ขอเปลี่ยนเป็นถ้าพี่ว่างซัก 2 ชั่วโมงhongvalue เขียน: ถ้าสะดวกกินข้าวกินที่ black canyon ตรง
ศูนย์สิริกิต์เลยดีไหม
จะได้ไม่หิว
ก็บอกหน้าไมค์ก็ได้
แล้วผมจะ pm ไปนัดสถานที่เจอกันหลังไมค์ดีกว่า
เดี่ยวไม่เป็นส่วนตัวน่ะครับ
ขอเปลี่ยนเป็นถ้าพี่ว่างซัก 2 ชั่วโมงhongvalue เขียน: ถ้าสะดวกกินข้าวกินที่ black canyon ตรง
ศูนย์สิริกิต์เลยดีไหม
จะได้ไม่หิว
เช้าไม่ว่างครับhongvalue เขียน:เผื่อเหลือเผื่อขาด
ถ้าพี่วิบูลย์ว่างช่วงเช้าก่อนพี่สัมนา
ก็เจอกันก่อนก็ได้นะครับ
พออบรมแล้วผมค่อยกลับ
ยังทำใจไม่ได้ครับเพราะพอร์ตยังว่างๆ ตอนนี้รอผลประกอบการ Q2 ก่อนตัดสินใจซื้อ หลังจากซื้อแล้วจะปิดก็น่าจะทำใจได้(ใช้คำว่าน่าจะเพราะถ้าปิดจริงๆไม่รู้ว่าจะทำใจได้หรือไม่) ปกติก็ไม่ค่อยได้ดูราคาหุ้นอยู่แล้วVIB007 เขียน:ส่วนวีไอแท้ๆ
ก็ไม่ต้องไปสนใจตลาดหรอก
ช่างมันเถอะ
จะขึ้นหรือจะลง
ไม่ต้องไปเดาให้เมื่อยตุ้ม
ตลาดหุ้นปิดไปสักสองสามปีก็น่าจะยัง"เฉยๆ"อยู่นะ
ในนี้มีใครทำ(ใจ)ได้บ้างยกมือหน่อย
หรือตลาดหุ้นปิดไปวันสองวันก็ลงแดงแล้ว ฮา แซวเล่นนะ
ผมก็ให้น้ำหนักเรื่องนี้นะVIB007 เขียน: ถามหน่อย
แล้วฮงอธิบายที่ต่างชาติซื้อในช่วงนี้วันละกว่าพันล้าน
เมื่อวานซัดไปสามพันล้านว่าอย่างไร
อยากรู้
ทำไมพี่ถึงบอกว่าคุณ ศิริวัฒน์เดามาตลอดล่ะครับVIB007 เขียน:
คุณศิริวัฒน์ก็เห็นเดาตลาดหุ้นมาตลอด
ถูกบ้างผิดบ้าง
แต่ก็เดาอยู่ดี
ฟังหูไว้หูแล้วกันครับ
มีประเด็นอื่นอะไรเด็ดๆอีกhongvalue เขียน: ผมก็ให้น้ำหนักเรื่องนี้นะ
แต่มันไม่ใช่ทั้งหมดน่ะ
ประเด็นอื่นตอนนี้สำหรับผมมันไม่ผ่านอะ
คือผมจะสื่อว่า ผมไม่ได้ดูยอดซื้อขายตปทอย่างเดียว
น่ะ มันเป็นแค่ตัวแปรหลายๆอย่างที่ผมดู
แต่เห็นเมื่อวานมันซื้อ 3000 กว่าล้านก็เสี่ยวเหมือนกันนะ
แต่ผมก็ยังไม่ซื้อหุ้นอยู่ดีอะ
hongvalue เขียน: ทำไมพี่ถึงบอกว่าคุณ ศิริวัฒน์เดามาตลอดล่ะครับ
เหตุผลที่เขาให้สัมภาษมันฟังดูเหมือนว่าเขาเดา
อย่างนั้นหรือ?
ป.ล.ผมไม่ได้เชียร์ศิริวัฒน์นะ
วันนี้ขายแล้วนะVIB007 เขียน:
มีประเด็นอื่นอะไรเด็ดๆอีก
บอกหน่อยดิ
ผมว่าทัศนคติของผมกับห้องนี้คงไม่ค่อยจะเหมือนกันจริงๆนั้นแหละVIB007 เขียน: ใครบอกว่าตลาดหุ้นจะขึ้นจะลง
ก็"เดา"ทั้งนั้นหละ
แล้วแต่ว่าใครจะใช้เครื่องมืออะไรในการ"เดา"
สำหรับผมตลาดปิดไป 10 ปีเลยก็ได้ครับพี่ ผมจะได้มีเวลาศึกษานาน ๆ อายุยังน้อย ฮ่า ๆ ๆVIB007 เขียน: คุณศิริวัฒน์ก็เห็นเดาตลาดหุ้นมาตลอด
ถูกบ้างผิดบ้าง
แต่ก็เดาอยู่ดี
ฟังหูไว้หูแล้วกันครับ
ส่วนวีไอแท้ๆ
ก็ไม่ต้องไปสนใจตลาดหรอก
ช่างมันเถอะ
จะขึ้นหรือจะลง
ไม่ต้องไปเดาให้เมื่อยตุ้ม
ตลาดหุ้นปิดไปสักสองสามปีก็น่าจะยัง"เฉยๆ"อยู่นะ
ในนี้มีใครทำ(ใจ)ได้บ้างยกมือหน่อย
หรือตลาดหุ้นปิดไปวันสองวันก็ลงแดงแล้ว ฮา แซวเล่นนะ
ขอขยายความหน่อยhongvalue เขียน: ผมว่าทัศนคติของผมกับห้องนี้คงไม่ค่อยจะเหมือนกันจริงๆนั้นแหละ
ไม่โกรธหรอกครับ ถูกใจก็เป็นเพียงอัตตาเราhongvalue เขียน: ดีนะครับ ฟังเหตุผลแล้วผมเห็นด้วยเลยครับ
ผมเข้าใจแล้วล่ะว่า vi มองกันยังไง
(ก่อนอื่นออกตัวก่อนว่าเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
และมีประเด็น discuss ซึ่งถ้าไม่ถูกใจก็อย่างโกดผมนะ)
อันนี้เป็นทฤษฎี finance เต็ม ๆ ซึ่งถูกต้องมากโดยค่าเฉลี่ยครับhongvalue เขียน: แต่ว่าสมมุติฐานข้างต้น
base on ข้อมูลว่า หุ้นเราขึ้นได้ 100% ใช่ไหมครับ
แต่ว่าหุ้นขึ้นมาเยอะขนาดนี้หุ้นที่จะขึ้นต่อจากนี้ได้อีก
100% ผมว่าหายากนะครับ
แต่คำว่ายากหรือง่ายก็คือมีเงื่อนไขเวลามาเกี่ยวข้องด้วย
สมมุตินะ เราถือหุ้นอยู่ตัวนึงชื่อหุ้น z
ตลาดหุ้นขึ้นมาจาก 408 จุด มา 620
หุ้น z ต้องขึ้นมาไม่มากก็น้อย
แล้วเรายังหวังว่าถ้าหุ้นลงจะไม่หลุด 500
ซึ่งอาจจะหลุดหรือไม่หลุดก็ได้
แต่สมมุติว่าไม่หลุดแล้วกัน
เรายัง assume ต่อไปอีกว่า ถ้าลงมา 500
หุ้นเราจะต้อง outperforme โดยลงได้ 10%
ซึ่งมันก็ค่อนข้างผิดหลักการหุ้น เพราะเราหวัง
upside ตั้ง 100% แต่มา limit loss เพียง 10%
คงต้องดูว่า high beta หรือเปล่า
hongvalue เขียน: ถ้าหุ้นตัวนั้นเป็นหุ้นต่างชาติหุ้นเข้าออกตาม
fundflow ก็ไม่น่าใช้สมมุติฐานนี้ได้
ถ้าไม่ใช่ก็อาจเป็นไปได้แต่ก็ถือว่ามองโลกในแง่ดี
สองต่อเหมือนกันนะ
ทั้ง set ไม่หลุด 500 ทั้งหุ้นเราต้องแข็งกว่า set
อีกอย่างนึง ผมว่า reward/risk 10 เท่า
ค่อนข้างเป็นสมมุติฐานที่ดีเกินจริงไปหน่อยนะ
ผมว่าถ้าตลาดตกต่ำอย่างปลายปีที่แล้ว
กำไรบริษัทโต แต่หุ้นลงสวนทางอุตลุด
แล้วซื้อหุ้นได้ในราคาที่ปันผลสูงมาก
ผมว่าแบบนั้น reward/risk 10 เท่าเป็นไปได้
แต่ผมไม่เชื่อว่าตลาดขึ้นมาแรงขนาดนี้จะหาหุ้น
reward/risk 10เท่าได้
ผมว่าตลาดขึ้นมาแรงขนาดหุ้นทีแข็งแกร่งที่สุดก็ยังไม่
downside มากกว่า 15-20% ได้
มองยาวเหมือนดร.และพี่ ๆ VI คนอื่นครับhongvalue เขียน: ผมว่า reward/risk 10 เท่าเป็นไปได้ถ้า
คิดว่าถือยาวได้ซัก 3-4 ปี เพราะว่าตอนนั้น
เศรษฐกิจน่าจะฟื้นกำไรบริษัทน่าจะโตได้อีกเยอะ
โอกาศได้เป็นเด้งจะสูงขึ้นเยอะและ cover
downside จนน่าสนใจได้
แต่ประเด็นคือ พี่มองยาวซักแค่ไหน
มองยาวเท่าด็อกเตอร์ไหมล่ะ
hongvalue เขียน: ส่วนผมมีสมมุติฐานคนละแบบกับข้างต้น
ผมเลยไม่เล่น
อันนี้จริงนะครับ เมื่อก่อนผมเป็น vi ผมไม่ค่อยสนใจเลยLinzhi เขียน:
ผมว่า beta เอาไว้สำหรับนักเทรดหุ้น กับพวก hedge เป็นหลักน่ะครับ
เพราะมันพันกับการเคลื่อนไหว วอลุ่ม แต่ไม่มีตัวเลขในแง่ผลกำไรอะไรเลย
มีคนให้หุ้นฟรีๆใครจะไม่เอาล่ะครับLinzhi เขียน: (คนอื่นไม่ต้อง pm มานะครับ คงเป็นการยกเคส ผมไม่ได้เก่งขนาดใบ้หวยได้)
แต่คิดว่าฮงคงไม่คิดว่าตัวอย่างนี้สำคัญเท่าไหร่นัก อิอิ ดักทางไว้ก่อน
Just In Time - Dellความสำเร็จของ Dell
มองมุมใหม่ :ผศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 11 มีนาคม 2546
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้นำเสนอผลการสำรวจบริษัทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดทั่วโลก (The World's Most Admired Company) จากนิตยสาร Fortune และมีบริษัทหนึ่งที่น่าสนใจคือ Dell Computer ที่กระโดดจากลำดับที่ 23 ในปีก่อนสู่ลำดับที่ 4 ในปีที่แล้ว
วันนี้เลยอยากจะเล่าเกี่ยวกับความสำเร็จของ Dell ให้ทราบกัน ซึ่งกรณีศึกษาของ Dell นั้นถือว่าเป็นตัวอย่างของกรณีศึกษาทางธุรกิจ ที่ประสบความสำเร็จที่ใช้สอนกันโดยทั่วไปในระดับ MBA
ประวัติของบริษัท ก็เหมือนกับบริษัททางด้านคอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักกันดี ผู้ก่อตั้งคือ Michael Dell ที่ในขณะที่เรียนปริญญาตรีก็เริ่มซื้อชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์มาประกอบขาย จนมีรายได้ดีและมองเห็นลู่ทางในการเติบโตจนต้องลาออกมาจากมหาวิทยาลัยเพื่อมาทำธุรกิจประกอบและขายคอมพิวเตอร์
สิ่งที่ทำให้ Dell ประสบความสำเร็จและโดดเด่นกว่าผู้ประกอบและขายคอมพิวเตอร์รายอื่นๆ ก็คือแนวคิดทางธุรกิจ (Business Model) ที่มีความแตกต่างจากเจ้าเดิมๆ ในขณะที่ผู้ประกอบและขายคอมพิวเตอร์เจ้าเดิมๆ นั้นใช้กลยุทธ์ make-to-stock ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนที่สูงและกำไรที่ต่ำ
แต่ Dell กลับใช้วิธีการที่เรียกว่า make-to-order การผลิตตามคำสั่งซื้อ ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนของ Dell ถูกกว่าคู่แข่ง และในขณะเดียวกันลูกค้าก็ได้รับสินค้าตามที่ตนเองต้องการ
make-to-stock นั้นคือผู้ผลิตจะทำการพยากรณ์ความต้องการของผู้ซื้อว่ามีอยู่เท่าใด ในลักษณะใดบ้าง หลังจากนั้นก็ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วส่งไปจัดเก็บที่คลังสินค้า เพื่อส่งต่อไปยังผู้แทนจำหน่ายอีกทีหนึ่ง
ท่านผู้อ่านอย่าลืมว่าในเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง มีชิ้นส่วนและองค์ประกอบมากมาย การ make-to-stock นั้นเหมือนกับการยัดเยียดสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วให้กับผู้บริโภค โดยตัวผู้บริโภคเองอาจจะต้องการหรือไม่ต้องการชิ้นส่วนบางอย่างในเครื่องนั้นก็ได้
นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นตกรุ่นได้ง่าย ถ้าผู้ผลิตคาดการณ์ความต้องการของผู้บริโภคผิดไปก็จะทำให้เหลือสินค้าที่ขายไม่ออกอยู่เยอะ ส่งผลต่อต้นทุนที่เพิ่มพูนสูงขึ้น
ส่วนแนวคิดแบบ make-to-order นั้นผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อคอมพิวเตอร์ของ Dell ผ่านทางอินเทอร์เน็ต (หรือผ่านพนักงานขายโดยตรง) สามารถที่จะเลือกส่วนประกอบภายในคอมพิวเตอร์ตามที่ตนเองต้องการ คำสั่งซื้อนั้นจะถูกส่งไปที่ Dell ซึ่งทาง Dell ก็จะประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ตามคำสั่งซื้อของผู้บริโภค และจัดส่งคอมพิวเตอร์ตามที่ผู้บริโภคสั่งซื้อกลับไปให้ภายในเวลาอันรวดเร็ว
ดังนั้นแทนที่เมื่อประกอบคอมพิวเตอร์เสร็จแล้วจะต้องมีคลังสินค้าเอาไว้เก็บ และส่งไปยังผู้แทนจำหน่ายอีกที ก็ไม่ต้อง เนื่องจาก Dell สามารถส่งสินค้าตรงไปยังผู้บริโภคได้โดยตรง ทำให้ลดต้นทุนในการจัดเก็บและต้นทุนที่เสียให้กับผู้แทนจำหน่าย นอกจากนั้นเนื่องจากคอมพิวเตอร์ที่ Dell ประกอบเป็นคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาตามความต้องการของลูกค้าโดยตรง ทำให้ Dell ไม่ประสบกับปัญหาที่ประกอบออกมาแล้วขายไม่ได้ ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนที่ต่ำของ Dell
และในขณะเดียวกันลูกค้าของ Dell เองก็ได้รับคอมพิวเตอร์ตามที่ตนเองต้องการ ไม่ต้องจ่ายแพงกว่าเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองไม่ต้องการ พูดง่ายๆ ว่า แนวทางของ Dell นั้นมีประโยชน์ทั้งขึ้นและล่อง นั้นคือทำให้ต้นทุนของบริษัทต่ำกว่าของคู่แข่ง และในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้บริโภคมีความพอใจต่อสินค้าที่ได้รับมากขึ้น
จริงๆ แล้ววิธีการของ Dell ไม่ได้ง่ายเพียงแค่ที่เขียนมาข้างต้น เนื่องจากจะต้องมีองค์ประกอบอีกหลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ระบบการจัดส่ง (Logistics) ที่สมบูรณ์ ระบบการบริหารวัตถุดิบแบบ Just-in-Time (JIT)
หรือแม้กระทั่งความพร้อมและความร่วมมือของผู้ที่เป็น Suppliers คู่แข่งของ Dell หลายเจ้าก็พยายามลอกเลียนรูปแบบทางธุรกิจ แต่ก็ไม่มีใครทำได้สำเร็จ เนื่องจากสาเหตุที่ต่างกันออกไป รูปแบบทางธุรกิจของ Dell เรียกได้ว่า เปลี่ยนโฉมหน้าของธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer: PC) อย่างมโหฬาร เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงผู้ที่เคยได้เปรียบในการแข่งขันให้กลายมาเป็นผู้เสียเปรียบไปเลย
ในปัจจุบัน Dell เป็นผู้ประกอบและขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอันดับหนึ่งทั่วโลก และคงยากที่จะมีใครมาโค่นลงได้ ขณะเดียวกันก็คิดว่าคงไม่มีใครอยากจะมาแข่งกับ Dell ในธุรกิจนี้เท่าใด จะสังเกตเห็นว่าในปัจจุบันกลยุทธ์ของคู่แข่งสำคัญอย่างทั้ง IBM และ Compaq (หรือ HP) ได้หันไปให้ความสนใจต่อด้านอื่นมากกว่าเพียงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบธุรกิจของ Dell ที่ทำให้สามารถประกอบและขายเครื่องได้ถูกกว่าชาวบ้านเขา ตราบใดที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารก็คงยากที่จะมีใครโค่น Dell จากตำแหน่งผู้นำในวงการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลลงได้
นอกจากนี้ในปัจจุบันธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเรียกว่าอยู่ในขาลง ใน 2-3 ปีที่ผ่านมายอดขายเริ่มลดลงจากในอดีต และในขณะเดียวกันเวลาเฉลี่ยกว่าที่จะเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ขององค์กรธุรกิจต่างๆ ก็ยาวขึ้นเป็น 41 เดือน ส่วนของผู้บริโภคตามบ้านก็อยู่ที่ประมาณ 5 ปี แสดงว่าช่วงระยะเวลากว่าที่จะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่นานขึ้นกว่าปกติ
อีกทั้งยังไม่มีสินค้าหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ออกมาจากทั้ง Intel และ Microsoft ที่จะกระตุ้นให้เกิดการซื้อคอมพิวเตอร์ขึ้นมาได้ ในปัจจุบันการขายเครื่องนั้นมักจะเน้นแข่งขันกันที่ราคาเป็นหลัก ก็เรียกได้ว่าเข้าทางของ Dell เขาเลยทีเดียว เพราะไม่มีผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ระดับโลกเจ้าใดอีกแล้วที่มีรูปแบบของธุรกิจที่ต้นทุนถูกกว่าของ Dell
นอกจากนี้กลยุทธ์อีกหลายอย่างของ Dell ก็น่าสนใจ ทั้งกลยุทธ์การเติบโตและกลยุทธ์การแข่งขัน ในปัจจุบันหลังจากที่ตลาดคอมพิวเตอร์ในอเมริกาและส่วนอื่นของโลกเริ่มอิ่มตัว Dell ก็หันไปบุกตลาดจีนอย่างจริงจัง ซึ่งปัจจุบันยอดขายของ Dell ในจีนยังเป็นที่สามอยู่ แต่ Dell มุ่งมั่นกับตลาดจีนมาก ถึงขนาดตัดสินใจไปเปิดโรงงานประกอบคอมพิวเตอร์ในจีนทีเดียว
นอกจากนี้ Dell เองก็เริ่มมองการมุ่งเน้นอยู่แต่ธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคงไม่พอต่อการเติบโตในอนาคต ทำให้ในปัจจุบันได้ทำการขยายเข้าสู่อีกหลายธุรกิจ ทั้ง Servers, Storage, PDA, Printer หรือแม้กระทั่งเริ่มเมียงมองเข้าสู่ธุรกิจการให้คำปรึกษาในการวางระบบด้วย
ส่วนกลยุทธ์ในการแข่งขันของ Dell นั้นก็น่าสนใจ Dell ไม่ได้มุ่งเน้นในเรื่องของนวัตกรรมในตัวสินค้ามากเหมือนคู่แข่งรายอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีสินค้าหรือนวัตกรรมใหม่ Dell จะไม่รีบกระโจนไปผลิต แต่จะรอให้นวัตกรรมใหม่นั้นเริ่มที่จะเป็นที่ยอมรับและอยู่ตัวก่อน ค่อยส่งผลิตภัณฑ์ของตนเองเข้าสู่ตลาด แต่ด้วยราคาที่ถูกกว่าชาวบ้านและคุณภาพสินค้าที่ไม่แตกต่างกัน
เช่น ในกรณีของคอมพิวเตอร์แบบพกพา (PDA) ที่ Dell ปล่อยให้เจ้าอื่น ทำตลาดไปก่อน แล้วเพิ่งออกสินค้าของตัวเองเมื่อปลายปีที่ผ่านมา แต่ด้วยราคาที่ถูกกว่าคนอื่น
ความสำเร็จของ Dell นั้นเกิดขึ้นจากการคิดค้นรูปแบบทางธุรกิจที่แตกต่างจากคู่แข่ง และทำให้ตนเองเกิดความได้เปรียบ เหนือคู่แข่งรายอื่นๆ โดยเฉพาะในเรื่องของต้นทุน ขณะเดียวกัน Dell ก็ไม่ละเลยต่อการกำหนดกลยุทธ์ ในการเติบโตต่อไปในอนาคต และการยึดมั่นต่อกลยุทธ์ในการแข่งขันที่ทำให้ตนเองประสบความสำเร็จ
คนนั้นผมลงนานมากแล้วอ่ะพี่ เกือบปีได้แล้วhongvalue เขียน:ขอบคุณครับน้อง ซารุส
นี้พี่ว่าผู้หญิงคนเดิมที่น้องเอารูปมาลง
หน้าตาคมคายกว่าผู้หญิงคนนี้นะครับ
อืม อยากรู้เหมือนกันครับ ว่าทำไมเจ้าอื่นเลียนแบบไม่สำเร็จ :? :?i_sarut เขียน:คู่แข่งของ Dell หลายเจ้าก็พยายามลอกเลียนรูปแบบทางธุรกิจ แต่ก็ไม่มีใครทำได้สำเร็จ เนื่องจากสาเหตุที่ต่างกันออกไป