สวัสดีครับ ผม สงสัยเรื่อง P/BV อย่างที่รู้ๆกันว่าเราซื้อหุ้นโดยการดูปัจจัยพื้นฐานของหุ้น
ถ้าเกิดว่า หุ้นตัวนั้นให้ ROE ที่ 20% ต่อปีโดยที่มีแนวโน้มว่าจะเติบโตจากปีก่อนๆซึ่งไม่เคย ต่ำกว่า 20% เลย ในส่วนของหนี้สิ้น มีหนี้สิ้นคิดเป็น 13% ของสินทรัพย์รวม ต่อมาเป็น กำไรสุทธิ ซึ่งสามารถหาได้มากกว่า หนี้สิ้น ที่มีถึง 2 เท่า ในทุกๆปี (สมมุติหนี้สินรวม 5 ล้านกำไรสุทธิคือ 10 ล้าน) ในเรื่องของ ปัจจัยภายนอก ต่างๆประเมินแล้วว่า อยู่ในเกณฑ์ที่เรารับได้
ทีนี้ คำถาม คือ ถ้าเกิดว่า P/BV อยู่ที่ 4 เท่า ทุกท่านคิดว่าหุ้นตัวนี้น่าซื้อ หรือ ควรจะเฝ้ามองเพื่อรอวันที่ราคาหุ้นตกลงมาครับ เพราะราคาที่เราจ่ายเป็นตัวกำหนดอัตราผลตอบแทน
ปล.ถ้าเกิด ซื้อ หุ้นตัวนี้ในราคา P/BV 4เท่า จะทำให้เรา ได้รับผลตอบแทน เริ่มต้นในปีนั้นคิดเป็น 5% ของเงินที่จ่ายซึ่งมีโอกาสเติบโตได้เรื่อยๆ
***อัตราเงินเฟ้อในไทย 7.66% ณ วันที่โพสต์***
แต่ละท่านมีความคิดเห็นว่ายังไงบ้างครับสำหรับข้อมูลข้างต้น
[สอบถาม] P/BV
Re: [สอบถาม] P/BV
โพสต์ที่ 2
ข้อมูลเท่านี้จริงๆคงตอบไม่ได้ว่าจะน่าซื้อรึเปล่าครับ
ลองดูไปเป็นส่วนๆครับ
ส่วนที่1: เรื่อง ROE 20% - ที่บอกว่ามีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นจากปีก่อนๆ
- เริ่มแรกดูให้ออกเบื้องต้นว่า ROE ตอนนี้หรือที่ผ่านๆมา มันคือระดับปกติที่ sustainable ของบริษัทนี้รึเปล่า (ไม่ใช่ระดับที่สูงพิเศษ หรือ ต่ำพิเศษ จากเหตุการณ์พิเศษอะไรซํกอย่าง)
- เราต้องดูให้ออกว่า ROE ที่จะสูงขึ้นไปได้มันมาจากเรื่องอะไรของธุรกิจเขา เพราะระดับ ROE โดดยพื้นฐานคือมันจะอิงการBusiness Modelที่บริษัทพัฒนาขึ้นมาไว้ครับ
- การที่ปีต่อไปฐานตัวเลขกำไรเพิ่มข้น 10% มันไม่ได้หมายความว่า ROE จะเพิ่มขึ้น10% จาก20% เป็น 22%
(เพราะถ้าเราเพิ่มกำไรในปีต่อไป10% จากการreinvest ในBook Value10% - เราก็ได้ ROE 20% เท่าเดิมอยู่ดี
ซึ่งส่วนใหญ๋ธุรกิจมันจะเป็นแบบนี้ เพราะ Business Model จริงๆมันพัฒนากันยากเหมือนกันครับ)
- เพราะการที่จะเพิ่มROEของบริษัทรวมได้ ประสิทธิภาพของบริษัทมันจะต้องดีขึ้น ถึงจะทำให้ ROE สูงขึ้นไปได้แบบถาวร
ROE = Asset Turnover x Profit Margin x Leverage
- การที่จะบอกว่า ROE ของบริษัทนี้จะสูงขึ้นคือมันต้องมาจาก 1 ใน 3 ตัวนี้เพิ่มขึ้น
Asset Turnover (Sale / Asset) >> ต้องขายได้วงเงินมากขึ้น หมุนเงินได้มากขึ้น(ต่อหน่วยasset)
Profit Margin (Net Profit / Sale) >> %อัตราทำกำไรดีขึ้น ต้องขายได้ราคาสูงขึ้น หรือต้นทุนค่าใช้จ่ายลดลง
Leverage (Asset / Equity) >> ถ้าบริษัทกู้เงินเพิ่มได้เพื่อมาลงทุนแล้วสร้างกำไรเพิ่มได้
- 2 ตัวแรก ค่อนข้างจะอิงกับ Business Modelของบริษัทจริงๆ และเป็นตัวบอกประสิทธิภาพจริงของบริษัท การจะทำให้มันเพิ่มขึ้นได้ในแต่ละปีแบบระยะยาวถาวรบริษัทต้องมีอะไรพิเศษจริงๆถึงจะยะระดับ1ใน2ตัวนี้ขึ้นไปแบบเป็นฐานใหม่ได้ (อันนี้คือพูดถึงในค่าเฉลี่ยระยะยาวนะครับ เพราะตแ่ละปีมันคงจะต่างกันนิดๆหน่อยๆอยู่แล้ว แต่โดยเฉลี่ยมันก็จะตามBusiness model ของบริษัทนั้นๆ)
**แต่ถ้าเป็นธุรกิจCyclical อันนี้ก็ยิ่งต้องดูให้ออกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวจริงๆมันเป็นยังไง เพราะในแต่ละช่วงขอcycle ค่ามันอาจจะต่างกับค่าเฉลี่ยระยะยาวจริงๆไปเยอะมากๆได้**
- ตัว3 Leverage: ถ้าบริษัทโตจากการกู้เงิน แต่D/E มันยังไม่สูงเกินระดับ sustainable level ของอุตสาหกรรมนั้น ก็อาจจะใช้leverage เป็นเหตุผลในการเพิ่ม ROE ก็ได้ครับ
>> สมมุติ เปรียบเทียบกับ การปล่อยเช่าคอนโด1ห้อง
Asset Turnover จะเพิ่มขึ้นจาก: เรามีรายได้มากขึ้นจากปล่อยเช่าห้องเราได้เต็มเวลามาขึ้นในปีนั้น จากมีคนเช่า 9เดือนในปีก่อน, ปีนี้มีคนเข่าห้องเราไป11เดือน
Profit Margin เพิ่มขึ้นจาก: เราเพิ่มค่าเช่าต่อเดือนจากปีก่อนได้ จาก10,000บาท/เดือน เป็น 12,000บาท/เดือนในปีนี้ (หรือลดค่าใช้จ่ายได้ เช่นขอลดค่าคอมมิชชั่นนายหน้าหาคนเช่าได้จาก 4%ปีก่อน เหลือ3%ปีนี้)
เพิ่ม Leverage จาก: การไปกู้ซื้อคอนโดเพิ่มอีก1ห้อง มาปล่อยเช่าเพิ่ม (สมมุติว่าเราไม่ต้องเพิ่มทุน แต่เอากำไรจากค่าเช่าห้องเก่าไปจ่ายเงินดาวน์ห้องที่2แทน)
>> จากตัวอย่างนี้ ROE ของพอตการปล่อยเช่าคอนโดของเราก็จะเพิ่มสูงขึ้นในปีต่อไป
ส่วนที่2: ส่วนเรื่องว่า จะซื้อที่ PBV เท่าไหร่ ถึงจะดูน่าสนใจ?
- ดูเฉพาะข้อมูลเชิงตัวเลข ROE อย่างเดียวน่าจะยังตอบไม่ได้ครับ
- เบื้องต้นลองเอามุมมองเรื่องความเสี่ยงเข้ามาเป็นตัวเปรียบเทียบดูครับ
(เอาเป็นว่าโดยตีว่ายังไม่ต้องมี Growth เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น)
- สมมุติ 2 ดีลนี้ เรามีโอกาสร่วมหุ้นกับคนอื่น ในราคาตลาดที่ให้ผลตอบแทนเท่ากันหมด ที่ 10%/ปี ไปเรื่อยๆ (สมมุติแบบไม่มีgrowthไปก่อน)
ดีล1: ปล่อยเช่าคอนโดหรู ห้องใหญ่ที่เดียว
ดีล2: ปล่อยเช่าคอนโดMass 30 ห้อง กระจายไปในย่านธุรกิจหลายๆที่
- 2ดีลนี้ถึงเราจะมีโอกาสได้ผลตอบแทน10% เท่ากัน แต่ถ้าเลือกได้อันเดียว โดยส่วนใหญ๋แล้วคนน่าจะสบายใจที่จะไปเลือกดีล2มากกว่า เพราะว่าฐานรายได้มันดูมันคงกว่า กระจายความเสี่ยงได้ดีกว่า
- ดังนั้น ดีล1 ถ้าจะน่าสนใจขึ้นก็ต้องลดราคาเพื่อให้ผมตอบแทนหุ้นส่วนมากกว่า10% เพื่อชดเชยความเสี่ยงที่มากกว่า เป็นต้น
หุ้นเหล่านี้ที่ ROEอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน 20กว่า +/-
Cpall, M, Ori, Spali, Sawad, mtc, Tisco, jubile, Sabina, BH, BDMS, TTW, OSP, stgt, KCE
- จะเห็นได้ว่า มีเทรดกันที่ P/BV ตั้งแต่ 1 ไปยัง5 6 7 เท่าเลย
- ซึ่งพวกนี้มันก็อยู่ที่ระดับความเสี่ยงของธุรกิจ, Business Model, Modelรายได้มั่นคงแค่ไหน, รายได้เป็น Project-baseรึเปล่า, อยู่ในอุตสาหกรรมเสี่ยงสูงรึเปล่า, รายได้เป็นสัญญาสัปทานฟิกแนนอนรึเปล่า, โอกาสการเติบโต, Potential ROEยังสูงกว่านี้ได้อีก, ตอนนี้ROEสูงพิเศษเกินไป, คูเมืองของบริษัท, และ สัดส่วนFreeCashFlowเมื่อเทียบกับกำไรทางบัญชีสูงหรือต่ำ และ อื่นๆ
ลองอ่านบทวิเคราะห์ไปทีละอุตสาหกรรมดูครับ อาจจะพอเห็นภาพขึ้น
ลองดูไปเป็นส่วนๆครับ
ส่วนที่1: เรื่อง ROE 20% - ที่บอกว่ามีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นจากปีก่อนๆ
- เริ่มแรกดูให้ออกเบื้องต้นว่า ROE ตอนนี้หรือที่ผ่านๆมา มันคือระดับปกติที่ sustainable ของบริษัทนี้รึเปล่า (ไม่ใช่ระดับที่สูงพิเศษ หรือ ต่ำพิเศษ จากเหตุการณ์พิเศษอะไรซํกอย่าง)
- เราต้องดูให้ออกว่า ROE ที่จะสูงขึ้นไปได้มันมาจากเรื่องอะไรของธุรกิจเขา เพราะระดับ ROE โดดยพื้นฐานคือมันจะอิงการBusiness Modelที่บริษัทพัฒนาขึ้นมาไว้ครับ
- การที่ปีต่อไปฐานตัวเลขกำไรเพิ่มข้น 10% มันไม่ได้หมายความว่า ROE จะเพิ่มขึ้น10% จาก20% เป็น 22%
(เพราะถ้าเราเพิ่มกำไรในปีต่อไป10% จากการreinvest ในBook Value10% - เราก็ได้ ROE 20% เท่าเดิมอยู่ดี
ซึ่งส่วนใหญ๋ธุรกิจมันจะเป็นแบบนี้ เพราะ Business Model จริงๆมันพัฒนากันยากเหมือนกันครับ)
- เพราะการที่จะเพิ่มROEของบริษัทรวมได้ ประสิทธิภาพของบริษัทมันจะต้องดีขึ้น ถึงจะทำให้ ROE สูงขึ้นไปได้แบบถาวร
ROE = Asset Turnover x Profit Margin x Leverage
- การที่จะบอกว่า ROE ของบริษัทนี้จะสูงขึ้นคือมันต้องมาจาก 1 ใน 3 ตัวนี้เพิ่มขึ้น
Asset Turnover (Sale / Asset) >> ต้องขายได้วงเงินมากขึ้น หมุนเงินได้มากขึ้น(ต่อหน่วยasset)
Profit Margin (Net Profit / Sale) >> %อัตราทำกำไรดีขึ้น ต้องขายได้ราคาสูงขึ้น หรือต้นทุนค่าใช้จ่ายลดลง
Leverage (Asset / Equity) >> ถ้าบริษัทกู้เงินเพิ่มได้เพื่อมาลงทุนแล้วสร้างกำไรเพิ่มได้
- 2 ตัวแรก ค่อนข้างจะอิงกับ Business Modelของบริษัทจริงๆ และเป็นตัวบอกประสิทธิภาพจริงของบริษัท การจะทำให้มันเพิ่มขึ้นได้ในแต่ละปีแบบระยะยาวถาวรบริษัทต้องมีอะไรพิเศษจริงๆถึงจะยะระดับ1ใน2ตัวนี้ขึ้นไปแบบเป็นฐานใหม่ได้ (อันนี้คือพูดถึงในค่าเฉลี่ยระยะยาวนะครับ เพราะตแ่ละปีมันคงจะต่างกันนิดๆหน่อยๆอยู่แล้ว แต่โดยเฉลี่ยมันก็จะตามBusiness model ของบริษัทนั้นๆ)
**แต่ถ้าเป็นธุรกิจCyclical อันนี้ก็ยิ่งต้องดูให้ออกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวจริงๆมันเป็นยังไง เพราะในแต่ละช่วงขอcycle ค่ามันอาจจะต่างกับค่าเฉลี่ยระยะยาวจริงๆไปเยอะมากๆได้**
- ตัว3 Leverage: ถ้าบริษัทโตจากการกู้เงิน แต่D/E มันยังไม่สูงเกินระดับ sustainable level ของอุตสาหกรรมนั้น ก็อาจจะใช้leverage เป็นเหตุผลในการเพิ่ม ROE ก็ได้ครับ
>> สมมุติ เปรียบเทียบกับ การปล่อยเช่าคอนโด1ห้อง
Asset Turnover จะเพิ่มขึ้นจาก: เรามีรายได้มากขึ้นจากปล่อยเช่าห้องเราได้เต็มเวลามาขึ้นในปีนั้น จากมีคนเช่า 9เดือนในปีก่อน, ปีนี้มีคนเข่าห้องเราไป11เดือน
Profit Margin เพิ่มขึ้นจาก: เราเพิ่มค่าเช่าต่อเดือนจากปีก่อนได้ จาก10,000บาท/เดือน เป็น 12,000บาท/เดือนในปีนี้ (หรือลดค่าใช้จ่ายได้ เช่นขอลดค่าคอมมิชชั่นนายหน้าหาคนเช่าได้จาก 4%ปีก่อน เหลือ3%ปีนี้)
เพิ่ม Leverage จาก: การไปกู้ซื้อคอนโดเพิ่มอีก1ห้อง มาปล่อยเช่าเพิ่ม (สมมุติว่าเราไม่ต้องเพิ่มทุน แต่เอากำไรจากค่าเช่าห้องเก่าไปจ่ายเงินดาวน์ห้องที่2แทน)
>> จากตัวอย่างนี้ ROE ของพอตการปล่อยเช่าคอนโดของเราก็จะเพิ่มสูงขึ้นในปีต่อไป
ส่วนที่2: ส่วนเรื่องว่า จะซื้อที่ PBV เท่าไหร่ ถึงจะดูน่าสนใจ?
- ดูเฉพาะข้อมูลเชิงตัวเลข ROE อย่างเดียวน่าจะยังตอบไม่ได้ครับ
- เบื้องต้นลองเอามุมมองเรื่องความเสี่ยงเข้ามาเป็นตัวเปรียบเทียบดูครับ
(เอาเป็นว่าโดยตีว่ายังไม่ต้องมี Growth เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น)
- สมมุติ 2 ดีลนี้ เรามีโอกาสร่วมหุ้นกับคนอื่น ในราคาตลาดที่ให้ผลตอบแทนเท่ากันหมด ที่ 10%/ปี ไปเรื่อยๆ (สมมุติแบบไม่มีgrowthไปก่อน)
ดีล1: ปล่อยเช่าคอนโดหรู ห้องใหญ่ที่เดียว
ดีล2: ปล่อยเช่าคอนโดMass 30 ห้อง กระจายไปในย่านธุรกิจหลายๆที่
- 2ดีลนี้ถึงเราจะมีโอกาสได้ผลตอบแทน10% เท่ากัน แต่ถ้าเลือกได้อันเดียว โดยส่วนใหญ๋แล้วคนน่าจะสบายใจที่จะไปเลือกดีล2มากกว่า เพราะว่าฐานรายได้มันดูมันคงกว่า กระจายความเสี่ยงได้ดีกว่า
- ดังนั้น ดีล1 ถ้าจะน่าสนใจขึ้นก็ต้องลดราคาเพื่อให้ผมตอบแทนหุ้นส่วนมากกว่า10% เพื่อชดเชยความเสี่ยงที่มากกว่า เป็นต้น
หุ้นเหล่านี้ที่ ROEอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน 20กว่า +/-
Cpall, M, Ori, Spali, Sawad, mtc, Tisco, jubile, Sabina, BH, BDMS, TTW, OSP, stgt, KCE
- จะเห็นได้ว่า มีเทรดกันที่ P/BV ตั้งแต่ 1 ไปยัง5 6 7 เท่าเลย
- ซึ่งพวกนี้มันก็อยู่ที่ระดับความเสี่ยงของธุรกิจ, Business Model, Modelรายได้มั่นคงแค่ไหน, รายได้เป็น Project-baseรึเปล่า, อยู่ในอุตสาหกรรมเสี่ยงสูงรึเปล่า, รายได้เป็นสัญญาสัปทานฟิกแนนอนรึเปล่า, โอกาสการเติบโต, Potential ROEยังสูงกว่านี้ได้อีก, ตอนนี้ROEสูงพิเศษเกินไป, คูเมืองของบริษัท, และ สัดส่วนFreeCashFlowเมื่อเทียบกับกำไรทางบัญชีสูงหรือต่ำ และ อื่นๆ
ลองอ่านบทวิเคราะห์ไปทีละอุตสาหกรรมดูครับ อาจจะพอเห็นภาพขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 71
- ผู้ติดตาม: 0
Re: [สอบถาม] P/BV
โพสต์ที่ 3
"เพิ่มเติมนิดหน่อยครับสำหรับการดูแค่ Logic ที่ออกมาในเชิงงบการเงินแล้วอิงเป็นมาตราฐานในการตัดสินใจซื้อเป็นหลักใช้ไม่ค่อยได้กับการลงทุนใช่ไหมครับจากเท่าที่ดูในการตอบ คือเราควรให้น้ำหนักในเรื่องของ logic เท่าๆกับปัจจัยและภาพรวมธุรกิจใช่ไหมครับในการตัดสินใจซื้อ "
ใช่ครับ
คือถ้าเราเข้าใจเหตุผลเชิงธุรกิจ เชิงคุณภาพ กับหุ้นตัวนั้นอยู่แล้วว่าทำไมมันถึงต้องออกมาเป้นตัวเลขต่างๆแบบนี้ ก็ตัดสินใจจากเรื่องตัวเลขได้ครับ
ในเรื่องของการลงทุน ในมุมมองของValue Investor
การจะประเมินมูลค่าหรือตัดสินใจลงทุนต่างๆหรือเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางการลงทุนต่างๆ
- เราจะดูผลตอบแทนเชิงตัวเลขอย่างเดียวไม่ได้ (มันเป้นแค่ครึ่งนึงของสิ่งที่สิ่งที่เกิดขึ้น)
มันต้องอาศัยการร่วมด้วยของความเข้าใจเชิงConcept เชิงธุรกิจที่กำลังเกิดขึ้นเบื้องหลังร่วมด้วย
เราถึงจะคั้นความเข้าใจออกมาเป้นตัวเลขที่เหมาะสมได้ถูกต้อง
- ก่อนที่ผลลัพธ์ธุรกิจจะออกมาเป็นตัวเลข มันมีสิ่งที่ดำเนินอยู๋เบื้องหลังเสมอ
ดังนั้นการตีความตัวเลขของธุรกิจเราต้องคิดในเชิงOperatingเบื้องหลังมัน ถึงจะเข้าใจความหมายของตัวเลขแต่ละตัว (ถ้าตีความตัวเลขธุรกิจในเชิงคณิตศาสตร์อย่างเดียว มันอาจจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากตัวเลขนั้นเท่าที่ควร)
[คือ ต้องมอง ตัวเลข, rationต่างๆ, สูตรคำนวนมูลค่าต่างๆ - ในเชิง The way of thinking ไม่ใช่ Number Game อย่างเดียว]
- ในโลกของการลงทุน มันจะเป็นการวัดผลตอบแทนโดยเปรียบเทียบกับความเสี่ยง (risk-adjusted Return) เสมอ
อาจจะแยกเป็น 3 ระดับในการทำความเข้าใจก่อนที่จะValuationบริษัท 3 ระดับแบบนี้ครับ
ระดับ1: เข้าใจเชิงคุณภาพ พวกBusiness Model, Modelรายได้, ความเสี่ยงธุรกิจ
ระดับ2: เข้าใจเชิงผลลัพธ์ตัวเลข พวกงบการเงิน, Ratioต่างๆ, ตัวเลขสำคัญในอุตสาหกรรมต่างๆ,
ระดับ3: เราถึงจะประเมินมูลค่าเหมาะสม และความสูงแพงของราคาตลาดเมื่อเทียบกับมูลค่าเหมาะสมได้ถูกต้อง
** เพราะอย่างที่ยกตัวอย่างไป ถ้าเราเห็นตัวเลขว่าROEดีอย่างเดียว เราก็อาจจะให้ราคาสูงไปเมื่อเทียบกับความเสี่ยงธุรกิจหรือความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทนั้นที่รับอยู่
** หรือถ้าเราดูเห็นว่า Business Model กับ Operation ของบริษัทนี้มันดี เราก้ต้องไปเช็คผลลัพธ์ที่แสดงออกมาในตัวเลขงบการเงินและตัวเลขสำคัญของธุรกิจต่อด้วยอยู๋ดี ว่ามันทำให้ผลลัพธ์ธุรกิจมันดีSuperiorกว่าคนอื่นจริงๆรึเปล่า
(หรือว่าคนอื่นมันก็ดีเหมือนกันนี่หนา ผลกำไร ตัวเลขต่างๆมันก็เฉยๆเมื่อเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเป้นปกติ ดังนั้น Business Modelที่ดูโดยรวมมันมันดีมาก จริงๆมันก็ไม่ได้ส่งต่อผลกำไรที่ดีกว่าคู่แข่ง เราก็อาจจะไม่ได้ต้องให้ Premiumในเรื่องนั้นมากเกินไป)
ดังนั้น ในมุมองของ Value Investor ก็เลยน่าจะต้องรวม2อย่างเข้าด้วยกันครับ
** ส่วนเรื่องการจับจังหวะตลาด จับชีพจรอารมตลาด มันก็จะเป้นอีกสเต๊ปนึงที่เราควบคุมการวิเคราะห์ไม่ได้ครับ **
ใช่ครับ
คือถ้าเราเข้าใจเหตุผลเชิงธุรกิจ เชิงคุณภาพ กับหุ้นตัวนั้นอยู่แล้วว่าทำไมมันถึงต้องออกมาเป้นตัวเลขต่างๆแบบนี้ ก็ตัดสินใจจากเรื่องตัวเลขได้ครับ
ในเรื่องของการลงทุน ในมุมมองของValue Investor
การจะประเมินมูลค่าหรือตัดสินใจลงทุนต่างๆหรือเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางการลงทุนต่างๆ
- เราจะดูผลตอบแทนเชิงตัวเลขอย่างเดียวไม่ได้ (มันเป้นแค่ครึ่งนึงของสิ่งที่สิ่งที่เกิดขึ้น)
มันต้องอาศัยการร่วมด้วยของความเข้าใจเชิงConcept เชิงธุรกิจที่กำลังเกิดขึ้นเบื้องหลังร่วมด้วย
เราถึงจะคั้นความเข้าใจออกมาเป้นตัวเลขที่เหมาะสมได้ถูกต้อง
- ก่อนที่ผลลัพธ์ธุรกิจจะออกมาเป็นตัวเลข มันมีสิ่งที่ดำเนินอยู๋เบื้องหลังเสมอ
ดังนั้นการตีความตัวเลขของธุรกิจเราต้องคิดในเชิงOperatingเบื้องหลังมัน ถึงจะเข้าใจความหมายของตัวเลขแต่ละตัว (ถ้าตีความตัวเลขธุรกิจในเชิงคณิตศาสตร์อย่างเดียว มันอาจจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากตัวเลขนั้นเท่าที่ควร)
[คือ ต้องมอง ตัวเลข, rationต่างๆ, สูตรคำนวนมูลค่าต่างๆ - ในเชิง The way of thinking ไม่ใช่ Number Game อย่างเดียว]
- ในโลกของการลงทุน มันจะเป็นการวัดผลตอบแทนโดยเปรียบเทียบกับความเสี่ยง (risk-adjusted Return) เสมอ
อาจจะแยกเป็น 3 ระดับในการทำความเข้าใจก่อนที่จะValuationบริษัท 3 ระดับแบบนี้ครับ
ระดับ1: เข้าใจเชิงคุณภาพ พวกBusiness Model, Modelรายได้, ความเสี่ยงธุรกิจ
ระดับ2: เข้าใจเชิงผลลัพธ์ตัวเลข พวกงบการเงิน, Ratioต่างๆ, ตัวเลขสำคัญในอุตสาหกรรมต่างๆ,
ระดับ3: เราถึงจะประเมินมูลค่าเหมาะสม และความสูงแพงของราคาตลาดเมื่อเทียบกับมูลค่าเหมาะสมได้ถูกต้อง
** เพราะอย่างที่ยกตัวอย่างไป ถ้าเราเห็นตัวเลขว่าROEดีอย่างเดียว เราก็อาจจะให้ราคาสูงไปเมื่อเทียบกับความเสี่ยงธุรกิจหรือความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทนั้นที่รับอยู่
** หรือถ้าเราดูเห็นว่า Business Model กับ Operation ของบริษัทนี้มันดี เราก้ต้องไปเช็คผลลัพธ์ที่แสดงออกมาในตัวเลขงบการเงินและตัวเลขสำคัญของธุรกิจต่อด้วยอยู๋ดี ว่ามันทำให้ผลลัพธ์ธุรกิจมันดีSuperiorกว่าคนอื่นจริงๆรึเปล่า
(หรือว่าคนอื่นมันก็ดีเหมือนกันนี่หนา ผลกำไร ตัวเลขต่างๆมันก็เฉยๆเมื่อเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเป้นปกติ ดังนั้น Business Modelที่ดูโดยรวมมันมันดีมาก จริงๆมันก็ไม่ได้ส่งต่อผลกำไรที่ดีกว่าคู่แข่ง เราก็อาจจะไม่ได้ต้องให้ Premiumในเรื่องนั้นมากเกินไป)
ดังนั้น ในมุมองของ Value Investor ก็เลยน่าจะต้องรวม2อย่างเข้าด้วยกันครับ
** ส่วนเรื่องการจับจังหวะตลาด จับชีพจรอารมตลาด มันก็จะเป้นอีกสเต๊ปนึงที่เราควบคุมการวิเคราะห์ไม่ได้ครับ **