สับกอง RMF หุ้น เพื่อทำกำไร
-
- Verified User
- โพสต์: 2869
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สับกอง RMF หุ้น เพื่อทำกำไร
โพสต์ที่ 3
concept ของคนที่ถือ RMF ปกติจะไม่สับเปลี่ยนกอง แต่เนื่องจากตลาดหุ้นผันผวน ผมจะทำตอนมีวิกฤกต เช่นตอนตุลาปีที่แล้ว
ผมเคยซื้อกอง RMF รุ่นแรก เป็นพันธบัตร แล้ว เปลี่ยนมาเข้ากองหุ้น แล้วขายไปตอนที่มีช่องว่างกฎหมาย เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายคนคงรู้ว่ากำไรมากแค่ไหนสำหรับกอง RMF หุ้นรุ่นแรก
ผมเคยซื้อกอง RMF รุ่นแรก เป็นพันธบัตร แล้ว เปลี่ยนมาเข้ากองหุ้น แล้วขายไปตอนที่มีช่องว่างกฎหมาย เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายคนคงรู้ว่ากำไรมากแค่ไหนสำหรับกอง RMF หุ้นรุ่นแรก
- Tsurumi
- Verified User
- โพสต์: 268
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สับกอง RMF หุ้น เพื่อทำกำไร
โพสต์ที่ 4
NAV ไม่ขยับ
สิ่งที่ผมพบในบัญชีกองทุนของผมที่ซื้อไว้ 4-5 ปีแล้วเพิ่งไปดูกันจริงๆอีกเมื่อธันวาฯก่อนสิ้นปีคือ ยอด NAV หรือ Past Performance มันไม่กระเตื้องเท่ากองทุนอื่นๆ เมื่อเทียบกับกองทุนทั้งหมดในประเทศไทย กลุ่มเดียวกัน ค่า NAV เปลี่ยนแค่จุดทศนิยมเอง อ่าน Fund Fact Sheet + รายงานประจำปีอีกครั้ง ผมเน้นที่ 1ปี 3ปี 5 ปี ย้อนหลัง แหล่งเปรียบเทียบคือ
http://www.aimc.or.th/performance.html
http://siamchart.com/fund-compare/RMF_EQ กรุณาเลื่อกชนิดกลุ่มกองทุนในบล็อกบนขวาให้ตรงกับกองทุนของเรา
http://tools.morningstarthailand.com/th ... =ReturnM12 กรุณาเลือกข้อกำหนดที่เราต้องการและติ้ก จากนั้นผลเปรียบเทียบกองทุนก็แสดงออกมา และที่
หนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ ทุกวันจันทร์ Section: Business หน้า B7: Weekly Stock Roundup
ผมเลยตัดสินใจทั้งทำขายออกและสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน-ย้ายออกไปที่อื่น เลยได้ข้อคิดดังนี้
1.พยายามดู NAV Performance กองทุนเราทุกเดือน อย่างน้อยก็หนึ่งครั้งต่อรอบสามเดือน ถ้าไม่มีเวลาก็ดูรอบหกเดือนให้ละเอียดที่เขาส่งเป็น CD เป็นรายงานให้เรา ขี้เกียจอ่านก็คือไว้ใจ ผจก. กองทุนเกินไปไม่ได้ อ่าน fact sheet หรือดูให้รู้ว่า ไปลงทุนในกลุ่มใหน กี่ % ผมมีหนึ่งกองที่ข้อมูลไม่เขียนชัดใน fact sheet คือกลุ่ม 70/30 ที่ลงหุ้น 70% ในหุ้นกู้-ตั๋วแลกเงิน ฯลฯ 30% เขาระบุชื่อหุ้นให้ดูเพียง 28% บอกเพียงว่า อีก 42% ลงใน “ หลักทรัพย์อื่นๆ “ ฉะนั้น Fact Sheet นั้นข้อมูลน้อยมาก อ่าน รายงานประจำปี ดีที่สุด
2.โทรฯคุยกับทีม Call Center กองทุนเริ่มแต่ธันวาฯแล้วว่า แนวโน้มจะดีใหม จะเปลียน portfolio ใหม ขอทราบว่า ลงพลังงานเท่าไร ธนาคารเท่าไร แต่ไม่ได้คำตอบ คือ เขาตอบไม่ได้ จะต้องส่งเรื่องให้ Fund Manager เพราะ Call Center จะรับเรื่องไว้ได้ ถ้าไม่รู้ก็ไม่ตอบ ก็ต้องนับถือกัน จะถาม Fund Manager ให้อีก ทางออกคือ เขียนเป็นอีเมล์ไปให้ Call Center ประสานให้คนที่รู้ดี หรือคนที่รู้โทรฯมาคุยก็ได้ แต่ไม่มีโทรศัพท์มาในเวลาสั้นแน่ ต้องรอหลายวัน (อาจเป็นเพราะว่าเงินผมซื้อกองทุนน้อยก็ได้) สรุปว่า Call Center วิเคราะห์ไม่ได้ รู้คนเดียวคือ ฟันเมเนเจอร์ที่หาตัวยากคนนั้น เราก็ได้แต่นึกว่า ไม่ชอบคำว่า ฟันเลย เพราะเราอาจโดนฟ้นก็ได้
3.เช็คค่าธรรมเนียม ขายออก/สับเปลี่ยน/ย้ายกองทุนให้ดี บางบริษัทไม่เสียค่าธรรมเนียมทั้งซื้อและขาย แต่สับเปลียนออกไปข้างนอกมีเสียค่าธรรมเนียม คำนวณบวกลบให้เห็นข้อแตกต่างให้ชัด ให้เทียบกับ future growth ในกองใหม่ เช่นกรณีของผมของเดิมโตต่ำกว่า 10% มาสองปีแล้วคนอืนเขาไปเกือบ 30% คิดค่าธรรมเนียมย้าย 1.5% ก็น่าจะคุ้ม เพราะเห็น Portfolio แล้วไม่น่าโตได้อีก
สิ่งที่ผมพบในบัญชีกองทุนของผมที่ซื้อไว้ 4-5 ปีแล้วเพิ่งไปดูกันจริงๆอีกเมื่อธันวาฯก่อนสิ้นปีคือ ยอด NAV หรือ Past Performance มันไม่กระเตื้องเท่ากองทุนอื่นๆ เมื่อเทียบกับกองทุนทั้งหมดในประเทศไทย กลุ่มเดียวกัน ค่า NAV เปลี่ยนแค่จุดทศนิยมเอง อ่าน Fund Fact Sheet + รายงานประจำปีอีกครั้ง ผมเน้นที่ 1ปี 3ปี 5 ปี ย้อนหลัง แหล่งเปรียบเทียบคือ
http://www.aimc.or.th/performance.html
http://siamchart.com/fund-compare/RMF_EQ กรุณาเลื่อกชนิดกลุ่มกองทุนในบล็อกบนขวาให้ตรงกับกองทุนของเรา
http://tools.morningstarthailand.com/th ... =ReturnM12 กรุณาเลือกข้อกำหนดที่เราต้องการและติ้ก จากนั้นผลเปรียบเทียบกองทุนก็แสดงออกมา และที่
หนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ ทุกวันจันทร์ Section: Business หน้า B7: Weekly Stock Roundup
ผมเลยตัดสินใจทั้งทำขายออกและสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน-ย้ายออกไปที่อื่น เลยได้ข้อคิดดังนี้
1.พยายามดู NAV Performance กองทุนเราทุกเดือน อย่างน้อยก็หนึ่งครั้งต่อรอบสามเดือน ถ้าไม่มีเวลาก็ดูรอบหกเดือนให้ละเอียดที่เขาส่งเป็น CD เป็นรายงานให้เรา ขี้เกียจอ่านก็คือไว้ใจ ผจก. กองทุนเกินไปไม่ได้ อ่าน fact sheet หรือดูให้รู้ว่า ไปลงทุนในกลุ่มใหน กี่ % ผมมีหนึ่งกองที่ข้อมูลไม่เขียนชัดใน fact sheet คือกลุ่ม 70/30 ที่ลงหุ้น 70% ในหุ้นกู้-ตั๋วแลกเงิน ฯลฯ 30% เขาระบุชื่อหุ้นให้ดูเพียง 28% บอกเพียงว่า อีก 42% ลงใน “ หลักทรัพย์อื่นๆ “ ฉะนั้น Fact Sheet นั้นข้อมูลน้อยมาก อ่าน รายงานประจำปี ดีที่สุด
2.โทรฯคุยกับทีม Call Center กองทุนเริ่มแต่ธันวาฯแล้วว่า แนวโน้มจะดีใหม จะเปลียน portfolio ใหม ขอทราบว่า ลงพลังงานเท่าไร ธนาคารเท่าไร แต่ไม่ได้คำตอบ คือ เขาตอบไม่ได้ จะต้องส่งเรื่องให้ Fund Manager เพราะ Call Center จะรับเรื่องไว้ได้ ถ้าไม่รู้ก็ไม่ตอบ ก็ต้องนับถือกัน จะถาม Fund Manager ให้อีก ทางออกคือ เขียนเป็นอีเมล์ไปให้ Call Center ประสานให้คนที่รู้ดี หรือคนที่รู้โทรฯมาคุยก็ได้ แต่ไม่มีโทรศัพท์มาในเวลาสั้นแน่ ต้องรอหลายวัน (อาจเป็นเพราะว่าเงินผมซื้อกองทุนน้อยก็ได้) สรุปว่า Call Center วิเคราะห์ไม่ได้ รู้คนเดียวคือ ฟันเมเนเจอร์ที่หาตัวยากคนนั้น เราก็ได้แต่นึกว่า ไม่ชอบคำว่า ฟันเลย เพราะเราอาจโดนฟ้นก็ได้
3.เช็คค่าธรรมเนียม ขายออก/สับเปลี่ยน/ย้ายกองทุนให้ดี บางบริษัทไม่เสียค่าธรรมเนียมทั้งซื้อและขาย แต่สับเปลียนออกไปข้างนอกมีเสียค่าธรรมเนียม คำนวณบวกลบให้เห็นข้อแตกต่างให้ชัด ให้เทียบกับ future growth ในกองใหม่ เช่นกรณีของผมของเดิมโตต่ำกว่า 10% มาสองปีแล้วคนอืนเขาไปเกือบ 30% คิดค่าธรรมเนียมย้าย 1.5% ก็น่าจะคุ้ม เพราะเห็น Portfolio แล้วไม่น่าโตได้อีก
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 186
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สับกอง RMF หุ้น เพื่อทำกำไร
โพสต์ที่ 5
ต้องระวังว่าจะเป็นการจับจังหวะตลาดหรือคาดเดาตลาดนะครับ
กลายเป็นเราไม่ได้ลงทุนระยะยาวต่อเนื่องในหุ้น
เคยคุยกับทางกองทุนเหมือนกัน
เขาว่าเขาดูจังหวะและพยายามสับเปลี่ยนหุ้นไปตามสถานการอยุ่แล้ว
แต่ยังคิดเหมือนกันว่าถ้าหุ้นขึ้นโดดไปมากๆจนพีอี แพงจริงๆอาจต้องสับเหมือนกันครับ
กลายเป็นเราไม่ได้ลงทุนระยะยาวต่อเนื่องในหุ้น
เคยคุยกับทางกองทุนเหมือนกัน
เขาว่าเขาดูจังหวะและพยายามสับเปลี่ยนหุ้นไปตามสถานการอยุ่แล้ว
แต่ยังคิดเหมือนกันว่าถ้าหุ้นขึ้นโดดไปมากๆจนพีอี แพงจริงๆอาจต้องสับเหมือนกันครับ
เดินให้ถึงจุดหมาย
อย่างมีความสุข
อย่างมีความสุข
- Tsurumi
- Verified User
- โพสต์: 268
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สับกอง RMF หุ้น เพื่อทำกำไร
โพสต์ที่ 6
4.คชก. ประจำต้องอ่านคือ ค่าธรรมเนียมการจัดการ ปรกติ1.0-1.75% สำคัญคือ ถ้ากองทุนมีสินทรัพย์สุทธิประมาณ 6,000-7,000 ล้านนี่ ค่าบริหารอาจถึงเพดาน 122 ล้านได้ พอตอนนี้ถึงรู้ว่า ทำไมพวกแบงค์ทั้งหลายจึงชอบธุรกิจนี่จัง ค่าตัวนี่ผันแปรได้ เช่น บลจ. ต้องการทำ promotion ก็ประกาศลดราคาค่าธรรมเนียมตัวนี้ลงไป วันดีคืนดีก็เก็บเต็มจำนวน และไม่แจ้งลูกค้าเก่าด้วย กลต.กำหนดแค่ว่า ประกาศที่สำนักงานก็พอ ตัวที่สอง คชก. ดำเนินการ กลต. กำหนดไม่เกิน 1% ทรัพย์สินสุทธิ พวกทำกิจกรรมการตลาด พิมพ์ใบปลิว พิมพ์รายงานประจำปี (ตอนนี้ประหยัดแล้วทำใส่ CD แทน) ฯลฯ รวมอยู่ในนี้หมด เงินที่พวกเราซื้อหน่วยเขาเอามาพิมพ์ไล่แจกวัน Money Expo แล้วเราก็ทิ้งถังขยะก็เงินเรานี้แหละ ตัวนี้เอาเรื่องเหมือนกัน ตัวอย่างกองหนึ่งที่ผมถืออยู่จะใช้ประมาณ 2-10 ล้านบาทแล้วแต่ปี ถ้ากองทุนจะเอาจัดหนักก็ทำได้ คือ เช่น 1% x 7,000 ล้าน = 70 ล้านบาท/ปี แต่เขาก็ไม่ทำ เพราะกองนี้ขาดทุนปีที่แล้ว จาก อนุพันธ์ ต่อไปค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์และค่าธรรมเนียมนายทะเบียนทั้งสองนี้อยู่ประมาณ 0.xx% ไม่ใช่ประเด็นใหญ่ จะสำคัญก็ค่าธรรมเนียม ย้ายออกและขายออกในหัวข้อข้างบน
- Tsurumi
- Verified User
- โพสต์: 268
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สับกอง RMF หุ้น เพื่อทำกำไร
โพสต์ที่ 7
5.[size=150]งบดุลและงบกำไรขาดทุน[/size] ในรายงานประจำปี ต้องอ่านให้ได้ เพราะเงินของเรา อย่าได้ซื้อเพราะเขาเดินแจกในงาน Money Expo ว่ากองหนูชนะ Set และ Top 1 ในกองทุนทั้งหมด ผมมีประสบการณ์นี้เพราะซื้อเพราะไบ Fact sheet ที่วิ่งแจกในงาน Money Expo ก็เหมือนเราลงทุนในหุ้น ตัวเลขที่ผ่านมาไม่ยืนยันผลภายหน้า อ่านใน งบดุลก็เจอว่า ปีต่อมากลุ่มอุตฯนั้นเป็นขาลง จากอันดับหนึ่งหล่นลงไปใกลเลย ดูงบกำไรขาดทุนบรรทัดแรกกับบรรทัดสุดท้ายให้แม่น มันก็แปลกชื่อก็บอกว่า งบกำไรขาดทุน แต่ชีวิตเราจะไม่เห็นคำว่ากำไรหรือขาดทุนในบรรทัดสุดท้าย จะเห็นเพียงคำว่า กำไรสะสมปลายปี สรุป ดูสี่บรรทัดสุดท้าย ท่องเป็นคาถาไว้เลย ถ้าในสี่บรรทัดนี้มีตัวเลขอยู่ในวงเล็บเมือไรก็เตรียมหาข้อมูลแกะออกมาให้ได้ว่า ขาดทุนเพราะอะไร ไปดูที่หมายเหตุประกอบงบการเงินอาจช่วยได้บ้าง แต่ไม่ทุกกรณีเช่น ขาดทุนจากการซื้ออนุพันธ์การเงิน ไม่รู้ว่าซื้ออะไรไว้ ถาม Call Center ก็ไม่รู้อีก อยากรู้เขียนอีเมล์มา เรื่องไปกันใหญ่ เจ้าตัวอนุพันธ์นี้เสี่ยงสูงจริงๆ ทำให้ยอดดำเนินการทั้งปีรายได้จากปีที่แล้วสูงกว่าปีก่อนมาก แต่สุดท้ายก็ขาดทุน เพราะน้องอนุพันธ์คนเดียว ต่อไปดู “กำไรสะสมปลายปี” แน่นอนกองทุนจะมีเงินสะสมเยอะเพราะนั่นคือ กำไร ในความหมายของการดำเนินการ สะสมมากขึ้นทุกปีเหมือน บมจ. แต่เจอน้องอนุพันธ์เล่นงานเข้า ก็ต้องงัดเอากำไรสะสมมาแจกปันผลต่อไป ทำไปมา ก็งูกินหางคือ กำไรสะสมลดลงต่อไป ทำให้อะไรๆก็ลดลง ค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วย NAV ก็เหมือนปีก่อนนี้ ถ้าเห็นค่า NAV เป็นแม่เหล็กไม่ขยับแล้วก็แกะ/ขุดข้อมูลให้ได้ว่า ทำไม - เตรียมย้ายบ้านถ้าจำเป็น กองของผมต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมา 2.5 ปีแล้ว
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สับกอง RMF หุ้น เพื่อทำกำไร
โพสต์ที่ 8
Tsurumi เขียน:5.งบดุลและงบกำไรขาดทุน ในรายงานประจำปี ต้องอ่านให้ได้ เพราะเงินของเรา อย่าได้ซื้อเพราะเขาเดินแจกในงาน Money Expo ว่ากองหนูชนะ Set และ Top 1 ในกองทุนทั้งหมด ผมมีประสบการณ์นี้เพราะซื้อเพราะไบ Fact sheet ที่วิ่งแจกในงาน Money Expo ก็เหมือนเราลงทุนในหุ้น ตัวเลขที่ผ่านมาไม่ยืนยันผลภายหน้า อ่านใน งบดุลก็เจอว่า ปีต่อมากลุ่มอุตฯนั้นเป็นขาลง จากอันดับหนึ่งหล่นลงไปใกลเลย ดูงบกำไรขาดทุนบรรทัดแรกกับบรรทัดสุดท้ายให้แม่น มันก็แปลกชื่อก็บอกว่า งบกำไรขาดทุน แต่ชีวิตเราจะไม่เห็นคำว่ากำไรหรือขาดทุนในบรรทัดสุดท้าย จะเห็นเพียงคำว่า กำไรสะสมปลายปี สรุป ดูสี่บรรทัดสุดท้าย ท่องเป็นคาถาไว้เลย ถ้าในสี่บรรทัดนี้มีตัวเลขอยู่ในวงเล็บเมือไรก็เตรียมหาข้อมูลแกะออกมาให้ได้ว่า ขาดทุนเพราะอะไร ไปดูที่หมายเหตุประกอบงบการเงินอาจช่วยได้บ้าง แต่ไม่ทุกกรณีเช่น ขาดทุนจากการซื้ออนุพันธ์การเงิน ไม่รู้ว่าซื้ออะไรไว้ ถาม Call Center ก็ไม่รู้อีก อยากรู้เขียนอีเมล์มา เรื่องไปกันใหญ่ เจ้าตัวอนุพันธ์นี้เสี่ยงสูงจริงๆ ทำให้ยอดดำเนินการทั้งปีรายได้จากปีที่แล้วสูงกว่าปีก่อนมาก แต่สุดท้ายก็ขาดทุน เพราะน้องอนุพันธ์คนเดียว ต่อไปดู “กำไรสะสมปลายปี” แน่นอนกองทุนจะมีเงินสะสมเยอะเพราะนั่นคือ กำไร ในความหมายของการดำเนินการ สะสมมากขึ้นทุกปีเหมือน บมจ. แต่เจอน้องอนุพันธ์เล่นงานเข้า ก็ต้องงัดเอากำไรสะสมมาแจกปันผลต่อไป ทำไปมา ก็งูกินหางคือ กำไรสะสมลดลงต่อไป ทำให้อะไรๆก็ลดลง ค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วย NAV ก็เหมือนปีก่อนนี้ ถ้าเห็นค่า NAV เป็นแม่เหล็กไม่ขยับแล้วก็แกะ/ขุดข้อมูลให้ได้ว่า ทำไม - เตรียมย้ายบ้านถ้าจำเป็น กองของผมต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมา 2.5 ปีแล้ว
เฮ้อ... น้องอนุพันธ์เนี่ย ไหนท่านๆ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายบอกว่าสร้างสรรค์มาเพื่อบริหารความเสี่ยงไม่ใช่เหรอ
ไหงกลายเป็นความเสี่ยงไปซะเอง เสี่ยงพอๆ กับการมีน้องอนุภรรฯ เลยนะนั่น
ตัวอย่าง
http://www.thaipvd.com/content_th.php?content_id=00174
สรรหาเล่า
ตอน ตราสารอนุพันธ์ ตัวช่วยในการบริหารความเสี่ยง
ข้างบนอนุพันธ์หุ้น อนุพันธ์การเงินต้องอ่านนี่
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q ... ly25p4.htm
ความเสี่ยงจากอนุพันธ์การเงิน (Derivatives)
Just an Idea : ดร. โชติชัย สุวรรณาภรณ์ [email protected] กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
ฉบับที่แล้วผมได้นำเสนอข้อดี และกลุ่มที่ได้ประโยชน์มากที่สุดจากการที่ตราสารอนุพันธ์ว่าเป็นใครบ้าง วันนี้เรามาดูข้อเสียของอนุพันธ์ตราสารกันบ้าง
ข้อเสียของอนุพันธ์การเงินนั้น มีควบคู่ไปกับข้อดีกล่าวคือ ในขณะที่อนุพันธ์การเงินนำมาซึ่งเงินทุนไหลเข้า (Capital Flows) แต่ก็นำเอาความเสี่ยงเข้ามาด้วย ซึ่งสามารถแจกแจงได้ดังนี้
1. ทำให้ขาดหรือลดความโปร่งใสในงบการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้อง งบการเงินของธนาคารกลาง และงบการเงินของประเทศ เนื่องจากการพิจารณา การประเมินและการเข้าใจฐานะที่แท้จริงทำได้ลำบาก ตัวอย่างเช่น การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทำอนุพันธ์การเงินประเภท Currency forward และ SWAP ในช่วงปี 2539-2540 ทำให้เราเข้าใจผิดถึงฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศที่แท้จริง
อีกตัวอย่างหนึ่งของการลดความโปร่งใสของงบการเงินในระดับประเทศนั้น สามารถเกิดขึ้นกับดุลการชำระเงิน (balance of payment accounts) เพราะระยะเวลาการชำระเงิน (maturity) และสกุลเงินต่างประเทศ (currency denomination) ของสินทรัพย์และหนี้สินต่างประเทศ สามารถเปลี่ยนไปด้วยอนุพันธ์การเงินที่อิงกับอัตราแลกเปลี่ยน
รวมทั้งภาระดอกเบี้ยที่จะได้รับหรือที่จะต้องจ่ายออกไปนั้น สามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยอนุพันธ์การเงินที่อิงกับอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ระยะยาวสามารถกลายเป็นเงินกู้ระยะสั้นได้ถ้าใช้ put options "หลายๆ ครั้งอนุพันธ์การเงินสามารถทำให้หนี้ระยะสั้นดูเหมือนการลงทุน (portfolio investments)" ซึ่งดูเหมือนดี แต่จริงๆ ไม่ใช่เพราะกลายเป็นมีภาระหนี้ระยะสั้นจำนวนมาก ตัวอย่างอื่นๆ เช่น อนุพันธ์การเงินสามารถช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้อันดับเครดิต (Rating) ดีขึ้น ซึ่งอาจทำให้ Junk bond ดูเหมือน -A- rated bond นอกจากนั้น อนุพันธ์การเงินยังสามารถปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการรับรู้รายได้จากปัจจุบันเป็นอนาคต หรืออนาคตเป็นปัจจุบัน และเปลี่ยน Capital gain เป็น Interest Payment หรือในทางกลับกัน
2. อนุพันธ์การเงินยังสามารถช่วยให้บริษัทหลีกเลี่ยงเกณฑ์การกำกับดูแลด้านความมั่นคงได้ โดยการปรับเปลี่ยนสถานะความเสี่ยงที่จะปรากฏในงบดุล โดยการซ่อนเร้นความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และลดเงินกองทุนที่จำเป็นต้องมีไว้ โดยที่พันธบัตรที่มีความเสี่ยงสูง สามารถปรับเปลี่ยนให้ดูมีความเสี่ยงน้อยลงได้
3. อนุพันธ์การเงินช่วยให้บริษัทเพิ่มระดับความเสี่ยงโดยที่ยังคงระดับเงินกองทุนไว้ที่เดิม (Leverage) ความเสี่ยงสามารถโอนย้ายกันได้โดยไม่จำเป็นต้องโอนสิทธิความเป็นเจ้าของหรือเงินต้นทั้งหมด การลงทุนเพียงวางเงินไว้บางส่วนโดยไม่ต้องวางเงินทั้งหมด
การใช้อนุพันธ์การเงินมากๆ อาจส่งผลให้ฐานะเงินกองทุนที่จะรองรับความเสียหายมีไม่เพียงพอ
โดยทั่วไปการเก็งกำไรในลักษณะนี้จะทำให้ระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากขึ้น การใช้อนุพันธ์การเงินอาจเป็นแรงกดดันกับค่าเงิน (ระดับอัตราแลกเปลี่ยน) และนำสู่วิกฤตการณ์ทางการเงินได้
อนุพันธ์การเงินจึงอาจเป็นอันตรายต่อระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ อนุพันธ์การเงินยังสามารถช่วยซ้ำเติม ทำให้ราคาสินทรัพย์ทางการเงินและหลักทรัพย์ตกต่ำรวดเร็ว ทำให้วิกฤติการเงินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงได้ ซึ่งรวมถึงการระบาดหรือการแพร่กระจายของวิกฤติการเงิน (Contagion)
ทั้งนี้ เนื่องจากคู่กรณีของอนุพันธ์การเงินมักจะมีบริษัทในหลายประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องในเวลาเดียวกัน ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัทหนึ่ง หรือตลาดการเงินหนึ่ง ก็จะมีผลกระทบต่อบริษัทอื่นหรือตลาดการเงินอื่นที่เป็นคู่สัญญาด้วย ในขณะเดียวกัน การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของปริมาณธุรกรรมทางตราสารอนุพันธ์ ทำให้ทางการและองค์กรกำกับดูแลเริ่มมีความกังวล เนื่องจากพันธสัญญาและความรับผิดชอบระหว่างคู่กรณี มีมูลค่ามากมายมหาศาล ซึ่งง่ายที่จะเกิดการผิดสัญญา ผิดนัดชำระหรือส่งมอบกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการผันผวนอย่างรวดเร็วของระดับราคา อัตราดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยน ผลเสียจะยิ่งมากขึ้น ถ้าเกี่ยวพันกับประชาชนผู้ลงทุนรายย่อยซึ่งนอกจากจะสูญเสียเงินแล้วยังสูญเสียความเชื่อมั่นในธุรกรรมประเภทนี้ ซึ่งเป็นผลเสียอย่างยิ่งต่อตลาดการเงิน
นอกจากนี้ การประเมินความเสี่ยงจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์นั้นคำนวณได้ยากเพราะขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวของ Underlying asset ซึ่งยากต่อการทำนายและผลลัพธ์สามารถเป็นไปได้หลายร้อยรูปแบบ ถึงแม้จะมีการคิดค้นสูตรและวิธีทางคณิตศาสตร์ เช่น Black and Scholes หรือ Binomial Method หรือสูตรผสมอื่นๆ มาช่วยในการคำนวณอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงแล้ว ก็ยังไม่สามารถจัดการกับตราสารอนุพันธ์ที่นับวันจะมีความหลากหลายและสลับซับซ้อนมาก
นอกจากนั้นแล้วการที่ผู้เล่นสามารถใช้เทคนิคการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่สลับซับซ้อน ลงทุนในตราสารอนุพันธ์ในหลายลักษณะ หลาย Maturity ในเวลาพร้อมกันนั้น ทำให้ยากต่อการคำนวณความเสี่ยงยิ่งนัก
นี่คืออันตรายของอนุพันธ์ตราสาร
ยังไม่จบแค่นี้นะครับ ไว้คราวหน้าผมจะแจกแจงให้เห็นอันตรายของอนุพันธ์ตราสารให้ผู้อ่านได้เห็นทราบเพิ่มเติมครับ
ความเสี่ยงจากอนุพันธ์การเงิน(3) (Derivatives)
Just an Idea : ดร. โชติชัย สุวรรณาภรณ์ [email protected] กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 08 สิงหาคม พ.ศ. 2551
เรามาดูเรื่องความเสี่ยงเกี่ยวกับอนุพันธ์ตราสารกันต่อนะครับ
เรื่องความเสี่ยงและความคุ้มค่าของอนุพันธ์ตราสารนั้นมันมีความเสี่ยงมากสำหรับนักลงทุนที่ไม่มีความรู้ แต่อยากเข้าไปลงทุน แน่นอนว่าอนุพันธ์ทางการเงินช่วยให้บริษัทเพิ่มระดับความเสี่ยงโดยที่ยังคงระดับเงินกองทุนไว้ที่เดิม ความเสี่ยงสามารถโอนย้ายกันได้โดยไม่จำเป็นต้องโอนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของหรือเงินต้นทั้งหมด
ขณะที่การลงทุนนั้น เพียงวางเงินไว้บางส่วนโดยไม่ต้องวางเงินทั้งหมด อาจเป็นข้อดี แต่ข้อเสียนั้นก็มีมากมายเหลือเกิน
อนุพันธ์การเงินจึงอาจเป็นอันตรายต่อระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ อนุพันธ์ทางการเงินยังสามารถช่วยซ้ำเติม ทำให้ราคาสินทรัพย์ทางการเงิน และราคาหลักทรัพย์ตกต่ำอย่างรวดเร็วและรุนแรงได้ ซึ่งรวมถึงการระบาดหรือแพร่กระจายของวิกฤติการเงิน เนื่องจากคู่กรณีของอนุพันธ์การเงินมักจะมีบริษัทในหลายประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง
ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัทหนึ่ง หรือตลาดการเงินหนึ่ง ก็จะมีผลกระทบต่อบริษัทอื่นหรือตลาดการเงินอื่นที่เป็นคู่สัญญาด้วย
การประเมินความเสี่ยงจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์นั้นคำนวณได้ยากเพราะขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวของ Underlying asset ซึ่งยากต่อการทำนาย
นอกจากนั้นแล้วการที่ผู้เล่นสามารถใช้เทคนิคการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่สลับซับซ้อน ลงทุนในตราสารอนุพันธ์ในหลายลักษณะ หลาย Maturity ในเวลาพร้อมกันนั้น ทำให้ยากต่อการคำนวณความเสี่ยง
โดยที่ตราสารอนุพันธ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ตราสารสิทธิ์และตราสารล่วงหน้า ผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ก็คือ ผู้ที่ขายตราสารสิทธิ์ ผู้ซื้อตราสารล่วงหน้า และผู้ขายตราสารล่วงหน้า ส่วนผู้ที่ซื้อตราสารสิทธิ์นั้นมีความเสี่ยงจำกัดเพียงแค่ ค่า Premium หรือค่าธรรมเนียมที่จ่ายเพื่อซื้อตราสารสิทธิ์เท่านั้น ดังนั้นการคำนวณความเสี่ยง จึงมีความยากลำบากในกรณีของการขายตราสารสิทธิ์ การซื้อและการขายตราสารล่วงหน้าอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือพร้อมๆ กัน
ในปัจจุบันสถาบันการเงินหลายๆ แห่งกำลังให้ความสำคัญกับธุรกิจการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ มีการนำเอาเทคนิคทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยเพื่อคำนวณอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง โดยใช้นักวิเคราะห์เชิงปริมาณ ค่าตัวแพงๆ ที่เรียกว่า Quants หรือ ย่อมาจาก Quantitative Analysts มาพัฒนาสูตรทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้วัดความเสี่ยงและผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด รวมทั้งพัฒนา SOFTWARE หรือ Model ทางคณิตศาสตร์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือตัดสินใจซื้อขายตราสารอนุพันธ์
แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ Model เหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์จนเชื่อได้ว่าสามารถวัดความเสี่ยงและผลตอบแทนได้ถูกต้อง
ปัญหามันอยู่ตรงนี้แหละครับ ถ้าหากว่า Model นั้น เป็น Model ที่ผิดซึ่งให้ผลคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง จะเสียหายมาก
แต่กลุ่มที่ยังได้กำไรจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ก็ได้แก่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทหลักทรัพย์ใน Wall Street ที่ได้พัฒนาตนเองเป็นศูนย์รวมและเครือข่ายธุรกิจการเงินที่ไร้ตะเข็บ สามารถทำ Deal ทางตราสารอนุพันธ์มูลค่าเป็นพันๆ ล้านเหรียญได้ในเสี้ยววินาที โดยที่ผู้ประกอบการนักลงทุนและนักเก็งกำไรสามารถซื้อตราสารอนุพันธ์ได้โดยตรงจากผู้ค้า
สถาบันการเงินเหล่านี้ก็ยังคิดค้นผลิตภัณฑ์ตราสารอนุพันธ์ประเภทใหม่ๆ ขึ้นมาอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มรายได้และแข่งขันกันให้บริการการเงินที่ลูกค้าพอใจ คาดว่าสถาบันการเงินต่างประเทศที่เข้ามาประกอบธุรกิจในไทย คงจะพยายามเข้ามาขายของโดยเน้นทำรายได้จาก การสร้างตราสารอนุพันธ์และการค้าตราสารอนุพันธ์ ซึ่งคงจะเข้ามาพยายามขายกับสถาบันการเงินของไทย องค์กรที่จะกำกับดูแลในเรื่องนี้คงจะมีงานที่ท้าทายให้ทำอีกแล้ว
ผมอยากให้สถาบันการเงินไทยระมัดระวังในเรื่องนี้ให้มาก สิ่งที่ต้องคิดย้ำอยู่เสมอ ก็คือ ผู้บริหารเข้าใจความเสี่ยงดีแค่ไหน และเงินกองทุนเพียงพอรองรับกับความเสียหายได้หรือไม่
- Tsurumi
- Verified User
- โพสต์: 268
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สับกอง RMF หุ้น เพื่อทำกำไร
โพสต์ที่ 9
6. Call Center: ผิดหวังมาก
เพราะบางแห่งอ่านงบดุลและงบกระแสเงินสดไม่เป็น แต่สอบผ่านขึ้นทะเบียนประเภท ข. มาทำงานได้แล้ว บาง บลจ.บอกไม่มีงบกระแสเงินสดให้ พอถามถึงก็บอกว่าต้องขออนุญาติ ผจก.กองทุนก่อน ในขณะที่หลายบริษัทขึ้นเว็บให้ดูงบเงินสดตลอดและกระแสเงินสดย้อนหลัง 4 ปีมีอ้ตราส่วนการเงินที่บังคับโดยกลต.ให้ดูทั้งหมด บางบลจ.กลับไม่รู้ว่าอัตราส่วนการเงินในงบคืออะไร ต้องอดทนมากถ้าจะถามอะไรมากกว่านี้ เพราะสตาฟเหล่านี้แม้จะมีหน้าที่ให้คำแนะนำผู้ลงทุน แต่ทำไม่ได้ไม่ถึง 20% ที่เราต้องการ ส่วนใหญ่เป็นการขอรับคำถามไว้ก่อนคล้ายกับว่าเป็นทางผ่าน (Messenger) หรือไม่ก็ให้เขียนอีเมล์เข้าไปถาม เพื่อส่งคำถามให้แก่ฝ่ายบัญชีบ้าง ฝ่ายอื่นๆจิปาถะ มีข้อสังเกตุอยู่คือ ถ้าเป็นบลจ. ที่ไม่อิงกับธนาคารโดยตรงแล้ว พนักงานจะมีประสิทธิภาพมากว่า ถามแล้วได้คำตอบที่มีคุณภาพ แต่ก็ไม่ทั้งหมด ทิปคือ ถามชื่อนามสกุลผู้ให้ข้อมูลที่ Call Center + ประเภทการขึ้นทะเบียนว่า ก. หรือ ข. ดูรายละเอียดที่ http://www.tsi-thailand.org/Mambo_2012/ ... Index.html หรือ ถามหมายเลขใบขึ้นทะเบียนด้วย การสนทนาส่วนใหญ่จะอัดเทปไว้ ด้วยเหตุนี้(หรือเปล่าไม่ทราบ)พนักงานไม่กล้าแนะนำกองทุนอย่างที่เราอยากฟัง ทิปสอง บอกพนง.ไปด้วยว่า คุณรับความเสี่ยงตอนกรอก "แบบประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน" อยู่ระดับใหน พนง.จะได้พูดเร็วขึ้น ทิปสาม อย่าถามคำถามที่คุณเห็นได้จากเว็บเปรียบเทียบ เช่น ค่า NAV เท่าไร สุง/ต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐานเท่าไร ย้อนหลังไป xx ปีหรือ เดือน ค่าธรรมเนียมเท่าไร เพราะคุณหาข้อมูลได้จากหนังสือชี้ชวน หรือ ทางลัดได้ที่ เว็บเขาเองหรือ เปรียบเทียบการจัดอันดับได้ที่หลายเว็บ เช่น http://tools.morningstarthailand.com/th ... geId=th-TH หรือ http://siamchart.com/fund-compare/LTF แต่ควรเป็นคำถามอื่นๆ เช่น เปลี่ยน ผจก. กองทุนใหมที่ผ่านมา ประชุมปรับพอร์ตเดือนละกี่ครั้ง ทำไมกองอื่นเขาดีกว่าและลงในsector เดียวกัน หรือ คำถามเกี่ยวกับรายงานผลดำเนินงาน หกเดือน หรือ หนึ่งปีที่ผ่านมา คำถามเหล่านี้ พนง. น่าจะตอบได้ แต่ถ้าเป็นคำถามสำคัญควรทำเป็นอีเมล์เข้าไป เพราะพนง. Call Center ตอบไม่ได้ เช่น คุณเลื่อกหลักทรัพย์เข้ามาในพอร์ตกองทุนนี้โดยมองที่อะไรเป็นสำคัญ(เช่นทำไมเลือกพลังงานเป็นสัดส่วนถึง 15%) จะเปลี่ยนทีมดูแลกองนี้หรือไม่ในอนาคต มองกองทุนนี้จะเป็นอย่างไรอีกหกเดือนข้างหน้า ฯลฯ
เพราะบางแห่งอ่านงบดุลและงบกระแสเงินสดไม่เป็น แต่สอบผ่านขึ้นทะเบียนประเภท ข. มาทำงานได้แล้ว บาง บลจ.บอกไม่มีงบกระแสเงินสดให้ พอถามถึงก็บอกว่าต้องขออนุญาติ ผจก.กองทุนก่อน ในขณะที่หลายบริษัทขึ้นเว็บให้ดูงบเงินสดตลอดและกระแสเงินสดย้อนหลัง 4 ปีมีอ้ตราส่วนการเงินที่บังคับโดยกลต.ให้ดูทั้งหมด บางบลจ.กลับไม่รู้ว่าอัตราส่วนการเงินในงบคืออะไร ต้องอดทนมากถ้าจะถามอะไรมากกว่านี้ เพราะสตาฟเหล่านี้แม้จะมีหน้าที่ให้คำแนะนำผู้ลงทุน แต่ทำไม่ได้ไม่ถึง 20% ที่เราต้องการ ส่วนใหญ่เป็นการขอรับคำถามไว้ก่อนคล้ายกับว่าเป็นทางผ่าน (Messenger) หรือไม่ก็ให้เขียนอีเมล์เข้าไปถาม เพื่อส่งคำถามให้แก่ฝ่ายบัญชีบ้าง ฝ่ายอื่นๆจิปาถะ มีข้อสังเกตุอยู่คือ ถ้าเป็นบลจ. ที่ไม่อิงกับธนาคารโดยตรงแล้ว พนักงานจะมีประสิทธิภาพมากว่า ถามแล้วได้คำตอบที่มีคุณภาพ แต่ก็ไม่ทั้งหมด ทิปคือ ถามชื่อนามสกุลผู้ให้ข้อมูลที่ Call Center + ประเภทการขึ้นทะเบียนว่า ก. หรือ ข. ดูรายละเอียดที่ http://www.tsi-thailand.org/Mambo_2012/ ... Index.html หรือ ถามหมายเลขใบขึ้นทะเบียนด้วย การสนทนาส่วนใหญ่จะอัดเทปไว้ ด้วยเหตุนี้(หรือเปล่าไม่ทราบ)พนักงานไม่กล้าแนะนำกองทุนอย่างที่เราอยากฟัง ทิปสอง บอกพนง.ไปด้วยว่า คุณรับความเสี่ยงตอนกรอก "แบบประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน" อยู่ระดับใหน พนง.จะได้พูดเร็วขึ้น ทิปสาม อย่าถามคำถามที่คุณเห็นได้จากเว็บเปรียบเทียบ เช่น ค่า NAV เท่าไร สุง/ต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐานเท่าไร ย้อนหลังไป xx ปีหรือ เดือน ค่าธรรมเนียมเท่าไร เพราะคุณหาข้อมูลได้จากหนังสือชี้ชวน หรือ ทางลัดได้ที่ เว็บเขาเองหรือ เปรียบเทียบการจัดอันดับได้ที่หลายเว็บ เช่น http://tools.morningstarthailand.com/th ... geId=th-TH หรือ http://siamchart.com/fund-compare/LTF แต่ควรเป็นคำถามอื่นๆ เช่น เปลี่ยน ผจก. กองทุนใหมที่ผ่านมา ประชุมปรับพอร์ตเดือนละกี่ครั้ง ทำไมกองอื่นเขาดีกว่าและลงในsector เดียวกัน หรือ คำถามเกี่ยวกับรายงานผลดำเนินงาน หกเดือน หรือ หนึ่งปีที่ผ่านมา คำถามเหล่านี้ พนง. น่าจะตอบได้ แต่ถ้าเป็นคำถามสำคัญควรทำเป็นอีเมล์เข้าไป เพราะพนง. Call Center ตอบไม่ได้ เช่น คุณเลื่อกหลักทรัพย์เข้ามาในพอร์ตกองทุนนี้โดยมองที่อะไรเป็นสำคัญ(เช่นทำไมเลือกพลังงานเป็นสัดส่วนถึง 15%) จะเปลี่ยนทีมดูแลกองนี้หรือไม่ในอนาคต มองกองทุนนี้จะเป็นอย่างไรอีกหกเดือนข้างหน้า ฯลฯ