นักลงทุน 4 เหล่า/คนขายของ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1827
ผู้ติดตาม: 1

นักลงทุน 4 เหล่า/คนขายของ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

มีผู้รู้ในเรื่องการลงทุนในหุ้นหลายๆท่านเคยกล่าวไว้ว่า นักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนใน ตลาดหลักทรัพย์ นั้นต้องอาศัยทั้ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” “ศาสตร์” ในที่นี้นั้นหมายถึงหลักการ ลงทุนแนวต่างๆที่มีอยู่อย่างมากมาย ส่วน “ศิลป์” นั้นหมายถึงความรู้ด้านจิตวิทยาในการลงทุน ในบทความนี้เราจะมาลองดูกันว่า หากเราแบ่งนักลงทุนผ่านตัวแปรหลักสองตัวนี้ จะมีนักลงทุน ประเภทไหนที่พอจะประสบความสำเร็จในการลงทุนบ้าง โดยในบทความนี้ผู้เขียนขออนุมานว่าคำว่า “ศาสตร์” หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจในการลงทุน รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ส่วน “ศิลป์” นั้น หมายถึง ความอดทนของนักลงทุนต่อความผันผวนของตลาด
 
นักลงทุนประเภทที่หนึ่ง: ความรู้มาก ความอดทนน้อย :  นักลงทุนที่เข้าข่ายประเภทนี้ คือ กองทุน Hedge Fund นักลงทุนเก็งกำไรรายใหญ่ และ นักลงทุนที่มีสายสัมพันธ์กับกลุ่มคนชั้นนำของประเทศ นักลงทุนกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารเชิงลึกที่คนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึง รู้ข่าวก่อนที่จะเป็นข่าว ทำให้เห็นโอกาสทำกำไรได้ก่อนคนอื่น และ เนื่องด้วยข่าวสารที่ได้รับมามีค่อนข้างมาก ทำให้มีการซื้อขาย หุ้นบ่อย ไม่ค่อยอดทนต่อความผันผวนของราคา ซื้อแล้วไม่ถือยาวนาน พร้อมขายและซื้อหุ้นตัวใหม่ ได้ทุกเมื่อ บางรายอาจจะผันตัวมาเป็นผู้ชี้นำตลาดเสียเอง โอกาสประสบความสำเร็จในการลงทุนของกลุ่มนี้ ก็มีอยู่มาก เพราะอาศัยความได้เปรียบทางด้านข้อมูล ข่าวสาร แต่ก็มีความเสี่ยงด้วยหากข้อมูลที่ได้มา มีความคาดเคลื่อนจากความเป็นจริงประเภทข่าวลวง ข่าวลือต่างๆ
 
นักลงทุนประเภทที่สอง: ความรู้มาก ความอดทนมาก: นักลงทุนที่เข้าข่ายประเภทนี้ คือ เจ้าของกิจการ และ นักลงทุนแนว VI นักลงทุนกลุ่มนี้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องพื้นฐานของกิจการในระยะยาวแบบถ่องแท้  ใส่ใจต่อแนวโน้มของอุตสาหกรรมในระยะยาว มากกว่าที่จะใส่ใจในเหตุการณ์ระยะสั้น มีความอดทน ต่อความผันผวนของราคาสูงมาก แต่อาจมีการขายออกมาหากภาพรวมในระยะยาวเปลี่ยนไป เช่น เทรนการบริโภค หรือ มีเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่ โอกาสประสบความสำเร็จในการลงทุนของนักลงทุน กลุ่มนี้มีอยู่มาก เพราะมีพร้อมทั้ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” แต่กระนั้นก็ยังมีความเสี่ยงหากติดยึดกับภาพเก่าๆ ของอุตสาหกรรม ไม่ปรับตัวตามแนวโน้มที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป
 
นักลงทุนประเภทที่สาม:ความรู้น้อย ความอดทนมาก: นักลงทุนที่เข้าข่ายประเภทนี้ โดยมากจะเป็น นักลงทุนที่ไม่มีเวลาให้กับการลงทุนมาก เช่น พนักงานบริษัท, ข้าราชการ (ลงทุนผ่าน LTF/RMF) หรือ อาจเป็น นักลงทุนแนว VI มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มศึกษาการลงทุน หรือ นักลงทุนที่มุ่งเน้นถือยาวเพื่อเอา ปันผลให้ชนะดอกเบี้ยเงินฝาก เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลา หรือ เพราะเน้นการหาปันผลเป็นรายได้เสริม ทำให้นักลงทุนประเภทนี้มักมีการถือครองหุ้นโดยไม่สนใจราคาที่ผันผวนไปมาและถือหุ้นเป็นเวลายาวนาน โอกาสประสบความสำเร็จ ของนักลงทุนประเภทนี้ ผู้เขียนให้ประมาณ 50% ทั้งนี้เพราะว่าความอดทน ที่มากเพียงอย่างเดียว เปรียบเสมือนตัวคูณ หากคูณกับเลขบวกย่อมบวกทวีคูณ แต่ในทางกลับกัน หากนำไปคูณกับผลลบ ก็จะลบเป็นทวีคูณเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น คนที่ซื้อหุ้น Home Depot ตอน IPO ตอนเดือนกันยายน 1981 แล้วถือมาจนถึงตอนนี้ จากเงินลงทุนประมาณ 100,000 บาท สามสิบเอ็ดปี ต่อมาจะกลายมาเป็นประมาณ 380 ล้านบาท แต่ถ้าหากนักลงทุนนำไปซื้อ ENRON หรือ KODAK คงต้องทำใจให้ยอมรับความจริง อย่างที่เราท่านทราบกันดีอยู่
 
นักลงทุนประเภทที่สี่: ความรู้น้อย ความอดทนน้อย: นักลงทุนประเภทนี้มีทั่วไป ไม่จำกัดสาขาอาชีพ เชื้อชาติใด ภาษาใด เนื่องจากความอดทนน้อย การทำการซื้อขายส่วนมากจะจบในวันเดียวกัน ชอบใช้ “ข้อมูลสำเร็จรูป” ประเภทที่บอกชื่อหุ้นพร้อม แนวรับ แนวต้านมาเสร็จสรรพ เพื่อใช้ในการลงทุน บางท่านไม่รู้เลยว่าหุ้นที่ซื้อไปนั้นทำกิจการอะไร เห็นการลงทุนในหุ้นเป็นแค่ตัวเลขที่ขึ้นๆลงๆ ถึงแม้จะเปลี่ยนจากแนว VI มาเป็น เทคนิคอล ก็ไม่รักษาวินัยในการซื้อขาย ดังนั้นโอกาสประสบความสำเร็จ ของนักลงทุนประเภทนี้จึงมีน้อยมาก จากรายชื่อ Top Billionaires ของนิตยสาร FROBES ผู้เขียนยังไม่เคยเห็นรายชื่อ เศรษฐีที่ร่ำรวยมหาศาลในการลงทุนมาจากนักลงทุนประเภทนี้เลย  
 
จะเห็นได้ว่ามีนักลงทุนถึง 3 ใน 4 กลุ่มที่มีโอกาสประสบความสำเร็จในการลงทุนสร้างความมั่งคั่งขึ้นมาได้ ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ทุกท่านที่เพิ่งเริ่มสนใจมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ให้หมั่นพัฒนาตัวเอง อยู่ตลอดทั้งทาง ศาสตร์ และ ศิลป์ ผู้เขียนเองก็เคยเป็นนักลงทุนประเภทที่สี่มาแล้ว และได้ลิ้มรสผลของการขาดทุนเนื่องจากการเข้าตลาดโดยการพกความโลภใส่กระเป๋าเพียงอย่างเดียว และเมื่อท่านสามารถสร้างความมั่งคั่งแก่ตัวเองได้แล้ว ก็อย่าลืมดูแลคนรอบข้างของท่าน โดยเฉพาะคุณพ่อ คุณแม่ผู้เลี้ยงดูท่านมา หลายท่านอาจไม่เชื่อ แต่เท่าที่ผู้เขียนเคยได้รับรู้มา นอกจาก “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ดังที่กล่าวมา ทานบารมีนั้นเป็นอีกเหตุปัจจัยหลักที่จะช่วยเกื้อหนุนการลงทุนของท่าน ให้ยิ่งๆขึ้นไป
[/size]
woodooshy
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

Re: นักลงทุน 4 เหล่า/คนขายของ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับพี่
teerawut
Verified User
โพสต์: 17
ผู้ติดตาม: 0

Re: นักลงทุน 4 เหล่า/คนขายของ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะครับ....พี่คนขายของ
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: นักลงทุน 4 เหล่า/คนขายของ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับ

---------------------------------
คลิป เปลี่ยนชีวิต

http://www.thorfun.com/story/view/UTsrDq7rWQsIACcV
seksan999
Verified User
โพสต์: 101
ผู้ติดตาม: 0

Re: นักลงทุน 4 เหล่า/คนขายของ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณพี่ชาย มากๆครับสำหรับบทความดีๆ
LA-Z-BOY
Verified User
โพสต์: 571
ผู้ติดตาม: 0

Re: นักลงทุน 4 เหล่า/คนขายของ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ชอบแนวคิด ตั้งใจจะไม่มีลูกแต่ขอเด็กที่ลำบากมาเลี้ยง ของพี่ชาย
สะท้อนความใจกว้างเอื้อเฟื้อสังคมมากคับ
Noinar
Verified User
โพสต์: 136
ผู้ติดตาม: 1

Re: นักลงทุน 4 เหล่า/คนขายของ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

:)
RnD-VI
Verified User
โพสต์: 5620
ผู้ติดตาม: 1

Re: นักลงทุน 4 เหล่า/คนขายของ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขออนุญาติ โพสต์แปะเพื่อให้ผู้สนใจอ่านได้ง่ายขึ้น

มีผู้รู้ในเรื่องการลงทุนในหุ้นหลายๆท่านเคยกล่าวไว้ว่า นักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนใน ตลาดหลักทรัพย์ นั้นต้องอาศัยทั้ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” “ศาสตร์” ในที่นี้นั้นหมายถึงหลักการ ลงทุนแนวต่างๆที่มีอยู่อย่างมากมาย ส่วน “ศิลป์” นั้นหมายถึงความรู้ด้านจิตวิทยาในการลงทุน ในบทความนี้เราจะมาลองดูกันว่า หากเราแบ่งนักลงทุนผ่านตัวแปรหลักสองตัวนี้ จะมีนักลงทุน ประเภทไหนที่พอจะประสบความสำเร็จในการลงทุนบ้าง โดยในบทความนี้ผู้เขียนขออนุมานว่าคำว่า “ศาสตร์” หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจในการลงทุน รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ส่วน “ศิลป์” นั้น หมายถึง ความอดทนของนักลงทุนต่อความผันผวนของตลาด

นักลงทุนประเภทที่หนึ่ง: ความรู้มาก ความอดทนน้อย : นักลงทุนที่เข้าข่ายประเภทนี้ คือ กองทุน Hedge Fund นักลงทุนเก็งกำไรรายใหญ่ และ นักลงทุนที่มีสายสัมพันธ์กับกลุ่มคนชั้นนำของประเทศ นักลงทุนกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารเชิงลึกที่คนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึง รู้ข่าวก่อนที่จะเป็นข่าว ทำให้เห็นโอกาสทำกำไรได้ก่อนคนอื่น และ เนื่องด้วยข่าวสารที่ได้รับมามีค่อนข้างมาก ทำให้มีการซื้อขาย หุ้นบ่อย ไม่ค่อยอดทนต่อความผันผวนของราคา ซื้อแล้วไม่ถือยาวนาน พร้อมขายและซื้อหุ้นตัวใหม่ ได้ทุกเมื่อ บางรายอาจจะผันตัวมาเป็นผู้ชี้นำตลาดเสียเอง โอกาสประสบความสำเร็จในการลงทุนของกลุ่มนี้ ก็มีอยู่มาก เพราะอาศัยความได้เปรียบทางด้านข้อมูล ข่าวสาร แต่ก็มีความเสี่ยงด้วยหากข้อมูลที่ได้มา มีความคาดเคลื่อนจากความเป็นจริงประเภทข่าวลวง ข่าวลือต่างๆ

นักลงทุนประเภทที่สอง: ความรู้มาก ความอดทนมาก: นักลงทุนที่เข้าข่ายประเภทนี้ คือ เจ้าของกิจการ และ นักลงทุนแนว VI นักลงทุนกลุ่มนี้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องพื้นฐานของกิจการในระยะยาวแบบถ่องแท้ ใส่ใจต่อแนวโน้มของอุตสาหกรรมในระยะยาว มากกว่าที่จะใส่ใจในเหตุการณ์ระยะสั้น มีความอดทน ต่อความผันผวนของราคาสูงมาก แต่อาจมีการขายออกมาหากภาพรวมในระยะยาวเปลี่ยนไป เช่น เทรนการบริโภค หรือ มีเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่ โอกาสประสบความสำเร็จในการลงทุนของนักลงทุน กลุ่มนี้มีอยู่มาก เพราะมีพร้อมทั้ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” แต่กระนั้นก็ยังมีความเสี่ยงหากติดยึดกับภาพเก่าๆ ของอุตสาหกรรม ไม่ปรับตัวตามแนวโน้มที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป

นักลงทุนประเภทที่สาม:ความรู้น้อย ความอดทนมาก: นักลงทุนที่เข้าข่ายประเภทนี้ โดยมากจะเป็น นักลงทุนที่ไม่มีเวลาให้กับการลงทุนมาก เช่น พนักงานบริษัท, ข้าราชการ (ลงทุนผ่าน LTF/RMF) หรือ อาจเป็น นักลงทุนแนว VI มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มศึกษาการลงทุน หรือ นักลงทุนที่มุ่งเน้นถือยาวเพื่อเอา ปันผลให้ชนะดอกเบี้ยเงินฝาก เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลา หรือ เพราะเน้นการหาปันผลเป็นรายได้เสริม ทำให้นักลงทุนประเภทนี้มักมีการถือครองหุ้นโดยไม่สนใจราคาที่ผันผวนไปมาและถือหุ้นเป็นเวลายาวนาน โอกาสประสบความสำเร็จ ของนักลงทุนประเภทนี้ ผู้เขียนให้ประมาณ 50% ทั้งนี้เพราะว่าความอดทน ที่มากเพียงอย่างเดียว เปรียบเสมือนตัวคูณ หากคูณกับเลขบวกย่อมบวกทวีคูณ แต่ในทางกลับกัน หากนำไปคูณกับผลลบ ก็จะลบเป็นทวีคูณเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น คนที่ซื้อหุ้น Home Depot ตอน IPO ตอนเดือนกันยายน 1981 แล้วถือมาจนถึงตอนนี้ จากเงินลงทุนประมาณ 100,000 บาท สามสิบเอ็ดปี ต่อมาจะกลายมาเป็นประมาณ 380 ล้านบาท แต่ถ้าหากนักลงทุนนำไปซื้อ ENRON หรือ KODAK คงต้องทำใจให้ยอมรับความจริง อย่างที่เราท่านทราบกันดีอยู่

นักลงทุนประเภทที่สี่: ความรู้น้อย ความอดทนน้อย: นักลงทุนประเภทนี้มีทั่วไป ไม่จำกัดสาขาอาชีพ เชื้อชาติใด ภาษาใด เนื่องจากความอดทนน้อย การทำการซื้อขายส่วนมากจะจบในวันเดียวกัน ชอบใช้ “ข้อมูลสำเร็จรูป” ประเภทที่บอกชื่อหุ้นพร้อม แนวรับ แนวต้านมาเสร็จสรรพ เพื่อใช้ในการลงทุน บางท่านไม่รู้เลยว่าหุ้นที่ซื้อไปนั้นทำกิจการอะไร เห็นการลงทุนในหุ้นเป็นแค่ตัวเลขที่ขึ้นๆลงๆ ถึงแม้จะเปลี่ยนจากแนว VI มาเป็น เทคนิคอล ก็ไม่รักษาวินัยในการซื้อขาย ดังนั้นโอกาสประสบความสำเร็จ ของนักลงทุนประเภทนี้จึงมีน้อยมาก จากรายชื่อ Top Billionaires ของนิตยสาร FROBES ผู้เขียนยังไม่เคยเห็นรายชื่อ เศรษฐีที่ร่ำรวยมหาศาลในการลงทุนมาจากนักลงทุนประเภทนี้เลย

จะเห็นได้ว่ามีนักลงทุนถึง 3 ใน 4 กลุ่มที่มีโอกาสประสบความสำเร็จในการลงทุนสร้างความมั่งคั่งขึ้นมาได้ ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ทุกท่านที่เพิ่งเริ่มสนใจมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ให้หมั่นพัฒนาตัวเอง อยู่ตลอดทั้งทาง ศาสตร์ และ ศิลป์ ผู้เขียนเองก็เคยเป็นนักลงทุนประเภทที่สี่มาแล้ว และได้ลิ้มรสผลของการขาดทุนเนื่องจากการเข้าตลาดโดยการพกความโลภใส่กระเป๋าเพียงอย่างเดียว และเมื่อท่านสามารถสร้างความมั่งคั่งแก่ตัวเองได้แล้ว ก็อย่าลืมดูแลคนรอบข้างของท่าน โดยเฉพาะคุณพ่อ คุณแม่ผู้เลี้ยงดูท่านมา หลายท่านอาจไม่เชื่อ แต่เท่าที่ผู้เขียนเคยได้รับรู้มา นอกจาก “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ดังที่กล่าวมา ทานบารมีนั้นเป็นอีกเหตุปัจจัยหลักที่จะช่วยเกื้อหนุนการลงทุนของท่าน ให้ยิ่งๆขึ้นไป
โพสต์โพสต์