เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไรขาด


โพสต์ โพสต์
m.ravipas
Verified User
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 0

เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไรขาด

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เงินลงทุนในบริษัทร่วม
เงินลงทุนในบริษัทร่วม เกิดขึ้นเมื่อบริษัทใหญ่ลงทุนซื้อหุ้นในบริษัทร่วม จนสามารถเข้าไปมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทร่วม บริษัทใหญ่จะนำเงินลงทุนในบริษัทร่วมมาแสดงภายใต้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงิน

การที่บริษัทใหญ่จะมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญเหนือบริษัทร่วมได้นั้น บริษัทใหญ่ต้องสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทร่วม หลักฐานที่แสดงว่าบริษัทใหญ่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทร่วม เช่น

- มีตัวแทนอยู่ในคณะกรรมการบริษัทหรือผู้บริหารที่มีอำนาจเทียบเท่า
- มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย
- มีรายการระหว่างผู้ลงทุนกับกิจการที่ถูกลงทุนอย่างเป็นสาระสำคัญ
- มีการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหาร
- มีการให้ข้อมูลทางเทคนิคที่สำคัญในการดำเนินงาน

ถ้าบริษัทหนึ่งถือหุ้นในอีกบริษัทหนึ่งอย่างน้อย 20% แต่ไม่ถึง 50% ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ลงทุนมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อผู้ถูกลงทุน (นอกจากจะพิสูจน์เป็นอย่างอื่น) เนื่องจากผู้ลงทุนสามารถเข้าไปมีอำนาจในการออกเสียงทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม (ทางอ้อมเช่น โดยผ่านทางบริษัทย่อย) จนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของผู้ถูกลงทุนได้

เมื่อบริษัทใหญ่สามารถเข้าไปมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทร่วม บริษัทใหญ่จะแสดง "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" โดยใช้วิธีส่วนได้เสีย (Equity Method) ในงบการเงินรวม (งบรวม) อย่างไรก็ดี ในงบการเงินเฉพาะกิจการ (งบเดี่ยว) บริษัทใหญ่จะแสดงเงินลงทุนในบริษัทร่วมโดยใช้วิธีราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน


วิธีส่วนได้เสีย (Equity method)

หลังจากที่บริษัทใหญ่รับรู้ "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" ด้วยราคาที่จ่ายซื้อในตอนแรก บริษัทใหญ่ต้องปรับปรุง "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" (ที่แสดงในงบรวม) ด้วยกำไรหรือขาดทุนสุทธิตามสัดส่วนที่บริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทร่วม พูดง่ายๆ ก็คือ ณ วันสิ้นงวดต่อๆไป "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยสัดส่วนกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นกับบริษัทร่วม (ตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทใหญ่) เช่น บริษัทร่วมประกาศกำไรสุทธิสิ้นปีจำนวน 100,000 บาท ถ้าบริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทร่วมร้อยละ 30 มูลค่าตามบัญชีของ "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น = 30%*100,000 = 30,000 บาท

อย่างไรก็ดี ถ้าบริษัทร่วมจ่ายเงินปันผลให้กับบริษัทใหญ่ในระหว่างงวด บริษัทใหญ่ต้องนำเงินปันผลรับมาหักออกจาก "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" เนื่องจากบริษัทใหญ่รับรู้ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากบริษัทร่วมมาไว้ในบัญชีแล้ว หากไม่นำเงินปันผล (ซึ่งเป็นการคืนกำไรให้บริษัทใหญ่) มาหักออก ผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมจะถูกนับซ้ำในงบการเงินรวมของบริษัทใหญ่

ตามวิธีส่วนได้เสีย บริษัทใหญ่ต้องตัดกำไรขาดทุนที่เกิดจากรายการระหว่างกัน (รายการระหว่างบริษัทใหญ่กับบริษัทร่วม) ออกให้หมดก่อนที่จะนำสัดส่วนกำไรขาดทุนจากบริษัทร่วมมารวมในเงินลงทุน ตัวอย่างรายการระหว่างกันก็เช่น การซื้อหรือขายอสังหาริมทรัพย์หรือสินทรัพย์อื่น การเป็นตัวแทน การให้หรือรับข้อมูลจากการวิจัยและพัฒนา การให้สิทธิในการใช้สินทรัพย์ การมีสัญญาบริหารจัดการ เป็นต้น เนื่องจากกำไรขาดทุนของรายการระหว่างกันได้รวมอยู่ในสัดส่วนกำไรขาดทุนจากบริษัทร่วมอยู่แล้ว หากไม่ตัดออก ผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมจะถูกนับซ้ำในงบการเงินรวมของบริษัทใหญ่เช่นกัน

นอกจากการปรับปรุงที่กล่าวมาแล้วข้างต้น วิธีส่วนได้เสียยังกำหนดให้บริษัทใหญ่ต้องนำรายการบางรายการมาหักจาก "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" เช่น การตัดค่าเสื่อมราคาของส่วนต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ในบริษัทร่วม การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนต่างๆ ที่เกิดจากการรวมกิจการ เป็นต้น

ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม
ตามวิธีส่วนได้เสีย เมื่อบริษัทใหญ่รับรู้การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในงบดุล บริษัทใหญ่ต้องรับรู้ "ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม" ในงบกำไรขาดทุน (ตามสัดส่วนที่บริษัทใหญ่ถือหุ้นในบริษัทร่วม) อย่าลืมว่า บริษัทใหญ่ต้องตัดเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทร่วมออกจากงบกำไรขาดทุนรวมเมื่อบริษัทใหญ่รับรู้ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนดังกล่าว

งบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทใหญ่
ในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทใหญ่ "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" จะแสดงในงบดุลด้วยราคาทุนเดิมหักค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน นอกจากนั้น บริษัทจะรับรู้ "เงินปันผลับ" เป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน (แทนการรับรู้ "ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม")

สรุป
บริษัทใหญ่ที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทร่วมต้องแสดง "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" ในงบการเงินเฉพาะกิจการด้วยวิธีราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่า และรับรู้ "เงินปันผล" ที่ได้รับจากบริษัทร่วมเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน

นอกจากนั้น บริษัทใหญ่ยังต้องแสดง "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" ในงบดุลรวมตามวิธีส่วนได้เสีย และรับรู้ "ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม" เป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนรวม ในขณะที่ต้องตัดเงินปันผลรับออกจากรายได้เพื่อป้องกันการนับซ้ำ

ตามวิธีส่วนได้เสีย "เงินลงทุนในบริษัทร่วม" ที่แสดงในงบดุลรวม (ณ วันสิ้นงวด) คำนวณคร่าวๆ ได้ดังนี้
เงินลงทุนในบริษัทร่วมต้นงวด
+/- สัดส่วนกำไรหรือขาดทุนจากบริษัทร่วมตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทใหญ่
- เงินปันผลรับ
- ค่าเสื่อมราคาของมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ในบริษัทร่วมที่สูงกว่าราคาทุน
- ค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดจาการรวมกิจการ
เงินลงทุนในบริษัทร่วมปลายงวด
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

แล้วเวลาในการวิเคราะห์งบการเงิน งบเดี่ยว กับ งบรวม มีข้อแตกต่างกันอย่างไรครับ และมีจุดไหนที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในแต่ละงบบ้างครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อ่านแล้วงงๆคับ
ถ้าบ. ร่วมขาดทุน งบเฉพาะกิจการ จะบันทึกในงบไหนอย่างไร
หรือไม่ต้องบันทึกคับ
show me money.
krai_pit
Verified User
โพสต์: 1
ผู้ติดตาม: 0

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ตอบคำถามของคุณchatchaiน่ะค่ะ

1. เวลาในการวิเคราะห์งบการเงิน งบเดี่ยว กับ งบรวม มีข้อแตกต่างกันอย่างไรครับ และมีจุดไหนที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในแต่ละงบบ้างครับ

ตอบ งบเดี่ยวหรือที่เรียกว่า งบเฉพาะกิจการ เป็นงบการเงินที่นำเสนอโดยบริษัทใหญ่ หรือโดยบริษัทร่วม เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากงบการเงินรวมที่เป็นงบการเงินที่นำเสนอโดยกลุ่มกิจการ (บริษัทใหญ่รวมกับบริษัทย่อย) โดยเสมือนว่าเป็นหน่วยงานทางเ...ศรษฐกิจเดียวกัน สิ่งที่พึงระวังในการวิเคราะห์กรณีงบการเงินเฉพาะของบริษัทใหญ่ คือ งบการเงินของบริษัทใหญ่จะแสดงเงินลงทุนในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมด้วยราคาทุน และรับรู้เงินปันผลจากบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมเป็นรายได้เมื่อมีการประกาศจ่าย (โปรดอย่าสับสนระหว่างงบเฉพาะกิจการกับงบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย) ส่วนงบการเงินรวม นั้นจะรวมงบการเงินบริษัทใหญ่กับบริษัทย่อยทั้งหมดไว้ในงบการเงินรวม โดยจะตัดรายการระหว่างกันของกิจการที่อยู่ในกลุ่มเช่น การซื้อขายระหว่างกัน การกู้ยืมเงินระหว่างกัน ฯลฯ งบการเงินรวมจะแสดงให้เห็นภาพรวมได้ดีกว่างบเฉพาะกิจการ เนื่องจากงบเฉพาะกิจการสามารถตกแต่งบัญชีได้ไม่ยาก โดยการใช้รายการระหว่างกัน การตั้งราคาโอนระหว่างบริษัทในเครือ อย่างไรก็ตามหากมีงบการเงินเฉพาะกิจการอย่างเดียว ควรอ่านหมายเหตุประกอบงบการเงิน เกี่ยวกับรายการระหว่างกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน

ตอบคำถามของคุณnut776 น่ะค่ะ

2. ถ้าบ. ร่วมขาดทุน งบเฉพาะกิจการ จะบันทึกในงบไหนอย่างไร
หรือไม่ต้องบันทึกคับ


ตอบ เนื่องจากงบเฉพาะกิจการของบริษัทที่ลงทุนในบริษัทร่วมจะบันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามราคาทุน ดังนั้นหากบริษัทร่วมขาดทุน งบเฉพาะกิจการไม่ต้องบันทึกรายการบัญชี แต่อาจต้องนำมาพิจารณาเรื่องการด้อยค่าของเงินลงทุน แต่สำหรับงบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้ส่วนเสียนั้นจะรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนของบริษัทร่วมตามสัดส่วนของบริษัทที่ไปถือหุ้น ทำนองเดียวกับเมื่อบริษัทร่วมมีกำไร แต่ว่ามูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทร่วมที่ปรากฏในงบแสดงฐานะการเงินของบริษัทที่ลงทุนจะมีมูลค่าลดลงแทนที่จะเพิ่มขึ้น
ปล. ดังนั้นที่ได้กล่าวไว้ในข้อ 1 โปรดอย่าสับสนระหว่างงบเฉพาะกิจการกับงบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

หมายถึงว่า ถ้ามีการบันทึกด้อยค่า ต้องแสดงในหมายเหตุงบ ใช่ไหมคับ เพราะถ้าดูปีเดียว
ไม่ได้ดูปีต่อปี ก็ไม่น่าจะรู้ว่า มีการบันทึกด้อยค่า

และถ้าขาดทุนติดต่อกัน สามารถบันทึกการด้อยค่าสะสมกันจนทำให้ติดลบได้ใช่ไหมคับ


ขอบคุณคับ
show me money.
m.ravipas
Verified User
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 0

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

nut776 เขียน:หมายถึงว่า ถ้ามีการบันทึกด้อยค่า ต้องแสดงในหมายเหตุงบ ใช่ไหมคับ เพราะถ้าดูปีเดียว
ไม่ได้ดูปีต่อปี ก็ไม่น่าจะรู้ว่า มีการบันทึกด้อยค่า

และถ้าขาดทุนติดต่อกัน สามารถบันทึกการด้อยค่าสะสมกันจนทำให้ติดลบได้ใช่ไหมคับ


ขอบคุณคับ
ปกติการด้อยค่าของปีก่อนน่าจะแสดงในค่าเผื่อการด้อยค่า ถ้าดูหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับสินทรัพย์นั้น น่าจะเห็นบริษัทแสดงค่าเผื่อการด้อยค่าของปีก่อนๆ ให้เห็น

แต่ถ้าขาดทุนติดต่อกัน ค่าการเผื่อการด้อยค่าก็ไม่มีการสะสมค่ะ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

m.ravipas เขียน: แต่ถ้าขาดทุนติดต่อกัน ค่าการเผื่อการด้อยค่าก็ไม่มีการสะสมค่ะ
"ค่่าเผื่อการด้อยค่า" เกิดจากการวัดการด้อยค่าของสินทรัพย์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จำนวนการด้อยค่าที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลสะสมมาเมื่ออดีต แต่เนื่องจากการการวัดจำนวนการด้อยค่าทำขึ้นในคราวเดียว นักบัญชีจึงไม่เรียกค่าเผื่อการด้อยค่่าว่า "ค่าเผื่อการด้อยค่าสะสม"

แต่ถ้าถามว่า เมื่อสินทรัพย์ด้อยค่าไปแล้ว ปีต่อมาด้อยค่าเพิ่มขึ้นได้หรือไม่
คำตอบคือ ได้

สมมุติปีที่แล้วสินทรัพย์ด้อยค่าไปแล้ว 30 ลบ ต่อมาปีนี้ บริษัททำการวัดการด้อยค่าใหม่ สมมุติปีนี้วัดการด้อยค่่าได้ 60 ลบ บริษัทต้องบันทึกการด้อยค่าเพิ่ม 20 ลบ และเพิ่มค่าเผื่อการด้อยค่าให้เป็น 60 ลบ แต่ถ้าการด้อยค่่าลดลงเป็น 15 ลบ บริษัทต้องบันทึกกลับบัญชีค่าเผื่อการด้อยค่า 15 ลบ ดังนั้น ค่าเผื่อการด้อยค่าจึงไม่มีลักณะของการ "สะสม" เหมือนกับค่าเสื่อมราคาหรือค่าตัดจำหน่่าย เพราะถ้าปีถัดไปเศรษฐกิจดีขึ้น ค่าเผื่อการด้อยค่่าอาจลดลง เราจึงไม่เรียกรายการนี้เป็น ค่าเผื่อการด้อยค่าสะสม
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณคับ

รบกวนถามต่อคับ
แล้วถ้าเราดูงบ ณ ขนาดนั้น ก็จะเห็นเป็น เงินลงทุนที่บวกหรือลบกำไรขาดทุน ไปแล้วถูกต้องไหมคับ อย่างนี้บ. ต้องมีการแจ้ง เงินลงทุนตั้งต้นในหมายเหตุงบด้วยใช่ไหมคับ
แต่ถ้าผ่านไปหลายๆปี อาจจะบอกไม่ได้ว่าเงินลงทุนนั้น กำไรหรือขาดทุนในอดีต มาอย่างไรบ้าง
แต่จะเห็นแค่ผลลัพธ์รวม

ปล ขออภัยที่ถามจุกจิกคับ
show me money.
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

parporn เขียน:
m.ravipas เขียน: แต่ถ้าขาดทุนติดต่อกัน ค่าการเผื่อการด้อยค่าก็ไม่มีการสะสมค่ะ
"ค่่าเผื่อการด้อยค่า" เกิดจากการวัดการด้อยค่าของสินทรัพย์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จำนวนการด้อยค่าที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลสะสมมาเมื่ออดีต แต่เนื่องจากการการวัดจำนวนการด้อยค่าทำขึ้นในคราวเดียว นักบัญชีจึงไม่เรียกค่าเผื่อการด้อยค่่าว่า "ค่าเผื่อการด้อยค่าสะสม"

แต่ถ้าถามว่า เมื่อสินทรัพย์ด้อยค่าไปแล้ว ปีต่อมาด้อยค่าเพิ่มขึ้นได้หรือไม่
คำตอบคือ ได้

สมมุติปีที่แล้วสินทรัพย์ด้อยค่าไปแล้ว 30 ลบ ต่อมาปีนี้ บริษัททำการวัดการด้อยค่าใหม่ สมมุติปีนี้วัดการด้อยค่่าได้ 60 ลบ บริษัทต้องบันทึกการด้อยค่าเพิ่ม 20 ลบ และเพิ่มค่าเผื่อการด้อยค่าให้เป็น 60 ลบ แต่ถ้าการด้อยค่่าลดลงเป็น 15 ลบ บริษัทต้องบันทึกกลับบัญชีค่าเผื่อการด้อยค่า 15 ลบ ดังนั้น ค่าเผื่อการด้อยค่าจึงไม่มีลักณะของการ "สะสม" เหมือนกับค่าเสื่อมราคาหรือค่าตัดจำหน่่าย เพราะถ้าปีถัดไปเศรษฐกิจดีขึ้น ค่าเผื่อการด้อยค่่าอาจลดลง เราจึงไม่เรียกรายการนี้เป็น ค่าเผื่อการด้อยค่าสะสม
ขอโทษค่ะ

ปัจจุบันนี้เขาใช้คำพูดว่า "ค่าเผื่อการด้อยค่าสะสม" แล้ว อาจารย์ยังโบราณค่ะ ตามศัพท์บัญชีไม่ทัน
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

nut776 เขียน:ขอบคุณคับ

รบกวนถามต่อคับ
แล้วถ้าเราดูงบ ณ ขนาดนั้น ก็จะเห็นเป็น เงินลงทุนที่บวกหรือลบกำไรขาดทุน ไปแล้วถูกต้องไหมคับ อย่างนี้บ. ต้องมีการแจ้ง เงินลงทุนตั้งต้นในหมายเหตุงบด้วยใช่ไหมคับ
แต่ถ้าผ่านไปหลายๆปี อาจจะบอกไม่ได้ว่าเงินลงทุนนั้น กำไรหรือขาดทุนในอดีต มาอย่างไรบ้าง
แต่จะเห็นแค่ผลลัพธ์รวม

ปล ขออภัยที่ถามจุกจิกคับ
ถ้าดูงบรวม เราจะเห็นเงินลงทุนที่ใช้วิธีส่วนได้เสียคือ เงินลงทุน + - กำไรสุทธิ - เงินปันผล และ +- รายการอื่นๆ
แต่ถ้าดูงบเดี่ยว เงินลงทุนจะแสดงด้วยวิธีราคาทุนค่ะ
ดังนั้น ถ้าอยากอ้างอิงราคาทุนเดิม ให้ดูงบเดี่ยวเทียบกับงบรวม
bok
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 13
ผู้ติดตาม: 0

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ผมเป็นมือใหม่นะครับ ขอรบกวนถามคำถาม แต่ไม่ทราบว่าควรจะไปถามในกระทู้ไหน คิดว่าเนื้อหา น่าจะสอดคล้องกับ กระทู้นี้ที่สุด
ผิดพลาดประการใดขออภัยล่วงหน้านะครับ

ผมอยากทราบว่า เงินที่บริษัทบันทึกว่าเป็น เงินลงทุนระยาวนั้นบันทึกไว้ในส่วนของทรัพย์สิน
แล้วถ้าเกิดเหตุขัดข้อง เงินลงทุนนั้นมีค่าน้อยลง หรือแทบจะเป็นศูนย์ ที่นี้บริษัทจะหักออกอย่างไรอะครับ หรือบันทึกค่าด้อยค่าของมันยังไงอะครับ

แล้ว ในส่วนที่บันทึกเงินลงทุนระยาวนี่มีผลต่อ งบกำไรขาดทุน รึปล่าวครับ หรือแค่งบดุล

แล้ว ถ้าสมมุติว่าการลงทุนนั้นขัดข้อง มูลค่าของการลงทุนมีค่าเกือบจะเป็น ศูนย์เท่ากับ ว่าบริษัทมีทรัพย์สินน้อยลง แต่ถ้าบริษัทมีกำไรเท่ากับตอนที่มีการบันทึกว่ามีเงินลงทุนระยะยาว(ทรัพย์สิน) อย่างนี้จะทำให้ตัวเลข roa สูงขึ้นรึปล่าวครับ เพราะว่า ทรัพย์สินน้อยลงแต่กำไรเท่าเดิม

ขออภัยถ้าคำถามเข้าใจยากนะครับ ผมไม่รู้จะเรียบเรียงยังไงจริงๆ :cry:

ช่วยชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
winnermax
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ผมเป็นมือใหม่นะครับ ขอรบกวนถามคำถาม แต่ไม่ทราบว่าควรจะไปถามในกระทู้ไหน คิดว่าเนื้อหา น่าจะสอดคล้องกับ กระทู้นี้ที่สุด
ผิดพลาดประการใดขออภัยล่วงหน้านะครับ

ผมอยากทราบว่า เงินที่บริษัทบันทึกว่าเป็น เงินลงทุนระยาวนั้นบันทึกไว้ในส่วนของทรัพย์สิน
แล้วถ้าเกิดเหตุขัดข้อง เงินลงทุนนั้นมีค่าน้อยลง หรือแทบจะเป็นศูนย์ ที่นี้บริษัทจะหักออกอย่างไรอะครับ หรือบันทึกค่าด้อยค่าของมันยังไงอะครับ

แล้ว ในส่วนที่บันทึกเงินลงทุนระยาวนี่มีผลต่อ งบกำไรขาดทุน รึปล่าวครับ หรือแค่งบดุล

แล้ว ถ้าสมมุติว่าการลงทุนนั้นขัดข้อง มูลค่าของการลงทุนมีค่าเกือบจะเป็น ศูนย์เท่ากับ ว่าบริษัทมีทรัพย์สินน้อยลง แต่ถ้าบริษัทมีกำไรเท่ากับตอนที่มีการบันทึกว่ามีเงินลงทุนระยะยาว(ทรัพย์สิน) อย่างนี้จะทำให้ตัวเลข roa สูงขึ้นรึปล่าวครับ เพราะว่า ทรัพย์สินน้อยลงแต่กำไรเท่าเดิม

ขออภัยถ้าคำถามเข้าใจยากนะครับ ผมไม่รู้จะเรียบเรียงยังไงจริงๆ

ช่วยชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
หากเงินลงทุนระยะยาวเกิดการด้อยค่า บริษัทต้องบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุน ซึ่งทำให้มูลค่าสุทธิของเงินลงทุนระยะยาว (ราคาทุน - ค่าเผื่อการด้อยค่า) ลดลง และมีขาดทุนเกิดขึ้นซึ่งทำให้กำไรสุทธิที่เกิดการด้อยค่านั้นลดลงด้วย
ผลต่อ ROA น่าจะลดลงนะครับ สมมติให้ X = ขาดทุนจากการด้อยค่านะครับ
ROA = Net Income / Total Assets หากนำ X ไปลบทั้งตัวเศษ และตัวส่วน ผลต่อ ROA น่าจะลดลงกว่าเดิมครับ
winnermax
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

หากเงินลงทุนระยะยาวเกิดการด้อยค่า บริษัทต้องบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุน ซึ่งทำให้มูลค่าสุทธิของเงินลงทุนระยะยาว (ราคาทุน - ค่าเผื่อการด้อยค่า) ลดลง และต้องบันทึกขาดทุนจากการด้อยในงบกำไรขาดทุน ดังนั้น จึงมีผลกระทบทั้งงบดุล และงบกำไรขาดทุนครับ

ผลต่อ ROA น่าจะลดลงนะครับ สมมติให้ X = ขาดทุนจากการด้อยค่านะครับ
ROA = Net Income / Total Assets หากนำ X ไปลบทั้งตัวเศษ และตัวส่วน ผลต่อ ROA น่าจะลดลงกว่าเดิมครับ

ปล. ขออภัยที่ต้องโพสต์เพื่อความชัดเจนอีกครั้ง
bok
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 13
ผู้ติดตาม: 0

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Hwamei
Verified User
โพสต์: 396
ผู้ติดตาม: 0

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ตามที่ผมอ่านและพยายามทำความเข้าใจ ถ้าบริษัทร่วม ปันผลเยอะหรือน้อย มันจะทำให้มีความแตกต่างกันมาก ของงบกำไรขาดทุน ระหว่างงบรวมกับงบเดี่ยว ของบริษัทใหญ่ เช่นถ้าบริษัทร่วมกำไรปีนี้ไม่สูงมาก แต่ดันปันผลจากกำไรสะสมออกมามาก มันจะทำให้ บริษัทใหญ่ งบกำไรขาดทุนเพิ่มไม่มาก แต่ถ้าเป็นงบเดี่ยวซึ่งบันทึกเงินจากการปันผลมีกำไรสูง ถูกต้องไหมครับ
winnermax
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ตามที่ผมอ่านและพยายามทำความเข้าใจ ถ้าบริษัทร่วม ปันผลเยอะหรือน้อย มันจะทำให้มีความแตกต่างกันมาก ของงบกำไรขาดทุน ระหว่างงบรวมกับงบเดี่ยว ของบริษัทใหญ่ เช่นถ้าบริษัทร่วมกำไรปีนี้ไม่สูงมาก แต่ดันปันผลจากกำไรสะสมออกมามาก มันจะทำให้ บริษัทใหญ่ งบกำไรขาดทุนเพิ่มไม่มาก แต่ถ้าเป็นงบเดี่ยวซึ่งบันทึกเงินจากการปันผลมีกำไรสูง ถูกต้องไหมครับ
ความเข้าใจไม่ถูกต้องครับ งบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทใหญ่รับรู้เงินปันผลจากบริษัทร่วมเมื่อมีการประกาศจ่าย และงบการเงินรวมก็ยังมีรายการนี้คงอยู่ เนื่องจากบริษัทใหญ่ไม่ต้องนำงบการเงินของบริษัทร่วมมาจัดทำงบการเงินรวม
ความเข้าใจของคุณจะใช้ได้ในกรณีการจ่ายปันผลของบริษัทย่อยคร้บ เพราะบริษัทย่อยจะถูกนำมาจัดทำงบการเงินรวม และรายการระหว่างบริษัทใหญ่กับบริษัทย่อยจะถูกขจัดออกไป เพราะถือว่าเป็นหน่วยงานที่เสนอรายงานเดียวกันครับ
bhinyo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

Re: เงินลงทุนในบริษัทร่วม วิธีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนแบ่งกำไรขาด

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ะรบ
โพสต์โพสต์