โค้ด: เลือกทั้งหมด
เรื่อง เนฟฟ์เทคนิค
โดย ดร.ชาคริต สุวรรณโชติ
21 กันยายน 2555
จอห์น เนฟฟ์ ผู้ที่เคยบริหารกองทุนหุ้น Winsorซึ่งมีสินทรัพย์มากที่สุดในอเมริกา ยาวนานต่อเนื่องถึง 32 ปีถือได้ว่าเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าคนหนึ่งที่มีสไตล์การลงทุนแบบอนุรักษ์นิยมเนฟฟ์มักจะสนใจในหุ้นที่ยังไม่เป็นที่สนใจจากตลาดหรือถูกมองข้ามรวมถึงหุ้นที่ถูกเข้าใจผิดในบางช่วงเวลา แนวทางการเลือกหุ้นของจอห์นเนฟที่สำคัญๆนั้น มี 7 ข้อ ซึ่งผมสรุปมาจากหนังสือ "JOHN NEFF on investing"เขียนโดย John Neff และ S.L. Mintz และ ถูกแปลเป็นภาษาไทย ชื่อหนังสือว่า"ลงทุนแบบจอห์น เนฟฟ์" โดย ดร. กุสยา ลีฬหาวงศ์จอห์น เนฟฟ์ ตั้งกฏเกณฑ์การลงทุนของกองทุน 7 ข้อโดยเลือกลงทุนในหุ้นที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. P/E ต่ำกฏข้อนี้เป็นหลักปฏิบัติที่ เนฟฟ์ ยึดมั่นเป็นที่สุดทั้งนี้เนฟฟ์จะเลือกลงทุนที่มี P/E ต่ำ (ในที่นี้คือน้อยกว่า 10)โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนฟฟ์จะชอบมากถ้าเจอบริษัทที่มี P/E ต่ำในช่วงเวลาที่บริษัทนั้นๆ "ถูกตลาดเข้าใจผิด"ซึ่งอาจเกิดจากข่าวร้ายต่างๆที่ออกมาภายหลังการปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจบางอย่างภายในบริษัทการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร การเพิ่มทุนการตกต่ำของอุตสาหกรรมโดยรวมแบบชั่วคราว เป็นต้น สำหรับบริษัทอื่นๆ ที่มีP/E ต่ำ อาจจะมาจากการที่บริษัทนั้นๆ "ถูกตลาดมองข้าม"เนื่องจากความน่าเบื่อของธุรกิจหรือการเติบโตยังอยู่ในช่วงที่ค่อยเป็นค่อยไป เนฟฟ์กล่าวว่าการลงทุนโดยใช้กลยุทธ์ P/E ต่ำนี้ สามารถคาดหวังกำไรได้จากสองช่องทาง คือการที่ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นจากกำไรปกติที่เพิ่มขึ้น (ซึ่งมีความปลอดภัยกว่าการลงทุนในหุ้นที่กำลัง "ฟู่ฟ่า" จากความคาดหวังกำไรในอนาคตอันสวยหรู)นอกจากนั้น ยังมีโอกาสได้โบนัส จากการที่ตลาดปรับค่า P/Eให้เพิ่มขึ้นในบางช่วงเวลาที่ตลาดเข้าใจอะไรมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จอห์นเนฟฟ์ เน้นย้ำตอนท้ายไว้ว่า "คุณต้ิิองแยกแยะหุ้นที่ถูกขายในราคาส่วนลด(bargain price) เพราะความเข้าใจผิดและถูกมองข้ามกับหุ้นที่ไม่มีอนาคตให้ออก"
2. เติบโตไม่สูงไม่ต่ำจนเกินไปเนฟฟ์ตั้งค่าพื้นฐานไว้ที่เติบโตไม่ต่ำกว่า 7% ต่อปีโดยคาดหวังว่าบริษัทจะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวและไม่คาดหวังว่าบริษัทจะเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดกรณีที่บริษัทเติบโตก้าวกระโดด เช่น มากกว่า 20%เนฟฟ์จะเริ่มระมัดระวังตัวมากขึ้น จนอาจจะลดการถือครองบริษัทนั้นๆลงเนื่องจากมองว่าสิ่งดังกล่าวนั้นมีความไม่แน่นอนซึ่งถ้าบริษัทไม่สามารถทำการเติบโตระดับสูงนั้นๆได้อย่างต่อเนื่องแม้เพียงเล็กน้อยอาจส่งผลให้ตลาดเกิดการผิดหวัง และเกิดการลดลงอย่างรุนแรงของราคาหุ้น
3.คำนึงถึงเงินปันผลเนฟฟ์พิจารณาผลตอบแทนที่จะได้รับโดยรวมเงินปันผลเข้ามาเป็นส่วนสำคัญด้วยยกตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต 10% ต่อปีและมีเงินปันผลประมาณ 5% เนฟฟ์จะมองว่าบริษัทนี้ให้ผลตอบแทนต่อปีประมาณ 15%และเนื่องจากหุ้นที่เนฟฟ์เลือกลงทุนนั้นมีผลดำเนินงานเติบโตต่อเนื่องดังนั้น เนฟฟ์ยังสามารถคาดหวังการเติบโตของเงินปันผลที่จะได้รับอีกด้วยเนฟฟ์ให้ข้อสังเกตว่า โดยปกติแล้วตลาดมักให้ P/E กับหุ้นตัวหนึ่งๆโดยจะมองการเติบโตของกำไรในอนาคตเป็นหลักและไม่ได้ดูเงินปันผลมากนักสังเกตได้จากที่บางครั้งตลาดมักให้ P/E ของบริษัทที่คาดว่าจะเติบโต 20%แต่มีเงินปันผล 1% เป็นสองเท่าของ บริษัทที่คาดว่าจะเติบโต 11%แต่มีเงินปันผล 10% (ในสมมติฐานที่ว่า ทั้งสองบริษัททำธุรกิจคล้ายกัน)
4. อัตราส่วนผลตอบแทนรวมหลังจากที่เนฟฟ์พิจารณาผลตอบแทนโดยรวมจากการรวมเอาอัตราการเติบโตของบริษัทที่คาดว่าจะทำได้กับปันผลที่คาดว่าจะได้รับแล้วเนฟฟ์จะเอามาเทียบกับค่า P/E ของบริษัทในขณะนั้น เช่นถ้าคาดว่าบริษัทจะเติบโต 10% และมีปันผล 5%จะได้ว่าบริษัทมีผลตอบแทนรวมเท่ากับ 15% โดยถ้า P/Eของบริษัทในขณะนั้นเท่ากับ 7.5 จะได้ว่า ค่า ผลตอบแทนรวมหารด้วย P/Eมีค่าเท่ากับ 2 เท่า และเรียกตัวเลขนี้ว่า "อัตราส่วนผลตอบแทนรวม"เนฟฟ์จะนำตัวเลขที่ได้ของบริษัทที่สนใจลงทุนนี้ไปเปรียบเทียบกับตัวเลขเฉลี่ยของทั้งตลาดยิ่งค่าทั้งสองค่านี้มีความแตกต่างกันมากเท่าไหร่เนฟฟ์จะยิ่งสนใจบริษัทนั้นๆ มากขึ้น
5. ให้โอกาสในการปรับ P/E ช่วยลดความเสี่ยงของวัฏจักรเนฟฟ์ลงทุนในหุ้นวัฏจักรเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของพอร์ตการลงทุนโดยเนฟฟ์มักจะจับจังหวะซื้อหลังจากจบวงจรที่ราคาหุ้นลดลงอย่างมากและเข้าซื้อหุ้นช่วงที่กำไรกำลังพุ่งขึ้นและค่า P/E ลดลงแต่ยังไม่ถึงจุดที่มีกำไรสูงสุด ในระหว่างนี้เอง ตลาดอาจจะมีการปรับค่าP/E ให้จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของกำไรโดยจะเพิ่มควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นของกำไรจากกนั้นเนฟฟ์จะขายหุ้นออกก่อนที่บริษัทจะประกาศกำไรสูงที่สุดออกมาตรงนี้เอง เนฟฟ์เน้นย้ำว่า "การทำนายหรือคาดการณ์ได้เช่นนี้นักลงทุนต้องมีความเข้าใจในการเตลื่อนไหวของอุตสาหกรรมและพิจารณาภาวะเศรษฐกิจได้อย่างถี่ถ้วนเสียก่อน"
6. ลงทุนในบริษัทที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตเนฟฟ์แนะนำให้ลงทุนในบริษัทที่มีความมั่นคงแข็งแกร่งโดยเฉพาะบริษัทที่เป็นเจ้าตลาดในธุรกิจหลักที่ตัวเองทำอยู่อย่างไรก็ตามบริษัทเหล่านี้ในช่วงเวลาปกติมักจะไม่เข้าเงื่อนไขการลงทุนในหุ้นP/E ต่ำของเนฟฟ์ ฉะนั้นเนฟฟ์มักจะมีโอกาสลงทุนในบริษัทเหล่านี้ก็ต่อเมื่อมีข่าวร้ายหรือเหตุการณ์ร้ายๆที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับบริษัทนั้นๆ เช่นภัยธรรมชาติ จราจล การเมืองจนบางครั้งทำให้ผลประกอบการของบริษัทนั้นออกมาแย่ชั่วคราวแต่ทำให้ตลาดมองในแง่ร้ายและเทขายหุ้นบริษัทนั้นๆออกมาแบบลืมตัวหลังจากที่เนฟฟ์เข้าซื้อหุ้นเขาก็จะขายออกไปในช่วงที่บริษัทกลับมาทำผลประกอบการได้ดีเป็นปกติและเมื่อตลาดปรับP/E กลับมาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
7. ดูปัจจัยพื้นฐานภายในตัวบริษัทเมื่อบริษัทมีการเติบโตของยอดขายและกำไรเนฟฟ์จะพิจารณาดูว่าการเพิ่มขี้นของยอดขายนั้นเกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนหน่วยที่ขายได้เพียงอย่างเดียวหรือเกิดจากการปรับตัวขึ้นของราคาต่อหน่วยด้วยสิ่งนี้จะเป็นตัวแสดงให้เห็นว่า Gross Profit Margin (GPM)ของบริษัทดีขึ้น และมีโอกาสส่งผลไปถึงการปรับเพิ่มของ P/E ที่ตลาดมอบให้ในทางกลับกันถ้าบริษัทมีปัญหาติดขัดเนฟฟ์จะพิจารณาดูว่าปัญหานั้นเป็นปัญหาที่น่าจะแก้ไขได้โดยใช้เวลานานแค่ไหนถ้าเนฟฟ์พิจารณาแล้วว่าเป็นปัญหาที่น่าจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและสามารถแก้ไขตัวเองได้โดยใช้เวลาไม่มากนักเนฟฟ์ก็จะให้ความสนใจเป็นพิเศษ นอกจากนั้นสิ่งที่เนฟฟ์มักจะพิจารณาก่อนลงทุนคือ กระแสเงินสดและผลตอบแทนผู้ถือหุ้น(ROE) โดนเนฟฟ์จะชอบบริษัทที่มีกระแสเงินสดอิสระเหลือเยอะหลังจากที่หักเงินเพื่อใช้ลงทุนและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนแล้วเนื่องจากเนฟฟ์คาดหวังว่าบริษัทจะสามารถจ่ายปันผลได้ในอัตราที่น่าพอใจต่อเนื่องในอนาคตหรือออกนโยบายการซื้อหุ้นคืน ท้ายที่สุด เนฟฟ์จะดูที่ Operating Marginว่าแข็งแกร่งไหมกำไรจากการดำเนินงานที่แข็งแกร่งเปรียบเสมือนเกราะป้องกันให้บริษัทในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน
ผมมองว่าหลักการการลงทุนแบบจอห์น เนฟฟ์นั้นช่วยให้เราจำกัดความเสี่ยงขาลงของราคาได้พอสมควรทีเดียวเรียกได้ว่าเราลงทุนโดยยิดหลักที่ว่า "โอกาสขาดทุนน้อยที่สุด" ไว้ก่อนสำหรับเรื่องกำไรที่เรามีโอกาสได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เราเลือกลงทุนและตัวเร่งที่เรามองเห็นก่อนคนส่วนใหญ่สำหรับตลาดหุ้นไทยเช่นกันหลายๆครั้งที่บางบริษัทมีปัจจัยลบมากระทบทำให้ผลประกอบการลดลงอย่างรวดเร็วหรือมีข่าวร้ายที่ทำให้นักลงทุนคิดไปต่างๆนานาว่าบริษัทคงจะย่ำแย่ในไม่ช้าทั้งๆที่บางครั้งพื้นฐานของบริษัทยังคงแข็งแกร่งและยังคงมีแนวโน้มเติบโตตามอุตสาหกรรมเท่าที่ผมเคยเห็นกับสิ่งที่ผ่านมาแล้วเร็วๆนี้ ก็มีช่วงที่"คุณตันออกจากบริษัท OISHI" / "ทีมผู้บริหารคนไทยของ GLออกยกชุดและมีข่าวไม่ดีเกี่ยวกับบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น" / "THANIประกาศเพิ่มทุนเท่าตัวให้กับผู้ถือหุ้นรายเดิม" / "SIMATประกาศเพิ่มทุนเท่าตัวเพื่อไปลงทุนในธุรกิจใหม่และตัดหนี้สูญของบริษัทย่อยจนขาดทุน"ทุกอย่างขึ้นอยู่กับว่า "เรามองว่ามันคือวิกฤติ หรือมองว่ามันคือโอกาส"เท่านั้นเอง