

จะเห็นได้ว่าบริษัทที่เสียประโยชน์สุดๆ คือ TOT และ CAT โดยเฉพาะ TOT จะเสียประโยชน์มากสุด แต่ผมคิดค่า TOT คงไม่ยอมง่ายๆ เนื่องจากเป็นความเป็นความตายของบริษัท และเท่าที่ทราบสัญญาสัมปทานที่ TOT เซ็นไว้กับผู้ให้บริการเหล่านี้ ถือเป็น bilatteral แม้กระทั่งรัฐ(กระทรวง ICT) หรือแม้แต่ กทช. ก็ไม่สามารถบังคับให้ยกเลิกสัญญาได้ ถ้า TOT ไม่ยินยอม ก็คงต้องดูกันต่อไปว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป การเมืองจะมีอิทธิพลกับเรื่องนี้อย่างไร

เรื่องนี้คงเกี่ยวพันถึง Valuation ตัวหุ้นของ TOT และ CAT ที่คาดว่าจะเข้าตลาดปีนี้ด้วย
ล็อคหัวข้อ