ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

การลงทุนอื่นๆนอกจากหุ้น วีไอ กองทุนรวมชนิดต่างๆ RMF LTFตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ อนุพันธ์ และเกษตรล่วงหน้า
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 31

โพสต์

ขอบคุณคุณ picatos ครับที่แชร์ไอเดีย

ปกติผมเดินทางไปเที่ยวประเทศไหน ผมมักจะใช้ trivago.com หรือเว็บที่คล้ายๆกันครับ เว็บพวกนี้จะไปดึงราคาจากเว็บอย่าง Booking.com, Expedia, HRS, Agoda, etc. แล้วมาเรียงอันดับตามโปรโมชันราคา อาหารเช้า ประเภทห้อง

คนยุโรปกลางหลายคนนิยมใช้พวกนี้กันครับเพราะเปรียบเทียบกันง่ายดี ส่วนใหญ่ก็เลือกราคาที่ถูกที่สุด เจ้าไหนก็ได้ หรือถ้าราคาเท่ากันก็เลือกเจ้าที่เคยใช้มาก่อน ซึ่งผมเองก็ใช้มาหลายเจ้าเลยไม่ได้มองว่าเจ้าไหนมีจุดแข็งอะไร

ในด้านบวก ผมเข้าใจว่าบริษัทเทคโอเวอร์เว็บจองโรงแรมในหลายๆทวีป และทุกครั้งที่ได้มาบริษัทก็เหมือนจะมีอำนาจต่อรองและลดต้นทุนลงได้ บริษัทเลยมี NPM ที่ค่อนข้างสูง

แต่ผมสงสัยว่าธุรกิจนี้พอพ้นช่วงเติบโตไปแล้ว มันจะเป็นธุรกิจคอมโมดิตี้หรือเปล่าครับ? ในเมื่อสินค้าไม่ได้แตกต่างกันกับเจ้าอื่น คู่แข่งก็สามารถเข้ามาในตลาดได้ง่าย เมื่อก่อนจะมีคูปองแพ็คเกจขายรวมเป็นเซ็ตๆ เช่น 49 ยูโร เลือกพักโรงแรมไหนก็ได้สามวันสองคืน พวกนี้ก็เริ่มเข้ามาขายในตลาดออนไลน์กันแล้ว แม้จะยังทำได้ไม่ดีนัก

นอกจากนั้นลูกค้าเดิมที่เป็นผู้บริหารโรงแรมก็มีสิทธิ์มาเปิดแข่งได้ เช่น ibis เองนั้นหากจองในเว็บของ accor ก็มักจะได้ราคาพอๆกันกับซื้อผ่านนายหน้า อาจจะดีกว่าด้วยเพราะข้อมูลลูกค้าจะอยู่ในระบบของโรงแรมโดยลูกค้าไม่ต้องพิมพ์ใบยืนยันการจองไปเผื่อ

ถ้าสุดท้ายแล้วมันกลายเป็นธุรกิจคอมโมดิตี้จริงๆ (ซึ่งผมไม่รู้ว่าจะเป็นหรือเปล่า) NPM ก็น่าจะหดตัวลงหรือเปล่าครับ? เหมือนอย่างที่เอเยนซี่สายการบินที่ค่อยๆปิดตัวลงเพราะไม่ได้กำไร

เท่าที่ผมอ่านบทความของนักวิเคราะห์ บางท่านนั้นจัดบริษัทไว้ในหมวดเท็คโนโลยี เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นฐานได้ง่าย หากมีบริษัทที่เป็นช่องทางหลักของผู้บริโภคอย่าง Google, Apple ลงมาเล่นด้วย และถ้า PCLN พึ่งทราฟฟิคจากกูเกิลอย่างที่คุณ picatos บอก ผมว่ามันก็อาจเป็นจุดอ่อนในอนาคตได้ครับหากกูเกิลจะลงมาทำเองแล้วปิดช่องทางนี้ไป
Vi IMrovised
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 32

โพสต์

หลังๆ ผมสังเกตว่าราคาเท่ากันครับ เพราะ ถ้าไม่ทำเท่ากัน คนที่จะมีปัญหาคือตัวโรงแรม ส่วนในพวกเครือข่ายนี่ ผมเข้าใจว่าเป็นโมเดลธุรกิจแบบเก่า ในสมัยที่เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่ก้าวหน้า คนลงทุนในโรงแรมยอมมี่จะเอาแบรนด์ของผู้บริหารมาแปะ เพื่อช่วยใยหลายๆ เรื่อง แต่การเข้ามาของ booking agency น่าจะช่วยให้คนทำธุรกิจโรงแรมมีทางเลือกมากยิ่งขึ้น

ส่วนการแข่งขันนี่ คุณ viim ลองไปดู financial performance ของ Expedia Orbitz เทียบกับทาง price line ดูอาจจะพอเห็นภาพว่า จริงๆ แล้วธุรกิจนี้ไม่ได้เป็น commodity ซะทีเดียว มันมีความสามารถในการบริหารจัดการบางอย่สงที่ทำให้ pcln แตกต่างจากคู่แข่ง ในการที่จะทำให้ลูกค้าได้พักในโรงแรมทีเหมาะสม และมั่นใจ ซึ่งผมค่อนข้าง happy กับการลงทุนในกิจการนี้ ลองดูไปยาวๆ

อย่างเว็บเทียบราคานี่ ล่าสุด pcln ก็พึ่งจะไป take over KAYAK มา ซึ่งผมชอบบริการของ KAYAK เค้านะ ลองใช้ app เค้าแล้ว ใช้ง่ายดี

แต่ก็อ่ะนะ... ผมก็วิเคราะห์มั่วๆ ผิดๆ ถูกๆ แล้วก็ไม่รู้เหมือนกันว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร... เห็นหุ้นขึ้น เลยวิญญาณเม่าเข้าสิง 55
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 33

โพสต์

เพิ่มนิดนะครับ ผมว่าโครงสร้างตลาดแข่งขันของสายการบินนี่ค่อนข้างต่างกับโรงแรมอยู่พอสมควร ทางสายการบินนี่เค้ามี EoS ที่จะตัดตัวกลางออก แถมความแตกต่างในการบริการระหว่างสายการบิน ไม่เหมือนกับโรงแรม switching cost นี่คนละโครงสร้าง แต่ก็ไม่แน่เหมือนกันนะครับ ที่อาจจะเลือดสาดได้ ซึ่งผมก็ได้แต่ภาวนาว่า จะไม่เป็นเหมือนธุรกิจ agency สายการบิน

สรุป จะลงทุนใน pcln นี่ผมคงต้องไหว้พระสวดมนต์เยอะๆ หน่อย น่ากลัวเหลือเกิน 555
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 34

โพสต์

ผมก็คนนึงที่ชอบใช้บริการของทั้ง booking.com และ agoda.com ครับ
และก็ได้ใช้บริการทั้ง 2 ฝั่งคือฝั่ง hotelier และ customer
(แต่ที่น่าเสียดายคือพึ่งมารู้ว่า มีหุ้นให้ซื้อด้วย :B)

ผมมองว่าทั้ง booking.com และ agoda ธุรกิจเสมือนเป็น retailer/e-tailer ครับรับฝากขายสินค้า
ส่วนบรรดาพวก partner เจ้าของ hotel /B&B ก็เหมือนผู้ผลิตที่นำสินค้าตัวเองมาฝากขาย

ที่ไหนมีชื่อเสียง ขายสินค้าได้ ยอด booking เยอะ บรรดา hotelier ก็เข้าไปใช้บริการครับ
เพราะอย่างที่ booking.com และ agoda.com นี่ partners ไม่ต้องเสียค่าบริการพวกค้าแรกเข้าเลยครับ แค่แบ่ง commission ให้เท่านั้นเอง ผมเลยว่านี่อาจจะเป็นสาเหตุที่นึงที่ทำให้บรรดาโรงแรมต่างๆมาใช้บริการกันมาก

ในสมัยก่อน asiarooms.com ของ tui travel PLC(ticker:tt/) การเข้าไปขายห้องพักใน asiarooms ต้องเสียค่าใช้บริการเป็นรายปีด้วย พอ agoda ดัง asiarooms ก็หันมาปรับใช้กลยุทธ์ยกเลิกค่าบริการเหมือนกันครับ เพราะหากทางโรงแรมต้องเสียค่าบริการรายปีใน asiarooms ก็มักจะให้ส่วนลดค่าห้องที่น้อยกว่า เวลาเปรียบกับเว็บอื่นราคาห้องเลยมักจะแพงกว่า

คราวนี้ถ้าทุกเว็บใช้รูปแบบเหมือนๆกัน บรรดาโรงแรมต่างๆก็จะแห่กันไปใช้บริการขายห้องพักอยู่แล้วเพราะไม่มีต้นทุน และได้ช่วยเพิ่มช่องทางขาย ค่าห้องพักของโรงแรมแต่ละที่ก็จะเท่าๆกัน เห็นด้วยกับคุณ vim ว่าคงต้องไปพี่งตัว traffic ซะส่วนใหญ่ครับ ส่วนจุดแตกต่างด้านอื่น เช่นการบริการลูกค้าที่ครอบคลุมมากกว่า (การไปตั้ง office ในแต่ละประเทศ) ตอนนี้ดู PCLN จะดีกว่าเจ้าอื่นๆครับ

สรุปแล้วขอติดตามด้วยคนครับ หลับตานึกภาพการแข่งขันในอนาคตแล้วก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าจะเป็นยังไงหากมีคู่แข่งขันรายใหญ่เข้ามาแข่งด้วย แต่ปัจจุบันนี้ ผมคิดว่า PCLN ยังชนะและเหนือคู่แข่งที่มีในตลาดอยู่เยอะครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
sssjjjj
Verified User
โพสต์: 534
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 35

โพสต์

เดี๋ยวนี้ไปต่างประเทศ ถ้าผมไม่เน้นอะไรมาก ผมใช้ AirBnB ครับ ถูกสุด เพราะว่าเป็น ห้องพักที่รายย่อยนำมาปล่อยเช่า แต่ต้องทำใจว่า ไม่ใช่โรงแรม คุณภาพการบริการ เค้าไม่มีอะไรมากนัก

อีกอันที่คิดว่าจะใช้แต่ยังไม่ได้ลองก็คือพวก จองโรงแรม ในวันนั้นเลยแบบ Hotel Tonight พวกนี้ ในเอเชียมีทำเหมือนกันคือ HotelQuickly
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 36

โพสต์

kotaro เขียน:ผมก็คนนึงที่ชอบใช้บริการของทั้ง booking.com และ agoda.com ครับ
และก็ได้ใช้บริการทั้ง 2 ฝั่งคือฝั่ง hotelier และ customer
(แต่ที่น่าเสียดายคือพึ่งมารู้ว่า มีหุ้นให้ซื้อด้วย :B)

ผมมองว่าทั้ง booking.com และ agoda ธุรกิจเสมือนเป็น retailer/e-tailer ครับรับฝากขายสินค้า
ส่วนบรรดาพวก partner เจ้าของ hotel /B&B ก็เหมือนผู้ผลิตที่นำสินค้าตัวเองมาฝากขาย

ที่ไหนมีชื่อเสียง ขายสินค้าได้ ยอด booking เยอะ บรรดา hotelier ก็เข้าไปใช้บริการครับ
เพราะอย่างที่ booking.com และ agoda.com นี่ partners ไม่ต้องเสียค่าบริการพวกค้าแรกเข้าเลยครับ แค่แบ่ง commission ให้เท่านั้นเอง ผมเลยว่านี่อาจจะเป็นสาเหตุที่นึงที่ทำให้บรรดาโรงแรมต่างๆมาใช้บริการกันมาก

ในสมัยก่อน asiarooms.com ของ tui travel PLC(ticker:tt/) การเข้าไปขายห้องพักใน asiarooms ต้องเสียค่าใช้บริการเป็นรายปีด้วย พอ agoda ดัง asiarooms ก็หันมาปรับใช้กลยุทธ์ยกเลิกค่าบริการเหมือนกันครับ เพราะหากทางโรงแรมต้องเสียค่าบริการรายปีใน asiarooms ก็มักจะให้ส่วนลดค่าห้องที่น้อยกว่า เวลาเปรียบกับเว็บอื่นราคาห้องเลยมักจะแพงกว่า

คราวนี้ถ้าทุกเว็บใช้รูปแบบเหมือนๆกัน บรรดาโรงแรมต่างๆก็จะแห่กันไปใช้บริการขายห้องพักอยู่แล้วเพราะไม่มีต้นทุน และได้ช่วยเพิ่มช่องทางขาย ค่าห้องพักของโรงแรมแต่ละที่ก็จะเท่าๆกัน เห็นด้วยกับคุณ vim ว่าคงต้องไปพี่งตัว traffic ซะส่วนใหญ่ครับ ส่วนจุดแตกต่างด้านอื่น เช่นการบริการลูกค้าที่ครอบคลุมมากกว่า (การไปตั้ง office ในแต่ละประเทศ) ตอนนี้ดู PCLN จะดีกว่าเจ้าอื่นๆครับ

สรุปแล้วขอติดตามด้วยคนครับ หลับตานึกภาพการแข่งขันในอนาคตแล้วก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าจะเป็นยังไงหากมีคู่แข่งขันรายใหญ่เข้ามาแข่งด้วย แต่ปัจจุบันนี้ ผมคิดว่า PCLN ยังชนะและเหนือคู่แข่งที่มีในตลาดอยู่เยอะครับ
พี่ Kotaro ช่วยเล่าให้ฟังในฝั่ง Hoteler หน่อยได้ไหมครับ ว่าเค้าคิดส่วนแบ่งกันยังไง ถ้าเราจะ promote เค้าขะคิดราคาเรายังไง รวมไปถึงเปรียบเทียบให้ฟังหน่อยได้ไกมครับว่า เท่าที่ใช้บริการ ใครดี ใครเสียตรงไหน พี่ชอบใครมากกว่า ในฐานะ hoteler ครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 37

โพสต์

ปกติแล้วคิดเป็น commission นะครับ
ว่าจะให้ทาง booking.com หรือ agoda.com เท่าไหร่

ทางโรงแรมเป็นคนกำหนดเอง แต่ระบบมีขั้นต่ำนะครับ เช่นไม่ต่ำกว่า 15%(จำเป๊ะไม่ได้) คราวนี้ถ้าทางโรงแรมอยากได้ rank ดีๆก็เพิ่ม commission ให้เยอะๆครับ ในระบบหลังร้าน เค้ามี rank ให้เราดูด้วยครับว่า commission ที่ทางโรงแรมให้ไปนั้นเปรียบเทียบกับคู่แข่งโรงแรมอื่นใน area ของเรา แล้วเราอยู่ rank เท่าไหร่

มีระบบโปรโมรชั่น สำหรับทางโรงแรมด้วยครับว่าอยากเพิ่มโปรโมรชั่นอะไรเพิ่มเติมก็ทำได้ ว่าถ้าเราอยากได้ conversion rate (อัตราส่วนคนที่เข้ามาดูเว็บ/คนที่ booking) ที่มากขึ้น ก็เล่น promotion เพิ่มเติมได้

ส่วนตัวผมก็ไม่ได้ดูระบบจองทางเน็ตมากนักครับ รู้แต่ระบบหลังร้านสำหรับ hotelier partner นี่ของ booking.com และ agoda.com นี่ถือว่าดีเลยครับ มี report ให้ดูค่อนข้างครบ และมีลูกเล่นค่อนข้างเยอะ หากเปรียบเทียบกับ venere.com กับ asiarooms.com ครับ

ประสพการณ์ส่วนตัวที่ไม่ชอบคือไม่ชอบ venere.com ครับ คิดว่าบริการไม่ดีและระบบ invoice มีปัญหาบ่อยๆ

ที่ชอบเรื่องบริการสุดก็เป็น agoda.com นะครับ แต่คิดว่าเค้าน่าจะเด่นกว่าอยู่แล้วในแถบเอเชีย ส่วน booking.com น่าจะ service ดีในทางยุโรปนะครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 38

โพสต์

ไม่ได้เข้า 1วัน ความเห็นดีๆเพียบเลย ขอบคุณมากครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 39

โพสต์

พี่ Kotaro ครับ ผมเวลาเลือกโรงแรม ผมชอบดูพวก user rating และ review ไม่ทราบว่าพวกนี้นี่เชื่อได้ขนาดไหน เจ้าของแต่งตัวเลขได้มากน้อยขนาดไหนครับ?

อยากถามมุมมองในการลงทุนของพี่อีกด้วยว่า อย่าง pcln นี่พี่ในฐานะที่เป็นทั้งผู้ใช้บริการทั้ง 2 ฝั่ง อีกทั้งเป็นนักลงทุน พี่คิดว่า pcln มีความแข็งแกร่งขนาดไหนสำหรับธุรกิจในพอร์ตที่เค้ามีอันได้แก่ booking.com agoda.com kayak rentalscar.com พี่คิดว่ากิจการแบบนี้ในอนาคตจะเป็น commodity อย่างที่พี่ vim ว่าเอาไว้ไหมครับ หรือว่ามันมีข้อได้เปรียบบางอย่างที่ทำให้ hotelier และ ผู้เข้าพัก อยู่กับกิจการในระยะยาว โดยที่คู่แข่งมาแย่งลูกค้าไปได้ยากครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 40

โพสต์

พี่ Kotaro ครับ ผมเวลาเลือกโรงแรม ผมชอบดูพวก user rating และ review ไม่ทราบว่าพวกนี้นี่เชื่อได้ขนาดไหน เจ้าของแต่งตัวเลขได้มากน้อยขนาดไหนครับ?
ถ้าเป็น agoda.com และ booking.com นี่คนที่ review ได้ต้องเป็นคนที่ไป booking และพักจริงนะครับ การแต่งตัวเลขคิดว่าไม่มีหรือก็มีน้อยมาก ไม่เหมือน tripadvisor ที่ใครก็ review ก็ได้ จำได้ว่ามีการปั่นตัวเลขผ่าน tripadvisor ได้ง่ายๆเลยครับ (ไม่รู้ตอนนี้เปลี่ยนหรือยัง)

agoda.com และ booking.com จะมีการให้เฉพาะคนที่ booking ทางเค้า review เท่านั้น แต่เคยเห็นบางโรงแรมมีการ offer อะไร ให้แขกที่มาพักพยายาม positive review โรงแรมตัวเอง เคยเห็นมีคอมพิวเตอร์เปิดหน้า agoda ที่ lobby แล้วเชิญแขกในโรงแรม review แล้วมีของ premium แจกด้วย แบบนี้ไม่รู้ว่าแต่งตัวเลขหรือเปล่านะครับ เพราะแขกที่ review ต่อหน้าส่วนใหญ่น่าจะรีวิวในทาง over positive นะครับ แต่จำนวน review แบบนี้ก็ไม่น่าเยอะมากนะ

ส่วนตัวผมก็ชอบดูการ review ตอนหาโรงแรมที่จะไปพักเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ผมให้น้ำหนักที่จำนวน review ด้วยครับ ที่น่าเชื่อถือคือจำนวนรีวิวเยอะๆ ครับ เช่นหากมีคนรีวิว แค่ 1-2 คนแต่ rating ได้เกือบเต็ม 10 อันนี้ก็ไม่ค่อยกล้าเชื่อครับ

ส่วนการแข่งขันในอนาคน ส่วนตัวผมไม่ได้มองว่าจะถึงขนาดเป็นแบบ commodity นะครับ เพราะคิดว่ายังมีปัจจัยอื่นๆอีกครับนอกจากราคา ที่ทำให้คนเลือกใช้บริการ เช่นการบริการที่เหนือกว่า เวลาลูกค้ามีปัญหาในการจองห้องพัก ชื่อเสียงเว็บ/ความน่าเชื่อถือ หรือการบริการด้านทางโรงแรมที่เป็น partner อย่าง booking.com เร็วๆนี้ก็มีบริการพิเศษ มีทีมงานคนไทย มีเบอร์ไทยสำหรับโรงแรมเอาไว้ติดต่อฉุกเฉินครับ

สิ่งที่ทำให้ hotelier ยังคงอยู่ ก็คือยังมี booking ที่ดีครับ แม้เว็บอื่นจะทำแบบเดียวกัน hotelier ก็ไปครับ แต่ booking.com/agoda.com บริการดีกว่า ยอด booking มากกว่า ทาง hotelier ก็คงเทน้ำหนักมาทางนี้มากกว่า เวลาห้องพักมีจำกัด การจัดสรร allotment ห้องพัก ผมเชื่อว่าน่าจะให้ทาง booking หรือ agoda มากกว่า

ส่วนผู้เข้าพัก คงดูราคาห้องพักเป็นหลัก แต่ถ้าราคาเท่ากัน คงดูบริการเหมือนกันนะ การจ่ายเงิน ว่าตัดบัตรเครดิตเลยไหม หรือว่าไปจ่ายที่โรงแรมได้ การมีสิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกเพิ่มเติมไหม อันนี้ที่น่าจะเป็นจุดแตกต่างหลักๆในการแข่งขันธุรกิจแบบนี้นะครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 41

โพสต์

ขอบคุณ พี่ Kotaro มากเลยครับสำหรับความเห็นดีๆ

พอดีผมเป็นเด็กขี้สงสัย เป็นเข้าหนูจัมมัย ขออนุญาตถามอีกหน่อยนะครับ

ผมสงสัยว่าเวลาเราไปเที่ยวการจองโรงแรมล่วงหน้านานขนาดไหนถึงจะได้ราคาดีที่สุด พี่มีกลยุทธ์ในการตั้งราคา กลยุทธ์ในการปรับราคาตามช่วงเวลาการของล่วงหน้าเป็นอย่างไร แล้วอย่างกรณีที่เป็นพวก free cancellation นี่เท่าที่พี่เคยเจอ สัดส่วนการยกเลิกสำหรับคนที่ของเข้ามาล่วงหน้านี่มากน้อยขนาดไหนครับ?
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 42

โพสต์

น้อง picatos ครับ เรื่องกลยุทธ์ตั้งราคานี่ ของผมไม่มีอะไรมากเลยครับ ตั้งราคาขายตามช่วง high/low season ครับ
จริงๆแล้ว ต้องบอกก่อนนะครับ ว่าเป็นรีสอร์ทเล็กๆ(ลากเสียงหน่อย) นะครับ อย่านึกภาพว่าใหญ่โตขนาด centel หรือ รรในเครือ minor เด็ดขาด

กลับมาเรื่องราคา ปกติทางโรงแรมก็จะส่งตัว contract rate เป็นรายปีไปให้ทาง agency ครับ room rate นี่ก็จะแตกต่างกันตามช่วง high/low season และก็ช่วง weekday กับ weekend นะครับ บางโรงแรมก็แบ่งละเอียดกว่านั้น เป็น very high season,high season,low season และ very low season ครับ

มีรีสอร์ทที่เกาะช้าง เป็นรีสอร์ทดัง ชอบบอกว่าทำรีสอร์ทเนี่ยะ low season นี่เป็นของจริงครับ ถ้าเข้า low season แล้วตัวเลขไม่ค่อยเปลี่ยน ราคาที่ตั้งไปแล้วก็ใช้ได้ตลอด แต่ช่วง high season เนี่ยะเป็นมายา เปลี่ยนได้ และเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือเลย แบบหลายปีก่อนที่ปิดสนามบินในช่วงนี้หละครับ ราคาที่ตั้งไว้ก็ต้องปรับรูดลงเลย 55

ส่วนการจอง รร. ช่วงไหนต่ำสุด ก็ต้องเป็นช่วง low season และถ้าเป็น weekday ก็จะถูกลงอีกครับ โดยเฉพาะ รร ที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว

ส่วนจองนานขนาดไหนถึงถูก อันนี้ก็เป็นนโยบายแต่ละที่ครับ ปกติก็จะมีส่วนลดสำหรับ early booking นะครับ แต่ส่วนใหญ่ที่เห็นจะกำหนดไปเลยว่าจองก่อน 30 วันลด 10% ก็จะมีแค่ขั้นเดียวครับ จองก่อน 30 วัน หรือ 40 วันก็ได้ส่วนลดเท่ากัน

ส่วน cancel per booking แบบ no show ผ่าน booking.com ของผมนี่ high single digit ครับ แต่ไม่รู้ที่อื่นเป็นไงนะครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1496
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 43

โพสต์

ส่วน cancel per booking แบบ no show ผ่าน booking.com ของผมนี่ high single digit ครับ แต่ไม่รู้ที่อื่นเป็นไงนะครับ
ดูใหม่ ตัวเลข cancel per booking ผ่าน booking.com ที่เป็น high single digit ครับโดยเป็นยอดรวมแล้วทั้ง คนที่จองมาแล้วขอ cancel และแบบคนที่ไม่ได้ทำเรื่อง cancel แต่ไม่มาพัก(no show) ครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 44

โพสต์

ขอบคุณพี่ Kotaro มากเลยครับ

:bow:

ตอนนี้ก็รอแค่ผลประกอบการที่จะประกาศในคืนนี้ ตื่นเต้นๆ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 45

โพสต์

มานั่งอ่าน Comment ของเพื่อนๆ พี่ๆ แล้วประมวลความคิดดู... โอกาสตายของ PCLN น่าจะอยู่ที่ มีใครสักคนที่มีเงินทุนสูงเข้ามา Disrupt ตลาดการจองโรงแรม โดยไม่คิดค่า Commission จากทีเคยคิดกันขั้นต่ำ 15% แล้วไปใช้โมเดลในการโฆษณาเอา หรือไม่ก็ใช้เป็นโมเดลเป็น Real-time Auction เป็น Exchange Market แบบพวก Google หรือ Facebook ในการโปรโมตคนที่เข้ามาใช้บริการ หรือ ขายโฆษณา

ระบบที่พัฒนาขึ้นจะต้องมีระบบหลังบ้านที่ลูกค้ากับโรงแรมเป็น End-to-End ให้ลูกค้า Push Order ไปที่โรงแรมโดยตรง การจองจะเหมือนกับจองกับทางโรงแรมโดยตรง ไม่ผ่านตัวกลาง ซึ่งหากมีคนเข้ามาทุบตลาดแบบนี้ น่าจะยึดตลาดของ Hotelier ได้ไม่ยาก ราคาห้องจะถูกกว่าคู่แข่ง... แต่สิ่งที่ขาดไป คือ Service ที่ได้รับในกรณีเกิดปัญหา

หากเกิดเคสแบบนี้ขึ้น ก็จะเหมือนกับตลาดอื่นๆ ที่ต้นทุนตัวกลางหายไป... Revenue Model เป็นรายได้ค่าโฆษณา หรือ โปรโมต จากการสร้าง Traffic แทน... เจ้าตลาดเดิมอาจจะโดนจัดหนัก เลือดสาดได้
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 46

โพสต์

ขอบคุณทุกความเห็นนะครับ อ่านแล้วได้ความรู้มากขึ้นเยอะเลย คือในใจผมเองนั้นก็สับสนในตัวเอง ใจหนึ่งนั้นคิดว่าเจ้านี้นั้นน่าจะเป็นผู้ชนะในธุรกิจนี้ แต่อีกใจหนึ่งนั้นก็กลัวว่าพื้นฐานมันจะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เวลาเขียนออกมาผมมักจะเขียนถึงประเด็นที่ผมกลุ้มใจอยู่แค่บางประเด็น

งบออกแล้วนะครับ สดๆร้อนๆพร้อมๆกับ Disney

priceline.com Q3 2013 Quarterly Earnings
http://ir.priceline.com/results.cfm

เปิดกระทู้ใหม่เลยไหมครับ :mrgreen:
Vi IMrovised
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 47

โพสต์

My valuation of Priceline.com assuming rapid deceleration but able to survive in a highly competitive market (i.e. terminal growth rate of 0%).
แนบไฟล์

Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 48

โพสต์

บทความน่าสนใจจาก SeekingAlpha เปรียบเทียบระหว่างโมเดลธุรกิจของ PCLN และ Expedia ครับ

http://seekingalpha.com/article/1816582 ... day-season

Priceline And NYC & Company: Ready To Create Wonders This Holiday Season
Nov 7 2013, 10:03 | 1 comment | about: PCLN BOOKMARK / READ LATER

Priceline.com, Inc. (PCLN) is an online travel company that provides reservation services to customers around the globe via 295,000 holding properties, through its Booking.com and Agoda.com brands. Additionally, Priceline.com also offers car rental services through Rental.com at 6,000 global locations.

The Success Story of Booking.com

Priceline, an Amsterdam-based online hotel reservation company, acquired Booking.com in July 2005. As a result of this, Priceline was awarded with an access to 18,000 properties in Europe. This was the beginning of the company's successful expansion journey. The company now works with over 275,000 properties in 175 countries. The international business, primarily operated through Bookings.com, embodied about 82% of its gross travel bookings (a statistical metric denoting the total dollar value, generally inclusive of all taxes and fees, of all travel services obtained by customers) in 2012.

The brand's latest partnership with NYC & Company (nycgo.com), New York City's tourism organization, in September 2013, had a positive impact on the financial and business performance of the company as a whole.

The Agency Model Vs. the Merchant Model

This brand operates using the agency model. Under this model, hotels can establish their own rates and room provisions and collect payment from patrons using the website's extranet. Benefits of the agency model can be seen in the company's remarkable growth in Europe. This model allows the guests to pay after their stay and online travel agencies (OTA) earn a commission from the payment. The merchant model was adopted by Priceline's major competitor Expedia (EXPE). This model offers OTAs a higher margin as users bid for an OTA's services and the booking process is concluded on the OTA's website.

The agency model proved to be an attractive approach to the visitors in Europe as they can now pay less commission. They only pay a 15% commission as compared to the 25%-30% commission charged by other OTAs. The competitors found difficulty in adopting this model because it would result in the OTAs earning a lower percentage of commission. However, consumers favor this model since it allows them to make payments at the end of their stay.

Competitive Landscape

Priceline operates in a highly competitive market and one of its biggest rivals is Expedia. Expedia tried to adopt the agency model by acquiring the Italian company Venere, in 2008, because this company operated using the agency model. However, Expedia did not gain the success it expected due to the fact that Priceline was able take benefits from keeping original competent management of the brand it acquired from Europe. Priceline supported the brand's wish to operate autonomously. The number of hotels in collaboration with the brand funded its impressive growth and victory over its competitors.

In Europe, the company has a 47% stake in the gross booking of online travel agencies, while Expedia has a 45% stake in OTA gross bookings. Early adoption of the agency model by Priceline has also created the opportunity for more innovative OTA models that offer the company a competitive edge over late comers, who are just converting to the agency model. Additionally, Expedia has been running both models till now which has created confusion among users and has made the booking process too complex for its visitors. Expedia has also experienced difficulty in applying and running the model.

Current Activities and Position in the Market

Priceline launched its leading ad campaign for the brand in the U.S. at the start of 2013. Through the ad campaign, the company was able to increase its popularity among American travelers. In May 2013, Priceline succeeded in outperforming Expedia's Hotels.com, as one of the most prominent travel sites in the U.S. In addition to this, Priceline's partnership with NYC & Company has allowed the brand to strengthen the city's official tourism website. Currently, the company provides access to nearly 65,000 of the 98,000 hotel rooms in NYC.

Priceline's bookings brand is alleged to be one of the most searched travel sites on Google. This may be attributed to the company's ability to inject more money into search engine marketing, since the conversion rates on its landing pages are better off in the competition. So, the large scale of the company's operations allows for financial freedoms such as developing the effectiveness of its website structure and landing pages. The websites are available in 41 languages to ensure that lookers become bookers. Another beneficial strategy was the acquisition of hotel search engine Kayak Software Corp., which will attach profitable search tools to the company's services and assist visitors in booking flights and hotels online.

Favorable Seasonal Factors

September to December is deemed to be the peak season for tourism and holiday spending in New York City due to favorable autumn and various holidays such as Halloween, Thanksgiving, and Christmas. The city accommodates around 50 million foreign and American tourists each year and has the highest hotel occupancy rates in the country. Despite the global economic crisis, the growth in visitors to the city has been attained through hefty discounts and value-added services.

NYC & Company and Booking.com

NYC & Company is the official visitor bureau of NYC and handles approximately one-third of all overseas travel to the U.S. International travelers contribute only 20% of the city's visitor volume and about 50% of the total spending. The main duties of the company include the maximization of traveling and tourism opportunities in order to improve economic prosperity and portray a positive image of the New York City.

Growth Potential in the Market

The chart above shows the predicted visitor growth for NYC. As many as 53 million tourists are expected to visit the city by the end of 2013 continuing the trend of 50 million travelers visiting the city every year. This number is expected to grow to more than 100 million visitors by 2016. This growth will lead to the sustainability of revenues and profits of the brand in the long run. Independent hotels are becoming predominantly OTA-dependent. On average, more than 42% of the rooms of independent hotels are reserved using an online booking service. Merely 24% of these rooms are booked using the hotel website whereas more than 76% are booked through OTAs.

Conclusion

The partnership with NYC & Company in September, during the peak season of tourism, was an excellent strategy. Healthy earnings will be reported by Nov. 7, 2013. There are expectations of incremental bookings, revenues and incomes generated by this partnership and the company can benefit from the marketing expertise of NYC & Company. This will allow Priceline to save on costs since it has been increasing its advertisement expense by heavily relying on advertising through Google. Also, the effective usage of the agency model has provided the company with an edge over its competitors. The U.S. market has been accommodating more consolidation in this sector and the company's strategies are in line with the market trend. So, a boost in the company's operating margins can be anticipated. This is expected to increase the company's share price as an upside potential has been predicted. Therefore, I recommend buying this stock.
Vi IMrovised
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 49

โพสต์

offshore-engineer เขียน:My valuation of Priceline.com assuming rapid deceleration but able to survive in a highly competitive market (i.e. terminal growth rate of 0%).
ผมเห็นด้วยกับพี่ offshore นะครับ ว่าราคาของ PCLN ตอนนี้ค่อนข้างแฟร์... และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ผมซื้อเอาไว้แค่ติดพอร์ต เอาไว้ติดตามดูพัฒนาการของกิจการ

คงต้องดูกันต่อไปว่าหลังการขึ้นมากุมบังเหียนของ Darren Huston ในปี 2014 จะทำให้กิจการมีพัฒนาการต่อไปอย่างไรในอนาคต

แต่เท่าที่ฟัง Conference Call ของไตรมาส 3 ปีนี้... ผมว่า PCLN ก็ยังทำได้ดีอยู่ Beat Forcast ของนักวิเคราะห์ เอาชนะเป้าได้ตามฟอร์ม ถึงแม้ว่าในจะตั้งเป้า Q4 ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์เอาไว้ก็ตาม
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 50

โพสต์

ครับ ตอนนี้ขอติดตามดูพัฒนาการของ Priceline.com เช่นกันครับ

อย่างที่ได้เกริ่นไว้เมื่อหน้าที่แล้วว่า นอกจาก Priceline.com ผมสนใจอีกหนึ่งบริษัท IT ที่ชื่อ Cerner Corp (CERN) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้าน IT กับ healthcare provider

บริษัทนี้เป็น independent HCIT ที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา และอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อปีที่แล้ว ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของอเมริกาอยู่ที่ 2.4 ล้านล้านเหรียญ Cerner มองว่าทางเดียวที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้คือการนำระบบ IT เข้าไปช่วยในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประวัติคนไข้ ระบการเงิน ฯลฯ

บริษัทพัฒนา software รวมไปถึงการขาย hardware ของผู้อื่นให้กับสถานพยาบาลต่างๆ ซึ่งมีลักษณะเป็น DCA แบบนึงคือ switching cost barrier ยิ่งเครือข่ายผู้ใช้มากขึ้น ต้นทุนการวิจัยต่อหน่วยยิ่งลดลง ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขันที่เล็กกว่ามากขึ้น

การเติบโตในอดีตนั้น impressive มากๆ และนี่น่าจะเป็นสาเหตุนึงที่ตลาดให้ PE สูงถึง 40กว่าเท่า

ผมคิดว่าถ้าราคาลงมาต่ำกว่า $50 จะน่าสนใจมากครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 51

โพสต์

CERN นี่คงต้องขอผ่าน ไม่อยู่ใน scope ที่สามารถติดตามกิจการได้ ยากเกินความสามารถโดยสมบูรณ์ครับ ขอบคุณที่แนะนำครับพี่ offshore
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 52

โพสต์

picatos เขียน:CERN นี่คงต้องขอผ่าน ไม่อยู่ใน scope ที่สามารถติดตามกิจการได้ ยากเกินความสามารถโดยสมบูรณ์ครับ ขอบคุณที่แนะนำครับพี่ offshore
ต้องใช้เวลากับบริษัทนี้ค่อนข้างมากเลยครับ อ่านรายงาน พยายามทำความเข้าใจ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
mikan171
Verified User
โพสต์: 106
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 53

โพสต์

ขอแจมด้วยคนครับ พึ่งจะเริ่มศึกษา
เป้าหมายคือหุ้นใน NYSE กับ Nasdaq ครับ

เอาเว็บนี้มาฝาก เผื่อได้ไอเดียในการเลือกหุ้นครับ
http://www.trefis.com/companies
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 54

โพสต์

While PCLN climbed to a record high and CERN has not dropped below $50 as I want, another company comes into my attention a few days ago, ARM Holding Plc. Although iPhone 5S has been launched a month ago, I just realised that ARM supplies Apple the 64-bit chip which powers the 5S model. It appears that other smartphones will move to 64-bit platform within next year following the move by Apple.

Before I went too deep, I had a quick glance on its share price and PE ratio. OMG! the PE ratio is at 85!!!

Hmmm....that makes me wonder why the market ascribes such a high value on this firm. Do I miss anything?
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 55

โพสต์

offshore-engineer เขียน:While PCLN climbed to a record high and CERN has not dropped below $50 as I want, another company comes into my attention a few days ago, ARM Holding Plc. Although iPhone 5S has been launched a month ago, I just realised that ARM supplies Apple the 64-bit chip which powers the 5S model. It appears that other smartphones will move to 64-bit platform within next year following the move by Apple.

Before I went too deep, I had a quick glance on its share price and PE ratio. OMG! the PE ratio is at 85!!!

Hmmm....that makes me wonder why the market ascribes such a high value on this firm. Do I miss anything?
ผมว่า growth stock พี่คงที่จะดู pe ไม่ได้นะครับ อย่างตอนผมลงทุน fb ที่ 25 USD นี่ก็ต้องทำ assumption ว่า rev จะไปเท่าไหร่ กำไรจะเป็นเท่าไหร่ พอดู fwd pe แล้วคิดว่าพอลงทุนไหวค่อยซื้อ โอกาสจะซื้อถูกๆ นี่ยากมาก

ถ้าจะซื้อถูกต้องตอนที่ตลาดเข้าใจว่ากิจการกำลังอิ่มตัว แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ ไม่อย่างนั้งคงจะไม่มีโอกาสได้ซื้ออ่ะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 56

โพสต์

จริงๆแล้ว ARM ไม่ได้มี PE สูงถึง 85 อย่างที่ผมโพสต์ไว้ครับ ข้อมูลจาก Yahoo Market Dash น่าจะผิด ซึ่งสาเหตุมาจาก 1 ADS = 3 หุ้นสามัญครับ

เห็นด้วยกับคุณ picatos ครับ การลงทุนในบริษัทที่ยังมีอายุน้อยต้องมองไปข้างหน้าครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 57

โพสต์

offshore-engineer เขียน:จริงๆแล้ว ARM ไม่ได้มี PE สูงถึง 85 อย่างที่ผมโพสต์ไว้ครับ ข้อมูลจาก Yahoo Market Dash น่าจะผิด ซึ่งสาเหตุมาจาก 1 ADS = 3 หุ้นสามัญครับ

เห็นด้วยกับคุณ picatos ครับ การลงทุนในบริษัทที่ยังมีอายุน้อยต้องมองไปข้างหน้าครับ
เอ๋ ผมดูผ่านๆ จากหลายๆ แหล่ง ก็ แปดเก้าสิบเท่านะครับ MKT cap 2.1 หมื่นล้าน กำไร 246 ล้าน น่าจะแพงๆ แบบนี้แหละครับ ส่วยนที่แพงขนาดนี้ เพราะ ตลาดน่าจะบ้าพวก smartphone หรือพวก gadget ต่างๆ ซึ่ง arm ได้อานิสงส์จากโมเดลธุรกิจที่รับจ้างออกแบบ CPU ให้อุปกรณ์พวกนี้รึเปล่่ครับ?
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 58

โพสต์

เข้าไปอ่านงบของ ARM มาครับ เค้ารายงานกำไรอยู่สองตัว ตัวแรกคือตาม IFRS ส่วนอีกตัวเค้าเรียก normalised profit ซึ่งก็คือกำไรตาม IFRS ปรับด้วยรายจ่ายที่ใช้การออกหุ้นและ one-time charge

ตัวเลขสองตัวนี้ในช่วง 9 เดือนแรกต่างกันเกือบเท่าตัว ค่า PE หากใช้ IFRS profit จะอยู่ราวๆ 80 กว่าเท่า อย่างที่รายงานใน Yahoo Market Dash

ผมอ่านไม่ละเอียดในตอนแรก เลยใช้ normalised profit ไปคำนวณ PEครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 59

โพสต์

เท่าที่อ่านในรายงานประจำปี โมเดลธุรกิจของ ARM คือการขาย license และเก็บค่า royalty กับผู้ใช้ลิขสิทธ์ในผลิตภัณฑ์ที่เค้าออกแบบ เช่น chip ที่อยู่ในอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ การเติบโตของ smartphone ทำให้ ARM ได้รับอานิสงส์ไปเต็มๆ

ธุรกิจนี้อยู่นอกความรู้ผมจริงๆครับ ต้องนั่งอ่านรายงานแบบละเอียดอีกแล้ว

หรือว่าจะไปซื้อ Exxon Mobil ตาม Warren Buffett ดีน้า
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ประสบการณ์ตรงในการลงทุนต่างประเทศ

โพสต์ที่ 60

โพสต์

offshore-engineer เขียน:เข้าไปอ่านงบของ ARM มาครับ เค้ารายงานกำไรอยู่สองตัว ตัวแรกคือตาม IFRS ส่วนอีกตัวเค้าเรียก normalised profit ซึ่งก็คือกำไรตาม IFRS ปรับด้วยรายจ่ายที่ใช้การออกหุ้นและ one-time charge

ตัวเลขสองตัวนี้ในช่วง 9 เดือนแรกต่างกันเกือบเท่าตัว ค่า PE หากใช้ IFRS profit จะอยู่ราวๆ 80 กว่าเท่า อย่างที่รายงานใน Yahoo Market Dash

ผมอ่านไม่ละเอียดในตอนแรก เลยใช้ normalised profit ไปคำนวณ PEครับ
อ้อ เหมือนกับ GAP กับ Non-GAP ของทาง us นี่เอง สงสัยเวลาเค้าเอา กำไรของทางิังกฤษมาดึงตัว GAP มา ไม่ได้ดึงตัว Non-GAP
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?