Scuttlebutt–ปฏิบัติการสืบเสาะเจาะข้อมูล/ประภาคาร ภราดรภิบาล

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1827
ผู้ติดตาม: 1

Scuttlebutt–ปฏิบัติการสืบเสาะเจาะข้อมูล/ประภาคาร ภราดรภิบาล

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

Scuttlebutt – ปฏิบัติการสืบเสาะเจาะข้อมูล  
   “ฟิลลิป ฟิชเชอร์” เป็นนักลงทุนระดับตำนานคนหนึ่งของโลก ซึ่งเน้นการลงทุนในหุ้นคุณภาพดีที่มีการเติบโตต่อเนื่องในระยะยาว จนได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการลงทุนในหุ้นเติบโต” 
   นอกจากความโดดเด่นในด้านการลงทุนแล้ว เขายังมีผลงานเขียนหนังสือที่โดดเด่นจนถูกจัดให้เป็นหนึ่งในหนังสือคลาสสิคของแวดวงการลงทุน นั่นก็คือ “Common Stock and Uncommon Profit” (มีฉบับแปลเป็นภาษาไทยในชื่อว่า “หุ้นสามัญกับกำไรที่ไม่สามัญ” โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร) 
   การลงทุนของ “ฟิชเชอร์” นั้น เขาเน้นว่า ก่อนจะลงทุนในบริษัทใดบริษัทหนึ่ง จะต้องหาข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะได้รู้จักและเข้าใจบริษัทนั้นอย่างลึกซึ้ง แล้วจึงค่อยตัดสินใจลงทุน เขาใช้วิธีที่เรียกว่า “Scuttlebutt” ซึ่งเป็นการ “สืบเสาะเจาะข้อมูล” ให้รอบด้านที่สุด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากภายในหรือภายนอกบริษัทก็ตาม
   “ฟิชเชอร์” จะเข้าไปพบปะพูดคุยเพื่อ “สืบเสาะเจาะข้อมูล” จากแหล่งสำคัญต่างๆ ได้แก่ ข้อมูลจากคู่ค้าที่ติดต่อธุรกิจระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นซัพพลายเออร์หรือตัวแทนจำหน่ายของบริษัท, ข้อมูลจากลูกค้าที่ใช้สินค้าหรือบริการของบริษัท, ข้อมูลจากบริษัทที่เป็นคู่แข่ง, ข้อมูลจากพนักงานของบริษัท หรือแม้กระทั่งพนักงานเก่าที่ลาออกไปแล้วก็สามารถให้ข้อมูลที่ดีและมีประโยชน์ได้เช่นกัน
   โดยปกติทางบริษัทมักจะพยายามไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนที่เป็นจุดอ่อนของตัวเอง แต่ “ปฏิบัติการสืบเสาะเจาะข้อมูล” จากแหล่งต่างๆข้างต้น จะทำให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทั้งที่เป็น “จุดแข็ง” และ “จุดอ่อน” ของบริษัท ซึ่ง “ฟิชเชอร์” จะให้ความสำคัญมาก เพราะเขาเชื่อว่า “จุดอ่อน” เพียงเรื่องหรือสองเรื่องก็อาจทำให้เกิดความเสียหายกับการลงทุนได้ 
   วิธีการนี้เปรียบเสมือนกับการ “ต่อภาพ” หรือ “ต่อจิ๊กซอว์” คือ นำภาพเล็กๆหลายๆภาพมาปะติดปะต่อกันเป็นภาพใหญ่ อย่างไรก็ตาม “ฟิชเชอร์” บอกว่า ข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่หาได้อาจไม่สอดคล้องตรงกัน แต่เมื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวล ก็จะทำให้มองเห็น “ภาพรวม” ของบริษัททั้งจากภายในและภายนอก เพื่อวิเคราะห์ว่าบริษัทนี้มีความน่าลงทุนมากน้อยเพียงใด ถ้าเข้าข่ายที่น่าสนใจ “ฟิชเชอร์” ก็จะติดต่อขอเข้าพบกับผู้บริหารของบริษัทเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมให้มากขึ้น
   แม้วิธีการนี้ต้องใช้เวลามาก และการเสาะหาผู้ที่สามารถให้ข้อมูลได้ก็ไม่ง่ายนัก แต่สำหรับการลงทุนของ “ฟิชเชอร์” ถ้าเขาไม่สามารถหาข้อมูลหรือพูดคุยกับผู้คนต่างๆได้มากพอ เขาจะหยุดการวิเคราะห์และมองหาหุ้นตัวอื่นๆต่อไป เพราะเขาถือหลักว่า ถ้าไม่เข้าใจบริษัทนั้นดีพอ ก็จะไม่ลงทุน
   นั่นคือปฏิบัติการสืบเสาะเจาะข้อมูลเพื่อการลงทุนของ “ฟิลลิป ฟิชเชอร์” ปรมาจารย์ด้านนักลงทุนที่ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ให้การยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนของเขา 
   “บัฟเฟตต์” เคยกล่าวถึง “ฟิชเชอร์” ในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Forbes ไว้ว่า “สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากเขาคือ คุณค่าของวิธี Scuttlebutt ที่เป็นการออกไปพบปะพูดคุยกับคู่แข่ง ผู้จัดจำหน่าย และลูกค้า เพื่อจะได้ทราบว่า อุตสาหกรรมหรือกิจการนั้นๆ เขาดำเนินการกันอย่างไร”
   ในการลงทุนนั้น ข้อมูลข่าวสารและความรอบรู้เป็นสิ่งสำคัญ ถ้านักลงทุนมีข้อมูลที่ “ถูกต้อง” และ “รอบด้าน” ก็จะมีความได้เปรียบ และยิ่งถ้านักลงทุน “รู้ลึก” และ “รู้จริง” ในสิ่งที่ลงทุน โอกาสที่จะเสียหายก็ย่อมลดน้อยลง 
[/size]
ภาพประจำตัวสมาชิก
generalman
Verified User
โพสต์: 81
ผู้ติดตาม: 0

Re: Scuttlebutt–ปฏิบัติการสืบเสาะเจาะข้อมูล/ประภาคาร ภราดรภิ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับ

Scuttlebutt สำคัญมากจริงๆ สำหรับ Qualitative Valuation ซึ่งทำให้ VI ที่ชอบอยู่เฉยๆ ต้องกระตือรือร้นในการหาข้อมูลบริษัทในเชิงลึกมากขึ้น
Factor_9
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 411
ผู้ติดตาม: 0

Re: Scuttlebutt–ปฏิบัติการสืบเสาะเจาะข้อมูล/ประภาคาร ภราดรภิ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

จริงเลยครับ เพิ่งขายหมูไปเมื่อเร็วๆนี้ และอาทิตย์ที่ผ่านมาได้เข้าไปใช้บริการในธุรกิจ

ที่เคยขายหมูไป ผมพบว่าเซอร์ไพร์มากครับได้ไปเห็นคนใช้บริการ เต็มเลย เสียดายมากครับ

ที่ไม่ดูให้ถี่ถ้วนก่อนขายไป
โพสต์โพสต์