ปัญหาทางความคิด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- little wing
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
ปัญหาทางความคิด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 7 กรกฎาคม 55
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ปัญหาทางความคิด
คนที่เริ่มศึกษาเรื่องหุ้นนั้น ในช่วงแรก ๆ เขาจะรู้จักกับแนวความคิดแบบหนึ่งที่เขาเชื่อว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องและจะพาให้เขาประสบความสำเร็จในการลงทุน ต่อมาเมื่อเขาได้ฟัง ได้อ่าน และศึกษาเพิ่มขึ้น เขาก็อาจจะพบว่ายังมีแนวความคิดหรือทฤษฎีอื่นที่น่าสนใจและอาจจะช่วยให้ผลงานการลงทุนของเขาดีขึ้นแม้ว่าทฤษฎีหรือแนวความคิดใหม่นี้อาจจะไม่ตรงหรือแย้งกับสิ่งที่เขาเข้าใจมาในอดีต หลักการไหนกันแน่ที่เขาควรจะเชื่อและปฏิบัติตาม? แต่ก่อนจะถึงจุดนั้น ลองมาดูกันว่ามีแนวความคิดอะไรที่ดูเหมือนจะแย้งกันสุดขั้ว
ความคิดข้อแรกที่ดูมีปัญหาก็คือ การถือหุ้นสั้นนั้นไม่เสี่ยง การถือหุ้นยาวคือความเสี่ยง เหตุผลก็คือ ในระยะยาวเราคาดการณ์อะไรไม่ได้ ดังนั้นจึงเป็นความเสี่ยง และนี่ก็คือความคิดของนักเล่นหุ้นที่เน้นแนวเทคนิค แต่ในอีกด้านหนึ่ง คนที่เป็น Value Investor ที่ซื้อหุ้นเหมือนกับการลงทุนทำธุรกิจนั้นกลับมองว่า การถือหุ้นสั้นนั้นมีความเสี่ยง เพราะในระยะสั้นตลาดหุ้นอาจจะมีความผันผวนจากปัจจัยทางด้านมหภาคเช่นเรื่องของเศรษฐกิจและตลาดหุ้น แต่ในระยะยาวแล้ว ถ้ากิจการเราวิเคราะห์มาเป็นอย่างดีว่าจะเติบโตและกำไรเพิ่มขึ้น ในที่สุดแล้ว ราคาหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นตาม ดังนั้น ในระยะยาวแล้วโอกาสที่จะขาดทุนก็จะน้อยมาก ดังนั้น ถือหุ้นสั้น เสี่ยง ถือยาว ไม่เสี่ยง
ความคิดข้อสองที่หลายครั้งเราได้ยินว่า การลงทุนหรือการเล่นหุ้นนั้น อย่าไปซื้อตอนหุ้นกำลังลง ต้องซื้อตอนหุ้นกำลังขึ้น นักเล่นหุ้น “รายใหญ่” ที่ใช้สไตล์การเล่น “แรงและเร็ว” นั้น บางคนถึงกับบอกเลยว่า ถ้าซื้อแล้วหุ้นไม่ขึ้นก็อาจจะต้องขายทันที ถ้าซื้อแล้วหุ้นวิ่งก็จะซื้อเพิ่มขึ้นไปอีก เรียกว่า Average Up คือซื้อถัวเฉลี่ยในราคาที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กลับกัน เรามักจะได้ยินว่านักลงทุน โดยเฉพาะที่เป็นระยะยาวควรจะซื้อหุ้นแบบ Average Down คือซื้อหุ้นเมื่อราคาลดลง ยิ่งลดลงก็ยิ่งซื้อเพื่อ “ลดต้นทุน” ต่อหุ้นลง นอกจากนี้ เราก็ยังมีทฤษฎี Dollar Cost Average ที่บอกให้ซื้อหุ้นเฉลี่ยไปเรื่อย ๆ ด้วยเม็ดเงินเท่ากันทุกเดือนหรือทุกปีโดยไม่ต้องสนใจว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง ข้อดีก็คือ ถ้าเดือนไหนหุ้นขึ้นเราก็จะซื้อหุ้นได้น้อยหน่อย ช่วงไหนที่หุ้นลง เราก็ซื้อหุ้นได้มากหน่อย ดังนั้น ต้นทุนเฉลี่ยต่อหุ้นก็จะลดลง
ความคิดข้อที่สามก็คือ วิธีที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีและเร็วที่สุดก็คือ ซื้อหุ้นที่ถูก และขายเมื่อราคาขึ้นมา “เต็มมูลค่า” แล้ว นี่คือแนวทางของ VI ส่วนใหญ่ที่มักจะมีการวิเคราะห์หา “มูลค่าที่แท้จริง” อย่าง “ละเอียดถี่ถ้วน” และซื้อขายหุ้นค่อนข้างบ่อยเพื่อสร้างผลตอบแทน “อย่างรวดเร็ว” ในขณะที่อีกแนวความคิดหนึ่งก็คือ ซื้อหุ้นของกิจการที่ดีมาก และถือไว้ยาวนานตราบที่มันยังดีอยู่ นี่คือแบบที่ วอเร็น บัฟเฟตต์ ใช้ แต่ VI จำนวนมากก็ไม่เชื่อว่าวิธีนี้จะสร้างผลตอบแทนที่ดีมาก ๆ ได้ เหตุผลก็คือ ในระยะยาวแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ยากที่บริษัทจะโตได้เกินปีละ 15-20% ดังนั้น ถ้าถือหุ้นแบบนี้ในระยะยาวพอร์ตก็จะโตได้อย่างมากก็ปีละ 15-20% สู้ซื้อหุ้นที่ถูกและขายภายในเวลาไม่กี่เดือนเมื่อได้กำไร 15-20% แล้วก็ไปซื้อหุ้นถูกตัวใหม่ที่จะได้กำไรอีก 15-20% ถ้าทำแบบนี้ได้ปีละ 3-4 ครั้งก็จะได้ผลตอบแทนปีละไม่ต่ำกว่า 40-50% เป็นอย่างน้อย
ความคิดที่สี่ก็คือ การลงทุนนั้น เราควรที่จะต้อง กระจายความเสี่ยง โดยการถือครองหุ้นหลาย ๆ ตัว และแต่ละตัวอาจจะไม่เกิน 5-10% ของพอร์ตโดยรวม การทำแบบนี้จะทำให้ความเสี่ยงลดลง ตรงกันข้าม เราก็มีแนวความคิดการลงทุนแบบ Focus หรือเน้นลงทุนในหุ้นน้อยตัวแบบ วอเร็น บัฟเฟตต์ ซึ่งในช่วงแรก ๆ ของการลงทุนนั้น บางครั้งเขาถือหุ้นตัวเดียวเกิน 30-40% ของพอร์ตก็เคยมี การลงทุนแบบนี้จะทำให้ผลตอบแทนสูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญแต่ก็มีความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตาม คนที่สนับสนุนแนวความคิดนี้มักจะบอกว่า เขาศึกษาตัวหุ้นนี้มาเป็นอย่างดี ดังนั้น เขาไม่คิดว่าเป็นความเสี่ยง อย่างก็ตาม ในประเด็นเรื่องของกลยุทธการกระจายความเสี่ยงโดยการถือครองหุ้นนี้ ในหมู่นักลงทุนไทย ซึ่งรวมถึง “VI” จำนวนมาก พวกเขานั้นลงทุนยิ่งกว่าคำว่า Focus นั่นคือ หลายคนถือหุ้นตัวเดียวคิดเป็น 50% หรือบางคนถือหุ้นตัวเดียว 100% และบางครั้งถือเกิน 100% นั่นคือ ใช้มาร์จินซื้อหุ้นเพิ่มด้วย
ความคิดที่ห้า ก็คือ ภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นหรือภาพของเศรษฐกิจมหภาคนั้น มีความสำคัญต่อการลงทุน ดังนั้น ถ้าภาพไม่ดี เราก็ต้องออกจากตลาด เราไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ในตลาดตลอดเวลา ว่าที่จริง ปี ๆ หนึ่งเราอาจจะเล่นเพียงแค่ 2-3 รอบเท่านั้น หรือบางปีเราอาจจะไม่เล่นเลยก็ได้ ตรงกันข้าม อีกความคิดหนึ่งก็คือ เศรษฐกิจหรือตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร เราไม่ต้องสนใจ เราสนใจเฉพาะว่ากิจการที่เราลงทุนเป็นอย่างไร ถ้าดีอยู่เราก็ซื้อหรือถือไว้ เพราะเราลงทุนกับบริษัท เราไม่ได้ลงทุนในดัชนีหรือลงทุนซื้อหุ้นทั้งตลาด ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว เราจะอยู่ในตลาดตลอดเวลา และบางคนก็แทบจะถือหุ้น 100% ไม่ถือเงินสดเลยด้วยซ้ำ
ความคิดที่หกก็คือ แนวคิด กลยุทธ์ และข้อมูลทางเทคนิค กับ วิธีการลงทุนแบบ VI นั้น เอามาใช้ประกอบกันได้ หลาย ๆ คนมีความคิดว่าเขาหาหุ้นแบบ VI แต่จังหวะซื้อหรือขายนั้น ดูจากข้อมูลทางเทคนิค เพราะเขาเชื่อว่าวิธีนี้จะทำให้เขาสามารถทำผลตอบแทนได้สูงกว่าการใช้หลักการแบบ VI อย่างเดียว ส่วนอีกแนวทางหนึ่งมักมาจากพวก “VI พันธุ์แท้” ที่มองว่า หลักการทางเทคนิคนั้น ไม่มีประโยชน์ และบ่อยครั้งขัดแย้งกับหลักการ “พื้นฐาน” ของกิจการ การนำมาใช้ หรือใช้ร่วมกับวิธีการของ VI นั้น ไม่ถูกต้องและอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้
ความคิดที่เจ็ดคือ แนวความคิดที่ว่าสไตล์และวิธีการลงทุนที่ถูกต้องนั้น ย่อมต้องขึ้นอยู่กับตัวนักลงทุนด้วย นั่นแปลว่า หลักการที่บัฟเฟตต์ใช้และประสบความสำเร็จอย่างสูงนั้น เราจะเอามาใช้ตรง ๆ ไม่ได้ เพราะเราไม่ใช่บัฟเฟตต์ เราไม่มีความสามารถและมี อีคิว เหมือนบัฟเฟตต์ เราไม่ได้มีพอร์ตใหญ่เหมือนบัฟเฟตต์ และสุดท้ายก็คือ เราไม่ได้อยู่ในอเมริกา สิ่งที่เราควรทำก็คือ ดูว่า “จริต” เราเป็นอย่างไร และเลือกหลักการลงทุนที่ “ถูกกับจริตเรา” มากที่สุด ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีความคิดว่า เราจะต้องปรับตัวเราหรือสอนให้ตัวเราเรียนรู้หลักการและวิธีการลงทุนที่ถูกต้องที่สุด ถ้าจริตของเราไม่เหมาะสมกับหลักหรือวิธีการลงทุนที่ถูกต้อง เราจะต้องแก้ไข มิฉะนั้นเราจะไม่ประสบความสำเร็จ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ หุ้นนั้นมันไม่รู้หรอกว่าใครเป็นเจ้าของ มันไม่เปลี่ยนตามเรา เราจะต้องเปลี่ยนแปลงตามมัน
เขียนถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเริ่มสับสนและไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง และเราจะเชื่อด้านไหนในแต่ละเรื่องแต่ละประเด็น ส่วนตัวผมเองนั้นคิดว่า ด้านไหนเป็นสิ่งที่ถูกต้องนั้นขึ้นอยู่กับความเชื่อหรือแนวความคิดพื้นฐานของเรา ถ้าเราเป็น “VI พันธุ์แท้” เราก็มีแนวโน้มจะเชื่อด้านหนึ่งแต่ถ้าเราเป็น “นักเก็งกำไร” เราก็มีแนวโน้มจะเชื่อไปอีกด้านหนึ่ง และผมเชื่อว่าแนวทางนั้นอาจจะดีกับความคิดพื้นฐานดังกล่าว ดังนั้น สิ่งที่ผมแนะนำก็คือ เวลาเราศึกษา จะต้องดูว่าเหตุผลที่เขาใช้คืออะไร ความคิดนั้นมาจากหลักการอะไร ถ้ามันมาจากแนวคิดพื้นฐานที่เราใช้ นั่นก็คือ มันคือความคิดที่ถูกต้อง และเราควรจะยึดถือมัน อย่าวอกแวก การลงทุนนั้นประกอบไปด้วยหลักการต่าง ๆ มากมาย ถ้ามันไม่สอดคล้องกัน มันก็จะเหมือนเครื่องจักรที่เดินไม่ราบรื่นอย่างแน่นอน
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ปัญหาทางความคิด
คนที่เริ่มศึกษาเรื่องหุ้นนั้น ในช่วงแรก ๆ เขาจะรู้จักกับแนวความคิดแบบหนึ่งที่เขาเชื่อว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องและจะพาให้เขาประสบความสำเร็จในการลงทุน ต่อมาเมื่อเขาได้ฟัง ได้อ่าน และศึกษาเพิ่มขึ้น เขาก็อาจจะพบว่ายังมีแนวความคิดหรือทฤษฎีอื่นที่น่าสนใจและอาจจะช่วยให้ผลงานการลงทุนของเขาดีขึ้นแม้ว่าทฤษฎีหรือแนวความคิดใหม่นี้อาจจะไม่ตรงหรือแย้งกับสิ่งที่เขาเข้าใจมาในอดีต หลักการไหนกันแน่ที่เขาควรจะเชื่อและปฏิบัติตาม? แต่ก่อนจะถึงจุดนั้น ลองมาดูกันว่ามีแนวความคิดอะไรที่ดูเหมือนจะแย้งกันสุดขั้ว
ความคิดข้อแรกที่ดูมีปัญหาก็คือ การถือหุ้นสั้นนั้นไม่เสี่ยง การถือหุ้นยาวคือความเสี่ยง เหตุผลก็คือ ในระยะยาวเราคาดการณ์อะไรไม่ได้ ดังนั้นจึงเป็นความเสี่ยง และนี่ก็คือความคิดของนักเล่นหุ้นที่เน้นแนวเทคนิค แต่ในอีกด้านหนึ่ง คนที่เป็น Value Investor ที่ซื้อหุ้นเหมือนกับการลงทุนทำธุรกิจนั้นกลับมองว่า การถือหุ้นสั้นนั้นมีความเสี่ยง เพราะในระยะสั้นตลาดหุ้นอาจจะมีความผันผวนจากปัจจัยทางด้านมหภาคเช่นเรื่องของเศรษฐกิจและตลาดหุ้น แต่ในระยะยาวแล้ว ถ้ากิจการเราวิเคราะห์มาเป็นอย่างดีว่าจะเติบโตและกำไรเพิ่มขึ้น ในที่สุดแล้ว ราคาหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นตาม ดังนั้น ในระยะยาวแล้วโอกาสที่จะขาดทุนก็จะน้อยมาก ดังนั้น ถือหุ้นสั้น เสี่ยง ถือยาว ไม่เสี่ยง
ความคิดข้อสองที่หลายครั้งเราได้ยินว่า การลงทุนหรือการเล่นหุ้นนั้น อย่าไปซื้อตอนหุ้นกำลังลง ต้องซื้อตอนหุ้นกำลังขึ้น นักเล่นหุ้น “รายใหญ่” ที่ใช้สไตล์การเล่น “แรงและเร็ว” นั้น บางคนถึงกับบอกเลยว่า ถ้าซื้อแล้วหุ้นไม่ขึ้นก็อาจจะต้องขายทันที ถ้าซื้อแล้วหุ้นวิ่งก็จะซื้อเพิ่มขึ้นไปอีก เรียกว่า Average Up คือซื้อถัวเฉลี่ยในราคาที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กลับกัน เรามักจะได้ยินว่านักลงทุน โดยเฉพาะที่เป็นระยะยาวควรจะซื้อหุ้นแบบ Average Down คือซื้อหุ้นเมื่อราคาลดลง ยิ่งลดลงก็ยิ่งซื้อเพื่อ “ลดต้นทุน” ต่อหุ้นลง นอกจากนี้ เราก็ยังมีทฤษฎี Dollar Cost Average ที่บอกให้ซื้อหุ้นเฉลี่ยไปเรื่อย ๆ ด้วยเม็ดเงินเท่ากันทุกเดือนหรือทุกปีโดยไม่ต้องสนใจว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง ข้อดีก็คือ ถ้าเดือนไหนหุ้นขึ้นเราก็จะซื้อหุ้นได้น้อยหน่อย ช่วงไหนที่หุ้นลง เราก็ซื้อหุ้นได้มากหน่อย ดังนั้น ต้นทุนเฉลี่ยต่อหุ้นก็จะลดลง
ความคิดข้อที่สามก็คือ วิธีที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีและเร็วที่สุดก็คือ ซื้อหุ้นที่ถูก และขายเมื่อราคาขึ้นมา “เต็มมูลค่า” แล้ว นี่คือแนวทางของ VI ส่วนใหญ่ที่มักจะมีการวิเคราะห์หา “มูลค่าที่แท้จริง” อย่าง “ละเอียดถี่ถ้วน” และซื้อขายหุ้นค่อนข้างบ่อยเพื่อสร้างผลตอบแทน “อย่างรวดเร็ว” ในขณะที่อีกแนวความคิดหนึ่งก็คือ ซื้อหุ้นของกิจการที่ดีมาก และถือไว้ยาวนานตราบที่มันยังดีอยู่ นี่คือแบบที่ วอเร็น บัฟเฟตต์ ใช้ แต่ VI จำนวนมากก็ไม่เชื่อว่าวิธีนี้จะสร้างผลตอบแทนที่ดีมาก ๆ ได้ เหตุผลก็คือ ในระยะยาวแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ยากที่บริษัทจะโตได้เกินปีละ 15-20% ดังนั้น ถ้าถือหุ้นแบบนี้ในระยะยาวพอร์ตก็จะโตได้อย่างมากก็ปีละ 15-20% สู้ซื้อหุ้นที่ถูกและขายภายในเวลาไม่กี่เดือนเมื่อได้กำไร 15-20% แล้วก็ไปซื้อหุ้นถูกตัวใหม่ที่จะได้กำไรอีก 15-20% ถ้าทำแบบนี้ได้ปีละ 3-4 ครั้งก็จะได้ผลตอบแทนปีละไม่ต่ำกว่า 40-50% เป็นอย่างน้อย
ความคิดที่สี่ก็คือ การลงทุนนั้น เราควรที่จะต้อง กระจายความเสี่ยง โดยการถือครองหุ้นหลาย ๆ ตัว และแต่ละตัวอาจจะไม่เกิน 5-10% ของพอร์ตโดยรวม การทำแบบนี้จะทำให้ความเสี่ยงลดลง ตรงกันข้าม เราก็มีแนวความคิดการลงทุนแบบ Focus หรือเน้นลงทุนในหุ้นน้อยตัวแบบ วอเร็น บัฟเฟตต์ ซึ่งในช่วงแรก ๆ ของการลงทุนนั้น บางครั้งเขาถือหุ้นตัวเดียวเกิน 30-40% ของพอร์ตก็เคยมี การลงทุนแบบนี้จะทำให้ผลตอบแทนสูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญแต่ก็มีความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตาม คนที่สนับสนุนแนวความคิดนี้มักจะบอกว่า เขาศึกษาตัวหุ้นนี้มาเป็นอย่างดี ดังนั้น เขาไม่คิดว่าเป็นความเสี่ยง อย่างก็ตาม ในประเด็นเรื่องของกลยุทธการกระจายความเสี่ยงโดยการถือครองหุ้นนี้ ในหมู่นักลงทุนไทย ซึ่งรวมถึง “VI” จำนวนมาก พวกเขานั้นลงทุนยิ่งกว่าคำว่า Focus นั่นคือ หลายคนถือหุ้นตัวเดียวคิดเป็น 50% หรือบางคนถือหุ้นตัวเดียว 100% และบางครั้งถือเกิน 100% นั่นคือ ใช้มาร์จินซื้อหุ้นเพิ่มด้วย
ความคิดที่ห้า ก็คือ ภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นหรือภาพของเศรษฐกิจมหภาคนั้น มีความสำคัญต่อการลงทุน ดังนั้น ถ้าภาพไม่ดี เราก็ต้องออกจากตลาด เราไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ในตลาดตลอดเวลา ว่าที่จริง ปี ๆ หนึ่งเราอาจจะเล่นเพียงแค่ 2-3 รอบเท่านั้น หรือบางปีเราอาจจะไม่เล่นเลยก็ได้ ตรงกันข้าม อีกความคิดหนึ่งก็คือ เศรษฐกิจหรือตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร เราไม่ต้องสนใจ เราสนใจเฉพาะว่ากิจการที่เราลงทุนเป็นอย่างไร ถ้าดีอยู่เราก็ซื้อหรือถือไว้ เพราะเราลงทุนกับบริษัท เราไม่ได้ลงทุนในดัชนีหรือลงทุนซื้อหุ้นทั้งตลาด ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว เราจะอยู่ในตลาดตลอดเวลา และบางคนก็แทบจะถือหุ้น 100% ไม่ถือเงินสดเลยด้วยซ้ำ
ความคิดที่หกก็คือ แนวคิด กลยุทธ์ และข้อมูลทางเทคนิค กับ วิธีการลงทุนแบบ VI นั้น เอามาใช้ประกอบกันได้ หลาย ๆ คนมีความคิดว่าเขาหาหุ้นแบบ VI แต่จังหวะซื้อหรือขายนั้น ดูจากข้อมูลทางเทคนิค เพราะเขาเชื่อว่าวิธีนี้จะทำให้เขาสามารถทำผลตอบแทนได้สูงกว่าการใช้หลักการแบบ VI อย่างเดียว ส่วนอีกแนวทางหนึ่งมักมาจากพวก “VI พันธุ์แท้” ที่มองว่า หลักการทางเทคนิคนั้น ไม่มีประโยชน์ และบ่อยครั้งขัดแย้งกับหลักการ “พื้นฐาน” ของกิจการ การนำมาใช้ หรือใช้ร่วมกับวิธีการของ VI นั้น ไม่ถูกต้องและอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้
ความคิดที่เจ็ดคือ แนวความคิดที่ว่าสไตล์และวิธีการลงทุนที่ถูกต้องนั้น ย่อมต้องขึ้นอยู่กับตัวนักลงทุนด้วย นั่นแปลว่า หลักการที่บัฟเฟตต์ใช้และประสบความสำเร็จอย่างสูงนั้น เราจะเอามาใช้ตรง ๆ ไม่ได้ เพราะเราไม่ใช่บัฟเฟตต์ เราไม่มีความสามารถและมี อีคิว เหมือนบัฟเฟตต์ เราไม่ได้มีพอร์ตใหญ่เหมือนบัฟเฟตต์ และสุดท้ายก็คือ เราไม่ได้อยู่ในอเมริกา สิ่งที่เราควรทำก็คือ ดูว่า “จริต” เราเป็นอย่างไร และเลือกหลักการลงทุนที่ “ถูกกับจริตเรา” มากที่สุด ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีความคิดว่า เราจะต้องปรับตัวเราหรือสอนให้ตัวเราเรียนรู้หลักการและวิธีการลงทุนที่ถูกต้องที่สุด ถ้าจริตของเราไม่เหมาะสมกับหลักหรือวิธีการลงทุนที่ถูกต้อง เราจะต้องแก้ไข มิฉะนั้นเราจะไม่ประสบความสำเร็จ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ หุ้นนั้นมันไม่รู้หรอกว่าใครเป็นเจ้าของ มันไม่เปลี่ยนตามเรา เราจะต้องเปลี่ยนแปลงตามมัน
เขียนถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเริ่มสับสนและไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง และเราจะเชื่อด้านไหนในแต่ละเรื่องแต่ละประเด็น ส่วนตัวผมเองนั้นคิดว่า ด้านไหนเป็นสิ่งที่ถูกต้องนั้นขึ้นอยู่กับความเชื่อหรือแนวความคิดพื้นฐานของเรา ถ้าเราเป็น “VI พันธุ์แท้” เราก็มีแนวโน้มจะเชื่อด้านหนึ่งแต่ถ้าเราเป็น “นักเก็งกำไร” เราก็มีแนวโน้มจะเชื่อไปอีกด้านหนึ่ง และผมเชื่อว่าแนวทางนั้นอาจจะดีกับความคิดพื้นฐานดังกล่าว ดังนั้น สิ่งที่ผมแนะนำก็คือ เวลาเราศึกษา จะต้องดูว่าเหตุผลที่เขาใช้คืออะไร ความคิดนั้นมาจากหลักการอะไร ถ้ามันมาจากแนวคิดพื้นฐานที่เราใช้ นั่นก็คือ มันคือความคิดที่ถูกต้อง และเราควรจะยึดถือมัน อย่าวอกแวก การลงทุนนั้นประกอบไปด้วยหลักการต่าง ๆ มากมาย ถ้ามันไม่สอดคล้องกัน มันก็จะเหมือนเครื่องจักรที่เดินไม่ราบรื่นอย่างแน่นอน
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหาทางความคิด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณท่านอ.มากคับ
หลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้นได้ถูกนายตลาดทดสอบมาอย่างเข้มข้นและยาวนานก็สามารถผ่านบททดสอบต่างๆมาได้อย่างงดงามด้วยผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีเยี่ยมในระยะยาว เหมือนการดื่มโค้กไม่จำเป็นต้องผสมกับเครื่องดื่มอื่นใดก็รสชาติก็ดีได้ตัวของโค้กเองอยู่แล้ว หรือเหมือนดั่งได้สิ่งวิเศษมาอย่างหนึ่งซึ่งใช้งานได้ดีอยู่แล้วเหตุใดถึงต้องนำไปผสมกับสิ่งวิเศษอย่างอื่นอีกเล่า และที่สำคัญผมเชื่อว่าแนวทางลงทุนแบบเน้นคุณค่านี้ช่วยทำให้สิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก(อัตราดอกเบี้ยทบต้น)ที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้กล่าวไว้ได้แสดงอานุภาพถึงขีดสุดให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงโดยผ่านการลงทุนของนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่างบัฟเฟตต์ และนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ทีสุดในประเทศไทยอย่างท่านอ.
ปล.สายเทคนิคลุ้นกราฟ สายวีไอลุ้นงบ
หลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้นได้ถูกนายตลาดทดสอบมาอย่างเข้มข้นและยาวนานก็สามารถผ่านบททดสอบต่างๆมาได้อย่างงดงามด้วยผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีเยี่ยมในระยะยาว เหมือนการดื่มโค้กไม่จำเป็นต้องผสมกับเครื่องดื่มอื่นใดก็รสชาติก็ดีได้ตัวของโค้กเองอยู่แล้ว หรือเหมือนดั่งได้สิ่งวิเศษมาอย่างหนึ่งซึ่งใช้งานได้ดีอยู่แล้วเหตุใดถึงต้องนำไปผสมกับสิ่งวิเศษอย่างอื่นอีกเล่า และที่สำคัญผมเชื่อว่าแนวทางลงทุนแบบเน้นคุณค่านี้ช่วยทำให้สิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก(อัตราดอกเบี้ยทบต้น)ที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้กล่าวไว้ได้แสดงอานุภาพถึงขีดสุดให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงโดยผ่านการลงทุนของนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่างบัฟเฟตต์ และนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ทีสุดในประเทศไทยอย่างท่านอ.
ปล.สายเทคนิคลุ้นกราฟ สายวีไอลุ้นงบ
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกใบนี้คือความว่างเปล่า สูงจากว่างเปล่าคือก่อเกิดเปลี่ยนแปลง
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหาทางความคิด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณท่านอาจารย์ครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 332
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหาทางความคิด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
ทัศนคติต่อการลงทุนนั้นสำคัญมาก
ยิ่งนานไป บางทีเราอาจจะหลงลืมว่าเราซื้อหุ้นตัวนี้มาเพราะอะไร
ขอบคุณ ดร.นิเวศน์ ที่คอยย้ำเตือนหลักการในการลงทุนครับ
ยิ่งนานไป บางทีเราอาจจะหลงลืมว่าเราซื้อหุ้นตัวนี้มาเพราะอะไร
ขอบคุณ ดร.นิเวศน์ ที่คอยย้ำเตือนหลักการในการลงทุนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 320
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหาทางความคิด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณมากครับกับแนวคิดดีๆ
ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา…
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 154
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหาทางความคิด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
ไม่ว่าจะแนวคิดไหน สำคัญเริ่มแรกคือรู้จักตนเองก่อนครับ
จากนั้นค่อยเรียนรู้ในสิ่งที่ตนชอบที่ตนถนัดเพื่อให้เชี่ยวชาญให้รู้จริง
สิ่งสุดท้ายเพื่อให้ชนะใจตนเองครับ
จากนั้นค่อยเรียนรู้ในสิ่งที่ตนชอบที่ตนถนัดเพื่อให้เชี่ยวชาญให้รู้จริง
สิ่งสุดท้ายเพื่อให้ชนะใจตนเองครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหาทางความคิด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
แนวทาง เลือกหุ้นต่างกันคับ
ทางเทคนิค ไม่ได้สนใจพื้นฐาน มองจิตวิทยา อารมณ์ วอลุ่ม การเคลื่อนไหว
ซึ่งราคาก็ไม่จำเป็นต้องไปตามพื้นฐาน เสมอไป (ว่าตาม soros)
จริงๆมันก็ถูกทั้งสองวิธีแล้วแต่เรามองมิติไหน
ผมเห็นเซียนยุคใหม่ก็ใช้ทั้งสองมิติ
ทางเทคนิค ไม่ได้สนใจพื้นฐาน มองจิตวิทยา อารมณ์ วอลุ่ม การเคลื่อนไหว
ซึ่งราคาก็ไม่จำเป็นต้องไปตามพื้นฐาน เสมอไป (ว่าตาม soros)
จริงๆมันก็ถูกทั้งสองวิธีแล้วแต่เรามองมิติไหน
ผมเห็นเซียนยุคใหม่ก็ใช้ทั้งสองมิติ
show me money.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ปัญหาทางความคิด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
ผมชอบบทความนี้มากๆครับ รวมรวม"Concept"ของการลงทุน
เราก็เเค่เลือกให้ตรง"จริต"เเละศึกษาเเบบที่เราเลือกให้เเตกฉาน
โดยเฉพาะความคิดนี้ครับ
-VIเเบบBargain hunter หรือ VI เเบบปู่Buff
ส่วนตัวผมพบว่า VIรุ่นใหม่ๆ มักเป็นเเบบBargain hunter มากกว่าครับ ซื้อถูกๆเเล้วขายเมื่อเต็มมูลค่า จากนั้นไป"ล่า"ตัวใหม่...ไม่มีวิธีไหนผิดครับถ้าตราบใดวิธีเหล่านั้นสร้างผลงอกเงยให้เเก่คุณ
ปล.รู้จักคำว่าBargain hunterครั้งเเรกจากบทความในBlogของคุณหมอreiter
เราก็เเค่เลือกให้ตรง"จริต"เเละศึกษาเเบบที่เราเลือกให้เเตกฉาน
โดยเฉพาะความคิดนี้ครับ
-VIเเบบBargain hunter หรือ VI เเบบปู่Buff
ส่วนตัวผมพบว่า VIรุ่นใหม่ๆ มักเป็นเเบบBargain hunter มากกว่าครับ ซื้อถูกๆเเล้วขายเมื่อเต็มมูลค่า จากนั้นไป"ล่า"ตัวใหม่...ไม่มีวิธีไหนผิดครับถ้าตราบใดวิธีเหล่านั้นสร้างผลงอกเงยให้เเก่คุณ
ปล.รู้จักคำว่าBargain hunterครั้งเเรกจากบทความในBlogของคุณหมอreiter
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 20
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหาทางความคิด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
ชอบประโยคนี้ ขอบคุณครับอาจารย์
สไตล์และวิธีการลงทุนที่ถูกต้องนั้น ย่อมต้องขึ้นอยู่กับตัวนักลงทุนด้วย นั่นแปลว่า หลักการที่บัฟเฟตต์ใช้และประสบความสำเร็จอย่างสูงนั้น เราจะเอามาใช้ตรง ๆ ไม่ได้ เพราะเราไม่ใช่บัฟเฟตต์ เราไม่มีความสามารถและมี อีคิว เหมือนบัฟเฟตต์ เราไม่ได้มีพอร์ตใหญ่เหมือนบัฟเฟตต์ สิ่งที่เราควรทำก็คือ ดูว่า “จริต” เราเป็นอย่างไร และเลือกหลักการลงทุนที่ “ถูกกับจริตเรา” มากที่สุด ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีความคิดว่า เราจะต้องปรับตัวเราหรือสอนให้ตัวเราเรียนรู้หลักการและวิธีการลงทุนที่ถูกต้องที่สุด ถ้าจริตของเราไม่เหมาะสมกับหลักหรือวิธีการลงทุนที่ถูกต้อง เราจะต้องแก้ไข มิฉะนั้นเราจะไม่ประสบความสำเร็จ
สไตล์และวิธีการลงทุนที่ถูกต้องนั้น ย่อมต้องขึ้นอยู่กับตัวนักลงทุนด้วย นั่นแปลว่า หลักการที่บัฟเฟตต์ใช้และประสบความสำเร็จอย่างสูงนั้น เราจะเอามาใช้ตรง ๆ ไม่ได้ เพราะเราไม่ใช่บัฟเฟตต์ เราไม่มีความสามารถและมี อีคิว เหมือนบัฟเฟตต์ เราไม่ได้มีพอร์ตใหญ่เหมือนบัฟเฟตต์ สิ่งที่เราควรทำก็คือ ดูว่า “จริต” เราเป็นอย่างไร และเลือกหลักการลงทุนที่ “ถูกกับจริตเรา” มากที่สุด ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีความคิดว่า เราจะต้องปรับตัวเราหรือสอนให้ตัวเราเรียนรู้หลักการและวิธีการลงทุนที่ถูกต้องที่สุด ถ้าจริตของเราไม่เหมาะสมกับหลักหรือวิธีการลงทุนที่ถูกต้อง เราจะต้องแก้ไข มิฉะนั้นเราจะไม่ประสบความสำเร็จ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2846
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ปัญหาทางความคิด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 16
น่าคิดนะครับ vi แล้วแต่สไตล์ แล้วแต่จริต คน
“Market prices are always wrong in the sense that they present a biased view of the future.”, Soros.
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหาทางความคิด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 18
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ
ขอเสริมเรื่องจิตวิทยาการลงทุน
http://www.thaivi.com/2010/02/210/
ขอเสริมเรื่องจิตวิทยาการลงทุน
http://www.thaivi.com/2010/02/210/
โค้ด: เลือกทั้งหมด
จิตวิทยาการลงทุน
Posted on February 5, 2010 by TVI MOD
สำหรับทุกท่านที่ซื้อขายหุ้นในตลาด ไม่ว่าจะลงทุนด้วยสไตล์ไหนก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการเก็งกำไรรายวัน ซื้อขายตามสัญญาณเทคนิค หรือนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพบกับความสมหวังและผิดหวัง ทั้งได้กำไรหรือขาดทุนจากตลาดหุ้น ลองมาดูว่า ท่านเคยพบกับประสบการณ์อย่างนี้บ้างหรือไม่
เหตุการณ์ที่หนึ่ง:
คุณซื้อหุ้นบริษัทหนึ่งมาในราคา 12 บาท หลังจากที่ซื้อมาก็มีข่าวเข้ามากระทบกับบริษัทนั้น ทำให้ราคาหุ้นตกลงไปที่ 10 บาท คุณทำใจขายมันไปไม่ได้ และพร่ำบอกกับตัวเองว่า ถ้าหุ้นขึ้นมาที่ 12 บาทอีกครั้ง คุณจะขายแน่!
เหตุการณ์ที่สอง:
หลังจากที่คุณได้กำไรจากการซื้อขายหุ้นมาก้อนใหญ่ คุณก็กล้าเสี่ยงขึ้นมาทันที เนื่องจากรู้สึกว่าตัวเองนั้นเก่งถึงมีวันนี้ได้ และยังรู้สึกด้วยว่า เงินที่เอาไปเสี่ยงเป็นเงินที่ได้กำไรจากหุ้นมา ไม่ใช่เงินของตัวเอง
เหตุการณ์ที่สาม:
คุณมีหุ้นอยู่ในพอร์ตตัวหนึ่งที่คุณขาดทุนอยู่ 50 เปอร์เซ็นต์ คุณเห็นหุ้นตัวอื่นที่น่าจะมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า แต่คุณก็ทำใจเปลี่ยนตัวไม่ได้ และบอกกับตัวเองว่า ถือๆไปเถอะ ไหนๆก็ขาดทุนมาขนาดนี้แล้ว
เหตุการณ์ที่สี่:
คุณมักจะเกิดความสนใจและเข้าซื้อหุ้นตัวที่ได้รับการแนะนำจากหลายๆแหล่ง อย่างเช่น รายการโทรทัศน์, โบรกเกอร์, เพื่อน หรือตามเวบบอร์ด โดยที่คุณไม่ได้ศึกษาด้วยตนเองเลย
ถ้าท่านมีประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามเหตุการณ์ข้างต้นแล้ว มีหนังสือเล่มเล็กๆ เล่มหนึ่งน่าจะช่วยท่านได้ นั่นคือ หนังสือชื่อ ‘จิตวิทยาการลงทุน’ หรือ The Psychology of Investing แต่งโดย จอห์น นอฟซิงเกอร์ (John R.Nofsinger) แปลเป็นภาษาไทยโดย คุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข ผู้ซึ่งมีผลงานแปลหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนออกมาหลายเล่ม เหตุการณ์ทั้งสี่ที่กล่าวมาแล้วนั้นนำมาจากคำนำของหนังสือดังกล่าว
หนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงข้อผิดพลาดของนักลงทุนส่วนใหญ่ ที่มักจะเกิดจากผลทางจิตวิทยามากกว่าการใช้ตรรกะ หรือความมีเหตุมีผลในการลงทุน
ตัวอย่างเช่น ในเหตุการณ์แรกจะเห็นได้ว่า เมื่อซื้อหุ้นมาแล้วราคาหุ้นลดต่ำลง นักลงทุนส่วนใหญ่มักจะเกิดอาการเสียดาย และหลีกเลี่ยงที่จะขายขาดทุน เพราะการขายหุ้นออกไปแล้วขาดทุนทำให้เกิดความรู้สึกว่า เราทำผิดพลาด เนื่องจากในทางจิตวิทยา เมื่อเราทำผิดพลาดเรามักจะถูกลงโทษอยู่เสมอ ดังนั้นในการลงทุน เราจึงยืดเวลาการถูกทำโทษออกไปด้วยการถือหุ้นนั้นไว้ แล้วบอกกับตนเองว่า “ไม่ขายไม่ขาดทุน” ซึ่งภาษาทางวิชาการเรียกว่า “การหลีกเลี่ยงความเสียใจ” (Avoiding Regret)
ในหนังสือกล่าวเอาไว้ว่า “เมื่อไหร่ก็ตามที่นักลงทุนขายหุ้นขาดทุน ความเสียใจของพวกเขาจะรุนแรงกว่า หากว่าผลผลการขาดทุนนั้นเชื่อมโยงกับการตัดสินใจของพวกเขาเอง อย่างไรก็ตาม หากการขาดทุนนั้นเกิดจากสาเหตุอื่นที่อยู่นอกเหนือความควบคุมของพวกเขา ความเสียใจของพวกเขาจะรุนแรงน้อยกว่า
ตัวอย่างเช่น หากหุ้นที่คุณถืออยู่มีราคาลดลงในขณะที่ราคาของหุ้นตัวอื่นๆเพิ่มสูงขึ้น คุณจะรู้สึกว่า คุณตัดสินใจซื้อหุ้นผิดตัวและความเสียใจของคุณจะรุนแรง อย่างไรก็ตาม หากหุ้นที่คุณถืออยู่มีราคาลดลง ซึ่งเป็นการลดลงพร้อมๆกับหุ้นตัวอื่นๆในตลาด คุณจะรู้สึกว่า มันเป็นเหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือความควบคุมของคุณ และความเสียใจของคุณจะรุนแรงน้อยกว่า”
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆในจิตใจของนักลง ทุน โดยเฉพาะเวลาที่ขายหุ้นขาดทุน เรามักจะเกิดอาการเสียใจเสมอ แต่เราจะเสียใจมาก ถ้าหุ้นตัวอื่นราคาพุ่งสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าหนังสือเล่มนี้ได้ตีแผ่ถึงอาการความไร้เหตุไร้ผลของนักลงทุน ได้ถึงก้นบึ้งเลยทีเดียว
ลองมาดูอีกข้อความหนึ่งในเหตุการณ์เดียวกัน
“ผู้คนมักจะทำหรือไม่ทำอะไรเพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกเสียใจและเสาะหาความ ภาคภูมิใจ (Seeking Pride) สิ่งนี้เองที่นำไปสู่การขายหุ้นที่มีกำไรเร็วเกินไป และการเก็บหุ้นที่ขาดทุนนานเกินไป พฤติกรรมนี้กัดกร่อนความมั่งคั่งของนักลงทุน ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนต่ำลง เนื่องจากพวกเขาได้ขายหุ้นดีๆ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนดีอย่างต่อเนื่องออกไป ขณะที่จะเก็บหุ้นที่ให้ผลตอบแทนแย่ๆ และมีแนวโน้มที่ให้ผลตอบแทนแย่ๆอย่างต่อเนื่องเอาไว้”
เราจะพบว่า เวลาขายหุ้นออกไปแล้ว เรามักจะมีความรู้สึกดีที่ได้กำไรมา ส่วนใหญ่มักจะเล่าเรื่องความสำเร็จในการทำกำไรจากตลาดหุ้นให้คนอื่นๆได้รับ ทราบ เรียกว่าเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งเลยทีเดียว แต่พอเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง หุ้นตัวที่ขายออกไป ราคากลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อนำราคาปิดใหม่มาเปรียบเทียบกับต้นทุนเดิมจะเห็นว่า กำไรที่ได้มาในครั้งแรกนั้นดูน้อยลงไปถนัดตา
ส่วนหุ้นที่ทนถือขาดทุนอยู่ในพอร์ตนั้นกลับมีราคาลดลงมากกว่าเดิมอีกหลายสิบ เปอร์เซ็นต์ จะขายก็ทำใจไม่ได้ ต้องเก็บเอาไว้รอจนกว่าราคาจะกลับมาที่เดิม ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเป็นเมื่อไหร่ บางครั้งรายการ”ขาดทุนทางบัญชี”ที่เกิดขึ้นมากกว่ากำไรที่ได้มาเสียอีก
ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนั้น คือตัวอย่างส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจ เกี่ยวกับจิตวิทยาการลงทุนของนักลงทุนในตลาดหุ้นให้ได้อ่านกันอีกมาก การทำความรู้จักกับพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ จะช่วยให้ท่านเข้าใจและรู้เท่าทันตนเองได้ดีขึ้น ซึ่งน่าจะมีผลทำให้การลงทุนของท่านประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น
นับว่า เป็นหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนอีกเล่มที่นักลงทุนทุกคนไม่ว่าจะสไตล์ไหนก็ตาม ไม่ควรพลาด–จบ–
–กรุงเทพธุรกิจ Bizweek ฉบับวันที่ 11 – 17 มีนาคม 2548–
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1172
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหาทางความคิด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 20
จริงอย่างที่ ดร. เขียนเลยครับ ผมคิดว่าเราควรจะต้องลองทำในทุกความคิด แล้วเลือกสิ่งที่ตรงกับเราที่สุด อย่าคิดว่า VI เป็นเรื่องง่าย และก็อย่าคิดว่าการเก็งกำไรเป็นเรื่องง่ายเช่นกัน ผมว่ายากทั้งคู่
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น