ถนนทุกสาย..มุ่งสู่ตลาดหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
ถนนทุกสาย..มุ่งสู่ตลาดหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 16 กุมภาพันธ์ 56
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ถนนทุกสาย..มุ่งสู่ตลาดหุ้น
ตั้งแต่ต้นปี 2556 ถึงวันนี้เป็นเวลาแค่เดือนครึ่ง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้ปรับตัวขึ้นมาแล้วเกือบ 10% และนี่เกิดขึ้นหลังจากที่ตลาดเมื่อปีที่แล้วปรับตัวขึ้นมาถึง 36% มูลค่าตลาดของหุ้นไทยในขณะนี้ประมาณ 13 ล้าน ล้านบาท สูงกว่ามูลค่าผลผลิตรวมต่อปีหรือ GDP ของประเทศไปแล้ว ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นนั้น “มหาศาล” อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ถ้านับจากสิ้นปี 2551 หรือเพียงประมาณ 4 ปีเศษๆ ที่ดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ประมาณ 450 จุดนั้น มูลค่าตลาดของหุ้นได้เพิ่มขึ้นมาแล้วน่าจะประมาณ 9 ล้านล้านบาท และถ้าคิดว่าคนไทยเป็นเจ้าของหรือถือหุ้นประมาณ 70% ในบริษัทจดทะเบียน ความมั่งคั่งของคนไทยก็เพิ่มขึ้นประมาณ 6.3 ล้าน ล้านบาท และถ้าคิดต่อไปอีกว่าในส่วนของคนไทยนั้น ผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่รัฐหรือก็คือนักลงทุนที่เป็น “ชาวบ้าน” ทั่วๆไปถือหุ้นประมาณ 70% ก็จะพบว่าคนไทยที่ถือหุ้นหรือเล่นหุ้นอยู่ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานี้มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นประมาณ 4.4 ล้านล้านบาท
ในเม็ดเงิน 4.4 ล้านล้านบาทที่เพิ่มขึ้นมาใน “กระเป๋า” ของคนไทยที่มีหุ้นหรือถือหุ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานั้น ผมไม่รู้ว่ามีคนไทยกี่คนที่ได้รับประโยชน์ในส่วนนี้ แต่ก็คงเป็นแค่หลักไม่เกิน 2-3 ล้านคน เฉลี่ยแล้วได้รับกันไปคนละประมาณ 2 ล้านบาทถ้าจะพูดอย่างหยาบๆ แต่คนจำนวนมากที่ถือหุ้นผ่านกองทุนรวมหุ้น โดยเฉพาะของกองทุนบำเหน็จบำนาญของราชการหรือ กบข. น่าจะได้เงินไปน้อยกว่านี้มาก คนกลุ่มต่อมาที่จะได้ประโยชน์จากการปรับตัวขึ้นของหุ้นพอสมควรก็คือ คนที่ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF และกองทุนเพื่อการเกษียณหรือ RMF ที่ลงทุนในหุ้นมาตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว กลุ่มต่อมาที่น่าจะได้รับเม็ดเงินไปค่อนข้างมากก็คือ คน “เล่นหุ้น” ที่อยู่ในตลาดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผลตอบแทนน่าจะได้ไม่ต่ำกว่า 200% เช่นลงทุนไป 1 ล้านบาทก็น่าจะได้เงินเพิ่มขึ้นมาอีก 2 ล้านบาทกลายเป็น 3 ล้านบาท ในช่วง 4 ปีเศษที่ผ่านมา
กลุ่มคนที่ได้เงินไปเต็มๆ คือน่าจะ “ร่ำรวย” จากการที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นในรอบนี้ก็คือ นักลงทุนที่ “มุ่งมั่น” ซึ่งบางคนก็เป็น “นักลงทุนอาชีพ” นั่นก็คือ ไม่ได้ทำงานประจำอื่น แต่ลงทุนเป็นหลักในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา คนเหล่านี้มักจะลงทุนเงินเกือบทั้งหมดที่มีอยู่ และหลายคนนั้นกู้เงินและ/หรือใช้มาร์จินในการลงทุนเพิ่มขึ้นไปอีกเป็นเท่าตัวหรือมากกว่านั้นเข้ามาซื้อหุ้นขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ คนที่ได้เงินมากจริงๆ ในหมู่คนกลุ่มนี้ก็คือคนที่เรียกตัวเองว่า “Value Investor” นั่นก็คือ พวกเขาซื้อขายหุ้นโดยเน้นการเลือกหุ้นโดยอิงกับพื้นฐานของกิจการเป็นหลักแม้ว่าจังหวะการซื้อขายอาจจะแตกต่างกันออกไป พวกเขาอาจจะมีจำนวนน้อยกว่าคน “เล่นหุ้น” ที่ซื้อขายรายวัน แต่เม็ดเงินของพวกเขานั้นมากกว่ามาก อาจจะเรียกได้ว่ารายใหญ่หรือ “ขาใหญ่” ในตลาดหุ้นในช่วงเวลานี้คือ VI ผลตอบแทนของพวกเขาในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานี้สูงมาก การได้ผลตอบแทนเป็น 10 เท่าเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับ VI ที่มุ่งมั่น และผมเชื่อว่ามีบางคนโดยเฉพาะที่เริ่มต้นด้วยเงินจำนวนน้อย สามารถได้เป็นร้อยเท่า คือลงทุน 1 ล้านบาทภายใน 4 ปี กลายเป็น 100 ล้านบาท
ความร่ำรวยของ VI ผู้มุ่งมั่น ซึ่งนาทีนี้อาจจะมีเป็นพันๆ คนเข้าไปแล้วและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมคิดว่าเริ่มจะมีผลกระทบกับการใช้จ่ายซื้อสินค้าที่มีราคาแพงเช่น บ้านและรถยนต์ VI กลายเป็นกลุ่มที่เข้าไปซื้อคอนโดหรูในบางโครงการอย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกัน รถยนต์หรูราคาแพงมากผมก็คิดว่ามาจากเงินในตลาดหุ้นของนักลงทุนผู้มุ่งมั่นเหล่านี้ไม่น้อย โดยในกรณีของคอนโดนั้น ผมคิดว่า VI ที่ซื้อหลายคนก็มองเป็นเรื่องของการลงทุนไปด้วย ส่วนในกรณีของรถหรูนั้น ก็ดูเหมือนว่าจะเป็น “รางวัลชีวิต” สำหรับ VI ที่ประสบความสำเร็จสูง เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ VI หลายคนได้เงินมามากเสียจนราคาของรถนั้น เป็นรายจ่ายเพียง “เล็กน้อย” ที่เขาอยากจะหาความสุขบ้าง
กลุ่มคนที่รวยจากตลาดหุ้นมากที่สุดก็คือ เจ้าของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่ราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นไปมาก ไม่ใช่เฉพาะกิจการที่มีผลประกอบการที่ดีเท่านั้นที่มีราคาหุ้นขึ้นไป หุ้นเกือบทุกตัวปรับตัวขึ้นไปสูงมาก บางบริษัทมี Market Cap. หรือมูลค่าตลาดของหุ้นเพิ่มขึ้นไปเป็น 10 เท่าตัวในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา บางบริษัทหุ้นขึ้นไปร้อยเท่าก็น่าจะมี เจ้าของบริษัทหลายๆแห่งน่าจะมีเงินเพิ่มขึ้นในช่วง 4 ปีนี้เป็นพันๆล้านบาท หลายบริษัทเป็นหมื่นล้านบาท และบางบริษัทเป็นแสนล้านบาท แม้แต่บริษัทที่ไม่ได้มีกำไรเพิ่มขึ้นเลยบางทีก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นไปเท่าตัวมีเงินเพิ่มขึ้นอีกหลายพันล้านบาท ที่โดดเด่นยิ่งกว่านั้นก็คือบริษัทที่เพิ่งเข้ามาจดทะเบียนในตลาดเป็นครั้งแรกหรือหุ้น IPO ซึ่งทำให้เจ้าของได้เงินเพิ่มขึ้นมาก บางคน “มโหฬาร” จากบริษัทเดิมที่ทำกำไร “กระท่อนกระแท่น” และถ้าคิดจากเงินลงทุนที่ลงไปก็อาจจะหลักหลายสิบหรือร้อยล้านบาท เมื่อเข้าตลาดหุ้น มูลค่าก็กลายเป็นพันล้านบาท บางบริษัทเป็นหมื่นล้านบาทในชั่วเวลาข้ามคืน จากเจ้าของธุรกิจที่ “พออยู่ได้” เช่นเดียวกับเพื่อนนักธุรกิจระดับเล็กด้วยกัน พวกเขากลายเศรษฐีหรือมหาเศรษฐีเมื่อหุ้นเข้าตลาดและราคาวิ่งขึ้นไปสิบเท่าหรือร้อยเท่าจากเม็ดเงินที่เขาลงไป
นักลงทุนกลุ่มสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ นักลงทุนต่างชาติ พวกเขามีจำนวนไม่มากแต่ได้เม็ดเงินมหาศาล ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเขาได้เงินไป 2.7 ล้าน ล้านบาท แน่นอน กองทุนที่เป็นสถาบันขนาดใหญ่คือคนที่ได้เงินส่วนใหญ่ไป แต่ถ้าคิดเป็นผลตอบแทนแล้ว กองทุนที่ได้ผลตอบแทนสูงมากก็คือพวกเฮดจ์ฟันด์หรือ Private Fund ที่รับเงินจากคนที่มีเงินมากๆ เข้ามาลงทุนในประเทศไทยและในเอเซียที่เป็นตลาดเกิดใหม่ ซึ่งผลตอบแทนที่ได้ในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมานั้น กำไรต่อปีที่พวกเขาได้รับจากตลาดหุ้นไทยไม่น่าจะต่ำกว่า 30% ในช่วง 4 ปี นั้นเงิน 1เหรียญน่าจะได้ผลกำไรมากกว่า 2 เหรียญหรือ 200% ซึ่งเป็นอัตราที่นักลงทุนต่างชาติแทบจะหาที่ไหนในโลกไม่ได้
และทั้งหมดนั้นก็ทำให้ผู้คนจำนวนมากในประเทศไทยที่มีเงินสดเหลืออยู่ในธนาคารจำนวนมาก รวมถึงคนที่ยังไม่ค่อยมีเงินแต่หวังที่จะ “รวย” หรือสะสมเงิน “เพื่ออนาคต” ต่างก็ “มุ่งหน้าสู่ตลาดหุ้น” พวกเขาส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้เพียงพอที่จะลงทุนหรือเลือกหุ้นที่ถูกต้อง พวกเขารู้เพียงแต่ว่าตลาดหุ้นนั้นกำลังปรับตัวขึ้นไปเรื่อยๆ แม้ว่าบางวันมันจะตกลงมาบ้าง แต่ชั่วไม่กี่วันมันก็ดีดกลับมาและสูงกว่าเดิม การซื้อและขายหุ้นก็ดูไม่ยากอะไรนัก บางคนอาจจะคิดว่าก็ใช้วิธีถามจากเพื่อนที่ “มีความสามารถ” หรือเล่นอยู่และได้กำไรมามาก ผลกำไรนั้นอยู่ที่ “ปลายนิ้ว” พวกเขาไม่คิดถึงเรื่องขาดทุนเท่าไร เพราะอาจจะยังไม่เห็นใครเล่นแล้วขาดทุนเลยในช่วงหลายๆ ปี มีแต่รวยขึ้นเรื่อยๆ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ เขาก็ไม่ได้ลงทุนมากมายอะไรเทียบกับความมั่งคั่งที่มีอยู่ การที่จะแบ่งเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยน้อยนิดมาลงทุนในหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงนั้นดูเหมือนว่าจะเป็นการตัดสินใจที่ไม่มีทางผิดพลาด เขาลองมาแล้วเพียงแค่ 2 เดือน ตอนนี้ได้ไปแล้ว 10 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับการฝากเงิน 5 ปี ดังนั้น ขณะนี้เขาอยากลงทุนเพิ่ม เขาได้รับคำบอกเล่าจากผู้เชี่ยวชาญในตลาดผ่านสื่อมากมาย ทุกคนบอกว่าตลาดหุ้นยังไม่แพงและดัชนีจะไปถึง 1700 จุดในสิ้นปีนี้ เขาไม่เข้าใจหรอกว่ามันคือขึ้นไปแค่ไหน เขาคิดเพียงแต่ว่า ตลาดหุ้นคือที่ที่จะทำเงินได้เร็วมาก ดังนั้น เขาจึงเข้ามา ถนนทุกสาย..กำลังมุ่งสู่ตลาดหุ้น
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ถนนทุกสาย..มุ่งสู่ตลาดหุ้น
ตั้งแต่ต้นปี 2556 ถึงวันนี้เป็นเวลาแค่เดือนครึ่ง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้ปรับตัวขึ้นมาแล้วเกือบ 10% และนี่เกิดขึ้นหลังจากที่ตลาดเมื่อปีที่แล้วปรับตัวขึ้นมาถึง 36% มูลค่าตลาดของหุ้นไทยในขณะนี้ประมาณ 13 ล้าน ล้านบาท สูงกว่ามูลค่าผลผลิตรวมต่อปีหรือ GDP ของประเทศไปแล้ว ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นนั้น “มหาศาล” อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ถ้านับจากสิ้นปี 2551 หรือเพียงประมาณ 4 ปีเศษๆ ที่ดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ประมาณ 450 จุดนั้น มูลค่าตลาดของหุ้นได้เพิ่มขึ้นมาแล้วน่าจะประมาณ 9 ล้านล้านบาท และถ้าคิดว่าคนไทยเป็นเจ้าของหรือถือหุ้นประมาณ 70% ในบริษัทจดทะเบียน ความมั่งคั่งของคนไทยก็เพิ่มขึ้นประมาณ 6.3 ล้าน ล้านบาท และถ้าคิดต่อไปอีกว่าในส่วนของคนไทยนั้น ผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่รัฐหรือก็คือนักลงทุนที่เป็น “ชาวบ้าน” ทั่วๆไปถือหุ้นประมาณ 70% ก็จะพบว่าคนไทยที่ถือหุ้นหรือเล่นหุ้นอยู่ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานี้มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นประมาณ 4.4 ล้านล้านบาท
ในเม็ดเงิน 4.4 ล้านล้านบาทที่เพิ่มขึ้นมาใน “กระเป๋า” ของคนไทยที่มีหุ้นหรือถือหุ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานั้น ผมไม่รู้ว่ามีคนไทยกี่คนที่ได้รับประโยชน์ในส่วนนี้ แต่ก็คงเป็นแค่หลักไม่เกิน 2-3 ล้านคน เฉลี่ยแล้วได้รับกันไปคนละประมาณ 2 ล้านบาทถ้าจะพูดอย่างหยาบๆ แต่คนจำนวนมากที่ถือหุ้นผ่านกองทุนรวมหุ้น โดยเฉพาะของกองทุนบำเหน็จบำนาญของราชการหรือ กบข. น่าจะได้เงินไปน้อยกว่านี้มาก คนกลุ่มต่อมาที่จะได้ประโยชน์จากการปรับตัวขึ้นของหุ้นพอสมควรก็คือ คนที่ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF และกองทุนเพื่อการเกษียณหรือ RMF ที่ลงทุนในหุ้นมาตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว กลุ่มต่อมาที่น่าจะได้รับเม็ดเงินไปค่อนข้างมากก็คือ คน “เล่นหุ้น” ที่อยู่ในตลาดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผลตอบแทนน่าจะได้ไม่ต่ำกว่า 200% เช่นลงทุนไป 1 ล้านบาทก็น่าจะได้เงินเพิ่มขึ้นมาอีก 2 ล้านบาทกลายเป็น 3 ล้านบาท ในช่วง 4 ปีเศษที่ผ่านมา
กลุ่มคนที่ได้เงินไปเต็มๆ คือน่าจะ “ร่ำรวย” จากการที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นในรอบนี้ก็คือ นักลงทุนที่ “มุ่งมั่น” ซึ่งบางคนก็เป็น “นักลงทุนอาชีพ” นั่นก็คือ ไม่ได้ทำงานประจำอื่น แต่ลงทุนเป็นหลักในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา คนเหล่านี้มักจะลงทุนเงินเกือบทั้งหมดที่มีอยู่ และหลายคนนั้นกู้เงินและ/หรือใช้มาร์จินในการลงทุนเพิ่มขึ้นไปอีกเป็นเท่าตัวหรือมากกว่านั้นเข้ามาซื้อหุ้นขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ คนที่ได้เงินมากจริงๆ ในหมู่คนกลุ่มนี้ก็คือคนที่เรียกตัวเองว่า “Value Investor” นั่นก็คือ พวกเขาซื้อขายหุ้นโดยเน้นการเลือกหุ้นโดยอิงกับพื้นฐานของกิจการเป็นหลักแม้ว่าจังหวะการซื้อขายอาจจะแตกต่างกันออกไป พวกเขาอาจจะมีจำนวนน้อยกว่าคน “เล่นหุ้น” ที่ซื้อขายรายวัน แต่เม็ดเงินของพวกเขานั้นมากกว่ามาก อาจจะเรียกได้ว่ารายใหญ่หรือ “ขาใหญ่” ในตลาดหุ้นในช่วงเวลานี้คือ VI ผลตอบแทนของพวกเขาในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานี้สูงมาก การได้ผลตอบแทนเป็น 10 เท่าเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับ VI ที่มุ่งมั่น และผมเชื่อว่ามีบางคนโดยเฉพาะที่เริ่มต้นด้วยเงินจำนวนน้อย สามารถได้เป็นร้อยเท่า คือลงทุน 1 ล้านบาทภายใน 4 ปี กลายเป็น 100 ล้านบาท
ความร่ำรวยของ VI ผู้มุ่งมั่น ซึ่งนาทีนี้อาจจะมีเป็นพันๆ คนเข้าไปแล้วและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมคิดว่าเริ่มจะมีผลกระทบกับการใช้จ่ายซื้อสินค้าที่มีราคาแพงเช่น บ้านและรถยนต์ VI กลายเป็นกลุ่มที่เข้าไปซื้อคอนโดหรูในบางโครงการอย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกัน รถยนต์หรูราคาแพงมากผมก็คิดว่ามาจากเงินในตลาดหุ้นของนักลงทุนผู้มุ่งมั่นเหล่านี้ไม่น้อย โดยในกรณีของคอนโดนั้น ผมคิดว่า VI ที่ซื้อหลายคนก็มองเป็นเรื่องของการลงทุนไปด้วย ส่วนในกรณีของรถหรูนั้น ก็ดูเหมือนว่าจะเป็น “รางวัลชีวิต” สำหรับ VI ที่ประสบความสำเร็จสูง เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ VI หลายคนได้เงินมามากเสียจนราคาของรถนั้น เป็นรายจ่ายเพียง “เล็กน้อย” ที่เขาอยากจะหาความสุขบ้าง
กลุ่มคนที่รวยจากตลาดหุ้นมากที่สุดก็คือ เจ้าของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่ราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นไปมาก ไม่ใช่เฉพาะกิจการที่มีผลประกอบการที่ดีเท่านั้นที่มีราคาหุ้นขึ้นไป หุ้นเกือบทุกตัวปรับตัวขึ้นไปสูงมาก บางบริษัทมี Market Cap. หรือมูลค่าตลาดของหุ้นเพิ่มขึ้นไปเป็น 10 เท่าตัวในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา บางบริษัทหุ้นขึ้นไปร้อยเท่าก็น่าจะมี เจ้าของบริษัทหลายๆแห่งน่าจะมีเงินเพิ่มขึ้นในช่วง 4 ปีนี้เป็นพันๆล้านบาท หลายบริษัทเป็นหมื่นล้านบาท และบางบริษัทเป็นแสนล้านบาท แม้แต่บริษัทที่ไม่ได้มีกำไรเพิ่มขึ้นเลยบางทีก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นไปเท่าตัวมีเงินเพิ่มขึ้นอีกหลายพันล้านบาท ที่โดดเด่นยิ่งกว่านั้นก็คือบริษัทที่เพิ่งเข้ามาจดทะเบียนในตลาดเป็นครั้งแรกหรือหุ้น IPO ซึ่งทำให้เจ้าของได้เงินเพิ่มขึ้นมาก บางคน “มโหฬาร” จากบริษัทเดิมที่ทำกำไร “กระท่อนกระแท่น” และถ้าคิดจากเงินลงทุนที่ลงไปก็อาจจะหลักหลายสิบหรือร้อยล้านบาท เมื่อเข้าตลาดหุ้น มูลค่าก็กลายเป็นพันล้านบาท บางบริษัทเป็นหมื่นล้านบาทในชั่วเวลาข้ามคืน จากเจ้าของธุรกิจที่ “พออยู่ได้” เช่นเดียวกับเพื่อนนักธุรกิจระดับเล็กด้วยกัน พวกเขากลายเศรษฐีหรือมหาเศรษฐีเมื่อหุ้นเข้าตลาดและราคาวิ่งขึ้นไปสิบเท่าหรือร้อยเท่าจากเม็ดเงินที่เขาลงไป
นักลงทุนกลุ่มสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ นักลงทุนต่างชาติ พวกเขามีจำนวนไม่มากแต่ได้เม็ดเงินมหาศาล ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเขาได้เงินไป 2.7 ล้าน ล้านบาท แน่นอน กองทุนที่เป็นสถาบันขนาดใหญ่คือคนที่ได้เงินส่วนใหญ่ไป แต่ถ้าคิดเป็นผลตอบแทนแล้ว กองทุนที่ได้ผลตอบแทนสูงมากก็คือพวกเฮดจ์ฟันด์หรือ Private Fund ที่รับเงินจากคนที่มีเงินมากๆ เข้ามาลงทุนในประเทศไทยและในเอเซียที่เป็นตลาดเกิดใหม่ ซึ่งผลตอบแทนที่ได้ในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมานั้น กำไรต่อปีที่พวกเขาได้รับจากตลาดหุ้นไทยไม่น่าจะต่ำกว่า 30% ในช่วง 4 ปี นั้นเงิน 1เหรียญน่าจะได้ผลกำไรมากกว่า 2 เหรียญหรือ 200% ซึ่งเป็นอัตราที่นักลงทุนต่างชาติแทบจะหาที่ไหนในโลกไม่ได้
และทั้งหมดนั้นก็ทำให้ผู้คนจำนวนมากในประเทศไทยที่มีเงินสดเหลืออยู่ในธนาคารจำนวนมาก รวมถึงคนที่ยังไม่ค่อยมีเงินแต่หวังที่จะ “รวย” หรือสะสมเงิน “เพื่ออนาคต” ต่างก็ “มุ่งหน้าสู่ตลาดหุ้น” พวกเขาส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้เพียงพอที่จะลงทุนหรือเลือกหุ้นที่ถูกต้อง พวกเขารู้เพียงแต่ว่าตลาดหุ้นนั้นกำลังปรับตัวขึ้นไปเรื่อยๆ แม้ว่าบางวันมันจะตกลงมาบ้าง แต่ชั่วไม่กี่วันมันก็ดีดกลับมาและสูงกว่าเดิม การซื้อและขายหุ้นก็ดูไม่ยากอะไรนัก บางคนอาจจะคิดว่าก็ใช้วิธีถามจากเพื่อนที่ “มีความสามารถ” หรือเล่นอยู่และได้กำไรมามาก ผลกำไรนั้นอยู่ที่ “ปลายนิ้ว” พวกเขาไม่คิดถึงเรื่องขาดทุนเท่าไร เพราะอาจจะยังไม่เห็นใครเล่นแล้วขาดทุนเลยในช่วงหลายๆ ปี มีแต่รวยขึ้นเรื่อยๆ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ เขาก็ไม่ได้ลงทุนมากมายอะไรเทียบกับความมั่งคั่งที่มีอยู่ การที่จะแบ่งเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยน้อยนิดมาลงทุนในหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงนั้นดูเหมือนว่าจะเป็นการตัดสินใจที่ไม่มีทางผิดพลาด เขาลองมาแล้วเพียงแค่ 2 เดือน ตอนนี้ได้ไปแล้ว 10 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับการฝากเงิน 5 ปี ดังนั้น ขณะนี้เขาอยากลงทุนเพิ่ม เขาได้รับคำบอกเล่าจากผู้เชี่ยวชาญในตลาดผ่านสื่อมากมาย ทุกคนบอกว่าตลาดหุ้นยังไม่แพงและดัชนีจะไปถึง 1700 จุดในสิ้นปีนี้ เขาไม่เข้าใจหรอกว่ามันคือขึ้นไปแค่ไหน เขาคิดเพียงแต่ว่า ตลาดหุ้นคือที่ที่จะทำเงินได้เร็วมาก ดังนั้น เขาจึงเข้ามา ถนนทุกสาย..กำลังมุ่งสู่ตลาดหุ้น
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 957
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถนนทุกสาย..มุ่งสู่ตลาดหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
ห่างมาประมาณ 2 เดือนแล้ว ต่อจากบทความครั้งก่อน
คุ้มค่า ที่รอคอย จากบทความเดิม
" เดจาวู " http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=54164
" งานเลี้ยงที่กำลังร้อนแรง " http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=54612
วันนี้ งานเลี้ยงที่กำลังร้อนแรง ดูท่า ยิ่งร้อนแรง ยิ่งขึ้น
ผู้คนที่ผ่านมาและได้ยินเสียง ดูท่า กำลังอดใจไว้ไม่ไหว ขอเข้ามาร่วมแจมในงานนี้ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย
ดูท่า งานเลี้ยงกำลังยิ่งใหญ่โต ยิ่งขึ้น ด้วยผู้คนหน้าใหม่ืีๆ ที่มากขึ้น
ขอบคุณมากๆ ครับ
คุ้มค่า ที่รอคอย จากบทความเดิม
" เดจาวู " http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=54164
" งานเลี้ยงที่กำลังร้อนแรง " http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=54612
วันนี้ งานเลี้ยงที่กำลังร้อนแรง ดูท่า ยิ่งร้อนแรง ยิ่งขึ้น
ผู้คนที่ผ่านมาและได้ยินเสียง ดูท่า กำลังอดใจไว้ไม่ไหว ขอเข้ามาร่วมแจมในงานนี้ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย
ดูท่า งานเลี้ยงกำลังยิ่งใหญ่โต ยิ่งขึ้น ด้วยผู้คนหน้าใหม่ืีๆ ที่มากขึ้น
ขอบคุณมากๆ ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถนนทุกสาย..มุ่งสู่ตลาดหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณครับ กระทิงตัวนี้วิ่งมาแรงและเร็วมากถ้าจะไป1700จริงๆ อาจจะต้องถอยหลังลงมาซัก100-200จุดเพื่อพักดื่มน้ำเกลือแร่เอาแรงก่อนก็เป็นไปได้ครับ เพราะต่างชาติทยอยขายต่อเนื่องแต่กองทุนไทยดันดัชนีทำไฮด์ใหม่เองซึ่งน่าจะไม่ยังยืนถ้านายกองนอกไม่ร่วมด้วยช่วยกันครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 60
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถนนทุกสาย..มุ่งสู่ตลาดหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
อย่าหวังรวยลัดจากตลาดหุ้น - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ปี 2546 คงจะต้องถูกจารึกว่าเป็นปีที่ตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนดีที่สุดปีหนึ่งในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้น เพราะดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นกว่า 100% จากดัชนีประมาณ 356 จุดเป็นประมาณ 772 จุดในวันสิ้นปี
นักลงทุนทุกกลุ่มในตลาดต่างก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ บางคนกำไรหลายร้อยเปอร์เซ็นต์จากเงินที่นำมาลงทุนในหุ้น บางคนกำไรเพียงหลักสิบเปอร์เซ็นต์ ความดีใจและความภาคภูมิใจของนักลงทุนก็ลดหลั่นกันไปตามผลกำไรที่ได้รับเช่นเดียวกับความมั่นใจที่เกิดขึ้นจากการเล่นหุ้น
หลายๆคนอาจจะเริ่มฝันว่า ได้พบหนทางสู่ความมั่งคั่งอย่างง่ายดายและรวดเร็ว บางคนเริ่มคิดถึงวันที่ตนเองจะมีอิสรภาพทางการเงินในไม่ช้า ทั้งๆที่เพิ่งจะเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
สิ่งที่คนจำนวนมากในตลาดหุ้นคิดและเชื่อกันในขณะนี้ก็คือ หุ้นเป็นทรัพย์สินที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก และถ้าทำโพลถามนักลงทุนว่า เขาคิดว่าตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนเท่าไรในระยะยาว คำตอบคงเป็น 30 – 40% ต่อปีขึ้นไป โดยเฉพาะในปี 2547 นั้น หุ้นคงจะวิ่งกระฉูดไม่แพ้ปี 2546 เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เอื้ออำนวยต่อตลาดหุ้นก็ยังคงอยู่ และน่าจะดีขึ้นด้วยซ้ำไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเศรษฐกิจที่เขาบอกกันว่าจะดียิ่งขึ้นไปอีก
แต่ถ้าถามว่ามีนักลงทุนในตลาดหุ้นกี่คนที่ร่ำรวย หรือมีอิสระทางการเงินแล้วจากการลงทุนในตลาดหุ้น คำตอบก็คือ น้อยมาก แม้ว่าจะไม่มีใครทำการศึกษาเรื่องนี้ แต่ผมเชื่อว่าคนที่รวยจากการลงทุนหรือเล่นหุ้นจริงๆนั้น มีไม่เกิน 1 ใน 100 คนที่มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการลงทุน ผมคิดว่าคงมีพอสมควรหลังจากที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือไม่ต่ำกว่า 70 – 80% ของนักลงทุนนั้น ผมเชื่อว่ายังไม่ได้กำไรจากหุ้นเป็นเรื่องเป็นราวจริงๆ ยกเว้นปี 2546 ที่ได้กำไรชดเชยมาบ้าง
เพราะข้อเท็จของหุ้นก็คือ ในช่วงเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา การลงทุนในตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละประมาณ 10% เท่านั้น โดยเป็นผลตอบแทนที่เกิดจากการปรับตัวขึ้นของดัชนีประมาณ 7 – 8% และผลตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 2 – 3% ต่อปี และข้อมูลนี้ก็บังเอิญใกล้เคียงกับผลตอบแทนของตลาดหุ้นในสหรัฐที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 10 – 11% ต่อปี โดยเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 50 – 60 ปีขึ้นไป
ข้อเท็จจริงต่อมาของตลาดหุ้นก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนมีการขึ้นลงผันผวนไปเรื่อยๆ แม้ว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจะเดินหน้าต่อเนื่องมายาวนานหลายสิบปี โดยที่มีน้อยครั้งมากที่เศรษฐกิจจะติดลบและเกิดวิกฤติ นานๆครั้งดัชนีตลาดก็จะตกต่ำลงอย่างหนักเป็นเวลา 2 – 3 ปี เช่นเดียวกับที่บางครั้งดัชนีก็ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงเป็นภาวะกระทิงเปลี่ยวอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว ข้อสรุปที่ชัดเจนก็คือ ในระยะยาวตลาดไม่สามารถเติบโตเกิน 10 – 15% ต่อปี โดยเฉลี่ยได้
ด้วยเหตุดังกล่าว นักลงทุนที่คิดว่าตนเองจะสามารถลงทุนทำกำไรจากตลาดหุ้นได้ปีละ 30 – 40% หรือ บางคนคิดว่าจะสามารถกำไรเป็นเท่าตัวในปีเดียว จึงเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีมากเกินไป หรือไม่ก็คงประมาณการฝีมือการลงทุนของตนเองสูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งโอกาสที่จะไม่เป็นเช่นนั้นคงมีอยู่สูง ความผิดหวังจะตามมา และเมื่อถึงเวลานั้น ความคิดและภาพพจน์เกี่ยวกับตลาดหุ้นก็จะเปลี่ยนไป คนจะเลิกคิดว่าตลาดหลักทรัพย์เป็นแหล่งที่จะสามารถสร้างความมั่งคั่งที่รวดเร็วได้ และคนจำนวนมากก็จะออกจากตลาดหลักทรัพย์กลับไป “ทำมาหากิน” ตามเดิม
นอกจากผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ได้สูงลิ่วอย่างที่หลายคนคิดแล้ว การจัดสรรเงินมาลงทุนในหุ้นสำหรับคนส่วนมากก็มักจะเป็นจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงลงทุนในหุ้นไม่เกิน 20 – 30% ของเม็ดเงินที่มี เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่ากำไรจากหุ้นจะเป็น 100% ในปีใดปีหนึ่ง แต่ถ้าเงินส่วนใหญ่อีก 70 – 80% กลับฝากอยู่ในธนาคารได้ดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปี ผลตอบแทนรวมก็จะได้เพียงประมาณ 21 – 31% เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทำให้ได้อย่างรวดเร็ว
ข้อสรุปของผมก็คือ เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับคนทั่วไปที่จะร่ำรวยจากตลาดหุ้น แม้ว่าในช่วงนี้หลายๆคนจะคิดว่าเป็นไปได้ไม่ยาก คนมักจะเอาสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้มาเป็นฐานในการมองไปข้างหน้า สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเพียงปีหรือสองปีมักจะมีอิทธิพลมากกว่าประวัติศาสตร์เกือบ 30 ปีที่ผ่านมาของไทย และประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นนับเป็น 100 ปีของตลาดหุ้นที่เจริญที่สุดอย่างสหรัฐอเมริกา
Value Investor ที่จะประสบความสำเร็จ ร่ำรวย และเป็นอิสระทางการเงินจากตลาดหุ้นได้นั้น ผมคิดว่าจะต้องมองตลาดหุ้นด้วยความเป็นจริง คาดหวังผลตอบแทนปีละไม่เกิน 15% โดยเฉลี่ยจากการลงทุนไม่ว่าภาวะแวดล้อมจะสดใสเพียงใด ไม่ควรลงทุนในหุ้นที่เก็งกำไรสูงแต่ควรซื้อหุ้นที่มีความปลอดภัยมากด้วยเม็ดเงินในสัดส่วนที่สูง อย่าฝากเงินในธนาคารซึ่งให้ดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปีมากนัก และสุดท้ายซึ่งหนีไม่พ้นก็คือจะต้องลงทุนในตลาดหุ้นยาวนานไม่ออกไปไหนถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ว่าภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร
การลงทุนให้ประสบความสำเร็จจริงๆนั้น ไม่มีทางลัด และมันต้องการเวลา
วอเร็น บัฟเฟตต์ เคยพูดว่า “คุณไม่สามารถผลิตเด็กภายใน 1 เดือนโดยใช้ผู้ชาย 9 คนได้ เช่นเดียวกัน การลงทุนนั้นอย่าหวังรวยเร็ว ควรหวังรวยช้าแต่แน่นอนจะดีกว่า”
คอลัมน์ โลกในมุมมองของ Value Investor ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ปี 2546 คงจะต้องถูกจารึกว่าเป็นปีที่ตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนดีที่สุดปีหนึ่งในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้น เพราะดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นกว่า 100% จากดัชนีประมาณ 356 จุดเป็นประมาณ 772 จุดในวันสิ้นปี
นักลงทุนทุกกลุ่มในตลาดต่างก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ บางคนกำไรหลายร้อยเปอร์เซ็นต์จากเงินที่นำมาลงทุนในหุ้น บางคนกำไรเพียงหลักสิบเปอร์เซ็นต์ ความดีใจและความภาคภูมิใจของนักลงทุนก็ลดหลั่นกันไปตามผลกำไรที่ได้รับเช่นเดียวกับความมั่นใจที่เกิดขึ้นจากการเล่นหุ้น
หลายๆคนอาจจะเริ่มฝันว่า ได้พบหนทางสู่ความมั่งคั่งอย่างง่ายดายและรวดเร็ว บางคนเริ่มคิดถึงวันที่ตนเองจะมีอิสรภาพทางการเงินในไม่ช้า ทั้งๆที่เพิ่งจะเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
สิ่งที่คนจำนวนมากในตลาดหุ้นคิดและเชื่อกันในขณะนี้ก็คือ หุ้นเป็นทรัพย์สินที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก และถ้าทำโพลถามนักลงทุนว่า เขาคิดว่าตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนเท่าไรในระยะยาว คำตอบคงเป็น 30 – 40% ต่อปีขึ้นไป โดยเฉพาะในปี 2547 นั้น หุ้นคงจะวิ่งกระฉูดไม่แพ้ปี 2546 เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เอื้ออำนวยต่อตลาดหุ้นก็ยังคงอยู่ และน่าจะดีขึ้นด้วยซ้ำไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเศรษฐกิจที่เขาบอกกันว่าจะดียิ่งขึ้นไปอีก
แต่ถ้าถามว่ามีนักลงทุนในตลาดหุ้นกี่คนที่ร่ำรวย หรือมีอิสระทางการเงินแล้วจากการลงทุนในตลาดหุ้น คำตอบก็คือ น้อยมาก แม้ว่าจะไม่มีใครทำการศึกษาเรื่องนี้ แต่ผมเชื่อว่าคนที่รวยจากการลงทุนหรือเล่นหุ้นจริงๆนั้น มีไม่เกิน 1 ใน 100 คนที่มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการลงทุน ผมคิดว่าคงมีพอสมควรหลังจากที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือไม่ต่ำกว่า 70 – 80% ของนักลงทุนนั้น ผมเชื่อว่ายังไม่ได้กำไรจากหุ้นเป็นเรื่องเป็นราวจริงๆ ยกเว้นปี 2546 ที่ได้กำไรชดเชยมาบ้าง
เพราะข้อเท็จของหุ้นก็คือ ในช่วงเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา การลงทุนในตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละประมาณ 10% เท่านั้น โดยเป็นผลตอบแทนที่เกิดจากการปรับตัวขึ้นของดัชนีประมาณ 7 – 8% และผลตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 2 – 3% ต่อปี และข้อมูลนี้ก็บังเอิญใกล้เคียงกับผลตอบแทนของตลาดหุ้นในสหรัฐที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 10 – 11% ต่อปี โดยเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 50 – 60 ปีขึ้นไป
ข้อเท็จจริงต่อมาของตลาดหุ้นก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนมีการขึ้นลงผันผวนไปเรื่อยๆ แม้ว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจะเดินหน้าต่อเนื่องมายาวนานหลายสิบปี โดยที่มีน้อยครั้งมากที่เศรษฐกิจจะติดลบและเกิดวิกฤติ นานๆครั้งดัชนีตลาดก็จะตกต่ำลงอย่างหนักเป็นเวลา 2 – 3 ปี เช่นเดียวกับที่บางครั้งดัชนีก็ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงเป็นภาวะกระทิงเปลี่ยวอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว ข้อสรุปที่ชัดเจนก็คือ ในระยะยาวตลาดไม่สามารถเติบโตเกิน 10 – 15% ต่อปี โดยเฉลี่ยได้
ด้วยเหตุดังกล่าว นักลงทุนที่คิดว่าตนเองจะสามารถลงทุนทำกำไรจากตลาดหุ้นได้ปีละ 30 – 40% หรือ บางคนคิดว่าจะสามารถกำไรเป็นเท่าตัวในปีเดียว จึงเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีมากเกินไป หรือไม่ก็คงประมาณการฝีมือการลงทุนของตนเองสูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งโอกาสที่จะไม่เป็นเช่นนั้นคงมีอยู่สูง ความผิดหวังจะตามมา และเมื่อถึงเวลานั้น ความคิดและภาพพจน์เกี่ยวกับตลาดหุ้นก็จะเปลี่ยนไป คนจะเลิกคิดว่าตลาดหลักทรัพย์เป็นแหล่งที่จะสามารถสร้างความมั่งคั่งที่รวดเร็วได้ และคนจำนวนมากก็จะออกจากตลาดหลักทรัพย์กลับไป “ทำมาหากิน” ตามเดิม
นอกจากผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ได้สูงลิ่วอย่างที่หลายคนคิดแล้ว การจัดสรรเงินมาลงทุนในหุ้นสำหรับคนส่วนมากก็มักจะเป็นจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงลงทุนในหุ้นไม่เกิน 20 – 30% ของเม็ดเงินที่มี เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่ากำไรจากหุ้นจะเป็น 100% ในปีใดปีหนึ่ง แต่ถ้าเงินส่วนใหญ่อีก 70 – 80% กลับฝากอยู่ในธนาคารได้ดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปี ผลตอบแทนรวมก็จะได้เพียงประมาณ 21 – 31% เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทำให้ได้อย่างรวดเร็ว
ข้อสรุปของผมก็คือ เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับคนทั่วไปที่จะร่ำรวยจากตลาดหุ้น แม้ว่าในช่วงนี้หลายๆคนจะคิดว่าเป็นไปได้ไม่ยาก คนมักจะเอาสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้มาเป็นฐานในการมองไปข้างหน้า สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเพียงปีหรือสองปีมักจะมีอิทธิพลมากกว่าประวัติศาสตร์เกือบ 30 ปีที่ผ่านมาของไทย และประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นนับเป็น 100 ปีของตลาดหุ้นที่เจริญที่สุดอย่างสหรัฐอเมริกา
Value Investor ที่จะประสบความสำเร็จ ร่ำรวย และเป็นอิสระทางการเงินจากตลาดหุ้นได้นั้น ผมคิดว่าจะต้องมองตลาดหุ้นด้วยความเป็นจริง คาดหวังผลตอบแทนปีละไม่เกิน 15% โดยเฉลี่ยจากการลงทุนไม่ว่าภาวะแวดล้อมจะสดใสเพียงใด ไม่ควรลงทุนในหุ้นที่เก็งกำไรสูงแต่ควรซื้อหุ้นที่มีความปลอดภัยมากด้วยเม็ดเงินในสัดส่วนที่สูง อย่าฝากเงินในธนาคารซึ่งให้ดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปีมากนัก และสุดท้ายซึ่งหนีไม่พ้นก็คือจะต้องลงทุนในตลาดหุ้นยาวนานไม่ออกไปไหนถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ว่าภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร
การลงทุนให้ประสบความสำเร็จจริงๆนั้น ไม่มีทางลัด และมันต้องการเวลา
วอเร็น บัฟเฟตต์ เคยพูดว่า “คุณไม่สามารถผลิตเด็กภายใน 1 เดือนโดยใช้ผู้ชาย 9 คนได้ เช่นเดียวกัน การลงทุนนั้นอย่าหวังรวยเร็ว ควรหวังรวยช้าแต่แน่นอนจะดีกว่า”
คอลัมน์ โลกในมุมมองของ Value Investor ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถนนทุกสาย..มุ่งสู่ตลาดหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
[quote="iruma"]อย่าหวังรวยลัดจากตลาดหุ้น - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ปี 2546 คงจะต้องถูกจารึกว่าเป็นปีที่ตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนดีที่สุดปีหนึ่งในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้น เพราะดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นกว่า 100% จากดัชนีประมาณ 356 จุดเป็นประมาณ 772 จุดในวันสิ้นปี
นักลงทุนทุกกลุ่มในตลาดต่างก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ บางคนกำไรหลายร้อยเปอร์เซ็นต์จากเงินที่นำมาลงทุนในหุ้น บางคนกำไรเพียงหลักสิบเปอร์เซ็นต์ ความดีใจและความภาคภูมิใจของนักลงทุนก็ลดหลั่นกันไปตามผลกำไรที่ได้รับเช่นเดียวกับความมั่นใจที่เกิดขึ้นจากการเล่นหุ้น
หลายๆคนอาจจะเริ่มฝันว่า ได้พบหนทางสู่ความมั่งคั่งอย่างง่ายดายและรวดเร็ว บางคนเริ่มคิดถึงวันที่ตนเองจะมีอิสรภาพทางการเงินในไม่ช้า ทั้งๆที่เพิ่งจะเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
สิ่งที่คนจำนวนมากในตลาดหุ้นคิดและเชื่อกันในขณะนี้ก็คือ หุ้นเป็นทรัพย์สินที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก และถ้าทำโพลถามนักลงทุนว่า เขาคิดว่าตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนเท่าไรในระยะยาว คำตอบคงเป็น 30 – 40% ต่อปีขึ้นไป โดยเฉพาะในปี 2547 นั้น หุ้นคงจะวิ่งกระฉูดไม่แพ้ปี 2546 เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เอื้ออำนวยต่อตลาดหุ้นก็ยังคงอยู่ และน่าจะดีขึ้นด้วยซ้ำไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเศรษฐกิจที่เขาบอกกันว่าจะดียิ่งขึ้นไปอีก
แต่ถ้าถามว่ามีนักลงทุนในตลาดหุ้นกี่คนที่ร่ำรวย หรือมีอิสระทางการเงินแล้วจากการลงทุนในตลาดหุ้น คำตอบก็คือ น้อยมาก แม้ว่าจะไม่มีใครทำการศึกษาเรื่องนี้ แต่ผมเชื่อว่าคนที่รวยจากการลงทุนหรือเล่นหุ้นจริงๆนั้น มีไม่เกิน 1 ใน 100 คนที่มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการลงทุน ผมคิดว่าคงมีพอสมควรหลังจากที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือไม่ต่ำกว่า 70 – 80% ของนักลงทุนนั้น ผมเชื่อว่ายังไม่ได้กำไรจากหุ้นเป็นเรื่องเป็นราวจริงๆ ยกเว้นปี 2546 ที่ได้กำไรชดเชยมาบ้าง
เพราะข้อเท็จของหุ้นก็คือ ในช่วงเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา การลงทุนในตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละประมาณ 10% เท่านั้น โดยเป็นผลตอบแทนที่เกิดจากการปรับตัวขึ้นของดัชนีประมาณ 7 – 8% และผลตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 2 – 3% ต่อปี และข้อมูลนี้ก็บังเอิญใกล้เคียงกับผลตอบแทนของตลาดหุ้นในสหรัฐที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 10 – 11% ต่อปี โดยเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 50 – 60 ปีขึ้นไป
ข้อเท็จจริงต่อมาของตลาดหุ้นก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนมีการขึ้นลงผันผวนไปเรื่อยๆ แม้ว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจะเดินหน้าต่อเนื่องมายาวนานหลายสิบปี โดยที่มีน้อยครั้งมากที่เศรษฐกิจจะติดลบและเกิดวิกฤติ นานๆครั้งดัชนีตลาดก็จะตกต่ำลงอย่างหนักเป็นเวลา 2 – 3 ปี เช่นเดียวกับที่บางครั้งดัชนีก็ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงเป็นภาวะกระทิงเปลี่ยวอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว ข้อสรุปที่ชัดเจนก็คือ ในระยะยาวตลาดไม่สามารถเติบโตเกิน 10 – 15% ต่อปี โดยเฉลี่ยได้
ด้วยเหตุดังกล่าว นักลงทุนที่คิดว่าตนเองจะสามารถลงทุนทำกำไรจากตลาดหุ้นได้ปีละ 30 – 40% หรือ บางคนคิดว่าจะสามารถกำไรเป็นเท่าตัวในปีเดียว จึงเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีมากเกินไป หรือไม่ก็คงประมาณการฝีมือการลงทุนของตนเองสูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งโอกาสที่จะไม่เป็นเช่นนั้นคงมีอยู่สูง ความผิดหวังจะตามมา และเมื่อถึงเวลานั้น ความคิดและภาพพจน์เกี่ยวกับตลาดหุ้นก็จะเปลี่ยนไป คนจะเลิกคิดว่าตลาดหลักทรัพย์เป็นแหล่งที่จะสามารถสร้างความมั่งคั่งที่รวดเร็วได้ และคนจำนวนมากก็จะออกจากตลาดหลักทรัพย์กลับไป “ทำมาหากิน” ตามเดิม
นอกจากผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ได้สูงลิ่วอย่างที่หลายคนคิดแล้ว การจัดสรรเงินมาลงทุนในหุ้นสำหรับคนส่วนมากก็มักจะเป็นจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงลงทุนในหุ้นไม่เกิน 20 – 30% ของเม็ดเงินที่มี เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่ากำไรจากหุ้นจะเป็น 100% ในปีใดปีหนึ่ง แต่ถ้าเงินส่วนใหญ่อีก 70 – 80% กลับฝากอยู่ในธนาคารได้ดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปี ผลตอบแทนรวมก็จะได้เพียงประมาณ 21 – 31% เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทำให้ได้อย่างรวดเร็ว
ข้อสรุปของผมก็คือ เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับคนทั่วไปที่จะร่ำรวยจากตลาดหุ้น แม้ว่าในช่วงนี้หลายๆคนจะคิดว่าเป็นไปได้ไม่ยาก คนมักจะเอาสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้มาเป็นฐานในการมองไปข้างหน้า สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเพียงปีหรือสองปีมักจะมีอิทธิพลมากกว่าประวัติศาสตร์เกือบ 30 ปีที่ผ่านมาของไทย และประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นนับเป็น 100 ปีของตลาดหุ้นที่เจริญที่สุดอย่างสหรัฐอเมริกา
Value Investor ที่จะประสบความสำเร็จ ร่ำรวย และเป็นอิสระทางการเงินจากตลาดหุ้นได้นั้น ผมคิดว่าจะต้องมองตลาดหุ้นด้วยความเป็นจริง คาดหวังผลตอบแทนปีละไม่เกิน 15% โดยเฉลี่ยจากการลงทุนไม่ว่าภาวะแวดล้อมจะสดใสเพียงใด ไม่ควรลงทุนในหุ้นที่เก็งกำไรสูงแต่ควรซื้อหุ้นที่มีความปลอดภัยมากด้วยเม็ดเงินในสัดส่วนที่สูง อย่าฝากเงินในธนาคารซึ่งให้ดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปีมากนัก และสุดท้ายซึ่งหนีไม่พ้นก็คือจะต้องลงทุนในตลาดหุ้นยาวนานไม่ออกไปไหนถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ว่าภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร
การลงทุนให้ประสบความสำเร็จจริงๆนั้น ไม่มีทางลัด และมันต้องการเวลา
วอเร็น บัฟเฟตต์ เคยพูดว่า “คุณไม่สามารถผลิตเด็กภายใน 1 เดือนโดยใช้ผู้ชาย 9 คนได้ เช่นเดียวกัน การลงทุนนั้นอย่าหวังรวยเร็ว ควรหวังรวยช้าแต่แน่นอนจะดีกว่า”
คอลัมน์ โลกในมุมมองของ Value Investor ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร[/quote]
ผลตอบแทนของตลาดปี 2547 = -13.5%
ปี 2546 คงจะต้องถูกจารึกว่าเป็นปีที่ตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนดีที่สุดปีหนึ่งในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้น เพราะดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นกว่า 100% จากดัชนีประมาณ 356 จุดเป็นประมาณ 772 จุดในวันสิ้นปี
นักลงทุนทุกกลุ่มในตลาดต่างก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ บางคนกำไรหลายร้อยเปอร์เซ็นต์จากเงินที่นำมาลงทุนในหุ้น บางคนกำไรเพียงหลักสิบเปอร์เซ็นต์ ความดีใจและความภาคภูมิใจของนักลงทุนก็ลดหลั่นกันไปตามผลกำไรที่ได้รับเช่นเดียวกับความมั่นใจที่เกิดขึ้นจากการเล่นหุ้น
หลายๆคนอาจจะเริ่มฝันว่า ได้พบหนทางสู่ความมั่งคั่งอย่างง่ายดายและรวดเร็ว บางคนเริ่มคิดถึงวันที่ตนเองจะมีอิสรภาพทางการเงินในไม่ช้า ทั้งๆที่เพิ่งจะเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
สิ่งที่คนจำนวนมากในตลาดหุ้นคิดและเชื่อกันในขณะนี้ก็คือ หุ้นเป็นทรัพย์สินที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก และถ้าทำโพลถามนักลงทุนว่า เขาคิดว่าตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนเท่าไรในระยะยาว คำตอบคงเป็น 30 – 40% ต่อปีขึ้นไป โดยเฉพาะในปี 2547 นั้น หุ้นคงจะวิ่งกระฉูดไม่แพ้ปี 2546 เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เอื้ออำนวยต่อตลาดหุ้นก็ยังคงอยู่ และน่าจะดีขึ้นด้วยซ้ำไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเศรษฐกิจที่เขาบอกกันว่าจะดียิ่งขึ้นไปอีก
แต่ถ้าถามว่ามีนักลงทุนในตลาดหุ้นกี่คนที่ร่ำรวย หรือมีอิสระทางการเงินแล้วจากการลงทุนในตลาดหุ้น คำตอบก็คือ น้อยมาก แม้ว่าจะไม่มีใครทำการศึกษาเรื่องนี้ แต่ผมเชื่อว่าคนที่รวยจากการลงทุนหรือเล่นหุ้นจริงๆนั้น มีไม่เกิน 1 ใน 100 คนที่มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการลงทุน ผมคิดว่าคงมีพอสมควรหลังจากที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือไม่ต่ำกว่า 70 – 80% ของนักลงทุนนั้น ผมเชื่อว่ายังไม่ได้กำไรจากหุ้นเป็นเรื่องเป็นราวจริงๆ ยกเว้นปี 2546 ที่ได้กำไรชดเชยมาบ้าง
เพราะข้อเท็จของหุ้นก็คือ ในช่วงเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา การลงทุนในตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละประมาณ 10% เท่านั้น โดยเป็นผลตอบแทนที่เกิดจากการปรับตัวขึ้นของดัชนีประมาณ 7 – 8% และผลตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 2 – 3% ต่อปี และข้อมูลนี้ก็บังเอิญใกล้เคียงกับผลตอบแทนของตลาดหุ้นในสหรัฐที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 10 – 11% ต่อปี โดยเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 50 – 60 ปีขึ้นไป
ข้อเท็จจริงต่อมาของตลาดหุ้นก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนมีการขึ้นลงผันผวนไปเรื่อยๆ แม้ว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจะเดินหน้าต่อเนื่องมายาวนานหลายสิบปี โดยที่มีน้อยครั้งมากที่เศรษฐกิจจะติดลบและเกิดวิกฤติ นานๆครั้งดัชนีตลาดก็จะตกต่ำลงอย่างหนักเป็นเวลา 2 – 3 ปี เช่นเดียวกับที่บางครั้งดัชนีก็ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงเป็นภาวะกระทิงเปลี่ยวอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว ข้อสรุปที่ชัดเจนก็คือ ในระยะยาวตลาดไม่สามารถเติบโตเกิน 10 – 15% ต่อปี โดยเฉลี่ยได้
ด้วยเหตุดังกล่าว นักลงทุนที่คิดว่าตนเองจะสามารถลงทุนทำกำไรจากตลาดหุ้นได้ปีละ 30 – 40% หรือ บางคนคิดว่าจะสามารถกำไรเป็นเท่าตัวในปีเดียว จึงเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีมากเกินไป หรือไม่ก็คงประมาณการฝีมือการลงทุนของตนเองสูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งโอกาสที่จะไม่เป็นเช่นนั้นคงมีอยู่สูง ความผิดหวังจะตามมา และเมื่อถึงเวลานั้น ความคิดและภาพพจน์เกี่ยวกับตลาดหุ้นก็จะเปลี่ยนไป คนจะเลิกคิดว่าตลาดหลักทรัพย์เป็นแหล่งที่จะสามารถสร้างความมั่งคั่งที่รวดเร็วได้ และคนจำนวนมากก็จะออกจากตลาดหลักทรัพย์กลับไป “ทำมาหากิน” ตามเดิม
นอกจากผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ได้สูงลิ่วอย่างที่หลายคนคิดแล้ว การจัดสรรเงินมาลงทุนในหุ้นสำหรับคนส่วนมากก็มักจะเป็นจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงลงทุนในหุ้นไม่เกิน 20 – 30% ของเม็ดเงินที่มี เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่ากำไรจากหุ้นจะเป็น 100% ในปีใดปีหนึ่ง แต่ถ้าเงินส่วนใหญ่อีก 70 – 80% กลับฝากอยู่ในธนาคารได้ดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปี ผลตอบแทนรวมก็จะได้เพียงประมาณ 21 – 31% เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทำให้ได้อย่างรวดเร็ว
ข้อสรุปของผมก็คือ เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับคนทั่วไปที่จะร่ำรวยจากตลาดหุ้น แม้ว่าในช่วงนี้หลายๆคนจะคิดว่าเป็นไปได้ไม่ยาก คนมักจะเอาสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้มาเป็นฐานในการมองไปข้างหน้า สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเพียงปีหรือสองปีมักจะมีอิทธิพลมากกว่าประวัติศาสตร์เกือบ 30 ปีที่ผ่านมาของไทย และประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นนับเป็น 100 ปีของตลาดหุ้นที่เจริญที่สุดอย่างสหรัฐอเมริกา
Value Investor ที่จะประสบความสำเร็จ ร่ำรวย และเป็นอิสระทางการเงินจากตลาดหุ้นได้นั้น ผมคิดว่าจะต้องมองตลาดหุ้นด้วยความเป็นจริง คาดหวังผลตอบแทนปีละไม่เกิน 15% โดยเฉลี่ยจากการลงทุนไม่ว่าภาวะแวดล้อมจะสดใสเพียงใด ไม่ควรลงทุนในหุ้นที่เก็งกำไรสูงแต่ควรซื้อหุ้นที่มีความปลอดภัยมากด้วยเม็ดเงินในสัดส่วนที่สูง อย่าฝากเงินในธนาคารซึ่งให้ดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปีมากนัก และสุดท้ายซึ่งหนีไม่พ้นก็คือจะต้องลงทุนในตลาดหุ้นยาวนานไม่ออกไปไหนถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ว่าภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร
การลงทุนให้ประสบความสำเร็จจริงๆนั้น ไม่มีทางลัด และมันต้องการเวลา
วอเร็น บัฟเฟตต์ เคยพูดว่า “คุณไม่สามารถผลิตเด็กภายใน 1 เดือนโดยใช้ผู้ชาย 9 คนได้ เช่นเดียวกัน การลงทุนนั้นอย่าหวังรวยเร็ว ควรหวังรวยช้าแต่แน่นอนจะดีกว่า”
คอลัมน์ โลกในมุมมองของ Value Investor ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร[/quote]
ผลตอบแทนของตลาดปี 2547 = -13.5%
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถนนทุกสาย..มุ่งสู่ตลาดหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
Dec. 10, 2001: Warren Buffett on the stock market
(quote)
"To refer to a personal taste of mine, I'm going to buy hamburgers the rest of my life. When hamburgers go down in price, we sing the 'Hallelujah Chorus' in the Buffett household. When hamburgers go up in price, we weep. For most people, it's the same with everything in life they will be buying -- except stocks. When stocks go down and you can get more for your money, people don't like them anymore."
http://management.fortune.cnn.com/2012/ ... it-wisdom/
(quote)
"To refer to a personal taste of mine, I'm going to buy hamburgers the rest of my life. When hamburgers go down in price, we sing the 'Hallelujah Chorus' in the Buffett household. When hamburgers go up in price, we weep. For most people, it's the same with everything in life they will be buying -- except stocks. When stocks go down and you can get more for your money, people don't like them anymore."
http://management.fortune.cnn.com/2012/ ... it-wisdom/