กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 92
ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 152
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 93
ขอแสดงความเสียใจ และเป็นกำลังใจให้อาจารย์ด้วยนะครับ
ว. วีไอ อดทน
-
- Verified User
- โพสต์: 547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 96
ช่วงนี้ยุ่งๆ เพิ่งเข้ามาเห็น
ขอแสดงความเสียใจกับอาจารย์ และเป็นกำลังใจให้อาจารย์ด้วยครับ
ขอแสดงความเสียใจกับอาจารย์ และเป็นกำลังใจให้อาจารย์ด้วยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 97
ในหลายกระทู้และคำถามทาง facebook มักเจอความคิดเรื่องหนึ่งคือ low risk high return จึงอยากขอทบทวนหลักคิดกันหน่อยครับ ในโลกการลงทุนและการเงินนั้น เรามักจะได้ยินแต่ high risk high return นี่คือความจริง ที่มักบอกว่าหาหุ้น low risk high return นั้น คำว่า low risk หมายถึง downside loss จะถูกต้องตามหลักการทฤษฎีที่มีกล่าวในทางวิชากานมากกว่า ที่ risk กับ return คู่กันนั้นนักลงทุนต้องไปทำความเข้าใจให้ชัดเจนจริงๆ ก่อน ในหลักการลงทุนนั้น เราจะซื้อหุ้นเมื่อราคาหุ้นนั้นต่ำกว่าราคาตามปัจจัยพื้นฐาน ยิ่งมากยิ่งดี หุ้นที่ราคาตกมากๆ เพราะเหตุใดก็ตาม ไม่ว่าจะเกิด panic ก็ตาม หุ้นที่ดีแต่ราคาลงมามากๆ ดีดกลับไปที่ราคาที่ควรเป็นตามปัจจัยพื้นฐานได้มาก นั่นคือ upside gain หรือที่ชอบเรียกกันว่า high return ที่ผมบอกว่า ในโลกการเงินการลงทุนไม่มี low risk high return เพราะราคาหุ้น จะถูกประเมินมูลค่าจากกระแสเงินสดในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับหารด้วยอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง ดังนั้นหากหุ้นนั้นมีความเสี่ยง (ความไม่แน่นอนหรือความผันผวนสูง) จากกระแสเงินสดที่คาดไว้สูง ตัวหารหรืออัตราคิดลด (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) ก็จะสูงด้วยราคาหุ้นก็จะต่ำลงมากกว่ากิจการที่มีกระแสเงินสดเหมือนกันแต่ความเสี่ยง (ผันผวน) ต่ำ ดังนั้นการลงทุนในหุ้นที่หลายๆ คนเรียกว่า low risk นั้น ในมุมมองการลงทุนแท้จิง ยังต้องดูว่า ความเสี่ยงที่แท้จริงหรือความไม่แน่นอนจากการประมาณการกระแสเงินสดสูงไหม คำว่า overall risk หรือ enterprise risk นั้น ในช่วงสถาวะเศรษฐกิจหนึ่งๆ มักไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก ผมใช้หลักในการประเมินความเสี่ยงรวม คือ LEPESTO (Legal risk, Economic risk, Political risk, Environmental risk, Strategic risk, Technology risk และ Operational risk) บริษัทหนึ่งๆนั้น เมื่อราคาหุ้นปรับตัวลงไปมากๆ นั้น จากข้อมูลงบการเงินปัจจุบัน การประมาณกำไรและกระแสเงินสดในอนาคตยังมีองค์ประกอบความเสี่ยงเหล่านี้อยู่หรือไม่ ถ้ายังมีอยู่ก็อาจถูก discount ได้อีก ถ้ากระแสเงินสดในอนาคตที่เราคาดการณ์ สมมติว่าเท่ากับ 100 ลบ สมมติว่าอัตรผลตอบแทน return (or discount) เท่ากับ 20% มูลค่าตลาดหุ้นโดยรวมเท่ากับ 500 ลบ (คิดแบบ no growth) ถ้ามีหุ้นทั้งหมด 100 ล้านหุ้น ราคาที่ควรเป็นคือ 5 บาท ถ้าราคาหุ้นนี้ตกลงมาเหลือ 3 บาท น่าลงทุนไหม (ลงมา 40%) ถ้ายังคาดหวังกระแสเงินสดในอนาคตเท่าเดิมที่ 100 ลบ ซึ่งกระแสเงินสดนี้อย่าลืมว่าคือค่าเฉลี่ย กรอบความผันผวนกระแสเงินสด จะสามารถอยู่ได้ระหว่าง 54-145 ลบ หุ้นสามรถเป็นไปได้ระหว่าง 2.7-7.25 บาทต่อหุ้น ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นปัจจุบัน Euro Zone ถ้าเราเอาหลักง่ายๆ low risk high return เราปรับการคาดการณ์กระเสเงินสดใหม่เหลือ 80 ลบ คิดลดด้วยผลตอบแทน 20% ได้ราคา 4 บาทต่อหุ้น น่าลงทุนไหม? หากความเสี่ยงที่เราประเมินตามกรอบ LEPESTO ยังคงเดิม กรอบราคาหุ้นตัวนี้จะเป็นไปได้ที่จะอยู่ที่ 2.15-5.8 บาทดังนั้นที่ราคา 3 บาทก็ยังเสี่ยงอยู่ แม้เราจะประเมินกระแสเงินสดลดลงมาแล้วถึง 20% แต่ลักษณะธุรกิจยังเป็น high risk industry ก็ยัง high risk อยู่เว้นตาว่าเรามั่นใจว่ากระแสเงินสดยังคงมั่นใจว่าได้ 100 ลบ มี่ราคา 3 บาทย่อมน่าสนใจ ดังนั้นในการลงทุนของนักลงทุนเน้นคุณค่าชั้นนำของโลกจริงๆ จะไม่ซ้อหุ้นที่ราคาต่ำราคาพื้นฐานอย่างเดียวแต่จะดูกรอบ downside ด้วย เช่นหุ้นราคาพื้นฐานที่ประเมินได้ เท่ากับ 10 บาท แต่หากความเสี่ยงหุ้น (การคาดการณ์ในอนาคตของกระแสเงินสด) ยังคงเดิม ราคาที่น่าลงทุนคือกรอบราคาด้านล่าง สมมตว่าอยู่ที่ 7.5 บาท นั่นคือราคาที่น่าลงทุนหากตลาดปรับตัวลงและการคาดการณ์กระแสเงินสดยังไม่เปลี่ยนแปลง ข้อผิดพลาดประการหนึ่งของคนที่หาหุ้น low risk high return คือ หนึ่งมักคิดว่าคาดการณ์กระแสเงินสดมาแล้ว ซื้อหุ้นต่ำกว่าราคาประเมินแล้ว มักลืมไปว่าการประมาณการณ์ทั้งหลายที่เอาค่าเฉลี่ยมาใช้นั้น ค่าเฉลี่ยข้อมูล 2 ชุดอาจเท่ากัน แต่อาจมี การกระจาย (risk or standard deviation) ต่างกัน ดังนั้นต้องเลือกราคาที่อยู่กรอบล่างไม่ใช่ค่าเฉลี่ย ดังนั้นการเข้าใจ หลัก low risk high return ที่แท้จริงให้ถูกต้อง ดันโดก็ดี บัพเฟต ก็ดี หรือเซียน VI ระดับโลกกีดี เขาบอกมานั้นไม่ผิดครับ เป็นไปตามทฤษฎีทุกอย่าง แต่ห่วงคนอ่านทั่วไป ที่ไม่ลึกซึ้งในหลักการแท้จริงตีตวามผิด กำหนดกลยุทธ์ลงทุนผิด
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 98
วันนี้รบกวนถามอาจารย์เรื่อง EPV= adjusted earning *1/R จากหนังสือ value investing from grahman to buffet.................. หน้า 97 อ่ะครับ ที่เขาทำกับหุ้น wd 40 เขาจะหาไปเพื่อไรเหรอครับ เหมือน เอา กำไรสุทธิลบหนี้ แล้วดูว่าราคาไหนเท่ากับ ปันผลของกำไรสุทธิ ลบหนี้ เท่ากับ ต้นทุนเงินทุนของผู้ถือหุ้น
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 99
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 100
มีคำอยู่ 3 คำในโลกการเงิน การลงทุน ที่ด้านวิชาการ คนทำงานด้านการเงิน นักลงทุนทั่วไป return หรือ required rate of return (ผลตอบแทนที่ต้องการ) หรือ expected return (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) หรือ discount rate (อัตราคิดลด)
cost of capital (ต้นทุนเงินลงทุน) opportunity cost of capital (ต้นทุนเสียโอกาสของทุน) หลายๆครั้ง คือสิ่งเดียวกัน เพียแต่มองคนละมุม return โดยทั่วไปมักจะหมายถึงอัราผลตอบแทนที่ได้รับ ในแง่นี้คือ history record คือเกิดผลแล้วจึงวัด ต่างกับ required rate of return (ผลตอบแทนที่ต้องการ) หรือ expected return (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) หรือ discount rate (อัตราคิดลด) ที่กล่าวมานักการเงินจะหมายถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียงแต่คาดหวังเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ คืออนาคต ดังนั้นที่พูดเรื่อง high risk high return นั้น ในโลกการเงินจึงหมายถึงการลงทุนในสิ่งใดก็ตามหากสิ่ง (สินทรัพย์) ที่ลงทุนพิจารณาแล้วมีความเสี่ยง (ดู/อ่าน บทความคุณธันวา เลาหศิริวงศ์) ยิ่งมากนักลงทุนยิ่งคาดหวังผลตอบแทนการลงทุนยิ่งมากตามไปด้วย หุ้นที่เด้งแรงๆ (ปรับราคาขึ้นมากๆ) ไม่ใช่เพราะราคาต่ำจนคิดว่าน่าจะเสียงต่ำ เมื่อลงทุนโอกาสขาดทุนน้อย แต่เวลาเด้งขึ้มแรงแล้วได้กไรมากๆ หมายถึง retun สูงๆ นั่นไม่ใช่ความหมายทางทฤษฎีการเงินของคำว่า high risk high return แต่การหาหุ้นที่ราคาปรับตัวลงมามากๆ จากราคาปัจจัยพื้นฐานที่ควรเป็น คือสิ่งที่ VI ควรแสวงหา แต่อย่าหลงประเด็นว่านั่นคือบริษัท low risk ความเสี่ยงบริษัทนั้นอาจยังสูงอยู่เนื่องมาจากลักษณะธุรกิจ เพียงแต่ราคาของหุ้นนั้นปรับตัวลงมามากเกินกว่าราคาพื้นฐานที่ควรเป็น
คราวนี้หากหุ้นที่ลักษณะการประกอบธุรกิจมีความเสี่ยงสูง เมื่อเราประเมินกำไร หรือกระแสเงินสดในอนาคตออกมาแล้ว การประเมินหามูลค่ากิจการต้องหารด้วยอัตาคิดลด ตรงนี้ครับที่ถ้ากิจการนั้นมีความเสี่ยงมาก discount rate (อัตราคิดลด) หรือrequired rate of return (ผลตอบแทนที่ต้องการ) หรือ expected return (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) ก็ต้องสูงด้วยจะใช้ตัวคิดลดหรือ expected return เพียง 12% อาจไม่พอเพราะจะได้มูลค่าพื้นฐานที่ควรเป็นสูงเกินไป อาจต้องคิดลดด้วยอัตราผลตอบแทน 18-20% ดังนั้นคำว่า high risk high return จึงมีความหมายดังที่กล่าวมานี้
ส่วนอีกคำหนึ่ง cost of capital (ต้นทุนเงินลงทุน) และ opportunity cost of capital (ต้นทุนเสียโอกาสของทุน) ในโลกทางวิชาการคือสิ่งเดียวกันในหนังสือด้าน VI หลายๆตำรามีการพูดถึง EPV (Earning Power Value) ทีหารด้วยการนำเอารายได้ที่ปรับปรุง Adjusted Earning หารด้วย ต้นทุนเงินลงทุน ต้นทุนนี้ไม่ใช่ว่าไปกู้มา 6% แล้ว ต้นทุนคือ 6% แต่ในโลกการเงินจะดูว่า เงินก้อนเดียวกันนี้ถ้ามีโอกาสเลือกลงทุนในสินทรัพย์ใดๆก็ได้ ที่มีความเสี่ยงเหมือนๆกัน ผลตอบแทนที่จะได้รับคือเท่าไร นั่นคือต้นทุนเงินทุนนั้น เช่น การลงทุนในหุ้น A ต้นทุนที่จะใช้คำนวณ EPV ควรใช้เท่าไร ถ้าเงินก้อนเดียวกันสามารถลงทุนในสินทรัพย์ B ที่มีความเสี่ยงพอๆกัน และได้ผลตอบแทนการลงทุน 15% ต้นทุนเงินลงทุนของ A ที่นำมาใช้คำนวณจะเท่ากับ 15%
คงจะทำให้หลายๆคนได้เข้าใจหลักการมากขึ้น การหาหุ้นราคาต่ำโอกาสลงต่อมีน้อย โอกาสขึ้นทากมีสูง คือสิ่งที่เป็นหัวใจของนักลงทุน แต่นั่ไม่ม่ใช่เรื่องขัดแย้งกับหลัก high risk high return คำว่า low risk คือลงทุนแล้วโอกาสขาดทุนน้อย แต่ไม่ใช่ว่าบริทนั้นๆ มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจน้อย
cost of capital (ต้นทุนเงินลงทุน) opportunity cost of capital (ต้นทุนเสียโอกาสของทุน) หลายๆครั้ง คือสิ่งเดียวกัน เพียแต่มองคนละมุม return โดยทั่วไปมักจะหมายถึงอัราผลตอบแทนที่ได้รับ ในแง่นี้คือ history record คือเกิดผลแล้วจึงวัด ต่างกับ required rate of return (ผลตอบแทนที่ต้องการ) หรือ expected return (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) หรือ discount rate (อัตราคิดลด) ที่กล่าวมานักการเงินจะหมายถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียงแต่คาดหวังเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ คืออนาคต ดังนั้นที่พูดเรื่อง high risk high return นั้น ในโลกการเงินจึงหมายถึงการลงทุนในสิ่งใดก็ตามหากสิ่ง (สินทรัพย์) ที่ลงทุนพิจารณาแล้วมีความเสี่ยง (ดู/อ่าน บทความคุณธันวา เลาหศิริวงศ์) ยิ่งมากนักลงทุนยิ่งคาดหวังผลตอบแทนการลงทุนยิ่งมากตามไปด้วย หุ้นที่เด้งแรงๆ (ปรับราคาขึ้นมากๆ) ไม่ใช่เพราะราคาต่ำจนคิดว่าน่าจะเสียงต่ำ เมื่อลงทุนโอกาสขาดทุนน้อย แต่เวลาเด้งขึ้มแรงแล้วได้กไรมากๆ หมายถึง retun สูงๆ นั่นไม่ใช่ความหมายทางทฤษฎีการเงินของคำว่า high risk high return แต่การหาหุ้นที่ราคาปรับตัวลงมามากๆ จากราคาปัจจัยพื้นฐานที่ควรเป็น คือสิ่งที่ VI ควรแสวงหา แต่อย่าหลงประเด็นว่านั่นคือบริษัท low risk ความเสี่ยงบริษัทนั้นอาจยังสูงอยู่เนื่องมาจากลักษณะธุรกิจ เพียงแต่ราคาของหุ้นนั้นปรับตัวลงมามากเกินกว่าราคาพื้นฐานที่ควรเป็น
คราวนี้หากหุ้นที่ลักษณะการประกอบธุรกิจมีความเสี่ยงสูง เมื่อเราประเมินกำไร หรือกระแสเงินสดในอนาคตออกมาแล้ว การประเมินหามูลค่ากิจการต้องหารด้วยอัตาคิดลด ตรงนี้ครับที่ถ้ากิจการนั้นมีความเสี่ยงมาก discount rate (อัตราคิดลด) หรือrequired rate of return (ผลตอบแทนที่ต้องการ) หรือ expected return (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) ก็ต้องสูงด้วยจะใช้ตัวคิดลดหรือ expected return เพียง 12% อาจไม่พอเพราะจะได้มูลค่าพื้นฐานที่ควรเป็นสูงเกินไป อาจต้องคิดลดด้วยอัตราผลตอบแทน 18-20% ดังนั้นคำว่า high risk high return จึงมีความหมายดังที่กล่าวมานี้
ส่วนอีกคำหนึ่ง cost of capital (ต้นทุนเงินลงทุน) และ opportunity cost of capital (ต้นทุนเสียโอกาสของทุน) ในโลกทางวิชาการคือสิ่งเดียวกันในหนังสือด้าน VI หลายๆตำรามีการพูดถึง EPV (Earning Power Value) ทีหารด้วยการนำเอารายได้ที่ปรับปรุง Adjusted Earning หารด้วย ต้นทุนเงินลงทุน ต้นทุนนี้ไม่ใช่ว่าไปกู้มา 6% แล้ว ต้นทุนคือ 6% แต่ในโลกการเงินจะดูว่า เงินก้อนเดียวกันนี้ถ้ามีโอกาสเลือกลงทุนในสินทรัพย์ใดๆก็ได้ ที่มีความเสี่ยงเหมือนๆกัน ผลตอบแทนที่จะได้รับคือเท่าไร นั่นคือต้นทุนเงินทุนนั้น เช่น การลงทุนในหุ้น A ต้นทุนที่จะใช้คำนวณ EPV ควรใช้เท่าไร ถ้าเงินก้อนเดียวกันสามารถลงทุนในสินทรัพย์ B ที่มีความเสี่ยงพอๆกัน และได้ผลตอบแทนการลงทุน 15% ต้นทุนเงินลงทุนของ A ที่นำมาใช้คำนวณจะเท่ากับ 15%
คงจะทำให้หลายๆคนได้เข้าใจหลักการมากขึ้น การหาหุ้นราคาต่ำโอกาสลงต่อมีน้อย โอกาสขึ้นทากมีสูง คือสิ่งที่เป็นหัวใจของนักลงทุน แต่นั่ไม่ม่ใช่เรื่องขัดแย้งกับหลัก high risk high return คำว่า low risk คือลงทุนแล้วโอกาสขาดทุนน้อย แต่ไม่ใช่ว่าบริทนั้นๆ มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจน้อย
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 101
[quote="cyber-shot"]วันนี้รบกวนถามอาจารย์เรื่อง EPV= adjusted earning *1/R จากหนังสือ value investing from grahman to buffet.................. หน้า 97 อ่ะครับ ที่เขาทำกับหุ้น wd 40 เขาจะหาไปเพื่อไรเหรอครับ เหมือน เอา กำไรสุทธิลบหนี้ แล้วดูว่าราคาไหนเท่ากับ ปันผลของกำไรสุทธิ ลบหนี้ เท่ากับ ต้นทุนเงินทุนของผู้ถือหุ้น[/quote]
องค์ประกอบค่าหุ้นตามแนวคิดของ Grahman มีสวมส่วนคือ Reproduction value, Franchise value, Growth value ซึ่ง Grahaman จะให้ราคาที่ต้องจ่ายซื้อลงทุนจาก Growth value น้อยที่สุด และให้ความสำคัญกับ Reproduction value มากที่สุด ส่วน Franchise value คือ EVP ที่มากกว่า Reproduction value การหา EVP นี้เพื่อดูว่ามูลค่าทดแทน (reproduction value) นี้มากกว่าหรือน้อยกว่า EVP ถ้ามากกว่าก็แสดงว่าบริษัทไม่มี Franchise value และยังแสดงถึงบรษัทไม่ได้เปรียบในการแข่งขัน ระยะยาว reproduction value จะทำลายมูลค่าในตลาดของตัวเองลง ในทางบัญชีคือจะเกิดการด้อยค่าในอนาคตได้ เพราะตลาดให้มูลต่าทดแทนไว่ สมมติ 1 พัน ลบ. แต่ความสามารถในการทำกำไร (EVP) ทำได้เพียง 0.8 น ลบ. เนื่องจากผู้บริหารอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันสามารถบรการสินทรัพย์แบบเดียวกันนี้ได้ 1 พัน ลบ. ตลาดจึงให้ราคานี้ไว้ แต่ผู้บริหารทำกำไรไว้ให้มีมูลค่าธุรกิจนี้เพียง 0.8 พัน ลบ. ดังนั้น EVP จึงนำมาใช้ประเมินเปรียบเทียบอีกชั้นหนึ่งว่า mraket capital มูลค่าตลาด (ราคาหุ้น) วันนี้สะท้อนราคาอะไรอยู่ มากเกินไปหรือไม่ แต่ Grahman ก็มักจะเผื่อส่วนปลอดภัยไว้ อย่างน้อย 30-40% EVP ลงไปอีก (หรืออาจลดจากมูลค่าทดแทนก็ได้
Reproduction value คือตัวปัญหาแรก เพราะในโลกความเป็นจริงการหาราคานี้ด้อย่างใกล้เคียงสุด ต้องสามารถเข้าไปทำ due diligence ซึ่งต้องเข้าไปดูรายละเอียดทางบัญชีทุกรายการ นักลงทุนทั่วไปทำไม่ได้แน่ กำเงินแสนเดินเข้าไปบอกบริษัทจะขอมาประเมินราคาสินทรัพ์หนี้สินคงถูกไล่ตะเพิดออกมา แต่เราสามารถประเมินจากรายการในงบดุลได้ครับ มันมีเทคนิคที่ต้องไช้ เพียงแค่อ่านงบเป็นอย่างเดียวเท่านั้นไม่พอ เรื่องนี้ยาวต้องเรียนกันเฉพาะจริงๆ แต่ก็อาศัยพื้นฐานด้านบัญชี การวิเคราะห์งบการเงิน ความรู้ทางการเงิน สถิติเบื้องต้น เศรษฐศาสตร์ และการเข้าใจทางธุรกิจเป็นพื้นฐานมาประกอบพร้อมกัน
ส่วน EVP ก็ทำนองเดียวกันครับ บางคนอาจคิดว่าทำไมมันยากอย่างนี้ ความจริงถ้าพื้นฐานดีจริงๆ เรื่องเหล่านี้ดูงบการเงินแล้วนั่งทำงานกับมันจนิงๆก็ไม่นานครับ งบออกปั๊บไม่เกินสัปดาห์หาได้หมดทุกแง่มุมแล้ว บางทีบางห้นไม่ข้ามวันก็รู้ได้แล้ว ยิ่งมีข้อมูลบางรายการเก็บต่อเนื่องไว้สัก 4-5 ปี อย่างต่ำแล้วสบายเลย ที่เห็นๆ VI (ที่ประกาศตัวตนกัน) ตามแนวทาง Gragman กันจริงๆ เพียงแต่วิเคราห์ปัจจัยพื้นฐานในแนวทาง Fundamental analysis เท่านั้น เพราะแนวทางที่ถามและหากได้อ่านต้นตำรับแนวทาง Grahman ที่เขาใช้บรรยายใน มหาวิทยาลัยโคลัมเบียจริงๆ Grahman จะบอกว่า Fundamental analysis เป็นเพียงส่วนหนึ่งในแนวทาง VI แต่การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Fundamental analysis ไม่ใช่ VI
องค์ประกอบค่าหุ้นตามแนวคิดของ Grahman มีสวมส่วนคือ Reproduction value, Franchise value, Growth value ซึ่ง Grahaman จะให้ราคาที่ต้องจ่ายซื้อลงทุนจาก Growth value น้อยที่สุด และให้ความสำคัญกับ Reproduction value มากที่สุด ส่วน Franchise value คือ EVP ที่มากกว่า Reproduction value การหา EVP นี้เพื่อดูว่ามูลค่าทดแทน (reproduction value) นี้มากกว่าหรือน้อยกว่า EVP ถ้ามากกว่าก็แสดงว่าบริษัทไม่มี Franchise value และยังแสดงถึงบรษัทไม่ได้เปรียบในการแข่งขัน ระยะยาว reproduction value จะทำลายมูลค่าในตลาดของตัวเองลง ในทางบัญชีคือจะเกิดการด้อยค่าในอนาคตได้ เพราะตลาดให้มูลต่าทดแทนไว่ สมมติ 1 พัน ลบ. แต่ความสามารถในการทำกำไร (EVP) ทำได้เพียง 0.8 น ลบ. เนื่องจากผู้บริหารอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันสามารถบรการสินทรัพย์แบบเดียวกันนี้ได้ 1 พัน ลบ. ตลาดจึงให้ราคานี้ไว้ แต่ผู้บริหารทำกำไรไว้ให้มีมูลค่าธุรกิจนี้เพียง 0.8 พัน ลบ. ดังนั้น EVP จึงนำมาใช้ประเมินเปรียบเทียบอีกชั้นหนึ่งว่า mraket capital มูลค่าตลาด (ราคาหุ้น) วันนี้สะท้อนราคาอะไรอยู่ มากเกินไปหรือไม่ แต่ Grahman ก็มักจะเผื่อส่วนปลอดภัยไว้ อย่างน้อย 30-40% EVP ลงไปอีก (หรืออาจลดจากมูลค่าทดแทนก็ได้
Reproduction value คือตัวปัญหาแรก เพราะในโลกความเป็นจริงการหาราคานี้ด้อย่างใกล้เคียงสุด ต้องสามารถเข้าไปทำ due diligence ซึ่งต้องเข้าไปดูรายละเอียดทางบัญชีทุกรายการ นักลงทุนทั่วไปทำไม่ได้แน่ กำเงินแสนเดินเข้าไปบอกบริษัทจะขอมาประเมินราคาสินทรัพ์หนี้สินคงถูกไล่ตะเพิดออกมา แต่เราสามารถประเมินจากรายการในงบดุลได้ครับ มันมีเทคนิคที่ต้องไช้ เพียงแค่อ่านงบเป็นอย่างเดียวเท่านั้นไม่พอ เรื่องนี้ยาวต้องเรียนกันเฉพาะจริงๆ แต่ก็อาศัยพื้นฐานด้านบัญชี การวิเคราะห์งบการเงิน ความรู้ทางการเงิน สถิติเบื้องต้น เศรษฐศาสตร์ และการเข้าใจทางธุรกิจเป็นพื้นฐานมาประกอบพร้อมกัน
ส่วน EVP ก็ทำนองเดียวกันครับ บางคนอาจคิดว่าทำไมมันยากอย่างนี้ ความจริงถ้าพื้นฐานดีจริงๆ เรื่องเหล่านี้ดูงบการเงินแล้วนั่งทำงานกับมันจนิงๆก็ไม่นานครับ งบออกปั๊บไม่เกินสัปดาห์หาได้หมดทุกแง่มุมแล้ว บางทีบางห้นไม่ข้ามวันก็รู้ได้แล้ว ยิ่งมีข้อมูลบางรายการเก็บต่อเนื่องไว้สัก 4-5 ปี อย่างต่ำแล้วสบายเลย ที่เห็นๆ VI (ที่ประกาศตัวตนกัน) ตามแนวทาง Gragman กันจริงๆ เพียงแต่วิเคราห์ปัจจัยพื้นฐานในแนวทาง Fundamental analysis เท่านั้น เพราะแนวทางที่ถามและหากได้อ่านต้นตำรับแนวทาง Grahman ที่เขาใช้บรรยายใน มหาวิทยาลัยโคลัมเบียจริงๆ Grahman จะบอกว่า Fundamental analysis เป็นเพียงส่วนหนึ่งในแนวทาง VI แต่การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Fundamental analysis ไม่ใช่ VI
- SawScofield
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 238
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 102
รบกวนถามอาจารย์เกี่ยวกับ "การบันทึกค่าความนิยมจากการเข้าร่วมกิจการ" ครับ คือผมเห็นรายการดังกล่าวจากสินทรัพย์ของบริษัทหนึ่งที่มีการซื้อและเข้าถือหุ้นของบริษัทอื่นอะครับ เลยอยากทราบว่ารายการดังกล่าวแสดงถึงการซื้อของที่แพงกว่าความเป็นจริงใช่หรือไม่ครับ แล้วรายการดังกล่าวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้หรือไม่จากสาเหตุใดบ้างครับ ทั้งนี้มีมุมมองหรือข้อสังเกตอื่นๆเกี่ยวกับรายการนี้ที่ต้องคำนึงถึงอีกหรือไม่ครับ รบกวนด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับอาจารย์ >/\<
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 103
[quote="SawScofield"]รบกวนถามอาจารย์เกี่ยวกับ "การบันทึกค่าความนิยมจากการเข้าร่วมกิจการ" ครับ คือผมเห็นรายการดังกล่าวจากสินทรัพย์ของบริษัทหนึ่งที่มีการซื้อและเข้าถือหุ้นของบริษัทอื่นอะครับ เลยอยากทราบว่ารายการดังกล่าวแสดงถึงการซื้อของที่แพงกว่าความเป็นจริงใช่หรือไม่ครับ แล้วรายการดังกล่าวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้หรือไม่จากสาเหตุใดบ้างครับ ทั้งนี้มีมุมมองหรือข้อสังเกตอื่นๆเกี่ยวกับรายการนี้ที่ต้องคำนึงถึงอีกหรือไม่ครับ รบกวนด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับอาจารย์ >/\<[/quote]
การบันทึกค่าความนิยมจากการเข้าซื้อกิจการเกิดขึ้นได้เมื่อราคาที่กิจการนั้นเข้าไปซื้อกิจการอื่นสูงกว่ามูลค่าทางบัญชี เช่นกิจการ Aเข้าซื้อ B 80% เมื่อราคา B มีมูลค่าหุ้นตามบัญชี 20 บาทต่อหุ้น A เข้าซื้อที่ราคา 32 บาท เมื่อ A จัดทำและเสนองบการเงินรวม จะเกิดค่านิยมขึ้นในงบการเงินรวม.....นี่คือด้านบัญชีอย่างคร่าวๆ
ในแง่ของการเงินการเข้าซื้อราคาที่สูงกว่าอาจจะแพงหรือไม่แพงกว่าความเป็นจริงก็ได้ ขึ้นกับว่ามูลค่าที่แท้จริงของ B จรืงๆแล้วเป็นเท่าไร สมมติว่า (จากตัวอย่างเดิม) B มีราคาที่ควรเป็น 38 บาทต่อหุ้น ถือว่า A ไม่ได้ซื้อที่ราคาแพง แต่ในงบการเงินรวม A ก็ยังแสดงการบันทึกค่าความนิยมจากการเข้าร่วมกิจการอยู่ครับ
ดังนั้นอาจมีคำถามว่าแล้วจะรูได้อย่างไรว่ามูลค่าที่แสดงอยู่นั้นถูกหรือแพงกว่าความเป็นจริง
ในทางบัญชีมูลค่าความนิยมนี้จะต้องประเมินการด้อยค่าทุกปี เช่นการที่ A ซื้อราคาที่สูงกว่าอาจเป็นเพราะ B มีจุดแข็งด้านชื่อเสียงแบรนด์ หรือกลุ่มตลาดที่เติบโตสูง หรืออาจเพราะมีราคาที่ดินที่สูงกว่าราคาตามบัญชีก็ได้ ส่วนที่จ่ายสูงกว่าราคาบัญชีเพราะเหตุผลต่างๆข้างต้น นั่นคือการคาดการณ์กระแสเงินสดในอนาคตของ B ประเมินได้ราคาสูงกว่าบัญชี ต่อมาปรากฏว่ายอดขาย ลุฏค้าของกลุ่ม B หรือราคาที่ดินต่ำกว่าที่คาดมากและต่ำกว่าจนราคาจากการประมาณกระแสเงนสดคิดลดต่ำกว่าราคาที่ซื้อมา เหลือมูลค่าเพียง 29 บาท ส่วนเกินที่บันทึกค่านิยมก็จะลดลง จากตัวอย่างเคยบันทึกไว้ตอนซื้อไว้ 32-20 = 12 บาทค่านิยมประเมินใหม่เหลือเพียง 9 บาท ก็จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายจากการด้อยค่า 3 บาทในงบกำไรขาดทุนงบการเงินรวม
ดังนั้นมูลค่านี้อาจลดลงได้ครับหากประเมินแล้วพบว่ามูลค่า B ต่ำกว่าราคาที่ซื้อมาหากภายหลังประเมินใหม่มีราคาเพิ่มขึ้น การด้อยค่านั้นจะบันทักกลับรายการ (ค่าใช้จ่ายติดลบหรือเป็นรายได้แต่เรียกว่าการด้อยค่ากลับบัญชี) แต่การบันทึกกลับนี้ต้องไม่ทำให้ราคาเงินลงทุน B สูงกว่าครั้งแรกที่ซื้อมา
ดังนั้นสรุปได้ว่า ในทางบัญชีค่าความนิยมลดลงได้และเพิ่มได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าราคาทุนที่ซื้อมาครั้งแรก
ดังนั้นลดลงได้เพราะเกิดการด้อยค่า ซึ่งมาจากความสามารถในการทำกำไรหรือกระแสเงินสดในอนาคตของเงินลงทุนนั้นลดลง มูลค่าสินทรัพย์ B ลดลงจนด้อยค่า ส่วนเพิ่มขึ้นมาจากกรณีเดียวคือเกิดจากการกลับรายการด้อยค่าเนื่องจากงวดก่อนรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายแล้ว งวดปัจจุบันมูลค่า B เพิ่มขึ้น แต่ลดแล้วอาจลดต่ออีกได้ถาพบว่ามูลค่า B แย่ลงกว่าเดิมอีก
การประเมินมูลค่าดังกล่าว A ในฐานะบริษัทที่ต้องจัดทำงบการเงินรวม (บริษัทแม่) ต้องประเมินมูลค่า B ทุกครั้งที่นำเสนองบการเงินรวมการด้อยค่าในเงินลงทุนหรือค่าความนิยมนี้บ่งชี้ว่าบริษัท B มีความสามารถในการทำกำไรแย่ลง (กว่าที่คาดไว้) แต่อย่าลืมว่าในทางบัญชีบางครั้งผู้บริหารอาจประเมินในเชิงบวกเกินจริง ผู้สอบบัญชีก็ยากที่จะรู้ได้เพราะในความเป็นจริงถ้าไม่มีอะไรที่ชัดๆก็ยังไม่ด้อยค่า กว่าจะรับรู้จริง B อาจจะมีฐานะการเงินย่ำแย่แล้วก็ได้
ในการวิเคราะห์นั้นอาจประเมินเองคร่าวๆได้ ผมจะเน้นดูความสามารถในการทำกำไร เช่น ถ้าเป็นบริษัทร่วม (20%<ถือหุ้น<50%) ส่วนแบ่งกำไรที่รับรู้หารด้วยเงินลงทุนตามราคาทุน ทำได้มากน้อย ดีไหม ถ้าต่ำเช่น 4% ขณะที่เราพอทราบว่าอุตสาหกรรมนั้นน่าจะได้สักราว 15% แสดงว่าเงินลงทุน B มีแนวโน้มน่าจะด้อยค่าได้ แต่กิจการอาจยังไม่รับรู้ แต่ในฐานะคนซื้อหุ้นต้องประเมินเผื่อความเสี่ยงให้ราคาตามบัญชีลดลงหรือ PBV ที่ระดับต่ำกว่าปัจจุบันไว้ก่อน
แต่ถ้าเป็นบริษัทย่อยจะไม่มีส่วนแบ่งกำไรฯ รายได้ ค่าใช้จ่าย กำไร จะเป็นยอดรวมของแม่+ย่อย ปรับรายการระหว่างกันออกแล้ว ผมจะวิเคราะจากงบเดี่ยวดูว่า บริษัทแม่เดี่ยวๆ ทำกำไร(ROA,ROE)ได้สักกี่% งบรวมซึ่งรวมกันทำกำไรได้กี่% ถ้างบรวมดีกว่างบเดี่ยว แสดงว่าบริษัทย่อยทำได้ดี ถ้าต่ำกว่าแสดงว่าไม่ดี หลักการนี้ใช้ตรวจสอบคร่าวๆได้ว่า A ไปซื้อB แพงหรือไม่ เพราะผู้บริหารที่ดีไม่น่าจะเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีควมสามารถต่ำกว่าที่กิจการทำอยู่เดิม
เอาย่อๆพอประยุกต์ได้บ้างนะครับ
การบันทึกค่าความนิยมจากการเข้าซื้อกิจการเกิดขึ้นได้เมื่อราคาที่กิจการนั้นเข้าไปซื้อกิจการอื่นสูงกว่ามูลค่าทางบัญชี เช่นกิจการ Aเข้าซื้อ B 80% เมื่อราคา B มีมูลค่าหุ้นตามบัญชี 20 บาทต่อหุ้น A เข้าซื้อที่ราคา 32 บาท เมื่อ A จัดทำและเสนองบการเงินรวม จะเกิดค่านิยมขึ้นในงบการเงินรวม.....นี่คือด้านบัญชีอย่างคร่าวๆ
ในแง่ของการเงินการเข้าซื้อราคาที่สูงกว่าอาจจะแพงหรือไม่แพงกว่าความเป็นจริงก็ได้ ขึ้นกับว่ามูลค่าที่แท้จริงของ B จรืงๆแล้วเป็นเท่าไร สมมติว่า (จากตัวอย่างเดิม) B มีราคาที่ควรเป็น 38 บาทต่อหุ้น ถือว่า A ไม่ได้ซื้อที่ราคาแพง แต่ในงบการเงินรวม A ก็ยังแสดงการบันทึกค่าความนิยมจากการเข้าร่วมกิจการอยู่ครับ
ดังนั้นอาจมีคำถามว่าแล้วจะรูได้อย่างไรว่ามูลค่าที่แสดงอยู่นั้นถูกหรือแพงกว่าความเป็นจริง
ในทางบัญชีมูลค่าความนิยมนี้จะต้องประเมินการด้อยค่าทุกปี เช่นการที่ A ซื้อราคาที่สูงกว่าอาจเป็นเพราะ B มีจุดแข็งด้านชื่อเสียงแบรนด์ หรือกลุ่มตลาดที่เติบโตสูง หรืออาจเพราะมีราคาที่ดินที่สูงกว่าราคาตามบัญชีก็ได้ ส่วนที่จ่ายสูงกว่าราคาบัญชีเพราะเหตุผลต่างๆข้างต้น นั่นคือการคาดการณ์กระแสเงินสดในอนาคตของ B ประเมินได้ราคาสูงกว่าบัญชี ต่อมาปรากฏว่ายอดขาย ลุฏค้าของกลุ่ม B หรือราคาที่ดินต่ำกว่าที่คาดมากและต่ำกว่าจนราคาจากการประมาณกระแสเงนสดคิดลดต่ำกว่าราคาที่ซื้อมา เหลือมูลค่าเพียง 29 บาท ส่วนเกินที่บันทึกค่านิยมก็จะลดลง จากตัวอย่างเคยบันทึกไว้ตอนซื้อไว้ 32-20 = 12 บาทค่านิยมประเมินใหม่เหลือเพียง 9 บาท ก็จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายจากการด้อยค่า 3 บาทในงบกำไรขาดทุนงบการเงินรวม
ดังนั้นมูลค่านี้อาจลดลงได้ครับหากประเมินแล้วพบว่ามูลค่า B ต่ำกว่าราคาที่ซื้อมาหากภายหลังประเมินใหม่มีราคาเพิ่มขึ้น การด้อยค่านั้นจะบันทักกลับรายการ (ค่าใช้จ่ายติดลบหรือเป็นรายได้แต่เรียกว่าการด้อยค่ากลับบัญชี) แต่การบันทึกกลับนี้ต้องไม่ทำให้ราคาเงินลงทุน B สูงกว่าครั้งแรกที่ซื้อมา
ดังนั้นสรุปได้ว่า ในทางบัญชีค่าความนิยมลดลงได้และเพิ่มได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าราคาทุนที่ซื้อมาครั้งแรก
ดังนั้นลดลงได้เพราะเกิดการด้อยค่า ซึ่งมาจากความสามารถในการทำกำไรหรือกระแสเงินสดในอนาคตของเงินลงทุนนั้นลดลง มูลค่าสินทรัพย์ B ลดลงจนด้อยค่า ส่วนเพิ่มขึ้นมาจากกรณีเดียวคือเกิดจากการกลับรายการด้อยค่าเนื่องจากงวดก่อนรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายแล้ว งวดปัจจุบันมูลค่า B เพิ่มขึ้น แต่ลดแล้วอาจลดต่ออีกได้ถาพบว่ามูลค่า B แย่ลงกว่าเดิมอีก
การประเมินมูลค่าดังกล่าว A ในฐานะบริษัทที่ต้องจัดทำงบการเงินรวม (บริษัทแม่) ต้องประเมินมูลค่า B ทุกครั้งที่นำเสนองบการเงินรวมการด้อยค่าในเงินลงทุนหรือค่าความนิยมนี้บ่งชี้ว่าบริษัท B มีความสามารถในการทำกำไรแย่ลง (กว่าที่คาดไว้) แต่อย่าลืมว่าในทางบัญชีบางครั้งผู้บริหารอาจประเมินในเชิงบวกเกินจริง ผู้สอบบัญชีก็ยากที่จะรู้ได้เพราะในความเป็นจริงถ้าไม่มีอะไรที่ชัดๆก็ยังไม่ด้อยค่า กว่าจะรับรู้จริง B อาจจะมีฐานะการเงินย่ำแย่แล้วก็ได้
ในการวิเคราะห์นั้นอาจประเมินเองคร่าวๆได้ ผมจะเน้นดูความสามารถในการทำกำไร เช่น ถ้าเป็นบริษัทร่วม (20%<ถือหุ้น<50%) ส่วนแบ่งกำไรที่รับรู้หารด้วยเงินลงทุนตามราคาทุน ทำได้มากน้อย ดีไหม ถ้าต่ำเช่น 4% ขณะที่เราพอทราบว่าอุตสาหกรรมนั้นน่าจะได้สักราว 15% แสดงว่าเงินลงทุน B มีแนวโน้มน่าจะด้อยค่าได้ แต่กิจการอาจยังไม่รับรู้ แต่ในฐานะคนซื้อหุ้นต้องประเมินเผื่อความเสี่ยงให้ราคาตามบัญชีลดลงหรือ PBV ที่ระดับต่ำกว่าปัจจุบันไว้ก่อน
แต่ถ้าเป็นบริษัทย่อยจะไม่มีส่วนแบ่งกำไรฯ รายได้ ค่าใช้จ่าย กำไร จะเป็นยอดรวมของแม่+ย่อย ปรับรายการระหว่างกันออกแล้ว ผมจะวิเคราะจากงบเดี่ยวดูว่า บริษัทแม่เดี่ยวๆ ทำกำไร(ROA,ROE)ได้สักกี่% งบรวมซึ่งรวมกันทำกำไรได้กี่% ถ้างบรวมดีกว่างบเดี่ยว แสดงว่าบริษัทย่อยทำได้ดี ถ้าต่ำกว่าแสดงว่าไม่ดี หลักการนี้ใช้ตรวจสอบคร่าวๆได้ว่า A ไปซื้อB แพงหรือไม่ เพราะผู้บริหารที่ดีไม่น่าจะเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีควมสามารถต่ำกว่าที่กิจการทำอยู่เดิม
เอาย่อๆพอประยุกต์ได้บ้างนะครับ
- SawScofield
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 238
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 104
[quote="sun_cisa2"][quote="SawScofield"]รบกวนถามอาจารย์เกี่ยวกับ "การบันทึกค่าความนิยมจากการเข้าร่วมกิจการ" ครับ คือผมเห็นรายการดังกล่าวจากสินทรัพย์ของบริษัทหนึ่งที่มีการซื้อและเข้าถือหุ้นของบริษัทอื่นอะครับ เลยอยากทราบว่ารายการดังกล่าวแสดงถึงการซื้อของที่แพงกว่าความเป็นจริงใช่หรือไม่ครับ แล้วรายการดังกล่าวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้หรือไม่จากสาเหตุใดบ้างครับ ทั้งนี้มีมุมมองหรือข้อสังเกตอื่นๆเกี่ยวกับรายการนี้ที่ต้องคำนึงถึงอีกหรือไม่ครับ รบกวนด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับอาจารย์ >/\<[/quote]
การบันทึกค่าความนิยมจากการเข้าซื้อกิจการเกิดขึ้นได้เมื่อราคาที่กิจการนั้นเข้าไปซื้อกิจการอื่นสูงกว่ามูลค่าทางบัญชี เช่นกิจการ Aเข้าซื้อ B 80% เมื่อราคา B มีมูลค่าหุ้นตามบัญชี 20 บาทต่อหุ้น A เข้าซื้อที่ราคา 32 บาท เมื่อ A จัดทำและเสนองบการเงินรวม จะเกิดค่านิยมขึ้นในงบการเงินรวม.....นี่คือด้านบัญชีอย่างคร่าวๆ
ในแง่ของการเงินการเข้าซื้อราคาที่สูงกว่าอาจจะแพงหรือไม่แพงกว่าความเป็นจริงก็ได้ ขึ้นกับว่ามูลค่าที่แท้จริงของ B จรืงๆแล้วเป็นเท่าไร สมมติว่า (จากตัวอย่างเดิม) B มีราคาที่ควรเป็น 38 บาทต่อหุ้น ถือว่า A ไม่ได้ซื้อที่ราคาแพง แต่ในงบการเงินรวม A ก็ยังแสดงการบันทึกค่าความนิยมจากการเข้าร่วมกิจการอยู่ครับ
ดังนั้นอาจมีคำถามว่าแล้วจะรูได้อย่างไรว่ามูลค่าที่แสดงอยู่นั้นถูกหรือแพงกว่าความเป็นจริง
ในทางบัญชีมูลค่าความนิยมนี้จะต้องประเมินการด้อยค่าทุกปี เช่นการที่ A ซื้อราคาที่สูงกว่าอาจเป็นเพราะ B มีจุดแข็งด้านชื่อเสียงแบรนด์ หรือกลุ่มตลาดที่เติบโตสูง หรืออาจเพราะมีราคาที่ดินที่สูงกว่าราคาตามบัญชีก็ได้ ส่วนที่จ่ายสูงกว่าราคาบัญชีเพราะเหตุผลต่างๆข้างต้น นั่นคือการคาดการณ์กระแสเงินสดในอนาคตของ B ประเมินได้ราคาสูงกว่าบัญชี ต่อมาปรากฏว่ายอดขาย ลุฏค้าของกลุ่ม B หรือราคาที่ดินต่ำกว่าที่คาดมากและต่ำกว่าจนราคาจากการประมาณกระแสเงนสดคิดลดต่ำกว่าราคาที่ซื้อมา เหลือมูลค่าเพียง 29 บาท ส่วนเกินที่บันทึกค่านิยมก็จะลดลง จากตัวอย่างเคยบันทึกไว้ตอนซื้อไว้ 32-20 = 12 บาทค่านิยมประเมินใหม่เหลือเพียง 9 บาท ก็จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายจากการด้อยค่า 3 บาทในงบกำไรขาดทุนงบการเงินรวม
ดังนั้นมูลค่านี้อาจลดลงได้ครับหากประเมินแล้วพบว่ามูลค่า B ต่ำกว่าราคาที่ซื้อมาหากภายหลังประเมินใหม่มีราคาเพิ่มขึ้น การด้อยค่านั้นจะบันทักกลับรายการ (ค่าใช้จ่ายติดลบหรือเป็นรายได้แต่เรียกว่าการด้อยค่ากลับบัญชี) แต่การบันทึกกลับนี้ต้องไม่ทำให้ราคาเงินลงทุน B สูงกว่าครั้งแรกที่ซื้อมา
ดังนั้นสรุปได้ว่า ในทางบัญชีค่าความนิยมลดลงได้และเพิ่มได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าราคาทุนที่ซื้อมาครั้งแรก
ดังนั้นลดลงได้เพราะเกิดการด้อยค่า ซึ่งมาจากความสามารถในการทำกำไรหรือกระแสเงินสดในอนาคตของเงินลงทุนนั้นลดลง มูลค่าสินทรัพย์ B ลดลงจนด้อยค่า ส่วนเพิ่มขึ้นมาจากกรณีเดียวคือเกิดจากการกลับรายการด้อยค่าเนื่องจากงวดก่อนรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายแล้ว งวดปัจจุบันมูลค่า B เพิ่มขึ้น แต่ลดแล้วอาจลดต่ออีกได้ถาพบว่ามูลค่า B แย่ลงกว่าเดิมอีก
การประเมินมูลค่าดังกล่าว A ในฐานะบริษัทที่ต้องจัดทำงบการเงินรวม (บริษัทแม่) ต้องประเมินมูลค่า B ทุกครั้งที่นำเสนองบการเงินรวมการด้อยค่าในเงินลงทุนหรือค่าความนิยมนี้บ่งชี้ว่าบริษัท B มีความสามารถในการทำกำไรแย่ลง (กว่าที่คาดไว้) แต่อย่าลืมว่าในทางบัญชีบางครั้งผู้บริหารอาจประเมินในเชิงบวกเกินจริง ผู้สอบบัญชีก็ยากที่จะรู้ได้เพราะในความเป็นจริงถ้าไม่มีอะไรที่ชัดๆก็ยังไม่ด้อยค่า กว่าจะรับรู้จริง B อาจจะมีฐานะการเงินย่ำแย่แล้วก็ได้
ในการวิเคราะห์นั้นอาจประเมินเองคร่าวๆได้ ผมจะเน้นดูความสามารถในการทำกำไร เช่น ถ้าเป็นบริษัทร่วม (20%<ถือหุ้น<50%) ส่วนแบ่งกำไรที่รับรู้หารด้วยเงินลงทุนตามราคาทุน ทำได้มากน้อย ดีไหม ถ้าต่ำเช่น 4% ขณะที่เราพอทราบว่าอุตสาหกรรมนั้นน่าจะได้สักราว 15% แสดงว่าเงินลงทุน B มีแนวโน้มน่าจะด้อยค่าได้ แต่กิจการอาจยังไม่รับรู้ แต่ในฐานะคนซื้อหุ้นต้องประเมินเผื่อความเสี่ยงให้ราคาตามบัญชีลดลงหรือ PBV ที่ระดับต่ำกว่าปัจจุบันไว้ก่อน
แต่ถ้าเป็นบริษัทย่อยจะไม่มีส่วนแบ่งกำไรฯ รายได้ ค่าใช้จ่าย กำไร จะเป็นยอดรวมของแม่+ย่อย ปรับรายการระหว่างกันออกแล้ว ผมจะวิเคราะจากงบเดี่ยวดูว่า บริษัทแม่เดี่ยวๆ ทำกำไร(ROA,ROE)ได้สักกี่% งบรวมซึ่งรวมกันทำกำไรได้กี่% ถ้างบรวมดีกว่างบเดี่ยว แสดงว่าบริษัทย่อยทำได้ดี ถ้าต่ำกว่าแสดงว่าไม่ดี หลักการนี้ใช้ตรวจสอบคร่าวๆได้ว่า A ไปซื้อB แพงหรือไม่ เพราะผู้บริหารที่ดีไม่น่าจะเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีควมสามารถต่ำกว่าที่กิจการทำอยู่เดิม
เอาย่อๆพอประยุกต์ได้บ้างนะครับ[/quote]
ขอบคุณมากครับอาจารย์ ย่อๆของอาจารย์ยาวจนน่าตกใจ แต่กระจ่างเลยครับ :D จะลองเอาไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ ขอบคุณครับ ^/\^
การบันทึกค่าความนิยมจากการเข้าซื้อกิจการเกิดขึ้นได้เมื่อราคาที่กิจการนั้นเข้าไปซื้อกิจการอื่นสูงกว่ามูลค่าทางบัญชี เช่นกิจการ Aเข้าซื้อ B 80% เมื่อราคา B มีมูลค่าหุ้นตามบัญชี 20 บาทต่อหุ้น A เข้าซื้อที่ราคา 32 บาท เมื่อ A จัดทำและเสนองบการเงินรวม จะเกิดค่านิยมขึ้นในงบการเงินรวม.....นี่คือด้านบัญชีอย่างคร่าวๆ
ในแง่ของการเงินการเข้าซื้อราคาที่สูงกว่าอาจจะแพงหรือไม่แพงกว่าความเป็นจริงก็ได้ ขึ้นกับว่ามูลค่าที่แท้จริงของ B จรืงๆแล้วเป็นเท่าไร สมมติว่า (จากตัวอย่างเดิม) B มีราคาที่ควรเป็น 38 บาทต่อหุ้น ถือว่า A ไม่ได้ซื้อที่ราคาแพง แต่ในงบการเงินรวม A ก็ยังแสดงการบันทึกค่าความนิยมจากการเข้าร่วมกิจการอยู่ครับ
ดังนั้นอาจมีคำถามว่าแล้วจะรูได้อย่างไรว่ามูลค่าที่แสดงอยู่นั้นถูกหรือแพงกว่าความเป็นจริง
ในทางบัญชีมูลค่าความนิยมนี้จะต้องประเมินการด้อยค่าทุกปี เช่นการที่ A ซื้อราคาที่สูงกว่าอาจเป็นเพราะ B มีจุดแข็งด้านชื่อเสียงแบรนด์ หรือกลุ่มตลาดที่เติบโตสูง หรืออาจเพราะมีราคาที่ดินที่สูงกว่าราคาตามบัญชีก็ได้ ส่วนที่จ่ายสูงกว่าราคาบัญชีเพราะเหตุผลต่างๆข้างต้น นั่นคือการคาดการณ์กระแสเงินสดในอนาคตของ B ประเมินได้ราคาสูงกว่าบัญชี ต่อมาปรากฏว่ายอดขาย ลุฏค้าของกลุ่ม B หรือราคาที่ดินต่ำกว่าที่คาดมากและต่ำกว่าจนราคาจากการประมาณกระแสเงนสดคิดลดต่ำกว่าราคาที่ซื้อมา เหลือมูลค่าเพียง 29 บาท ส่วนเกินที่บันทึกค่านิยมก็จะลดลง จากตัวอย่างเคยบันทึกไว้ตอนซื้อไว้ 32-20 = 12 บาทค่านิยมประเมินใหม่เหลือเพียง 9 บาท ก็จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายจากการด้อยค่า 3 บาทในงบกำไรขาดทุนงบการเงินรวม
ดังนั้นมูลค่านี้อาจลดลงได้ครับหากประเมินแล้วพบว่ามูลค่า B ต่ำกว่าราคาที่ซื้อมาหากภายหลังประเมินใหม่มีราคาเพิ่มขึ้น การด้อยค่านั้นจะบันทักกลับรายการ (ค่าใช้จ่ายติดลบหรือเป็นรายได้แต่เรียกว่าการด้อยค่ากลับบัญชี) แต่การบันทึกกลับนี้ต้องไม่ทำให้ราคาเงินลงทุน B สูงกว่าครั้งแรกที่ซื้อมา
ดังนั้นสรุปได้ว่า ในทางบัญชีค่าความนิยมลดลงได้และเพิ่มได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าราคาทุนที่ซื้อมาครั้งแรก
ดังนั้นลดลงได้เพราะเกิดการด้อยค่า ซึ่งมาจากความสามารถในการทำกำไรหรือกระแสเงินสดในอนาคตของเงินลงทุนนั้นลดลง มูลค่าสินทรัพย์ B ลดลงจนด้อยค่า ส่วนเพิ่มขึ้นมาจากกรณีเดียวคือเกิดจากการกลับรายการด้อยค่าเนื่องจากงวดก่อนรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายแล้ว งวดปัจจุบันมูลค่า B เพิ่มขึ้น แต่ลดแล้วอาจลดต่ออีกได้ถาพบว่ามูลค่า B แย่ลงกว่าเดิมอีก
การประเมินมูลค่าดังกล่าว A ในฐานะบริษัทที่ต้องจัดทำงบการเงินรวม (บริษัทแม่) ต้องประเมินมูลค่า B ทุกครั้งที่นำเสนองบการเงินรวมการด้อยค่าในเงินลงทุนหรือค่าความนิยมนี้บ่งชี้ว่าบริษัท B มีความสามารถในการทำกำไรแย่ลง (กว่าที่คาดไว้) แต่อย่าลืมว่าในทางบัญชีบางครั้งผู้บริหารอาจประเมินในเชิงบวกเกินจริง ผู้สอบบัญชีก็ยากที่จะรู้ได้เพราะในความเป็นจริงถ้าไม่มีอะไรที่ชัดๆก็ยังไม่ด้อยค่า กว่าจะรับรู้จริง B อาจจะมีฐานะการเงินย่ำแย่แล้วก็ได้
ในการวิเคราะห์นั้นอาจประเมินเองคร่าวๆได้ ผมจะเน้นดูความสามารถในการทำกำไร เช่น ถ้าเป็นบริษัทร่วม (20%<ถือหุ้น<50%) ส่วนแบ่งกำไรที่รับรู้หารด้วยเงินลงทุนตามราคาทุน ทำได้มากน้อย ดีไหม ถ้าต่ำเช่น 4% ขณะที่เราพอทราบว่าอุตสาหกรรมนั้นน่าจะได้สักราว 15% แสดงว่าเงินลงทุน B มีแนวโน้มน่าจะด้อยค่าได้ แต่กิจการอาจยังไม่รับรู้ แต่ในฐานะคนซื้อหุ้นต้องประเมินเผื่อความเสี่ยงให้ราคาตามบัญชีลดลงหรือ PBV ที่ระดับต่ำกว่าปัจจุบันไว้ก่อน
แต่ถ้าเป็นบริษัทย่อยจะไม่มีส่วนแบ่งกำไรฯ รายได้ ค่าใช้จ่าย กำไร จะเป็นยอดรวมของแม่+ย่อย ปรับรายการระหว่างกันออกแล้ว ผมจะวิเคราะจากงบเดี่ยวดูว่า บริษัทแม่เดี่ยวๆ ทำกำไร(ROA,ROE)ได้สักกี่% งบรวมซึ่งรวมกันทำกำไรได้กี่% ถ้างบรวมดีกว่างบเดี่ยว แสดงว่าบริษัทย่อยทำได้ดี ถ้าต่ำกว่าแสดงว่าไม่ดี หลักการนี้ใช้ตรวจสอบคร่าวๆได้ว่า A ไปซื้อB แพงหรือไม่ เพราะผู้บริหารที่ดีไม่น่าจะเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีควมสามารถต่ำกว่าที่กิจการทำอยู่เดิม
เอาย่อๆพอประยุกต์ได้บ้างนะครับ[/quote]
ขอบคุณมากครับอาจารย์ ย่อๆของอาจารย์ยาวจนน่าตกใจ แต่กระจ่างเลยครับ :D จะลองเอาไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ ขอบคุณครับ ^/\^
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 105
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 106
อาจารย์ครับ ในหนังสือ value investing from Graham to Buffett and beyond หลังบทที่ 7 ขึ้นไปมันไม่มีเรื่องการvaluation แล้วใช่มั้ยครับ ผมคิดว่าผมคงต้องอ่านใหม่ ตั้งแต่บทที่ 1 -7 อีกรอบ เนื่องจากเนื้อหาเข้าใจยากมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 107
ขอแก้ไขเพิ่มเติมกระทู้ที่ตอบให้คุณ SawScofield ครับ
เรื่องค่านิยม ที่บอกก่อนหน้าว่าเพิ่มได้ ลดได้ นั้น ไปสับสนเอาเรื่องสินทรัพย์ทั่วไปที่มีการด้อยค่ามาใช้ มาตรฐานการบัญชี บอกไว้ว่าสินทรัพย์ทั่วไปที่ด้อยค่าไปสามารถกลับรายการได้ในภายหลัง ยกเว้นค่านิยมจะไม่ให้กลับบัญชี ดังนั้นค่านิยม ลดแล้วลดเลย (ต่างกับสินทรัพย์อื่นที่ลดแล้วเพิ่มได้) ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2552) ในข้อ 124. กิจการต้องไม่กลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิยมที่ได้รับรู้ในงวดก่อนๆ เหตุผลคือมาตรฐานการบัญชีไม่ให้มีการบันทึกสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหรือไม่ให้มีการรับรู้ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายในกิจการ การบันทึกค่าความนิยมจึงเกิดเพียงเมื่อมีการซื้อกิจครั้งแรกเท่านั้น (หากมีการซื้ออีกก็เกิดได้อีกจากการซื้อครั้งใหม่ที่เพิ่มขึ้น) จึงขออภัยและแก้ไขใหม่ครับ
ส่นกรณีถ้าการซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาตามบัญชี จะมีการบันทึกรับรู้เป็นรายได้เข้ามาในกำไรขาดทุนงวดนั้นทันทีคือ กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ ปกติรายได้เหล่านี้ผมไม่ได้ให้ค่ามากมาย เพราะเป็นลักษณะ one time gain/loss อาจทำให้อัตราการเติบโงวดนั้น/ปีนั้น พุ่งสูงขึ้นมาก P/E ดูเหมือนต่ำลงทันทีแต่เมื่อผ่านไป P/E ก็จะกลับเข้ามาปกติ ดังนั้นหากบริษัทใดรายงานกำไรมากผิดปกติ ควรต้องดูก่อนว่า มาจากการดำเนินงานปกติ เช่น ขาย หรือไม่ กำไรที่ได้จาก one time gain/loss ไม่ควรจะรวมเข้าในการพิจารณาราคาของหุ้นนั้นๆ และกำไรจากการต่อรองราคาซื้อยังมีประเด็นที่ต้องดูมากกกว่าการบันทึกค่านิยมด้วยซ้ำ
เรื่องค่านิยม ที่บอกก่อนหน้าว่าเพิ่มได้ ลดได้ นั้น ไปสับสนเอาเรื่องสินทรัพย์ทั่วไปที่มีการด้อยค่ามาใช้ มาตรฐานการบัญชี บอกไว้ว่าสินทรัพย์ทั่วไปที่ด้อยค่าไปสามารถกลับรายการได้ในภายหลัง ยกเว้นค่านิยมจะไม่ให้กลับบัญชี ดังนั้นค่านิยม ลดแล้วลดเลย (ต่างกับสินทรัพย์อื่นที่ลดแล้วเพิ่มได้) ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2552) ในข้อ 124. กิจการต้องไม่กลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิยมที่ได้รับรู้ในงวดก่อนๆ เหตุผลคือมาตรฐานการบัญชีไม่ให้มีการบันทึกสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหรือไม่ให้มีการรับรู้ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายในกิจการ การบันทึกค่าความนิยมจึงเกิดเพียงเมื่อมีการซื้อกิจครั้งแรกเท่านั้น (หากมีการซื้ออีกก็เกิดได้อีกจากการซื้อครั้งใหม่ที่เพิ่มขึ้น) จึงขออภัยและแก้ไขใหม่ครับ
ส่นกรณีถ้าการซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาตามบัญชี จะมีการบันทึกรับรู้เป็นรายได้เข้ามาในกำไรขาดทุนงวดนั้นทันทีคือ กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ ปกติรายได้เหล่านี้ผมไม่ได้ให้ค่ามากมาย เพราะเป็นลักษณะ one time gain/loss อาจทำให้อัตราการเติบโงวดนั้น/ปีนั้น พุ่งสูงขึ้นมาก P/E ดูเหมือนต่ำลงทันทีแต่เมื่อผ่านไป P/E ก็จะกลับเข้ามาปกติ ดังนั้นหากบริษัทใดรายงานกำไรมากผิดปกติ ควรต้องดูก่อนว่า มาจากการดำเนินงานปกติ เช่น ขาย หรือไม่ กำไรที่ได้จาก one time gain/loss ไม่ควรจะรวมเข้าในการพิจารณาราคาของหุ้นนั้นๆ และกำไรจากการต่อรองราคาซื้อยังมีประเด็นที่ต้องดูมากกกว่าการบันทึกค่านิยมด้วยซ้ำ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 108
[quote="cyber-shot"]อาจารย์ครับ ในหนังสือ value investing from Graham to Buffett and beyond หลังบทที่ 7 ขึ้นไปมันไม่มีเรื่องการvaluation แล้วใช่มั้ยครับ ผมคิดว่าผมคงต้องอ่านใหม่ ตั้งแต่บทที่ 1 -7 อีกรอบ เนื่องจากเนื้อหาเข้าใจยากมากครับ[/quote]
ใช่ครับเมื่อจบบทที่ 7 ก็จะไม่ได้กลาวถึงเรื่อง valuation แต่ก่อนอื่นอยากจะบอกว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออ่านประกอบสำหรับนักศึกษาที่เรียนด้านการเงิน การลงทุนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ไม่ใช่ตำราเรียนเล่มเดียวในวิชาการลงทุน ดังนั้นหลายเรื่องที่เกี่ยวโยงในทฤษฎีการเงิน การลงทุน อนุมานว่าคนอ่านควรต้องรู้หรือไปศึกษามาแล้วพอเข้าใจ เช่น EPV (Earning Power Value) ตัวหาร adjusted earning ด้วย cost of capital นั้น ต้องเข้าใจเรือง WACC, เรื่อง CPAM เรื่อง Capital structure ด้วยจะดีมากและเข้าใจหลักคิดที่แท้จริง ของ graham
ใช่ครับเมื่อจบบทที่ 7 ก็จะไม่ได้กลาวถึงเรื่อง valuation แต่ก่อนอื่นอยากจะบอกว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออ่านประกอบสำหรับนักศึกษาที่เรียนด้านการเงิน การลงทุนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ไม่ใช่ตำราเรียนเล่มเดียวในวิชาการลงทุน ดังนั้นหลายเรื่องที่เกี่ยวโยงในทฤษฎีการเงิน การลงทุน อนุมานว่าคนอ่านควรต้องรู้หรือไปศึกษามาแล้วพอเข้าใจ เช่น EPV (Earning Power Value) ตัวหาร adjusted earning ด้วย cost of capital นั้น ต้องเข้าใจเรือง WACC, เรื่อง CPAM เรื่อง Capital structure ด้วยจะดีมากและเข้าใจหลักคิดที่แท้จริง ของ graham
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 109
แล้วมันมีเล่มไหนให้อ่านอีกเหรออาจารย์ หรือที่อาจารย์เคยแนะนำผมไปแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 110
[quote="cyber-shot"]แล้วมันมีเล่มไหนให้อ่านอีกเหรออาจารย์ หรือที่อาจารย์เคยแนะนำผมไปแล้ว[/quote]
ถ้าจะอ่านเอาจนเข้าใจแบบคนจบด้านการเงินคงแนะนำให้อ่านหนังสือ text book เช่น corporate finance และ financial management ของสำนักพิมพ์ดังๆ เช่น McGraw Hills, Prnces Halls เป็นต้น มีมากครับ ลองไปหาที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ แนกหนังสือต่างประเทศมีเยอะครับ ได้แทบทุกเล่มเพราะอาจารย์ที่นั่นใช้อ้างอิงหลายเล่มครับ อย่างที่บอกครับว่าถ้าจะเรียนเอารู้จริงๆจังๆ ต้องใช้เวลากับมันเยอะสักหน่อย แต่ทั้งนี้การจะเข้าใจเรื่องทางบัญชีก็ดี การเงินก็ดี หากมี sense การมองและเข้าใจโลกธุรกิจอย่างสากลดีจริงๆ ซึ่งมักจะได้จากการอ่านหนังสือ pocket book (จะเป็นหนังสือแปลก็ได้) ที่หลากหลาย ผมอ่นมาตั้งแต่สมัย ป.ตรี มาจนถึงทุกวันนี้ ทุกสาขา ยอดนักขายมือทอง แฟงค์เบทเจอร์ ลีไอเอคอคคาร์ ช้างเต้นระบำได้ ซีฮีโอแบบ วอร์เรนบัฟเฟต คิดและทำอย่างผู้จัดการใหญ๋ ฯลฯ ที่บ้านมีหนังสือแบบนี้หลายร้อยเล่ม text book ด้านบัญชีการเงิน เศรษฐศาสตร์ การตลาด ก็เป็นร้อยเหมือนกัน แต่ไม่ต้องอ่านมากเท่าผมหรอกครับ (ตังแต่เริ่มเรียนตรีจนปัจจุบันก็อ่านมาตลอดมากว่า 25 ปี มันก็เลยดูมากโข) ที่อยากสื่อคือ การเข้าใจโลกการเงินนั้น ต้องรู้ว่าโลก (ทนนิยม) คิดและพัฒนาไปอย่างไร ในบ้านเรายังคิดและมองไม่ทันเขา อย่างเช่นประเทศไทยยังเพิ่งสนใจ CSR (Corporate Social Responsibility) อเมริกาเขาบอกว่า CSV (Create Share Value) เป็นแนวโน้มใหม่ที่น่าจะเป็นมากกว่า CSR เป็นต้น โลกตะวันตกพูดกันมากกว่า IFRS ไปถึง GRI (Global Reporting Initiative) หรือ มีแนวคิดเรื่อง Value Added Statement Report ประเทศไทยยังแค่เอามาตรฐานบัญชีสากล หรือเรื่อง CG ยังไม่จะเท่าไรกันเลย
ดังนั้นหากจะเอาจริง ให้รู้จริง บอกได้ว่าไม่มีตำราเล่มเดียวได้ทั้งหมด คนอ่านพระไตรปิฎกหมด ก็ใช่ว่าจะบรรลุอรหันต์ทันที ไม่อ่านก็อาจบรรลุได้ แต่การอ่านและเข้าใจธรรมะได้ก็เป็นเรื่องที่ดีใช่ไหม การเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จอาจไม่ได้อ่านตำราการเงินมากมาย หรือเดินตามหลักการทางการเงินทุกเรื่อง ตำราทีดีที่สุดอยู่ที่ตลาดหุ้นนั่นเอง เพียงแต่ทุกขณะ ทุกวัน ข่าวสารที่เกิดขึ้นและส่งผลต่อความเคลื่อนไหวตลาด หากเข้าใจแง่มุมของผลที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุมีผลที่ถูกต้องจริงๆ ก็จะเข้าใจมากขึ้น (ตลาดหุ้นมีทั้งเรื่องสมเหตุสมผล และไร้เหตุผลได้) สังเกตและศึกษาอดีตของตลาด ปรากฎการณ์ที่เกิด ทั้งภาพรวม รายบริษัทต่างๆ จะเข้าใจมากขึ้น เจอเรื่องไหนทีไม่รู้ก็ศึกษาไป เดี๋ยวความรู้ก็สะสมมากขึ้น บางเรื่องรู้แล้ว อาจมีมุมใหม่ทำความเข้าใจก็จะยิ่งเข้าใจ ขอให้โชคดีในการลงทุนครับ
ถ้าจะอ่านเอาจนเข้าใจแบบคนจบด้านการเงินคงแนะนำให้อ่านหนังสือ text book เช่น corporate finance และ financial management ของสำนักพิมพ์ดังๆ เช่น McGraw Hills, Prnces Halls เป็นต้น มีมากครับ ลองไปหาที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ แนกหนังสือต่างประเทศมีเยอะครับ ได้แทบทุกเล่มเพราะอาจารย์ที่นั่นใช้อ้างอิงหลายเล่มครับ อย่างที่บอกครับว่าถ้าจะเรียนเอารู้จริงๆจังๆ ต้องใช้เวลากับมันเยอะสักหน่อย แต่ทั้งนี้การจะเข้าใจเรื่องทางบัญชีก็ดี การเงินก็ดี หากมี sense การมองและเข้าใจโลกธุรกิจอย่างสากลดีจริงๆ ซึ่งมักจะได้จากการอ่านหนังสือ pocket book (จะเป็นหนังสือแปลก็ได้) ที่หลากหลาย ผมอ่นมาตั้งแต่สมัย ป.ตรี มาจนถึงทุกวันนี้ ทุกสาขา ยอดนักขายมือทอง แฟงค์เบทเจอร์ ลีไอเอคอคคาร์ ช้างเต้นระบำได้ ซีฮีโอแบบ วอร์เรนบัฟเฟต คิดและทำอย่างผู้จัดการใหญ๋ ฯลฯ ที่บ้านมีหนังสือแบบนี้หลายร้อยเล่ม text book ด้านบัญชีการเงิน เศรษฐศาสตร์ การตลาด ก็เป็นร้อยเหมือนกัน แต่ไม่ต้องอ่านมากเท่าผมหรอกครับ (ตังแต่เริ่มเรียนตรีจนปัจจุบันก็อ่านมาตลอดมากว่า 25 ปี มันก็เลยดูมากโข) ที่อยากสื่อคือ การเข้าใจโลกการเงินนั้น ต้องรู้ว่าโลก (ทนนิยม) คิดและพัฒนาไปอย่างไร ในบ้านเรายังคิดและมองไม่ทันเขา อย่างเช่นประเทศไทยยังเพิ่งสนใจ CSR (Corporate Social Responsibility) อเมริกาเขาบอกว่า CSV (Create Share Value) เป็นแนวโน้มใหม่ที่น่าจะเป็นมากกว่า CSR เป็นต้น โลกตะวันตกพูดกันมากกว่า IFRS ไปถึง GRI (Global Reporting Initiative) หรือ มีแนวคิดเรื่อง Value Added Statement Report ประเทศไทยยังแค่เอามาตรฐานบัญชีสากล หรือเรื่อง CG ยังไม่จะเท่าไรกันเลย
ดังนั้นหากจะเอาจริง ให้รู้จริง บอกได้ว่าไม่มีตำราเล่มเดียวได้ทั้งหมด คนอ่านพระไตรปิฎกหมด ก็ใช่ว่าจะบรรลุอรหันต์ทันที ไม่อ่านก็อาจบรรลุได้ แต่การอ่านและเข้าใจธรรมะได้ก็เป็นเรื่องที่ดีใช่ไหม การเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จอาจไม่ได้อ่านตำราการเงินมากมาย หรือเดินตามหลักการทางการเงินทุกเรื่อง ตำราทีดีที่สุดอยู่ที่ตลาดหุ้นนั่นเอง เพียงแต่ทุกขณะ ทุกวัน ข่าวสารที่เกิดขึ้นและส่งผลต่อความเคลื่อนไหวตลาด หากเข้าใจแง่มุมของผลที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุมีผลที่ถูกต้องจริงๆ ก็จะเข้าใจมากขึ้น (ตลาดหุ้นมีทั้งเรื่องสมเหตุสมผล และไร้เหตุผลได้) สังเกตและศึกษาอดีตของตลาด ปรากฎการณ์ที่เกิด ทั้งภาพรวม รายบริษัทต่างๆ จะเข้าใจมากขึ้น เจอเรื่องไหนทีไม่รู้ก็ศึกษาไป เดี๋ยวความรู้ก็สะสมมากขึ้น บางเรื่องรู้แล้ว อาจมีมุมใหม่ทำความเข้าใจก็จะยิ่งเข้าใจ ขอให้โชคดีในการลงทุนครับ
- SawScofield
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 238
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 111
ขอบคุณสำหรับความรู้เพิ่มเติมนะครับอาจารย์ ... ทีนี้ขออนุญาตถามต่อเลยนะครับ
จุดเด่นหนึ่งที่พูดถึงกันมากในธุรกิจที่มองกันว่าสุดแกร่ง ณ ชั่วโมงนี้ คือการ "ซื้อเชื่อขายสด" ของกลุ่มค้าปลีก อันมีจุดสังเกตหลัก คือ Working Capital (หรือที่ถูกคือ Net Working Capital ใช่หรือไม่ครับ ?) มีค่าติดลบ จากการที่สินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน หากผมสังเกตเจอจุดนี้ในบริษัทอื่นๆผมสามารถถือว่ามันเป็นจุดแข็งได้หรือไม่ครับ ถ้าไม่ใช่ ต้องระวังกรณีใดบ้างครับ (ส่วนตัวรู้สึกว่าถ้าหมุนเงินไม่ทันต้องแย่แน่ แต่ยังรู้แค่หางอึ่งครับ กลั่นออกมาเป็นข้อไม่ไหวครับ แหะๆ ^^")
ขอบคุณล่วงหน้าเช่นเดิมครับอาจารย์ ^^
จุดเด่นหนึ่งที่พูดถึงกันมากในธุรกิจที่มองกันว่าสุดแกร่ง ณ ชั่วโมงนี้ คือการ "ซื้อเชื่อขายสด" ของกลุ่มค้าปลีก อันมีจุดสังเกตหลัก คือ Working Capital (หรือที่ถูกคือ Net Working Capital ใช่หรือไม่ครับ ?) มีค่าติดลบ จากการที่สินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน หากผมสังเกตเจอจุดนี้ในบริษัทอื่นๆผมสามารถถือว่ามันเป็นจุดแข็งได้หรือไม่ครับ ถ้าไม่ใช่ ต้องระวังกรณีใดบ้างครับ (ส่วนตัวรู้สึกว่าถ้าหมุนเงินไม่ทันต้องแย่แน่ แต่ยังรู้แค่หางอึ่งครับ กลั่นออกมาเป็นข้อไม่ไหวครับ แหะๆ ^^")
ขอบคุณล่วงหน้าเช่นเดิมครับอาจารย์ ^^
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 112
[quote="SawScofield"]ขอบคุณสำหรับความรู้เพิ่มเติมนะครับอาจารย์ ... ทีนี้ขออนุญาตถามต่อเลยนะครับ
จุดเด่นหนึ่งที่พูดถึงกันมากในธุรกิจที่มองกันว่าสุดแกร่ง ณ ชั่วโมงนี้ คือการ "ซื้อเชื่อขายสด" ของกลุ่มค้าปลีก อันมีจุดสังเกตหลัก คือ Working Capital (หรือที่ถูกคือ Net Working Capital ใช่หรือไม่ครับ ?) มีค่าติดลบ จากการที่สินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน หากผมสังเกตเจอจุดนี้ในบริษัทอื่นๆผมสามารถถือว่ามันเป็นจุดแข็งได้หรือไม่ครับ ถ้าไม่ใช่ ต้องระวังกรณีใดบ้างครับ (ส่วนตัวรู้สึกว่าถ้าหมุนเงินไม่ทันต้องแย่แน่ แต่ยังรู้แค่หางอึ่งครับ กลั่นออกมาเป็นข้อไม่ไหวครับ แหะๆ ^^")
ขอบคุณล่วงหน้าเช่นเดิมครับอาจารย์ ^^[/quote]
Working Capital มีความหมายกว้างคืออาจหมายถึง gross working capital ซึ่งจะหมายถึงเพียงสินทรัพย์หมุนเวียน แต่โดยมากจะมีความหมายเดียวกับ Net Working Capital ซึ่งก็คือ สินทรัพย์หมุนเวียนลบหนี้สินหมุนเวียน หรือถ้าทำเป็นอัตราส่วนเรียกว่า current ratio (อัตราส่วนทุนหมุนเวียน) = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน ความหมายโดยทั่วไปคือกิจการมีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดใน 1 ปี เพียงพอที่จะชำระหนี้สินที่ต้องชำระใน 1 ปีหรือไม่
โดยปกติ Net Working Capital ควรเป็นบวก หรือ current ratio (CR อัตราส่วนทุนหมุนเวียน) มากกว่า 1 แต่ไม่เสมอไปในกิจการแต่ละประเภท (อุตสาหกรรม) บางกิจการอาจต้องการมากกว่า 1 มาก บางกิจการอาจน้อยใกล้ 1 หรือบางกิจการอาจน้อยกว่า 1 (ติดลบ) ก็ได้ การมีมากกว่า 1 มากๆ อาจหมายถึงมีเงินจมในสินค้ามากไป หรือสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ค่อนข้างช้า เช่นลูกหนี้ที่ค้างชำระนานๆแต่กิจการยังไม่ตัดเป็นหนี้สงสัยจะสูญเป็นต้น
ทีนี้ปัญหาของนักลงทุนคือแล้วจะดูหรือรู้ได้อย่างไรว่ากิจการแบบไหนต้องบวกมาก หรือติดลบได้ (CR<1) ความจริงมีวิธีหาค่าที่เหมาะสมกับธุรกิจ และนโยบายการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน (เช่น ลูกหนี้ สินค้า เจ้าหนี้การค้า เป็นต้น) กิจการแบบเดียวกันแต่นโยบายต่างกันก็มีค่า CR ที่ควรเป็นต่างกันได้ แต่ต้องใช้เวลามาก เอาง่ายๆที่พอเอาไปใช้พิจารณาประกอบ ผมแนะให้ไปดูงบกระแสเงินสด ดูว่ากระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวกหรือไม่ ถ้าบวกเทียบกับกำไรจากการดำเนินงานมากกว่าหรือไม่ แวงจรเงินสดสั้นหรือยาว
ถ้า CFO + และ CFO/NOPAT >1, cash cycle สั้น (<60 วัน) อย่างนี้ CR ต่ำๆ หรืออาจน้อยกว่า 1 ได้
ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขข้างต้น CR ควรต้องมากว่า 1 หรือ Net working capital ควรบวก
ในกิจการค้าปลีกบางบริษัทเข้าเงื่อนไขแรก จึงเห็นว่ามี Net working capital เป็นลบ แต่บางกิจการที่เข้าเงื่อนไขแรก และมี Net working capital บวก งบทั้งสองบริษัทมีจุดต่างคือ บริษัทแรก มีหนี้ระยะสั้นสูง บริษัทหลังมีหนี้ระยะสั้นต่ำหรือแทบไม่มีเลย performance ราคาหุ้นระยะยาวบริษัทหลังดูดีกว่า และหุ้นผันผวนน้อยกว่า กองทุนชอบถือมากกว่า ลองไปหาดุเอานะครับ บอกตรงๆ จะไม่ดี
จุดเด่นหนึ่งที่พูดถึงกันมากในธุรกิจที่มองกันว่าสุดแกร่ง ณ ชั่วโมงนี้ คือการ "ซื้อเชื่อขายสด" ของกลุ่มค้าปลีก อันมีจุดสังเกตหลัก คือ Working Capital (หรือที่ถูกคือ Net Working Capital ใช่หรือไม่ครับ ?) มีค่าติดลบ จากการที่สินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน หากผมสังเกตเจอจุดนี้ในบริษัทอื่นๆผมสามารถถือว่ามันเป็นจุดแข็งได้หรือไม่ครับ ถ้าไม่ใช่ ต้องระวังกรณีใดบ้างครับ (ส่วนตัวรู้สึกว่าถ้าหมุนเงินไม่ทันต้องแย่แน่ แต่ยังรู้แค่หางอึ่งครับ กลั่นออกมาเป็นข้อไม่ไหวครับ แหะๆ ^^")
ขอบคุณล่วงหน้าเช่นเดิมครับอาจารย์ ^^[/quote]
Working Capital มีความหมายกว้างคืออาจหมายถึง gross working capital ซึ่งจะหมายถึงเพียงสินทรัพย์หมุนเวียน แต่โดยมากจะมีความหมายเดียวกับ Net Working Capital ซึ่งก็คือ สินทรัพย์หมุนเวียนลบหนี้สินหมุนเวียน หรือถ้าทำเป็นอัตราส่วนเรียกว่า current ratio (อัตราส่วนทุนหมุนเวียน) = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน ความหมายโดยทั่วไปคือกิจการมีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดใน 1 ปี เพียงพอที่จะชำระหนี้สินที่ต้องชำระใน 1 ปีหรือไม่
โดยปกติ Net Working Capital ควรเป็นบวก หรือ current ratio (CR อัตราส่วนทุนหมุนเวียน) มากกว่า 1 แต่ไม่เสมอไปในกิจการแต่ละประเภท (อุตสาหกรรม) บางกิจการอาจต้องการมากกว่า 1 มาก บางกิจการอาจน้อยใกล้ 1 หรือบางกิจการอาจน้อยกว่า 1 (ติดลบ) ก็ได้ การมีมากกว่า 1 มากๆ อาจหมายถึงมีเงินจมในสินค้ามากไป หรือสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ค่อนข้างช้า เช่นลูกหนี้ที่ค้างชำระนานๆแต่กิจการยังไม่ตัดเป็นหนี้สงสัยจะสูญเป็นต้น
ทีนี้ปัญหาของนักลงทุนคือแล้วจะดูหรือรู้ได้อย่างไรว่ากิจการแบบไหนต้องบวกมาก หรือติดลบได้ (CR<1) ความจริงมีวิธีหาค่าที่เหมาะสมกับธุรกิจ และนโยบายการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน (เช่น ลูกหนี้ สินค้า เจ้าหนี้การค้า เป็นต้น) กิจการแบบเดียวกันแต่นโยบายต่างกันก็มีค่า CR ที่ควรเป็นต่างกันได้ แต่ต้องใช้เวลามาก เอาง่ายๆที่พอเอาไปใช้พิจารณาประกอบ ผมแนะให้ไปดูงบกระแสเงินสด ดูว่ากระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวกหรือไม่ ถ้าบวกเทียบกับกำไรจากการดำเนินงานมากกว่าหรือไม่ แวงจรเงินสดสั้นหรือยาว
ถ้า CFO + และ CFO/NOPAT >1, cash cycle สั้น (<60 วัน) อย่างนี้ CR ต่ำๆ หรืออาจน้อยกว่า 1 ได้
ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขข้างต้น CR ควรต้องมากว่า 1 หรือ Net working capital ควรบวก
ในกิจการค้าปลีกบางบริษัทเข้าเงื่อนไขแรก จึงเห็นว่ามี Net working capital เป็นลบ แต่บางกิจการที่เข้าเงื่อนไขแรก และมี Net working capital บวก งบทั้งสองบริษัทมีจุดต่างคือ บริษัทแรก มีหนี้ระยะสั้นสูง บริษัทหลังมีหนี้ระยะสั้นต่ำหรือแทบไม่มีเลย performance ราคาหุ้นระยะยาวบริษัทหลังดูดีกว่า และหุ้นผันผวนน้อยกว่า กองทุนชอบถือมากกว่า ลองไปหาดุเอานะครับ บอกตรงๆ จะไม่ดี
- SawScofield
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 238
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 113
[quote="sun_cisa2"][quote="SawScofield"]ขอบคุณสำหรับความรู้เพิ่มเติมนะครับอาจารย์ ... ทีนี้ขออนุญาตถามต่อเลยนะครับ
จุดเด่นหนึ่งที่พูดถึงกันมากในธุรกิจที่มองกันว่าสุดแกร่ง ณ ชั่วโมงนี้ คือการ "ซื้อเชื่อขายสด" ของกลุ่มค้าปลีก อันมีจุดสังเกตหลัก คือ Working Capital (หรือที่ถูกคือ Net Working Capital ใช่หรือไม่ครับ ?) มีค่าติดลบ จากการที่สินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน หากผมสังเกตเจอจุดนี้ในบริษัทอื่นๆผมสามารถถือว่ามันเป็นจุดแข็งได้หรือไม่ครับ ถ้าไม่ใช่ ต้องระวังกรณีใดบ้างครับ (ส่วนตัวรู้สึกว่าถ้าหมุนเงินไม่ทันต้องแย่แน่ แต่ยังรู้แค่หางอึ่งครับ กลั่นออกมาเป็นข้อไม่ไหวครับ แหะๆ ^^")
ขอบคุณล่วงหน้าเช่นเดิมครับอาจารย์ ^^[/quote]
Working Capital มีความหมายกว้างคืออาจหมายถึง gross working capital ซึ่งจะหมายถึงเพียงสินทรัพย์หมุนเวียน แต่โดยมากจะมีความหมายเดียวกับ Net Working Capital ซึ่งก็คือ สินทรัพย์หมุนเวียนลบหนี้สินหมุนเวียน หรือถ้าทำเป็นอัตราส่วนเรียกว่า current ratio (อัตราส่วนทุนหมุนเวียน) = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน ความหมายโดยทั่วไปคือกิจการมีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดใน 1 ปี เพียงพอที่จะชำระหนี้สินที่ต้องชำระใน 1 ปีหรือไม่
โดยปกติ Net Working Capital ควรเป็นบวก หรือ current ratio (CR อัตราส่วนทุนหมุนเวียน) มากกว่า 1 แต่ไม่เสมอไปในกิจการแต่ละประเภท (อุตสาหกรรม) บางกิจการอาจต้องการมากกว่า 1 มาก บางกิจการอาจน้อยใกล้ 1 หรือบางกิจการอาจน้อยกว่า 1 (ติดลบ) ก็ได้ การมีมากกว่า 1 มากๆ อาจหมายถึงมีเงินจมในสินค้ามากไป หรือสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ค่อนข้างช้า เช่นลูกหนี้ที่ค้างชำระนานๆแต่กิจการยังไม่ตัดเป็นหนี้สงสัยจะสูญเป็นต้น
ทีนี้ปัญหาของนักลงทุนคือแล้วจะดูหรือรู้ได้อย่างไรว่ากิจการแบบไหนต้องบวกมาก หรือติดลบได้ (CR<1) ความจริงมีวิธีหาค่าที่เหมาะสมกับธุรกิจ และนโยบายการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน (เช่น ลูกหนี้ สินค้า เจ้าหนี้การค้า เป็นต้น) กิจการแบบเดียวกันแต่นโยบายต่างกันก็มีค่า CR ที่ควรเป็นต่างกันได้ แต่ต้องใช้เวลามาก เอาง่ายๆที่พอเอาไปใช้พิจารณาประกอบ ผมแนะให้ไปดูงบกระแสเงินสด ดูว่ากระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวกหรือไม่ ถ้าบวกเทียบกับกำไรจากการดำเนินงานมากกว่าหรือไม่ แวงจรเงินสดสั้นหรือยาว
ถ้า CFO + และ CFO/NOPAT >1, cash cycle สั้น (<60 วัน) อย่างนี้ CR ต่ำๆ หรืออาจน้อยกว่า 1 ได้
ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขข้างต้น CR ควรต้องมากว่า 1 หรือ Net working capital ควรบวก
ในกิจการค้าปลีกบางบริษัทเข้าเงื่อนไขแรก จึงเห็นว่ามี Net working capital เป็นลบ แต่บางกิจการที่เข้าเงื่อนไขแรก และมี Net working capital บวก งบทั้งสองบริษัทมีจุดต่างคือ บริษัทแรก มีหนี้ระยะสั้นสูง บริษัทหลังมีหนี้ระยะสั้นต่ำหรือแทบไม่มีเลย performance ราคาหุ้นระยะยาวบริษัทหลังดูดีกว่า และหุ้นผันผวนน้อยกว่า กองทุนชอบถือมากกว่า ลองไปหาดุเอานะครับ บอกตรงๆ จะไม่ดี[/quote]
555+ ได้ครับอาจารย์ ขอบคุณสำหรับคำตอบอีกครั้งนะครับ ^^
จุดเด่นหนึ่งที่พูดถึงกันมากในธุรกิจที่มองกันว่าสุดแกร่ง ณ ชั่วโมงนี้ คือการ "ซื้อเชื่อขายสด" ของกลุ่มค้าปลีก อันมีจุดสังเกตหลัก คือ Working Capital (หรือที่ถูกคือ Net Working Capital ใช่หรือไม่ครับ ?) มีค่าติดลบ จากการที่สินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน หากผมสังเกตเจอจุดนี้ในบริษัทอื่นๆผมสามารถถือว่ามันเป็นจุดแข็งได้หรือไม่ครับ ถ้าไม่ใช่ ต้องระวังกรณีใดบ้างครับ (ส่วนตัวรู้สึกว่าถ้าหมุนเงินไม่ทันต้องแย่แน่ แต่ยังรู้แค่หางอึ่งครับ กลั่นออกมาเป็นข้อไม่ไหวครับ แหะๆ ^^")
ขอบคุณล่วงหน้าเช่นเดิมครับอาจารย์ ^^[/quote]
Working Capital มีความหมายกว้างคืออาจหมายถึง gross working capital ซึ่งจะหมายถึงเพียงสินทรัพย์หมุนเวียน แต่โดยมากจะมีความหมายเดียวกับ Net Working Capital ซึ่งก็คือ สินทรัพย์หมุนเวียนลบหนี้สินหมุนเวียน หรือถ้าทำเป็นอัตราส่วนเรียกว่า current ratio (อัตราส่วนทุนหมุนเวียน) = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน ความหมายโดยทั่วไปคือกิจการมีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดใน 1 ปี เพียงพอที่จะชำระหนี้สินที่ต้องชำระใน 1 ปีหรือไม่
โดยปกติ Net Working Capital ควรเป็นบวก หรือ current ratio (CR อัตราส่วนทุนหมุนเวียน) มากกว่า 1 แต่ไม่เสมอไปในกิจการแต่ละประเภท (อุตสาหกรรม) บางกิจการอาจต้องการมากกว่า 1 มาก บางกิจการอาจน้อยใกล้ 1 หรือบางกิจการอาจน้อยกว่า 1 (ติดลบ) ก็ได้ การมีมากกว่า 1 มากๆ อาจหมายถึงมีเงินจมในสินค้ามากไป หรือสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ค่อนข้างช้า เช่นลูกหนี้ที่ค้างชำระนานๆแต่กิจการยังไม่ตัดเป็นหนี้สงสัยจะสูญเป็นต้น
ทีนี้ปัญหาของนักลงทุนคือแล้วจะดูหรือรู้ได้อย่างไรว่ากิจการแบบไหนต้องบวกมาก หรือติดลบได้ (CR<1) ความจริงมีวิธีหาค่าที่เหมาะสมกับธุรกิจ และนโยบายการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน (เช่น ลูกหนี้ สินค้า เจ้าหนี้การค้า เป็นต้น) กิจการแบบเดียวกันแต่นโยบายต่างกันก็มีค่า CR ที่ควรเป็นต่างกันได้ แต่ต้องใช้เวลามาก เอาง่ายๆที่พอเอาไปใช้พิจารณาประกอบ ผมแนะให้ไปดูงบกระแสเงินสด ดูว่ากระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวกหรือไม่ ถ้าบวกเทียบกับกำไรจากการดำเนินงานมากกว่าหรือไม่ แวงจรเงินสดสั้นหรือยาว
ถ้า CFO + และ CFO/NOPAT >1, cash cycle สั้น (<60 วัน) อย่างนี้ CR ต่ำๆ หรืออาจน้อยกว่า 1 ได้
ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขข้างต้น CR ควรต้องมากว่า 1 หรือ Net working capital ควรบวก
ในกิจการค้าปลีกบางบริษัทเข้าเงื่อนไขแรก จึงเห็นว่ามี Net working capital เป็นลบ แต่บางกิจการที่เข้าเงื่อนไขแรก และมี Net working capital บวก งบทั้งสองบริษัทมีจุดต่างคือ บริษัทแรก มีหนี้ระยะสั้นสูง บริษัทหลังมีหนี้ระยะสั้นต่ำหรือแทบไม่มีเลย performance ราคาหุ้นระยะยาวบริษัทหลังดูดีกว่า และหุ้นผันผวนน้อยกว่า กองทุนชอบถือมากกว่า ลองไปหาดุเอานะครับ บอกตรงๆ จะไม่ดี[/quote]
555+ ได้ครับอาจารย์ ขอบคุณสำหรับคำตอบอีกครั้งนะครับ ^^
- SawScofield
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 238
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 114
มีคำถามอีกแล้วครับอาจารย์ แหะๆ ^^"
คืองี้ครับ ถ้าบริษัทนึง มียอดขาดทุนสะสมแบบมหาศาล แล้วสิ่งที่เค้าดำเนินการ คือ "ลดทุนจดทะเบียน" ด้วยการลดมูลค่าหุ้น(ลดพาร์)
ผลที่จะเกิดขึ้นกับ บริษัทนี้/ผู้ถือหุ้นรายเดิม/ผู้ที่จะเข้ามาซื้อหุ้นรายใหม่และเจ้าหนี้ มีอะไรบ้างครับ
ลึกๆนัยยะของการดำเนินการเช่นนี้ คือ การตั้งใจล้างขาดทุนสะสมใช่หรือไม่ครับ แล้วกลไกของการหายไปของยอดขาดทุนสะสมเป็นอย่างไรครับ ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งครับ ^/\^
คืองี้ครับ ถ้าบริษัทนึง มียอดขาดทุนสะสมแบบมหาศาล แล้วสิ่งที่เค้าดำเนินการ คือ "ลดทุนจดทะเบียน" ด้วยการลดมูลค่าหุ้น(ลดพาร์)
ผลที่จะเกิดขึ้นกับ บริษัทนี้/ผู้ถือหุ้นรายเดิม/ผู้ที่จะเข้ามาซื้อหุ้นรายใหม่และเจ้าหนี้ มีอะไรบ้างครับ
ลึกๆนัยยะของการดำเนินการเช่นนี้ คือ การตั้งใจล้างขาดทุนสะสมใช่หรือไม่ครับ แล้วกลไกของการหายไปของยอดขาดทุนสะสมเป็นอย่างไรครับ ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งครับ ^/\^
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 115
[quote="SawScofield"]มีคำถามอีกแล้วครับอาจารย์ แหะๆ ^^"
คืองี้ครับ ถ้าบริษัทนึง มียอดขาดทุนสะสมแบบมหาศาล แล้วสิ่งที่เค้าดำเนินการ คือ "ลดทุนจดทะเบียน" ด้วยการลดมูลค่าหุ้น(ลดพาร์)
ผลที่จะเกิดขึ้นกับ บริษัทนี้/ผู้ถือหุ้นรายเดิม/ผู้ที่จะเข้ามาซื้อหุ้นรายใหม่และเจ้าหนี้ มีอะไรบ้างครับ
ลึกๆนัยยะของการดำเนินการเช่นนี้ คือ การตั้งใจล้างขาดทุนสะสมใช่หรือไม่ครับ แล้วกลไกของการหายไปของยอดขาดทุนสะสมเป็นอย่างไรครับ ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งครับ ^/\^[/quote]
การลดทุนในลักษณะนี้เป็นการลดขาดทุนสะสมในอดีตเพื่อเริ่มต้นใหม่ หลังจากที่ลดทุนแล้ว ขาดทุนสะสมเป็น -0- บริษัทจะเริ่มจ่ายปันผลได้เมื่อมีกำไร ถ้าบริษัทมีอนาคตดี บริษัทจะสามารถดึงดูดนักลงทุนใหม่ให้เข้ามาซื้อหุ้นด้วยเหตุผลที่ว่า นักลงทุนใหม่ไม่ต้องแชร์ขาดทุนที่เคยเกิดขึ้น (ผู้ถือหุ้นเก่ารับไป) และอาจได้รับปันผลในอนาคตเมื่อบริษัทมีกำไร (กำไรไม่ต้องนำไปลดขาดทุนสะสมที่เกิดในอดีต)
ผลที่เกิดกับบริษัท: ถ้ากำไรสะสมเป็นบวก บริษัทจะสามารถจ่่ายเงินปันผลได้ (บริษัทต้องการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม เพื่อการจ่ายปันผลในอนาคต)
ผลที่เกิดกับผู้ถือหุ้นรายเดิม: รับขาดทุนสะสมที่เกิดขึ้นในอดีตโดยยอมให้นำมาลดทุนของตัวเอง หมดสิทธิเรียกร้องในทุนที่โดนลดไป หลังจากที่ลดทุนแล้ว กำไรที่บริษัทหาได้จะเข้ากองกลางเพื่อจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นทั้งเก่าและใหม่ โดยไม่สามารถนำกำไรมาชดเชยขาดทุนสะสมที่โดนลดทุนล้างไปแล้ว (ผู้ถือหุ้นเก่ารับขาดทุนไปโดยไม่เรียกร้องคืนเมื่อบริษัทมีกำไรในอนาคต)
ผู้ซื้อหุ้นรายใหม่: ซื้อหุ้นเมื่อขาดทุนสะสมเป็น -0- ไม่ต้องมาร่วมแชร์ขาดทุนเก่่า เริ่มแชร์กำไรขาดทุนที่จะเกิดใหม่และรับปันผลได้
เจ้าหนี้: ความเสี่ยงอาจน้อยลงเพราะบริษัทอาจมีความสามารถในการระดมทุนเพิ่ม โอกาสผิดนัดชำระหนี้อาจน้อยลง
คืองี้ครับ ถ้าบริษัทนึง มียอดขาดทุนสะสมแบบมหาศาล แล้วสิ่งที่เค้าดำเนินการ คือ "ลดทุนจดทะเบียน" ด้วยการลดมูลค่าหุ้น(ลดพาร์)
ผลที่จะเกิดขึ้นกับ บริษัทนี้/ผู้ถือหุ้นรายเดิม/ผู้ที่จะเข้ามาซื้อหุ้นรายใหม่และเจ้าหนี้ มีอะไรบ้างครับ
ลึกๆนัยยะของการดำเนินการเช่นนี้ คือ การตั้งใจล้างขาดทุนสะสมใช่หรือไม่ครับ แล้วกลไกของการหายไปของยอดขาดทุนสะสมเป็นอย่างไรครับ ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งครับ ^/\^[/quote]
การลดทุนในลักษณะนี้เป็นการลดขาดทุนสะสมในอดีตเพื่อเริ่มต้นใหม่ หลังจากที่ลดทุนแล้ว ขาดทุนสะสมเป็น -0- บริษัทจะเริ่มจ่ายปันผลได้เมื่อมีกำไร ถ้าบริษัทมีอนาคตดี บริษัทจะสามารถดึงดูดนักลงทุนใหม่ให้เข้ามาซื้อหุ้นด้วยเหตุผลที่ว่า นักลงทุนใหม่ไม่ต้องแชร์ขาดทุนที่เคยเกิดขึ้น (ผู้ถือหุ้นเก่ารับไป) และอาจได้รับปันผลในอนาคตเมื่อบริษัทมีกำไร (กำไรไม่ต้องนำไปลดขาดทุนสะสมที่เกิดในอดีต)
ผลที่เกิดกับบริษัท: ถ้ากำไรสะสมเป็นบวก บริษัทจะสามารถจ่่ายเงินปันผลได้ (บริษัทต้องการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม เพื่อการจ่ายปันผลในอนาคต)
ผลที่เกิดกับผู้ถือหุ้นรายเดิม: รับขาดทุนสะสมที่เกิดขึ้นในอดีตโดยยอมให้นำมาลดทุนของตัวเอง หมดสิทธิเรียกร้องในทุนที่โดนลดไป หลังจากที่ลดทุนแล้ว กำไรที่บริษัทหาได้จะเข้ากองกลางเพื่อจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นทั้งเก่าและใหม่ โดยไม่สามารถนำกำไรมาชดเชยขาดทุนสะสมที่โดนลดทุนล้างไปแล้ว (ผู้ถือหุ้นเก่ารับขาดทุนไปโดยไม่เรียกร้องคืนเมื่อบริษัทมีกำไรในอนาคต)
ผู้ซื้อหุ้นรายใหม่: ซื้อหุ้นเมื่อขาดทุนสะสมเป็น -0- ไม่ต้องมาร่วมแชร์ขาดทุนเก่่า เริ่มแชร์กำไรขาดทุนที่จะเกิดใหม่และรับปันผลได้
เจ้าหนี้: ความเสี่ยงอาจน้อยลงเพราะบริษัทอาจมีความสามารถในการระดมทุนเพิ่ม โอกาสผิดนัดชำระหนี้อาจน้อยลง
- SawScofield
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 238
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 116
[quote="parporn"][quote="SawScofield"]มีคำถามอีกแล้วครับอาจารย์ แหะๆ ^^"
คืองี้ครับ ถ้าบริษัทนึง มียอดขาดทุนสะสมแบบมหาศาล แล้วสิ่งที่เค้าดำเนินการ คือ "ลดทุนจดทะเบียน" ด้วยการลดมูลค่าหุ้น(ลดพาร์)
ผลที่จะเกิดขึ้นกับ บริษัทนี้/ผู้ถือหุ้นรายเดิม/ผู้ที่จะเข้ามาซื้อหุ้นรายใหม่และเจ้าหนี้ มีอะไรบ้างครับ
ลึกๆนัยยะของการดำเนินการเช่นนี้ คือ การตั้งใจล้างขาดทุนสะสมใช่หรือไม่ครับ แล้วกลไกของการหายไปของยอดขาดทุนสะสมเป็นอย่างไรครับ ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งครับ ^/\^[/quote]
การลดทุนในลักษณะนี้เป็นการลดขาดทุนสะสมในอดีตเพื่อเริ่มต้นใหม่ หลังจากที่ลดทุนแล้ว ขาดทุนสะสมเป็น -0- บริษัทจะเริ่มจ่ายปันผลได้เมื่อมีกำไร ถ้าบริษัทมีอนาคตดี บริษัทจะสามารถดึงดูดนักลงทุนใหม่ให้เข้ามาซื้อหุ้นด้วยเหตุผลที่ว่า นักลงทุนใหม่ไม่ต้องแชร์ขาดทุนที่เคยเกิดขึ้น (ผู้ถือหุ้นเก่ารับไป) และอาจได้รับปันผลในอนาคตเมื่อบริษัทมีกำไร (กำไรไม่ต้องนำไปลดขาดทุนสะสมที่เกิดในอดีต)
ผลที่เกิดกับบริษัท: ถ้ากำไรสะสมเป็นบวก บริษัทจะสามารถจ่่ายเงินปันผลได้ (บริษัทต้องการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม เพื่อการจ่ายปันผลในอนาคต)
ผลที่เกิดกับผู้ถือหุ้นรายเดิม: รับขาดทุนสะสมที่เกิดขึ้นในอดีตโดยยอมให้นำมาลดทุนของตัวเอง หมดสิทธิเรียกร้องในทุนที่โดนลดไป หลังจากที่ลดทุนแล้ว กำไรที่บริษัทหาได้จะเข้ากองกลางเพื่อจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นทั้งเก่าและใหม่ โดยไม่สามารถนำกำไรมาชดเชยขาดทุนสะสมที่โดนลดทุนล้างไปแล้ว (ผู้ถือหุ้นเก่ารับขาดทุนไปโดยไม่เรียกร้องคืนเมื่อบริษัทมีกำไรในอนาคต)
ผู้ซื้อหุ้นรายใหม่: ซื้อหุ้นเมื่อขาดทุนสะสมเป็น -0- ไม่ต้องมาร่วมแชร์ขาดทุนเก่่า เริ่มแชร์กำไรขาดทุนที่จะเกิดใหม่และรับปันผลได้
เจ้าหนี้: ความเสี่ยงอาจน้อยลงเพราะบริษัทอาจมีความสามารถในการระดมทุนเพิ่ม โอกาสผิดนัดชำระหนี้อาจน้อยลง[/quote]
ขอบคุณครับอาจารย์ ปล.ยังล้าจากวันเสาร์อาทิตย์อยู่เลยครับ 555 ^^"
คืองี้ครับ ถ้าบริษัทนึง มียอดขาดทุนสะสมแบบมหาศาล แล้วสิ่งที่เค้าดำเนินการ คือ "ลดทุนจดทะเบียน" ด้วยการลดมูลค่าหุ้น(ลดพาร์)
ผลที่จะเกิดขึ้นกับ บริษัทนี้/ผู้ถือหุ้นรายเดิม/ผู้ที่จะเข้ามาซื้อหุ้นรายใหม่และเจ้าหนี้ มีอะไรบ้างครับ
ลึกๆนัยยะของการดำเนินการเช่นนี้ คือ การตั้งใจล้างขาดทุนสะสมใช่หรือไม่ครับ แล้วกลไกของการหายไปของยอดขาดทุนสะสมเป็นอย่างไรครับ ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งครับ ^/\^[/quote]
การลดทุนในลักษณะนี้เป็นการลดขาดทุนสะสมในอดีตเพื่อเริ่มต้นใหม่ หลังจากที่ลดทุนแล้ว ขาดทุนสะสมเป็น -0- บริษัทจะเริ่มจ่ายปันผลได้เมื่อมีกำไร ถ้าบริษัทมีอนาคตดี บริษัทจะสามารถดึงดูดนักลงทุนใหม่ให้เข้ามาซื้อหุ้นด้วยเหตุผลที่ว่า นักลงทุนใหม่ไม่ต้องแชร์ขาดทุนที่เคยเกิดขึ้น (ผู้ถือหุ้นเก่ารับไป) และอาจได้รับปันผลในอนาคตเมื่อบริษัทมีกำไร (กำไรไม่ต้องนำไปลดขาดทุนสะสมที่เกิดในอดีต)
ผลที่เกิดกับบริษัท: ถ้ากำไรสะสมเป็นบวก บริษัทจะสามารถจ่่ายเงินปันผลได้ (บริษัทต้องการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม เพื่อการจ่ายปันผลในอนาคต)
ผลที่เกิดกับผู้ถือหุ้นรายเดิม: รับขาดทุนสะสมที่เกิดขึ้นในอดีตโดยยอมให้นำมาลดทุนของตัวเอง หมดสิทธิเรียกร้องในทุนที่โดนลดไป หลังจากที่ลดทุนแล้ว กำไรที่บริษัทหาได้จะเข้ากองกลางเพื่อจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นทั้งเก่าและใหม่ โดยไม่สามารถนำกำไรมาชดเชยขาดทุนสะสมที่โดนลดทุนล้างไปแล้ว (ผู้ถือหุ้นเก่ารับขาดทุนไปโดยไม่เรียกร้องคืนเมื่อบริษัทมีกำไรในอนาคต)
ผู้ซื้อหุ้นรายใหม่: ซื้อหุ้นเมื่อขาดทุนสะสมเป็น -0- ไม่ต้องมาร่วมแชร์ขาดทุนเก่่า เริ่มแชร์กำไรขาดทุนที่จะเกิดใหม่และรับปันผลได้
เจ้าหนี้: ความเสี่ยงอาจน้อยลงเพราะบริษัทอาจมีความสามารถในการระดมทุนเพิ่ม โอกาสผิดนัดชำระหนี้อาจน้อยลง[/quote]
ขอบคุณครับอาจารย์ ปล.ยังล้าจากวันเสาร์อาทิตย์อยู่เลยครับ 555 ^^"
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 117
คำถามที่อยากถามกลับคือ หุ้นแบบที่คุณว่านั้น (ลดทุน ลดพาร์ ตัดขาดทุนสะสม) ถ้าดำเนินการแล้วเสร็จ ตัดขาดทุนสะสมหมดเเรยบร้อย น่าซื้อหรือไม่ เพราะอะไรและทำไมคุณจึงเชื่อว่าบริษัทนี้จะฟื้นคืนและดีกว่าหุ้นอื่นในตลาดที่มีอยู่อีกมากมาย อะไรคือจุดที่คุณคิดว่าน่าเสี่ยงในการลงทุนหุ้นนี้
ที่ถามไม่ใช่ว่าห้ามซื้อ แต่ถ้าเป็น VI ตัวจริงต้องตอบให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการเล่นพนัน เล่นดัมมี่ หรือตองเก้า จะจั่วจะทิ้งก็ใช้การเดาความน่าจะเป็นไพ่ในมือเจ้ากับคนข้างๆ ต้นฉบับแห่ง value investing เกรแฮมหรือศิษย์เอกอย่างบัพเฟต แทบจะไม่แตะเลย เว้นแต่มีการเปลี่ยนกรรมการและผู้บริหารใหม่หมด และกลุ่มทีมบริหารใหม่ต้องสุดเจ๋งจริงๆ ไม่เช่นนั้นเมื่อวิเคราะห์ ARP หรือ EPV อาจจะไม่คุ้มค่าในการซื้อลงทุน ดังนั้นหุ้นที่ลดทุน ลดพาร์ ตัดขาดทุนสะสม ก่อนซื้อต้องดูให้มากกว่าปกติและหามูลค่าให้ได้ และมี safety มากๆ
ที่ถามไม่ใช่ว่าห้ามซื้อ แต่ถ้าเป็น VI ตัวจริงต้องตอบให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการเล่นพนัน เล่นดัมมี่ หรือตองเก้า จะจั่วจะทิ้งก็ใช้การเดาความน่าจะเป็นไพ่ในมือเจ้ากับคนข้างๆ ต้นฉบับแห่ง value investing เกรแฮมหรือศิษย์เอกอย่างบัพเฟต แทบจะไม่แตะเลย เว้นแต่มีการเปลี่ยนกรรมการและผู้บริหารใหม่หมด และกลุ่มทีมบริหารใหม่ต้องสุดเจ๋งจริงๆ ไม่เช่นนั้นเมื่อวิเคราะห์ ARP หรือ EPV อาจจะไม่คุ้มค่าในการซื้อลงทุน ดังนั้นหุ้นที่ลดทุน ลดพาร์ ตัดขาดทุนสะสม ก่อนซื้อต้องดูให้มากกว่าปกติและหามูลค่าให้ได้ และมี safety มากๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 118
[quote="sun_cisa2"]คำถามที่อยากถามกลับคือ หุ้นแบบที่คุณว่านั้น (ลดทุน ลดพาร์ ตัดขาดทุนสะสม) ถ้าดำเนินการแล้วเสร็จ ตัดขาดทุนสะสมหมดเเรยบร้อย น่าซื้อหรือไม่ เพราะอะไรและทำไมคุณจึงเชื่อว่าบริษัทนี้จะฟื้นคืนและดีกว่าหุ้นอื่นในตลาดที่มีอยู่อีกมากมาย อะไรคือจุดที่คุณคิดว่าน่าเสี่ยงในการลงทุนหุ้นนี้
ที่ถามไม่ใช่ว่าห้ามซื้อ แต่ถ้าเป็น VI ตัวจริงต้องตอบให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการเล่นพนัน เล่นดัมมี่ หรือตองเก้า จะจั่วจะทิ้งก็ใช้การเดาความน่าจะเป็นไพ่ในมือเจ้ากับคนข้างๆ ต้นฉบับแห่ง value investing เกรแฮมหรือศิษย์เอกอย่างบัพเฟต แทบจะไม่แตะเลย เว้นแต่มีการเปลี่ยนกรรมการและผู้บริหารใหม่หมด และกลุ่มทีมบริหารใหม่ต้องสุดเจ๋งจริงๆ ไม่เช่นนั้นเมื่อวิเคราะห์ ARP หรือ EPV อาจจะไม่คุ้มค่าในการซื้อลงทุน ดังนั้นหุ้นที่ลดทุน ลดพาร์ ตัดขาดทุนสะสม ก่อนซื้อต้องดูให้มากกว่าปกติและหามูลค่าให้ได้ และมี safety มากๆ[/quote]
ขอบคุณครับ อาจารย์
ที่ถามไม่ใช่ว่าห้ามซื้อ แต่ถ้าเป็น VI ตัวจริงต้องตอบให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการเล่นพนัน เล่นดัมมี่ หรือตองเก้า จะจั่วจะทิ้งก็ใช้การเดาความน่าจะเป็นไพ่ในมือเจ้ากับคนข้างๆ ต้นฉบับแห่ง value investing เกรแฮมหรือศิษย์เอกอย่างบัพเฟต แทบจะไม่แตะเลย เว้นแต่มีการเปลี่ยนกรรมการและผู้บริหารใหม่หมด และกลุ่มทีมบริหารใหม่ต้องสุดเจ๋งจริงๆ ไม่เช่นนั้นเมื่อวิเคราะห์ ARP หรือ EPV อาจจะไม่คุ้มค่าในการซื้อลงทุน ดังนั้นหุ้นที่ลดทุน ลดพาร์ ตัดขาดทุนสะสม ก่อนซื้อต้องดูให้มากกว่าปกติและหามูลค่าให้ได้ และมี safety มากๆ[/quote]
ขอบคุณครับ อาจารย์
- SawScofield
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 238
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 119
[quote="sun_cisa2"]คำถามที่อยากถามกลับคือ หุ้นแบบที่คุณว่านั้น (ลดทุน ลดพาร์ ตัดขาดทุนสะสม) ถ้าดำเนินการแล้วเสร็จ ตัดขาดทุนสะสมหมดเเรยบร้อย น่าซื้อหรือไม่ เพราะอะไรและทำไมคุณจึงเชื่อว่าบริษัทนี้จะฟื้นคืนและดีกว่าหุ้นอื่นในตลาดที่มีอยู่อีกมากมาย อะไรคือจุดที่คุณคิดว่าน่าเสี่ยงในการลงทุนหุ้นนี้
ที่ถามไม่ใช่ว่าห้ามซื้อ แต่ถ้าเป็น VI ตัวจริงต้องตอบให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการเล่นพนัน เล่นดัมมี่ หรือตองเก้า จะจั่วจะทิ้งก็ใช้การเดาความน่าจะเป็นไพ่ในมือเจ้ากับคนข้างๆ ต้นฉบับแห่ง value investing เกรแฮมหรือศิษย์เอกอย่างบัพเฟต แทบจะไม่แตะเลย เว้นแต่มีการเปลี่ยนกรรมการและผู้บริหารใหม่หมด และกลุ่มทีมบริหารใหม่ต้องสุดเจ๋งจริงๆ ไม่เช่นนั้นเมื่อวิเคราะห์ ARP หรือ EPV อาจจะไม่คุ้มค่าในการซื้อลงทุน ดังนั้นหุ้นที่ลดทุน ลดพาร์ ตัดขาดทุนสะสม ก่อนซื้อต้องดูให้มากกว่าปกติและหามูลค่าให้ได้ และมี safety มากๆ[/quote]
ขอบคุณสำหรับคำถามครับอาจารย์ ในใจผมนั้นมีคำตอบอยู่แล้วครับว่าจะซื้อหรือไม่เพราะอะไร แต่นั่นหาใช่ประเด็นไม่ครับ ประเด็นอยู่ที่นี่คือแนวคิดของคู่หูคุณปู่บัฟเฟตต์ท่านหนึ่งนาม "ชาลี มังเกอร์" ผู้ซึ่งบ่อยครั้งถูกค่อนแคะว่ามีแนวคิดแปลกแยกขวางโลก ท่านมักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษาบริษัทที่ล้มเหลวมากกว่าบริษัทที่ประสบความสำเร็จครับ เพราะเมื่อรู้ว่าทางใดคือหายนะ จะได้ไม่ไปทางนั้นครับ ...
แค่รู้สึกการมุ่งหน้าสู่สิ่งที่ใช่ โดยไม่ศึกษาสิ่งที่ไม่ใช่ไว้บ้าง จะทำให้สัญชาตญาณในการระแวดระวังภัยลดน้อยลงครับ
ทั้งนี้ ขอเห็นต่างเรื่องการพนันนิดเดียวครับ นอกจากป๊อกเด้งแล้วนั้น ไพ่อื่นๆ รวมถึงตัว top อย่าง Black Jack / Poker / Rummy / Hearts หรือ Bridges น่าจะช่วยฝึกความจำ ความคิดเชื่อมโยง และจิตใจทั้งสิ้นนะครับ เพราะผมคิดว่าการพนัน คือ ความเสี่ยงที่ไม่สามารถกำหนดกลยุทธรับมือได้ครับ แม้กลยุทธทั้งหลายจะช่วยได้แค่ลดความเสี่ยงลง แต่นั่นก็เป็นสนามซ้อมที่ดีบนโลกแห่งความไม่แน่นอนครับ ไม่สนับสนุนการพนันเช่นกันครับ แม้นจะมีแค่ Bridges เท่านั้นที่ได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬา แหะๆ ^^"
ปล.อย่างไรก็ขอบคุณสำหรับคำถามเตือนสติที่ดีนะครับ ผมอาจจะใช้ภาษาโฉ่งฉ่างไปบ้างต้องขออภัยล่วงหน้าครับ แค่อยากแลกเปลี่ยนเพื่อการตกผลึกที่กลมกล่อมขึ้น ด้วยความเคารพครับ ^^
ที่ถามไม่ใช่ว่าห้ามซื้อ แต่ถ้าเป็น VI ตัวจริงต้องตอบให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการเล่นพนัน เล่นดัมมี่ หรือตองเก้า จะจั่วจะทิ้งก็ใช้การเดาความน่าจะเป็นไพ่ในมือเจ้ากับคนข้างๆ ต้นฉบับแห่ง value investing เกรแฮมหรือศิษย์เอกอย่างบัพเฟต แทบจะไม่แตะเลย เว้นแต่มีการเปลี่ยนกรรมการและผู้บริหารใหม่หมด และกลุ่มทีมบริหารใหม่ต้องสุดเจ๋งจริงๆ ไม่เช่นนั้นเมื่อวิเคราะห์ ARP หรือ EPV อาจจะไม่คุ้มค่าในการซื้อลงทุน ดังนั้นหุ้นที่ลดทุน ลดพาร์ ตัดขาดทุนสะสม ก่อนซื้อต้องดูให้มากกว่าปกติและหามูลค่าให้ได้ และมี safety มากๆ[/quote]
ขอบคุณสำหรับคำถามครับอาจารย์ ในใจผมนั้นมีคำตอบอยู่แล้วครับว่าจะซื้อหรือไม่เพราะอะไร แต่นั่นหาใช่ประเด็นไม่ครับ ประเด็นอยู่ที่นี่คือแนวคิดของคู่หูคุณปู่บัฟเฟตต์ท่านหนึ่งนาม "ชาลี มังเกอร์" ผู้ซึ่งบ่อยครั้งถูกค่อนแคะว่ามีแนวคิดแปลกแยกขวางโลก ท่านมักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษาบริษัทที่ล้มเหลวมากกว่าบริษัทที่ประสบความสำเร็จครับ เพราะเมื่อรู้ว่าทางใดคือหายนะ จะได้ไม่ไปทางนั้นครับ ...
แค่รู้สึกการมุ่งหน้าสู่สิ่งที่ใช่ โดยไม่ศึกษาสิ่งที่ไม่ใช่ไว้บ้าง จะทำให้สัญชาตญาณในการระแวดระวังภัยลดน้อยลงครับ
ทั้งนี้ ขอเห็นต่างเรื่องการพนันนิดเดียวครับ นอกจากป๊อกเด้งแล้วนั้น ไพ่อื่นๆ รวมถึงตัว top อย่าง Black Jack / Poker / Rummy / Hearts หรือ Bridges น่าจะช่วยฝึกความจำ ความคิดเชื่อมโยง และจิตใจทั้งสิ้นนะครับ เพราะผมคิดว่าการพนัน คือ ความเสี่ยงที่ไม่สามารถกำหนดกลยุทธรับมือได้ครับ แม้กลยุทธทั้งหลายจะช่วยได้แค่ลดความเสี่ยงลง แต่นั่นก็เป็นสนามซ้อมที่ดีบนโลกแห่งความไม่แน่นอนครับ ไม่สนับสนุนการพนันเช่นกันครับ แม้นจะมีแค่ Bridges เท่านั้นที่ได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬา แหะๆ ^^"
ปล.อย่างไรก็ขอบคุณสำหรับคำถามเตือนสติที่ดีนะครับ ผมอาจจะใช้ภาษาโฉ่งฉ่างไปบ้างต้องขออภัยล่วงหน้าครับ แค่อยากแลกเปลี่ยนเพื่อการตกผลึกที่กลมกล่อมขึ้น ด้วยความเคารพครับ ^^
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 120
ถ้ารู้ว่าซื้อหรือไม่ซื้อเพราะอะไรก็นับว่าดีมากครับ ที่เกริ่นถามเพราะว่าอยากให้คิดอย่างรอบครอบทุกครั้งก่อนการลงทุน เพราะผมเห็นว่ามีหลายคน (นักวิเคราะห์และนักลงทุนหลายคน) ชอบแนะหุ้นที่มีปัญหา ซึ่งหุ้นที่เห็นแนะกันผ่านสื่อ ผ่านโบรกเกอร์รีเสิร์ชต่างๆ ผมจะเข้าไปติดตามแทบทุกตัว ดูและวิเคราะห์งบการเงิน กับอุตสาหกรรมนั้นๆ บางทียังไม่เห็นว่าจะมีอะไรบอกที่โดดเด่นดังกล่าวเลย จึงเขียนบอกให้หยุดคิดวิเคราะห์เท่านั้น ถ้ารู้ว่าเพราะอะไรและตอบคำถามได้ก็ถือว่าโอเคครับ ส่วนถูกผิดก็อีกเรื่อง ต้องเป็นเหตุผลที่ตอบตัวเองได้ อย่าเพียงเชื่อเอาตามที่เขาว่ามา (กาลามสูตร)
บางคนอาจได้ข้อมูลเชิงลึกจากการทำ company visit การสัมภาษณ์ตรงกับผู้บริหาร ผมบอกในฐานะที่เคยทำงานในวงการหุ้นทา ทั้ง primmary market (เอาหุ้นเข้าตลาด investment banker , underwriter) และ secondary market (analyst) เวลาผู้บริหารบอกอะไรมา หารสองหรือมากกว่าเสมอ อาจบอกดูเหมือนดี แต่ระยะยาวไม่ใช่เช่นนั้น สิ่งที่ได้จากการบอกมามีทั้งเรื่องจริงเท็จปะปนกันไป อย่าลืมว่าเดี๋ยวนี่ผู้บริหารเรียนสูงกันทุกคน (เช่น MBA) จึงมีวิธีโน้มน้าวและตอบได้ดูมีเหตุมีผลกัน อย่าลืมนักบัญชีที่เก่งยิ่งทำกลบัญชีเก่ง กว่าจะรู้ก็โดนซะแล้ว บริษัทดีๆหลายแห่งสุดท้ายก็อาจปั้นตัวเลขได้ ผมจึงมักเชื่อแต่สิ่งที่เห็นแล้ว วิเคราะห์แล้วเท่านั้น ผู้บริหารอาจบอกว่าปีหน้าจะดี ถ้าอดีตที่ผ่านมา (และดูงบแล้วว่าไม่น่าแต่ง) ไม่ดี ผมจะยังไม่เชื่อว่าจะดี เว้นแต่มีสัญญาณที่บ่งชี้จริงจากสิ่งแวดล้อมเช่นภาวะเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม (จะใช้ 5 forces วิเคราะห์ก่อนเบื้องต้น) จึงจะนำมาพิจารณาประกอบ ผมเป็นคนที่วิเคราะห์แล้วซื้อยากคนหนึ่ง ไม่เคยหวังว่ารวยจากการเล่นหุ้น ไม่รวยจากหุ้นแต่ก็ไม่เคยเจ็บตัวหนักๆ จากหุ้น หลายคนร่ำรวย หลายคนเจ๊ง หลายรวยๆ เจ๊งๆ แต่ผมเรื่อยๆ สบายใจดี
บางคนอาจได้ข้อมูลเชิงลึกจากการทำ company visit การสัมภาษณ์ตรงกับผู้บริหาร ผมบอกในฐานะที่เคยทำงานในวงการหุ้นทา ทั้ง primmary market (เอาหุ้นเข้าตลาด investment banker , underwriter) และ secondary market (analyst) เวลาผู้บริหารบอกอะไรมา หารสองหรือมากกว่าเสมอ อาจบอกดูเหมือนดี แต่ระยะยาวไม่ใช่เช่นนั้น สิ่งที่ได้จากการบอกมามีทั้งเรื่องจริงเท็จปะปนกันไป อย่าลืมว่าเดี๋ยวนี่ผู้บริหารเรียนสูงกันทุกคน (เช่น MBA) จึงมีวิธีโน้มน้าวและตอบได้ดูมีเหตุมีผลกัน อย่าลืมนักบัญชีที่เก่งยิ่งทำกลบัญชีเก่ง กว่าจะรู้ก็โดนซะแล้ว บริษัทดีๆหลายแห่งสุดท้ายก็อาจปั้นตัวเลขได้ ผมจึงมักเชื่อแต่สิ่งที่เห็นแล้ว วิเคราะห์แล้วเท่านั้น ผู้บริหารอาจบอกว่าปีหน้าจะดี ถ้าอดีตที่ผ่านมา (และดูงบแล้วว่าไม่น่าแต่ง) ไม่ดี ผมจะยังไม่เชื่อว่าจะดี เว้นแต่มีสัญญาณที่บ่งชี้จริงจากสิ่งแวดล้อมเช่นภาวะเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม (จะใช้ 5 forces วิเคราะห์ก่อนเบื้องต้น) จึงจะนำมาพิจารณาประกอบ ผมเป็นคนที่วิเคราะห์แล้วซื้อยากคนหนึ่ง ไม่เคยหวังว่ารวยจากการเล่นหุ้น ไม่รวยจากหุ้นแต่ก็ไม่เคยเจ็บตัวหนักๆ จากหุ้น หลายคนร่ำรวย หลายคนเจ๊ง หลายรวยๆ เจ๊งๆ แต่ผมเรื่อยๆ สบายใจดี