งบกระแสเงินสด
-
- Verified User
- โพสต์: 10
- ผู้ติดตาม: 0
งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 1
งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flows) เป็นงบการเงินที่มีความสำคัญต่อการวิเคราะห์กระแสเงินสดของบริษัทเป็นอย่างมาก เนื่องจากบริษัทต้องบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) ซึ่งบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายเมื่อ "เกิด" ไม่ใช่เมื่อได้รับหรือจ่ายเงินสด (ตามเกณฑ์เงินสด Cash Basis) เกณฑ์คงค้างนี้แม้จะแสดงความเป็นไปในบริษัทได้ดีกว่าเกณฑ์เงินสด แต่ก็ทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเงินสดขาดหายไป จนเป็นเหตุให้การวิเคราะห์งบการเงินผิดพลาดได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทอาจมีกำไรสูงในปีหนึ่ง แต่ก็เป็นไปได้ที่บริษัทอาจขาดสภาพคล่องจนถึงกับต้องผิดนัดชำระหนี้ในปีนั้น เหตุผลเพราะบริษัทมีกำไร แต่ไม่มีเงินสด ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนจึงต้องวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนควบคู่ไปกับงบกระแสเงินสดงบกระแสเงินสดเป็นงบการเงินที่จะบอกถึงที่มาของเงินสดและเหตุผลที่บริษัทจ่ายเงินสดออกไปซึ่งจะสามารถบอกให้ทราบถึงสภาพคล่องของบริษัทได้เป็นอย่างดี
งบกระแสเงินสดคือ งบการเงินที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของ "เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด" ซึ่งเป็นสินทรัพย์รายการแรกที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล) การเปลี่ยนแปลงของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดสามารถแบ่งเป็นกระแสเงินสด 3 ประเภทคือ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน และกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน การแบ่งกิจกรรมต่างๆ ออกเป็น 3 ประเภท ทำให้ผู้อ่านสามารถประเมินประสิทธิภาพของบริษัทในการหาเงินสดจากการดำเนินงาน การลงทุน และการจัดหาเงินได้เป็นอย่างดี
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินการ (Cash Flows from Operating Activity) ประกอบด้วยเงินสดที่บริษัทได้รับมาและจ่ายไปเนื่องจากการค้าขายตามปกติของบริษัท เช่นการซื้อ-ขายสินค้า การจ่ายเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น โดยทั่วไป กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานจะเริ่มต้นด้วย กำไรขาดทุนสุทธิ (จากงบกำไรขาดทุน) แล้วจะบวกด้วยต้นทุนทางการเงิน (ดอกเบี้ยจ่าย) และค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ เพื่อแสดงกำไรขาดทุนก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ (EBIT)
จากนั้นบริษัทจะบวกกลับ ค่าใช้จ่ายและขาดทุนที่ไม่ใช่เงินสด เช่น ค่าเสื่อมราคาหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และลบ กำไรที่ไม่ใช่เงินสด เช่น กำไรจากการปรับมูลค่าของเงินลงทุนเพื่อค้า จากนั้น บริษัทจะบวกขาดทุนและลบกำไรที่เกิดจากรายการที่ไม่เกี่ยวกับกิจกรรมดำเนินงาน เช่น ลบกำไรจากการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น เครื่องจักรหรือเงินลงทุนระยะยาวออกจาก Operating Activity เพื่อนำไปจัดประเภทใหม่ให้ถูกต้อง (เพราะการขายเครื่องจักรและเงินลงทุนระยะยาวถือเป็นเงินสดที่ได้จาก Investing Activity)
การคำนวณข้างต้นนี้ทำให้เกิด "กำไรขาดทุนที่เป็นเงินสด" ของบริษัท
เมื่อได้กำไรขาดทุนที่เป็นเงินสด บริษัทจะนำการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินการ (Working Capital นอกเหนือจากเงินสด) มาบวกลบกับกำไรที่เป็นเงินสดเพื่อหา "เงินสดได้มาหรือใช้ไปจากการดำเนินงานก่อนภาษีจ่าย" และสุดท้ายบริษัทจะหักภาษีจ่าย (ซึ่งเป็นจำนวนที่จ่ายจริง และอาจจะต่างจากค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่รายงานไว้ในงบกำไรขาดทุน) เพื่อหา “เงินสดที่ได้มาหรือใช้ไปจากการดำเนินงาน”
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Cash Flows from Investing Activity) ประกอบด้วยเงินสดที่บริษัทได้รับมาและจ่ายไปอันเนื่องมาจากการซื้อ-ขายสินทรัพย์ระยะยาว เช่น ที่ดิน อาคารสำนักงาน เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้า รวมถึงเงินลงทุนที่ใช้ไปหรือได้มาจากการซื้อ-ขายหุ้นหรือพันธบัตรของบริษัทอื่น
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (Cash Flows from Financing Activity) ประกอบด้วยเงินสดที่บริษัทได้รับมาและจ่ายไปอันเนื่องมาจากการขายและการซื้อคืนหุ้นทุนของบริษัท การกู้ยืมเงินระยะยาวและชำระเงินคืนหนี้สินไม่หมุนเวียนทุกประเภท ซึ่งอาจรวมถึงการจ่ายเงินปันผล
กระแสเงินสดจากกิจกรรมต่างๆ ที่แสดงใน งบแสเงินสดจะเป็นบวก (+) เมื่อกิจกรรมนั้นๆ ทำให้เงินสดในบริษัทเพิ่มขึ้น และจะเป็นลบ (-) เมื่อกิจกรรมนั้นๆ ทำให้เงินสดของบริษัทลดลง
เมื่อนำผลรวมของกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเงินสดทั้ง 3 ประเภท มาบวกหรือลบกับเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวด (คือเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของสิ้นงวดที่แล้ว) จะเท่ากับรายการเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายงวด (คือเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของงวดนี้) เมื่อผลรวมของกิจกรรมทั้ง 3 เป็นบวกหมายความว่าเงินสดของบริษัทเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นลบหมายความว่าเงินสดของบริษัทลดลง
งบกระแสเงินสดคือ งบการเงินที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของ "เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด" ซึ่งเป็นสินทรัพย์รายการแรกที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล) การเปลี่ยนแปลงของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดสามารถแบ่งเป็นกระแสเงินสด 3 ประเภทคือ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน และกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน การแบ่งกิจกรรมต่างๆ ออกเป็น 3 ประเภท ทำให้ผู้อ่านสามารถประเมินประสิทธิภาพของบริษัทในการหาเงินสดจากการดำเนินงาน การลงทุน และการจัดหาเงินได้เป็นอย่างดี
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินการ (Cash Flows from Operating Activity) ประกอบด้วยเงินสดที่บริษัทได้รับมาและจ่ายไปเนื่องจากการค้าขายตามปกติของบริษัท เช่นการซื้อ-ขายสินค้า การจ่ายเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น โดยทั่วไป กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานจะเริ่มต้นด้วย กำไรขาดทุนสุทธิ (จากงบกำไรขาดทุน) แล้วจะบวกด้วยต้นทุนทางการเงิน (ดอกเบี้ยจ่าย) และค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ เพื่อแสดงกำไรขาดทุนก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ (EBIT)
จากนั้นบริษัทจะบวกกลับ ค่าใช้จ่ายและขาดทุนที่ไม่ใช่เงินสด เช่น ค่าเสื่อมราคาหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และลบ กำไรที่ไม่ใช่เงินสด เช่น กำไรจากการปรับมูลค่าของเงินลงทุนเพื่อค้า จากนั้น บริษัทจะบวกขาดทุนและลบกำไรที่เกิดจากรายการที่ไม่เกี่ยวกับกิจกรรมดำเนินงาน เช่น ลบกำไรจากการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น เครื่องจักรหรือเงินลงทุนระยะยาวออกจาก Operating Activity เพื่อนำไปจัดประเภทใหม่ให้ถูกต้อง (เพราะการขายเครื่องจักรและเงินลงทุนระยะยาวถือเป็นเงินสดที่ได้จาก Investing Activity)
การคำนวณข้างต้นนี้ทำให้เกิด "กำไรขาดทุนที่เป็นเงินสด" ของบริษัท
เมื่อได้กำไรขาดทุนที่เป็นเงินสด บริษัทจะนำการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินการ (Working Capital นอกเหนือจากเงินสด) มาบวกลบกับกำไรที่เป็นเงินสดเพื่อหา "เงินสดได้มาหรือใช้ไปจากการดำเนินงานก่อนภาษีจ่าย" และสุดท้ายบริษัทจะหักภาษีจ่าย (ซึ่งเป็นจำนวนที่จ่ายจริง และอาจจะต่างจากค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่รายงานไว้ในงบกำไรขาดทุน) เพื่อหา “เงินสดที่ได้มาหรือใช้ไปจากการดำเนินงาน”
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Cash Flows from Investing Activity) ประกอบด้วยเงินสดที่บริษัทได้รับมาและจ่ายไปอันเนื่องมาจากการซื้อ-ขายสินทรัพย์ระยะยาว เช่น ที่ดิน อาคารสำนักงาน เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้า รวมถึงเงินลงทุนที่ใช้ไปหรือได้มาจากการซื้อ-ขายหุ้นหรือพันธบัตรของบริษัทอื่น
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (Cash Flows from Financing Activity) ประกอบด้วยเงินสดที่บริษัทได้รับมาและจ่ายไปอันเนื่องมาจากการขายและการซื้อคืนหุ้นทุนของบริษัท การกู้ยืมเงินระยะยาวและชำระเงินคืนหนี้สินไม่หมุนเวียนทุกประเภท ซึ่งอาจรวมถึงการจ่ายเงินปันผล
กระแสเงินสดจากกิจกรรมต่างๆ ที่แสดงใน งบแสเงินสดจะเป็นบวก (+) เมื่อกิจกรรมนั้นๆ ทำให้เงินสดในบริษัทเพิ่มขึ้น และจะเป็นลบ (-) เมื่อกิจกรรมนั้นๆ ทำให้เงินสดของบริษัทลดลง
เมื่อนำผลรวมของกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเงินสดทั้ง 3 ประเภท มาบวกหรือลบกับเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวด (คือเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของสิ้นงวดที่แล้ว) จะเท่ากับรายการเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายงวด (คือเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของงวดนี้) เมื่อผลรวมของกิจกรรมทั้ง 3 เป็นบวกหมายความว่าเงินสดของบริษัทเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นลบหมายความว่าเงินสดของบริษัทลดลง
-
- Verified User
- โพสต์: 270
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 3
บริษัทที่ แจ้งมาแค่ เงินสดที่ใช้ไปในการดำเนินงาน ทีนี้เราต้องการหาเงินสดที่ได้มาจาก
การดำเนินงานจะหาได้อย่างไงครับ
และการแจ้งมาแบบที่ว่ามีเจตนาปิดบังเราหรือเปล่า จงใจอำพรางใหมไม่อยากเปิดเผยป่าว
เพราะบางบริษัทเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานติดลบเลยเลี่ยงๆไป
การดำเนินงานจะหาได้อย่างไงครับ
และการแจ้งมาแบบที่ว่ามีเจตนาปิดบังเราหรือเปล่า จงใจอำพรางใหมไม่อยากเปิดเผยป่าว
เพราะบางบริษัทเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานติดลบเลยเลี่ยงๆไป
-
- Verified User
- โพสต์: 10
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 5
อัตราส่วนทางการเงินที่ใช่รายการในงบกระแสเงินสดแบ่งได้เป็นหลายประเภท เช่นchatchai เขียน:งบดุล และ งบกำไรขาดทุน มีการคำนวณอัตราส่วนทางการเงิน
แล้วงบกระแสเงินสดมีการคำนวณอัตราส่วนทางการเงินอะไรบางครับ
1. อัตราส่วนที่ใช้รายการในงบกระแสเงินสดมาใช้เพื่อเทียบกับรายการอื่นในงบการเงินอื่นโดยเฉพาะอัตราส่วนที่ใช้ "เงินสดที่ได้มาจากการดำเนินงาน" เพื่อหา quality of earnings
เทียบกับกำไรที่เป็นเกณฑ์คงค้าง คือ "เงินสดที่ได้มาจากการดำเนินงาน/กำไรจากการดำเนินการ (net operating income)"
2. อัตราส่วนที่ใช้ "เงินสดที่ได้มาจากการดำเนินงาน" มาแทน "กำไรจากการดำเนินการ" เพื่อเปรียบเทียบกับอัตราส่วนที่ใช้ กำไรจากการดำเนินการ เพื่อลดผลกระทบจากเกณฑ์คงค้าง
3. อัตราส่วนที่ใช้ รายการอื่นๆในงบกระแสเงินสดเพื่อมาใช้แทนรายการต่างๆที่ใช้เกณฑ์คงค้าง เช่น การใช้ดอกเบี้ยจ่ายมาแทนต้นทุนทางการเงิน เพื่อหา Interest coverage ratio
คำตอบอาจจะไม่ครอบคลุมนักเนื่องจากพวกผมเป็นนักบัญชีซึ่งไม่สันทัดกับคำถามทางด้านการเงินมากนัก
-
- Verified User
- โพสต์: 10
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 6
เป็นเพียงการเลือกใช้คำในงบการเงินของบริษัทเท่านั้นครับLikhit เขียน:บริษัทที่ แจ้งมาแค่ เงินสดที่ใช้ไปในการดำเนินงาน ทีนี้เราต้องการหาเงินสดที่ได้มาจาก
การดำเนินงานจะหาได้อย่างไงครับ
และการแจ้งมาแบบที่ว่ามีเจตนาปิดบังเราหรือเปล่า จงใจอำพรางใหมไม่อยากเปิดเผยป่าว
เพราะบางบริษัทเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานติดลบเลยเลี่ยงๆไป
เพราะบริษัทมีเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานติดลบ จึงเปลี่ยนชื่อรายการเพื่อความเหมาะสม
เช่นในงบการเงินที่แสดงใน website ของ SET ได้ใช้คำว่า"เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมดำเนินงาน" ซึ่งหมายความว่า
ถ้าตัวเลขเป็นค่าบวก จะใช้ชื่อรายการว่า"เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน"
ถ้าตัวเลขเป็นค่าลบ จะใช้ชื่อรายการว่า"เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมดำเนินงาน"
-
- Verified User
- โพสต์: 10
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 7
ในการแสดงรายการในงบกระแสเงินสดบริษัทจำเป็นที่จะต้องแสดง "ภาษีจ่าย" เป็นรายการแยกในงบกระแสเงินสด(ไม่สามารถรวมไว้ในกำไรสุทธิได้)Likhit เขียน:ต่อคำถามครับ
จุดเริ่มต้นของงบกระแสเงินสด ควรเริ่มที่ กำไรก่อนภาษี หรือ กำไรสุทธิ ทำไมบางบริษัท
เริ่มไม่เหมือนกันครับ
บริษัทที่ใช้กำไรสุทธิในการจัดทำงบกระแสเงินสดจำเป็นที่จะต้องบวกค่าใช้จ่ายด้านภาษีกลับเข้าไป
จึงทำให้บางบริษัทใช้กำไรก่อนภาษีแทน
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 8
งบการเงินรายไตรมาสนั้น
ถ้าเป็นไตรมาสที่ 2 นั้น งบกำไรขาดทุนจะมีทั้ง ราย 3 เดือน คือตั้งแต่ เม.ย.-มิ.ย. และราย 6 เดือน คือตั้งแต่ ม.ค.-มิ.ย.
และถ้าเป็นไตรมาสที่ 3 งบกำไรขาดทุนก็จะมีทั้ง ราย 3 เดือน คือตั้งแต่ ก.ค.-ก.ย. และ ราย 9 เดือน คือตั้งแต่ ม.ค.-ก.ย.
ทำไมงบกระแสเงินสดถึงไม่มีราย 3 เดือนเพิ่มให้บ้างครับ
ถ้าเป็นไตรมาสที่ 2 นั้น งบกำไรขาดทุนจะมีทั้ง ราย 3 เดือน คือตั้งแต่ เม.ย.-มิ.ย. และราย 6 เดือน คือตั้งแต่ ม.ค.-มิ.ย.
และถ้าเป็นไตรมาสที่ 3 งบกำไรขาดทุนก็จะมีทั้ง ราย 3 เดือน คือตั้งแต่ ก.ค.-ก.ย. และ ราย 9 เดือน คือตั้งแต่ ม.ค.-ก.ย.
ทำไมงบกระแสเงินสดถึงไม่มีราย 3 เดือนเพิ่มให้บ้างครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 10
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 9
เพราะ งบกระแสเงินสดรายไตรมาศนั้น ให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ไม่มากนัก ไม่เหมือนงบกำไรขาดทุนที่มี seasonal effects และงบกระแสเงินสดนั้นรายการส่วนใหญ่คำนวณมาจากงบแสดงฐานะทางการเงินบริษัทจึงออกงบกระแสเงินสดตามงบแสดงฐานะทางการเงินchatchai เขียน:งบการเงินรายไตรมาสนั้น
ถ้าเป็นไตรมาสที่ 2 นั้น งบกำไรขาดทุนจะมีทั้ง ราย 3 เดือน คือตั้งแต่ เม.ย.-มิ.ย. และราย 6 เดือน คือตั้งแต่ ม.ค.-มิ.ย.
และถ้าเป็นไตรมาสที่ 3 งบกำไรขาดทุนก็จะมีทั้ง ราย 3 เดือน คือตั้งแต่ ก.ค.-ก.ย. และ ราย 9 เดือน คือตั้งแต่ ม.ค.-ก.ย.
ทำไมงบกระแสเงินสดถึงไม่มีราย 3 เดือนเพิ่มให้บ้างครับ
เช่นงบแสดงฐานะทางการเงินออกสิ้นสุด 9 เดือน งบกระแสเงินสดก็แสดงสะสม 9 เดือน
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 10
ผมคิดว่างบกระแสเงินสดมีความจำเป็นมากกว่างบกำไรขาดทุนซะอีกsiravut.t เขียน:เพราะ งบกระแสเงินสดรายไตรมาศนั้น ให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ไม่มากนัก ไม่เหมือนงบกำไรขาดทุนที่มี seasonal effects และงบกระแสเงินสดนั้นรายการส่วนใหญ่คำนวณมาจากงบแสดงฐานะทางการเงินบริษัทจึงออกงบกระแสเงินสดตามงบแสดงฐานะทางการเงิน
เช่นงบแสดงฐานะทางการเงินออกสิ้นสุด 9 เดือน งบกระแสเงินสดก็แสดงสะสม 9 เดือน
และงบกระแสเงินสดก็มี Season Effects เหมือนงบกำไรขาดทุน เพราะงบกระแสเงินสดก็ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของบริษัทเหมือนงบกำไรขาดทุน
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- uthai.l
- Verified User
- โพสต์: 177
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 13
ถ้าอย่างนั้นในการหา EBIT เราก็เอา "กำไรก่อนภาษีเงินได้" + "ค่าเสื่อมราคาและรายจ่ายตัดบัญชี" ใช่หรือไม่ครับ???siravut.t เขียน:ในการแสดงรายการในงบกระแสเงินสดบริษัทจำเป็นที่จะต้องแสดง "ภาษีจ่าย" เป็นรายการแยกในงบกระแสเงินสด(ไม่สามารถรวมไว้ในกำไรสุทธิได้)Likhit เขียน:ต่อคำถามครับ
จุดเริ่มต้นของงบกระแสเงินสด ควรเริ่มที่ กำไรก่อนภาษี หรือ กำไรสุทธิ ทำไมบางบริษัท
เริ่มไม่เหมือนกันครับ
บริษัทที่ใช้กำไรสุทธิในการจัดทำงบกระแสเงินสดจำเป็นที่จะต้องบวกค่าใช้จ่ายด้านภาษีกลับเข้าไป
จึงทำให้บางบริษัทใช้กำไรก่อนภาษีแทน
ทุกปัญหามีทางออก ถ้าไม่มีทางออก...ให้ออกทางเข้า!!!
-
- Verified User
- โพสต์: 10
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 14
งบกระแสเงินสดส่วนที่มี seasonal effects จะมีเฉพาะกิจกรรมดำเนินการ และบางส่วนจะเป็นไปในทางเดียวกับงบกำไรขาดทุน(ถ้าบริษัทมีการบริหารจัดการภายในที่ดี) และถ้าบริษัทมีการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่ดีก็จะทำให้ผลกระทบนั้นลดลงได้chatchai เขียน:ผมคิดว่างบกระแสเงินสดมีความจำเป็นมากกว่างบกำไรขาดทุนซะอีกsiravut.t เขียน:เพราะ งบกระแสเงินสดรายไตรมาศนั้น ให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ไม่มากนัก ไม่เหมือนงบกำไรขาดทุนที่มี seasonal effects และงบกระแสเงินสดนั้นรายการส่วนใหญ่คำนวณมาจากงบแสดงฐานะทางการเงินบริษัทจึงออกงบกระแสเงินสดตามงบแสดงฐานะทางการเงิน
เช่นงบแสดงฐานะทางการเงินออกสิ้นสุด 9 เดือน งบกระแสเงินสดก็แสดงสะสม 9 เดือน
และงบกระแสเงินสดก็มี Season Effects เหมือนงบกำไรขาดทุน เพราะงบกระแสเงินสดก็ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของบริษัทเหมือนงบกำไรขาดทุน
ส่วนในกิจกรรมลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงินนั้นไม่มี seasonal effects และจะเป็นรายการใหญ่ๆซึ่งถ้าบริษัทจำเป็นที่จะต้องออกงบกระแสเงินสดราย 3 เดือนทุกไตรมาศนั้นจะทำให้เงินสดที่ได้มา(ใช้ไป)ในทั้งสองกิจกรรมมีความผันผวนเป็นอย่างมาก
รวมถึงกระแสเงินสดทุกประเภทอาจมีรูปแบบที่ไม่แน่นอน จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดู trend เพื่อหา pattern ของกระแสเงินสด จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่นักบัญชีไม่ require ให้แสดงงบไตรมาส
ขอขอบคุณอาจารย์ ภาพร สำหรับข้อมูลครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 10
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 16
รายการส่วนใหญ่ของงบกระแสเงินสดนั้นจะถูกจัดอยู่ในกิจกรรมที่ค่อนข้างแน่นอนBHT เขียน:อยากถามว่า จะรู้หรือดูยังงัยว่า รายการในงบกระแสเงินสด มีการ misclassification เกิดขึ้นครับ
วิธีที่ง่ายที่สุดจึงเพียงแค่เปรียบเทียบกับบริษัทที่มีลักษณะการดำเนินการคล้ายคลึงกันหลายๆบริษัทซึ่งถ้ามีรายการใดที่บริษัทส่วนใหญ่จัดไว้ในกิจกรรมหนึ่งแต่มีหนึ่งบริษัทจัดไปไว้ในกิจกรรมอื่นก็จะเป็นไปได้สูงว่าบริษัทนั้นๆ misclassified รายการดังกล่าว
แต่สำหรับรายการบางรายการนั้นบริษัทมีทางเลือกมากกว่าหนึ่งทางเลือกว่าจะจัดไปไว้ในกิจกรรมใด เช่น ดอกเบี้ยจ่ายสามารถถูกจัดไปไว้ในกิจกรรมดำเนินการหรือกิจกรรมจัดหาทุนก็ได้
แต่สำหรับรายการบางรายการนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการของบริิษัทนั้นๆด้วยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 10
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 17
EBIT (Earnings Before Interest and Tax) คือการเอา "กำไรก่อนภาษีเงินได้" + "ต้นทุนทางการเงิน"ครับuthai.l เขียน:ถ้าอย่างนั้นในการหา EBIT เราก็เอา "กำไรก่อนภาษีเงินได้" + "ค่าเสื่อมราคาและรายจ่ายตัดบัญชี" ใช่หรือไม่ครับ???siravut.t เขียน:ในการแสดงรายการในงบกระแสเงินสดบริษัทจำเป็นที่จะต้องแสดง "ภาษีจ่าย" เป็นรายการแยกในงบกระแสเงินสด(ไม่สามารถรวมไว้ในกำไรสุทธิได้)Likhit เขียน:ต่อคำถามครับ
จุดเริ่มต้นของงบกระแสเงินสด ควรเริ่มที่ กำไรก่อนภาษี หรือ กำไรสุทธิ ทำไมบางบริษัท
เริ่มไม่เหมือนกันครับ
บริษัทที่ใช้กำไรสุทธิในการจัดทำงบกระแสเงินสดจำเป็นที่จะต้องบวกค่าใช้จ่ายด้านภาษีกลับเข้าไป
จึงทำให้บางบริษัทใช้กำไรก่อนภาษีแทน
EBITDA (Earnings Before Interest, Tax, Depreciation and Amortization)คือการเอา "EBIT" + "ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย"
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 18
ถ้าคุณมีความเชื่ออย่างนี้ ก็ไม่ขัดคุณหรอกค่ะ แต่ความเชื่อนี้อาจเป็นอันตรายต่อการลงทุนได้ค่ะchatchai เขียน:ผมคิดว่างบกระแสเงินสดมีความจำเป็นมากกว่างบกำไรขาดทุนซะอีกsiravut.t เขียน:เพราะ งบกระแสเงินสดรายไตรมาศนั้น ให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ไม่มากนัก ไม่เหมือนงบกำไรขาดทุนที่มี seasonal effects และงบกระแสเงินสดนั้นรายการส่วนใหญ่คำนวณมาจากงบแสดงฐานะทางการเงินบริษัทจึงออกงบกระแสเงินสดตามงบแสดงฐานะทางการเงิน
เช่นงบแสดงฐานะทางการเงินออกสิ้นสุด 9 เดือน งบกระแสเงินสดก็แสดงสะสม 9 เดือน
และงบกระแสเงินสดก็มี Season Effects เหมือนงบกำไรขาดทุน เพราะงบกระแสเงินสดก็ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของบริษัทเหมือนงบกำไรขาดทุน
1. งบกำไรขาดทุนกับงบกระแสเงินสดถือเป็นสิ่งที่ส่งเสริมกันค่ะ ผู้ลงทุนไม่ควรใช้งบใดงบหนึ่งโดยไม่ดูอีกงบหนึ่ง งบทั้งสองไม่มีงบใดสำคัญกว่างบใด (เพราะถ้าไม่สำคัญก็คงสูญพันธ์ไปแล้ว อย่างเช่น งบกำไรสะสม ที่สูญพันธ์ไปแล้ว)
2. สิ่งที่เกิดในงบกระแสเงินสดไม่ถือเป็น seasonal effect ที่แท้จริงค่ะ ถ้าจะดู seasonal effect ต้องดูที่งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสดเป็นเงาของงบกำไรขาดทุน ถ้าการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนดีชั้นเยี่ยมและวงจรเงินสดสั้น เราอาจเห็น seasonal effect จากงบกำไรขาดทุนสะท้อนออกมาในงบกระแสเงินสด (เป็นภาพตรงกัน) แต่ถ้าการบริหาร WC และ Cash cycle ไม่เป็นอย่างที่พูด งบกระแสเงินสดจะเบี่ยงเบนจาก seasonal effect ทันที ตัวอย่างเช่น บริษัทบริหารลูกหนี้เจ้าหนี้อย่างมีประสิทธิภาพแต่มีวงจรเงินสด 3 เดือน สิ่งที่เราเห็นจากงบกระแสเงินสดจะคล้ายกับ seasonal effect แต่จะช้ากว่า (lag behind) seasons จริงๆ อยู่ 3 เดือน นั่นหมายความว่า เงินสดที่เห็นในงบกระแสเงินสดเกิดหลังจากที่ season ผ่านไปแล้ว 3 เดือนค่ะ
ดูงบกำไรขาดทุนเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของบริษัท (ไม่มีอื่นเจือปน) คำว่า ผลการดำเนินงานในฐานะของนักบัญชีคือ ความสามารถในการก่อให้เกิดกำไรเป็นงวดๆ ค่ะ
ดูงบกระแสเงินสดเพื่อวิเคราะห์เงินสด + การบริหารงาน + การบริหารเงิน
ถ้าดูสองงบประกอบกัน ได้ภาพครบถ้วนค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 19
ถ้าเป็นรายการใหญ่ๆ เราอาจพอสังเกตได้ถ้าเรารู้จักงบกระแสเงินสดจริงๆ รู้ว่ารายการไหนต้องแสดงอยู่ตรงไหน แต่ส่วนใหญ่ ถ้าผิดขนาดนั้นผู้สอบบัญชี (ถ้าไม่แย่จริงๆ ก็คงไม่ปล่อยออกมา)BHT เขียน:อยากถามว่า จะรู้หรือดูยังงัยว่า รายการในงบกระแสเงินสด มีการ misclassification เกิดขึ้นครับ
แต่ถ้าเป็นไส้ใน ยากค่ะ ต้องพึ่งผู้สอบบัญชีอย่างเดียว
ถ้าอยากรู้ว่าบริษัทแต่งงบกระแสเงินสดหรือเปล่า?
อันนี้บอกเลยว่า แต่งงบกระแสเงินสดให้ดูดีโดยไม่ผิดกฎ... ทำได้เสมอค่ะ (แต่อธิบายไม่ไหว เพราะยาวมาก)
ผู้สอบบัญชีก็ว่าไม่ได้เพราะปฏิบัติตามกฎ
แต่กระแสเงินสดที่เห็นคือสาวสวยที่ทำศัลยกรรมมา สวยเกินจริง... ว่างั้นเถอะ
ถามว่าสวยด้วยแพทย์ผิดกฎหมายไหม? ไม่ผิดค่ะ
แต่คุณอยากแต่งงานด้วยไหม?
ขึ้นอยู่กับคุณชอบพลาสติกขนาดไหนค่ะ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 20
ขอบคุณอาจารย์มากครับparporn เขียน:ถ้าคุณมีความเชื่ออย่างนี้ ก็ไม่ขัดคุณหรอกค่ะ แต่ความเชื่อนี้อาจเป็นอันตรายต่อการลงทุนได้ค่ะchatchai เขียน:ผมคิดว่างบกระแสเงินสดมีความจำเป็นมากกว่างบกำไรขาดทุนซะอีกsiravut.t เขียน:เพราะ งบกระแสเงินสดรายไตรมาศนั้น ให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ไม่มากนัก ไม่เหมือนงบกำไรขาดทุนที่มี seasonal effects และงบกระแสเงินสดนั้นรายการส่วนใหญ่คำนวณมาจากงบแสดงฐานะทางการเงินบริษัทจึงออกงบกระแสเงินสดตามงบแสดงฐานะทางการเงิน
เช่นงบแสดงฐานะทางการเงินออกสิ้นสุด 9 เดือน งบกระแสเงินสดก็แสดงสะสม 9 เดือน
และงบกระแสเงินสดก็มี Season Effects เหมือนงบกำไรขาดทุน เพราะงบกระแสเงินสดก็ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของบริษัทเหมือนงบกำไรขาดทุน
1. งบกำไรขาดทุนกับงบกระแสเงินสดถือเป็นสิ่งที่ส่งเสริมกันค่ะ ผู้ลงทุนไม่ควรใช้งบใดงบหนึ่งโดยไม่ดูอีกงบหนึ่ง งบทั้งสองไม่มีงบใดสำคัญกว่างบใด (เพราะถ้าไม่สำคัญก็คงสูญพันธ์ไปแล้ว อย่างเช่น งบกำไรสะสม ที่สูญพันธ์ไปแล้ว)
2. สิ่งที่เกิดในงบกระแสเงินสดไม่ถือเป็น seasonal effect ที่แท้จริงค่ะ ถ้าจะดู seasonal effect ต้องดูที่งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสดเป็นเงาของงบกำไรขาดทุน ถ้าการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนดีชั้นเยี่ยมและวงจรเงินสดสั้น เราอาจเห็น seasonal effect จากงบกำไรขาดทุนสะท้อนออกมาในงบกระแสเงินสด (เป็นภาพตรงกัน) แต่ถ้าการบริหาร WC และ Cash cycle ไม่เป็นอย่างที่พูด งบกระแสเงินสดจะเบี่ยงเบนจาก seasonal effect ทันที ตัวอย่างเช่น บริษัทบริหารลูกหนี้เจ้าหนี้อย่างมีประสิทธิภาพแต่มีวงจรเงินสด 3 เดือน สิ่งที่เราเห็นจากงบกระแสเงินสดจะคล้ายกับ seasonal effect แต่จะช้ากว่า (lag behind) seasons จริงๆ อยู่ 3 เดือน นั่นหมายความว่า เงินสดที่เห็นในงบกระแสเงินสดเกิดหลังจากที่ season ผ่านไปแล้ว 3 เดือนค่ะ
ดูงบกำไรขาดทุนเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของบริษัท (ไม่มีอื่นเจือปน) คำว่า ผลการดำเนินงานในฐานะของนักบัญชีคือ ความสามารถในการก่อให้เกิดกำไรเป็นงวดๆ ค่ะ
ดูงบกระแสเงินสดเพื่อวิเคราะห์เงินสด + การบริหารงาน + การบริหารเงิน
ถ้าดูสองงบประกอบกัน ได้ภาพครบถ้วนค่ะ
แต่บปัญหาในการใช้งบกำไรขาดทุนก็คือ มักจะมีรายการพิเศษเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้งบกำไรขาดทุนไม่สามารถแสดงถึงผลการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัทได้
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 227
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 21
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการแปลงงบกำไรขาดทุนเป็นงบกระแส เฉพาะเรื่องค่าเสื่อมครับ
โดยปกติ ผมเข้าใจว่าค่าเสื่อมจะอยู่ในงบกำไรขาดทุน 2 ส่วน
1. ถ้าเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าของบริษัทเลย ค่าเสื่อมจะแฝงอยู่ในต้นทุนสินค้าขาย
2. ถ้าเป็นอาคารสำนักงานค่าเสื่อมจะอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ถ้าตอนแปลงเป็นงบกระแสเงินสด น่าจะเอาค่าเสื่อมทั้ง 2 ส่วนมารวมกันใช่หรือไม่ครับ
ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยก่อนล่วงหน้าเลยนะครับ
ผมอ่านเองตีความเอง
โดยปกติ ผมเข้าใจว่าค่าเสื่อมจะอยู่ในงบกำไรขาดทุน 2 ส่วน
1. ถ้าเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าของบริษัทเลย ค่าเสื่อมจะแฝงอยู่ในต้นทุนสินค้าขาย
2. ถ้าเป็นอาคารสำนักงานค่าเสื่อมจะอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ถ้าตอนแปลงเป็นงบกระแสเงินสด น่าจะเอาค่าเสื่อมทั้ง 2 ส่วนมารวมกันใช่หรือไม่ครับ
ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยก่อนล่วงหน้าเลยนะครับ
ผมอ่านเองตีความเอง
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 22
รายการทุกรายการในงบกำไรขาดทุนคือรายการปกติค่ะ ไม่ใช่รายการพิเศษ (ตอนนี้อาจเหลือแค่ รายการที่เกิดจากการดำเนินงานที่ยกเลิกที่ต้องแยกออกมา นอกนั้นถือรวมเป็นรายการปกติหมด โดยเฉพาะขาดทุน) บริษัทเขาอยากให้คุณคิดว่ารายการที่เกิดเป็นรายการพิเศษค่ะ นั่นเป็นข้ออ้างของเขาchatchai เขียน:ขอบคุณอาจารย์มากครับparporn เขียน:ถ้าคุณมีความเชื่ออย่างนี้ ก็ไม่ขัดคุณหรอกค่ะ แต่ความเชื่อนี้อาจเป็นอันตรายต่อการลงทุนได้ค่ะchatchai เขียน:ผมคิดว่างบกระแสเงินสดมีความจำเป็นมากกว่างบกำไรขาดทุนซะอีกsiravut.t เขียน:เพราะ งบกระแสเงินสดรายไตรมาศนั้น ให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ไม่มากนัก ไม่เหมือนงบกำไรขาดทุนที่มี seasonal effects และงบกระแสเงินสดนั้นรายการส่วนใหญ่คำนวณมาจากงบแสดงฐานะทางการเงินบริษัทจึงออกงบกระแสเงินสดตามงบแสดงฐานะทางการเงิน
เช่นงบแสดงฐานะทางการเงินออกสิ้นสุด 9 เดือน งบกระแสเงินสดก็แสดงสะสม 9 เดือน
และงบกระแสเงินสดก็มี Season Effects เหมือนงบกำไรขาดทุน เพราะงบกระแสเงินสดก็ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของบริษัทเหมือนงบกำไรขาดทุน
1. งบกำไรขาดทุนกับงบกระแสเงินสดถือเป็นสิ่งที่ส่งเสริมกันค่ะ ผู้ลงทุนไม่ควรใช้งบใดงบหนึ่งโดยไม่ดูอีกงบหนึ่ง งบทั้งสองไม่มีงบใดสำคัญกว่างบใด (เพราะถ้าไม่สำคัญก็คงสูญพันธ์ไปแล้ว อย่างเช่น งบกำไรสะสม ที่สูญพันธ์ไปแล้ว)
2. สิ่งที่เกิดในงบกระแสเงินสดไม่ถือเป็น seasonal effect ที่แท้จริงค่ะ ถ้าจะดู seasonal effect ต้องดูที่งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสดเป็นเงาของงบกำไรขาดทุน ถ้าการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนดีชั้นเยี่ยมและวงจรเงินสดสั้น เราอาจเห็น seasonal effect จากงบกำไรขาดทุนสะท้อนออกมาในงบกระแสเงินสด (เป็นภาพตรงกัน) แต่ถ้าการบริหาร WC และ Cash cycle ไม่เป็นอย่างที่พูด งบกระแสเงินสดจะเบี่ยงเบนจาก seasonal effect ทันที ตัวอย่างเช่น บริษัทบริหารลูกหนี้เจ้าหนี้อย่างมีประสิทธิภาพแต่มีวงจรเงินสด 3 เดือน สิ่งที่เราเห็นจากงบกระแสเงินสดจะคล้ายกับ seasonal effect แต่จะช้ากว่า (lag behind) seasons จริงๆ อยู่ 3 เดือน นั่นหมายความว่า เงินสดที่เห็นในงบกระแสเงินสดเกิดหลังจากที่ season ผ่านไปแล้ว 3 เดือนค่ะ
ดูงบกำไรขาดทุนเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของบริษัท (ไม่มีอื่นเจือปน) คำว่า ผลการดำเนินงานในฐานะของนักบัญชีคือ ความสามารถในการก่อให้เกิดกำไรเป็นงวดๆ ค่ะ
ดูงบกระแสเงินสดเพื่อวิเคราะห์เงินสด + การบริหารงาน + การบริหารเงิน
ถ้าดูสองงบประกอบกัน ได้ภาพครบถ้วนค่ะ
แต่บปัญหาในการใช้งบกำไรขาดทุนก็คือ มักจะมีรายการพิเศษเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้งบกำไรขาดทุนไม่สามารถแสดงถึงผลการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัทได้
มันจะพิเศษได้อย่างไรคะ คุณก็บอกเองว่ามันเกิดบ่อยครั้ง แค่นี้ก็เห็นแล้วว่าไม่ใช่รายการพิเศษ ทุกรายการในงบกำไรขาดทุนเป็นรายการปกติธรรมดาจากการดำเนินงานค่ะ เพียงแต่เปลี่ยนหน้ากันมา เดี๋ยวขาดทุนนั่น เดี๋ยวขาดทุนนี่ (รายการที่ต้องระวังน่าจะเป็นกำไรต่างๆ ที่เกิดจากการขายเงินลงทุนหรือสินทรัพย์ชิ้นใหญ่ๆ หรือการขายแล้วเช่ากลับคืนเพื่อทำกำไร)
ถามว่าขาดทุนนั่น ขาดทุนนี่เป็นรายการพิเศษที่นานๆ มาทีหรือ?.... ไม่ใช่ค่ะ เพราะขาดทุนที่ว่าทยอยมากันแน่ เพียงแต่เปลี่ยนหน้ากันมา
ไม่เชื่องบกำไรขาดทุน ระวังจะโดนหลอกนะคะ
-
- Verified User
- โพสต์: 10
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 23
คุณเข้าใจถูกแล้วครับchikojung เขียน:สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการแปลงงบกำไรขาดทุนเป็นงบกระแส เฉพาะเรื่องค่าเสื่อมครับ
โดยปกติ ผมเข้าใจว่าค่าเสื่อมจะอยู่ในงบกำไรขาดทุน 2 ส่วน
1. ถ้าเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าของบริษัทเลย ค่าเสื่อมจะแฝงอยู่ในต้นทุนสินค้าขาย
2. ถ้าเป็นอาคารสำนักงานค่าเสื่อมจะอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ถ้าตอนแปลงเป็นงบกระแสเงินสด น่าจะเอาค่าเสื่อมทั้ง 2 ส่วนมารวมกันใช่หรือไม่ครับ
ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยก่อนล่วงหน้าเลยนะครับ
ผมอ่านเองตีความเอง
- airazoc
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 904
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 24
ผมว่า บ่อยครั้งของพี่ฉัตรหมายถึง เราพบเห็นได้บ่อยครั้งในตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่ได้หมายถึงบริษัทเดียวบ่อยๆ ใช่หรือเปล่าครับ เช่นบางบริษัทมีกำไรพิเศษ หรือ ขาดทุนพิเศษหนนึงเพราะเหตุการณ์บางอย่าง ถ้าไปติดตามดูแล้วพบว่าน่าจะเกิดหนเดียวจริงๆ ถ้าเป็นแบบนั้น ผมก็ว่าน่าจะตัดออกตอนที่ประเมินมูลค่ากิจการครับ แต่ถ้าบริษัทเดิม มีรายการพิเศษมาบ่อยๆ (แบบหุ้นยอดฮิตตัวนึงในอดีต ผมเห็นรายการพิเศษตั้งสำรองมาทุกไตรมาส แถมเติบโตอย่างต่อเนื่องตามรายได้ด้วย) ผมก็เอามาคิดเป็นรายการปกติเลยครับ ปลอดภัยไว้ก่อน ถ้าบริษัทเลิกพิเศษเมื่อไหร่ ก็แจคพอต ถ้าไม่เลิก เราก็ price in เรื่องนี้ไว้แล้ว
"In life and business, there are two cardinal sins ... The first is to act precipitously without thought, and the second is to not act at all.” – Carl Icahn
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 25
ผมติดปัญหาเรื่องการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด
เนื่องจากบริษัทที่จดทะเบียนใน ตลท นั้นทำงบกระแสเงินสดแบบอ้อม
ทำให้การวิเคราะห์งบกระแสเงินสนั้นถ้าหากทำจากแบบตรงๆ มันทำได้เลย
มีการปรับแก้ไขอย่างไงให้มันวิเคราะห์ได้ละครับ
จนใจจริงในการทำการวิเคราะห์จากงบการเงินที่เขาทำมาให้ละครับ
เนื่องจากบริษัทที่จดทะเบียนใน ตลท นั้นทำงบกระแสเงินสดแบบอ้อม
ทำให้การวิเคราะห์งบกระแสเงินสนั้นถ้าหากทำจากแบบตรงๆ มันทำได้เลย
มีการปรับแก้ไขอย่างไงให้มันวิเคราะห์ได้ละครับ
จนใจจริงในการทำการวิเคราะห์จากงบการเงินที่เขาทำมาให้ละครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 28
ลองเปลี่ยนแนวคิดกันใหม่ดีไหมคะairazoc เขียน:ผมว่า บ่อยครั้งของพี่ฉัตรหมายถึง เราพบเห็นได้บ่อยครั้งในตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่ได้หมายถึงบริษัทเดียวบ่อยๆ ใช่หรือเปล่าครับ เช่นบางบริษัทมีกำไรพิเศษ หรือ ขาดทุนพิเศษหนนึงเพราะเหตุการณ์บางอย่าง ถ้าไปติดตามดูแล้วพบว่าน่าจะเกิดหนเดียวจริงๆ ถ้าเป็นแบบนั้น ผมก็ว่าน่าจะตัดออกตอนที่ประเมินมูลค่ากิจการครับ แต่ถ้าบริษัทเดิม มีรายการพิเศษมาบ่อยๆ (แบบหุ้นยอดฮิตตัวนึงในอดีต ผมเห็นรายการพิเศษตั้งสำรองมาทุกไตรมาส แถมเติบโตอย่างต่อเนื่องตามรายได้ด้วย) ผมก็เอามาคิดเป็นรายการปกติเลยครับ ปลอดภัยไว้ก่อน ถ้าบริษัทเลิกพิเศษเมื่อไหร่ ก็แจคพอต ถ้าไม่เลิก เราก็ price in เรื่องนี้ไว้แล้ว
สมัยก่อน นักบัญชีเคยแสดงรายการหนึ่งไว้ในงบกำไรขาดทุน เรียกว่า " รายการพิเศษ" กฎของการจำแนกรายการพิเศษคือ 1. ต้องไม่เกิดขึ้นบ่อย 2. ต้องไม่เกิดจากการดำเนินงานของกิจการ เหตุผลที่กฎตั้งไว้อย่างนั้นเพื่อเอาใจนักวิเคราะห์ในการ normalize earnings เพื่อที่เวลาประมาณราคาในทางสถิติจะทำได้ง่ายขึ้น เช่น การ valuation โดยใช้ time series หรือ regression analysis เพราะการมี outliers จะทำให้เส้นที่เราพยายามจะ fit บนข้อมูลถูกดึงให้เบี่ยงเบนโดยเลขตัวเดียว (หรือกำไรที่รวมรายการพิเศษ) นักบัญชีเลยแยกรายการพิเศษเป็นข้อมูลต่างหากไว้ให้นักลงทุนเอาไปหักจากกำไรเพื่อหา normalized earnings
นั่นคือเหตุการณ์นานมาแล้ว ก่อนที่โลกธุรกิจจะเติบโตและบริษัทจะมีโครงสร้างซับซ้อนอย่างทุกวันนี้
พอบัญชีอนุญาตให้มีรายการพิเศษ บริษัทก็เริ่มจัดประเภทรายการให้เป็นรายการพิเศษ เช่น หนี้สูญที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติเมื่อเกิดพิษต้มยำกุ้ง เงินลงทุนที่สูญเสียจากการโจมตีอิรัก ความเสียหายจากซึนามิ หรือจากน้ำท่วมใหญ่อย่างปีที่แล้ว การลดค่าเงินทำให้ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือแม้แต่การลดอัตราภาษีจนทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้พุ่งกระฉูด
สรุปว่า บริษัทใหญ่ๆ ต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่างชนิดกันไปทุกปี รายการพิเศษก็เกิดขึ้นบ่อยๆ ในบริษัทเดียวหรือต่างบริษัทก็เถอะ นักบัญชีหลังจากที่เข้าใจหลักการเงินมากขึ้น ก็เริ่มเห็นว่างบการเงินของเราเองนั่นแหละที่ทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด
เพราะในความเป็นจริง การบริหารบริษัทต้องทำควบคู่กับการบริหารความเสี่ยง ความเสี่ยงทุกชนิดป้องกันได้ หรือบรรเทาได้ ผู้้บริหารที่เก่งต้องทำการ hedging ค่าเงินหรือความผันผวนของราคาสินค้า ซื้อประกันภัยเพื่อป้องกันน้ำท่วม ปล่อยหนี้แบบมีเหตุผล diversify การลงทุน ฯลฯ ไม่ใช่ปล่อยให้เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว แล้วบอกว่าสุดวิสัยที่จะคาดการณ์ หรือเหตุการณ์อยู่เหนือการควบคุม เลยต้องแยกรายการเหล่านี้ออกมาเป็นรายการพิเศษ
ในที่สุด นักบัญชีก็ล้มเลิกการจัดประเภทรายการพิเศษ เพราะถือว่า รายการทุกรายการเกิดขึ้นจากการดำเนินงานหรือความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารทั้งสิ้น นั่นหมายความว่า งบกำไรขาดทุนสามารถวัดผลงานของบริษัทได้จริงโดยไม่ต้องกันรายการใดออกไปเป็นรายการพิเศษ
ยังนะคะ ยังไม่จบ เพราะนักลงทุนต้องพยายามเข้าใจต่อไปอีกว่า งบกำไรขาดทุนที่ใช้กันอยู่นั้น ให้ภาพแค่บางส่วน การดำเนินงานของบริษัทยังมีอะไรที่ไม่ได้รวมอยู่ในงบการเงินที่นักบัญชีเขากันออกไป แต่ตอนนี้ เขาค่อยๆ นำกลับเข้ามา และค่อยๆ แนะนำให้นักลงทุนรู้จัก นั่นคือ รายการที่อยู่ในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ซึ่งนักลงทุนวิเคราะห์หุ้นโดยไม่สนใจรายการเหล่านี้ เพราะมัวแต่ไปมุ่งอยู่กับงบกำไรขาดทุนที่คุ้นกัน
มาต่อเรื่องรายการพิเศษนะคะ ในการดำเนินงานของบริษัท ไม่มีรายการอะไรที่พิเศษค่ะ และก็ไม่มีรายการใดที่เป็นขาดทุนทางบัญชีที่มีผลกระทบเฉพาะกับตัวเลข นั่นเป็นเรื่องที่บริษัทอยากให้เราเชื่อ ดังนั้นในการวิเคราะห์ เราควรนำกำไรขาดทุนที่แสดงในงบกำไรขาดทุนมาวิเคราะห์ความสามารถของผู้บริหารโดยไม่ต้องกันรายการใดออก จะยกเว้น ( ในขณะนี้) ก็แต่รายการกำไรแปลกๆ หรือค่าใช้จ่ายติดลบที่ผู้บริหารสามารถควบคุมให้เกิดขึ้น เช่น การขายแล้วเช่ากลับคืนเพื่อบันทึกกำไรจากการขายทันที การขายเงินลงทุน lot ใหญ่เพื่อบันทึกกำไรเมื่อกำไรสุทธิตกต่ำ ส่วนเรื่องขาดทุนนั้น ไม่ต้องห่วงบริษัทหรอกค่ะ ถ้าเขาดึงได้ เขาดึงแล้ว บางครั้งเขาดึงรายการนี้ไม่ได้ เขาก็ไปดึงรายการอื่น เช่น ตั้งค่าเผื่อน้อยลง cap ค่าใช้จ่ายเป็นสินทรัพย์มากขึ้น
แม้กฎบัญชีจะพยายามออกให้เข้มที่สุด แต่จากนั้นมันเป็นเรื่องของคนปฎิบัติที่จะเลี่ยงกฎ ไม่ว่าจะเป็นผู้ออกกฎในไทยที่อยู่ข้างเดียวกับผู้ประกอบการ (แทนที่จะอยู่ข้างเดียวกับผู้ใช้งบการเงินที่เขาต้องพิทักษ์) ผู้กำกับดูแลที่ใกล้ชิดกับอำนาจของผู้ประกอบการ ตัวผู้ประกอบการเอง และผู้สอบบัญชี เรื่องนี้เป็นเรื่องของเงินกับอำนาจ เงินมากคนก็เกรงใจมาก
ทีนี้ก็มาถึงงบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสดแสดงการเปลี่ยนแปลงของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงิน (บรรทัดแรกในงบดุล โปรดสังเกตนะคะ ว่าพื้นฐานเลยคือการเปลี่ยนแปลงของรายการบรรทัดเดียว) อยากให้งบกระแสเงินสดเปลี่ยนไป แค่เอาเงินใส่เข้าบัญชีก่อนวันปิดงบ งบกระแสเงินสดก็เปลี่ยนไปแล้ว เช่น ขายเงินลงทุนสักรายการ งบก็เปลี่ยนเพราะเงินสดเปลี่ยน หรือยืมเงินใครเข้ามางบก็เปลี่ยนไป เปลี่ยนไปโดยธรรมชาติของมัน ไม่ต้องแต่งตัวเลขให้ผิดกฎด้วย (สวยด้วยแพทย์ไม่ผิดกฎหมายอย่างว่า) นี่ยังไม่ได้พูดถึงการแต่งตัวเลขแบบผิดกฎหรือการเดินเหยียบเส้นสีเทาๆ ในการออกงบนะ
แต่คุณกลับเชื่องบกระแสเงินสดมากกว่างบกำไรขาดทุน
]ข้อนี้นักบัญชีงงค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 10
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 29
การปรับงบกระแสเงินสด ในส่วนกิจกรรมดำเนินงาน จากแบบอ้อมมาเป็นแบบตรงนั้น สามารถทำได้ด้วยข้อมูลจากงบการเงินที่บริษัทให้มาครับmiracle เขียน:ผมติดปัญหาเรื่องการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด
เนื่องจากบริษัทที่จดทะเบียนใน ตลท นั้นทำงบกระแสเงินสดแบบอ้อม
ทำให้การวิเคราะห์งบกระแสเงินสนั้นถ้าหากทำจากแบบตรงๆ มันทำได้เลย
มีการปรับแก้ไขอย่างไงให้มันวิเคราะห์ได้ละครับ
จนใจจริงในการทำการวิเคราะห์จากงบการเงินที่เขาทำมาให้ละครับ
ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจลักษณะกิจการของบริษัท, บัญชีจามเกณฑ์คงค้าง, และความเข้าใจในการจัดทำงบกระแสเงินสด(ทั้งทางตรงและทางอ้อม)
หลังจากนั้นด้วยข้อมูลที่บริษัทให้มา(งบการเงินพร้อมกับหมายเหตุประกอบงบการเงิน)มันก็ไม่เป็นงานที่ยากเกินไปที่จะปรับงบกระแสเงินสดจากทางอ้อมเป็นทางตรง (หรือจะทำจากทางตรงให้เป็นทางอ้อมก็ได้)
ตัวอย่างเช่นการคิดรายได้ที่เป็นเงินสด(จุดเริ่มต้นของงบกระแสเงินสดแบบทางตรง) คิดได้ง่ายๆโดยการ นำรายได้จากงบกำไรขาดทุน + ลูกหนี้การค้า(ยอดก่อนตัดหนี้สงใสจะสูญ)ต้นปี(เท่ากับยอดของสิ้นปีที่แล้ว) - ลูกหนี้การค้า(ยอดก่อนตัดหนี้สงใสจะสูญ)สิ้นปี - ลูกหนี้ที่เราตัดหนี้สูญในปีนั้น(ส่วนที่เราตัดออกไปจากบัญชีเลย ไม่ใช่ที่เราตั้งหนี้สงใสจะสูญ)
สำหรับรายการอื่นๆนั้นก็ใช้หลักการคล้ายๆกัน แต่ว่าแต่ละรายการก็จะมีรายละเอียดไม่เหมือนกันซะทีเดียว ซึ่งถ้าจะอธิบายทุกรายการคงต้องขอให้อาจารย์ภาพรเปิด course บัญชีเลยหละครับ
แต่ถ้าคุณเข้าใจหลักการทั้งสามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วก็สามารถลองปรับงบกระแสเงินสดจากทางอ้อมมาเป็นทางตรงดูได้นะครับ และถ้าอยากรู้ว่าถูกหรือไม่ก็ลองเทียบ "เงินสดที่ได้มา(ใช้ไป)ในกิจกรรมดำเนินการ" กับยอดที่บริษัทรายงานไว้ใน งบกระแสเงินสดแบบทางอ้อม ซึ่งถ้าตรงกันก็มีโอกาสสูงที่คุณจะทำถูก แต่ถ้ามันไม่ตรงกันและคุณมั่นใจว่างบที่บริษัทรางงานมานั้นมีความถูกต้อง งบที่คุณลองทำก็ผิดแน่นอน
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งบกระแสเงินสด
โพสต์ที่ 30
เพิ่มเติมความเห็นให้คุณ mirฟcle ครับ เรื่องการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด
การวิเคราะห์เพื่อการลงทุนดูทางออ้อมก็พอครับ การวิเคราะห์แบบทางตรงก็อาจดีจริงรับ แต่ในความเห็นผมแล้ว เรารู้รายละเอียดมากเกินไป บางครั้งก็ไม่ได้ทำให้เราวิเคราะห์ภาพใหญ่ๆ ของบริษัทนั้นได้มากเท่าไร เช่นค่าขาย เราไปรู้ว่าขายใครขายเมื่อไร บริษัทนั้นๆ อาจให้เครดิต ชำระเงินลูกค้าแตกต่างหลากหลาย บ้างให้ 30 วัน บ้างให้ 60 วัน บ้างให้90 วัน เราไม่สนใกรอกครับ ดูรวมๆเฉลี่ยเลยจากการวิเคราะห์ว่าเก็บกี่วัน (จากอัตราส่วน a/r turnover) เทียบกับอุตสาหกรรมแล้วดีกว่ ด้อยกว่า เอาค่าที่ได้ไป หาระยะวงจรเงินสด ก็เห็นภาพว่ากิจการนี้ มเงินหมุนเวียนดีหม แนวโน้มจะต้องสร้างหนี้มากไหม หรือทำให้เราเข้าใจได้ว่า หนี้ระยะสั้นมีมากน้อยเราะอะไร บางบริษัท มีวงจรเงินสดยาวกว่า 90 วัน หนี้ระยะสั้น (เช่น โอดี) เป็นพันล้าน แปลว่า ก่อหนี้มาใช้หมุนเวียนดำเนินงาน ถ้าวงจรการดำเนินงานสะดุด ล้มได้ง่าย แบบนี่เรียกว่า ถ้าเจอการนัดหยุดงาน น้ำท่วม อะไรก็ตามมาสะดุด operating process จะเสี่ยงมาก บางบริษัท วงจรสั้น แต่มีกู้ระยะสั้นสูง บางำด้ว่าใช้เงินผิดประเภท กู้สั้นลงทุนสินทรัพ์ระยาว หรือจ้ายหนี้ระยะยาว ผมอาจไม่สนใจมากว่าต่าขายเป็นเงินสดกี่บาท จ่ายค่าสินค้า กี่บาท จ่ายๆๆ อะไรกี่บาท เพราะขายแล้ว ถ้าเก็บเงินช้า ค่าขายก็ปรับปรุงด้วนส่วนเปลี่ยนแปลงลูกหนี้เพิ่ม ลด ระหว่างงวด มันก็สท้อนเป็นค่าขายเงินสดเงินในตัวแล้ว ผมจะดู CFO งวดนี้เป็นอย่างไร กำไรรายงานอย่างไร คุณภาพกำไรดีไหม scan คร่าวๆ ว่า เงินสดมันมา มันไป แล้วกระทบมา CFO อย่างไร เพิ่มมากกว่ากำไรเพราะสินทรัพย์หมุนเวียนลดมาก หรือเพราะหนี้สินหมุเวียนเพิ่มมาก หรือ ลดลงมากเพราะสินทรัพย์หมุน้วียนเพิ่มมาก จากอะไร ย่อยลงไป ด้านหนี้สินหมุนเวียนก็เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบจะบอกภาพเคลื่อนไหวบริษัทได้ว่าทำอะไรที่ผิดปกติจากที่ธุรกิจเทไหม ดูแล้วมีเหตุผลไหม เป็นต้น นี่ละใช้งบทางอ้อมวิเคราะห์การลงทุนก็ได้ ไม่ต้องใช้แบบทางตรงก็ได้
การวิเคราะห์เพื่อการลงทุนดูทางออ้อมก็พอครับ การวิเคราะห์แบบทางตรงก็อาจดีจริงรับ แต่ในความเห็นผมแล้ว เรารู้รายละเอียดมากเกินไป บางครั้งก็ไม่ได้ทำให้เราวิเคราะห์ภาพใหญ่ๆ ของบริษัทนั้นได้มากเท่าไร เช่นค่าขาย เราไปรู้ว่าขายใครขายเมื่อไร บริษัทนั้นๆ อาจให้เครดิต ชำระเงินลูกค้าแตกต่างหลากหลาย บ้างให้ 30 วัน บ้างให้ 60 วัน บ้างให้90 วัน เราไม่สนใกรอกครับ ดูรวมๆเฉลี่ยเลยจากการวิเคราะห์ว่าเก็บกี่วัน (จากอัตราส่วน a/r turnover) เทียบกับอุตสาหกรรมแล้วดีกว่ ด้อยกว่า เอาค่าที่ได้ไป หาระยะวงจรเงินสด ก็เห็นภาพว่ากิจการนี้ มเงินหมุนเวียนดีหม แนวโน้มจะต้องสร้างหนี้มากไหม หรือทำให้เราเข้าใจได้ว่า หนี้ระยะสั้นมีมากน้อยเราะอะไร บางบริษัท มีวงจรเงินสดยาวกว่า 90 วัน หนี้ระยะสั้น (เช่น โอดี) เป็นพันล้าน แปลว่า ก่อหนี้มาใช้หมุนเวียนดำเนินงาน ถ้าวงจรการดำเนินงานสะดุด ล้มได้ง่าย แบบนี่เรียกว่า ถ้าเจอการนัดหยุดงาน น้ำท่วม อะไรก็ตามมาสะดุด operating process จะเสี่ยงมาก บางบริษัท วงจรสั้น แต่มีกู้ระยะสั้นสูง บางำด้ว่าใช้เงินผิดประเภท กู้สั้นลงทุนสินทรัพ์ระยาว หรือจ้ายหนี้ระยะยาว ผมอาจไม่สนใจมากว่าต่าขายเป็นเงินสดกี่บาท จ่ายค่าสินค้า กี่บาท จ่ายๆๆ อะไรกี่บาท เพราะขายแล้ว ถ้าเก็บเงินช้า ค่าขายก็ปรับปรุงด้วนส่วนเปลี่ยนแปลงลูกหนี้เพิ่ม ลด ระหว่างงวด มันก็สท้อนเป็นค่าขายเงินสดเงินในตัวแล้ว ผมจะดู CFO งวดนี้เป็นอย่างไร กำไรรายงานอย่างไร คุณภาพกำไรดีไหม scan คร่าวๆ ว่า เงินสดมันมา มันไป แล้วกระทบมา CFO อย่างไร เพิ่มมากกว่ากำไรเพราะสินทรัพย์หมุนเวียนลดมาก หรือเพราะหนี้สินหมุเวียนเพิ่มมาก หรือ ลดลงมากเพราะสินทรัพย์หมุน้วียนเพิ่มมาก จากอะไร ย่อยลงไป ด้านหนี้สินหมุนเวียนก็เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบจะบอกภาพเคลื่อนไหวบริษัทได้ว่าทำอะไรที่ผิดปกติจากที่ธุรกิจเทไหม ดูแล้วมีเหตุผลไหม เป็นต้น นี่ละใช้งบทางอ้อมวิเคราะห์การลงทุนก็ได้ ไม่ต้องใช้แบบทางตรงก็ได้