กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

ภาพประจำตัวสมาชิก
SawScofield
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 238
ผู้ติดตาม: 1

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 121

โพสต์

[quote="sun_cisa2"]ถ้ารู้ว่าซื้อหรือไม่ซื้อเพราะอะไรก็นับว่าดีมากครับ ที่เกริ่นถามเพราะว่าอยากให้คิดอย่างรอบครอบทุกครั้งก่อนการลงทุน เพราะผมเห็นว่ามีหลายคน (นักวิเคราะห์และนักลงทุนหลายคน) ชอบแนะหุ้นที่มีปัญหา ซึ่งหุ้นที่เห็นแนะกันผ่านสื่อ ผ่านโบรกเกอร์รีเสิร์ชต่างๆ ผมจะเข้าไปติดตามแทบทุกตัว ดูและวิเคราะห์งบการเงิน กับอุตสาหกรรมนั้นๆ บางทียังไม่เห็นว่าจะมีอะไรบอกที่โดดเด่นดังกล่าวเลย จึงเขียนบอกให้หยุดคิดวิเคราะห์เท่านั้น ถ้ารู้ว่าเพราะอะไรและตอบคำถามได้ก็ถือว่าโอเคครับ ส่วนถูกผิดก็อีกเรื่อง ต้องเป็นเหตุผลที่ตอบตัวเองได้ อย่าเพียงเชื่อเอาตามที่เขาว่ามา (กาลามสูตร)

บางคนอาจได้ข้อมูลเชิงลึกจากการทำ company visit การสัมภาษณ์ตรงกับผู้บริหาร ผมบอกในฐานะที่เคยทำงานในวงการหุ้นทา ทั้ง primmary market (เอาหุ้นเข้าตลาด investment banker , underwriter) และ secondary market (analyst) เวลาผู้บริหารบอกอะไรมา หารสองหรือมากกว่าเสมอ อาจบอกดูเหมือนดี แต่ระยะยาวไม่ใช่เช่นนั้น สิ่งที่ได้จากการบอกมามีทั้งเรื่องจริงเท็จปะปนกันไป อย่าลืมว่าเดี๋ยวนี่ผู้บริหารเรียนสูงกันทุกคน (เช่น MBA) จึงมีวิธีโน้มน้าวและตอบได้ดูมีเหตุมีผลกัน อย่าลืมนักบัญชีที่เก่งยิ่งทำกลบัญชีเก่ง กว่าจะรู้ก็โดนซะแล้ว บริษัทดีๆหลายแห่งสุดท้ายก็อาจปั้นตัวเลขได้ ผมจึงมักเชื่อแต่สิ่งที่เห็นแล้ว วิเคราะห์แล้วเท่านั้น ผู้บริหารอาจบอกว่าปีหน้าจะดี ถ้าอดีตที่ผ่านมา (และดูงบแล้วว่าไม่น่าแต่ง) ไม่ดี ผมจะยังไม่เชื่อว่าจะดี เว้นแต่มีสัญญาณที่บ่งชี้จริงจากสิ่งแวดล้อมเช่นภาวะเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม (จะใช้ 5 forces วิเคราะห์ก่อนเบื้องต้น) จึงจะนำมาพิจารณาประกอบ ผมเป็นคนที่วิเคราะห์แล้วซื้อยากคนหนึ่ง ไม่เคยหวังว่ารวยจากการเล่นหุ้น ไม่รวยจากหุ้นแต่ก็ไม่เคยเจ็บตัวหนักๆ จากหุ้น หลายคนร่ำรวย หลายคนเจ๊ง หลายรวยๆ เจ๊งๆ แต่ผมเรื่อยๆ สบายใจดี[/quote]

ขอบคุณสำหรับมุมมองอีกเช่นเคยครับ ^^
greenman
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 532
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 122

โพสต์

สำหรับแต่ละงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2555 และ 2554 (ไม่ได้ตรวจสอบ)

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ
หมายเหตุ 2555 2554 2555 2554
(พันบาท)
รายได้
รายได้จากการขาย 3 6,095,853 5,810,191 4,677,802 4,193,371
รายได้จากการให้บริการ 5,383 7,196 2,774 6,590
กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ 9,782 - 10,331 -
รายได้อื่น 3 36,039 49,775 71,974 57,367
รวมรายได้ 6,147,057 5,867,162 - 4,762,881 4,257,328


-ขอสอบถามว่าเหตุใดรายได้อื่นในงบการงินรวม จึงตำกว่างบการเงินเฉพาะกิจการมีความหมายว่าอย่างไร ขอบคุณครับ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 123

โพสต์

[quote="greenman"]สำหรับแต่ละงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2555 และ 2554 (ไม่ได้ตรวจสอบ)

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ
หมายเหตุ 2555 2554 2555 2554
(พันบาท)
รายได้
รายได้จากการขาย 3 6,095,853 5,810,191 4,677,802 4,193,371
รายได้จากการให้บริการ 5,383 7,196 2,774 6,590
กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ 9,782 - 10,331 -
รายได้อื่น 3 36,039 49,775 71,974 57,367
รวมรายได้ 6,147,057 5,867,162 - 4,762,881 4,257,328


-ขอสอบถามว่าเหตุใดรายได้อื่นในงบการงินรวม จึงตำกว่างบการเงินเฉพาะกิจการมีความหมายว่าอย่างไร ขอบคุณครับ[/quote]

รายการของงบเดี่ยวที่สูงกว่างบรวมอาจมีผลมาจากการตัดรายการระหว่างกัน กรณีนี้อาจหมายความว่า บ.ใหญ่ได้รับรายได้จาก บ.ย่อยมาก เมื่อตัดรายการระหว่างกันออก รายได้และลูกหนี้ของ บ.ใหญ่ จะถูกตัดกับค่่าใช้จ่ายและเจ้าหนี้ในบริษัทย่อย รายได้ในงบการเงินรวมจึงเท่ากับรายได้ที่ บ.ใหญ่ขายให้บริษัทอื่นที่ไม่ใช่บริษัทย่อย ในขณะที่ในงบเดี่ยวจะรวมรายได้ที่รับจากบริษัทย่อยด้วย รายได้ในงบรวมจึงต่ำกว่าในงบเดี่ยว

พูดแล้วงงไหมเอ่ย

ลองดูตัวอย่าง สมมุติใหญ่รับรายได้จากย่อย 1,000 บาท และรับรายได้จากบริษัทอื่น 500 บาท

ในการทำงบการเงินรวม รายได้และลูกหนี้บริษัทย่อยที่บันทึกในงบการเงินของบริษัทใหญ่ จะถูกตัดรายการระหว่างกันกับค่าใช้จ่่ายและเจ้าหนี้บริษัทใหญ่ที่บันทึกในงบการเงินของบริษัทย่อย ทำให้รายได้ที่แสดงในงบการเงินรวมมีเหลือเพียง 500 บาท ในขณะที่งบเดี่ยวมีรายได้ 1,500 บาท
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 124

โพสต์

เพิ่มเติมในเรื่องวิธีวิเคราะห์แบบนักการเงินจริงๆ ไม่ใช่แบบนักบัญชี

- การวิเคราะห์งบนั้นดูงบรวมเป็นหลัก เอาล่ะบางทีอาจสงสัยบ้างแต่อย่างที่อาจารย์ภาพรบอก งบรวมกับงบเดี่ยวมีการตัดรายการระหว่างกันออก อย่าสนใจงบเดี่ยวมาก ในการวิเคราะห์จริงๆ โดยเฉพาะตามแนวทางวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจริง ให้ดูงบรวมเป็นหลัก งบเดี่ยวใช้ประกอบแค่บางเรื่องเท่านั้น เช่น เปรียบเทียบเพื่อประเมินแน้วโน้มว่าเงินลงทุนในบริษัทย่อยดีจริงไหม น่าจะด้อยค่าไหม ซื้อมาแพงหรือคุ้มหมป็นต้น เอาไว้ดูเชิงนโยบายเป็นเรื่องๆไปครับ

- หลักการวิเคราะห์การลงทุนนั้น ให้สนใจประเด็นใหญ่มากกว่าประเด็นย่อยหรือเล็กๆ การดูประเด็นใหญ่เล็กนั้น common sise ช่วยกรองได้มากครับ เช่านบริษัท A มีลูกหนี้การค้าสัดส่วน 25% ของสินทรัพย์รวม หากหนี้เสีย 1% ของลูกหนี้รวม จะเกิดค่าใช้จ่าย 0.25% ของสินทรัพย์รวม ถ้าบริษัทมีอัตราส่วน asset turnover เฉลี่ย 1.2 เท่า แสดงว่าค่าใช้จ่ายนี้จะกระทบต่อรายได้ 1.2x.25% = 0.3% ดังน้นถ้าอัตรากำไรสุทธิ (Net margin) = 7.2% จะเหลือกำไร 6.9% กำไรจะลดลง 4.3%

- บริษัทที่มีสัดส่วนใดสูง แสดงว่าผลกระทบต่อมูลค่าจะมีผลโยงไปถึงกำไรสุทธิมาก บริษัทที่มีรายได้อื่นสูงมากๆ เช่น 15% รายได้ส่วนนี้ย่อมกระทบต่อการดำเนินงานสูง ถ้ามีน้อย เช่น 1-2% ของรายได้รวม รายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้น 200% ก็มีผลต่อกำไร 2-4% แต่การที่รายำด้ส่วนนี้จะโตผิดปกติขนาดนี้ต้องไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยบ่งชี้อะไร

-กรใช้ common size เป็นจะช่วยประหยัดเวลาดูงบได้มาก
greenman
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 532
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 125

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับจริงๆจะพยายามถอดงบเพื่อหา GM ของบริษัทย่อยพอดีมาพบประเด็นที่งบรวมต่ำกว่างบเดี่ยว มีอะไรช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 126

โพสต์

[quote="greenman"]ขอบคุณมากๆครับจริงๆจะพยายามถอดงบเพื่อหา GM ของบริษัทย่อยพอดีมาพบประเด็นที่งบรวมต่ำกว่างบเดี่ยว มีอะไรช่วยชี้แนะด้วยนะครับ[/quote]

ผมไม่ทราบหรอกครับว่าจะถอดงบเพื่อหา GM ของบริษัทย่อยเพื่อวัตถุประสงค์ใด เพื่อการตัดสินใจลงทุนหรือไม่ แต่ขอตอบให้ทั้งสองประเด็น

1 ในด้านการลงทุน เราจะดู GM บ.ย่อย เมื่อหนึ่ง บ.ย่อยมีขนาดเงินลงทุนมาก (สัดส่วนเงินลงทุนในบ.ย่อย ในงบเดี่ยวค่อนข้างมาก) สอง รายได้งบการเงินรวมมาจากบ.ย่อยเป็นส่วนใหญ่ สาม กำไรงบรวม มาจากบริษัทย่อยเป็นส่วนใหญ่ ถ้าเข้าสามเงื่อนไขอันใดอันหนึ่งก็พอจะมีคุณค่าพอที่จะมาแกะตัวเลขของบ.ย่อย

2 การวิเคราะห์นั้นถามว่าหากกำไรของงบการเงินรวมมีกำไรอันเนื่องมาจากงบการเงินบ.ย่อย (บ.ใหญ่ขาดทุน) และ บ.ใหญ่มีสัดส่วนใน บ.ย่อยเกือบทั้งหมด การมุ่งดูที่งบรวมก็น่าจะได้ผลการตัดสินใจที่ดีกว่า การดูงบเดี่ยวของบ.ใดบ.หนึ่ง เพราะโดยมาก การแยก บ.ย่อย ออกจาก บ.ใหญ่ มักจะมีเหตุผลด้านภาษีเสียส่วนมากและ ป้องกันตัวกรณีที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งพลาดท่า เจ๊งึ้นมา จะสามารถ spin off ได้ง่าย

3 หากจะแตกตัวเลขงบใหญ่และย่อยเพื่อดูเฉพาะ GM จริงๆ ให้เอารายการขายในงบรวมหักงบเดี่ยวออกในขั้นแรก จะได้รายได้เฉพาะส่วนที่ย่อยขายให้ภายนอก (ไม่มีรายการระหว่างกัน) จากนั้นไปดูหมายเหตุประกอบงบการเงินจะเปิดเผยรายการดังนี้

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ
สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2554 2553 2554 2553
(ล้านบาท)
บริษัทย่อย
ขายสินค้าหรือการให้บริการ - - 6,673 4,311
ซื้อสินค้าหรือบริการ - - 2,406 1,298

ลักษณะข้างต้นจะเปิดเผยในหมายเหตุภายใต้หัวข้อเงินลงทุนระหว่างกัน หรือรายการระหว่างกัน อาจแตกต่างกันบ้างแต่ต้องเปิดเผย จะเห็นว่ารายการที่บ.ย่อยขายให้ บ.ใหญ่คือ 2554 เท่ากับ 6,673 เอาตรงนี้ไปรวมกับส่วนที่ทำในขั้นแรกก็จะได้รายได้ขายของบ.ย่อย ส่วนต้นทุนขายก็ลักษณะทำแบบเดียวกัน ต้นทุนระหว่างกันอาจจะะยากหน่อยแต่อนุโลมคร่าวๆคือคือที่ย่อยซื้อจากใหญ่ถือว่าที่ซื้อมาเอาไปผลิตทั้งหมด (ความจริงไม่ใช่เพราะต้องเอาไปกระทบกับสินค้าคงเหลือ แต่ผมว่าเดี๋ยวจะงงกันไปใหญ่เลยเอาแบบง่ายๆ) ก็พอไปประยุกต์หา GM ได้บ้างแล้ว

แต่ดีที่สุดคือดูจากงบรวมดีที่สุด เพราะถึงบ.ย่อยจะมีกำไรสูงแต่การขายให้แม่แล้วแม่เอาไปขายต่อ ถ้าแม่ขายขาดทุน ถึงย่อยมีกำไรก็ถูกขาดทุนจากแม่ knock ออก อยู่ดีหรือกลับกันลูกขายต่ำแม่ขายมีกำไรมากก็เหมือนกัน เน้นดูตรงที่งบรวมเลยจะดีกว่าไม่ misslead จากการโยนเล่นตัวเลขระหว่างกัน
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 127

โพสต์

เพิ่มแนวคิดอีกวิธีให้ครับ บางครั้งตัวเลขที่เห็นในงบการเงินบางตัว บางครั้งอาจมีรายการซับซ้อนกว่าจะสรุปผลออกมาได้ตัวเลขที่แสดงในงบการเงิน การไปแกะจนได้ข้อมูลเดิมๆ อาจไม่มีสามารถทำได้ แต่เพียงแค่เราสามารถได้ข้อมูลที่ประเมินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ (economic decision making) ตามวัตุประสงค์การนำเสนองบการเงิน

วิธีคิดอีกแบบหนึ่งในการวิเคราะห์ GM คือ
1 หา GM จากงบรวมว่าได้เท่าไร สมมติว่าได้ 28%
2 หา GM จากงบเดี่ยวว่าได้เท่าไร สมมติว่าได้ 30%
3 พิจารณาว่าสัดส่วนยอดขายที่เกิดจากงบเดี่ยวเท่าไร สมมติว่า ได้ x ยอดขายจากงบย่อยที่ขายโดยรวมรายการระหว่างกันเท่าใด (ใช้วิธีหายอดขายดังที่กล่าวใน comment ที่ผ่านมา) สมมติว่าได้ y
4 หาสัดส่วนยอดขาย x/(x+y) = a%, y/(x+y) = b% ; สมมติว่าได้ a = 70% b = 30%
5 GMใหญ่*a + GMย่อย*b = GMรวม ==> 0.3*0.7 +GMย่อย*0.3 = 0.28
6 แก้สการหา GMย่อย ได้ = (0.28-0.21)/0.3 = 0.07/0.3 = 0.2333 = 23.3%

แนวคิดนี้ตัดปัญหาเรื่องการหาต้นทุนออก เพราะการหาต้นทุนระหว่างกันที่ตัดออกยุ่งยากเกินไป แต่ถ้าผมหรือนักบัญชีทำอาจพอได้แต่กระทบหลายบัญชี คือ ซอนอยู่ในรายการสินค้าคงเหลือ กระจายในวัตถุดิบ งานระหว่างทำ และ สินค้าสำเร็จรูป การมาแกะรายการที่เกี่ยวข้องมากมายมีโอกาสผิดพลาดสูง แต่การหาตามขางต้นใกล้เคียงสูงกว่า ง่ายและรวดเร็วกว่า

ถ้บบริษัทย่อยมีมากกว่า 1 บริษัท จะทำอย่างไร? ตัวแปรคงมากมาย หาขายเหมือนเดิม แต่ y ต้องเอาย่อยๆ มารวมกัน แล้วถ้าย่อยมีการซื้อขายระหว่างกันอีกเล่า พันเป็นใยแมงมุม จะเห็นว่ายุ่งยากมาก

นั่นคือบทสรุปที่บอกแต่แรกว่า ให้ดูงบรวมไปเลย การแกะรายละเอียดอาจไม่ได้ประโยชน์เท่าใด เพราะทุกวิธีก็ล้วนแต่คาดๆเอาเท่านั้น หาใช่ของจริงไม่ เหมือนค่าเสื่อมราคา อัตรารายปีที่เราคิดกลับไม่เคยคงที่จริงเลยสักปี บางปี 17% บ้าง 19% บ้าง หรือลงมาเหลือ 15% บ้าง แม้จะเปิดเผยรายละเอียดในกลุ่มของรายการที่ดินและอุปกรณ์ มันก็ไม่คงที่ เพราะในรายละเอียดมีซื้อมีขาย ต่างวันเลลา อายุใช้งานอาจต่างกัน ดังนั้นเรื่องนี่ให้เครดิตผู้สอบบัญชีกับนักบัญชีเขาไป ว่าน่าจะคิดมาถูกตมระบบ ถ้าไม่ถูกและกระทบวบมากผู้สอบบัญขีเขาจะรายงานเอง ไม่รายงานถือว่าถูกแล้ว การหา GM บริษัทย่อยก็เช่นกัน พยายามหาไป แต่สุดท้ายผลการตัดสินใจก็อยู่ที่งบรวมอยู่ดี
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 128

โพสต์

วอร์เร็น บัฟเฟตต์ และนักลงทุนที่ประสพความสำเร็จมักกล่าวไว้เสมอว่า ลงทุนในธุรกิจที่เราเข้าใจ ปกติบริษัทใดที่ผมอ่นงบแล้วร็สึกว่า ทำอะไรที่ไม่ธรรมดา ซับซ้อนซ่อนเงื่อน ขนาดเราอ่านบัญชีเป็นยังงงๆ ผมจะไม่สนใจเลย ต่อให้กำไรปีนั้นโตเกิน 100% ถ้าดูแล้วไม่ make sense ไม่สนใจเลย พลาดโอกาสยังไม่เป็นไร เพราะมีโอกาสมากมายในตลาดรออยู่ ไม่อย่างนั้นจะมีคนสำเณ้มาตลอดได้อย่างไร แต่ถ้าพลาดเพราะถูกตัวเลขงบหลอกนี่เจ็บถึงกระดองใจจริงๆ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 129

โพสต์

P/E เท่าไรถึงดี รู้ได้อย่างไรว่าแพงหรือถูก
P/E 25 เท่าใช่ว่าแพงเสมอ หรือ P/E 5 เท่าใช่ว่าถูกเสมอ แล้วจะดูอย่างไร หุ้นที่ทีอัตราการเติบโตสูง P/E ปัจจุบันจะสูง พราะการเติบโตกำไรในปีหน้า จะทำให้ P/E ที่ราคาปัจจุบัน ลดลงต่ำ
ตามทฤษฎี Gordon Model  P = D/(k-g) ถ้า D คือเงินปันผลจ่ายต่อหุ้น k คือผลตอบแทนที่คาดหวัง (ตาม CAPM) และ g คืออัตราการเติบโตของกำไร (เงินปันผล) และให้บริษัทมีอัราการจ่ายปันผลที่คงที่คือ b
D = E*b กำไรต่อหุ้นคูณอัตราการจ่ายปันผล เช่นกำไรต่อหุ้น 10 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 6 บาท อัราจ่ายปันผบ b = 60%
จาก P = D/(k-g)  P = E*b / (k-g)
P/E = b / (k-g) ……(1)
ให้ g = ROE*(1-b) ROE คือผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น = กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย;
g นี้เรียกว่า Sustainable growth หรือบางตำรา (เก่า) เรียก Organic growth
1-b = อัตรากำไรที่บริษัทเก็บไว้ดำเนินงานไม่จ่ายคืนผู้ถือหุ้น (ไว้จะพูดถึงทีหลัง) ถ้าจ่ายหมดแสดงว่าหากกิจการต้องการเงินทุนก็ต้องกู้ยืมหรือเพิ่มทุน
ดังนั้น P/E = b/(k-ROE*(1-b)) .........(2) ในทางทฤฎี
เบื้องต้นจึงสรุปได้ว่า P/E หุนแต่ละตัวจึงขึ้นกับ
1.อัตราการจ่ายปันผล b
2.ความสามารถในการทำกำไรคือ ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น ROE
3.อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง (CAPM) stock return ตาม CAPM ไม่ใช่ที่เราหวังเอาเอง บางคนจะเอา 10 เด้ง เอา 50% อันนี้เป็น abnormal market return
ตย.การคำนวณ หุ้นบริษัท ABC จ่ายเงินปันผลเฉี่ย 50%ที่ผ่านมา (ราว 5 ปี) มี ROE= 20% และอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังราว (average stock return) = 18%
หุ้น ABC ควรมีระดับ P/E ประมาณ = 0.5 / (0.18-0.20*(1-0.5)) = 0.5/(0.18-0.10) = 0.5/0.08 = 6.25 เท่า
ROE*(1-b) = g  10% อันนี้เป็น growth ที่เกิดจากการนำกำไรสะสมมาลงทุนกลับในบรษัท สมมติใหม่ว่า g เป็นอัตราการเติบโตโดยไม่ได้อิงกับ ROE และ b ข้างบนข้อสองจาก ความสามารถในการทำกำไรเป็น g แทน
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 130

โพสต์

(ต่อ)P/E เท่าไรถึงดี รู้ได้อย่างไรว่าแพงหรือถูก

หุ้นบริษัท ABC จ่ายเงินปันผลเฉี่ย 50%ที่ผ่านมา มี g = 10% มี average stock return = 18%
หุ้น ABC ควรจะมีระดับ P/E ประมาณ = 0.5 / (0.18-0.10) = 0.5/(0.08) = 50/8 = 6.25 เท่า
ถ้า g เป็น 15% หุ้น ABCจะมีระดับ P/E ประมาณ = 0.5 / (0.18-0.15) = 0.5/(0.03) = 50/3 = 16.67 เท่า
จะสังเกตเห็นว่า ยิ่ง g มากขึ้น P/E จะยิ่งมากขึ้น นั่นคือที่มาของหุ้นที่คาดว่ามีอัตราการเติบโตสูงจะซื้อขายที่ P/E ที่สูง
คราวนี้ถ้า g > k จะเกิดอะไรขึ้น P/E ติดลบหรือ? ไม่ใช่ หากเมื่อใดที่ g > k จะเกิดปรากฏการณ์ทางทฤษฎีได้คือ การเพิ่มทุนจะเกิดขึ้นได้และการเพิ่มทุนเพราะกรณีเช่นนี้เป็น win-win บริษษัทก็ได้ ผู้ถือหุ้นก็ได้
ถ้าสังเกตให้ดีในตลาดหุ้นหลายบริษัทเพิ่มทุนแล้วหุ้นตก ผู้ถือหุ้นไม่มั่งคั่งเพิ่มขึ้นแม้จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ต้นทุนต่ำ at par แล้วก็ตาม เป็นเพราะเพิ่มทุนในจังหวะที่ g ไม่ได้มากกว่า k โดยแท้จริง หุ้นที่มีความเสี่ยง (โครงสร้างทางธุรกิจ) มาก ราคาหุ้นผันผวนมาก (standard deviation สูง) k ย่อมมากตามด้วย (high risk high return) –เรื่องที่ผมให้ความเห้นในหัวข้อดันโด มีที่มาและเกี่ยวพันกัน นี่คือเรื่องที่ต้องเข้าใจ- เมื่อ k ตามการคาดหวังของตลาด (ไม่ใช่ของคุณคิดหวัง) สูง หุ้นนั้นย่อมคาดหวังต้องมี g สูงโดย P/E จะไม่สูงขึ้น การเพิ่มทุนจึงทำให้แนวดน้มราคาหุ้นตกลง การจ่ายหุ้นปันผล การซื้อคืน เอาหุ้นซื้อคืนขายกลับในตลาดก็อยู่ในหลักการนี้
การพิจารณาโดยประยุกต์หลักการนี้คือ หุ้นปัจจุบันมี P/E แพงไหม ถ้าเราถือว่ากำไรทั้งก้อนคือเงินที่ผู้ลงทุนจะได้รับ
1/PE = k-g เช่นหุ้น A มี P/E = 15  1/PE = 1/15 = 6.7% = k-g ถ้า average stock return = 16% แสดงว่า ณ ระดับราคาปัจจุบัน หาก P/E เหมาะสมไม่แพง บริษัท A ต้องมี g = 9.3% ถ้ามองย้อนถอยไปอีก g = ROE*(1-b) บริษัทนี้จ่ายปันผลxประมาณ 50% ของกำไรสุทธิ บรษัทนี้ควรมี ROE มากกว่า 18.6% จึงจะถือว่าดี จะจบแค่ g หรือไปถึง ROE ก็แล้วแต่ว่า style ลงทุน prudent หรือ conservative แค่ไหน

จบตอน
greenman
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 532
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 131

โพสต์

ไม่รู้จะขอบพระคุณอาจารย์อย่างไร ขอบคุณมากมายจริงๆ ขอคุยต่อจริงๆที่แกะงบตัวนี้ต้องการตอบคำถามตัวเองดังนี้
1. บริษัทดังกล่าวมีบริษัทย่อยที่อยู่ในธุรกิจที่แข่งขันรุนแรงจึงต้องการตอบโจทย์ให้ได้ว่า
1.1 บริษัทย่อยดังกล่าว Gross margin ตำกว่า yoy มากไหม
1.2 หากบริษัทย่อยจัดการ stock คงเหลือได้ GP ของบริษัทจะเป็นอย่างไรหรือบริษัทเองก็เสียความสามารถในการแข่งขันด้วย
ขอบคุณอาจารย์ที่มอบวิทยาทานให้ครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 132

โพสต์

[quote="greenman"]ไม่รู้จะขอบพระคุณอาจารย์อย่างไร ขอบคุณมากมายจริงๆ ขอคุยต่อจริงๆที่แกะงบตัวนี้ต้องการตอบคำถามตัวเองดังนี้
1. บริษัทดังกล่าวมีบริษัทย่อยที่อยู่ในธุรกิจที่แข่งขันรุนแรงจึงต้องการตอบโจทย์ให้ได้ว่า
1.1 บริษัทย่อยดังกล่าว Gross margin ตำกว่า yoy มากไหม
1.2 หากบริษัทย่อยจัดการ stock คงเหลือได้ GP ของบริษัทจะเป็นอย่างไรหรือบริษัทเองก็เสียความสามารถในการแข่งขันด้วย
ขอบคุณอาจารย์ที่มอบวิทยาทานให้ครับ[/quote]

1.1 ใช้วิธีตามที่บอกไว้น่าจะช่วยตอบคำถามได้ และเพิ่มเติมในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (ความจริงสามารถเอาตัวเลขเชิงปริมาณมาดูปนะกอบได้เหมือนกัน แต่ในขณะนี้ยังไม่ต้องกล่าวถึง) คือวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่บริษัมย่อยนั้นประกอบธุรกิจอยู่ด้วย 5 forces ของ Michale E. Porterคือ
1 Rival competition การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม ง่ายๆ คือดูว่าอุตสาหกรรมที่ บ.ย่อยอยู่ เป็นอุตสาหกรรมแบบใด ผูกขาด แข่งขันน้อยราย แข่งขันมากราย หรือแข่งขันเสรี รูปแบบการแข่งขันทำให้เราวิเคราะห์การคงระดับ GM ว่าจะทำได้ยากง่ายเพียง
2 Entry/Exit การเข้า/ออก อุตสาหกรรม ยากง่ายเพียงใด มี 4 แบบ เข้ายากออกยาก เข้ายากออกง่าย เข้าง่ายออกยาก เข้าง่ายออกง่าย ทั้ง 4 รูปแบบทำให้มองเห็นโยงไปข้อแรกได้ว่าโอกาสมีคู่แข่งเพิ่มได้ง่ายไหมถ้าเข้าง่ายการมี GM สูง จะมีรายใหม่ๆ เกิดง่าย การออกง่ายก็ทำใหเผ้ประกอบการที่จะตัดสินใจเข้าไม่ยุ่งยากนัก เพราะไม่ดีก็ถอนตัวได้ง่าย การออกยากนี่ก็ทำให้คิดหนักเหมือนกันแม้จะเข้าง่าย
3 Buyer การต่อรองกับผู้ซื้อ ถ้าผู้ซื้อมีอิทธิพลมากกว่า ราคาจะถูกกำหนดโดยผู้บริโภค แสดงว่าแนวโน้มราคาต่ำลงมากกว่าขึ้น ผู้ผลิตขึ้นราคาได้ยาก ถ้ากลับกันผู้ผลิตสามารถผลักภาระที่เกิดขึ้นไปยังผู้บริโภคได้ เช่น ค่าแรงขึ้นเป็น 300 ผู้ขายก็ขึ้นราคาได้เต็นที่เพื่อรักษา GM แต่ถ้าไม่มีอำนาจต่อรองมาก ผู้ผลิตก็รับไปเอง อย่างนี้ GM dH]f]'
4 Supplier การต่อรองกับผู้เป็นปัจจัยการผลิต ค่าแรง คนงาน แหล่งวัตถุดิบ knowhow ทีต้องพึ่งพิง ลิขสิทธิที่ต้องใช้เพื่อดำเนินธุรกิจ เป็นต้น บางอุตสาหกรรมขาดแคลนแรงงานบางประเภทจึงจ้างแพงต้นทุนสูง (fixed cost) วัตถุดิบหายากมีข้อจำกัดการเข้าถึง หรือบางอุตสาหกรรมแรงงานหาง่าย เทคโนโลยีหามาง่าย วัตถุดิบหาง่ายราคาไม่แพง เป็นต้น
5 Substitute สินค้าทดแทนหรือใช้แทนกันไก้ มีหรือไม่ หาง่ายหรือไม่ เช่นในอดีตกล้องใช้ฟิล์มก็ถูกทดแทนด้วยกล้องดิจิตอล เป็นต้น

การใช้แนวทาง 5 forces แม้บางคนว่าตายแล้วแต่ผมยังถือว่า classic ในงานวิเคราะห์ แต่ถ้าเป็นเรื่องารยริหารเดี๋ยวนี้พูดกันเรื่อง Blue Ocean Strategy นั่นไม่ใช่เรื่องของนักวิเคราะห์ครับ 5 forces อาจล้าสมัยในเรื่องกลยุทธ์การบริหาร แต่ยังขลังอยู่ในงานด้านการวิเคราะห์ กการวิเคราะห์ด้วย 5 frces นี้จะช่วยตอบคำถาม 1.2 ได้ดีกว่าการสนใจว่าจะจัดการ stock คงเหลืออย่างไร
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 133

โพสต์

ขอเพิ่มเติมต่อจากเรื่องการดู P/E

ข้อควรระวังในการใช้ P/E มี่เผยแพร่ในสื่อต่างๆ แม้แต่ของตลาดเองก็ตามคือ EPS ที่นำมาใช้คำนวณป็น EPS ที่ใช้หุ้นถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักไม่ใช่ EPS ที่เป็น Fully Diluted EPS หรือเรียกว่า กำไรต่อหุ้นปรับลด หลายคนสงสัยว่าต่างกันอย่างไรและมีผลต่อการพิจารณาราคาหุ้นอย่างไร

EPS หรือกำไรต่อหุ้นหรือเรียกให้ตรงตามมาตรฐานการบัญขี คือกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน เป็นการคำนวณหาโดยการนำกำไรสุทธิ (ที่เป็นของบริษัทใหญ่) หารด้วยจำนวณหุ้นสามัญถัวเฉลี่ย (ที่เป็นของบริษัทใหญ่)

ผมเคยเจอบางบริษัทบางงวดบัญชีนำกำไรสุทธิในงบรวมมาเป็นตัวตั้ง แต่งวดอื่นถูกต้อง ก็ระวังกันหน่อยบ้างถ้าบางงวดกำไรงบเที่แบ่งให้ส่วนที่กิจการไม่มีอำนาจควบคุมมีมากกว่าปกติ โดยเฉพาะสัดส่วน (ดูได้จากรายการต่อลงไปอีกของบกำไรขาดทุน จะแสดง กำไรสุทธิของงวด ที่ประกอบไปด้วยกำไรที่เป็นของบริษัทใหญ่ และกำไรที่เป็นส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม (เดิมเรียกว่าส่วนได้เสียของผูถือหุ้นส่วนน้อย) EPS ต้องคำนวณโดยใช้ กำไรหรือขาดทุนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัทใหญ่

คราวนี้มาดูว่า ทำไมควรใช้ กำไรต่อหุ้นปรับลดพิจารณา

ในทางบัญชีแสดงเพียงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์เพื่อวัดมูลค่าของส่วนได้เสียของหุ้นสามัญแต่ละหุ้นของบริษัทใหญ่จากผลการดำเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาที่รายงานว่ากำไรที่เกิดแล้วในงวดนั้นๆ ควรเป็นของผู้ที่ถือหุ้นอย่างยุติธรรมเท่าใดโดยคิดตามระยะเวลาที่ผู้ถือหุ้นเข้ามาลงทุน เช่น ABC มีกำไร 1,000 บาท โดย A ถือหุ้นมาตั้งแต่ต้นปี 800 หุ้น ส่วน B เข้ามาถือหุ้นเพิ่มทุนีหลังระหว่างปีนั้น 400 หุ้นเมื่อตอนกลางปี กำไร 1,000 บาทนี้ เงินจาก A ทำมาหากินมา 1 ปีเต็ม ส่วนเงิน B เอามาใช้หากินแค่ครึ่งปี ถ้าถือว่าตลอดปีทำมาหากินสม่ำเสมอ 500 บาทแรก A ควรได้เต็มๆ ส่วน 500 บาทหลังถึงจะเอามาแบ่งระหว่า A กับ B ตามสัดส่วนที่ลงทุน 2:1 A ได้ไป 500x2/3 = 333.33 ส่วน B ได้ไป 500/3 = 166.67

รวมทั้งปี A ได้ส่วนแบ่งกำไรไป =500+333.33 = 833.33 A ถ้าเทียบแล้วลงทุน 1ปี ได้ผลตอบแทนต่อหุ้น = 0.3125+0.2083 =0.5208
รวมทั้งปี B ได้ส่วนแบ่งกำไรไป = 166.67 0.2083

แต่ในทางบัญชีจะแสดง EPS ขั้นพื้นฐานที่ 1000/(800x12/12 + 400x6/12) = 1.00 ดูแล้วเหมือนกับว่าได้คนละ 1 บาท ความจริงไม่ใช่เลย แค่บอกว่าถ้ามาคิดผลตอบแทนตามระยะเวลาลงทุนแล้ว โดยเปรียบเทียบให้หุ้นทั้งหมดเทียบเท่ากันได้บนฐานเวลาที่ปรับสัดส่วนให้เท่ากัน จะเหมือนว่าได้คนละ 1 บาท

คราวนี้ถ้าจากการเพิ่มทุนแล้ว ปีหน้ามีกำไร เป็น 1,050 หรือเพิ่ม 5% EPS ปีที่สอง = 1.05 บาท ราคาหุ้นจะขึ้นหรือลง?

ถ้าใครดูกราฟอาจจะงงตอนเพิ่มทุน ราคาหุ้นในกระดานจะปรับตัวลงด้วย diluted ratio หรือบางครั้งในวงการหุ้นเรียกว่าเกิด dilution effect นั่นเอง สมมติว่าราคาหุ้นก่อนเพิ่มทุนอยู่ที่ 1 บาท เมื่อประกาศเพิ่มทุนที่หุ้นละ 1 บาทที่ราคาตลาด dilution deffect ดูเหมือนจะไม่เกิด (หาต้นทุนหุ้นใหม่หลังเพิ่มทุน= (ราคาเดิมxจำนวนหุ้นเดิม+ราคาหุ้นเพิ่มทุนxจำนวนหุ้นเพิ่มทุน)/(xจำนวนหุ้นเดิม+จำนวนหุ้นเพิ่มทุน)

dilution effect = ต้นทุนหุ้นใหม่หลังเพิ่มทุน /ราคาเดิมก่อนเพิ่มทุน

ถ้า พิจารณาด้วย P/E แล้วเอาค่าปีที่แล้ว (คิดว่าเป็น 10 เท่าเหมาะสมแล้ว) เลยเอา 10 คูณ EPS ราคาปีนี้จึงคิดว่า เป็น 10.5
แต่หากใช้ diluted EPS P/E ปีที่แล้วคือ 10/(1000/1200)= 10/0.833= 12 เท่า
หากเราซื้อหุ้นนี้ไว้เมื่อีที่แล้ว ถือว่าซื้อราคางแม้หุ้นขึ้นมาก็จริงแต่ผลตอบแทนการลงทุนจะได้น้อยกว่าที่คาดหวัง คือ 10% หุ้นอาจจัราคาตกลงในเวลาถัดมาเพราะนักลงทุนสถาบันอาจจะปรับพอร์ตโดย switch ออกไปถือหุ้นอื่นแทน ปรากฎการณ์นี้ปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่ เช่นหุ้นในกลุ่มค้าปลีก พอจ่ายหุ้นปันผลปั๊บราคากลับดิ่งตลอดทั้งทีก่อนหน้าก็ดูดี ความจริงก็มีปัจัยอื่นด้วย แต่เรื่องนี้ก็เป็นเหตุผลทางทฤษฎีประกอบด้วยเช่นกัน

จากตัวอย่างเดิม EPS ใหม่ = 10.5 เช่นเดิม แต่ P/E ใหม่จะไม่ใช่ 10 แล้ว ถ้า k = 20% g ที่คาด = 10%
1/PE เดิมที่ตลาดคาดหวัง = 1/10 = 10% = k%-g% = 20%-10% = 10%
แต่เนื่องจาก g เหลือเพียง 5% ถ้าตลาดปรับ g คาดหวังเหลือเพียง 5%
P/E ที่เหมาะสมใหม่เป็น ==> 20% - 5% = 15% = 1/PE => P/E ใหม่ = 6.67
ราคาที่ควรเป็นใหม่ตาม P/E ใหม่ = 1.05x6.67 = 7 บาท ราคาจึงลงทั้งที่ EPS โตขึ้น????
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 134

โพสต์

อาจารย์ครับ ไม่ทราบว่าเรามีวิธี ศึกษาอุตสาหกรรมยังไง ว่าจะเติบโต ในอีก หลายปีข้างหน้า หรือ อุตสาหกรรมตกดิน และ อุตสาหกรรมอยู่ช่วงไหนของวัฏจักร และศึกษาว่าบริษัทมี ข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หรือ barrier to entry ของแต่ละบริษัทได้ยังไงครับ เพราะในหนังสือ ที่อาจารย์แนะนำ เขาบอกว่า replacement cost ใช้กับอุตหกรรมที่วัฏจักร หรือ ไม่มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง แต่เป็นอุสหากรรม เติบโต มีdemand เพิ่มขึ้นในระยะยาว ส่วนที่อุตสหกรรมที่มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งชัดเจน ก็EPV DCF
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 135

โพสต์

[quote="cyber-shot"]อาจารย์ครับ ไม่ทราบว่าเรามีวิธี ศึกษาอุตสาหกรรมยังไง ว่าจะเติบโต ในอีก หลายปีข้างหน้า หรือ อุตสาหกรรมตกดิน และ อุตสาหกรรมอยู่ช่วงไหนของวัฏจักร และศึกษาว่าบริษัทมี ข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หรือ barrier to entry ของแต่ละบริษัทได้ยังไงครับ เพราะในหนังสือ ที่อาจารย์แนะนำ เขาบอกว่า replacement cost ใช้กับอุตหกรรมที่วัฏจักร หรือ ไม่มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง แต่เป็นอุสหากรรม เติบโต มีdemand เพิ่มขึ้นในระยะยาว ส่วนที่อุตสหกรรมที่มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งชัดเจน ก็EPV DCF[/quote]

ในการศึกษาอุตสาหกรรมว่าจะเป็นอย่างไรนั้น ต้องบอกไว้ก่อนว่าเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย แม้แต่คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมก็ยังไม่มีใครที่รู้ได้ถูกต้องจริงๆ แต่ถ้าเมื่อไรคาดการณ์ (หรือจะเรียกว่าเดาก็ได้ถ้าจะมองกันตรงๆ) ถูกก็ประสบความสำเร็จ ฉะนั้นเมื่อมองไปอนาคตต้องเผื่อใจไว้ตลอด สิ่งที่จะทำให้เราลดความไม่แน่นอนลงได้บ้าง (ตามที่เชื่อว่ามีเหตุผลเพียงพอ) คือข้อมูลที่นำมาประกอบการตัดสินใจ

ในหนังสือที่แนะนำ investing value : from Graham to Buffett นั้นอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ (ซึ่งเป็นไปตามตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์) จะไม่ควรมีบริษัทใดที่มี margin เหนือกว่าปกติมากๆได้ในโลกการค้าเสรี เพราะถ้าคุณได้กำไรคนะดียวมากๆในขรธหนึ่ง ก็จะมีคนใหม่กระโดดเข้ามาทันทีและเสนอขายราคาที่ต่ำกว่าเพื่อแย่ง market share เพราะด้วยต้นทุนการลงทุนที่เหมือนกันของมูลค่าสินทรัพย์ที่ลงทุนในงบดุล (ปรับปรุงเป็น replacement or reproductive cost) เขาสามารถได้ผลตอบแทนทีน่าพอใจ หากราคานั้นยังมีmargin มากกว่าทีคุ้มอยู่ก็จะมีคนเข้ามเรื่อยๆ และขายราคาแข่งขันจนสุดท้ายตลาดขายลงไปกว่านี้ก็จะไม่คุมการลงทุนตลาดก็จะนิ่ง นั่นคือเข้าสู่จุดสมดุล นั่นคือเหตุผลที่ตลาดที่ไม่มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งทำไมจึงหา replacement cost ได้จากการพิจารณาการปรับมูลค่าเล็กน้อยจากงบการเงิน ดังที่ผมได้บอกมาตลอด (ในหลายๆที่) ว่า ในทุกตำรามีหลักพื้นฐานทั้งการเงิน เศรษฐศาสตร์ บัญชี การบริหารซ่อนอยู่ทั้งหมด ทุกๆนัก VI ไม่มีใครออกนอกหลักการที่เป็นจริงในโลก capitalism ได้สักราย ที่เราคิดว่า เขามีวิธีที่พิเศษเพราะเรามักไม่ได้รู้หลักการที่แท้จริงต่างหาก

ที่นี้การจะเข้าใจอุตสาหกรรมมีอยู่สองสามเรื่องที่ต้องรับรู้ไว้
1 การคาดการณ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คือ มีหลักการในตัวขณะเดียวกันก็ต้องมีประสบการณ์ด้วย
2 ทุกอุตสาหกรรมหากจะเข้าใจควรต้องมีความรู้และประสบการณ์ในอุตสาหกรรมนั้น ซึ่งมาได้สองทางคือ ทำงานในอุตสาหกรรมนั้นหรือไปสัมผัสกับตลาดหรือสินค้าของบริษัทและอุตสาหกรรมนั้น ดังเช่นที่ วอร์เร็น บัฟฟเฟต, ฟิชเชอร์ หรือ ปีเตอร์ลินท์ หรืออีกหลายๆคนทำ คือเดินเข้าไปร้านค้า ห้าง หรือซื้อสินค้ามาใช้ สอบถามโดยตรงกับคู่ค้า เป็นต้น จะได้รู้ว่าเป็นอย่างไร
3 ใช้ข้อมูลมหภาคยาวๆ หรือบริษัทยาวๆและของ คู่แข่งสำคัญ (รายใหญ่-leader) ในช่วงเวลาเดียวกัน ได้ข้อมูลมากว่า 10 ปียิ่งดี ข้อมูลเหล่านี้ ทั้งมหภาคและจุลภาค นำมาวิเคราะห์เพื่อดูแนวโน้ม บางครั้งข้อมูลมหภาคอาจจะสัมพันธ์กับข้อมูลทางประชากรศาสตร์ในบางอุตสาหกรรมก็ได้ ซึ่งตรงนี้จะต้องใช้อะไรแค่ไหนขึ้นกับข้อ 2 ว่าเราเข้าในมันมากไหมบางเรื่องอาจำฃไม่จำเป็น บางเรื่องอาจจำเป็นวำหรับอุตสาหกรรมต่างกัน

เรื่องวัฏจักรอุตสาหกรรม หรือวงจรอุตสาหกรรม มีวิธีการมากมายหลายวิธี แต่เชื่อไหม งบการเงินก็พอช่วยได้ทางหนึ่ง ในหนังสือ The Analysis and Use of Financial Statements; Gerald I. White, Ashwinpual C. Sondhi, Dov Fried ไบอกว่ารายการแต่ละรายการในงบการเงินควรมีลัษณะอย่างไรในแต่ละช่วงวงจรธุรกิจ เรื่องนี้นักบัญชีโดยมากไม่รู้เท่าใด
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 136

โพสต์

ตัวอย่างเบื้องต้นในการใช้ข้อมูลธุรกิจ่พื่อวิเคราะห์วงจร (ความจริงมีอีกมากหลายมิติแต่เอามาให้ดูพอสังเขป)
การวิเคราะห์แนวโน้มกับวงจรธุรกิจ-วงจรธุรกิจกับการบริหารเชิงกลยุทธ์
วงจร หรือ วัฏจักรธุรกิจ
ช่วงของวัฏจักร ลักษณะธุรกิจ สภาพของการตลาด
1. Start or - การลงทุนสูง - สินค้าอยู่ในช่วงบุกตลาด
Development - ยอดขายเติบโตสูงมาก Margin ต่ำ - ค่าใช้จ่ายการตลาดสูง
เริ่มต้นหรือพัฒนา - กระแสเงินสดติดลบ ไม่มีการจ่ายเงินปันผล - กลยุทธการตลาดเชิงรุก
2. Growth or Star - ยอดขายเติบโตสูง ต้นทุนต่อหน่วยลดลง - ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น
เติบโตหรือดาวเด่น - Margin เพิ่มสูงขึ้น - ตลาดขยายตัวเร็ว แข่งขันสูง
- CAPEX > Depreciation - ผู้แข่งขันเข้ามากขึ้น
3. Mature - อัตราการเติบโตเริ่มคงที่ - ผู้แข่งขันมาก
เติบโตเต็มที่ - ยอดขายอยู่ในระดับสูง - ตลาดเริ่มขยายตัวช้า
- อัตราเงินปันผลสูง - เกิดการแข่งขันด้านราคา
4. Saturation or - กระแสเงินสดสูง และ อัตราเงินปันผลสูง - ส่วนแบ่งการตลาดคงที่
Cash Cow - Margin เริ่มลดลง - การแข่งขันด้านราคาสูง
อิ่มตัวหรือวัวนม - CAPEX = Depreciation - ตลาดอิ่มตัว
5. Decline/Sunset - ยอดขายลดลง - สินค้าเริ่มหมดความนิยม
or Dog - Margin ลดลงต่อเนื่อง - ลูกค้าหันไปใช้ผลิตภัณฑ์อื่น
ลดลง ถดถอย - กำไรลดลง / ขาดทุน ต้นทุนการผลิตสูง

อยาก copy เป็นภาพมาลงจะชัดเจนกว่า ถ้ว space เบี้ยวไปมาก็เดาๆ เอาหน่อยละกัน
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 137

โพสต์

ว่าแล้ว่าต้องเพี้ยนๆ อีกเช่นเคย
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 138

โพสต์

บางข้อมูลจะเห็นว่าดูได้จากงบการเงิน
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 139

โพสต์

[quote="cyber-shot"]อาจารย์ครับ ไม่ทราบว่าเรามีวิธี ศึกษาอุตสาหกรรมยังไง ว่าจะเติบโต ในอีก หลายปีข้างหน้า หรือ อุตสาหกรรมตกดิน และ อุตสาหกรรมอยู่ช่วงไหนของวัฏจักร และศึกษาว่าบริษัทมี ข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หรือ barrier to entry ของแต่ละบริษัทได้ยังไงครับ เพราะในหนังสือ ที่อาจารย์แนะนำ เขาบอกว่า replacement cost ใช้กับอุตหกรรมที่วัฏจักร หรือ ไม่มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง แต่เป็นอุสหากรรม เติบโต มีdemand เพิ่มขึ้นในระยะยาว ส่วนที่อุตสหกรรมที่มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งชัดเจน ก็EPV DCF[/quote

ตอบเพิ่มเติม ข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หรือ barrier to entry ของแต่ละบริษัท ต้องเข้าใจก่อนว่าการวิเคราะห์ 5 forces เน้มมองภาพกว้างเข้ามาหาบริษัท ไม่ใช่การมองจากข้างในสู่ด้านนอก 5 forces เป็นแนวมางดารวิเคราห์อุตสาหกรรม industrial analysis ดังนั้นถ้าจะวิเคราะห์เพื่อหาข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หรือ barrier to entry ของแต่ละบริษัท คงตอบได้ยากหรือไม่ตรงประเด็นเพระง่ายๆ ว่าสมมติ บง.เงินทุน A จะเข้าส่ธุรกิจธนาคาร ได้เปรียบเหนือคู่แข่ง บง. อื่นหรือไม่ ขึ้นกับปัจจัยภายนอก เช่น ธปท. มีนโยบายให้ใบอนุญาตตั้งธนาคารมากน้อยเพียงใด A มีความต้องการมากน้อยแค่ไหน เช่น บง.ธนชาตจะตั้งธนาคา บง.จะตั้งธนาคาร บง.ทิสโก้จะตั้งธนาคาร บง.ภัทรจะตั้งธนาคาร บง.สินอุตสาหกรรมจะตั้งธนาคาร ธนาคารตปท.จะตั้งธนาคาร (ไม่ใช่สาขาธนาคารต่างประเทศ) ทุกที่เข้าสู่อุตสาหกรรมธนาคารได้เท่าๆกัน ปัญหาที่ยากมีอยู่ไม่กี่เรื่องคือ ขนาดเงินทุนที่จะใช้ และข้อกำหนดจาก ธปท. บางบง. ไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนแต่ติดที่กฎระเบียบของ ธปท. บางประเทศตั้งง่ายมาก ยื่นขอปุ๊บไม่เกินเดือนได้ใบอนุญาตแล้ว ดังนั้นการวิเคราะห์ barrier to entry/exit จึงใช้ดูว่าอุตสาหกรรมที่บริษัททำอยู่จะเกิดคู่แข่งใหม่ๆง่ายหรือไม่ ถ้าเข้าง่าย แสดงว่าอุตสาหกรรมที่ทำอยู่มีการแข่งขันสูง การเกิด extra margin ย่อมยากหลักๆ จะดูอยู่ 6 ด้านคือ
1. ขนาดเศรษฐกิจ/อุตสาหกรรมหรือตลาด -Economy of scale: ขนาดเล็กเข้าง่ายแต่อาจไม่น่าจูงใจเท่าขนาดตลาดที่ใหญ่
2. สินค้าบริการมีความหลากหลายมากน้อยเพียงใด -Product Differentiation: อุตสาหกรรมที่มีความหลากหลายมากจะได้เปรียบกว่าอุตสาหกรรมที่มีลักษณะสินค้า/บริการ ที่จำกัด
3. ทุนที่ต้องใช้ -Capital Requirements: อันนี้แหละที่อาจใช้ APV มาช่วยดูได้ (Asset reproduction value) ถ้าน้อยแสดงว่าหากใครจะมาแข่งขันทะแบบเดียวกัน ขนาดยอดขายเท่ากันใช้เงินมากหรือน้อย
4. ความเสียบเปรียบจากขนาด -Cost disadvantage independent of size ขนาดของธุรกิจอาจมีผลต่อต้นทุน ที่เราจะรู้จักในอีกด้านคือ ecomomy of scale
5. การเข้าถึงช่องทางการจำหน่ายหรือกระจายสินค้า -Access to distribution channel เช่นธุรกิจค้าก๊าซน้ำมันต้องอาศัย บริษัทขนส่งท่อก๊าซน้ำมันที่มีจำกัด หรือโรงผลิตไฟฟ้า ต้องอาศัยสายไฟฟ้า ซึ่งอาจมีผู้ให้บริการจำกัด ถ้าจะทำเองต้อลงทุนเพิ่มอีกธุรกิจ ซึ่งอาจไม่คุ้มเพราะมีคนใช้รายเดียวคือบริษัท
6. นโยบายรัฐหรือหน่วยงานกำกับดูแล -Government policy
นี่คือหลักใหย๋ๆที่ต้องศึกษาหาข้อมูลในการวิเคราะห์ barrier to entry การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน บางเรื่องกไม่ใช่เอาตัวเลขมาหารกันแล้วตอบค่ากันเป๊ะเหมือนงบการเงินครบ จึงบอกมาตลอดว่า การวิเคราะห์คือ ศาสตร์และศิลป์
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 140

โพสต์

ยากจังอาจารย์ ยังงี้ผมทำ five force model ให้ได้ก่อนละกันครับ หนังสือvalue investment from Gaham to Buffet and beyond อ่านใหม่ยังอยู่บนที่สี่อยู่เลยครับ^^ ไว้อ่านมาเยอะๆ จะมาคุยกับอาจารย์ใหม่นะครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 141

โพสต์

Econom of scale และ Cost disadvantage independent of size ทั้งสองเรื่องคล้ายแต่ต่างกันที่ ขนาดของธุรกิจทำให้ได้เปรียบในเรื่องการประหยัดต่อขนาด (economy of scale) ในเรื่องต้นทุนการผลิต กล่าวง่ายๆ คือต้นทุนการผลิตมีอยู่ 2 กลุ่มคือ ต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปรโดยปกติจะคงที่ต่อหน่วยเสมอและเพิ่มตามปริมาณการผลิตโดยตรง ในธุรกิจที่แข่งขันเสรี ถ้าคู่แข่งจะผลิตสินค้าเดียวกันเข้ามาแข่งในอุตสาหกรรม ต้มทุนคงที่ไม่น่าจะแตกต่างเพราะผลิตเหมือนกันในตลาดเดียวกัน แต่ขนาดที่ใหญ่กว่า ผลิตในหน่วยปริมาณที่มากกว่า ต้นทุนผลิตสำหรับค่าใช้จ่ายคงที่จะลดลง นั่นคือ ต้นทุนคงที่จะไม่เปลี่ยนแปลง (รวม) แต่ต้นทุนต่อหน่วยจะลดลงเมื่อหน่วยผลิตมากขึ้น ดังั้นต้นทุนต่อหน่วยรวมจะต่ำลง ทำให้สามารถกำหนดราคาขายที่ต่ำลงได้โดยยังคง margin เท่าเดิม

ส่วน Cost disadvantage independent of size เป็นต้นทุนซึ่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ธุรกิจเดิมที่อยู่ในอุตสาหกรรมจะมีความได้เปรียบเนื่องจากต้นทุนซึ่งคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ไม่สามารถลอกเลียนแบบหรือทดแทนได้โดยง่าย ซึ่งการได้เปรียบในลักษณะนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการมีต้นทุนต่ำจากการประหยัดต่อขนาดในการผลิต (economy of scale) เท่านั้น แต่การได้เปรียบเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์ของการอยู่ในอุตสาหกรรมมานาน ความลับทางการค้า ได้เปรียบในด้านการควบคุมแหล่งวัตถุดิบหรือแรงงานหรือช่องทางในการจัดหาเงินที่มีต้นทุนที่ต่ำ เทคโนโลยีที่ได้รับการปกป้องทางลิขสิทธิ์และทำเลที่ตั้งที่ดี หรือการได้รับการสนับสนุนการภาครัฐ คู่แข่งที่จะเข้ามาแม้ดูเหมือนง่ายแต่อาจเสียเปรียบในเรื่องต้นทุนการจัดหาปัจัยการผลิตได้ กลับกันถ้าคู่แข่งมีสิ่งที่กล่าวมามากกว่าคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมก็จะกลายเป็นคนได้เปรียบ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 142

โพสต์

การวิเคราะห์แนวโน้มกำไรอุตสาหกรรมและการเติบโต ในบางครั้งอาจใช้ข้อมูลทางการเงิน (งบการเงิน) ช่วยได้ แต่ควรจะใช้
1 งบการเงินควรใช้งบของบริษัทขนาดใหญ่หรือเป็นผู้นำอุตสาหรรม ถ้าไม่แน่ใจว่าใครเป็นผู้นำก็ใช้บริษัทชั้นนำใหญ่ๆสัก 2-3บริษัท ส่วนบริษัทที่เราวิเคราะห์อาจอยู่หรือไม่อยู่ก็ได้ และควรใช้ข้อมูลไม่น้อยกว่า 5 ปี (งบมาเรียงเป็น time series) และใช้เฉพาะยอดขาย ต้นทุนขาย และกำไรขั้นต้นก็พอไม่ต้องเอาทุกรายการ เพราะเรากำลังวิเครราะห์แนวโน้มอัตรากำไรเท่านั้น
2 ข้อมูลมหภาคที่เกี่ยวข้องใล้เคียงหรือค่อนข้างตรงที่สุดในช่วงเวลาเท่าๆกัน เช่น
ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศสินค้าก่อสร้างข้อมุลมหภาคหาได้จาดหล้ายแหล่ง เช่น ธปท สศอ สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นต้น
Construction
M Bh YoY Growth
2001 154,645
2002 165,691 7.1%
2003 174,365 5.2%
2004 194,744 11.7%
2005 214,163 10.0%
2006 234,304 9.4%
2007 249,589 6.5%
2008 258,688 3.6%
2009p 245,819 -5.0%
2010p1 269,376 9.6%
2011p1 270,027 0.2%
2012-Hp 145,239
ในอุตสาหกรรมก่อสร้างก็อาจนำเอา SCC มาพิจารณา sales growth, GM ก็จะได้ภาพของอุตสาหกรรมระดับหนึ่ง เป็นต้น

การวิเคราะห์หุ้นเพื่อลงทุนนั้นไม่ใช่แค่เพียงอ่านงบได้เท่านั้น แต่การมองและอ่านได้และเชื่อมโยงข้อมูลงบกับสภาพเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมได้ยิ่งมีประโยชน์มาก รู้ด้านเดียวเช่นวิเคราะห์เศรษฐกิจได้ วิเคราะห์อุตสาหกรรมได้ มาตกม้าตายเพราะซื้อหุ้นที่แต่งตัวเลขหรือมีงบน่าสงสัย เช่น ตปท เอนรอน เจพีมอร์แกน หรือดูงบแตกฉานแต่มองทิศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไม่ออกก็แย่เช่นกัน นักลงทุน นักวิเคราะห์จึงควรมีความรู้รอบด้านและหลักการดี จึงมีเกราะคุ้มกันที่ดี
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 143

โพสต์

วิเคราห์สั้นๆ จากข้อมูลข้างต้นอุตสาหกรรมก่อสร้าง ในระยะเวลา 10 ปีมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยทั่วไป (arithematic mean) 5.8% หรือ geomatric mean เติบโตคิดแบบทบต้น 5.7% ใกล้เคียงกัน ปกติในมุมผมนั้นถ้าสองค่าใกล้เคียงกัน บอกได้ว่าอุตสาหกรรมนี้ได้มาถึงระดับ saturation or maturity stage ในระยะยาวใช้ 10% เป็นอัตราการเติบโตอุตสาหกรรมได้ดีระดับหนึ่ง และเมื่อหา standard deviation ของ growth ได้ 5.1% มีวงจรขึ้นลงราว 5-6 ปี (0-10%)

ดังนั้นหากใครลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ก็จับจังหวะให้ดีถือยาวสัก 4-5 ปี ได้ผลตอบแทนที่ดีพอควร ลองกลับไปศึกษาราคาหุ้น scc ดูได้ครับ บางช่วงหุ้นนี้ให้ผลตอบแทนมากกว่า 100% ในระยะเวลาเพียง 2 ปี โดบมีความเสี่ยงจากความผันผวนในการคาดการณ์การเติบโตเพียง 5% เมื่อเทียบกับบางอุตสาหกรรม ควมผันผวนจากการประมาณการณ์ (ผิดจากที่คาด) อาจมากกว่า 30% ทีเดียว

และด้วยการเติบโตระยะยาวที่อิ่มตัวในระดับ 5% ตามแนวโน้ม GDP เป็นเหตุให้ scc ขยายการลงทุนไปหลาย sector เช่นกระดาษ ปิโตเคมี การวิเคราะห์อุตสาหกรรมอื่นๆเชิงปริมาณก็ทำลักษณะคล้ายกัน แต่ตัว GM อาจต้องดูบริษัทในกลุ่ม ปตท.แทน
เอาแนวโน้มนั้นมาวิเคราะห์กับโครงสร้างรายได้ของ scc ก็จะเห็นภาพแนวโน้มกำไรของ scc ได้ดีขึ้น

ด้วยแนวคิดนี้นำไปใช้ได้กับหลายบริษัท เห็นไดทั้งแนวโน้มอุตสาหกรรม และวิเคราะฆงบบรษัท ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่าหุ้นตัวนั้นแกร่ง มีความได้เปรียบทางธุรกิจหรอไม่ เพราะบางบริษัท อุตสาหกรรมดี แต่ตัวบริษัทไม่แกร่ง (งบการเงิน) บ่งชี้ว่าบริษัทจะไม่สามารถใช้โอกาสจากอุตสาหกรรมได้ในระยะยาว ถือยาวอาจไม่ดี ถ้าอุตสาหกรรมไม่ดีแนวโน้มย่อมลำบากเว้นแต่บรษัทต้องมีกลยุทธที่ชัดเจนที่จะหารายได้จากอุตสาหกรรมใหม่เป็นต้น
CHAI_YO
Verified User
โพสต์: 47
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 144

โพสต์

[quote="sun_cisa2"]วอร์เร็น บัฟเฟตต์ และนักลงทุนที่ประสพความสำเร็จมักกล่าวไว้เสมอว่า ลงทุนในธุรกิจที่เราเข้าใจ ปกติบริษัทใดที่ผมอ่นงบแล้วร็สึกว่า ทำอะไรที่ไม่ธรรมดา ซับซ้อนซ่อนเงื่อน ขนาดเราอ่านบัญชีเป็นยังงงๆ ผมจะไม่สนใจเลย ต่อให้กำไรปีนั้นโตเกิน 100% ถ้าดูแล้วไม่ make sense ไม่สนใจเลย พลาดโอกาสยังไม่เป็นไร เพราะมีโอกาสมากมายในตลาดรออยู่ ไม่อย่างนั้นจะมีคนสำเณ้มาตลอดได้อย่างไร แต่ถ้าพลาดเพราะถูกตัวเลขงบหลอกนี่เจ็บถึงกระดองใจจริงๆ[/quote]

เห็นด้วยอย่างแรงครับอาจารย์ "ลงทุนในธุรกิจที่เราเข้าใจ"
ขอบคุณสำหรับการตอบคำถามของท่านอื่นๆครับ
เข้ามาอ่านเก็บเกี่ยวความรู้ แล้วเอาความรู้ไปเก็บเกี่ยวกิจการที่เราเข้าใจครับ
mcthanyawat17
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 145

โพสต์

ในกรณีที่ บริษัทเพิ่มทุน จะทำให้ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว เพิ่มขึ้นใช่มั้ยคับในงบดุล แล้วส่วนเกิน (ต่ำกว่า) มูลค่าหุ้น จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงคับ
และถ้าต่อมา บริษัทมีการนำเงินที่เพิ่มทุนไปลงทุน ส่วนไหนของงบดุลจะต้องหายไปคับ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 146

โพสต์

[quote="mcthanyawat17"]ในกรณีที่ บริษัทเพิ่มทุน จะทำให้ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว เพิ่มขึ้นใช่มั้ยคับในงบดุล แล้วส่วนเกิน (ต่ำกว่า) มูลค่าหุ้น จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงคับ
และถ้าต่อมา บริษัทมีการนำเงินที่เพิ่มทุนไปลงทุน ส่วนไหนของงบดุลจะต้องหายไปคับ[/quote]

การเพิ่มทุนด้วยเงินสด
1. เงินสดจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทรับเงินสดมา เกิดได้ 2 กรณีคือ รับเงินสดมาเกินจากราคาพาร์ หรือรับเงินสดต่ำกว่าราคาพาร์
2. ทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นเท่่ากับราคาพาร์
3. ส่วนเกินทุนเพิ่มขึ้น หากรับเงินมาสูงกว่าราคาพาร์ หรือส่วนต่ำกว่าทุน (รายการหักจากทุนเรือนหุ้น) เพิ่มขึ้นถ้ารับเงินต่ำกว่าราคาพาร์

ต่อมาถ้่าบริษัทนำเงินำปลงทุน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เงินสดลดลง และเงินลงทุนเพิ่มขึ้นค่ะ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 147

โพสต์

[quote="mcthanyawat17"]ในกรณีที่ บริษัทเพิ่มทุน จะทำให้ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว เพิ่มขึ้นใช่มั้ยคับในงบดุล แล้วส่วนเกิน (ต่ำกว่า) มูลค่าหุ้น จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงคับ
และถ้าต่อมา บริษัทมีการนำเงินที่เพิ่มทุนไปลงทุน ส่วนไหนของงบดุลจะต้องหายไปคับ[/quote]

ทุนจดทะออกและเรียกชำระแล้วจะเพิ่มขึ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้นอาจจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้ ขึ้นอยู่ว่าบริษัทเพิ่มทุนที่ราคาพาร์หรือไม่ ถ้าเพิ่มทุนที่ราคาพาร์ (เช่นหุ้นมีราคาพาร์ 1 บาท เพิ่มทุนใหม่ที่ราคา 1.6 บาท ส่วนเกินจะเพิ่มขึน 0.6 บาทต่อหุ้นที่เพิ่มขึ้น) การเพิ่มทุนทำให้เงินสดเพิ่มและทุนเพิ่ม
ส่วนหลังจากเพิ่มทุนถ้านำเงินที่เพิ่มไปลงทุน ถ้าไปซื้อหุ้นบริษัทอื่น เงินลงทุนกะเพิ่มขึ้น เงินสดก็ลดไปในจำนวนเดียวกัน กรณีทีเอาไปซื้อที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง โรงงาน เครื่องจักร รายการในหมวดที่ดิน อคารและอุปกรณ์ก็จเพิ่มและเงินสดก็จะลดในจำนวนที่เท่กับเงินที่เอาไปลงทุน แต่ถ้าเพิ่มทุนนำไปจ่ายหนี้ หนี้ก็จะลด เงินสดก็จะลด

ถ้านักลงทุนใช้หลักสมการบัญชี ไม่ว่าจะเกิดรายการอะไร ตรงไหนเพิ่มตรงไหนลด จะเข้าใจง่ายขึ้น
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
ส/ทหมุนเวียน + ส/ทไม่หมุนเวียน = น/สหมุนเวียน + น/สไม่หมุนเวียน+ทุนที่ออก+ส่วนเกินทุน+กำไรสะสม
กำไรสะสม = กำไรสะสมต้นงวด + กำไรขาดทุนสุทธิของงวด + กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของงวด
กำไรสะสม = กำไรสะสมต้นงวด+(รายได้-ต้นทุนขาย-คชจขายและบริหาร-ต้นทุนการเงิน-ภาษี)+กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของงวด
จะเห็นว่าที่จริงก้คือการขยายรายละเอียดแยกออกไปเท่านั้น จากสมการเดิมคือ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน

สิ่งที่สำคัญคือต้องรู้ว่ารายการที่พูดถึงเป็นรายการในกลุ่มใด ความจริงแค่กระทบชิ่งกันไปมาในสมการบัญชี
firewalker
Verified User
โพสต์: 547
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 148

โพสต์

สวัสดีครับอาจารย์สรรพงศ์ อยากรบกวนสอบถามอาจารย์หน่อยครับ เกี่ยวกับงบกำไรขาดทุน

ระหว่าง งบการเงินรวม VS งบกำไรเฉพาะกิจการ

1. งบการเงินรวมดีกำไรเยอะมาก แต่งบกำไรเฉพาะกิจการไม่เคยดีเลย หรือติดลบ (ลูกดีแต่แม่ฉุด)

2. งบการเงินรวมแย่ตลอด(ไม่ดีหรือติดลบ) แต่งบกำไรเฉพาะกิจการดีมากตลอด (แม่ดี แต่ลูกฉุด)

ถ้าเจองบแบบนี้ แบบไหนน่าสนใจ หรือควรให้ความสำคัญมากกว่าครับ
และถ้าบริษัทย่อยทำธุรกิจที่แตกต่างบริษัทแม่ ยังควรให้สำคัญเช่นเดียวกับคำถามแรกรึปล่าวครับ

ขอบคุณครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 149

โพสต์

[quote="firewalker"]สวัสดีครับอาจารย์สรรพงศ์ อยากรบกวนสอบถามอาจารย์หน่อยครับ เกี่ยวกับงบกำไรขาดทุน

ระหว่าง งบการเงินรวม VS งบกำไรเฉพาะกิจการ

1. งบการเงินรวมดีกำไรเยอะมาก แต่งบกำไรเฉพาะกิจการไม่เคยดีเลย หรือติดลบ (ลูกดีแต่แม่ฉุด)

2. งบการเงินรวมแย่ตลอด(ไม่ดีหรือติดลบ) แต่งบกำไรเฉพาะกิจการดีมากตลอด (แม่ดี แต่ลูกฉุด)

ถ้าเจองบแบบนี้ แบบไหนน่าสนใจ หรือควรให้ความสำคัญมากกว่าครับ
และถ้าบริษัทย่อยทำธุรกิจที่แตกต่างบริษัทแม่ ยังควรให้สำคัญเช่นเดียวกับคำถามแรกรึปล่าวครับ

ขอบคุณครับ[/quote]

สมมติว่ามีแค่สองกิจการข้างต้นให้เลือก และเราเป็นนักลงทุน ในกิจการทั้งสองแบบนี้จะให้ภาพต่างกันสองแบบคือ
1 ราคาหุ้น แบบที่ 1 ราคาหุ้นจะดูดีกว่า เพราะ กำไรต่อหุ้นมากกว่า แม้แม่จะกำไรน้อยแต่ลูกมีกำไรในแง่ตลาดจะมีค่าพีอีดีกว่า ถ้าถือเเน้นราคาหุ้น แบบที่ 1 น่าลุ้นกว่าเยอะครับ
2 ในมุมเงินปันผล ตามกฎหมายเงินปันผลกิจการที่มีกำไรจึงจะจ่ายปันผลได้ งบการเงินรวมเป็นการรวมหน่วยงานในทางบัญชี ไม่ใช่นิติบุคคล ถ้าแม่กำไรน้อยหรือขาดทุน ก็จ่ายปันผลได้น้อย กำไรลูกเยอะแต่จ่ายปันผลน้อยแม่ก็จ่ายจากกำไรลูกไม่ได้ถ้าแม่ไม่ยกมือให้ลูกจ่ายแม่ แต่เก็บกำไรที่ลูกไว้เฉยๆ ในแง่งบรวม กำไรงบรวมทางบัญชีเอามารวมกันแต่อาจมีปันผลต่ำก็ได้ ในมุมกลับกันถ้าแม่กำไรมากแต่ลูกแย่ แม่ก็ยังจ่ายปันผลได้

ดังนั้นถ้าเล่นหุ้นแบบลุ้นราคาแล้วแบบแรกดีกว่าครับ ถ้าแบบสองราคาไม่ค่อยวิ่งแต่ลุ้นปันผล (ซึ่งอาจจ่ายไม่มากก็ได้)

ในอีกมุมหนึ่งซึ่งมีมากที่ชอบทำกัน ถ้าในแบบแรก แม่ไม่ดี แต่ลูกดี มักจะเป็นช่องทางที่เจ้าของผ่องถ่าย (ไซฟ่อนเงิน) จากแม่ไปลูก รอวันตีจากแม่ เช่นแม่ทำตัวให้ใกล้เจ๊งแล้วขายลูกออกราคาถูกๆ เพื่ออ้างว่าเอาเงินมาใช้หนี้ กลุ่มเจ้าของจะซื้อราคาต่ำกว่าความจริงไป เรียกว่าได้ของถูกมีกำไรสะสมไว้แล้ว พอขายเสร็จค่อยมาจ่ายทีหลัง ตอนนี้ก็ไม่มีใครรู้ โดยปรกติถ้าบริษัทดีๆนั้นเมื่อลูกกำไรดีมาก และแม่ดูไม่ดี แม่ในฐานะที่ถือหุ้น>50% จะยกมือให้ลูกจ่ายปันผลให้แม่ งบเดี่ยวแม่จะมีกำไรดีขึ้นจากกรายได้เงินปันผล เมื่อทำงบรวมส่วนนี้จะเป็นรายการระหว่างกันตัดออกไป แต่ถ้าลูกมีกำไรแล้วไม่ยอมจ่ายปันผลอันนี้ผมมองว่าแปลก งบแม่ก็ไม่ดี ทำไมไม่โอนกำไรลูกมาให้แม่เพื่อจะได้จ่ายปันผลให้คนซื้อหุ้นแม่ ยิ่งเป็นติดๆกันหลายปี ตอบได้เลยว่า กำลังไซฟ่อนเงินแบบถูกกฎหมายอยู่ แค่รอวันดีดตัวออกงามๆเท่านั้น

ส่วนกรณีที่แม่ดีแต่ลูกไม่ดี ผมมักมองว่าบริหารเงินไม่เก่งมากกว่า ลูกไม่ดีไปซื้อมาถือไว้ทำไม พูดอีกด้านหนึ่งก็คือแม่มี non-performing asset (NPA) แม้จะมีลุ้นปันผล แต่ราคาหุ้นไม่ work ผลตอบแทนโดยรวมในการลงทุนอาจไม่คุ้มกับความเสี่ยง

พอจะได้มุมมองบ้างนะครับ ความจริงเทคนิคแปลกๆ ที่เจ้าของหุ้นชอบเอามาหลอกนักลงทุนก็มีอีกมาก ปรากฎการณ์ที่บอกมีจริงที่เกิดแล้วทั้งนั้น
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 150

โพสต์

ในการวิเคราะห์ตามหลักสากล จะวิเคราะห์งบการเงินรวมเป็นหลัก ถ้าอัตราส่วนการเงินงบการรวมใดดีก็เลือกหุ้นนั้นมาก่อน กรณีที่ถามว่าถ้าลูกทำธุรกิจอุตสาหกรรมแตกต่างจากแม่มาก ตรงนี้เราต้องมาวิเคราะห์ธุรกิจว่าเหมาะหรือจำเป็น หรือ คาดเดาว่าเขาคิดอะไร make sense ไหม

ในทฤษฎี corporate strategy กิจการต้องกำหนดว่าจะเลือกใช้ growth strategy, productivity or stability strategy หรือ retrenchment
เอาเฉพาะ Growth strategy มี 2 แบบ คือ Concentrate - แบบ Horizon or Vertical และ Divercification - แบบ Concentric or Conglomerate
ถ้าลงทุนในลูกทีทำอุตสาหกรรมแตกต่างเลย ก็ต้องมองว่าบริษัทเลือกที่จะโตแบบ Divercification คงต้องตั้งคำถามว่า อุตสาหกรรมที่แม่ทำนั้นมี Value chain สั้นหรือแม่ได้ทำครบตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ (Upstream to Downstream) หมดแล้วหรือ มีความไดเเปรียบในอุตสาหกรรมหลักแล้วหรือ ถ้าไม่กำลังจะทิ้งธุรกิจแม่เข้าสู่ธุรกิจลูกหรือไม่......คำถามมีอีกมากเลยครับ ในแง่การลงทุนสไตล์ Graham & Buffett ถือว่าไม่ค่อยดีนักครับ จะไม่ลงทุน