ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 1
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for Doubtful Debt) คือ จำนวนลูกหนี้การค้าที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประมาณขึ้นสำหรับลูกหนี้การค้าทั้งสิ้นที่มีอยู่ ณ วันสิ้นงวด ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจึงเป็นรายการที่แสดงหัก (เรียกว่า บัญชีปรับมูลค่า) จากลูกหนี้การค้าในงบแสดงฐานะการเงิน เพื่อทำให้ยอดลูกหนี้การค้าสุทธิมีจำนวนใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่คาดว่าจะเก็บเงินได้
วิธีประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่นิยมทำกันคือ การประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากลูกหนี้ปลายงวด โดยบริษัทจะจัดกลุ่มลูกหนี้ตามเวลาที่ค้างชำระ จากนั้นจึงประมาณว่าลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มมีประวัติและความเป็นไปได้ที่จะเกิดหนี้สูญด้วยอัตราร้อยละเท่าไร จากนั้นบริษัทจึงคำนวนหาค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้แต่ละกลุ่ม เมื่อรวมค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้แต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน บริษัทก็จะได้ค่าผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับวันสิ้นงวด
หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Debt) คือ จำนวนลูกหนี้ที่บริษัทประมาณว่าจะไม่จ่ายเงินที่ค้างชำระให้บริษัทในแต่ละงวด บริษัทจึงต้องตัดบัญชีหนี้สงสัยจะสูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน โปรดสังเกตว่า ค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญหรือหนี้สูญที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทุกงวดเกิดขึ้นจากการประมาณ ไม่ได้เกิดจากจำนวนลูกหนี้ที่ไม่ยอมชำระเงินในแต่ละงวด
วิธีการบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ และเครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
หนี้สูญ (Bad Debt) คือ จำนวนหนี้สูญที่เกิดจริงในแต่ละงวด เมื่อบริษัทติดตามทวงถามลูกหนี้จนถึงที่สุดแล้วตัดสินใจว่า ลูกหนี้รายนี้คงไม่จ่ายหนี้แน่แล้ว บริษัทจะตัดหนี้สูญโดยการล้างลูกหนี้ออก แล้วตัดหนี้สูญจำนวนนี้ออกจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ที่เคยประมาณไว้ โปรดสังเกตว่าการตัดลูกหนี้เป็นหนี้สูญนั้น ไม่ควรทำผ่านงบกำไรขาดทุน แต่ควรนำไปปรับกับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แต่ในทางปฏิบัติ บางทีบริษัทจะตัดหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันทีโดยไม่ลดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลง
ในบางครั้ง ลูกหนี้ที่บริษัทตัดเป็นหนี้สูญไปแล้วกลับใจมาจ่ายชำระหนี้ ถ้าเป็นเช่นนี้ บริษัทจะบันทึกเพิ่มลูกหนี้เข้าไปใหม่ในขณะที่บันทึกกลับบัญชีหนี้สูญโดยการเพิ่มค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แต่ในทางปฏิบัติ บริษัทที่เคยตัดหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน จะกลับบัญชีหนี้สูญไปเป็นค่าใช้จ่ายที่ติดลบในงบกำไรขาดทุน หนี้สูญกลับบัญชีนี้มีผลทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง และกำไรเพิ่มขึ้น
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญถือเป็นบัญชีที่มีความสำคัญต่อนักลงทุนและบริษัท ในสายตานักลงทุนแล้ว
การที่กิจการมีหนี้สูญจำนวนมาก นั่นหมายถึง กิจการมีรายได้เข้ามามากก็จริง แต่ไม่สามารถเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ ทำให้มีผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนของบริษัท เนื่องจากหนี้สูญถือเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าปีนั้นกิจการมี ผลประกอบการไม่ดีนักและในปีนั้นลูกหนี้ซึ่งเป็นหนี้จำนวนมากไม่สามารถชำระหนี้ได้ จะก่อให้เกิดหนี้สูญจำนวนมากต่อบริษัท ซึ่งจะส่งผลต่องบกำไรขาดทุนและอาจมีผลกระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ดังนั้นหนี้สูญจึงเป็นจุดที่นักลงทุนมักจะให้ความสนใจ
หากแต่ในสายตาของทางบริษัท ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมีความสำคัญมากกว่า และถือเป็นโอกาสในการตบแต่งบัญชี กล่าวคือ เนื่องจากการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญนั้นขึ้นอยู่กับบริษัท บริษัทจึงสามารถเพิ่มผลกำไรหรือขาดทุนได้โดยการเพิ่มหรือลดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ในปีที่มีกำไรมาก บริษัทอาจตั้งค่าบัญชีเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้สูงไว้ เมื่อไรที่ผลกำไรต่ำ บริษัทจะบอกว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ตั้งไว้นั้นสูงเกินความจำเป็น และทำการกลับบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไปเป็นค่าใช้จ่ายติดลบในงบกำไรขาดทุน ทำให้กำไรเพิ่มขึ้น ดังนั้น บริษัทจึงสามารถตบแต่งผลประกอบการได้แต่ที่เห็นเหมาะสม นักลงทุนและบุคคลทั่วไปถ้ามองผลประกอบการผ่านๆ อาจเห็นเพียงภาพที่ทางบริษัทต้องการจะแสดงให้ดูหาใช่ผลประกอบการที่แท้จริงไม่ ดังนั้นการจะตัดสินผลประกอบการใดๆ หนี้สูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจึงเป็นจุดที่ควรจะพิจารณาและให้ความสำคัญ
วิธีประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่นิยมทำกันคือ การประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากลูกหนี้ปลายงวด โดยบริษัทจะจัดกลุ่มลูกหนี้ตามเวลาที่ค้างชำระ จากนั้นจึงประมาณว่าลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มมีประวัติและความเป็นไปได้ที่จะเกิดหนี้สูญด้วยอัตราร้อยละเท่าไร จากนั้นบริษัทจึงคำนวนหาค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้แต่ละกลุ่ม เมื่อรวมค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้แต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน บริษัทก็จะได้ค่าผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับวันสิ้นงวด
หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Debt) คือ จำนวนลูกหนี้ที่บริษัทประมาณว่าจะไม่จ่ายเงินที่ค้างชำระให้บริษัทในแต่ละงวด บริษัทจึงต้องตัดบัญชีหนี้สงสัยจะสูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน โปรดสังเกตว่า ค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญหรือหนี้สูญที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทุกงวดเกิดขึ้นจากการประมาณ ไม่ได้เกิดจากจำนวนลูกหนี้ที่ไม่ยอมชำระเงินในแต่ละงวด
วิธีการบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ และเครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
หนี้สูญ (Bad Debt) คือ จำนวนหนี้สูญที่เกิดจริงในแต่ละงวด เมื่อบริษัทติดตามทวงถามลูกหนี้จนถึงที่สุดแล้วตัดสินใจว่า ลูกหนี้รายนี้คงไม่จ่ายหนี้แน่แล้ว บริษัทจะตัดหนี้สูญโดยการล้างลูกหนี้ออก แล้วตัดหนี้สูญจำนวนนี้ออกจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ที่เคยประมาณไว้ โปรดสังเกตว่าการตัดลูกหนี้เป็นหนี้สูญนั้น ไม่ควรทำผ่านงบกำไรขาดทุน แต่ควรนำไปปรับกับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แต่ในทางปฏิบัติ บางทีบริษัทจะตัดหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันทีโดยไม่ลดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลง
ในบางครั้ง ลูกหนี้ที่บริษัทตัดเป็นหนี้สูญไปแล้วกลับใจมาจ่ายชำระหนี้ ถ้าเป็นเช่นนี้ บริษัทจะบันทึกเพิ่มลูกหนี้เข้าไปใหม่ในขณะที่บันทึกกลับบัญชีหนี้สูญโดยการเพิ่มค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แต่ในทางปฏิบัติ บริษัทที่เคยตัดหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน จะกลับบัญชีหนี้สูญไปเป็นค่าใช้จ่ายที่ติดลบในงบกำไรขาดทุน หนี้สูญกลับบัญชีนี้มีผลทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง และกำไรเพิ่มขึ้น
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญถือเป็นบัญชีที่มีความสำคัญต่อนักลงทุนและบริษัท ในสายตานักลงทุนแล้ว
การที่กิจการมีหนี้สูญจำนวนมาก นั่นหมายถึง กิจการมีรายได้เข้ามามากก็จริง แต่ไม่สามารถเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ ทำให้มีผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนของบริษัท เนื่องจากหนี้สูญถือเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าปีนั้นกิจการมี ผลประกอบการไม่ดีนักและในปีนั้นลูกหนี้ซึ่งเป็นหนี้จำนวนมากไม่สามารถชำระหนี้ได้ จะก่อให้เกิดหนี้สูญจำนวนมากต่อบริษัท ซึ่งจะส่งผลต่องบกำไรขาดทุนและอาจมีผลกระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ดังนั้นหนี้สูญจึงเป็นจุดที่นักลงทุนมักจะให้ความสนใจ
หากแต่ในสายตาของทางบริษัท ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมีความสำคัญมากกว่า และถือเป็นโอกาสในการตบแต่งบัญชี กล่าวคือ เนื่องจากการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญนั้นขึ้นอยู่กับบริษัท บริษัทจึงสามารถเพิ่มผลกำไรหรือขาดทุนได้โดยการเพิ่มหรือลดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ในปีที่มีกำไรมาก บริษัทอาจตั้งค่าบัญชีเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้สูงไว้ เมื่อไรที่ผลกำไรต่ำ บริษัทจะบอกว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ตั้งไว้นั้นสูงเกินความจำเป็น และทำการกลับบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไปเป็นค่าใช้จ่ายติดลบในงบกำไรขาดทุน ทำให้กำไรเพิ่มขึ้น ดังนั้น บริษัทจึงสามารถตบแต่งผลประกอบการได้แต่ที่เห็นเหมาะสม นักลงทุนและบุคคลทั่วไปถ้ามองผลประกอบการผ่านๆ อาจเห็นเพียงภาพที่ทางบริษัทต้องการจะแสดงให้ดูหาใช่ผลประกอบการที่แท้จริงไม่ ดังนั้นการจะตัดสินผลประกอบการใดๆ หนี้สูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจึงเป็นจุดที่ควรจะพิจารณาและให้ความสำคัญ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 131
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 2
หากมีการตัดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเยอะๆ ทำให้กำไรขาดทุนนงบ profit and loss ไม่ตรงกับความเป็นจริง
เราควรดู งบกระแสดเงินสด ควบคู่ไปจะช่วยให้เห็นความเป้นจริงมากขึ้น โดยสังเกตุค่าบวกกลับหนี้สงสัยจะสูญ ในกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ใช่มั้ยครับ
เราควรดู งบกระแสดเงินสด ควบคู่ไปจะช่วยให้เห็นความเป้นจริงมากขึ้น โดยสังเกตุค่าบวกกลับหนี้สงสัยจะสูญ ในกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ใช่มั้ยครับ
Great businesses selling at a discount to their intrinsic value may also define as "Value Investment"
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 4
@child_temple มีส่วนค่ะ การดูงบกระแสเงินสดจะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของค่าหนี้สงสัยจะสูญและการโอนกลับของตัวหนี้นั้นๆ ซึ่งค่าตัวนี้ไม่ได้ให้ข้อมูลมากนัก ทางเราขอแนะนำให้อ่านหมายเหตุประกอบงบการเงินในหัวข้อ "ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์และการตั้งค่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ" ซึ่งจะเปิดเผยถึงเกณฑ์การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และเกณฑ์การตัดหนี้สูญ เพื่อให้เข้าใจลักษณะการตัดเกณฑ์และเพื่อหลีกเลี่ยงการตบแต่งตัวเลขของทางบริษัทค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 5
การตั้งสำรองหนี้สูญ คือการบันทึกค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญตามบัญชี ในธุรกิจปกติ ค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญจะยังนำไปหักภาษีไม่ได้chatchai เขียน:การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ และ การตัดหนี้สูญ มีผลกระทบต่อการคำภาษีแตกต่างกันอย่างไรครับ
การตัดหนี้สูญ ในทางบัญชีคือการตัดลูกหนี้กับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทิ้งไป เพราะบริษัททวงถามจนถึงที่สุดแล้วคิดว่าลูกหนี้เบี้ยวแน่ สังเกตว่ารายการนี้ไม่มีผลต่องบกำไรขาดทุนเพราะหนี้สูยจำนวนนี้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายไปนานแล้ว แต่ในทางภาษี หนี้สูยจำนวนนี้เพิ่งได้รับอนุญาตให้นำมาหักภาษีค่ะ (ซึ่งอาจเป็นคนละงวดกับที่เคยคิดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน)
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 131
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 6
สมมุติ บริษัทไหนมีลูกหนี้เยอะๆ สามารถตัดหนี้สุญให้เยอะเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ทันผลประโยชน์เกณฑ์ภาษี 30% ในปี 2554การตั้งสำรองหนี้สูญ คือการบันทึกค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญตามบัญชี ในธุรกิจปกติ ค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญจะยังนำไปหักภาษีไม่ได้
การตัดหนี้สูญ ในทางบัญชีคือการตัดลูกหนี้กับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทิ้งไป เพราะบริษัททวงถามจนถึงที่สุดแล้วคิดว่าลูกหนี้เบี้ยวแน่ สังเกตว่ารายการนี้ไม่มีผลต่องบกำไรขาดทุนเพราะหนี้สูยจำนวนนี้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายไปนานแล้ว แต่ในทางภาษี หนี้สูยจำนวนนี้เพิ่งได้รับอนุญาตให้นำมาหักภาษีค่ะ (ซึ่งอาจเป็นคนละงวดกับที่เคยคิดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน)
(ซึ่งจริงๆบริษัทรู้ว่าน่าจะเก็บได้ แต่อยากตัดหนี้สูญเพื่อผลประโยชน์) แล้วค่อยมาบวกกลับหนี้สูญในปีที่เสียภาษีที่ 25 - 20%
แบบนี้ทำได้ไหมครับ??? ผมได้ควานหาบริษัทที่ตัดหนี้สูญเป็นจำนวนเปอร์เซ็นเยอะกว่าปกติในปี 2554 ไว้รอลุ้นบวกกลับในปีถัดมา หรือว่าเป็นแค่ทฤษฎีในทางปฎิบัติคงมีกฎเกณฑ์มากมาย อันนี้ไม่ทราบจริงๆครับ
Great businesses selling at a discount to their intrinsic value may also define as "Value Investment"
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 7
การกลับหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ เืมื่อนี้ มีรายการกำไรพิเศษให้เห็น
ในปัจจุบันหากมีลูกหนี้ที่บริษัทได้ตั้งสำรองในประเภทดังกล่าวมาจ่ายเงิน
บริษัทจำเป็นต้องกลับรายการบัญชีดังกล่าว ไว้ในรายการใดของงบการเงินละครับ
ในปัจจุบันหากมีลูกหนี้ที่บริษัทได้ตั้งสำรองในประเภทดังกล่าวมาจ่ายเงิน
บริษัทจำเป็นต้องกลับรายการบัญชีดังกล่าว ไว้ในรายการใดของงบการเงินละครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 8
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า การตัดหนี้สูญมากทำให้ สินทรัพย์ภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายภาษีลดน้อยลง บริษัทที่อยากทำอย่างนั้นอาจเป็นเพราะค่าใช้จ่ายในปี 54 สูงมากเนื่องจากการลดอัตราภาษี จะทำให้สินทรัพย์ภาษีเงินได้ลดลงและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นสมมุติ บริษัทไหนมีลูกหนี้เยอะๆ สามารถตัดหนี้สุญให้เยอะเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ทันผลประโยชน์เกณฑ์ภาษี 30% ในปี 2554 (ซึ่งจริงๆบริษัทรู้ว่าน่าจะเก็บได้ แต่อยากตัดหนี้สูญเพื่อผลประโยชน์) แล้วค่อยมาบวกกลับหนี้สูญในปีที่เสียภาษีที่ 25 - 20% แบบนี้ทำได้ไหมครับ??? ผมได้ควานหาบริษัทที่ตัดหนี้สูญเป็นจำนวนเปอร์เซ็นเยอะกว่าปกติในปี 2554 ไว้รอลุ้นบวกกลับในปีถัดมา หรือว่าเป็นแค่ทฤษฎีในทางปฎิบัติคงมีกฎเกณฑ์มากมาย อันนี้ไม่ทราบจริงๆครับ
ส่วนเรื่องการจะตัดให้ทันอัตราภาษี 30% นั้นไม่มี เนื่องจากเมื่อตัดหนี้สูญบริษัทต้องใช้อัตราอนาคตเมื่อลูกหนี้จะกลายเป็นหนี้สูญจริงมาคำนวณภาษี
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 9
เมื่อบริษัทตัดหนี้สูญ บริษัทจะตัดลูกหนี้ทิ้งพร้อมค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แต่เมื่อลูกหนี้มาจ่ายเงิน บริษัทชอบที่จะบันทึกลูกหนี้กลับมาโดยบันทึกอีกขาหนึ่งเป็น "หนี้สูญกลับบัญชี" หรือค่าใช้จ่ายติดลบ ทำให้กำไรเพิ่มขึ้นทันที ความจริงการทำอย่างนี้ผิดหลักการบันทึกบัญชี เพราะบริษัทควรบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่ม ไม่ใช่เอาไปผ่านงบกำไรขาดทุนการกลับหนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ เืมื่อนี้ มีรายการกำไรพิเศษให้เห็นในปัจจุบันหากมีลูกหนี้ที่บริษัทได้ตั้งสำรองในประเภทดังกล่าวมาจ่ายเงิน บริษัทจำเป็นต้องกลับรายการบัญชีดังกล่าว ไว้ในรายการใดของงบการเงินละครับ
แต่ในประเทศไทย ทุกบริษัทปฏิบัติอย่างนั้น คือบริษัทในประเทศไทยจะกลับหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายติดลบในงบกำไรขาดทุน
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 10
ผมเข้าใจว่าบริษัทในตลาดโดยทั่วไปมักอยากให้มีผลการดำเนินงานที่ดี จึงมีแรงจูงใจที่จะตั้งหนี้สงสัยสูญจำนวนน้อยๆ
หนี้สงสัยจะสูญ มีหลักเกณในการตั้งอย่างไรครับ เช่น หนี้ที่ไม่จ่าย 3 เดือนต้องตั้งเป็นหนี้สงสัยสูญทั้งจำนวนหรือไม่
มีหลักขึ้นต่ำที่ตั้งได้ ต่ำสุดบ้างหรือเปล่า(ผมเข้าใจว่าแต่ละธุรกิจมีกฎบังคับไม่เหมือนกันในข้อนี้)
หนี้สงสัยจะสูญ มีหลักเกณในการตั้งอย่างไรครับ เช่น หนี้ที่ไม่จ่าย 3 เดือนต้องตั้งเป็นหนี้สงสัยสูญทั้งจำนวนหรือไม่
มีหลักขึ้นต่ำที่ตั้งได้ ต่ำสุดบ้างหรือเปล่า(ผมเข้าใจว่าแต่ละธุรกิจมีกฎบังคับไม่เหมือนกันในข้อนี้)
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 11
หลักเกณฑ์การตั้งหนี้สงสัยจะสูญผมเข้าใจว่าบริษัทในตลาดโดยทั่วไปมักอยากให้มีผลการดำเนินงานที่ดี จึงมีแรงจูงใจที่จะตั้งหนี้สงสัยสูญจำนวนน้อยๆ หนี้สงสัยจะสูญ มีหลักเกณในการตั้งอย่างไรครับ เช่น หนี้ที่ไม่จ่าย 3 เดือนต้องตั้งเป็นหนี้สงสัยสูญทั้งจำนวนหรือไม่
มีหลักขึ้นต่ำที่ตั้งได้ ต่ำสุดบ้างหรือเปล่า(ผมเข้าใจว่าแต่ละธุรกิจมีกฎบังคับไม่เหมือนกันในข้อนี้)
ส่วนมากบริษัทจะวิเคราะห์จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ว่าบริษัทสามารถเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ได้มากน้อยเพียงใด แล้วนำมาคำนวณเป็นร้อยละของลูกหนี้ ได้ดังนี้
1 คำนวณโดยถืออัตราส่วนของจำนวนหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้ทั้งหมด
2 คำนวณโดยจัดกลุ่มลูกหนี้จำแนกตามอายุของหนี้ที่ค้างชำระ ซึ่งเป็นวิธีที่บริษัทส่วนใหญ่นิยมใช้กัน
3.คำนวณโดยพิจารณาจากลูกหนี้แต่ละราย และจะรวมเฉพาะรายที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้เท่านั้นเป็นหนี้สงสัยจะสูญ บริษัทจะใช้วิธีนี้กับลูกหนี้ที่ติดเงินบริษัทในจำนวนที่มาก และมีการผ่อนส่งหนี้ล่าช้าหลายครั้ง
ดังนั้น คำถามที่คุณถาม "หนี้ที่ไม่จ่าย 3 เดือนต้องตั้งเป็นหนี้สงสัยสูญทั้งจำนวนหรือไม่"
ขออธิบายว่าขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัท บางบริษัทก็ตัดทั้งจำนวน บางบริษัทก็ไม่ บางครั้งเวลานักลงทุนวิเคราะห์งบ ให้ดูลักษณะอุตสาหกรรมประกอบ ธุรกิจบางประเภท ถ้่าลูกหนี้ไม่จ่าย 3 เดือนโอกาสได้คืนแทบไม่มี บริษัทก็ควรมีนโยบายที่จะตัดหนี้สูญทั้งจำนวนไปเลย
ส่วนคำถาม "มีหลักขั้นต่ำที่ตั้งค่าหนี้สงสัยจะสูญได้ ต่ำสุดบ้างหรือเปล่า" ขออธิบายว่าขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท ว่ากำหนดให้มีหนี้สงสัยจะสูญได้ไม่เกินเท่าไหร่
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 12
การตั้งสำรองนั้น
ถ้าหากผู้บริหารบอกว่า มีเหตุให้เชื่อได้ว่า แนวโน้มลูกหนี้รายนี้ไม่มีทางจ่ายเงินแน่นอน
ถึงแม้นว่า เป็นหนี้ไม่ถึงสามเดือน แต่ทางบริหารต้องการตั้งลูกหนี้ สามารถทำได้หรือเปล่า
เพราะ ผู้บริหารบอกว่า มีเหตุให้เชื่อได้ว่า ลูกหนี้ไม่มีแน่นอน
ส่วนอีกประเด็นหนึ่งคือ
ผู้บริหารบอกว่าทำการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจก็ดี
ออกใบแจ้งหนี้ไปแล้ว แต่ไมไ่ด้รับการพิจารณาเกินกว่าหลักเกณฑ์ของการตั้งสำรองแล้ว
แต่ผู้บริหารบอกว่า ลูกหนี้นั้น เป็นหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐสาหกิจ อย่างไงก็ดีพวกนี้มีจ่ายแน่นอน
ไม่ตั้งสำรองหรอก
อันนี้ผิดหลักการทางบัญชีหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
ถ้าหากผู้บริหารบอกว่า มีเหตุให้เชื่อได้ว่า แนวโน้มลูกหนี้รายนี้ไม่มีทางจ่ายเงินแน่นอน
ถึงแม้นว่า เป็นหนี้ไม่ถึงสามเดือน แต่ทางบริหารต้องการตั้งลูกหนี้ สามารถทำได้หรือเปล่า
เพราะ ผู้บริหารบอกว่า มีเหตุให้เชื่อได้ว่า ลูกหนี้ไม่มีแน่นอน
ส่วนอีกประเด็นหนึ่งคือ
ผู้บริหารบอกว่าทำการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจก็ดี
ออกใบแจ้งหนี้ไปแล้ว แต่ไมไ่ด้รับการพิจารณาเกินกว่าหลักเกณฑ์ของการตั้งสำรองแล้ว
แต่ผู้บริหารบอกว่า ลูกหนี้นั้น เป็นหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐสาหกิจ อย่างไงก็ดีพวกนี้มีจ่ายแน่นอน
ไม่ตั้งสำรองหรอก
อันนี้ผิดหลักการทางบัญชีหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 13
อยากสอบถามเกี่ยวกับ "หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ" และ "ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ"ครับ
หนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญ คือ การประมาณหนี้สูญ ในแต่ละงวดใช่มั้ยครับ แล้วตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
ส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ ยอดสะสมของหนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญในงบกำไรขาดทุน แล้วเอามาหักในยอดรวมของลูกหนี้ในงบดุล คือเป็นอย่างงี้ใช่มั้ยครับ
หนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญ คือ การประมาณหนี้สูญ ในแต่ละงวดใช่มั้ยครับ แล้วตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
ส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ ยอดสะสมของหนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญในงบกำไรขาดทุน แล้วเอามาหักในยอดรวมของลูกหนี้ในงบดุล คือเป็นอย่างงี้ใช่มั้ยครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณค่ะ เดี๋ยวหนู minussally จะเข้ามาตอบให้ ใจเย็นรอก่อนนะคะcyber-shot เขียน:อยากสอบถามเกี่ยวกับ "หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ" และ "ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ"ครับ
หนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญ คือ การประมาณหนี้สูญ ในแต่ละงวดใช่มั้ยครับ แล้วตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
ส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ ยอดสะสมของหนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญในงบกำไรขาดทุน แล้วเอามาหักในยอดรวมของลูกหนี้ในงบดุล คือเป็นอย่างงี้ใช่มั้ยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 15
ผมขอสรุปความเข้าใจนิดหนึ่งนะครับ ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกหรือเปล่ายังไงช่วยตรวจสอบให้หน่อยนะครับ
1. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จะสรุปจากลูกหนี้ในปลายงวด และจะชี้แจงอายุของลูกหนี้ในหมายเหตุประกอบการเงินในหมวดลูกหนี้ และบริษัทส่วนใหญ่จะตัดเป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับลูกหนี้ที่มีระยะเวลาค้างชำระเกิน 12 เดือน
2. หนี้สงสัยจะสูญ คือหนี้สงสัยจะสูญสำหรับแต่ละงวด พองวดต่อไปลูกหนี้ที่เคยตัดจากงวดที่ผ่านมา จะไม่นำมาตัดอีก แต่ส่วนใหญ่บริษัทจะตัดเป็นหนี้สงสัยจะสูญเมื่อค้างชำระเกิน 12 เดือน แต่งบรายไตรมาสหรืองวดรายปียังไงก็ไม่น่าเกิน 12 เดือน เพราะฉะนั้นในงบกำไรขาดทุนจะไม่มีหนี้สงสัยจะสูญ แต่ผมเจอหนี้สงสัยจะสูญ (โอนกลับ) ที่ระบุไว้ในงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน น่าจะบวกกลับจากการหักในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ แต่มันเป็นไปได้เหรอครับจากเหตุผลเรื่องอายุหนี้ตามข้างบน หรือผมเข้าใจอะไรผิด ขอบคุณครับ
1. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จะสรุปจากลูกหนี้ในปลายงวด และจะชี้แจงอายุของลูกหนี้ในหมายเหตุประกอบการเงินในหมวดลูกหนี้ และบริษัทส่วนใหญ่จะตัดเป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับลูกหนี้ที่มีระยะเวลาค้างชำระเกิน 12 เดือน
2. หนี้สงสัยจะสูญ คือหนี้สงสัยจะสูญสำหรับแต่ละงวด พองวดต่อไปลูกหนี้ที่เคยตัดจากงวดที่ผ่านมา จะไม่นำมาตัดอีก แต่ส่วนใหญ่บริษัทจะตัดเป็นหนี้สงสัยจะสูญเมื่อค้างชำระเกิน 12 เดือน แต่งบรายไตรมาสหรืองวดรายปียังไงก็ไม่น่าเกิน 12 เดือน เพราะฉะนั้นในงบกำไรขาดทุนจะไม่มีหนี้สงสัยจะสูญ แต่ผมเจอหนี้สงสัยจะสูญ (โอนกลับ) ที่ระบุไว้ในงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน น่าจะบวกกลับจากการหักในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ แต่มันเป็นไปได้เหรอครับจากเหตุผลเรื่องอายุหนี้ตามข้างบน หรือผมเข้าใจอะไรผิด ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 16
ลูกศิษย์ยังไม่ตอบ อาจารย์ตอบเองก็แล้วกันcyber-shot เขียน:อยากสอบถามเกี่ยวกับ "หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ" และ "ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ"ครับ
หนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญ คือ การประมาณหนี้สูญ ในแต่ละงวดใช่มั้ยครับ แล้วตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
ส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ ยอดสะสมของหนี้ศูนย์และหนี้สงสัยจะสูญในงบกำไรขาดทุน แล้วเอามาหักในยอดรวมของลูกหนี้ในงบดุล คือเป็นอย่างงี้ใช่มั้ยครับ
ที่เข้าใจไม่ผิดหรอกค่ะ เว้นนิดเดียว
คำอธิบายของคุณ ถ้าตัดคำว่า "หนี้สูญ" ออก ก็จะถูกต้องมากกว่า เพราะหนี้สงสัยจะสูญคือประมาณการหนี้สูญสำหรับปี (แสดงเป็นค่าใช้จ่ายประจำปีในงบกำไรขาดทุน) ส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญคือ ประมาณการหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน (หมายถึงรวมลูกหนี้ของปีก่อนที่ยังเหลืออยู่ในงบดุล) ดังนั้น ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจึงถือเป็นจำนวนหักจากลูกหนี้ในงบดุล
แต่คำว่า "หนี้สูญ" มักให้ความหมายถึงการตักลูกหนี้ออกจากบัญชีเพราะบริษัทติดตามทวงถามแล้วคิดว่าบริษัทคงไม่ได้เงินคืนแน่แล้ว ดังนั้น คำว่าหนี้สูญ (เฉยๆ) จึงหมายถึงการบันทึกล้างลูกหนี้ออกจากงบดุล ในขณะที่ล้างค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (แต่ในประเทศไทย บางครั้งก็บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตีงเข้างบกำไรขาดทุนเลย ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องตามหลักการ) บางครั้ง คำว่าหนี้สูญจะเชื่อมโยงกับภาษี เพราะอาจถือเป็นค่าใช้จ่ายท่งภาษีได้ตามประมวลรัษฎากร ในขณะที่หนี้สงสัยจะสูญยังไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี (ต้องนำมาบวกกลับเพื่อจ่ายภาษี)
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 17
ความเข้าใจเบื้องต้นก็ถูกอยู่ แต่.....prasaen เขียน:ผมขอสรุปความเข้าใจนิดหนึ่งนะครับ ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกหรือเปล่ายังไงช่วยตรวจสอบให้หน่อยนะครับ
1. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จะสรุปจากลูกหนี้ในปลายงวด และจะชี้แจงอายุของลูกหนี้ในหมายเหตุประกอบการเงินในหมวดลูกหนี้ และบริษัทส่วนใหญ่จะตัดเป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับลูกหนี้ที่มีระยะเวลาค้างชำระเกิน 12 เดือน
2. หนี้สงสัยจะสูญ คือหนี้สงสัยจะสูญสำหรับแต่ละงวด พองวดต่อไปลูกหนี้ที่เคยตัดจากงวดที่ผ่านมา จะไม่นำมาตัดอีก แต่ส่วนใหญ่บริษัทจะตัดเป็นหนี้สงสัยจะสูญเมื่อค้างชำระเกิน 12 เดือน แต่งบรายไตรมาสหรืองวดรายปียังไงก็ไม่น่าเกิน 12 เดือน เพราะฉะนั้นในงบกำไรขาดทุนจะไม่มีหนี้สงสัยจะสูญ แต่ผมเจอหนี้สงสัยจะสูญ (โอนกลับ) ที่ระบุไว้ในงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน น่าจะบวกกลับจากการหักในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ แต่มันเป็นไปได้เหรอครับจากเหตุผลเรื่องอายุหนี้ตามข้างบน หรือผมเข้าใจอะไรผิด ขอบคุณครับ
1. เรื่องอายุหนี้กับการตัดหนี้สูญนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายและสิ่งแวดล้อมของบริษัท อาจารย์ไม่เคยทำวิจัยเลยสรุปให้คุณไม่ได้ว่า "บริษัทส่วนใหญ่" ตัดหนี้ค้างชำระเกิน 12 เดือนเป็นหนี้สงสัยจะสูญหรือไม่ เพราะบางบริษัทตั้งประมาณการหนี้สูญเป็นอัตราเปอร์เซ็นต์ เช่น เกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน ตัด 80% ส่วนบางบริษัท ถ้าลูกหนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือนก็ตั้งเป็นหนี้สงสัยจะสูญทันที
2. ในงวดไตรมาส หนี้สงสัยจะสูญจะเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับงบปี เพียงแต่จำนวนอาจน้อยกว่า เรื่องเกี่ยวกับว่าลูกหนี้ค้างชำระเกิน 1 ปีจะไม่ทำให้เกิดหนี้สงสัยจะสูญในงบไตรมาสนั้นไม่จริง เนื่องจากลูกหนี้ทยอยเกิดขึ้นทุกวัน แม้บริษัทจะมีนโยบายที่จะถือลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 1 ปีเป็นหนี้สงสัยจะสูญทั้งจำนวน ในแต่ละไตรมาส ก็ยังจะมีหนี้สงสัยจะสูญให้ตัดเป็นค่าใช้จ่ายอยู่ดี
3. เมื่อเราพูดถึงการตัดหนี้สูญ เรามักหมายถึงการตัดบัญชีหนี้สูญ (คือการล้างลูกหนี้) ออกจากงบดุล ในขณะเดียวกับที่ล้างค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แต่บริษัทในประเทศไทยชอบที่จะตัดลูกหนี้ที่เป็นหนี้สูญเป็นค่่าใช้จ่ายหนี้สูญในงบกำไรขาดทุนทันที ดังนั้น ถ้าลูกหนี้ที่ตัดบัญชีไปแล้วเกิดกลับใจมาจ่ายหนี้ บริษัทต้องกลับบัญชีหนี้สูญ โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายติดลบ (เพราะเคยหักเป็นค่าใช้จ่ายไปแล้วในงวดก่อน)
ในส่วนที่คุณเห็นหนี้สงสัยจะสูญในงบกระแสเงินสดนั้น เกิดขึ้นได้ทั้ง 2 กรณีคือ ทั้งการตั้งหนี้สงสัยจะสูญซึ่งถือเป็นรายการบวกกลับในงบกระแสเงินสด และการกลับบัญชีหนี้สูญซึ่งถือเป็นรายการหักออก
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 18
ถ้าการบันทึกหนี้สูญอย่างนี้ เท่ากับทำให้งบการเงินบิดเบือนจากความเป็นจริงในงวดนั้นๆใช่ไหมครับ ยิ่งถ้ามีหนี้สูญจำนวนมากเมือเทียบกับรายได้แล้ว ยิ่งทำให้มีผลกับงบการเงินของงวดนั้นๆอย่างมีนัยยะสำคัญminussally เขียน:ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for Doubtful Debt) คือ จำนวนลูกหนี้การค้าที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประมาณขึ้นสำหรับลูกหนี้การค้าทั้งสิ้นที่มีอยู่ ณ วันสิ้นงวด ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจึงเป็นรายการที่แสดงหัก (เรียกว่า บัญชีปรับมูลค่า) จากลูกหนี้การค้าในงบแสดงฐานะการเงิน เพื่อทำให้ยอดลูกหนี้การค้าสุทธิมีจำนวนใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่คาดว่าจะเก็บเงินได้
วิธีประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่นิยมทำกันคือ การประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากลูกหนี้ปลายงวด โดยบริษัทจะจัดกลุ่มลูกหนี้ตามเวลาที่ค้างชำระ จากนั้นจึงประมาณว่าลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มมีประวัติและความเป็นไปได้ที่จะเกิดหนี้สูญด้วยอัตราร้อยละเท่าไร จากนั้นบริษัทจึงคำนวนหาค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้แต่ละกลุ่ม เมื่อรวมค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้แต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน บริษัทก็จะได้ค่าผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับวันสิ้นงวด
หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Debt) คือ จำนวนลูกหนี้ที่บริษัทประมาณว่าจะไม่จ่ายเงินที่ค้างชำระให้บริษัทในแต่ละงวด บริษัทจึงต้องตัดบัญชีหนี้สงสัยจะสูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน โปรดสังเกตว่า ค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญหรือหนี้สูญที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทุกงวดเกิดขึ้นจากการประมาณ ไม่ได้เกิดจากจำนวนลูกหนี้ที่ไม่ยอมชำระเงินในแต่ละงวด
วิธีการบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ และเครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
หนี้สูญ (Bad Debt) คือ จำนวนหนี้สูญที่เกิดจริงในแต่ละงวด เมื่อบริษัทติดตามทวงถามลูกหนี้จนถึงที่สุดแล้วตัดสินใจว่า ลูกหนี้รายนี้คงไม่จ่ายหนี้แน่แล้ว บริษัทจะตัดหนี้สูญโดยการล้างลูกหนี้ออก แล้วตัดหนี้สูญจำนวนนี้ออกจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ที่เคยประมาณไว้ โปรดสังเกตว่าการตัดลูกหนี้เป็นหนี้สูญนั้น ไม่ควรทำผ่านงบกำไรขาดทุน แต่ควรนำไปปรับกับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แต่ในทางปฏิบัติ บางทีบริษัทจะตัดหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันทีโดยไม่ลดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลง ในบางครั้ง ลูกหนี้ที่บริษัทตัดเป็นหนี้สูญไปแล้วกลับใจมาจ่ายชำระหนี้ ถ้าเป็นเช่นนี้ บริษัทจะบันทึกเพิ่มลูกหนี้เข้าไปใหม่ในขณะที่บันทึกกลับบัญชีหนี้สูญโดยการเพิ่มค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แต่ในทางปฏิบัติ บริษัทที่เคยตัดหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน จะกลับบัญชีหนี้สูญไปเป็นค่าใช้จ่ายที่ติดลบในงบกำไรขาดทุน หนี้สูญกลับบัญชีนี้มีผลทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง และกำไรเพิ่มขึ้น ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญถือเป็นบัญชีที่มีความสำคัญต่อนักลงทุนและบริษัท ในสายตานักลงทุนแล้ว
การที่กิจการมีหนี้สูญจำนวนมาก นั่นหมายถึง กิจการมีรายได้เข้ามามากก็จริง แต่ไม่สามารถเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ ทำให้มีผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนของบริษัท เนื่องจากหนี้สูญถือเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าปีนั้นกิจการมี ผลประกอบการไม่ดีนักและในปีนั้นลูกหนี้ซึ่งเป็นหนี้จำนวนมากไม่สามารถชำระหนี้ได้ จะก่อให้เกิดหนี้สูญจำนวนมากต่อบริษัท ซึ่งจะส่งผลต่องบกำไรขาดทุนและอาจมีผลกระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ดังนั้นหนี้สูญจึงเป็นจุดที่นักลงทุนมักจะให้ความสนใจ
หากแต่ในสายตาของทางบริษัท ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมีความสำคัญมากกว่า และถือเป็นโอกาสในการตบแต่งบัญชี กล่าวคือ เนื่องจากการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญนั้นขึ้นอยู่กับบริษัท บริษัทจึงสามารถเพิ่มผลกำไรหรือขาดทุนได้โดยการเพิ่มหรือลดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ในปีที่มีกำไรมาก บริษัทอาจตั้งค่าบัญชีเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้สูงไว้ เมื่อไรที่ผลกำไรต่ำ บริษัทจะบอกว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ตั้งไว้นั้นสูงเกินความจำเป็น และทำการกลับบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไปเป็นค่าใช้จ่ายติดลบในงบกำไรขาดทุน ทำให้กำไรเพิ่มขึ้น ดังนั้น บริษัทจึงสามารถตบแต่งผลประกอบการได้แต่ที่เห็นเหมาะสม นักลงทุนและบุคคลทั่วไปถ้ามองผลประกอบการผ่านๆ อาจเห็นเพียงภาพที่ทางบริษัทต้องการจะแสดงให้ดูหาใช่ผลประกอบการที่แท้จริงไม่ ดังนั้นการจะตัดสินผลประกอบการใดๆ หนี้สูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจึงเป็นจุดที่ควรจะพิจารณาและให้ความสำคัญ
ขอถามอีกนิดหนึ่งครับ
1. จากที่ผมดูงบการเงินมาหลายบริษัท ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะลบในงบดุลในส่วนลูกหนี้ แต่จะบวกกลับเพิ่มในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานในส่วนปรับปรุงกำไร อย่างนี้ถูกต้องไหมครับ แล้วผมไม่เห็นมีในส่วนของหนี้สงสัยจะสูญในแต่ละงวดในงบกำไรขาดทุนเลย แล้วถ้ามีบันทึกแล้วต้องไปปรับในกระแสเงินสดในกิจกรรมดำเนินงานในหมวดไหนครับ ถ้าปรับในการปรับปรุงในส่วนกำไรจะซ้ำซ้อนกับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญหรือเปล่าครับ
2. ในการประมาณการหนี้สงสัยจะสูญน่าจะประมาณการเป็นเปอร์เซ็นจากยอดหนี้คงค้างในงวดนั้นมากกว่าที่จะประเมินจากอายุของลูกหนี้หรือเปล่าครับ เพราะโดยทั่วไปในระหว่างงวดหรือไตรมาสคงยังไม่สามารถประเมินว่าหนี้จะสูญเพราะระยะเวลาสั้นเกินไปเพราะส่วนใหญ่การซื้อขายจะให้เครดิตกัน 30-45 วัน การประมาณการหนี้สงสัยจะสูญน่าจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 19
ถ้าการบันทึกหนี้สูญอย่างนี้ เท่ากับทำให้งบการเงินบิดเบือนจากความเป็นจริงในงวดนั้นๆใช่ไหมครับ ยิ่งถ้ามีหนี้สูญจำนวนมากเมือเทียบกับรายได้แล้ว ยิ่งทำให้มีผลกับงบการเงินของงวดนั้นๆอย่างมีนัยยะสำคัญ
น่าจะทำให้บิดเบือนได้ และแต่งบัญชีง่ายขึ้นเพราะผลกระทบของหนี้สูญกลับบัญชีจะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงทันที และกำไรสุทธิเพิ่มทันที แทนที่จะทำตามประเพณีในการประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ขอถามอีกนิดหนึ่งครับ
1. จากที่ผมดูงบการเงินมาหลายบริษัท ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะลบในงบดุลในส่วนลูกหนี้ แต่จะบวกกลับเพิ่มในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานในส่วนปรับปรุงกำไร อย่างนี้ถูกต้องไหมครับ แล้วผมไม่เห็นมีในส่วนของหนี้สงสัยจะสูญในแต่ละงวดในงบกำไรขาดทุนเลย แล้วถ้ามีบันทึกแล้วต้องไปปรับในกระแสเงินสดในกิจกรรมดำเนินงานในหมวดไหนครับ ถ้าปรับในการปรับปรุงในส่วนกำไรจะซ้ำซ้อนกับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญหรือเปล่าครับ
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะลบจากลูกหนี้ ในงบดุล
หนี้สงสัยจะสูญจะลบในงบกำไรขาดทุนเพราะถือเป็นค่าใช้จ่าย
หนี้สงสัยจะสูญที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายคือ ส่วนต่างระหว่างค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญปลายงวดกับต้นงวด (คือ ค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญส่วนที่เพิ่มขึ้นในระหว่างงวด)
หนี้สงสัยจะสูญจะบวกกลับในงบกระแสเงินสดเพราะถือเป็นค่าใช้จ่ายไม่ใช่เงินสดที่ต้องนำมาบวกกลับกับกำไรตามเกณฑ์คงค้างเพื่อหากำไรที่เป็นเงินสด
2. ในการประมาณการหนี้สงสัยจะสูญน่าจะประมาณการเป็นเปอร์เซ็นจากยอดหนี้คงค้างในงวดนั้นมากกว่าที่จะประเมินจากอายุของลูกหนี้หรือเปล่าครับ เพราะโดยทั่วไปในระหว่างงวดหรือไตรมาสคงยังไม่สามารถประเมินว่าหนี้จะสูญเพราะระยะเวลาสั้นเกินไปเพราะส่วนใหญ่การซื้อขายจะให้เครดิตกัน 30-45 วัน การประมาณการหนี้สงสัยจะสูญน่าจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่าครับ
ถ้าประมาณแค่ยอดหนี้คงค้างในงวดนั้น ผลที่ได้จะไม่รวมการ update ประมาณหนี้สงสัยจะสูญจากยอดลูกหนี้เดิมที่เคยทำไว้ในงวดก่อน (เมื่อเวลาผ่านไปการประมาณเดิมอาจผิดไปจากยอดจริงที่เกิดขึ้น) ดังนั้น ในทางบัญชี เราจึงทำการประมาณหนี้สงสัยจะสูญใหม่จากยอดลูกหนี้ทั้งจำนวนเพื่อหาค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เป็นปัจจุบันแล้วนำไปลบจากยอดลูกหนี้ทั้งสิ้นในงบดุล ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญปลายงวดที่เพิ่มขึ้นจากต้นงวดคือ ค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญสำหรับงวดที่แสดงในงบกำไรขาดทุน และถือเป็นรายการบวกกลับในงบกระแสเงินสด
น่าจะทำให้บิดเบือนได้ และแต่งบัญชีง่ายขึ้นเพราะผลกระทบของหนี้สูญกลับบัญชีจะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงทันที และกำไรสุทธิเพิ่มทันที แทนที่จะทำตามประเพณีในการประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ขอถามอีกนิดหนึ่งครับ
1. จากที่ผมดูงบการเงินมาหลายบริษัท ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะลบในงบดุลในส่วนลูกหนี้ แต่จะบวกกลับเพิ่มในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานในส่วนปรับปรุงกำไร อย่างนี้ถูกต้องไหมครับ แล้วผมไม่เห็นมีในส่วนของหนี้สงสัยจะสูญในแต่ละงวดในงบกำไรขาดทุนเลย แล้วถ้ามีบันทึกแล้วต้องไปปรับในกระแสเงินสดในกิจกรรมดำเนินงานในหมวดไหนครับ ถ้าปรับในการปรับปรุงในส่วนกำไรจะซ้ำซ้อนกับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญหรือเปล่าครับ
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะลบจากลูกหนี้ ในงบดุล
หนี้สงสัยจะสูญจะลบในงบกำไรขาดทุนเพราะถือเป็นค่าใช้จ่าย
หนี้สงสัยจะสูญที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายคือ ส่วนต่างระหว่างค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญปลายงวดกับต้นงวด (คือ ค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญส่วนที่เพิ่มขึ้นในระหว่างงวด)
หนี้สงสัยจะสูญจะบวกกลับในงบกระแสเงินสดเพราะถือเป็นค่าใช้จ่ายไม่ใช่เงินสดที่ต้องนำมาบวกกลับกับกำไรตามเกณฑ์คงค้างเพื่อหากำไรที่เป็นเงินสด
2. ในการประมาณการหนี้สงสัยจะสูญน่าจะประมาณการเป็นเปอร์เซ็นจากยอดหนี้คงค้างในงวดนั้นมากกว่าที่จะประเมินจากอายุของลูกหนี้หรือเปล่าครับ เพราะโดยทั่วไปในระหว่างงวดหรือไตรมาสคงยังไม่สามารถประเมินว่าหนี้จะสูญเพราะระยะเวลาสั้นเกินไปเพราะส่วนใหญ่การซื้อขายจะให้เครดิตกัน 30-45 วัน การประมาณการหนี้สงสัยจะสูญน่าจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่าครับ
ถ้าประมาณแค่ยอดหนี้คงค้างในงวดนั้น ผลที่ได้จะไม่รวมการ update ประมาณหนี้สงสัยจะสูญจากยอดลูกหนี้เดิมที่เคยทำไว้ในงวดก่อน (เมื่อเวลาผ่านไปการประมาณเดิมอาจผิดไปจากยอดจริงที่เกิดขึ้น) ดังนั้น ในทางบัญชี เราจึงทำการประมาณหนี้สงสัยจะสูญใหม่จากยอดลูกหนี้ทั้งจำนวนเพื่อหาค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เป็นปัจจุบันแล้วนำไปลบจากยอดลูกหนี้ทั้งสิ้นในงบดุล ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญปลายงวดที่เพิ่มขึ้นจากต้นงวดคือ ค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญสำหรับงวดที่แสดงในงบกำไรขาดทุน และถือเป็นรายการบวกกลับในงบกระแสเงินสด
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 20
ถ้าการตั้งค่าหนี้สงสัยจะสูญถือเป็นรายการบวกกลับในงบกระแสเงินสด งั้นการกลับหนี้สงสัยจะสูญ ก็ต้องเป็นรายการบวกกลับด้วยสิครับ เพราะเหมือนหนี้ที่เราตัดหนี้เป็นหนี้สูญไปแล้ว ลูกหนี้กับเปลี่ยนใจมาจ่ายให้เรา เงินมันเข้ามา มันต้องบวกเพิ่มในงบกระแสเงินสดไม่ใช่เหรอครับอาจารย์ครับparporn เขียน:ความเข้าใจเบื้องต้นก็ถูกอยู่ แต่.....prasaen เขียน:ผมขอสรุปความเข้าใจนิดหนึ่งนะครับ ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกหรือเปล่ายังไงช่วยตรวจสอบให้หน่อยนะครับ
1. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จะสรุปจากลูกหนี้ในปลายงวด และจะชี้แจงอายุของลูกหนี้ในหมายเหตุประกอบการเงินในหมวดลูกหนี้ และบริษัทส่วนใหญ่จะตัดเป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับลูกหนี้ที่มีระยะเวลาค้างชำระเกิน 12 เดือน
2. หนี้สงสัยจะสูญ คือหนี้สงสัยจะสูญสำหรับแต่ละงวด พองวดต่อไปลูกหนี้ที่เคยตัดจากงวดที่ผ่านมา จะไม่นำมาตัดอีก แต่ส่วนใหญ่บริษัทจะตัดเป็นหนี้สงสัยจะสูญเมื่อค้างชำระเกิน 12 เดือน แต่งบรายไตรมาสหรืองวดรายปียังไงก็ไม่น่าเกิน 12 เดือน เพราะฉะนั้นในงบกำไรขาดทุนจะไม่มีหนี้สงสัยจะสูญ แต่ผมเจอหนี้สงสัยจะสูญ (โอนกลับ) ที่ระบุไว้ในงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน น่าจะบวกกลับจากการหักในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ แต่มันเป็นไปได้เหรอครับจากเหตุผลเรื่องอายุหนี้ตามข้างบน หรือผมเข้าใจอะไรผิด ขอบคุณครับ
1. เรื่องอายุหนี้กับการตัดหนี้สูญนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายและสิ่งแวดล้อมของบริษัท อาจารย์ไม่เคยทำวิจัยเลยสรุปให้คุณไม่ได้ว่า "บริษัทส่วนใหญ่" ตัดหนี้ค้างชำระเกิน 12 เดือนเป็นหนี้สงสัยจะสูญหรือไม่ เพราะบางบริษัทตั้งประมาณการหนี้สูญเป็นอัตราเปอร์เซ็นต์ เช่น เกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน ตัด 80% ส่วนบางบริษัท ถ้าลูกหนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือนก็ตั้งเป็นหนี้สงสัยจะสูญทันที
2. ในงวดไตรมาส หนี้สงสัยจะสูญจะเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับงบปี เพียงแต่จำนวนอาจน้อยกว่า เรื่องเกี่ยวกับว่าลูกหนี้ค้างชำระเกิน 1 ปีจะไม่ทำให้เกิดหนี้สงสัยจะสูญในงบไตรมาสนั้นไม่จริง เนื่องจากลูกหนี้ทยอยเกิดขึ้นทุกวัน แม้บริษัทจะมีนโยบายที่จะถือลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 1 ปีเป็นหนี้สงสัยจะสูญทั้งจำนวน ในแต่ละไตรมาส ก็ยังจะมีหนี้สงสัยจะสูญให้ตัดเป็นค่าใช้จ่ายอยู่ดี
3. เมื่อเราพูดถึงการตัดหนี้สูญ เรามักหมายถึงการตัดบัญชีหนี้สูญ (คือการล้างลูกหนี้) ออกจากงบดุล ในขณะเดียวกับที่ล้างค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แต่บริษัทในประเทศไทยชอบที่จะตัดลูกหนี้ที่เป็นหนี้สูญเป็นค่่าใช้จ่ายหนี้สูญในงบกำไรขาดทุนทันที ดังนั้น ถ้าลูกหนี้ที่ตัดบัญชีไปแล้วเกิดกลับใจมาจ่ายหนี้ บริษัทต้องกลับบัญชีหนี้สูญ โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายติดลบ (เพราะเคยหักเป็นค่าใช้จ่ายไปแล้วในงวดก่อน)
ในส่วนที่คุณเห็นหนี้สงสัยจะสูญในงบกระแสเงินสดนั้น เกิดขึ้นได้ทั้ง 2 กรณีคือ ทั้งการตั้งหนี้สงสัยจะสูญซึ่งถือเป็นรายการบวกกลับในงบกระแสเงินสด และการกลับบัญชีหนี้สูญซึ่งถือเป็นรายการหักออก
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 38
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 21
การกลับรายการหนี้สงสัยจะสูญ จะเป็นรายการต้องนำมาหักออกจากกำไรสุทธิ ในส่วนที่เป็นกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และเมื่อได้รับชำระหนี้ การลดลงของลูกหนี้จะเป็นกระแสเงินสดจากการดำเนินงานครับ ตัวอย่าง ปลายปีที่ 1 บริษัทมีลูกหนี้ 2.0 ล้านบาท มีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 0.7 ล้านบาท ดังนั้นลูกหนี้-สุทธิ จำนวน 1.3 ล้านบาท ต่อมามีการกลับรายการหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 0.2 ล้านบาท ในปีที่ 2 เนื่องจากคาดว่าจะได้รับเงินคืนจากลูกหนี้รายหนึ่งแต่ยังไม่รับชำระเงินจริงในปีที่ 2 ดังนั้นหากมีรายการเพียงเท่านี้ ลูกหนี้ก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญปลายปีที่ 2 เท่ากับ 2.0 ล้านบาท และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะเท่ากับ 0.5 ล้านบาท ยอดลูกหนี้-สุทธิ เท่ากับ 1.5 ล้านบาท ในงบกำไรขาดทุน จะมีรายการหนี้สงสัยจะสูญ(กลับรายการ) ซึ่งเป็นรายได้ของปีที่ 2 จำนวน 0.2 ล้านบาท ในงบกระแสเงินสด ก็จะต้องนำรายการนี้ไปหักออกจากกำไรสุทธิ เพื่อให้ได้กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน เนื่องจากเป็นรายการนี้เป็นรายการที่ไม่ใช่เงินสด สังเกตได้ว่า ในปีที่ 2 จะไม่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของยอดลูกหนี้ก่อนหักค่าเผื่อฯ เนื่องจากยอดเหลือเท่ากับ 2.0 ล้านเท่าปลายปีที่ 1 ครับ0
UpvoteDownvote
parporn wrote:
prasaen wrote:
ผมขอสรุปความเข้าใจนิดหนึ่งนะครับ ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกหรือเปล่ายังไงช่วยตรวจสอบให้หน่อยนะครับ
1. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จะสรุปจากลูกหนี้ในปลายงวด และจะชี้แจงอายุของลูกหนี้ในหมายเหตุประกอบการเงินในหมวดลูกหนี้ และบริษัทส่วนใหญ่จะตัดเป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับลูกหนี้ที่มีระยะเวลาค้างชำระเกิน 12 เดือน
2. หนี้สงสัยจะสูญ คือหนี้สงสัยจะสูญสำหรับแต่ละงวด พองวดต่อไปลูกหนี้ที่เคยตัดจากงวดที่ผ่านมา จะไม่นำมาตัดอีก แต่ส่วนใหญ่บริษัทจะตัดเป็นหนี้สงสัยจะสูญเมื่อค้างชำระเกิน 12 เดือน แต่งบรายไตรมาสหรืองวดรายปียังไงก็ไม่น่าเกิน 12 เดือน เพราะฉะนั้นในงบกำไรขาดทุนจะไม่มีหนี้สงสัยจะสูญ แต่ผมเจอหนี้สงสัยจะสูญ (โอนกลับ) ที่ระบุไว้ในงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน น่าจะบวกกลับจากการหักในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ แต่มันเป็นไปได้เหรอครับจากเหตุผลเรื่องอายุหนี้ตามข้างบน หรือผมเข้าใจอะไรผิด ขอบคุณครับ
ความเข้าใจเบื้องต้นก็ถูกอยู่ แต่.....
1. เรื่องอายุหนี้กับการตัดหนี้สูญนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายและสิ่งแวดล้อมของบริษัท อาจารย์ไม่เคยทำวิจัยเลยสรุปให้คุณไม่ได้ว่า "บริษัทส่วนใหญ่" ตัดหนี้ค้างชำระเกิน 12 เดือนเป็นหนี้สงสัยจะสูญหรือไม่ เพราะบางบริษัทตั้งประมาณการหนี้สูญเป็นอัตราเปอร์เซ็นต์ เช่น เกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน ตัด 80% ส่วนบางบริษัท ถ้าลูกหนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือนก็ตั้งเป็นหนี้สงสัยจะสูญทันที
2. ในงวดไตรมาส หนี้สงสัยจะสูญจะเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับงบปี เพียงแต่จำนวนอาจน้อยกว่า เรื่องเกี่ยวกับว่าลูกหนี้ค้างชำระเกิน 1 ปีจะไม่ทำให้เกิดหนี้สงสัยจะสูญในงบไตรมาสนั้นไม่จริง เนื่องจากลูกหนี้ทยอยเกิดขึ้นทุกวัน แม้บริษัทจะมีนโยบายที่จะถือลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 1 ปีเป็นหนี้สงสัยจะสูญทั้งจำนวน ในแต่ละไตรมาส ก็ยังจะมีหนี้สงสัยจะสูญให้ตัดเป็นค่าใช้จ่ายอยู่ดี
3. เมื่อเราพูดถึงการตัดหนี้สูญ เรามักหมายถึงการตัดบัญชีหนี้สูญ (คือการล้างลูกหนี้) ออกจากงบดุล ในขณะเดียวกับที่ล้างค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แต่บริษัทในประเทศไทยชอบที่จะตัดลูกหนี้ที่เป็นหนี้สูญเป็นค่่าใช้จ่ายหนี้สูญในงบกำไรขาดทุนทันที ดังนั้น ถ้าลูกหนี้ที่ตัดบัญชีไปแล้วเกิดกลับใจมาจ่ายหนี้ บริษัทต้องกลับบัญชีหนี้สูญ โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายติดลบ (เพราะเคยหักเป็นค่าใช้จ่ายไปแล้วในงวดก่อน)
ในส่วนที่คุณเห็นหนี้สงสัยจะสูญในงบกระแสเงินสดนั้น เกิดขึ้นได้ทั้ง 2 กรณีคือ ทั้งการตั้งหนี้สงสัยจะสูญซึ่งถือเป็นรายการบวกกลับในงบกระแสเงินสด และการกลับบัญชีหนี้สูญซึ่งถือเป็นรายการหักออก
ถ้าการตั้งค่าหนี้สงสัยจะสูญถือเป็นรายการบวกกลับในงบกระแสเงินสด งั้นการกลับหนี้สงสัยจะสูญ ก็ต้องเป็นรายการบวกกลับด้วยสิครับ เพราะเหมือนหนี้ที่เราตัดหนี้เป็นหนี้สูญไปแล้ว ลูกหนี้กับเปลี่ยนใจมาจ่ายให้เรา เงินมันเข้ามา มันต้องบวกเพิ่มในงบกระแสเงินสดไม่ใช่เหรอครับอาจารย์ครับ
_________________
Simon Dhando
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 22
อ้อ เพราะว่ายังไม่ได้รับเงินนี้เอง เลยต้องหักออกจากกำไรสุทธิในงบกระแสเงินสด ขอบคุณครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 23
อ่านอย่างเดียวเข้าใจยาก และเข้าใจในหลักการ แต่ไม่ทราบว่าใครจะมีตัวอย่างให้ดูการลงบัญชีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ การหนี้สูญจริง หนี้ตั้งสำรองแล้วแต่เก็บหนี้ได้ในภายหลัง และหนี้ตัดสูญแล้วแต่เก็บได้ในภายหลัง....ให้เห็นการวิธีการลงบัญชีสัก 3-4 ไตรมาส........ขอมากไปไหมเนี่ย ยังไงก็ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 24
การตั้งสำรองหนี้สูญกาละมัง เขียน:อ่านอย่างเดียวเข้าใจยาก และเข้าใจในหลักการ แต่ไม่ทราบว่าใครจะมีตัวอย่างให้ดูการลงบัญชีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ การหนี้สูญจริง หนี้ตั้งสำรองแล้วแต่เก็บหนี้ได้ในภายหลัง และหนี้ตัดสูญแล้วแต่เก็บได้ในภายหลัง....ให้เห็นการวิธีการลงบัญชีสัก 3-4 ไตรมาส........ขอมากไปไหมเนี่ย ยังไงก็ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
Dr. หนี้สงสัยจะสูญ (ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน)
Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสันจะสูญ (รายการหักจากลูกหนี้ในงบดุล)
การตัดหนี้สูญ
Dr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (งบดุล แต่เมืองไทยชอบตัดตรงเข้าหนี้สงสัยจะสูญ เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มในงบกำไรขาดทุน)
Cr. ลูกหนี้ (งบดุล)
การตั้งสำรองแล้วเก็บได้ภายหลังบันทึกตามปกติ การตั้งค่าเผื่อครั้งต่อไปจะมีการปรับปรุงมูลค่าไปในตัวอยู่แล้ว
Dr. เงินสด
Cr. ลูกหนี้
ตัดหนี้สูญไปแล้วเก็บเงินได้ภายหลัง
เมื่อทราบว่าลูกหนี้จะมาชำระเงิน
Dr. ลูกหนี้ (เท่ากับจำนวนที่เคยล้างออกไป)
Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (ถ้าเคยล้างจากจำนวนนี้ ถ้าเคยตัดเป็นหนี้สงสัยจะสูญในงบกำไรขาดทุนไปแล้ว บริษัทจะชอบบันทึกเป็นหนี้สูญกลับบัญชี)
เมื่อลูกหนี้มาชำระเงิน
Dr. เงินสด
Cr. ลูกหนี้
การบันทึกบัญชีเบื้องต้นเป็นอย่างนี้ หากอยากรู้ว่าบันทึกบัญชี 3-4 ไตรมาสทำอย่างไร ลองนั่งทำตัวอย่างดูเอง แล้ว post ขึ้นมาใหม่ เดี๋ยวอาจารย์ๆ คนใดคนหนึ่งจะเข้ามาช่วยตรวจให้ว่าถูกหรือเปล่า
-
- Verified User
- โพสต์: 547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 26
อ่านแล้วงงครับ ยกตัวอย่างจากบทความก่อนหน้า เรื่องสำรองของธนาคาร ถ้าเป็นกรณี (ก) และ (ข) ผมเข้าใจว่าโอกาสที่หนี้สูญคืนกลับ ก็เป็นไปได้ยากมาก และ ถึงแม้ว่าในทางบัญชีจะบวกกลับเข้าไปในกระแสเงินสดดำเนินงาน แต่กรณีถ้าช่วงวิกฤติที่หนี้สูญเพิ่มขึ้นมากๆ โอกาสที่กระแสเงินสดสุทธิ เป็นลบก็จะมีมากเหมือนกัน แล้วแบบนี้ แบงค์ไม่แย่ ล้มกันระเนระนาดเหรอครับ กระแสดเงินสดดำเนินงานบวกก็จริง แต่เอาเงินที่ไหนมาอุ้มได้ตลอด D/E แบงค์ปกติก็สูงอยู่แล้ว เหมือนมันผิดหลักความเป็นจริงไงก็ไม่รู้การจัดชั้นลูกหนี้หรือสินทรพย์ธนาคาร แบ่งเป็น
(ก) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ เช่น ตาย ล้มละลาย ถูกฟ้องยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๑๒ เดือน เป็นต้น
(ข) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๖ เดือน วงเงินโอดีถูกยกเลิกวงเงินหรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือครบกำหนดสัญญาแล้ว และไม่มีเม็ดเงินนำเข้าบัญชีเพื่อชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า ๖ เดือน นับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงินหรือวันที่ครบกำหนดสัญญาแล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เป็นต้น
(ค) สินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๓ เดือน เป็นต้น
(ง) สินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษหรือสินทรัพย์จัดชั้นควรระวังเป็นพิเศษ ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๑ เดือน เป็นต้น
(จ) สินทรัพย์จัดชั้นปกติ ลูกหนี้ที่ไม่ผิดนัดชำระ ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันไม่เกินกว่า ๑ เดือน เป็นต้น
การกันเงินสำรอง
-ลูกหนี้จัดชั้นปกติ 1%
-ลูกหนี้จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ 2%
-ลูกหนี้จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน 100%
-ลูกหนี้จัดชั้นสงสัย 100%
-ลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญ 100%
==> เงินจ่ายออกไป ==> ไม่ได้คืน ==> กลายเป็นหนี้สูญ ==> แ้ล้วถ้าเป็นแบบนี้มากๆไม่เจ๊งเหรอครับ
มันสำคัญที่การดูคุณภาพลูกหนี้ด้วย ไม่ใช่เหรอครับ ถ้าหนี้สูญเยอะๆและไม่มีแนวโน้มลด บริษัทนั้นจะดีได้อย่างไร ถึงแม้จะตกแต่งบัญชีด้วยค่าเผื่อหนี้สูญอย่างไร สุดท้ายหนี้สูญที่แท้จริงที่เพิ่มขึ้นก็จะกลับมาหลอกหลอนอยู่ดี
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 27
นั่นแหละค่ะที่เขากลัวกันfirewalker เขียน:อ่านแล้วงงครับ ยกตัวอย่างจากบทความก่อนหน้า เรื่องสำรองของธนาคาร ถ้าเป็นกรณี (ก) และ (ข) ผมเข้าใจว่าโอกาสที่หนี้สูญคืนกลับ ก็เป็นไปได้ยากมาก และ ถึงแม้ว่าในทางบัญชีจะบวกกลับเข้าไปในกระแสเงินสดดำเนินงาน แต่กรณีถ้าช่วงวิกฤติที่หนี้สูญเพิ่มขึ้นมากๆ โอกาสที่กระแสเงินสดสุทธิ เป็นลบก็จะมีมากเหมือนกัน แล้วแบบนี้ แบงค์ไม่แย่ ล้มกันระเนระนาดเหรอครับ กระแสดเงินสดดำเนินงานบวกก็จริง แต่เอาเงินที่ไหนมาอุ้มได้ตลอด D/E แบงค์ปกติก็สูงอยู่แล้ว เหมือนมันผิดหลักความเป็นจริงไงก็ไม่รู้การจัดชั้นลูกหนี้หรือสินทรพย์ธนาคาร แบ่งเป็น
(ก) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ เช่น ตาย ล้มละลาย ถูกฟ้องยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๑๒ เดือน เป็นต้น
(ข) สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๖ เดือน วงเงินโอดีถูกยกเลิกวงเงินหรือมีวงเงินตามสัญญาแต่ยอดหนี้เกินวงเงิน หรือครบกำหนดสัญญาแล้ว และไม่มีเม็ดเงินนำเข้าบัญชีเพื่อชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า ๖ เดือน นับแต่วันที่ถูกยกเลิกวงเงิน หรือวันที่ยอดหนี้เกินวงเงินหรือวันที่ครบกำหนดสัญญาแล้วแต่วันใดจะถึงก่อน ลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เป็นต้น
(ค) สินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๓ เดือน เป็นต้น
(ง) สินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษหรือสินทรัพย์จัดชั้นควรระวังเป็นพิเศษ ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า ๑ เดือน เป็นต้น
(จ) สินทรัพย์จัดชั้นปกติ ลูกหนี้ที่ไม่ผิดนัดชำระ ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันไม่เกินกว่า ๑ เดือน เป็นต้น
การกันเงินสำรอง
-ลูกหนี้จัดชั้นปกติ 1%
-ลูกหนี้จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ 2%
-ลูกหนี้จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน 100%
-ลูกหนี้จัดชั้นสงสัย 100%
-ลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญ 100%
==> เงินจ่ายออกไป ==> ไม่ได้คืน ==> กลายเป็นหนี้สูญ ==> แ้ล้วถ้าเป็นแบบนี้มากๆไม่เจ๊งเหรอครับ
มันสำคัญที่การดูคุณภาพลูกหนี้ด้วย ไม่ใช่เหรอครับ ถ้าหนี้สูญเยอะๆและไม่มีแนวโน้มลด บริษัทนั้นจะดีได้อย่างไร ถึงแม้จะตกแต่งบัญชีด้วยค่าเผื่อหนี้สูญอย่างไร สุดท้ายหนี้สูญที่แท้จริงที่เพิ่มขึ้นก็จะกลับมาหลอกหลอนอยู่ดี
-
- Verified User
- โพสต์: 547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 28
ขอบคุณมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 72
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 29
ผมรบกวนขอถามหน่อยครับผม
หลังจากตัดหนี้สูญ เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนแล้ว
ในงบกระแสเงินสด :: จะบันทึกอย่างไรครับ
หนี้สงสัยจะสูญพอเข้าใจว่า ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดออกไปจริงๆ จะบวกกลับมาให้ แต่หนี้สูญนี้จะบวกกลับมาในงบกระแสเงินสดไหมครับผม
หลังจากตัดหนี้สูญ เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนแล้ว
ในงบกระแสเงินสด :: จะบันทึกอย่างไรครับ
หนี้สงสัยจะสูญพอเข้าใจว่า ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดออกไปจริงๆ จะบวกกลับมาให้ แต่หนี้สูญนี้จะบวกกลับมาในงบกระแสเงินสดไหมครับผม
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
โพสต์ที่ 30
ตอนนี้ไม่มีคำนี้ในงบการเงิน แต่ทว่ามีคำหนึ่งแค่ คืน ขาดทุนจากการประเมินเครดิต (อะไรประมาณนี้) นั้นคือการตั้งหนี้สงสัยจะสูญไว้Zhangliang เขียน: ↑ศุกร์ ต.ค. 30, 2020 10:55 pmผมรบกวนขอถามหน่อยครับผม
หลังจากตัดหนี้สูญ เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนแล้ว
ในงบกระแสเงินสด :: จะบันทึกอย่างไรครับ
หนี้สงสัยจะสูญพอเข้าใจว่า ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดออกไปจริงๆ จะบวกกลับมาให้ แต่หนี้สูญนี้จะบวกกลับมาในงบกระแสเงินสดไหมครับผม
คำถามคือ การตั้งค่านี้คือ เอาข้อมูลในอดีต หรือ ความรู้ความสามารถของผู้บริหารกิจการนั้นๆมาตั้งค่านี้ขึ้น นั้นเอง
คำถามต่อมา การตั้งค่านี้มันเปลี่ยนกับเงินสดหรือไม่ นั้นคือไม่เกี่ยว ดังนั้น ถ้าหากิจการใดที่ใช้งบกระแสเงินสดแบบทางอ้อม ที่มาจากบรรทัดของ กำไรขาดทุนก่อนภาษี หรืออะไรทำนองนี้ ก็ต้องบวกลบรายการที่ไม่ใช่เงินสดเข้าไปก่อน
ซึ่งรายการนี้ คือ รายการไม่ใช่เงินสด ครับ สำหรับหนี้สงสัยจะสูญ คือ ยังไม่สูญ นั้นเอง