ตะลึง ฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล 230 กิกะบิตต่อพื้นที่หนึ่งตร.นิ้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 2326
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึง ฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล 230 กิกะบิตต่อพื้นที่หนึ่งตร.นิ้ว
โพสต์ที่ 1
ตะลึง ฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล 230 กิกะบิตต่อพื้นที่หนึ่งตารางนิ้วฝีมือฮิตาชิ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 4 เมษายน 2548 16:34 น.
Updated ฮิตาชิประกาศความสำเร็จในการเก็บข้อมูลในฮาร์ดไดร์ฟที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง 230 กิกะบิตต่อพื้นที่หนึ่งตารางนิ้ว นี่จะเป็นความเป็นไปได้ในการเกิดฮาร์ดไดร์ฟจิ๋วหรือไมโครไดร์ฟความจุ 20 กิกะไบต์ และฮาร์ดไดร์ฟขนาด 3.5 นิ้วความจุเทราไบต์ (ล้านล้านไบต์) โดยฮิตาชิวางกำหนดการส่งผลิตภัณฑ์ไมโครไดร์ฟความจุมหาศาลเทคโนโลยีนี้ในปี 2007
ไมโครไดร์ฟความจุ 20 กิกะไบต์อาจจะนำไปสู่การเกิด 'iPod mini' ขนาด 20 กิกะไบต์ในอนาคต
การเพิ่มความจุบนพื้นที่ไดร์ฟขนาดเท่าเดิมสามารถทำได้โดยใช้แนวคิด perpendicular recording ซึ่งเป๋นการเพิ่มมิติในการจัดเก็บข้อมูลในแนวดิ่งหรือแนวตั้ง จากเดิมที่ฮาร์ดไดร์ฟเคยเก็บข้อมูลแบบ longitudinal recording ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลในแนวนอนหรือแนวราบอย่างเดียว
perpendicular recording ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่เพราะถูกคิดค้นมากว่าประมาณ 20 ปีแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีการนำมาใช้ในการผลิตอย่างเต็มตัว การบันทึกข้อมูลด้วยเทคโนโลยีนี้จะใช้การจัดเรียงสัญญาณแม่เหล็กบนชั้นบันทึกข้อมูล (recording layer) ในแนวตั้งฉากกับแผ่นจาน ตรงกันข้ามกับวิธีที่ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ longitudinal recording ที่จัดเรียงสัญญาณแม่เหล็กในแนวราบ
จุดท้าทายที่สำคัญของการนำเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลแบบ perpendicular มาใช้งานก็คือ แผ่นจานที่ใช้จะต้องมีชั้นของสารแม่เหล็กที่เป็น soft underlayer หรือ soft magnetic layer ซึ่งอยู่ถัดลงไปจากชั้นบันทึกข้อมูล เพื่อให้หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถเขียนและอ่านสัญญาณแม่เหล็กบนแผ่นจานในแนวตั้งฉากได้
"เราเน้นประเด็นการออกแบบหัวอ่านและตัวดิสก์ใหม่" บิลล์ ฮีลลี (Bill Healy) รองประธานอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การตลาดและผลิตภัณฑ์ของฮิตาชิ (Hitachi) กล่าว "สิ่งที่เราทำไปทั้งหมด คือการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแนวดิ่ง ที่เราทำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1950"
ฮิตาชิจะยังคงออกผลิตภัณฑ์ฮาร์ดไดร์ฟที่ใช้เทคนิคการเก็บข้อมูลแนวดิ่งออกมาเรื่อยๆจนถึงปลายปีนี้ โดยไดร์ฟใหม่แต่ละตัวที่ออกมาจะมีขนาดความจุที่ลดหลั่นลงไป ไล่ตั้งแต่ 130 กิกะบิต 150 กิกะบิตต่อตารางนิ้ว ซึ่งฮิลลีกล่าวว่าในอดีตที่ผ่านมา เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแนวดิ่งถูกตั้งเป้าว่าสามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุดเพียง 120 กิกะบิตต่อตารางนิ้ว
ฮิลลีกล่าวว่าฮิตาชิจะเริ่มทำการตลาดผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีเก็บข้อมูล 230 กิกะบิตต่อตารางนิ้วอย่างเป็นทางการในปี 2007 ซึ่งแน่นอนว่าจะครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ไมโครไดร์ฟอย่างเช่น ฮาร์ดไดร์ฟขนาด 1 นิ้วสำหรับอุปกรณ์พกพา และขนาด 3.5 นิ้วสำหรับคอมพิวเตอร์พีซี และเครื่องบันทึกภาพวีดีโอ ที่คาดว่าจะสามารถเก็บข้อมูลได้ถึงหน่วยเทราไบต์ (ล้านล้านไบต์)
ปัจจุบันนี้ไมโครไดร์ฟมีความจุสูงสุดที่ 6GB ส่วนความจุขนาดเทราไบต์นั้นมีเฉพาะในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องใช้ไดร์ฟหลายชิ้นมาประกอบกัน
ตัวแทนของฮิตาชิกล่าวเพิ่มเติมว่า ภายใน 5 ถึง 7 ปีข้างหน้า ขีดความสามารถในการเก็บข้อมูลของไมโครไดร์ฟน่าจะสูงสุดที่ 60GB
ขณะนี้เทคโนโลยีการผลิตฮาร์ดไดร์ฟความจุ 230 กิกะบิตยังอยู่ระหว่างการทดลองท่ามกลางพนักงาน ลูกค้า และทีมวิศวกรภายนอกหลายร้อยราย
"เรากำลังย้อนกลับไปพิจารณาประเด็นการทำงานที่สำคัญของฮาร์ดไดร์ฟอย่างละเอียด" ฮีลลีกล่าว "เราจะสร้างความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับคุณภาพและความเสถียรของผลิตภัณฑ์"
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 4 เมษายน 2548 16:34 น.
Updated ฮิตาชิประกาศความสำเร็จในการเก็บข้อมูลในฮาร์ดไดร์ฟที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง 230 กิกะบิตต่อพื้นที่หนึ่งตารางนิ้ว นี่จะเป็นความเป็นไปได้ในการเกิดฮาร์ดไดร์ฟจิ๋วหรือไมโครไดร์ฟความจุ 20 กิกะไบต์ และฮาร์ดไดร์ฟขนาด 3.5 นิ้วความจุเทราไบต์ (ล้านล้านไบต์) โดยฮิตาชิวางกำหนดการส่งผลิตภัณฑ์ไมโครไดร์ฟความจุมหาศาลเทคโนโลยีนี้ในปี 2007
ไมโครไดร์ฟความจุ 20 กิกะไบต์อาจจะนำไปสู่การเกิด 'iPod mini' ขนาด 20 กิกะไบต์ในอนาคต
การเพิ่มความจุบนพื้นที่ไดร์ฟขนาดเท่าเดิมสามารถทำได้โดยใช้แนวคิด perpendicular recording ซึ่งเป๋นการเพิ่มมิติในการจัดเก็บข้อมูลในแนวดิ่งหรือแนวตั้ง จากเดิมที่ฮาร์ดไดร์ฟเคยเก็บข้อมูลแบบ longitudinal recording ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลในแนวนอนหรือแนวราบอย่างเดียว
perpendicular recording ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่เพราะถูกคิดค้นมากว่าประมาณ 20 ปีแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีการนำมาใช้ในการผลิตอย่างเต็มตัว การบันทึกข้อมูลด้วยเทคโนโลยีนี้จะใช้การจัดเรียงสัญญาณแม่เหล็กบนชั้นบันทึกข้อมูล (recording layer) ในแนวตั้งฉากกับแผ่นจาน ตรงกันข้ามกับวิธีที่ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ longitudinal recording ที่จัดเรียงสัญญาณแม่เหล็กในแนวราบ
จุดท้าทายที่สำคัญของการนำเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลแบบ perpendicular มาใช้งานก็คือ แผ่นจานที่ใช้จะต้องมีชั้นของสารแม่เหล็กที่เป็น soft underlayer หรือ soft magnetic layer ซึ่งอยู่ถัดลงไปจากชั้นบันทึกข้อมูล เพื่อให้หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถเขียนและอ่านสัญญาณแม่เหล็กบนแผ่นจานในแนวตั้งฉากได้
"เราเน้นประเด็นการออกแบบหัวอ่านและตัวดิสก์ใหม่" บิลล์ ฮีลลี (Bill Healy) รองประธานอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การตลาดและผลิตภัณฑ์ของฮิตาชิ (Hitachi) กล่าว "สิ่งที่เราทำไปทั้งหมด คือการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแนวดิ่ง ที่เราทำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1950"
ฮิตาชิจะยังคงออกผลิตภัณฑ์ฮาร์ดไดร์ฟที่ใช้เทคนิคการเก็บข้อมูลแนวดิ่งออกมาเรื่อยๆจนถึงปลายปีนี้ โดยไดร์ฟใหม่แต่ละตัวที่ออกมาจะมีขนาดความจุที่ลดหลั่นลงไป ไล่ตั้งแต่ 130 กิกะบิต 150 กิกะบิตต่อตารางนิ้ว ซึ่งฮิลลีกล่าวว่าในอดีตที่ผ่านมา เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแนวดิ่งถูกตั้งเป้าว่าสามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุดเพียง 120 กิกะบิตต่อตารางนิ้ว
ฮิลลีกล่าวว่าฮิตาชิจะเริ่มทำการตลาดผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีเก็บข้อมูล 230 กิกะบิตต่อตารางนิ้วอย่างเป็นทางการในปี 2007 ซึ่งแน่นอนว่าจะครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ไมโครไดร์ฟอย่างเช่น ฮาร์ดไดร์ฟขนาด 1 นิ้วสำหรับอุปกรณ์พกพา และขนาด 3.5 นิ้วสำหรับคอมพิวเตอร์พีซี และเครื่องบันทึกภาพวีดีโอ ที่คาดว่าจะสามารถเก็บข้อมูลได้ถึงหน่วยเทราไบต์ (ล้านล้านไบต์)
ปัจจุบันนี้ไมโครไดร์ฟมีความจุสูงสุดที่ 6GB ส่วนความจุขนาดเทราไบต์นั้นมีเฉพาะในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องใช้ไดร์ฟหลายชิ้นมาประกอบกัน
ตัวแทนของฮิตาชิกล่าวเพิ่มเติมว่า ภายใน 5 ถึง 7 ปีข้างหน้า ขีดความสามารถในการเก็บข้อมูลของไมโครไดร์ฟน่าจะสูงสุดที่ 60GB
ขณะนี้เทคโนโลยีการผลิตฮาร์ดไดร์ฟความจุ 230 กิกะบิตยังอยู่ระหว่างการทดลองท่ามกลางพนักงาน ลูกค้า และทีมวิศวกรภายนอกหลายร้อยราย
"เรากำลังย้อนกลับไปพิจารณาประเด็นการทำงานที่สำคัญของฮาร์ดไดร์ฟอย่างละเอียด" ฮีลลีกล่าว "เราจะสร้างความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับคุณภาพและความเสถียรของผลิตภัณฑ์"
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
-
- Verified User
- โพสต์: 1260
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึง ฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล 230 กิกะบิตต่อพื้นที่หนึ่งตร.นิ้ว
โพสต์ที่ 2
1 byte = 8 bits
1 kilobyte (K / Kb) = 2^10 bytes = 1,024 bytes
1 megabyte (M / MB) = 2^20 bytes = 1,048,576 bytes
1 gigabyte (G / GB) = 2^30 bytes = 1,073,741,824 bytes
1 terabyte (T / TB) = 2^40 bytes = 1,099,511,627,776 bytes
1 petabyte (P / PB) = 2^50 bytes = 1,125,899,906,842,624 bytes
1 exabyte (E / EB) = 2^60 bytes = 1,152,921,504,606,846,976 bytes
เอาอัตราเทียบมาให้ดู
1 kilobyte (K / Kb) = 2^10 bytes = 1,024 bytes
1 megabyte (M / MB) = 2^20 bytes = 1,048,576 bytes
1 gigabyte (G / GB) = 2^30 bytes = 1,073,741,824 bytes
1 terabyte (T / TB) = 2^40 bytes = 1,099,511,627,776 bytes
1 petabyte (P / PB) = 2^50 bytes = 1,125,899,906,842,624 bytes
1 exabyte (E / EB) = 2^60 bytes = 1,152,921,504,606,846,976 bytes
เอาอัตราเทียบมาให้ดู
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4637
- ผู้ติดตาม: 1
ตะลึง ฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล 230 กิกะบิตต่อพื้นที่หนึ่งตร.นิ้ว
โพสต์ที่ 3
ต่อไป มนุษย์ คงผลิตฮาร์ดไดร์ฟ ที่ใช้เทคโนโลยี แบบเดียวกับ DNA ของสิ่งมีชีวิต
ขนาดเท่าอสุจิ 1 ตัว แต่บันทึกข้อมูลคนได้ 1 คน :lol: :lol:
ขนาดเท่าอสุจิ 1 ตัว แต่บันทึกข้อมูลคนได้ 1 คน :lol: :lol:
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึง ฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล 230 กิกะบิตต่อพื้นที่หนึ่งตร.นิ้ว
โพสต์ที่ 4
:lol: DNA ของมนุษย์มีประมาณ 3 พันล้าน record sperm 1 ตัวเก็บข้อมูล
ครึ่งนึง อีกครึ่งนึงอยู่ที่ ovum
ใน 3 พันล้านรายการ มีแค่ 3% เท่านั้นเองครับ ที่ใช้ในการสร้างร่างกายมนุษย์
อีก 97% เก็บข้อมูลอะไร ไม่มีใครรู้ นอกจากพระเจ้า
เมื่อ 15 ปีก่อน ผมเดาว่ากว่าเราจะเริ่มพูดถึงข้อมูล 1 TB กัน ก็คง 20 ปีขึ้นไป
เดาผิดครับ นี่ผ่านไปแค่ 10 ปีเศษ ก็มีคนพูดถึง 1 TB แล้ว
เทคโนโลยีนี่ไปเร็วกว่าที่คิดเยอะนะครับ ถ้ามี public demand
ครึ่งนึง อีกครึ่งนึงอยู่ที่ ovum
ใน 3 พันล้านรายการ มีแค่ 3% เท่านั้นเองครับ ที่ใช้ในการสร้างร่างกายมนุษย์
อีก 97% เก็บข้อมูลอะไร ไม่มีใครรู้ นอกจากพระเจ้า
เมื่อ 15 ปีก่อน ผมเดาว่ากว่าเราจะเริ่มพูดถึงข้อมูล 1 TB กัน ก็คง 20 ปีขึ้นไป
เดาผิดครับ นี่ผ่านไปแค่ 10 ปีเศษ ก็มีคนพูดถึง 1 TB แล้ว
เทคโนโลยีนี่ไปเร็วกว่าที่คิดเยอะนะครับ ถ้ามี public demand
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4637
- ผู้ติดตาม: 1
ตะลึง ฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล 230 กิกะบิตต่อพื้นที่หนึ่งตร.นิ้ว
โพสต์ที่ 5
น้อง CK ระหัส DNA ทั้ง 100% มันก็เก็บข้อมูลของ คนทั้งหมด
ทั้งรูปร่างหน้าตา ทั้งคุณสมบัติการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย
ทั้งคุณสมบัติในการผลิตสารเคมี ในส่วนต่างๆของร่างกาย
เพียงแต่นักวิทยาศาสตร์ ยังต้องค้นคว้าต่อไป เพื่อไขปริศนาให้ออก
แล้วนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการเก็บข้อมูล แทนระบบแม่เหล็ก
แต่คงยังอีกนาน
ทั้งรูปร่างหน้าตา ทั้งคุณสมบัติการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย
ทั้งคุณสมบัติในการผลิตสารเคมี ในส่วนต่างๆของร่างกาย
เพียงแต่นักวิทยาศาสตร์ ยังต้องค้นคว้าต่อไป เพื่อไขปริศนาให้ออก
แล้วนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการเก็บข้อมูล แทนระบบแม่เหล็ก
แต่คงยังอีกนาน
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
ตะลึง ฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล 230 กิกะบิตต่อพื้นที่หนึ่งตร.นิ้ว
โพสต์ที่ 7
:lol: :lol: :lol: :lol:
และสามารถหลุดพ้นจากการถูกโปรแกรมไว้และก็เข้าสู่ความเป็นตัวของตัวเอง
:lol: :lol: :lol: :lol:
และสามารถหลุดพ้นจากการถูกโปรแกรมไว้และก็เข้าสู่ความเป็นตัวของตัวเอง
:lol: :lol: :lol: :lol:
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึง ฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล 230 กิกะบิตต่อพื้นที่หนึ่งตร.นิ้ว
โพสต์ที่ 9
แม่นแล้วครับ Human Genome Project ครับหรือว่ารู้จากโครงการ จีโนม
3% ของ DNA มนุษย์ใช้ในการสร้าง Enzyme และโปรตีนต่างๆ
ส่วนที่เหลือ 97% เรียกว่า Introns ที่ยังไขปริศนาไม่ออกว่า
เอาไว้ใช้ทำอะไร เพราะดูเหมือนไม่มีประโยชน์อะไรทั้งสิ้น
สิ่งมีชีวิตระดับต่ำเช่น bacteria จะไม่มี introns เลย แต่ยีนของ
มนุษย์มี introns มากที่สุด
- มือเก่าหัดขับ
- Verified User
- โพสต์: 1112
- ผู้ติดตาม: 0
ตะลึง ฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล 230 กิกะบิตต่อพื้นที่หนึ่งตร.นิ้ว
โพสต์ที่ 12
ต่อไป คงได้ใช้ฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 200 GB (ตัวใหญ่ๆ ที่ใส่คอมพ์) ราคาพันบาท...
เป็นปกติของสินค้าไฮเทค... คือเมื่อเวลาผ่านไป จะ:
ดีขึ้น
ถูกลง
ลูกค้า -->
ผู้ผลิต -->
ลงทุนก็สูง, Fix Cost ก็มาก, อัตรากำไรดูเหมือนจะมาก แต่หากยอดขายไม่ถึง
ก็เดี้ยงเสียก่อนที่รายจ่ายคงที่, หนี้สินระยะยาวมักจะมาก, สินค้าตกรุ่นเร็ว นั่นคือ
ราคาขายจะตกดิ่งนรกอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับที่ออกขายใหม่ๆ
มีดีอย่างเดียว ตอนที่ทำกำไร หากมียอดขายสูงๆ คืนทุน + ได้กำไรชดเชยกับที่
จะรอดแหล่ไม่รอดแหล่ได้เกือบหมด แต่เหมือนกับเล่นล่องแก่งอย่างไรอย่างนั้น
เป็นปกติของสินค้าไฮเทค... คือเมื่อเวลาผ่านไป จะ:
ดีขึ้น
ถูกลง
ลูกค้า -->
ผู้ผลิต -->
ลงทุนก็สูง, Fix Cost ก็มาก, อัตรากำไรดูเหมือนจะมาก แต่หากยอดขายไม่ถึง
ก็เดี้ยงเสียก่อนที่รายจ่ายคงที่, หนี้สินระยะยาวมักจะมาก, สินค้าตกรุ่นเร็ว นั่นคือ
ราคาขายจะตกดิ่งนรกอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับที่ออกขายใหม่ๆ
มีดีอย่างเดียว ตอนที่ทำกำไร หากมียอดขายสูงๆ คืนทุน + ได้กำไรชดเชยกับที่
จะรอดแหล่ไม่รอดแหล่ได้เกือบหมด แต่เหมือนกับเล่นล่องแก่งอย่างไรอย่างนั้น
คนอื่นเขาสะสมอย่างอื่น เราขอสะสมความดี, ความรู้, ประสบการณ์, เงินทอง, กับหุ้นก็แล้วกัน
http://www.muegao.blogspot.com หุ้น การเงิน การลงทุน ธุรกิจ
http://www.muegao.blogspot.com หุ้น การเงิน การลงทุน ธุรกิจ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
ตะลึง ฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล 230 กิกะบิตต่อพื้นที่หนึ่งตร.นิ้ว
โพสต์ที่ 13
เทคโนโลยี เปลี่ยนเร็ว มากๆ เด๊ยวก็ตกรุ่น ตกยุค แล้วครับ หรือไม่ก็ตกรถไฟ.....
หรือไม่ก็ไหลกลับมาเหยียบ ....... :lol:
หรือไม่ก็ไหลกลับมาเหยียบ ....... :lol:
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์