เปิดอาณาจักรอสังหาฯ เจ้าสัวเจริญ
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 1
เปิดอาณาจักรอสังหาฯ เจ้าสัวเจริญ
โพสต์ที่ 1
เปิดอาณาจักรอสังหาฯ เจ้าสัวเจริญ (1)
วันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2012
กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
ในช่วงเกือบ 2 เดือนที่ผ่านมากลุ่มธุรกิจที่ถูกจับตามองมากที่สุดเป็นกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ ของเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี เมื่อเขาเปิดฉากเข้าซื้อกิจการ F&N ในประเทศสิงคโปร์ เป้าหมายเพื่อใช้ F&N เป็นสปริงบอร์ดนำธุรกิจเครื่องดื่มและน้ำเมาเข้าสู่ตลาดในระดับภูมิภาค ผลจะเป็นอย่างไรคงต้องจับตาดูกันต่อไป แต่ที่จะเขียนถึงในคอลัมน์ "ผ่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์" ไม่ใช่เรื่องของธุรกิจน้ำเมา แต่เป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ของตระกูลสิริวัฒนภักดี ที่ถือเป็นเจ้าแห่งแลนด์ลอร์ดของเมืองไทย
++ทีซีซี แลนด์ เรืองธง อสังหาฯ
เจริญ สิริวัฒนภักดี
บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มเสี่ยเจริญ แบ่งออกเป็นสองบริษัท บริษัทแรกคือบริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด ซึ่งถือหุ้น 100% โดยตระกูลสิริวัฒนภักดี และบริษัท ทีซีซี แคปปิตอลแลนด์ จำกัด ที่แต่เดิมเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด กับกลุ่มบริษัท แคปปิตอลแลนด์ จำกัด บริษัทสัญชาติสิงคโปร์ เป็น 1 ใน 3 บริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของสิงคโปร์ แต่ปัจจุบันกลุ่มแคปปิตอลแลนด์ขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัท ทีซีซีแคปปิตอลแลนด์ จำกัด ทั้งหมดคืนให้กับทางบริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด ทำให้ทางครอบครัวสิริวัฒนภักดีกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในทั้งสองบริษัทคือ บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด และบริษัท ทีซีซี แคปปิตอลแลนด์ จำกัด
กลุ่มบริษัทีซีซีแลนด์ฯ ของเจ้าสัวเจริญ รุกเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่อบริษัททีซีซี แลนด์ จำกัด เข้าร่วมทุนกับบริษัทแคปปิตอลแลนด์ จำกัด ในปี 2546 โดยลูกสาวคนโตของครอบครัวสิริวัฒนภักดี คุณวัลยา ไตรโสรัตน์ ที่เข้ามาดูแลกิจการในส่วนของอสังหาริมทรัพย์อย่างจริงจังโดยแบ่งโครงสร้างทางธุรกิจให้บริษัททีซีซี แลนด์ จำกัด ดูแลที่ดิน และการพัฒนาโครงการที่เน้นรายได้จากการเช่า อาทิ ธุรกิจโรงแรม อาคารสำนักงาน ค้าปลีก และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์
ในขณะที่ บริษัทร่วมทุนอย่างบริษัท ทีซีซี แคปปิตอลแลนด์ จำกัด จะเข้าไปพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ทั้งโครงการแนวราบ และคอนโดมิเนียม โดยตั้งเป้าหมายในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่น้อยกว่า 3 โครงการต่อปีมีเป้าหมายที่จะสร้างรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท ในปีที่ 3 นับจากที่เปิดตัวบริษัทในปี 2548
แต่หลังจากเปิดตัวบริษัทและเปิดตัวโครงการไป 10 โครงการตั้งแต่ปี 2546- 2553 อาทิ โครงการแอทธินี เรสซิเด้นซ์ บนถนนวิทยุ โครงการวิลล่า ราชครู บนถนนพหลโยธิน โครงการดิ เอ็มไพร์ เพลส บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ โครงการดิ เอ็มโพริโอ เพลส บนถนนสุขุมวิท 24 โครงการวิลล่า ราชเทวี บนถนนพญาไท โครงการวิลล่า สาทร บนถนนกรุงธนบุรี โครงการนอร์ธ พาร์ค เพลส ถนนวิภาวดีรังสิต โครงการวิลล่า อโศก ถนนเพชรบุรี และโครงการเอสแอนด์เอส สุขุมวิท บนถนนสุขุมวิท 101/1 รวมทั้ง โครงการเดอะ รอยัล เรสซิเด้นซ์ บนถนนเกษตรฯ-นวมินทร์ จับตลาดระดับกลางถึงสูง มียอดขายเฉลี่ย 3,000-5,000 ล้านบาทต่อปี
บริษัท ทีซีซี แคปปิตอลแลนด์ จำกัด ชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ในปี 2554 เนื่องจากภาวะการแข่งขันและเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ในช่วงปลายปี 2554 ก่อนที่บริษัทแคปปิตอลแลนด์ จำกัด ตัดสินใจถอนธุรกิจออกจากประเทศไทยโดยการ ขายหุ้นที่ถืออยู่ 40% ในบริษัท ทีซีซี แคปปิตอลแลนด์ จำกัด ให้กับกลุ่มบริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด มูลค่ารวม 2,330 ล้านบาท เป็นการถอนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มทุนสิงคโปร์ และเป็นช่วงเวลาที่บริษัท ทีซีซี แคปปิตอลแลนด์ จำกัด ปรับกลยุทธ์การทำธุรกิจจากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายมาเป็นการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างครบวงจร ทั้งอาคารสำนักงาน ค้าปลีก และที่อยู่อาศัย
ในขณะที่ บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด เป็นหัวหอกสำคัญในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่มีทั้งธุรกิจโรงแรม ค้าปลีก อาคารสำนักงาน และเป็นบริษัทที่ดูแลอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดของครอบครัวสิริวัฒนภักดี
++มุ่งอสังหาครบวงจร
คุณโสมพัฒน์ ไตรโสรัตน์ กรรมการบริหารบริษัท ทีซีซี แคปปิตอลแลนด์ จำกัด และกรรมการบริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด ลูกเขยของเจ้าสัวเจริญ เคยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ถึงแนวทางในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มหลังการถอนตัวของกลุ่มแคปปิตอลแลนด์ว่า กลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจของกลุ่มในอนาคตจะมุ่งเน้นสร้างรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร ทั้งธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจโรงแรม และอาคารสำนักงาน ในขณะที่การพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อขายนั้นบริษัทชะลอการลงทุนไปก่อน
ในขณะที่แหล่งข่าวภายในบริษัททีซีซีแลนด์ จำกัด เล่าว่า เจ้าสัวเจริญ เสียดายที่ดินที่มีอยู่ที่จะพัฒนาไปเพื่อขายเพราะที่ดินแต่ละแปลงสะสมมาหลายปีต้นทุนที่ซื้อมาถูกกว่าราคาในตลาดมาก เลยเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาที่ดินของครอบครัวทั้งหมดจากพัฒนาเพื่อขายให้เป็นพัฒนาเพื่อเช่าแทน และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กลุ่มแคปปิตอลแลนด์ ถอนตัวออกจากธุรกิจร่วมทุน
ส่วนแผนการพัฒนาที่ดินและการลงทุนในอนาคตของบริษัท ทีซีซีแลนด์ จำกัด นับจากการถอนตัวของกลุ่มบริษัท แคปปิตอลแลนด์ จำกัด มีอยู่ 3 โครงการหลักมูลค่าการพัฒนารวมกันมากกว่า 100,000 ล้านบาท ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาไม่น้อยกว่า 5 ปี มีโครงการอะไรบ้างและทิศทางจะเป็นอย่างไร ติดตามกันต่อในฉบับหน้า
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,766 16-18 สิงหาคม พ.ศ. 2555
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เปิดอาณาจักรอสังหาฯ เจ้าสัวเจริญ
โพสต์ที่ 2
21 สิงหาคม 2555
ผ่าอาณาจักร3แสนล้านบาทของ'เจ้าสัวเจริญ'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Sniper เจาะธุรกิจ "เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี "
สยายปีกในตลาดอินโดจีน รองรับ AEC เน้นธุรกิจอุปโภค-บริโภค ในการขยายธุรกิจ
กรุงเทพธุรกิจทีวี Market Wise ช่วง"Sniper"เจาะอาณา ของ"เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี " จากการนำบริษัทลูก และบริษัทในเครือขยายธุรกิจในตลาดอาเซียน รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจเสรีอาเซียน หรือ AEC ล่าสุดเปิดเกมส์ซื้อกิจการอีกครั้ง ทั้ง"แฟมิลี่ มาร์ท" " แม๊คโคร" และ" F&N" ดันมาร์เก็ตแคปแตะ 3.5 แสนล้านบาท
ชาลี กือเย็น ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์ บล.โอเอสเค (ประเทศไทย) มองการซื้อกิจการของทั้งกลุ่ม จะเติบโตเน้นการบริโภค เป็นหลัก ด้วยการใช้ฐานกระจายสินค้า การจำหน่ายสินค้าที่ดี ซึ่งเป็นประโยชน์กับทางกลุ่ม ให้บริษัท
เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ( BJC)นำร่องในการซื้อธุรกิจกระจายสินค้า ส่วนการเข้าซื้อ หุ้น สยามแม๊คโคร (MAKRO) ถือว่าเป็นการสร้างกลยุทธ์ ให้กับบริษัท แต่มีข้อจำกัดในการซื้อ หากมีการสู้ราคาจริง คงไม่น่าสนใจเพราะจะมีผลต่อการสร้างผลประโยชน์ในอนาคต ของกลุ่ม
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เปิดอาณาจักรอสังหาฯ เจ้าสัวเจริญ
โพสต์ที่ 3
เปิดอาณาจักรอสังหาฯ เจ้าสัวเจริญ (จบ)
กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา Real Estate
ตอนที่แล้วเราเขียนถึงแผนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ระยะยาวภายในประเทศของ
กลุ่มเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี ภายใต้การบริหารงานของลูกสาวคนที่ 2 คุณวัลลภา ไตรโสรัส (สิริวัฒนภักดี)
โดยบริษัททีซีซี แลนด์ จำกัด แต่ใช่ว่าการลงทุนในประเทศจะให้ความสำคัญเฉพาะโครงการพัฒนาระยะยาว
เท่านั้น การพัฒนาโครงการที่สร้างรายได้จากการเช่ายังเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่เสี่ยเจริญ ให้ความสำคัญทั้งธุรกิจ
ค้าปลีกภายในประเทศและการลงทุนซื้อโรงแรมในต่างประเทศ เพราะความที่เจ้าสัวเจริญและ
คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี มีความชื่นชอบสะสมที่ดินเป็นชีวิตจิตใจ กำไรที่ได้จากธุรกิจน้ำเมา
จำนวนมหาศาลจึงถูกนำไปใช้ในการลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ทั้งภายในและต่างประเทศ
และไม่ต้องการที่จะพัฒนาโครงการเพื่อขายเนื่องจากเสียดายที่ดินที่ใช้เวลาสะสมมานาน
+อาณาจักรค้าปลีก
นับตั้งแต่ปี 2544 หลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เสี่ยเจริญรุกเข้าลงทุนในธุรกิจค้าปลีกจากการสั่งสม
ที่ดินทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด รวมทั้งการเข้าไปเทกโอเวอร์ธุรกิจค้าปลีก อาทิ การเข้าซื้อห้างสรรพสินค้า
พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ ห้างสรรพสินค้าบางลำภูย่านงามวงศ์วาน(ปัจจุบัน ห้างสรรพสินค้าพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน)
การเข้าซื้อห้างสรรพสินค้าสุริวงศ์ที่เชียงใหม่ รวมไปถึงการเข้าไปประมูลในการพัฒนาศูนย์การค้าที่สยาม
ปัจจุบันศูนย์การค้าดิจิตอล เกตเวย์ ที่สยาม พัฒนาที่ดินเช่าย่านเอกมัยให้เป็นศูนย์การค้าเกตเวย์ ที่เอกมัย
ยังไม่นับรวมการทำศูนย์การค้าแบบ Community Mall อย่าง เอเซียทิค รีเวอร์ไซด์ ย่านเจริญกรุงและ
ตลาดติดแอร์ ย่านบางโพ และล่าสุดใช้เงินลงทุนมากกว่า 4 พันล้านบาทเข้าซื้อที่ดินย่านเวิ้งนครเขษม
จากตระกูลโสณกุล และบริพัตร
แนวคิดในการพัฒนาธุรกิจค้าปลีกของทางกลุ่มทีซีซีแลนด์ มุ่งการพัฒนาเป็นธุรกิจค้าปลีกแบบเจาะ
เฉพาะกลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มสินค้าไอทีและเทคโนโลยีที่ใช้แบรนด์พันธุ์ทิพย์ในการขยายตลาด ในขณะที่การ
พัฒนาศูนย์การค้าในแบบ community mall เลือกที่จะใช้แบรนด์ดิจิตอลเกตเวย์ และบางทำเลก็ใช้จุดขาย
ของพื้นที่อย่างเอเซียทิค รีเวอร์ไซด์ เป็นต้น
ปัจจุบันกลุ่มเสี่ยเจริญมีธุรกิจค้าปลีกอยู่ในมือทั้งสิ้น 17 แห่ง มูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาท
สร้างรายได้จากค่าเช่าเฉลี่ย 1 พันล้านบาทต่อปี
ถึงแม้รายได้จากธุรกิจค้าปลีกจะมีไม่มาก แต่เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาที่ดินในแนวนี้คือการสร้างรายได้
ระยะยาวมากกว่าการพัฒนาเพื่อขาย ที่สร้างรายได้เพียงครั้งเดียวแต่ทรัพย์สินต้องเปลี่ยนมือให้กับผู้ซื้อซึ่ง
แหล่งข่าวใกล้ชิดเสี่ยเจริญบอกว่าท่านเสียดาย ในเมื่อทางกลุ่มมีเงินสดจากธุรกิจน้ำเมาอยู่แล้วก็ไม่จำเป็น
ต้องขายทรัพย์สินเพื่อหารายได้มาหมุนในการลงทุนใหม่
+สร้างโครงข่ายโรงแรมระดับภูมิภาค
ในขณะที่ธุรกิจโรงแรมเสี่ยเจริญเริ่มต้นที่การเทกโอเวอร์โรงแรมทั้งในยุโรป และเอเชีย เฉพาะในปี 2550
ทีซีซี แลนด์เทกโอเวอร์โรงแรมในต่างประเทศถึง 7 แห่ง ทั้งในสิงคโปร์, กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย,
ฮานอย เวียดนาม, หลวงพระบาง ลาว, ลอนดอน อังกฤษ เมืองละ 1 แห่ง และคุนหมิง จีน 2 แห่ง
ถือเป็นปีที่มีการเทกโอเวอร์โรงแรมในต่างประเทศมากที่สุดของกลุ่ม หลังจากที่เขาปฏิบัติการเข้าเทกโอเวอร์
ธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยก่อนวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ด้วยการเข้าซื้อกลุ่มโรงแรมอิมพี เรียล
ของคุณอากร ฮุนตระกูล (ปัจจุบันคือโรงแรมพลาซ่า แอทธินี ที่วิทยุ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนปาร์คย่านสุขุมวิท
และโรงแรมในเครืออิมพีเรียลในต่างจังหวัดอีกจำนวนหนึ่ง)
ถัดมาในปี 2553 เข้าเทกโอเวอร์โรงแรมในประเทศนิวซีแลนด์และญี่ปุ่น ทำให้ปัจจุบันกลุ่มเสี่ยเจริญ
มีธุรกิจโรงแรมในมือทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมกันไม่น้อยกว่า 20 แห่ง
ถ้าบอกว่าธุรกิจน้ำเมาเป็นหนึ่งในเรือธงหลักของการทำธุรกิจของกลุ่มเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี แล้วกลุ่มธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ก็ต้องถือเป็นอีกหนึ่งขาหยั่งภายใต้แนวคิด 3 ขาหยั่งตามความเชื่อของชาวจีนโพ้นทะเล
หลังจากที่เจ้าสัวเจริญต้องสูญเสียธุรกิจธนาคารพาณิชย์(ธนาคารมหานคร) ไปในวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540
ส่วนธุรกิจที่ 3 เท่าที่ผู้เขียนทราบคือกลุ่มธุรกิจการค้าและการเกษตร ที่มีบริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด และ
บริษัทด้านการเกษตรอีกบริษัทหนึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ
ถึงแม้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเสี่ยเจริญจะไม่ได้สร้างยอดขายเป็นหลักหมื่นล้านเหมือนบริษัทอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ
ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่เมื่อเทียบจากขนาดของธุรกิจแล้ว ต้องถือว่า
บริษัททีซีซี แลนด์ จำกัด เป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจับตามองถึงย่างก้าวของความเคลื่อนไหว
ไม่แพ้บริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เลย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,770
30 สิงหาคม - 2 กันยายน พ.ศ. 2555
กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา Real Estate
ตอนที่แล้วเราเขียนถึงแผนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ระยะยาวภายในประเทศของ
กลุ่มเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี ภายใต้การบริหารงานของลูกสาวคนที่ 2 คุณวัลลภา ไตรโสรัส (สิริวัฒนภักดี)
โดยบริษัททีซีซี แลนด์ จำกัด แต่ใช่ว่าการลงทุนในประเทศจะให้ความสำคัญเฉพาะโครงการพัฒนาระยะยาว
เท่านั้น การพัฒนาโครงการที่สร้างรายได้จากการเช่ายังเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่เสี่ยเจริญ ให้ความสำคัญทั้งธุรกิจ
ค้าปลีกภายในประเทศและการลงทุนซื้อโรงแรมในต่างประเทศ เพราะความที่เจ้าสัวเจริญและ
คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี มีความชื่นชอบสะสมที่ดินเป็นชีวิตจิตใจ กำไรที่ได้จากธุรกิจน้ำเมา
จำนวนมหาศาลจึงถูกนำไปใช้ในการลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ทั้งภายในและต่างประเทศ
และไม่ต้องการที่จะพัฒนาโครงการเพื่อขายเนื่องจากเสียดายที่ดินที่ใช้เวลาสะสมมานาน
+อาณาจักรค้าปลีก
นับตั้งแต่ปี 2544 หลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เสี่ยเจริญรุกเข้าลงทุนในธุรกิจค้าปลีกจากการสั่งสม
ที่ดินทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด รวมทั้งการเข้าไปเทกโอเวอร์ธุรกิจค้าปลีก อาทิ การเข้าซื้อห้างสรรพสินค้า
พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ ห้างสรรพสินค้าบางลำภูย่านงามวงศ์วาน(ปัจจุบัน ห้างสรรพสินค้าพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน)
การเข้าซื้อห้างสรรพสินค้าสุริวงศ์ที่เชียงใหม่ รวมไปถึงการเข้าไปประมูลในการพัฒนาศูนย์การค้าที่สยาม
ปัจจุบันศูนย์การค้าดิจิตอล เกตเวย์ ที่สยาม พัฒนาที่ดินเช่าย่านเอกมัยให้เป็นศูนย์การค้าเกตเวย์ ที่เอกมัย
ยังไม่นับรวมการทำศูนย์การค้าแบบ Community Mall อย่าง เอเซียทิค รีเวอร์ไซด์ ย่านเจริญกรุงและ
ตลาดติดแอร์ ย่านบางโพ และล่าสุดใช้เงินลงทุนมากกว่า 4 พันล้านบาทเข้าซื้อที่ดินย่านเวิ้งนครเขษม
จากตระกูลโสณกุล และบริพัตร
แนวคิดในการพัฒนาธุรกิจค้าปลีกของทางกลุ่มทีซีซีแลนด์ มุ่งการพัฒนาเป็นธุรกิจค้าปลีกแบบเจาะ
เฉพาะกลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มสินค้าไอทีและเทคโนโลยีที่ใช้แบรนด์พันธุ์ทิพย์ในการขยายตลาด ในขณะที่การ
พัฒนาศูนย์การค้าในแบบ community mall เลือกที่จะใช้แบรนด์ดิจิตอลเกตเวย์ และบางทำเลก็ใช้จุดขาย
ของพื้นที่อย่างเอเซียทิค รีเวอร์ไซด์ เป็นต้น
ปัจจุบันกลุ่มเสี่ยเจริญมีธุรกิจค้าปลีกอยู่ในมือทั้งสิ้น 17 แห่ง มูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาท
สร้างรายได้จากค่าเช่าเฉลี่ย 1 พันล้านบาทต่อปี
ถึงแม้รายได้จากธุรกิจค้าปลีกจะมีไม่มาก แต่เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาที่ดินในแนวนี้คือการสร้างรายได้
ระยะยาวมากกว่าการพัฒนาเพื่อขาย ที่สร้างรายได้เพียงครั้งเดียวแต่ทรัพย์สินต้องเปลี่ยนมือให้กับผู้ซื้อซึ่ง
แหล่งข่าวใกล้ชิดเสี่ยเจริญบอกว่าท่านเสียดาย ในเมื่อทางกลุ่มมีเงินสดจากธุรกิจน้ำเมาอยู่แล้วก็ไม่จำเป็น
ต้องขายทรัพย์สินเพื่อหารายได้มาหมุนในการลงทุนใหม่
+สร้างโครงข่ายโรงแรมระดับภูมิภาค
ในขณะที่ธุรกิจโรงแรมเสี่ยเจริญเริ่มต้นที่การเทกโอเวอร์โรงแรมทั้งในยุโรป และเอเชีย เฉพาะในปี 2550
ทีซีซี แลนด์เทกโอเวอร์โรงแรมในต่างประเทศถึง 7 แห่ง ทั้งในสิงคโปร์, กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย,
ฮานอย เวียดนาม, หลวงพระบาง ลาว, ลอนดอน อังกฤษ เมืองละ 1 แห่ง และคุนหมิง จีน 2 แห่ง
ถือเป็นปีที่มีการเทกโอเวอร์โรงแรมในต่างประเทศมากที่สุดของกลุ่ม หลังจากที่เขาปฏิบัติการเข้าเทกโอเวอร์
ธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยก่อนวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ด้วยการเข้าซื้อกลุ่มโรงแรมอิมพี เรียล
ของคุณอากร ฮุนตระกูล (ปัจจุบันคือโรงแรมพลาซ่า แอทธินี ที่วิทยุ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนปาร์คย่านสุขุมวิท
และโรงแรมในเครืออิมพีเรียลในต่างจังหวัดอีกจำนวนหนึ่ง)
ถัดมาในปี 2553 เข้าเทกโอเวอร์โรงแรมในประเทศนิวซีแลนด์และญี่ปุ่น ทำให้ปัจจุบันกลุ่มเสี่ยเจริญ
มีธุรกิจโรงแรมในมือทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมกันไม่น้อยกว่า 20 แห่ง
ถ้าบอกว่าธุรกิจน้ำเมาเป็นหนึ่งในเรือธงหลักของการทำธุรกิจของกลุ่มเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี แล้วกลุ่มธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ก็ต้องถือเป็นอีกหนึ่งขาหยั่งภายใต้แนวคิด 3 ขาหยั่งตามความเชื่อของชาวจีนโพ้นทะเล
หลังจากที่เจ้าสัวเจริญต้องสูญเสียธุรกิจธนาคารพาณิชย์(ธนาคารมหานคร) ไปในวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540
ส่วนธุรกิจที่ 3 เท่าที่ผู้เขียนทราบคือกลุ่มธุรกิจการค้าและการเกษตร ที่มีบริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด และ
บริษัทด้านการเกษตรอีกบริษัทหนึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ
ถึงแม้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเสี่ยเจริญจะไม่ได้สร้างยอดขายเป็นหลักหมื่นล้านเหมือนบริษัทอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ
ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่เมื่อเทียบจากขนาดของธุรกิจแล้ว ต้องถือว่า
บริษัททีซีซี แลนด์ จำกัด เป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจับตามองถึงย่างก้าวของความเคลื่อนไหว
ไม่แพ้บริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เลย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,770
30 สิงหาคม - 2 กันยายน พ.ศ. 2555
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เปิดอาณาจักรอสังหาฯ เจ้าสัวเจริญ
โพสต์ที่ 4
ตุลาคม 2555
เจริญ สิริวัฒนภักดี “บ่มเพาะ เนิบช้า แต่มั่นคง”
หากถามว่าอาณาจักรธุรกิจของ เจริญ สิริวัฒนภักดี มีขนาดและความกว้างใหญ่เพียงใด เราอาจจะต้องใช้พื้นที่หน้ากระดาษจำนวนมากอธิบายและแจกแจง ซึ่งก็ยังไม่แน่ว่าจะได้ข้อสรุปที่ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่อย่างไร
เนื่องเพราะตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา เจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ได้ขยายฐานและฝังรากทางธุรกิจออกไปไกล ครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจสุรา ไปจนถึงธุรกิจอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องหลากหลาย ทั้งเบียร์ น้ำตาล บรรจุภัณฑ์ อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต และอสังหาริมทรัพย์ ในนาม ไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ TCC Group
“ผมดำเนินธุรกิจด้วยความอดทน ขยันหมั่นเพียร คำนึงถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ในระยะยาว มีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ธุรกิจที่ผมดำเนินการอยู่ ต้องมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และครอบครัว ดังเช่นพลเมืองที่ดีคนหนึ่ง” เป็นทัศนะที่ เจริญ ได้แสดงไว้ในสารของผู้ก่อตั้ง
หากประเมินจากข้อเท็จจริงที่ว่า เจริญ-คุณหญิงวรรณา เริ่มต้นอาณาจักรธุรกิจด้วยสุรา ประเด็นว่าด้วยการหมักบ่ม และรอคอยผลลัพธ์ ที่ลงตัว คงเป็นส่วนหนึ่งในตรรกะและวิธีคิดในการบริหารจัดการทั้งครอบครัวและธุรกิจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
และดูเหมือนว่าผลพวงจากการบ่มเพาะอันยาวนานของ เจริญ-คุณหญิงวรรณา กำลังขยายและปรากฏผลเป็นประจักษ์พยานในโลกธุรกิจที่แผ่กิ่งก้านกว้างขวางครอบคลุม จากรากฐานที่มั่นคง
“เมื่อรากฐานแข็งแรง ไม่มีสิ่งใดจะหยุดยั้งการเติบโต” เป็นถ้อยความที่สะท้อนหลักแนวคิดพื้นฐานของ ทั้ง เจริญ-คุณหญิงวรรณา และบริษัทในเครือ TCC Group ได้เป็นอย่างดี ควบคู่กับหลักคิดตามคติจีนที่ว่า ยิ่ม-เหยียง-แจ๋-ลัก หรือ อดทน-เสียสละ-สุขุม-ร่าเริง ที่ไม่ได้เป็นเพียงหลักในการดำเนินชีวิตของเจริญ-คุณหญิงวรรณาเท่านั้น แต่เป็นหลักในการบริหารธุรกิจของ TCC Groupด้วย
วันนี้ ในวัยที่ใกล้ 70 ปีในอีก 2 ปีข้างหน้า เจริญ สิริวัฒนภักดี ได้ผ่องถ่ายบทบาทหน้าที่ภายในอาณาจักรธุรกิจให้กับบุตรชายและบุตรสาว ทั้ง 5 คนได้ร่วมเรียนรู้และรับผิดชอบในการสร้างความจำเริญเติบโตสำหรับอนาคตข้างหน้าที่เต็มไปด้วยความท้าทายและรอคอยการพิสูจน์ทดสอบ
เจริญ สิริวัฒนภักดี “บ่มเพาะ เนิบช้า แต่มั่นคง”
หากถามว่าอาณาจักรธุรกิจของ เจริญ สิริวัฒนภักดี มีขนาดและความกว้างใหญ่เพียงใด เราอาจจะต้องใช้พื้นที่หน้ากระดาษจำนวนมากอธิบายและแจกแจง ซึ่งก็ยังไม่แน่ว่าจะได้ข้อสรุปที่ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่อย่างไร
เนื่องเพราะตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา เจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ได้ขยายฐานและฝังรากทางธุรกิจออกไปไกล ครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจสุรา ไปจนถึงธุรกิจอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องหลากหลาย ทั้งเบียร์ น้ำตาล บรรจุภัณฑ์ อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต และอสังหาริมทรัพย์ ในนาม ไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ TCC Group
“ผมดำเนินธุรกิจด้วยความอดทน ขยันหมั่นเพียร คำนึงถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ในระยะยาว มีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ธุรกิจที่ผมดำเนินการอยู่ ต้องมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และครอบครัว ดังเช่นพลเมืองที่ดีคนหนึ่ง” เป็นทัศนะที่ เจริญ ได้แสดงไว้ในสารของผู้ก่อตั้ง
หากประเมินจากข้อเท็จจริงที่ว่า เจริญ-คุณหญิงวรรณา เริ่มต้นอาณาจักรธุรกิจด้วยสุรา ประเด็นว่าด้วยการหมักบ่ม และรอคอยผลลัพธ์ ที่ลงตัว คงเป็นส่วนหนึ่งในตรรกะและวิธีคิดในการบริหารจัดการทั้งครอบครัวและธุรกิจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
และดูเหมือนว่าผลพวงจากการบ่มเพาะอันยาวนานของ เจริญ-คุณหญิงวรรณา กำลังขยายและปรากฏผลเป็นประจักษ์พยานในโลกธุรกิจที่แผ่กิ่งก้านกว้างขวางครอบคลุม จากรากฐานที่มั่นคง
“เมื่อรากฐานแข็งแรง ไม่มีสิ่งใดจะหยุดยั้งการเติบโต” เป็นถ้อยความที่สะท้อนหลักแนวคิดพื้นฐานของ ทั้ง เจริญ-คุณหญิงวรรณา และบริษัทในเครือ TCC Group ได้เป็นอย่างดี ควบคู่กับหลักคิดตามคติจีนที่ว่า ยิ่ม-เหยียง-แจ๋-ลัก หรือ อดทน-เสียสละ-สุขุม-ร่าเริง ที่ไม่ได้เป็นเพียงหลักในการดำเนินชีวิตของเจริญ-คุณหญิงวรรณาเท่านั้น แต่เป็นหลักในการบริหารธุรกิจของ TCC Groupด้วย
วันนี้ ในวัยที่ใกล้ 70 ปีในอีก 2 ปีข้างหน้า เจริญ สิริวัฒนภักดี ได้ผ่องถ่ายบทบาทหน้าที่ภายในอาณาจักรธุรกิจให้กับบุตรชายและบุตรสาว ทั้ง 5 คนได้ร่วมเรียนรู้และรับผิดชอบในการสร้างความจำเริญเติบโตสำหรับอนาคตข้างหน้าที่เต็มไปด้วยความท้าทายและรอคอยการพิสูจน์ทดสอบ
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เปิดอาณาจักรอสังหาฯ เจ้าสัวเจริญ
โพสต์ที่ 5
“เจริญ” ควง “คุณหญิงวรรณา” ตัดริบบิ้นเปิดตัว “ ดิ โอกุระ เพรสทีจ”
แม้จะมีโรงแรมอยู่ในเครือนับไม่ถ้วน แต่ เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อเบียร์ช้าง
ก็ยังเดินหน้าลงทุนธุรกิจนี้อย่างไม่หยุดยั้ง ล่าสุด เปิดตัว โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ
อย่างเป็นทางการแบบเรียบง่ายแต่ยิ่งใหญ่ไปแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ท่ามกลางแขกระดับเอลิสต์ของกรุงเทพฯ
งานนี้ เจริญควงคุณหญิงวรรณา มาเป็นประธานเปิดงาน โดยเล่าถึงความเป็นมาของ
บมจ.ยูนิเวนเจอร์ ผู้บริหาร อาคารปาร์คเวนเชอร์ ที่ตั้งของโรงแรมโอกุระ
ว่าเป็นบริษัทเก่าแก่ที่ตั้งมา 30 กว่าปีแล้ว แต่เมื่อสิบกว่าปีก่อนมีกลุ่มลงทุนต่างชาติ
ได้เข้ามาสนับสนุนการเงินเพื่อลงทุน ปรากฏว่าเป็นช่วงที่ประเทศไทยมีปัญหาภายในหลายๆ เรื่อง
จนกระทั่งในปี 2550 ทั่วโลกมีเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีนัก บริษัทยูนิเวนเจอร์มีการเปลี่ยนกลุ่มลงทุน
โดยมี ตระกูลสิริวัฒนภักดี เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และ
ปณต สิริวัฒนภักดี ทายาทคนเล็กดำรงตำแหน่งประธานบริหารยูนิเวนเจอร์
“อาคารปาร์คเวนเชอร์ ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีมาก เป็นอาคารที่มีความทันสมัย สวยงามโดดเด่น
มีพื้นที่สำนักงานที่ดี มีแหล่งชอปปิ้งที่สะดวกกับผู้ที่มาใช้บริการ แต่ลูกๆ ได้มาปรึกษาผมว่า
ทำอย่างไรจึงจะหาสิ่งพิเศษที่ยังไม่มีในเมืองไทยมาไว้ที่นี่ เราจึงเลือกโอกุระ ซึ่งเป็นแบรนด์
โรงแรมญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก มาเป็นส่วนหนึ่งของอาคารแห่งนี้ อยู่ภายใต้การบริหารของ
ลูกชายของผม ผมคิดว่าโรงแรมนี้สามารถให้บริการได้อย่างดี โดยเฉพาะ เมื่อมีการเปิดการค้าเสรีอาเซียน
ที่จะมีชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศมากขึ้น โดยประเทศไทยจะเป็นศูนย์รวมของการเดินทาง
การลงทุนของผมครั้งนี้ เพื่อต้องการเสริมเศรษฐกิจของประเทศ และเสริมด้านความผูกพันระหว่างประเทศที่เชื่อใจเรา” เจ้าสัวเจริญ กล่าว
ทางด้าน มร.โทชิฮิโร โอกิตะ ประธาน บริษัท โฮเท็ล โอกุระ จำกัด เผยว่า “ผมภูมิใจมากที่มีวันนี้ เพราะเป็นงานแบบที่ต้องอาศัยความร่วมมือ และทีมเวิร์ก ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโอกุระ วันนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความท้าทายในการบริหารโรงแรมให้เป็นที่ 1 เพราะในญี่ปุ่นเราเป็นแบรนด์อันดับ 1 ใน 5 ที่ดีที่สุด ภายใต้ปรัชญาที่ต้องการมอบที่พักที่ดีที่สุด อาหารรสชาติเลิศที่สุด และบริการที่สุดแห่งความประทับใจ ที่ผสมผสานความเป็นไทยและความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างลงตัว หวังว่าทุกท่านจะให้การสนับสนุนโรงแรมของเราตลอดไปครับ”
หลังจากประธานทั้ง 2 ฝ่ายกล่าวเสร็จ ก็เข้าสู่นาทีสำคัญคือ การเปิดตัวอย่างเป็นทางการของโรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ ด้วยธรรมเนียมดั้งเดิมของญี่ปุ่น นั่นคือ การทุบฝาถังเหล้าสาเกแล้วดื่มเพื่อความเป็นสิริมงคล งานนี้ทั้งผู้บริหารทั้งฝั่งไทยและญี่ปุ่น ลงทุนใส่ชุดฮับปิแบบญี่ปุ่น พร้อมกับถือค้อนไม้ จากนั้นก็นับถอยหลังแล้วทุบพร้อมกันไปที่ฝาปิดถังสาเก จนแตก ตักสาเกใส่ถ้วย แล้ว “คัมปาย” ดื่มฉลองชัยกันอย่างชื่นมื่นถ้วนหน้า
จากนั้น ปณต สิริวัฒนภักดี ประธานบริหารฯ
ได้นำผู้ร่วมงานเคลื่อนตัวจากห้องบอลรูมชั้น 3 ขึ้นลิฟท์ไปปาร์ตี้กันต่อที่ สกายเลานจ์ ชั้น 24
ซึ่งมีทั้งเสียงเพลงเพราะๆ เครื่องดื่ม และอาหารรสเลิศหลายสัญชาติ ไว้ต้อนรับอย่างอลังการ
ASTVผู้จัดการออนไลน์
21 ตุลาคม 2555
แม้จะมีโรงแรมอยู่ในเครือนับไม่ถ้วน แต่ เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อเบียร์ช้าง
ก็ยังเดินหน้าลงทุนธุรกิจนี้อย่างไม่หยุดยั้ง ล่าสุด เปิดตัว โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ
อย่างเป็นทางการแบบเรียบง่ายแต่ยิ่งใหญ่ไปแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ท่ามกลางแขกระดับเอลิสต์ของกรุงเทพฯ
งานนี้ เจริญควงคุณหญิงวรรณา มาเป็นประธานเปิดงาน โดยเล่าถึงความเป็นมาของ
บมจ.ยูนิเวนเจอร์ ผู้บริหาร อาคารปาร์คเวนเชอร์ ที่ตั้งของโรงแรมโอกุระ
ว่าเป็นบริษัทเก่าแก่ที่ตั้งมา 30 กว่าปีแล้ว แต่เมื่อสิบกว่าปีก่อนมีกลุ่มลงทุนต่างชาติ
ได้เข้ามาสนับสนุนการเงินเพื่อลงทุน ปรากฏว่าเป็นช่วงที่ประเทศไทยมีปัญหาภายในหลายๆ เรื่อง
จนกระทั่งในปี 2550 ทั่วโลกมีเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีนัก บริษัทยูนิเวนเจอร์มีการเปลี่ยนกลุ่มลงทุน
โดยมี ตระกูลสิริวัฒนภักดี เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และ
ปณต สิริวัฒนภักดี ทายาทคนเล็กดำรงตำแหน่งประธานบริหารยูนิเวนเจอร์
“อาคารปาร์คเวนเชอร์ ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีมาก เป็นอาคารที่มีความทันสมัย สวยงามโดดเด่น
มีพื้นที่สำนักงานที่ดี มีแหล่งชอปปิ้งที่สะดวกกับผู้ที่มาใช้บริการ แต่ลูกๆ ได้มาปรึกษาผมว่า
ทำอย่างไรจึงจะหาสิ่งพิเศษที่ยังไม่มีในเมืองไทยมาไว้ที่นี่ เราจึงเลือกโอกุระ ซึ่งเป็นแบรนด์
โรงแรมญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก มาเป็นส่วนหนึ่งของอาคารแห่งนี้ อยู่ภายใต้การบริหารของ
ลูกชายของผม ผมคิดว่าโรงแรมนี้สามารถให้บริการได้อย่างดี โดยเฉพาะ เมื่อมีการเปิดการค้าเสรีอาเซียน
ที่จะมีชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศมากขึ้น โดยประเทศไทยจะเป็นศูนย์รวมของการเดินทาง
การลงทุนของผมครั้งนี้ เพื่อต้องการเสริมเศรษฐกิจของประเทศ และเสริมด้านความผูกพันระหว่างประเทศที่เชื่อใจเรา” เจ้าสัวเจริญ กล่าว
ทางด้าน มร.โทชิฮิโร โอกิตะ ประธาน บริษัท โฮเท็ล โอกุระ จำกัด เผยว่า “ผมภูมิใจมากที่มีวันนี้ เพราะเป็นงานแบบที่ต้องอาศัยความร่วมมือ และทีมเวิร์ก ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโอกุระ วันนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความท้าทายในการบริหารโรงแรมให้เป็นที่ 1 เพราะในญี่ปุ่นเราเป็นแบรนด์อันดับ 1 ใน 5 ที่ดีที่สุด ภายใต้ปรัชญาที่ต้องการมอบที่พักที่ดีที่สุด อาหารรสชาติเลิศที่สุด และบริการที่สุดแห่งความประทับใจ ที่ผสมผสานความเป็นไทยและความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างลงตัว หวังว่าทุกท่านจะให้การสนับสนุนโรงแรมของเราตลอดไปครับ”
หลังจากประธานทั้ง 2 ฝ่ายกล่าวเสร็จ ก็เข้าสู่นาทีสำคัญคือ การเปิดตัวอย่างเป็นทางการของโรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ ด้วยธรรมเนียมดั้งเดิมของญี่ปุ่น นั่นคือ การทุบฝาถังเหล้าสาเกแล้วดื่มเพื่อความเป็นสิริมงคล งานนี้ทั้งผู้บริหารทั้งฝั่งไทยและญี่ปุ่น ลงทุนใส่ชุดฮับปิแบบญี่ปุ่น พร้อมกับถือค้อนไม้ จากนั้นก็นับถอยหลังแล้วทุบพร้อมกันไปที่ฝาปิดถังสาเก จนแตก ตักสาเกใส่ถ้วย แล้ว “คัมปาย” ดื่มฉลองชัยกันอย่างชื่นมื่นถ้วนหน้า
จากนั้น ปณต สิริวัฒนภักดี ประธานบริหารฯ
ได้นำผู้ร่วมงานเคลื่อนตัวจากห้องบอลรูมชั้น 3 ขึ้นลิฟท์ไปปาร์ตี้กันต่อที่ สกายเลานจ์ ชั้น 24
ซึ่งมีทั้งเสียงเพลงเพราะๆ เครื่องดื่ม และอาหารรสเลิศหลายสัญชาติ ไว้ต้อนรับอย่างอลังการ
ASTVผู้จัดการออนไลน์
21 ตุลาคม 2555
-
- Verified User
- โพสต์: 21
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เปิดอาณาจักรอสังหาฯ เจ้าสัวเจริญ
โพสต์ที่ 6
Thank you
-
- Verified User
- โพสต์: 1024
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เปิดอาณาจักรอสังหาฯ เจ้าสัวเจริญ
โพสต์ที่ 7
ยิ่งใหญ่ดีแท้