หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 61

โพสต์

เงินกู้นี่มีเยอะไม่ดีแน่ แต่ลองคิดดูครับว่า เงินกู้ระยะสั้นมาก กับ เงินกู้ระยะยาวมาก อันไหนน่ากลัวกว่ากัน
อย่างที่เข้าใจกันถูกแล้วครับ หนี้ระยะสั้นมาก น่ากลัวกว่าหนี้ระยะยาวมาก

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนครับว่า สินทรัพย์ที่จะนำมาชำระเงินกู้คืออะไร

สินทรัพย์กลุ่มที่จะนำมาชำระเงินกู้ก็คือ สินทรัพย์หมุนเวียน หรือก็คือ เงินสด

เงินกู้ระยะสั้น เป็นเงินกู้ที่ต้องจ่ายภายใน 1 งวดบัญชี สินทรัพย์หมุนเวียนนี่เป็นตัวสำคัญที่เราใช้หมุนเวียนในกิจการอยู่แล้ว ถ้า เอาสินทรัพย์หมุนเวียนไปจ่ายคืนหนี้หมด ก็จะกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท

ทางออกส่วนมากสำหรับบริษัทที่มีหนี้ระยะสั้นสูงก็คือ กู้หนี้ใหม่มาจ่ายหนี้เดิม
สติมา ปัญญาเกิด
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 62

โพสต์

sattaya เขียน: อย่างที่เข้าใจกันถูกแล้วครับ หนี้ระยะสั้นมาก น่ากลัวกว่าหนี้ระยะยาวมาก

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนครับว่า สินทรัพย์ที่จะนำมาชำระเงินกู้คืออะไร

สินทรัพย์กลุ่มที่จะนำมาชำระเงินกู้ก็คือ สินทรัพย์หมุนเวียน หรือก็คือ เงินสด

เงินกู้ระยะสั้น เป็นเงินกู้ที่ต้องจ่ายภายใน 1 งวดบัญชี สินทรัพย์หมุนเวียนนี่เป็นตัวสำคัญที่เราใช้หมุนเวียนในกิจการอยู่แล้ว ถ้า เอาสินทรัพย์หมุนเวียนไปจ่ายคืนหนี้หมด ก็จะกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท

ทางออกส่วนมากสำหรับบริษัทที่มีหนี้ระยะสั้นสูงก็คือ กู้หนี้ใหม่มาจ่ายหนี้เดิม
หนี้ระยะสั้น ระยะยาว ปีเตอร์ ลินช์ บอกว่า

หนี้ธนาคาร หรือกู้ยืมจากบริษัทอื่น(ระยะสั้น) เป็นหนี้ที่แย่ที่สุด
ที่แย่กว่าแย่ที่สุด คือ หนี้ที่ "ชำระเมื่อเรียกร้อง"  หมายความว่า
ผู้ให้กู้สามารถขอคืนทันทีที่บริษัทเริ่มมีปัญหา
ถ้าไม่สามารคืนได้ ก็ต้องเข้าขบวนการ "ล้มละลาย"

หนี้ระยะยาว ลินช์ บอกว่าเป็นหนี้ ที่ดีที่สุดในมุมมองของผู้ถือหุ้น
ผู้ให้กู้ไม่สามารถเรียกร้องคืนได้ แม้บริษัทจะอยู่ใน สถานการณ์
เลวร้ายเพียงใด ตาบใด ที่ยังสามาถ จ่ายดอกเบี้ยเงินต้น
เพราะยังไม่ถึงกำหนดชำระคืน อาจยาว 5 ปี 10 ปี 15 ปี หรือแม้แต่ 30 ปี เมื่อสถานการณ์เลวร้ายผ่านไป บริษัทยังยืนอยู่ได้
พอมีโอกาสมาอีกครั้งก็ทำกำไรได้

แล้วปีเตอร์ ลินช์ ให้ความสำคัญกับการ ปรับโครงสร้างหนี้ ของบริษัทที่มีหนี้สูงๆ เขายกตัวอย่างที่ดีเห็นถาพ อย่าง Chryler และ  Micron Technology

:D
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปล้องนาง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 441
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 63

โพสต์

เรื่องของตัวกำหนดทุนจดทะเบียน คงเป็นขนาดของบริษัทครับ ว่าบริษัทนั้นๆ ต้องการเงินทุนมากน้อยเพียงใด ถ้าบริษัทขนาดใหญ่ที่มีโครงการลงทุนเป็นหมื่นล้าน มีทุนแค่ ไม่กี่ร้อยล้านคงไม่พอ
หมายความว่า การกำหนดทุนจดทะเบียน ผู้ประกอบการกำหนดเอาเอง(เเบบว่าอย่างไรก็ได้)  เเต่ให้สอดคล้องกับขนาดบริษัทใช่ไหมครับ
ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ครับ
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 64

โพสต์

ปล้องนาง เขียน:
หมายความว่า การกำหนดทุนจดทะเบียน ผู้ประกอบการกำหนดเอาเอง(เเบบว่าอย่างไรก็ได้)
สติมา ปัญญาเกิด
ภาพประจำตัวสมาชิก
krisy
Verified User
โพสต์: 736
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 65

โพสต์

เพิ่มเติมค่ะ

อย่าลืมว่าเงินมีต้นทุนนะคะ ถึงจะเป็นเงินออมก็เถอะ อย่าลืมค่าเสียโอกาสค่ะ

ดังนั้น เมื่อผู้บริหารจะเปิดกิจการเค้าก็จะต้องทำงบประมาณว่า ต้องใช้อะไรเท่าไหร่ พอได้จำนวนเงินที่ต้องการแล้ว จากนั้นเค้าถึงจะดูว่าแหล่งเงินนั้นมาจากทางไหนได้บ้าง ง่ายๆก็คือ ทุนของเจ้าของกับกู้ธนาคาร

ปกติดอกเบี้ยเงินกู้จะมีต้นทุนสูงกว่าทุนของเจ้าของ เพราะเราได้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ด้วย การจัดสรรแหล่งเงินก็จะดูองค์ประกอบของต้นทุนควบคู่ไปกับผลตอบแทนในอนาคต เพราะถ้าได้กำไรช้า เช่น รับเหมา กู้ธนาคารมากมากจะเกิดภาระที่หนักมาก เพราะเราได้เงินช้า การใช้ทุนเจ้าของมากหน่อยก็ดูปลอดภัยกว่า แต่ถ้าเงินสดหมุนไวๆ ก็กู้มากหน่อยได้

ไม่มีคำตอบสุดท้าย มีแต่ปัจจัยให้พิจารณาว่าต้องใช้แหล่งเงินจากทางไหนเท่าไหร่
.....Give Everything but not Give Up.....
Jimmy
Verified User
โพสต์: 772
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 66

โพสต์

dome@perth เขียน: ขึ้นอยู่กับ การแตกราย ผลิตภัณฑ์ ผลิตหลากหลายขึ้น
หรือ ได้รับเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ หลายแบรนด์เพิ่มขึ้นด้วย

ทำให้ สต๊อกมากขึ้น เพื่อรองรับ การขยายตัว ปรับเปลียน โมเดลธุรกิจ
ขอบคุณครับพี่โดม ที่ช่วยเสริม
ร็อคกี้ บัลโบว : ชีวิตไม่สำคัญว่าจะต่อยได้หนักแค่ไหน แต่อยู่ที่ว่าเรารับการโดนต่อยได้แค่ไหน (ชีวิตจุดสำคัญอยู่ที่การทนทุกข์ มากกว่าการประสบสุข)
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 67

โพสต์

   งบกระแสเงินสด
       เงินสดในงบกระแสเงินสด จะเป็นความหมายเดียวกันกับ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ในงบดุล
    งบกระแสเงินสด แบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ๆ
    1 กระแสเงินสดจาการดำเนินงาน
    2 กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
    3 กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน

       กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน หมายถึง เงินสดที่บริษัทหาได้จากการดำเนินงานปกติของบริษัท ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการจัดหาเงินจากการทำธุรกิจ และเป็นรายการที่บอกสภาพคล่องของเงินทุนหมุนเวียนในบริษัท
       รายการเปลี่ยนแปลงใน กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
    กลุ่มแรก เป็นการปรับปรุงรายการที่ไม่ใช่เงินสดและค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน
    กลุ่มสอง เป็นการปรับปรุงการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของสินทรัพย์และหนี้สินจากการดำเนินงาน

       กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เป็นรายการที่จะบอกให้รู้ว่า บริษัทได้เงินสดหรือใช้เงินสดไปกับการลงทุนอย่างไร และได้ใช้เงินสดเพื่อการลงทุนเป็นจำนวนเท่าใด การลงทุนที่ว่าหมายถึง การลงทุนในการาผลิต เช่น การซื้อ-ขาย สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่เกี่ยวข้องกับการผลิต พวกโรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ รวมถึงการลงทุนในตราสารการเงินต่างๆ

       กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เป็นรายการที่จะบอกว่า บริษัทได้มีการกู้ยืมเงินหรือชำระเงินกู้ รวมถึงดอกเบี้ยจ่ายและการจ่ายเงินปันผล ว่ามีจำนวนเท่าใด

    เมื่อนำรายการ กำไร(ขาดทุน) มากระทบยอดกับรายการในงบกระแสเงินสดทั้ง 3 หมวดแล้ว บวกกับ เงินสดต้นงวด จะต้องเท่ากับ เงินสดคงเหลือปลายงวดในงบดุล
สติมา ปัญญาเกิด
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 68

โพสต์

มาถึง การวิเคราะห์งบการเงิน แต่ละงบครับ

    ก่อนอื่นต้องบอกก่อนครับ ว่า เวลาผมอ่านงบการเงินนั้น ผมทำค่อนข้างหยาบ เหตุผลของผมคือ ผมคิดว่างบการเงินเป็นจิ๊กซอร์ เพียงหนึ่งในหลายตัวที่ใช้วิเคราะห์บริษัทว่าน่าสนใจลงทุนหรือไม่ นอกจากตัวเลขในงบการกเงินแล้ว ยังต้องใช้องค์ประกอบอื่นอีกหลายอย่างในการวิเคราะห์ เช่น Business model ดูความสามารถและคุณธรรมของผู้บริหาร วงจรวัฎจักรของแต่ละอุตสาหกรรม และยังใช้การสอบถามข้อมูลจากพี่ๆ เพือนๆที่มีความรู้ในบริษัทหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ ดังนั้นการวิเคราะห์งบการเงินที่ผมจะเขียนนี้ อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด หรืออาจจะไม่ครบถ้วนตามที่หลายท่านต้องการ แต่ผมคิดว่าอาจมีประโยชน์สำหรับผู้เริ่มศึกษา เพื่อให้ท่านๆ ได้ต่อยอดความรู้ในการวิเคราะห์งบต่อไป

    วิเคราะห์งบกำไรขาดทุน
         หลักในการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนคือ ปรับปรุง เปรียบเทียบ
   ปรับปรุง
    ตามที่ผมเคยบอกไว้ว่า สิ่งที่สนใจใคร่รู้ที่สุดในงบกำไรขาดทุนคือ กำไรปกติ

    กำไรปกติคืออะไร
    กำไรปกติคือ กำไรที่เกิดจากความสามารถในการทำกำไรที่แท้จริงของบริษัท
ผลการดำเนินงานของบริษัทจะแบ่งได้เป็น 2 ส่วน
1. รายได้หรือค่าใช้จ่ายที่เป็นกิจกรรมปกติ
2. รายได้หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่กิจกรรมตามปกติ
    กิจกรรมปกติคือ รายการที่เกิดจากการดำเนินงานหลัก เป็นรายการที่เกิดขึ้นประจำ เช่น บริษัทผลิตโต๊ะเหล็ก รายได้หลักเกิดจากการขายโต๊ะ แต่ขั้นตอนการผลิตจะมีเศษเหล็กเกิดขึ้น รายได้จากการขายเศษเหล็ก ถือได้ว่าเป็นรายได้ปกติ
    หากบริษัทเดียวกันมีกำไรจากการขาย เครื่องจักรเก่า รายการนี้ถือว่าเป็นรายการที่ไม่ได้เกิดจากกิจกรรมปกติ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสาระสำคัญ คือมูลค่าเมื่อเทียบกับยอดขาย

    หน้าที่ของเราคือต้องหาว่า รายการไหนไม่ปกติ ต้องเอามาปรับปรุง เพื่อจะได้กำไรปกติที่ต้องการ

การเปรียบเทียบ
    การวิเคราะห์เปรียบเทียบในงบกำไรขาดทุน ผมจะใช้ 3 แบบ
1. เปรียบเทียบกับรายได้ปกติในงบเดียวกัน
2. เปรียบเทียบกับรายการเดียวกันของงบงวดปีก่อน
3. เปรียบเทียบกับบางรายการในงบดุล

1. การเปรียบเทียบรายการต่างๆ กับรายได้ปกติในงบเดียวกัน
เป็นการเปรียบเทียบรายการต่างๆ โดยทำเป็นรูป % ต่อรายได้ปกติ

    A : รายได้ = A / รายได้ * 100

A คือรายการที่ต้องการเปรียบเทียบ

    เปรียบเทียบแล้วรู้อะไร ?
         รู้ว่ารายการแต่ละรายการเมื่อเทียบกับยอดขายเป็นเท่าใด การคำนวณให้อยู่ในรูปของ % เพื่อให้เปรียบเทียบกันกับงบระหว่างงวดนั้นทำได้ง่ายขึ้น เพราะอยู่ในฐานเดียวกัน เช่น อัตรากำไรขั้นต้นต่อยอดขาย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขาย

2. เปรียบเทียบรายการต่างๆ กับรายการเดียวกัน ของงบในอดีต คู่แข่ง หรือค่าเฉลี่ย
         เมื่อได้อัตราต่างๆ ในรูปของ % แล้ว ทำให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ เพราะหลักในการเปรียบเทียบนั้นต้องเทียบในหน่วยเดียวกัน ในที่นี้คือต้องทำให้เป็น % เหมือนกัน
         การเปรียบเทียบงบการเงินระหว่างบริษัทเป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้เรารู้ว่า ศักยภาพของบริษัทเมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้วใครมีศักยภาพดีกว่ากัน แต่การเปรียบเทียบตัวเลขในงบการเงินระหว่างบริษัทเป็นสิ่งที่ผมไม่นิยมทำ เพราะการเปรียบเทียบระหว่างบริษัทก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น บ่อยครั้งที่เราเข้าใจว่าบริษัทที่กำลังเปรียบเทียบนั้นเป็นคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว รูปแบบของการดำเนินกิจการของทั้ง 2 บริษัทต่างกัน ทำให้ค่าที่เปรียบเทียบกันและเห็นว่าต่างกันนั้นอาจเปรียบเทียบกันไม่ได้
         ผมจะลองยกตัวอย่างระหว่าง APRINT กับ SE_ED นะครับ เมื่อก่อนผมอ่านงบการเงินของทั้ง 2 บริษัทนี้แล้วคิดว่าทั้งคู่เป็นคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันแน่เพราะยังไงก็มีร้านหนังสือเหมือนกัน ถึงแม้อมรินทร์จะมีโรงพิมพ์เอง แต่ความเป็นจริงแล้ว รูปแบบของการได้มาของรายได้ของทั้ง 2 บริษัทนี้ค่อนข้างต่างกัน รายได้ส่วนใหญ่ของ ซีเอ็ด มาจากการขายหนังสือ แต่อมรินทร์นั้นต่างไป คือ มีรายได้ส่วนหนึ่งมาจากค่าโฆษณาในหนังสือในเครืออมรินทร์  ดังนั้นทำให้การเปรียบเทียบระหว่าง 2 บริษัทอาจไม่ถูกต้องนัก

3. เปรียบเทียบกับรายการในงบดุล
รายการนี้ส่วนใหญ่จะเทียบในลักษณะของ Ratio Analysis ผมขอเอาไว้รวมยอดในเรื่องของ Ratio
สติมา ปัญญาเกิด
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปล้องนาง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 441
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 69

โพสต์

ถ้าคิดง่ายๆ สมมติว่าพี่ปล้องนางหุ้นกับเพื่อนเพื่อทำร้านอาหาร ทีนี้ก็ต้องกำหนดว่าทำเลตรงไหน ร้านจะเช่าหรือซื้อ ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่คาดว่าจะมีมีอะไรบ้าง แล้วรวมๆจะต้องใช้เงินลงทุนมากแค่ไหน ทีนี้ก็มาดูว่าใครจะลงทุนเท่าไร

เงินลงทุนนี่ถ้าน้อยไปมันก็ไม่พอใช่ไหมครับ แต่ถ้ามากเกินไปเพื่อนก็จะถามว่า เอาไปทำอะไรเยอะแยะ
ขอบคุณ คุณsattaya มากครับ  
ผมสรุปอย่างนี้ถูกต้องไหมครับ (ไม่เเนใจ) ว่า ทุนจดทะเบียนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการกำหนดเอาเองตามความเหมาะสมในการทำธุรกิจนั้นๆ โดยไม่มีหลักเกณฑ์อะไรตายตัว
phakphum
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 476
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 70

โพสต์

หากทราบกำไรรายไตรมาส เช่น 2Q52 จะคำนวณหากำไรสุทธิสิ้นปีอย่างไรครับ ?

เช่นของ KH กำไรสุทธิ 2Q52 เท่ากับ 168.84 ล้านบาท แล้วพี่ครรชิคำนวณในไฟล์ EPS16YEAR03 ว่าสิ้นปี 2552 กำไรสุทธิเท่ากับ 675.25 ล้านบาท หรือบางโปรกก็คำนวณสิ้นปีเท่ากับ 650 ล้านบาท

ขอบคุณครับ
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 71

โพสต์

phakphum เขียน:หากทราบกำไรรายไตรมาส เช่น 2Q52 จะคำนวณหากำไรสุทธิสิ้นปีอย่างไรครับ ?

เช่นของ KH กำไรสุทธิ 2Q52 เท่ากับ 168.84 ล้านบาท แล้วพี่ครรชิคำนวณในไฟล์ EPS16YEAR03 ว่าสิ้นปี 2552 กำไรสุทธิเท่ากับ 675.25 ล้านบาท หรือบางโปรกก็คำนวณสิ้นปีเท่ากับ 650 ล้านบาท

ขอบคุณครับ
EPS16 ของพี่ครรชิตจะเอากำไร Y52Q2 ไปรวมกับ ครึ่งปีหลังของ Y51 ครับ

ส่วนโบรกจะทำประมาณการกำไรครึ่งปีหลัง Y52 โดยใช้ข้อมูลย้อนหลังหรือไม่ก็สอบถามประมาณการจากผู้บริหารครับ

ประมาณกำไรหรือยอดขายนี่ผมเดาไม่เคยถูกเลย :oops:
สติมา ปัญญาเกิด
ภาพประจำตัวสมาชิก
holidaytours
Verified User
โพสต์: 349
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 72

โพสต์

จำได้สมัยผมเรียนบัญชีตอนมัธยม
เป็นวิชาเดียวที่ได้ท็อป ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อ่านอะไรเป็นพิเศษเลย
ต่อมาจึงเลือกเรียนสายบัญชี

สาเหตุที่เรียนบัญชีแล้วได้คะแนนดีมี 2 อย่างครับ
1. ทำบัญชีบ่อย ๆ
2. เข้าใจมัน
แค่นี้จิง ๆ
:D
สิ่งทั้งหลาย ขึ้นอยู่กับใจ มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จเพราะใจ - พุทธภาษิต
งาน อาชีพเสริมทำเงินล้าน สร้างรายได้ ธุรกิจส่วนตัว รวย!
ภาพประจำตัวสมาชิก
holidaytours
Verified User
โพสต์: 349
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 73

โพสต์

สำหรับการลงทุน
ผมว่าบัญชีที่สำคัญที่สุดคืองบกระแสเงินสดครับ
แต่ก็ต้องดูงบ อื่น ๆ ประกอบด้วย
พยายามเข้าใจมันครับ แล้วอะไร ๆ ก็จะง่ายขึ้น
นึกถึงความเป็นจริง

หลักบัญชีง่าย ๆ ที่ต้องเข้าใจคือ
ด้านเดบิท กับเครดิต ต้องเท่ากัน
เพราะฉะนั้นเมื่อลงรายการ
ต้องหาว่าอะไรอยู่ด้านเดบิท
อะไรอยู่ด้านเครดิต
ในจำนวนที่เท่ากันครับ

เช่นจ่ายเงินซื้อสินค้า
เราต้องคิดก่อนว่า
เราได้สินค้า
เสียเงินสด

สินค้าเพิ่ม เพิ่มด้านเดบิท
เงินสดลด ลดด้านเดบิท
แล้วก็ลงรายการไป

คิดถึงความเป็นจริงครับ
เพราะที่เราทำบัญชี
ก็เพื่อจะรู้ว่า
การเคลือนไหวต่าง ๆ ของ จริง ๆ
ของทรัพย์สิน หนี้สิน และ ทุน
รายได้ ค่าใช้จ่ายของเรา จริง ๆ
แล้วเป็นยังไงบ้างครับ
:D
สิ่งทั้งหลาย ขึ้นอยู่กับใจ มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จเพราะใจ - พุทธภาษิต
งาน อาชีพเสริมทำเงินล้าน สร้างรายได้ ธุรกิจส่วนตัว รวย!
tiotiotio
Verified User
โพสต์: 69
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 74

โพสต์

ขอถามหน่อยครับ
งบการเงินรวม กับ งบเฉพาะบริษัทนี่ต่างกันยังไงครับ ผมดูแล้วบางบริษัทไม่ค่อยเข้าใจครับ
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 75

โพสต์

tiotiotio เขียน:ขอถามหน่อยครับ
งบการเงินรวม กับ งบเฉพาะบริษัทนี่ต่างกันยังไงครับ ผมดูแล้วบางบริษัทไม่ค่อยเข้าใจครับ
งบการเงินเฉพาะกิจการคืองบการเงินเฉพาะบริษัทที่นั้นๆ ส่วนงบการเงินรวมเป็นการจัดทำโดยรวมงบของบริษัทย่อยไว้ด้วย ซึ่งจะตัดรายการระหว่างกันออก
สติมา ปัญญาเกิด
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 76

โพสต์

วิเคราะห์งบดุล
    สินทรัพย์
         ผมเคยถามไว้ ว่าสินทรัพย์ในแต่ละรายการมีมากหรือน้อยดี บางคนบอกสินทรัพย์มีมากดี บางคนบอกว่าบางรายการมากเกินไปไม่ดี พอสรุปได้ว่า ในการถือสินทรัพย์นั้นควรยึดหลักการใช้งาน คือมีให้เพียงพอกับการใช้งาน ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป เพราะถ้าน้อยเกินไปการบริหารจัดการก็อาจไม่คล่องตัว หรือเกิดขาดสภาพคล่องในกรณีที่มีเงินสดน้อยเกินไป แต่หากมีมากเกินไป ก็จะมี สินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ขึ้น
    สินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้นี้เป็นอย่างไร ก่อนอื่นต้องไม่ลืมว่า การได้มาของสินทรัพย์เกิดจากส่วนของผู้ถือหุ้น หรือไม่ก็มาจากการก่อหนี้ กิจการใดมีสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มากก็แปลว่า หนี้เพิ่ม หรือใช้ส่วนของเจ้าของไปโดยไม่มีรายได้เพิ่ม ตัวอย่างเช่น ที่ดินที่ซื้อไว้โดยที่ยังไม่มีโครงการจะทำอะไร หรือเครื่องจักรเก่าหรือล้าสมัย ที่ไม่ได้ใช้และยังไม่ได้ขายทิ้ง รวมถึงสินค้าคงเหลือที่มีไว้มากจนเกินไป
สติมา ปัญญาเกิด
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 77

โพสต์

[quote="sattaya"]วิเคราะห์งบดุล
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 78

โพสต์

จะรู้ได้อย่างไรว่าสินทรัพย์รายการไหนควรมีมากน้อยเท่าใด ข้อนี้บอกยากครับ ขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจ เช่น ธุรกิจซื้อมาขายไป ที่ขายสินค้าประเภทวัตถุดิบ อาจมีลูกหนี้การค้าในอัตราสูงกว่าเมื่อเทียบกับธุรกิจซื้อมาขายไปที่เป็นพวกห้างค้าปลีก เนื่องจากธุรกิจแบบแรกต้องให้เครดิตลูกค้า ขณะที่แบบหลังขายเงินสด
         การเปรียบเทียบแต่ละรายการกับงบการเงินในอดีตหรือเปรียบเทียบกับคู่แข่ง จะพอบอกได้คร่าวๆ ว่าตัวธุรกิจน่าจะมีสินทรัพย์แต่ละประเภทมากหรือน้อยเพียงใด บางครั้งการอ่านหมายเหตุฯพอจะบอกเราได้ว่าสินทรัพย์ใดมีมากเกินไป

    ลูกหนี้การค้า
         หากดูแต่ในงบดุลจะเห็นยอดลูกหนี้ที่เป็นปกติ หมายเหตุฯจะบอกได้ว่ากิจการมีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารหนี้ หรืออาจเกิดปัญหาในอนาคตหากหนี้ที่มีโอกาสเกิดหนี้สูญมีจำนวนมาก แต่บางบริษัทก็ใช้การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในการสร้างค่าใช้จ่ายลวงที่ทำให้งวดบัญชีนั้นเกิดมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไปก็เป็นได้

    สินค้าคงเหลือ
         สามารถเทียบได้ 2 ลักษณะ
1. เปรียบเทียบกับสินทรัพย์รวม ว่ามีอัตราเท่าใดแล้วเปรียบเทียบย้อนกับค่าในอดีต
2. เปรียบเทียบกับยอดขายแล้วเทียบกับค่าในอดีต
         การเก็บสินค้าคงเหลือให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จะทำให้กิจการได้ประโยชน์หลายอย่าง
1. มีสินค้ามากพอที่จะขายให้ลูกค้าโดยที่ลูกค้าไม่ต้องรอนาน
2. ไม่มีปัญหาเงินทุนจมในสินค้าคงเหลือ
3. ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากสินค้าเสื่อมคุณภาพ หรือล้าสมัย
         รายการสินค้าคงเหลือจะมีการคิดค่าเผื่อหลายลักษณะขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจ เช่น ค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าของสินค้าคงเหลือ ค่าเผื่อสินค้าเสื่อมสภาพ ล้าสมัย เสื่อมคุณภาพ เคลื่อนไหวช้า หรือสูญหาย ซึ่งธุรกิจใดจะตั้งค่าเผื่ออะไรเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหารเป็นหลัก
สติมา ปัญญาเกิด
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 79

โพสต์

ก่อนอื่นผมต้องขอบคุณที่มีคนสนใจในกระทู้ของผม และ pm มาให้ผมเขียนต่อ

และผมต้องขออภัยที่ไม่ได้เขียนต่อเนื่อง
ย้อนกลับไปที่การดูงบดุล(คิดไปคิดมาแล้วไม่อยากเรียกว่าการวิเคราะห์เพราะฝีมือระดับผมยังห่างชั้นนักกับการวิเคราะห์งบ)

    เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เป็นรายการที่นักลงทุนส่วนมากให้ความสนใจ ด้วยหากบริษัทที่อยู่ในช่วงห่านทองคำ จะมีเงินสดค่อนข้างสูงมากทำให้สามารถจ่ายเป็นปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้มาก

    เงินสดของบริษัทมีแหล่งที่มาหลายทาง
    - จากการดำเนินกิจการ
    - จากการเพิ่มหนี้
    - จากการลดลงของสินทรัพย์
    - ผลตอบแทนจากการลงทุน

    การดำเนินงานเป็นแหล่งที่มาของเงินสดที่ดีที่สุด เงินส่วนนี้เมื่อเหลือจาการจ่ายหนี้ และการลงทุนเพิ่มแล้ว สามารถจ่ายคืนให้ผู้ถือหุ้นได้ (ทั้งนี้ต้องดูนโยบายการจ่ายปันผลของบริษัทด้วย)

    เงินลงทุนชั่วคราวเป็นแหล่งพักเงินสดที่ดีแหล่งหนึ่ง หลายบริษัทมักใช้นอกเหนือจากการฝากธนาคาร เงินลงทุนชั่วคราวมีทั้งที่มีความเสียงสูงและมีความเสี่ยงต่ำ ทั้งนี้เราสามารถตรวจสอบได้ว่าบริษัทมีการลงทุนในแหล่งใดบ้างจากหมายเหตุประกอบงบการเงิน

    เงินสดฯ เงินลงทุนชั่วคราวเยอะดีไหม

    ตอบยากครับ อาจทั้งดีและไม่ดี

    ที่ว่าดีเพราะเงินสดมีความจำเป็นต่อการดำเนินกิจการ และโครงการลงทุนใหม่ๆ ของบริษัทหากมีเยอะก็ไม่จำเป็นต้องกู้เงินหรือกู้แต่เพียงเล็กน้อย และยังสามารถนำเงินสดส่วนที่เหลือมาจ่ายเป็นปันผลงามๆให้กับผู้ถือหุ้นได้
    ส่วนที่ไม่ดีเพราะหากผู้บริหารมีนโยบายไม่นำเงินส่วนนี้มาจ่ายเป็นปันผลและยังไม่นำไปลงทุนในกิจกรรมที่ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าการฝากธนาคาร เท่ากับว่าผู้ถือหุ้นได้แต่นั่งมองกองเงินสดของบริษัทโดยที่นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้

    สรุปสินทรัพย์หมุนเวียน
    รายการสินทรัพย์หมุนเวียนที่แสดงในงบดุลจะแสดงเรียงลำดับความคล่องตัวในการเปลี่ยนเป็นเงินสด และสินทรัพย์หมุนเวียนดังกล่าวยังใช้ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ยังไว้ใช้จ่ายหนี้สินหมุนเวียน การจะดูว่าสินทรัพย์หมุนเวียนที่บริษัทมีอยู่นั้นมีคุณภาพมากน้อยเพียงใดนั้น ควรดูที่แหล่งที่มาของสินทรัพย์หมุนเวียนนั้น
สติมา ปัญญาเกิด
อ.เอง
Verified User
โพสต์: 127
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 80

โพสต์

ขอบคุณครับ อธิบายได้เข้าใจง่ายทีเดียวเลยครับ

แต่อยากจะให้อธิบายส่วนของ ค่าเสื่อม สักหน่อยครับ
ว่าจะมาเกี่ยวข้องกับ งบการเงิน ส่วนไหนและยังไงบ้างครับ
pong48
Verified User
โพสต์: 24
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 81

โพสต์

ขอบคุณครับเป็นกระทู้ที่ดีมากๆเลยครับ :lol:  :lol:  :lol:
Jozing
Verified User
โพสต์: 16
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 82

โพสต์

ขอเข้าห้องเรียนด้วยคับ ขอบคุณมากครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
j21
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 690
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 83

โพสต์

กระทู้เทพมั่ก ๆ

ขอบคุณครับ   :D
nanchan
Verified User
โพสต์: 2938
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 84

โพสต์

หนี้สินระยะสั้นStaมากกว่าหนี้สินระยะยาวเกือบ10เท่า  :lol:  :lol:  :lol:

วอเรนต์ บัฟเฟต บอกเงินสดแทบไม่มี แต่มันก็สามารถชำระหนี้ได้ตลอด
แถมเจ้าหนี้ก็ยังอยากให้มันกู้เพิ่มอีก  :lol:  :lol:  :lol:

อังกฤษยิงเข้าประตูแต่ไม่ได้ประตู  :lol:  :lol:  :lol:
เฝ้าดูไป โดยใจที่เป็นกลาง
กาละมัง
Verified User
โพสต์: 1230
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 85

โพสต์

sattaya เขียน: อย่างที่เข้าใจกันถูกแล้วครับ หนี้ระยะสั้นมาก น่ากลัวกว่าหนี้ระยะยาวมาก

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนครับว่า สินทรัพย์ที่จะนำมาชำระเงินกู้คืออะไร

สินทรัพย์กลุ่มที่จะนำมาชำระเงินกู้ก็คือ สินทรัพย์หมุนเวียน หรือก็คือ เงินสด

เงินกู้ระยะสั้น เป็นเงินกู้ที่ต้องจ่ายภายใน 1 งวดบัญชี สินทรัพย์หมุนเวียนนี่เป็นตัวสำคัญที่เราใช้หมุนเวียนในกิจการอยู่แล้ว ถ้า เอาสินทรัพย์หมุนเวียนไปจ่ายคืนหนี้หมด ก็จะกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท

ทางออกส่วนมากสำหรับบริษัทที่มีหนี้ระยะสั้นสูงก็คือ กู้หนี้ใหม่มาจ่ายหนี้เดิม
ผมเห็นว่า  ที่ว่า หนี้ระยะสั้นมาก น่ากลัวกว่าหนี้ระยะยาวมาก อาจถูกต้องตามทฤษฎี  แต่อาจไม่ถูกต้องในทางธุรกิจ หรือ ในการวิเคราะห์งบการเงิน
ภาพประจำตัวสมาชิก
sialic
Verified User
โพสต์: 144
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 86

โพสต์

มาลงชื่อ ขอเรียนด้วยคนค่ะ  :)
new user
ภาพประจำตัวสมาชิก
m_mummie
Verified User
โพสต์: 218
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 87

โพสต์

[quote="sattaya"]มาถึง การวิเคราะห์งบการเงิน แต่ละงบครับ
--->I Will Survive Yeah....Yeah....<---
ภาพประจำตัวสมาชิก
คนอุดร
Verified User
โพสต์: 3386
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 88

โพสต์

อ่านแล้วเพิ่มความรู้และมีประโยชน์มาก ขอบคุณพี่ๆเพื่อนๆที่เสียสละเวลาช่วยแบ่งปันความรู้นะครับ จริงๆน่าจะย้ายไปปักหมุดที่ห้องมือใหม่หัดลงทุนนะครับ เพราะการวิเคราะห์งบต่างๆเป็นหัวใจของการลงทุนก็ว่าได้และเป็นจุดอ่อนของนักลงทุนใหม่ๆ(โดยเฉพาะผม) +++
"มันไม่ใช่หุ้นหรอกที่จะทำให้เรารวย แต่สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับหุ้นต่างหากที่จะทำให้เราร่ำรวยได้"
sakana_sushi
Verified User
โพสต์: 241
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 89

โพสต์

[quote="m_mummie"][quote="sattaya"]มาถึง การวิเคราะห์งบการเงิน แต่ละงบครับ
"สุขใดยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี"
naronkas
Verified User
โพสต์: 30
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 90

โพสต์

มีประโยชน์มากเลยครับ ขอบคุณครับ