Hunger Game เกมล่าหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
Hunger Game เกมล่าหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 30 กันยายน 55
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
Hunger Game
เกมล่าหุ้น
การเล่นหุ้นในช่วงที่หุ้นบูมอย่างในช่วงนี้ทำให้ผมนึกไปถึงภาพยนต์เรื่องหนึ่งที่ผมได้ดูและรู้สึกว่ามันสนุกและมีข้อคิดหรือปรัชญาที่แหลมคม หนังเรื่องนี้ทำมาจากหนังสือที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ในระดับเดียวกับเรื่องแฮรี่พอร์ตเตอร์ชื่อ The Hunger Game หรือแปลตรงๆ ก็คือ “เกมของผู้ที่หิวโหย” เนื้อเรื่องคร่าวๆ มีว่ามหาอาณาจักรแห่งหนึ่งได้ปราบปรามรัฐที่เป็นกบฏสิบกว่าแห่งสำเร็จ หลังจากนั้นทุกปี แต่ละรัฐต้องส่งคนมารัฐละสองคนเพื่อเป็น “เครื่องบรรณาการ” ให้กับอาณาจักร เพื่อเข้าร่วม “เล่นเกม” ที่ชื่อว่า Hunger Game ซึ่งคนที่อยู่ในจักรวรรดิจะได้ชมสดแบบ “เรียลลิตี้โชว์”
กฎและวิธีการเล่นเกมนี้ก็คือ คนจำนวนยี่สิบกว่าคนนี้จะถูกนำไปปล่อยไว้ในป่าพร้อมๆ กับกองอาหารและอาวุธต่างๆ หน้าที่ของแต่ละคนก็คือ พวกเขาจะต้องพยายามฆ่าคนอื่นให้หมด คนที่รอดเพียงคนเดียวจะเป็นผู้ชนะและจะกลายเป็น “ฮีโร่” ที่จะได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติ โดยที่ “ป่า” หรือ “สนามแข่งขัน” นั้น จะมีกล้องติดอยู่ตลอด นอกจากนั้น คนที่คุมเกมการแข่งขันซึ่งคล้ายๆ กับโปรดิวเซอร์ ยังสามารถส่งสัญญาณที่เป็นเสียงและปรับสภาพแวดล้อมหรือแม้แต่สามารถส่งยาหรือสัตว์ร้ายเข้าไปในจุดที่ต้องการเพื่อที่จะทำให้เกมน่าสนุกมากขึ้น
สาระสำคัญของเรื่องนี้ นอกจากความสนุกสนานแล้ว ผมคิดว่าอยู่ที่เรื่องของการเผยถึง “สันดาน” ที่อยู่เบื้องลึกของคนเมื่อต้องเผชิญกับอันตรายที่ใหญ่หลวงคือความตาย และกลยุทธ์ที่ถูกต้องในการเอาตัวรอด ประเด็นก็คือ ตั้งแต่เริ่มต้นการแข่งขันเมื่อทุกคนถูกปล่อยตัวข้างกองอาหารและอาวุธ คนส่วนใหญ่ต่างก็รีบวิ่งเข้าไปหยิบฉวยอาวุธที่ตนเองถนัดและคว้าอาหารทันที คนที่ทำได้ก่อนก็จะพยายามฆ่าคนที่อยู่ใกล้ที่สุดทันที นี่เป็นกลยุทธ์ที่ผิด โค้ช ซึ่งเป็นผู้ที่เคยชนะในการแข่งขันปีก่อนๆ บอกกับตัวเอก (นางเอก) ของเรื่องว่า ห้ามเข้าไปแย่งชิงอาวุธหรืออาหารที่ถูกวาง “ล่อ” ไว้ เพราะในสถานการณ์แบบนั้น โอกาสที่จะถูกฆ่ามีสูง
กลยุทธ์ที่จะทำให้ชนะนั้น โค้ชบอกว่า เราจะต้องไม่พยายามฆ่าใครเลย สิ่งที่ต้องทำก็คือ พยายาม “หนี” หรืออย่างมากก็คือป้องกันตัว และแม้ว่าจะมีโอกาส เราก็จะต้องไม่ฆ่าถ้าไม่จำเป็น พูดง่ายๆ ว่าอย่าทำตัวให้เป็นเป้าหมายในการถูกล่า ตรงกันข้าม ปล่อยให้คนอื่นฆ่ากันเองดีกว่า
เหตุการณ์ในภาพยนตร์เองนั้น ในช่วงหนึ่งก็มีการรวมตัวของผู้เข้าแข่งขันกลุ่มหนึ่งเพื่อทำการไล่ล่าคนอื่นที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม นี่ก็เป็นเรื่องของความคิดที่คนพยายามที่จะ “ร่วมกัน” เพื่อที่จะกำจัดคู่แข่งบางส่วนออกไปซึ่งจะทำให้กลุ่มของตนได้ประโยชน์ แต่หลังจากนั้นแล้ว พวกเขาก็จะต้องฆ่ากันเอง อย่างไรก็ตาม ด้วยวิธีนี้ พวกเขาคิดว่าโอกาสที่ตนเองจะชนะก็จะมีมากขึ้น เรื่องทำนองนี้ผมเองคิดว่าเกิดขึ้นตลอดเวลาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ตัวอย่างก็เช่น การที่รัสเซียทำสัญญาเป็น “พันธมิตร” กับเยอรมันในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สองเพียงเพื่อที่จะแบ่งกันยึดประเทศที่อ่อนแอกว่าที่ทั้งคู่ต่างก็อยากจะครอบครอง แต่ในที่สุดเมื่อสำเร็จแล้ว เยอรมันก็หันกระบอกปืนใส่โซเวียตและรบกันรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สงครามของโลก
มองดูการซื้อขายหุ้นในระยะนี้ผมพบว่าบางทีนักเล่นหุ้นบางกลุ่มก็อาจจะกำลังเล่น Hunger Game กันอยู่ นั่นคือพวกเขากำลังเข้าไปเล่นหุ้นที่มีการเก็งกำไรรุนแรงมากที่ปรากฏตัวขึ้นมาแทบทุกวัน วันละไม่น้อยกว่า 3-4 ตัว หุ้นเหล่านี้เท่าที่ผมสังเกตและใช้วิจารณญาณส่วนตัวก็พบว่าเป็นหุ้นที่มีคุณสมบัติร่วมอย่างน้อย 2-3 อย่างเช่น หนึ่ง เป็นหุ้นที่มี Free Float หรือหุ้นหมุนเวียนในตลาดน้อย หรือไม่ก็เป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดทั้งหมดของหุ้นต่ำถึงต่ำมาก สรุปก็คือ หุ้นทั้งหมดที่เล่นกันได้ของหุ้นตัวนั้นคิดตามราคาตลาดแล้วส่วนใหญ่มีไม่เกิน 4-500 ล้านบาท ที่ใหญ่หน่อยก็มีไม่เกิน 2-3,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับเม็ดเงินของนักลงทุนส่วนบุคคลรายใหญ่ๆ แล้ว ต้องบอกว่าน้อยมาก ขนาดที่ว่า ถ้า “ขาใหญ่” ต้องการ เขาคนเดียวก็สามารถกวาดซื้อหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดได้ทั้งหมด แต่จริงๆ แล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องทำอย่างนั้น เพราะมีนักเล่นหุ้นจำนวนมากที่พร้อมจะเข้ามาซื้อกันคนละเล็กละน้อยก็เพียงพอที่จะทำให้หุ้นวิ่งขึ้นไปสู่ “สวรรค์ชั้นดาวดึง” ได้แล้ว
ข้อสอง หุ้นเหล่านั้นมักจะไม่มีสถิติราคาหุ้นในอดีตที่ยาวพอที่จะทำให้คน “ติดยึด” หรือถ้ามีราคาก็เป็นราคาที่ “เก่า” มาก ไม่สามารถที่จะใช้อ้างอิงได้ ดังนั้น เวลาที่ราคาจะปรับตัวขึ้นไป มันจะไม่ค่อยจะมี “ข้อจำกัด” และ ข้อสาม หุ้นที่จะวิ่งจริงๆ ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในหุ้น 3 กลุ่มดังต่อไปนี้คือ กลุ่มแรกที่ร้อนแรงที่สุดในช่วงนี้ก็คือ หุ้น IPO หรือหุ้นที่เข้าจดทะเบียนในตลาดโดยเฉพาะในตลาด MAI หุ้นกลุ่มที่สองก็คือ หุ้นที่เรียกว่ากลุ่ม Turnaround หรือหุ้นที่ฟื้นตัวจากการล้มละลายหรือปัญหารุนแรงทางธุรกิจหรือการเงิน และกลุ่มสุดท้ายก็คือ หุ้นที่มีข่าวดีหรือมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของบริษัท เช่นจะมีคนมาเทกโอเวอร์ หรือมีการเปลี่ยนธุรกิจของบริษัทใหม่จากธุรกิจที่ย่ำแย่เป็นธุรกิจ “แห่งอนาคต” เป็นต้น
การที่หุ้นดังกล่าวทั้งสามกลุ่มมีการปรับตัวขึ้นไปรุนแรงมาก เช่น หุ้น IPO เข้าตลาดวันแรกก็ขึ้นไปแล้วจากราคาจองหลายสิบหรือบางตัวหลายร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น ถ้ามองจากข้อมูลพื้นฐานที่ที่ปรึกษาการเงินคิดคำนวณไว้ ก็น่าจะเชื่อได้ว่ามันไม่น่าจะเป็นราคาที่เหมาะสม เหนือสิ่งอื่นใด ประวัติศาสตร์หุ้นยาวนานก็บอกอยู่แล้วว่า หุ้น IPO นั้น มัน “It probably overpriced” ความหมายก็คือ ราคาที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อขายให้ประชาชนนั้นน่าจะสูงเกินพื้นฐานอยู่แล้ว หุ้นฟื้นตัวเองนั้น บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงแรกของการฟื้นตัวอาจจะดูดีกว่าปกติ แต่หลังจากนั้นก็อาจจะกลับไปสู่ “พื้นฐานที่แท้จริง” ของธุรกิจที่ว่ามันอาจจะไม่ใช่ธุรกิจที่ดี และถ้าจะเป็นข้อเตือนใจก็คือ คำพูดของ วอเร็น บัฟเฟตต์ ที่ว่า “Turnarounds seldom turn around” แปลว่าหุ้นฟื้นตัวนั้น น้อยครั้งที่จะฟื้น สุดท้ายก็คือหุ้นที่มีข่าวระดับเปลี่ยนแปลงธุรกิจหรือพื้นฐานของธุรกิจ นี่ก็เป็นอะไรที่ต้องระวังมาก เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่กิจการจะสามารถประสบความสำเร็จในชั่วข้ามคืนในสิ่งที่ตนเพิ่งจะเริ่ม
การเข้าไปร่วมเล่น “Hunger Game” หรือที่ผมอยากจะเรียกว่า “เกมล่าหุ้น” นั้น ผมคิดว่าเป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะบ่อยครั้ง เรามักจะเข้าไปในช่วงที่ราคาขึ้นไปมากแล้ว เหนือสิ่งอื่นใด มันอาจจะมี “โปรดิวเซอร์” หรือคนจัดฉากและกำหนดพล็อตเรื่องไว้แล้ว ดังนั้น โอกาสชนะอาจจะมีน้อยกว่าที่คิด จริงอยู่ เกมอาจจะท้าทายน่าตื่นเต้น ผู้ชนะอาจจะเป็น “ฮีโร่” แต่นี่ก็เป็นคนส่วนน้อย อาจจะไม่ใช่คนเดียวแบบในหนัง แต่ “คนตาย” อาจจะมีมากกว่ามาก ถ้าเรารักจะเล่นก็ควรต้องมีกลยุทธ์ที่ดีในการเอาตัวรอด แต่สำหรับผมแล้ว ผมปฏิเสธที่จะเล่น เราไม่ได้ถูกบังคับอย่างในภาพยนต์ให้ต้องเข้าร่วมในเกมล่าหุ้นนี้ ผมเองเชื่อในสุภาษิตที่ว่า ความตื่นเต้นกับผลตอบแทนในตลาดหุ้นนั้น มักจะไปกันคนละทาง
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
Hunger Game
เกมล่าหุ้น
การเล่นหุ้นในช่วงที่หุ้นบูมอย่างในช่วงนี้ทำให้ผมนึกไปถึงภาพยนต์เรื่องหนึ่งที่ผมได้ดูและรู้สึกว่ามันสนุกและมีข้อคิดหรือปรัชญาที่แหลมคม หนังเรื่องนี้ทำมาจากหนังสือที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ในระดับเดียวกับเรื่องแฮรี่พอร์ตเตอร์ชื่อ The Hunger Game หรือแปลตรงๆ ก็คือ “เกมของผู้ที่หิวโหย” เนื้อเรื่องคร่าวๆ มีว่ามหาอาณาจักรแห่งหนึ่งได้ปราบปรามรัฐที่เป็นกบฏสิบกว่าแห่งสำเร็จ หลังจากนั้นทุกปี แต่ละรัฐต้องส่งคนมารัฐละสองคนเพื่อเป็น “เครื่องบรรณาการ” ให้กับอาณาจักร เพื่อเข้าร่วม “เล่นเกม” ที่ชื่อว่า Hunger Game ซึ่งคนที่อยู่ในจักรวรรดิจะได้ชมสดแบบ “เรียลลิตี้โชว์”
กฎและวิธีการเล่นเกมนี้ก็คือ คนจำนวนยี่สิบกว่าคนนี้จะถูกนำไปปล่อยไว้ในป่าพร้อมๆ กับกองอาหารและอาวุธต่างๆ หน้าที่ของแต่ละคนก็คือ พวกเขาจะต้องพยายามฆ่าคนอื่นให้หมด คนที่รอดเพียงคนเดียวจะเป็นผู้ชนะและจะกลายเป็น “ฮีโร่” ที่จะได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติ โดยที่ “ป่า” หรือ “สนามแข่งขัน” นั้น จะมีกล้องติดอยู่ตลอด นอกจากนั้น คนที่คุมเกมการแข่งขันซึ่งคล้ายๆ กับโปรดิวเซอร์ ยังสามารถส่งสัญญาณที่เป็นเสียงและปรับสภาพแวดล้อมหรือแม้แต่สามารถส่งยาหรือสัตว์ร้ายเข้าไปในจุดที่ต้องการเพื่อที่จะทำให้เกมน่าสนุกมากขึ้น
สาระสำคัญของเรื่องนี้ นอกจากความสนุกสนานแล้ว ผมคิดว่าอยู่ที่เรื่องของการเผยถึง “สันดาน” ที่อยู่เบื้องลึกของคนเมื่อต้องเผชิญกับอันตรายที่ใหญ่หลวงคือความตาย และกลยุทธ์ที่ถูกต้องในการเอาตัวรอด ประเด็นก็คือ ตั้งแต่เริ่มต้นการแข่งขันเมื่อทุกคนถูกปล่อยตัวข้างกองอาหารและอาวุธ คนส่วนใหญ่ต่างก็รีบวิ่งเข้าไปหยิบฉวยอาวุธที่ตนเองถนัดและคว้าอาหารทันที คนที่ทำได้ก่อนก็จะพยายามฆ่าคนที่อยู่ใกล้ที่สุดทันที นี่เป็นกลยุทธ์ที่ผิด โค้ช ซึ่งเป็นผู้ที่เคยชนะในการแข่งขันปีก่อนๆ บอกกับตัวเอก (นางเอก) ของเรื่องว่า ห้ามเข้าไปแย่งชิงอาวุธหรืออาหารที่ถูกวาง “ล่อ” ไว้ เพราะในสถานการณ์แบบนั้น โอกาสที่จะถูกฆ่ามีสูง
กลยุทธ์ที่จะทำให้ชนะนั้น โค้ชบอกว่า เราจะต้องไม่พยายามฆ่าใครเลย สิ่งที่ต้องทำก็คือ พยายาม “หนี” หรืออย่างมากก็คือป้องกันตัว และแม้ว่าจะมีโอกาส เราก็จะต้องไม่ฆ่าถ้าไม่จำเป็น พูดง่ายๆ ว่าอย่าทำตัวให้เป็นเป้าหมายในการถูกล่า ตรงกันข้าม ปล่อยให้คนอื่นฆ่ากันเองดีกว่า
เหตุการณ์ในภาพยนตร์เองนั้น ในช่วงหนึ่งก็มีการรวมตัวของผู้เข้าแข่งขันกลุ่มหนึ่งเพื่อทำการไล่ล่าคนอื่นที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม นี่ก็เป็นเรื่องของความคิดที่คนพยายามที่จะ “ร่วมกัน” เพื่อที่จะกำจัดคู่แข่งบางส่วนออกไปซึ่งจะทำให้กลุ่มของตนได้ประโยชน์ แต่หลังจากนั้นแล้ว พวกเขาก็จะต้องฆ่ากันเอง อย่างไรก็ตาม ด้วยวิธีนี้ พวกเขาคิดว่าโอกาสที่ตนเองจะชนะก็จะมีมากขึ้น เรื่องทำนองนี้ผมเองคิดว่าเกิดขึ้นตลอดเวลาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ตัวอย่างก็เช่น การที่รัสเซียทำสัญญาเป็น “พันธมิตร” กับเยอรมันในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สองเพียงเพื่อที่จะแบ่งกันยึดประเทศที่อ่อนแอกว่าที่ทั้งคู่ต่างก็อยากจะครอบครอง แต่ในที่สุดเมื่อสำเร็จแล้ว เยอรมันก็หันกระบอกปืนใส่โซเวียตและรบกันรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สงครามของโลก
มองดูการซื้อขายหุ้นในระยะนี้ผมพบว่าบางทีนักเล่นหุ้นบางกลุ่มก็อาจจะกำลังเล่น Hunger Game กันอยู่ นั่นคือพวกเขากำลังเข้าไปเล่นหุ้นที่มีการเก็งกำไรรุนแรงมากที่ปรากฏตัวขึ้นมาแทบทุกวัน วันละไม่น้อยกว่า 3-4 ตัว หุ้นเหล่านี้เท่าที่ผมสังเกตและใช้วิจารณญาณส่วนตัวก็พบว่าเป็นหุ้นที่มีคุณสมบัติร่วมอย่างน้อย 2-3 อย่างเช่น หนึ่ง เป็นหุ้นที่มี Free Float หรือหุ้นหมุนเวียนในตลาดน้อย หรือไม่ก็เป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดทั้งหมดของหุ้นต่ำถึงต่ำมาก สรุปก็คือ หุ้นทั้งหมดที่เล่นกันได้ของหุ้นตัวนั้นคิดตามราคาตลาดแล้วส่วนใหญ่มีไม่เกิน 4-500 ล้านบาท ที่ใหญ่หน่อยก็มีไม่เกิน 2-3,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับเม็ดเงินของนักลงทุนส่วนบุคคลรายใหญ่ๆ แล้ว ต้องบอกว่าน้อยมาก ขนาดที่ว่า ถ้า “ขาใหญ่” ต้องการ เขาคนเดียวก็สามารถกวาดซื้อหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดได้ทั้งหมด แต่จริงๆ แล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องทำอย่างนั้น เพราะมีนักเล่นหุ้นจำนวนมากที่พร้อมจะเข้ามาซื้อกันคนละเล็กละน้อยก็เพียงพอที่จะทำให้หุ้นวิ่งขึ้นไปสู่ “สวรรค์ชั้นดาวดึง” ได้แล้ว
ข้อสอง หุ้นเหล่านั้นมักจะไม่มีสถิติราคาหุ้นในอดีตที่ยาวพอที่จะทำให้คน “ติดยึด” หรือถ้ามีราคาก็เป็นราคาที่ “เก่า” มาก ไม่สามารถที่จะใช้อ้างอิงได้ ดังนั้น เวลาที่ราคาจะปรับตัวขึ้นไป มันจะไม่ค่อยจะมี “ข้อจำกัด” และ ข้อสาม หุ้นที่จะวิ่งจริงๆ ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในหุ้น 3 กลุ่มดังต่อไปนี้คือ กลุ่มแรกที่ร้อนแรงที่สุดในช่วงนี้ก็คือ หุ้น IPO หรือหุ้นที่เข้าจดทะเบียนในตลาดโดยเฉพาะในตลาด MAI หุ้นกลุ่มที่สองก็คือ หุ้นที่เรียกว่ากลุ่ม Turnaround หรือหุ้นที่ฟื้นตัวจากการล้มละลายหรือปัญหารุนแรงทางธุรกิจหรือการเงิน และกลุ่มสุดท้ายก็คือ หุ้นที่มีข่าวดีหรือมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของบริษัท เช่นจะมีคนมาเทกโอเวอร์ หรือมีการเปลี่ยนธุรกิจของบริษัทใหม่จากธุรกิจที่ย่ำแย่เป็นธุรกิจ “แห่งอนาคต” เป็นต้น
การที่หุ้นดังกล่าวทั้งสามกลุ่มมีการปรับตัวขึ้นไปรุนแรงมาก เช่น หุ้น IPO เข้าตลาดวันแรกก็ขึ้นไปแล้วจากราคาจองหลายสิบหรือบางตัวหลายร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น ถ้ามองจากข้อมูลพื้นฐานที่ที่ปรึกษาการเงินคิดคำนวณไว้ ก็น่าจะเชื่อได้ว่ามันไม่น่าจะเป็นราคาที่เหมาะสม เหนือสิ่งอื่นใด ประวัติศาสตร์หุ้นยาวนานก็บอกอยู่แล้วว่า หุ้น IPO นั้น มัน “It probably overpriced” ความหมายก็คือ ราคาที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อขายให้ประชาชนนั้นน่าจะสูงเกินพื้นฐานอยู่แล้ว หุ้นฟื้นตัวเองนั้น บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงแรกของการฟื้นตัวอาจจะดูดีกว่าปกติ แต่หลังจากนั้นก็อาจจะกลับไปสู่ “พื้นฐานที่แท้จริง” ของธุรกิจที่ว่ามันอาจจะไม่ใช่ธุรกิจที่ดี และถ้าจะเป็นข้อเตือนใจก็คือ คำพูดของ วอเร็น บัฟเฟตต์ ที่ว่า “Turnarounds seldom turn around” แปลว่าหุ้นฟื้นตัวนั้น น้อยครั้งที่จะฟื้น สุดท้ายก็คือหุ้นที่มีข่าวระดับเปลี่ยนแปลงธุรกิจหรือพื้นฐานของธุรกิจ นี่ก็เป็นอะไรที่ต้องระวังมาก เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่กิจการจะสามารถประสบความสำเร็จในชั่วข้ามคืนในสิ่งที่ตนเพิ่งจะเริ่ม
การเข้าไปร่วมเล่น “Hunger Game” หรือที่ผมอยากจะเรียกว่า “เกมล่าหุ้น” นั้น ผมคิดว่าเป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะบ่อยครั้ง เรามักจะเข้าไปในช่วงที่ราคาขึ้นไปมากแล้ว เหนือสิ่งอื่นใด มันอาจจะมี “โปรดิวเซอร์” หรือคนจัดฉากและกำหนดพล็อตเรื่องไว้แล้ว ดังนั้น โอกาสชนะอาจจะมีน้อยกว่าที่คิด จริงอยู่ เกมอาจจะท้าทายน่าตื่นเต้น ผู้ชนะอาจจะเป็น “ฮีโร่” แต่นี่ก็เป็นคนส่วนน้อย อาจจะไม่ใช่คนเดียวแบบในหนัง แต่ “คนตาย” อาจจะมีมากกว่ามาก ถ้าเรารักจะเล่นก็ควรต้องมีกลยุทธ์ที่ดีในการเอาตัวรอด แต่สำหรับผมแล้ว ผมปฏิเสธที่จะเล่น เราไม่ได้ถูกบังคับอย่างในภาพยนต์ให้ต้องเข้าร่วมในเกมล่าหุ้นนี้ ผมเองเชื่อในสุภาษิตที่ว่า ความตื่นเต้นกับผลตอบแทนในตลาดหุ้นนั้น มักจะไปกันคนละทาง
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Hunger Game เกมล่าหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
ชอบบทความของ ดร.นิเวศน์ ช่างคิดช่างหา
เห็นด้วยในเรื่องหุ้นที่ ดร.นิเวศน์สรุปไว้ และจะทำตามตลอดไป(ถ้าไม่ลืมซะก่อน)
แต่ผมไม่เห็นด้วยกับโคชของนางเอกเลย
การไม่เข้าไปเป็นคนแรกๆ
แล้วเราจะมีอาหารและอาวุธได้อย่างไร
ซึ่งทั้งอาหารและอาวุธเป็นสิ่งสำคัญมากในการเอาชีวิตรอด
อาวุธนอกจากเอาไว้ฆ่าแล้ว มันคือเครื่องมือปล้องกันตัวเอง
สิ่งที่ต้องทำคือ
1.เอาอาวุธและอาหารมาให้ได้ในช่วงเปิดเกม
2.ใช้อาวุธและอาหารนั้นรักษาตัวให้รอดตลอดไป
เห็นด้วยในเรื่องหุ้นที่ ดร.นิเวศน์สรุปไว้ และจะทำตามตลอดไป(ถ้าไม่ลืมซะก่อน)
แต่ผมไม่เห็นด้วยกับโคชของนางเอกเลย
การไม่เข้าไปเป็นคนแรกๆ
แล้วเราจะมีอาหารและอาวุธได้อย่างไร
ซึ่งทั้งอาหารและอาวุธเป็นสิ่งสำคัญมากในการเอาชีวิตรอด
อาวุธนอกจากเอาไว้ฆ่าแล้ว มันคือเครื่องมือปล้องกันตัวเอง
สิ่งที่ต้องทำคือ
1.เอาอาวุธและอาหารมาให้ได้ในช่วงเปิดเกม
2.ใช้อาวุธและอาหารนั้นรักษาตัวให้รอดตลอดไป
- picklife
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2567
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Hunger Game เกมล่าหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
[quote="blueplanet"]ชอบบทความของ ดร.นิเวศน์ ช่างคิดช่างหา
เห็นด้วยในเรื่องหุ้นที่ ดร.นิเวศน์สรุปไว้ และจะทำตามตลอดไป(ถ้าไม่ลืมซะก่อน)
แต่ผมไม่เห็นด้วยกับโคชของนางเอกเลย
การไม่เข้าไปเป็นคนแรกๆ
แล้วเราจะมีอาหารและอาวุธได้อย่างไร
ซึ่งทั้งอาหารและอาวุธเป็นสิ่งสำคัญมากในการเอาชีวิตรอด
อาวุธนอกจากเอาไว้ฆ่าแล้ว มันคือเครื่องมือปล้องกันตัวเอง
สิ่งที่ต้องทำคือ
1.เอาอาวุธและอาหารมาให้ได้ในช่วงเปิดเกม
2.ใช้อาวุธและอาหารนั้นรักษาตัวให้รอดตลอดไป[/quote]
เห็นด้วยในเรื่องหุ้นที่ ดร.นิเวศน์สรุปไว้ และจะทำตามตลอดไป(ถ้าไม่ลืมซะก่อน)
แต่ผมไม่เห็นด้วยกับโคชของนางเอกเลย
การไม่เข้าไปเป็นคนแรกๆ
แล้วเราจะมีอาหารและอาวุธได้อย่างไร
ซึ่งทั้งอาหารและอาวุธเป็นสิ่งสำคัญมากในการเอาชีวิตรอด
อาวุธนอกจากเอาไว้ฆ่าแล้ว มันคือเครื่องมือปล้องกันตัวเอง
สิ่งที่ต้องทำคือ
1.เอาอาวุธและอาหารมาให้ได้ในช่วงเปิดเกม
2.ใช้อาวุธและอาหารนั้นรักษาตัวให้รอดตลอดไป[/quote]
- picklife
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2567
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Hunger Game เกมล่าหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
[quote="blueplanet"]ชอบบทความของ ดร.นิเวศน์ ช่างคิดช่างหา
เห็นด้วยในเรื่องหุ้นที่ ดร.นิเวศน์สรุปไว้ และจะทำตามตลอดไป(ถ้าไม่ลืมซะก่อน)
แต่ผมไม่เห็นด้วยกับโคชของนางเอกเลย
การไม่เข้าไปเป็นคนแรกๆ
แล้วเราจะมีอาหารและอาวุธได้อย่างไร
ซึ่งทั้งอาหารและอาวุธเป็นสิ่งสำคัญมากในการเอาชีวิตรอด
อาวุธนอกจากเอาไว้ฆ่าแล้ว มันคือเครื่องมือปล้องกันตัวเอง
สิ่งที่ต้องทำคือ
1.เอาอาวุธและอาหารมาให้ได้ในช่วงเปิดเกม
2.ใช้อาวุธและอาหารนั้นรักษาตัวให้รอดตลอดไป[/quote]
โค้ชนางเอกบอกว่า อย่าเข้าไปแย่งที่กองใหญ่ๆอยู่ตรงกลาง แต่เดินไปรอบๆ ก็จะเจอitemครับ^^
คือเอาitemที่อยู่รอบๆดีกว่าครับ อาจจะได้ไม่ตรงใจมากนักแต่ก็เสี่ยงต่ำครับพี่บลู
เห็นด้วยในเรื่องหุ้นที่ ดร.นิเวศน์สรุปไว้ และจะทำตามตลอดไป(ถ้าไม่ลืมซะก่อน)
แต่ผมไม่เห็นด้วยกับโคชของนางเอกเลย
การไม่เข้าไปเป็นคนแรกๆ
แล้วเราจะมีอาหารและอาวุธได้อย่างไร
ซึ่งทั้งอาหารและอาวุธเป็นสิ่งสำคัญมากในการเอาชีวิตรอด
อาวุธนอกจากเอาไว้ฆ่าแล้ว มันคือเครื่องมือปล้องกันตัวเอง
สิ่งที่ต้องทำคือ
1.เอาอาวุธและอาหารมาให้ได้ในช่วงเปิดเกม
2.ใช้อาวุธและอาหารนั้นรักษาตัวให้รอดตลอดไป[/quote]
โค้ชนางเอกบอกว่า อย่าเข้าไปแย่งที่กองใหญ่ๆอยู่ตรงกลาง แต่เดินไปรอบๆ ก็จะเจอitemครับ^^
คือเอาitemที่อยู่รอบๆดีกว่าครับ อาจจะได้ไม่ตรงใจมากนักแต่ก็เสี่ยงต่ำครับพี่บลู
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Hunger Game เกมล่าหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
ประเด็นคือ
Hunger game ได้บอกเล่าว่า เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ ผู้รอดจากเกมมี 2 คน
แถมเป็นคู่สามีภรรยาในอนาคต โดยที่ฝ่ายหญิงต้องแสแสร้งว่า รักฝ่ายหนุ่มอย่างสุดซึ้ง
ขาดคู่รักไม่ได้ ช่วยเหลือทุกอย่าง จนกระทั่งผ่านจากเกมดังกล่าวได้
อีกส่วนที่ได้คือ เรียลลิติ้ คือ ทำทุกสิ่งเพื่อที่ให้ได้เรตติ้ง
rating ยิ่งสุดเท่าได้ มีไอเท็มมาให้ตัวเองใช้งาน เช่นตอนที่นางเอกอยู่บนต้นไม้ โดนล้อมอยู่ไม่สามารถลงสู่พื้นได้และตัวเองก็มีอาการบาดเจ็บ แต่ โค้ชก็สามารถ หาคนที่สนับสนุนจนนางเอกได้รับ ยารักษาในตอนนี้จนตัวเองสามารถรักษาบาดแผลได้
อีกประเด็นคือ สิ่งที่นักล่าที่ได้รวมกลุ่มกันอยู่คือ กองอาหาร ถ้าหากสามารถทำให้อาหารที่ประทังชีวิตนั้นไม่เหลือ
ทุกคนก็จะฆ่ากันเร็วขึ้นจากเดิม
ประเด็นต่อมาคือ เรื่องของตัวแทน
ตอนเริ่มต้น นางเอกเป็นตัวแทนน้องสาวที่จับชื่อได้
ต่อมาในเกมที่ล่ากันในป่า นางเอกก็ช่วยเหลือ เด็กหญิงคนหนึ่งที่เก่งเรื่องปีนป่ายไม่ให้โดยฆ่า แต่สุดท้ายเด็กก็ตาย
การตายของเด็กทำให้ เมืองประเทศราช ก่อการแข็งข้อขึ้น กว่าจะปราบปรามได้ก็ต้องเสียเวลา
ส่วนประเด็นสุดท้ายที่ยก คือ ภูมิหลังของนางเอกคือ มาจากชนชั้นกรรมการ แรงงานถ่านหิน ที่ทำงานอย่างหนัก
แต่ทำไมถึงได้เก่งยิงธนู่อย่างมาก ในตอนที่กรรมการให้ดำเนินการทดสอบ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่นางเอกยิงธนูเข้าเป้าแต่กรรมการก็ไม่สนใจ นางเอกเลยต้องยิงลูกธนูไปยังกรรมการ จนกรรมการอึ้งไปว่า ผู้ที่เข้าแข่งขันกล้าท้าทายอำนาจของผู้ควบคุมอย่างนี้เชียวหรือไง แต่อย่างไงก็ตาม แต้มของนางเอกก็สูงจากการกระทำดังกล่าว
เรื่องนี้ผมดูแค่รอบเดียว แต่ดูติดตาอย่างมาก แนะนำให้ดูครับ
Hunger game ได้บอกเล่าว่า เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ ผู้รอดจากเกมมี 2 คน
แถมเป็นคู่สามีภรรยาในอนาคต โดยที่ฝ่ายหญิงต้องแสแสร้งว่า รักฝ่ายหนุ่มอย่างสุดซึ้ง
ขาดคู่รักไม่ได้ ช่วยเหลือทุกอย่าง จนกระทั่งผ่านจากเกมดังกล่าวได้
อีกส่วนที่ได้คือ เรียลลิติ้ คือ ทำทุกสิ่งเพื่อที่ให้ได้เรตติ้ง
rating ยิ่งสุดเท่าได้ มีไอเท็มมาให้ตัวเองใช้งาน เช่นตอนที่นางเอกอยู่บนต้นไม้ โดนล้อมอยู่ไม่สามารถลงสู่พื้นได้และตัวเองก็มีอาการบาดเจ็บ แต่ โค้ชก็สามารถ หาคนที่สนับสนุนจนนางเอกได้รับ ยารักษาในตอนนี้จนตัวเองสามารถรักษาบาดแผลได้
อีกประเด็นคือ สิ่งที่นักล่าที่ได้รวมกลุ่มกันอยู่คือ กองอาหาร ถ้าหากสามารถทำให้อาหารที่ประทังชีวิตนั้นไม่เหลือ
ทุกคนก็จะฆ่ากันเร็วขึ้นจากเดิม
ประเด็นต่อมาคือ เรื่องของตัวแทน
ตอนเริ่มต้น นางเอกเป็นตัวแทนน้องสาวที่จับชื่อได้
ต่อมาในเกมที่ล่ากันในป่า นางเอกก็ช่วยเหลือ เด็กหญิงคนหนึ่งที่เก่งเรื่องปีนป่ายไม่ให้โดยฆ่า แต่สุดท้ายเด็กก็ตาย
การตายของเด็กทำให้ เมืองประเทศราช ก่อการแข็งข้อขึ้น กว่าจะปราบปรามได้ก็ต้องเสียเวลา
ส่วนประเด็นสุดท้ายที่ยก คือ ภูมิหลังของนางเอกคือ มาจากชนชั้นกรรมการ แรงงานถ่านหิน ที่ทำงานอย่างหนัก
แต่ทำไมถึงได้เก่งยิงธนู่อย่างมาก ในตอนที่กรรมการให้ดำเนินการทดสอบ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่นางเอกยิงธนูเข้าเป้าแต่กรรมการก็ไม่สนใจ นางเอกเลยต้องยิงลูกธนูไปยังกรรมการ จนกรรมการอึ้งไปว่า ผู้ที่เข้าแข่งขันกล้าท้าทายอำนาจของผู้ควบคุมอย่างนี้เชียวหรือไง แต่อย่างไงก็ตาม แต้มของนางเอกก็สูงจากการกระทำดังกล่าว
เรื่องนี้ผมดูแค่รอบเดียว แต่ดูติดตาอย่างมาก แนะนำให้ดูครับ
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Hunger Game เกมล่าหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 15
อุดมคติ ของแมงเม่า ต่อคนทำราคา
Vs
ความเป็นจริง
Vs
ความเป็นจริง
แนบไฟล์
- Hwamei
- Verified User
- โพสต์: 396
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Hunger Game เกมล่าหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 16
ทำให้นึกถึงเกมส์ เหยียบลูกโป่งที่ผูกไว้ที่ขา ที่เล่นกันตอนสมัยเด็กๆครับ เราคอยหลบอย่างเดียว รอให้เค้าไล่เหยียบกันเองจนแตกหมดหรือเกือบหมด เราคอยออกไปเล่นกับเค้า ขืนออกไปตั้งแต่ตอนแรกชุลมุนกัน ใครต่อใครไม่รู้เผลอ มีมาขาหลังเหยียบของเราแตกไปซะก่อน