Current liability หนี้สินหมุนเวียน


โพสต์ โพสต์
abhisada
Verified User
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 0

Current liability หนี้สินหมุนเวียน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities)

หมายถึง หนี้สินที่กิจการต้องชำระคืนด้วยสินทรัพย์หรือบริการภายในระยะเวลาดำเนินงานปกติของกิจการ หรือหนี้สินที่ถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล หรือภายในรอบระยะเวลาดำเนินงานปกติ (Operating Cycle) หนี้สินหมุนเวียนมักเกิดจากรายการต่อไปนี้
- กิจการซื้อสินค้าหรือได้รับบริการเป็นเงินเชื่อ Trade Payable
- กิจการได้รับเงินค่าสินค้าหรือบริการมาล่วงหน้า Unearned Income
- กิจการมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน Accrued Expense
- กิจการมีหนี้สินแล้ว แต่ยังไม่ทราบจำนวนหรือเวลาแน่นอนที่ต้องชำระ Contingent Liabilities

กิจการซื้อสินค้าหรือได้รับบริการเป็นเงินเชื่อ ตามปกติธุรกิจ กิจการมักซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อมาเพื่อขาย กิจการต้องบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือหรือค่าใช้จ่ายพร้อมกับบันทึกเจ้าหนี้การค้า (Trade accounts payable) ดังนั้น เจ้าหนี้การค้าก็คือจำนวนเงินที่กิจการค้างชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการที่ซื้อมาเพื่อขายหรือเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการตามปกติธุรกิจ ซึ่งมักมีเงื่อนไขในการชำระหนี้ 30 วัน 60 วัน หรือ 90 วัน เป็นต้น

เมื่อเจ้าหนี้การค้าถึงกำหนด แต่บริษัทยังไม่สามารถหาเงินมาจ่ายชำระได้ บริษัทอาจออกตั๋วเงินจ่าย (Note payable) ซึ่งเป็นสัญญาว่ากิจการจะชำระเงินตามที่ระบุไว้ในตั๋วเงินนั้นมาทดแทนเจ้าหนี้การค้าเพื่อยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปหลังจากหมดระยะเวลาการให้เครดิต กิจการต้องบันทึกเปลี่ยนบัญชีเจ้าหนี้การค้าไปเป็นตั๋วเงินจ่าย ทั้งนี้ บัญชีตั๋วเงินจ่ายต้องรวมตั๋วเงินจ่ายการค้าที่เป็นกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง และกิจการที่เกี่ยวข้องกันด้วย ตั๋วเงินจ่ายนี้ยังคงมีระยะเวลาที่กิจการต้องจ่ายสินเชื่อคืนภายในหนึ่งปีและมักมีข้อผูกพันที่กิจการจะต้องจ่ายดอกเบี้ยตามที่เจ้าหนี้กำหนดเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนตั๋วเงินนั้น

กิจการได้รับเงินค่าสินค้าหรือบริการมาล่วงหน้า (Unearned Income) คือ เงินสดที่กิจการได้รับในงวดบัญชีปัจจุบันสำหรับสินค้าหรือบริการที่ยังไม่ได้ส่งมอบ ฉะนั้นกิจการจึงมีภาระผูกพันที่ต้องส่งมอบสินค้าหรือบริการในอนาคต ตัวอย่างเช่น กิจการได้รับค่าเช่าล่วงหน้าจากผู้เช่าเป็นเวลา 3 ปี กิจการต้องบันทึกค่าเช่ารับล่วงหน้าเป็นหนี้สินสำหรับค่าเช่าทั้งหมดที่รับมา และทะยอยตัดหนี้สินเป็นรายได้เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากที่ผู้เช่าได้ใช้บริการจากการเช่านั้น เช่น ผู้เช่าได้ใช้บริการห้องเช่าไปแล้วหนึ่งเดือน กิจการจะรับรู้รายได้ 1 เดือนและล้างค่าเช่ารับล่วงหน้าออก 1 เดือน

กิจการมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน (หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่าย Accrued Expenses) หนี้สินชนิดนี้เกิดขึ้นจากการที่กิจการได้ใช้สินค้าหรือบริการไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับรู้ค่าใช้จ่าย เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ดังนั้น เมื่อถึงวันสิ้นงวด กิจการต้องปรับปรุงบัญชีเพื่อให้มีการบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สินให้ถูกต้อง เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายได้เกิดขึ้นแล้วสำหรับงวดบัญชีปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน ตัวอย่างเช่น กิจการได้ทำการโฆษณาตลอดงวดที่ผ่านมา แต่ยังไม่ได้รับบิลค่าโฆษณา กิจการต้องบันทึกค่าโฆษณาเป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างงวด และเมื่อกิจการยังไม่ได้จ่ายชำระเงิน กิจการต้องบันทึกหนี้สินที่เรียกว่าค่าโฆษณาค้างจ่ายไปพร้อมกัน

ประมาณการหนี้สินหรือหนี้สินกะประมาณ (Contingent Liabilities) หนี้สินชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อกิจการจำเป็นต้องชำระเงินออกไปในอนาคตเพื่อชำระภาระผูกพันบางอย่าง แต่กิจการยังไม่รู้แน่ว่าหนี้สินนี้มีจำนวนเท่าใดและต้องจ่ายชำระเมื่อไร กิจการต้องบันทึกหนี้สินด้วยจำนวนที่ประมาณขึ้น เช่น ประมาณการหนี้สินค่ารับประกันสินค้า และประมาณการหนี้สินค่าสมนาคุณลูกค้า ในการประมาณการจำนวนหนี้สินนี้ กิจการต้องใช้ข้อมูลและประสบการณ์ในการประมาณอย่างสมเหตุสมผล เพื่อให้หนี้สินแสดงในงบดุลใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด

ตัวอย่างรายการบัญชีที่จัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน ได้แก่
1. เจ้าหนี้การค้า (Accounts Payable)
2. ตั๋วเงินจ่าย (Notes Payable)
3. เงินเบิกเกินบัญชี (Bank Overdrafts)
4. เงินปันผลค้างจ่าย (Accrued Dividends)
5. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
6. เงินประกันสังคม
7. ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (Current Portion of Long-term Debt)
8. หนี้สินการรับประกันคุณภาพสินค้า (Product Warranties)
9. หนี้สินเช็คของขวัญหรือบัตรกำนัล (Advance from Sales Certificates)


หากมีข้อสงสัย ถามได้เลยน่ะค่ะ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
green-orange
Verified User
โพสต์: 896
ผู้ติดตาม: 0

Re: Current liability หนี้สินหมุนเวียน

โพสต์ที่ 2

โพสต์


เมื่อเจ้าหนี้การค้าถึงกำหนด แต่บริษัทยังไม่สามารถหาเงินมาจ่ายชำระได้ บริษัทอาจออกตั๋วเงินจ่าย (Note payable) ซึ่งเป็นสัญญาว่ากิจการจะชำระเงินตามที่ระบุไว้ในตั๋วเงินนั้นมาทดแทนเจ้าหนี้การค้าเพื่อยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปหลังจากหมดระยะเวลาการให้เครดิต กิจการต้องบันทึกเปลี่ยนบัญชีเจ้าหนี้การค้าไปเป็นตั๋วเงินจ่าย ทั้งนี้ บัญชีตั๋วเงินจ่ายต้องรวมตั๋วเงินจ่ายการค้าที่เป็นกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง และกิจการที่เกี่ยวข้องกันด้วย ตั๋วเงินจ่ายนี้ยังคงมีระยะเวลาที่กิจการต้องจ่ายสินเชื่อคืนภายในหนึ่งปีและมักมีข้อผูกพันที่กิจการจะต้องจ่ายดอกเบี้ยตามที่เจ้าหนี้กำหนดเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนตั๋วเงินนั้น
ขอสอบถามหน่อยครับว่า
1 บริษัทสามารถออกหรือใช้ตั๋วเงินจ่ายได้ในกรณีไหนบ้างครับ
2 เรามีวิธีดูหรือสังเกตอะไรบ้างที่จะตรวจสอบว่า การใช้ตั๋วเงินจ่ายเป็นการแปลงหนี้จากเจ้าหนี้การค้าไปเป็น ตั๋วเงินจ่ายครับ

ขอบคุณครับ
idoobi
Verified User
โพสต์: 1
ผู้ติดตาม: 0

Re: Current liability หนี้สินหมุนเวียน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอตอบคำถามแรกก่อนนะค่ะ
การออกตั๋วเงินจ่ายสามารถออกได้ตามกรณีต่อไปนี้คะ
1 การออกตั๋วเงินจ่ายเพื่อชำระค่าสินค้า จะออกในกรณีที่กิจการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ ซึ่งซื้อเป็นจำนวนมากและระยะเวลาการให้เครดิตเป็นเวลานาน ดังนั้นกิจการอาจจ่ายชำระเป็นตั๋วเงินจ่ายก็ได้
2 การออกตั๋วเงินจ่ายเพื่อชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ ในกรณีที่กิจการต้องการขยายเวลาในการชำระหนี้ ก็อาจจะออกตั๋วเงินเพื่อชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้เมื่อครบกำหนดชำระหนี้แทนเงินสดก็ได้ ถ้ากิจการไม่สามารถจ่ายชำระหนี้เป็นเงินสดได้
3 การออกตั๋วเงินจ่ายเพื่อชำระค่าสินทรัพย์ ในกรณีที่กิจการซื้อสินทรัพย์มาเพื่อไว้ใช้ในการดำเนินงานซึ่งอาจมีมูลค่าสูง กิจการอาจจะจ่ายชำระหนี้เป็นตั๋วเงินได้
4 การออกตั๋วเงินจ่ายเพื่อกู้ยืมเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน ในบางครั้งกิจการต้องการเงินทุนเวียนไว้ใช้ในการดำเนินงาน เช่น เพื่อการขยายกิจการ เพื่อการลงทุน หรือเพื่อจ่ายชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้เมื่อครบกำหนด ดังนั้นกิจการจะจัดหาเงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อกู้ยืมเงินจากธนาคาร หรือสถาบันการเงิน ซึ่งการกู้เงินจาก
ธนาคารโดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินแบ่งออกเป็น 2 กรณี
4.1 กู้เงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดมีดอกเบี้ย กิจการจะได้รับเงินเท่ากับ
จำนวนเงินตามตั๋ว และต้องจ่ายคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยในวันที่ตั๋วครบกำหนด
4.2กู้เงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดไม่มีดอกเบี้ย ซึ่งธนาคารจะหักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า โดยหักจำนวนเงินในตั๋ว ผู้กู้จะได้เงินส่วนที่เหลือจากการหักดอกเบี้ย ในกรณีนี้เรียกว่า
ส่วนลดธนาคาร ส่วนลดนี้ถือเป็นดอกเบี้ยจ่ายล่วงหน้าของผู้ที่ขอกู้ เมื่อตั๋วครบกำหนดผู้กู้จะต้องจ่ายชำระเงินเท่ากับจำนวนเงินตามตั๋วที่ให้ไว้กับธนาคาร

ลองดูข้อแรกไปก่อนนะคะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
green-orange
Verified User
โพสต์: 896
ผู้ติดตาม: 0

Re: Current liability หนี้สินหมุนเวียน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

idoobi เขียน:ขอตอบคำถามแรกก่อนนะค่ะ
การออกตั๋วเงินจ่ายสามารถออกได้ตามกรณีต่อไปนี้คะ
1 การออกตั๋วเงินจ่ายเพื่อชำระค่าสินค้า จะออกในกรณีที่กิจการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ ซึ่งซื้อเป็นจำนวนมากและระยะเวลาการให้เครดิตเป็นเวลานาน ดังนั้นกิจการอาจจ่ายชำระเป็นตั๋วเงินจ่ายก็ได้
2 การออกตั๋วเงินจ่ายเพื่อชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ ในกรณีที่กิจการต้องการขยายเวลาในการชำระหนี้ ก็อาจจะออกตั๋วเงินเพื่อชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้เมื่อครบกำหนดชำระหนี้แทนเงินสดก็ได้ ถ้ากิจการไม่สามารถจ่ายชำระหนี้เป็นเงินสดได้
3 การออกตั๋วเงินจ่ายเพื่อชำระค่าสินทรัพย์ ในกรณีที่กิจการซื้อสินทรัพย์มาเพื่อไว้ใช้ในการดำเนินงานซึ่งอาจมีมูลค่าสูง กิจการอาจจะจ่ายชำระหนี้เป็นตั๋วเงินได้
4 การออกตั๋วเงินจ่ายเพื่อกู้ยืมเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน ในบางครั้งกิจการต้องการเงินทุนเวียนไว้ใช้ในการดำเนินงาน เช่น เพื่อการขยายกิจการ เพื่อการลงทุน หรือเพื่อจ่ายชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้เมื่อครบกำหนด ดังนั้นกิจการจะจัดหาเงินโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อกู้ยืมเงินจากธนาคาร หรือสถาบันการเงิน ซึ่งการกู้เงินจาก
ธนาคารโดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินแบ่งออกเป็น 2 กรณี
4.1 กู้เงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดมีดอกเบี้ย กิจการจะได้รับเงินเท่ากับ
จำนวนเงินตามตั๋ว และต้องจ่ายคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยในวันที่ตั๋วครบกำหนด
4.2กู้เงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดไม่มีดอกเบี้ย ซึ่งธนาคารจะหักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า โดยหักจำนวนเงินในตั๋ว ผู้กู้จะได้เงินส่วนที่เหลือจากการหักดอกเบี้ย ในกรณีนี้เรียกว่า
ส่วนลดธนาคาร ส่วนลดนี้ถือเป็นดอกเบี้ยจ่ายล่วงหน้าของผู้ที่ขอกู้ เมื่อตั๋วครบกำหนดผู้กู้จะต้องจ่ายชำระเงินเท่ากับจำนวนเงินตามตั๋วที่ให้ไว้กับธนาคาร

ลองดูข้อแรกไปก่อนนะคะ
โอ ละเอียดมากๆเลยครับ
ขอบคุณมากๆครับ ++++++++++++++++++++++++++
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: Current liability หนี้สินหมุนเวียน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

มีความรู้ในด้านบัญชีกันแล้ว ในด้านการวิเคราห็สนใจภาพรวนครบ ว่า AP turnover เป็นอย่างไร เพราะเจ้าหนี้การค้าถึงเวลากิจการจ่ายหนี้โดยออกเช็คหรือตํวจ่ายได้ แสดงว่าเจ้าหนี้ยอมให้ยืดหนี้ (ชำระเงิน) ออกไป เพียงแต่อาจต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม ดูรู้ก็ดี ไม่รู้ก็ไม่เป็นไร ตราบใดที่แนวโน้มดี ถือว่าใช้ได้ เร๊วกว่าอุตสาหกรรมก็ไม่ดี นานมากๆ ก็อาจหมายถึงจ่ายไม่ดี อาจไม่ได้รับราคาต่อรองที่ดีกับ suppier เช่นหุ้น ชลบุรีคอนกรีต CCP จ่ายหนี้นานวงจรเงินสดดี เพราะจ่ายหนี้นาน แต่ต้นทุนกับสูง อนุมานว่า ต้นทุนวัตถุดิบ สูงกว่าอุตสหกรรม (ความจริงอาจมาจาก DL OH ด้วยก็ได้) แต่อุตสาหกรรมนี้โครงสร้างต้นทุนส่วนมากคือ RM เลยอนุมานไว้ก่อนว่าน่าจะซื้อของแพง การจ่ายหนี้นานจึงไม่ได่แปลว่าดีเสมอ ยกเว้นธุรกิจผูกขาดอำนาจต่อรองมาก
abhisada
Verified User
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 0

Re: Current liability หนี้สินหมุนเวียน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ข้อสองน่ะค่ะ

"2 เรามีวิธีดูหรือสังเกตอะไรบ้างที่จะตรวจสอบว่า การใช้ตั๋วเงินจ่ายเป็นการแปลงหนี้จากเจ้าหนี้การค้าไปเป็น ตั๋วเงินจ่ายครับ"


การเปลี่ยนแปลงหนี้จากเจ้าหนี้การค้าไปเป็นตั๋วเงินจ่ายนั้น เป็นเรื่องของธุรการการเงินภายในบริษัทที่ได้มีการตกลงระหว่างเจ้าหนี้กับบริษัท เราสามารถสังเกตได้คร่าวๆจาก การลดลงของเจ้าหนี้การค้า(Trade Payable) และ การเพิ่มขึ้นของ ตั๋วเงินจ่าย (Note Payable) ในอัตราส่วนประมาณเท่าๆกัน และยังสามารถตรวจสอบจากการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับตั๋วเงิน (แต่บางบริษัทจะพยายามไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนนี้)

เรายังสามารถดูผลกระทบของตั๋วเงินจ่ายที่มีต่อบริษัททางด้านหนี้สินและเงินสดหมุนเวียนได้
1. หากมองอย่างง่ายแล้ว หนี้สินของบริษัทจะไม่เพิ่มขึ้น แต่บริษัทจะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นจะมูลค่าของหนี้สินเดิม เนื่องจากตั๋วเงินจ่ายนั้นจะพ่วงด้วยดอกเบี้ยของเจ้าหนี้ตามแต่ที่เจ้าหนี้กำหนด หากบริษัทมีตั๋วเงินจ่ายมาก ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะมากไปด้วย หากบริษัทไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยคืนเจ้าหนี้ทันที บริษัทอาจบันทึกหนี้ที่เกิดขึ้นจากดอกเบี้ยที่ยังไม่ได้จ่ายว่าดอกเบี้ยค้างจ่ายที่ทำให้มูลค่าของหนี้สินของบริษัทเพิ่มขึ้น

2. นอกจากนี้เมื่อบริษัทมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยแล้ว การหมุนเวียนของเงินสดจะลดลงและอาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของบริษัทได้


หวังว่าจะช่วยได้ไม่มากก็น้อยค่ะ :o :D
โพสต์โพสต์