ตลาดหุ้น AEC/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
ตลาดหุ้น AEC/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 31 มีนาคม 56
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ตลาดหุ้น AEC
ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนตลาดหุ้นสิงคโปร์และตลาดหุ้นมาเลเซียในช่วงเร็วๆ นี้กับนักลงทุน VI กลุ่มหนึ่งโดยการจัดของ Money Channel ร่วมกับโบรกเกอร์ในประเทศไทยบางแห่ง วัตถุประสงค์ที่สำคัญก็คือการที่จะได้เรียนรู้และทำความคุ้นเคยกับตลาดหุ้นของประเทศเพื่อนบ้านที่กำลัง “รวมเป็นตลาดเดียวกัน” นอกจากนั้นก็เพื่อที่จะรู้จักกับบริษัทจดทะเบียนที่น่าสนใจที่เราอาจจะสนใจลงทุน โดยที่ในการเดินทางไป เราได้พบกับบริษัทหลายแห่งที่ผู้บริหารได้มาเสนอข้อมูลและตอบข้อซักถามของพวกเราในแนวทางที่คล้ายๆ กับรายการ Opportunity Day ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดขึ้นเป็นประจำ และต่อไปนี้คือข้อสังเกตของผมเกี่ยวกับตลาดหุ้นของสองประเทศนี้และอาจจะแถมข้อสังเกตอื่นๆ ที่ผมได้รับทราบมาจากแหล่งอื่นๆ ที่ผมเคยสัมผัสหรือพูดคุยกับคนที่มีประสบการณ์บ้าง
ก่อนที่จะเข้าประเด็นของตลาดหุ้นผมอยากจะพูดถึงสภาพของบ้านเมืองและผู้คนตามที่ผมได้เห็นนั่นก็คือ ทั้งสองประเทศนั้นต่างก็ “เจริญ” กว่าประเทศไทย เพราะรายได้ต่อหัวของคนสิงคโปร์นั้นสูงกว่าไทยถึง 10 เท่า ว่าที่จริงสิงคโปร์นั้นผมเข้าใจว่ากลายเป็นประเทศที่คนมีรายได้ตัวหัวสูงที่สุดในโลกไปแล้วและนี่ถ้าเปรียบเทียบก็น่าจะเป็น “เมืองหลวง” ของ AEC แต่มีประชากรน้อยน่าจะเพียง 3-4 ล้านคน ส่วนมาเลเซียนั้น รายได้ต่อหัวสูงเป็นสองเท่าของไทยแต่จำนวนคนก็ยังไม่มากประมาณเกือบ 30 ล้านคนยังไม่ถึงครึ่งของไทย และจากการสังเกตถึงราคาสินค้าที่ซื้อขายรวมถึงบริการต่างๆ นั้นผมรู้สึกว่ามีราคายุติธรรมไม่ใช่แบบในยุโรปหรือประเทศนอกเอเซียบางแห่งที่ตัวเลขรายได้ต่อหัวสูงแต่ซื้อสินค้าได้น้อยซึ่งทำให้ผมรู้สึกว่า “รวยไม่จริง” ในกรณีของสิงคโปร์หรือมาเลเซียนั้น ผมเชื่อว่าเขารวยกว่าเราจริง
ความ “เจริญ” อีกอย่างหนึ่งที่ผมคิดว่าเห็นได้ชัดก็คือสภาพของบ้านเมืองโดยเฉพาะตึกรามบ้านช่อง ถนนหนทางและสาธารณูปโภคต่างๆ ของสิงคโปร์และมาเลเซียนั้นเหนือกว่าไทยมาก ข้อแรกก็คือ ถนนของเขานั้นมีมากและเป็นแนวเดียวกับอังกฤษหรือยุโรปที่มี “พรุน” ไปหมด รถทั้งหลายไม่ได้ออกมาจากซอยและเข้าสู่ถนนหลักไม่กี่เส้นที่ทำให้รถติดมากอย่างในกรุงเทพ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถนนของเขาสะอาดและเต็มไปด้วยต้นไม้ยืนต้นที่เป็นระเบียบและทำให้ไม่ใคร่ร้อนและดูสบายตา ในส่วนของอาคารต่างๆ นั้น ทั้งในสิงคโปร์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาเลเซียต่างก็ดูสวยงามและมี “ศิลปะ” แตกต่างจากกรุงเทพที่มักจะสร้างเป็นทรงสี่เหลี่ยม “ทื่อๆ” เน้นการใช้สอยเป็นหลัก นอกจากนั้นอาคารขนาดเล็กประเภท “ตึกแถว” ขายสินค้าจิปาถะที่เห็นกันเต็มเมืองอย่างในบ้านเราก็มีน้อยมาก ร้านโชว์ห่วยหรือร้านสะดวกซื้อของเขาจึงมักจะสิงหรืออยู่ในตึกใหญ่และก็มีไม่มากเหมือนอย่างในเมืองไทย ทั้งหมดนี้ผมคิดว่าเขาคง “ได้มา” จากอังกฤษที่ได้ “วางรากฐาน” ให้กับอาณานิคมสองแห่งนี้มาอย่างดี
มาในเรื่องของตลาดหุ้นนั้น ความแตกต่างที่ชัดเจนจากเมืองไทยที่ผมเห็นก็คือ ตลาดของสิงคโปร์และมาเลเซียดูเหมือนว่าจะถูก “ครอบงำ” โดยนักลงทุนสถาบัน ความสนใจของนักลงทุนส่วนบุคคลมีน้อย ผมไม่ได้ดูราคาและความเคลื่อนไหวของหุ้นต่างๆ ในตลาด แต่จากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของตลาดและคนที่เกี่ยวข้องของทั้งสองตลาดดูเหมือนว่าในตลาดหุ้นของเขาจะไม่ใคร่มีหุ้นตัวเล็กที่หวือหวาที่ราคาปรับตัวมากมายพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่มากยิ่งกว่าหุ้นยักษ์ระดับประเทศ และนั่นทำให้การซื้อขายหุ้นของทั้งสองแห่งไม่ใคร่จะมี “สีสัน” ช่วงที่เราไปที่สิงคโปร์นั้น หุ้นที่สร้างสีสันและกล่าวขวัญกันมากก็คือหุ้นของเบียร์ช้างของคนไทยที่ไปเทคโอเวอร์หุ้น F&N และในช่วงที่เราอยู่ที่มาเลเซียนั้น เขาบอกกับเราว่าเขา “อิจฉา” ที่ตลาดหุ้นไทยนั้นมีปริมาณการซื้อขายสูงและมีความคึกคักมากซึ่งเป็นผลจากการที่เรามีนักลงทุนรายย่อยหรือนักลงทุนส่วนบุคคลมาก ถ้าจะสรุปก็คือ ตลาดหุ้นไทยนั้นมีความผันผวนและมีการเก็งกำไรสูงกว่าตลาดหุ้นของสิงคโปร์และมาเลเซียมาก สำหรับนักลงทุนที่ชอบเล่นหุ้นแบบ “ได้เสีย” แล้ว ผมคิดว่าตลาดหุ้นทั้งสองแห่งนี้คงไม่น่าจะ “สนุก” นัก
พูดถึงหุ้นที่น่าสนใจสำหรับผมแล้ว ในตลาดหุ้นสิงคโปร์ ผมคิดว่ากิจการที่น่าจะมีความเข้มแข็งแข่งขันได้ในระดับโลกอย่างน้อยมีสองสามประเภทนั่นคือ สถาบันการเงินที่สิงคโปร์ถือเป็นศูนย์กลางการเงินโลก แบงค์ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์นั้นใหญ่กว่าแบงค์ใหญ่ที่สุดในไทยหลายเท่า ราคาหุ้นเองก็ไม่แพง ค่า PE อยู่ในระดับสิบเท่าต้นๆ ในขณะที่ค่า PB ก็เพียงหนึ่งเท่าต้นๆ ปันผลก็ไม่น้อยกว่าแบงค์ไทย ถัดจากสถาบันการเงินก็น่าจะเป็นพวกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่เป็นเจ้าของตึกหรูขนาดใหญ่จำนวนมากในสิงคโปร์ที่เป็นเกาะที่ขาดแคลนที่ดินที่ราคาน่าจะปรับขึ้นไปเรื่อยๆ ในระยะยาว นอกจากนั้น หุ้นที่น่าสนใจเนื่องจากความก้าวหน้าของสิงคโปร์ก็คือกิจการโรงพยาบาลที่สิงคโปร์มีความสามารถในการแข่งขันไม่แพ้ใครในโลก
ในส่วนของมาเลเซียนั้น ผมคิดว่ามีหุ้นอยู่กลุ่มหนึ่งที่ผมไม่ได้มีโอกาสพบผู้บริหารก็คือ กิจการเกี่ยวข้องกับน้ำมันปาล์มที่มาเลเซียมีความได้เปรียบในระดับโลก น้ำมันปาล์มนั้นสามารถนำไปใช้บริโภคได้ทั้งในด้านอาหารคนและการใช้เป็นไบโอดีเซลที่มีราคาแข่งขันกับน้ำมันประเภทอื่นได้ และด้านของอาหารและพลังงานนั้นก็เป็นอุตสาหกรรมที่น่าจะโตต่อเนื่องในระยะยาว ที่สำคัญราคาน้ำมันปาล์มที่ตกต่ำในช่วงนี้ก็อาจจะเป็นโอกาสในการซื้อหุ้นได้ นอกจากน้ำมันปาล์มแล้ว ธุรกิจที่ทำอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการ “สร้างเมืองใหม่” ที่อยู่ติดกับสิงคโปร์ก็น่าสนใจค่าที่ว่าสิงคโปร์นั้นขาดแคลนที่ดิน ดังนั้น คนสิงคโปร์ก็อาจจะสนใจมาซื้อที่และอสังหาริมทรัพย์ในเขตมาเลเซียที่อยู่ห่างออกไปแค่สะพานข้ามช่องแคบที่แบ่งระหว่างสิงคโปร์กับมาเลเซีย นอกจากนั้น หุ้นที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลของมาเลเซียเองก็มีความน่าสนใจเช่นเดียวกับในกรณีของสิงคโปร์ เหตุผลนั้นนอกจากความสามารถในการแข่งขันแล้ว ยังอาจจะเป็นเพราะการเป็นประเทศมุสลิมที่ทำให้พวกเขาสามารถดึงดูดคนไข้ชาวมุสลิมทั่วโลกที่มาจากประเทศที่ระบบการรักษาพยาบาลยังไม่ได้มาตรฐานด้วย
ปัจจัยในเรื่องของการเติบโตของเศรษฐกิจเรื่องหนึ่งก็คือในเรื่องของโครงสร้างของประชากร ขณะนี้สิงคโปร์มีปัญหาในเรื่องที่มีคนเกิดน้อยลงมากจนรัฐบาลสิงคโปร์ต้องรณรงค์ให้คนมีลูกมากขึ้นแต่ก็ไม่ใคร่สำเร็จ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสิงคโปร์ก็ส่งเสริมให้คนมาอาศัยและเป็นประชาชนของสิงคโปร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีเงินหรือเป็นคนที่มีคุณภาพสูง ตัวอย่างเช่น จิม โรเจอร์ นักลงทุนที่มีชื่อเสียงระดับโลกก็อพยพมาเป็นพลเมืองของสิงคโปร์ นอกจากนั้น รายชื่อคนรวยระดับโลกบางคนก็เริ่มเปลี่ยนสัญชาติมาเป็นสิงคโปร์เนื่องจากระบบภาษีที่เอื้ออำนวยรวมถึงมาตรฐานการดำรงชีวิตในสิงคโปร์นั้นสูงไม่แพ้ที่ใดในโลก ในส่วนของมาเลเซียนั้น ประชากรมาเลเซียค่อนข้างจะมีอายุน้อย คนหนุ่มสาวมีจำนวนมาก ขณะที่เดินเล่นในมอลผมเองสังเกตเห็นว่ามีเด็กวัยรุ่นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อสายมาเลย์เดินมาเที่ยวเป็นกลุ่มใหญ่ ส่วนหนึ่งที่คนเกิดมากอาจจะเป็นเพราะศาสนาอิสลามที่อาจจะไม่นิยมการคุมกำเนิดก็อาจจะเป็นได้ ดังนั้น สำหรับมาเลเซียแล้ว การเติบโตของเศรษฐกิจน่าจะไปได้ยาวกว่าเมืองไทยที่อัตราคนเกิดน้อยลงและคนแก่เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับประชากรโดยรวม
ผมเองยังไม่มีการลงทุนในตลาดหุ้นทั้งมาเลเซียและสิงคโปร์ ที่จริงผมน่าจะสนใจที่จะศึกษาและลงทุนในตลาด AEC มากกว่านี้ถ้าไม่ใช่เพราะว่าเรายังไม่ยกเว้นภาษีจากปันผลที่ได้รับจากตลาดต่างประเทศ จริงอยู่ ในตลาดหุ้นไทยเราก็ต้องเสียภาษีจากปันผลแต่เราสามารถที่จะให้หัก ณ.ที่จ่ายและไม่ต้องนำมาคิดรวมกับรายได้ปกติ ซึ่งทำให้เป็นภาระหลายๆ อย่าง และแม้ว่าเราจะสามารถ “เลี่ยง” ภาษีนี้ได้ทางเท็คนิค แต่ผมก็ยังไม่อยากทำ ผมได้แต่หวังว่าวันหนึ่งรัฐบาลจะแก้ปัญหานี้ซึ่งจะทำให้การลงทุนในตลาดหุ้น AEC เป็นที่นิยมมากกว่านี้ และนั่นจะทำให้ตลาด AEC รวมกันอย่างแท้จริง
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ตลาดหุ้น AEC
ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนตลาดหุ้นสิงคโปร์และตลาดหุ้นมาเลเซียในช่วงเร็วๆ นี้กับนักลงทุน VI กลุ่มหนึ่งโดยการจัดของ Money Channel ร่วมกับโบรกเกอร์ในประเทศไทยบางแห่ง วัตถุประสงค์ที่สำคัญก็คือการที่จะได้เรียนรู้และทำความคุ้นเคยกับตลาดหุ้นของประเทศเพื่อนบ้านที่กำลัง “รวมเป็นตลาดเดียวกัน” นอกจากนั้นก็เพื่อที่จะรู้จักกับบริษัทจดทะเบียนที่น่าสนใจที่เราอาจจะสนใจลงทุน โดยที่ในการเดินทางไป เราได้พบกับบริษัทหลายแห่งที่ผู้บริหารได้มาเสนอข้อมูลและตอบข้อซักถามของพวกเราในแนวทางที่คล้ายๆ กับรายการ Opportunity Day ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดขึ้นเป็นประจำ และต่อไปนี้คือข้อสังเกตของผมเกี่ยวกับตลาดหุ้นของสองประเทศนี้และอาจจะแถมข้อสังเกตอื่นๆ ที่ผมได้รับทราบมาจากแหล่งอื่นๆ ที่ผมเคยสัมผัสหรือพูดคุยกับคนที่มีประสบการณ์บ้าง
ก่อนที่จะเข้าประเด็นของตลาดหุ้นผมอยากจะพูดถึงสภาพของบ้านเมืองและผู้คนตามที่ผมได้เห็นนั่นก็คือ ทั้งสองประเทศนั้นต่างก็ “เจริญ” กว่าประเทศไทย เพราะรายได้ต่อหัวของคนสิงคโปร์นั้นสูงกว่าไทยถึง 10 เท่า ว่าที่จริงสิงคโปร์นั้นผมเข้าใจว่ากลายเป็นประเทศที่คนมีรายได้ตัวหัวสูงที่สุดในโลกไปแล้วและนี่ถ้าเปรียบเทียบก็น่าจะเป็น “เมืองหลวง” ของ AEC แต่มีประชากรน้อยน่าจะเพียง 3-4 ล้านคน ส่วนมาเลเซียนั้น รายได้ต่อหัวสูงเป็นสองเท่าของไทยแต่จำนวนคนก็ยังไม่มากประมาณเกือบ 30 ล้านคนยังไม่ถึงครึ่งของไทย และจากการสังเกตถึงราคาสินค้าที่ซื้อขายรวมถึงบริการต่างๆ นั้นผมรู้สึกว่ามีราคายุติธรรมไม่ใช่แบบในยุโรปหรือประเทศนอกเอเซียบางแห่งที่ตัวเลขรายได้ต่อหัวสูงแต่ซื้อสินค้าได้น้อยซึ่งทำให้ผมรู้สึกว่า “รวยไม่จริง” ในกรณีของสิงคโปร์หรือมาเลเซียนั้น ผมเชื่อว่าเขารวยกว่าเราจริง
ความ “เจริญ” อีกอย่างหนึ่งที่ผมคิดว่าเห็นได้ชัดก็คือสภาพของบ้านเมืองโดยเฉพาะตึกรามบ้านช่อง ถนนหนทางและสาธารณูปโภคต่างๆ ของสิงคโปร์และมาเลเซียนั้นเหนือกว่าไทยมาก ข้อแรกก็คือ ถนนของเขานั้นมีมากและเป็นแนวเดียวกับอังกฤษหรือยุโรปที่มี “พรุน” ไปหมด รถทั้งหลายไม่ได้ออกมาจากซอยและเข้าสู่ถนนหลักไม่กี่เส้นที่ทำให้รถติดมากอย่างในกรุงเทพ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถนนของเขาสะอาดและเต็มไปด้วยต้นไม้ยืนต้นที่เป็นระเบียบและทำให้ไม่ใคร่ร้อนและดูสบายตา ในส่วนของอาคารต่างๆ นั้น ทั้งในสิงคโปร์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาเลเซียต่างก็ดูสวยงามและมี “ศิลปะ” แตกต่างจากกรุงเทพที่มักจะสร้างเป็นทรงสี่เหลี่ยม “ทื่อๆ” เน้นการใช้สอยเป็นหลัก นอกจากนั้นอาคารขนาดเล็กประเภท “ตึกแถว” ขายสินค้าจิปาถะที่เห็นกันเต็มเมืองอย่างในบ้านเราก็มีน้อยมาก ร้านโชว์ห่วยหรือร้านสะดวกซื้อของเขาจึงมักจะสิงหรืออยู่ในตึกใหญ่และก็มีไม่มากเหมือนอย่างในเมืองไทย ทั้งหมดนี้ผมคิดว่าเขาคง “ได้มา” จากอังกฤษที่ได้ “วางรากฐาน” ให้กับอาณานิคมสองแห่งนี้มาอย่างดี
มาในเรื่องของตลาดหุ้นนั้น ความแตกต่างที่ชัดเจนจากเมืองไทยที่ผมเห็นก็คือ ตลาดของสิงคโปร์และมาเลเซียดูเหมือนว่าจะถูก “ครอบงำ” โดยนักลงทุนสถาบัน ความสนใจของนักลงทุนส่วนบุคคลมีน้อย ผมไม่ได้ดูราคาและความเคลื่อนไหวของหุ้นต่างๆ ในตลาด แต่จากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของตลาดและคนที่เกี่ยวข้องของทั้งสองตลาดดูเหมือนว่าในตลาดหุ้นของเขาจะไม่ใคร่มีหุ้นตัวเล็กที่หวือหวาที่ราคาปรับตัวมากมายพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่มากยิ่งกว่าหุ้นยักษ์ระดับประเทศ และนั่นทำให้การซื้อขายหุ้นของทั้งสองแห่งไม่ใคร่จะมี “สีสัน” ช่วงที่เราไปที่สิงคโปร์นั้น หุ้นที่สร้างสีสันและกล่าวขวัญกันมากก็คือหุ้นของเบียร์ช้างของคนไทยที่ไปเทคโอเวอร์หุ้น F&N และในช่วงที่เราอยู่ที่มาเลเซียนั้น เขาบอกกับเราว่าเขา “อิจฉา” ที่ตลาดหุ้นไทยนั้นมีปริมาณการซื้อขายสูงและมีความคึกคักมากซึ่งเป็นผลจากการที่เรามีนักลงทุนรายย่อยหรือนักลงทุนส่วนบุคคลมาก ถ้าจะสรุปก็คือ ตลาดหุ้นไทยนั้นมีความผันผวนและมีการเก็งกำไรสูงกว่าตลาดหุ้นของสิงคโปร์และมาเลเซียมาก สำหรับนักลงทุนที่ชอบเล่นหุ้นแบบ “ได้เสีย” แล้ว ผมคิดว่าตลาดหุ้นทั้งสองแห่งนี้คงไม่น่าจะ “สนุก” นัก
พูดถึงหุ้นที่น่าสนใจสำหรับผมแล้ว ในตลาดหุ้นสิงคโปร์ ผมคิดว่ากิจการที่น่าจะมีความเข้มแข็งแข่งขันได้ในระดับโลกอย่างน้อยมีสองสามประเภทนั่นคือ สถาบันการเงินที่สิงคโปร์ถือเป็นศูนย์กลางการเงินโลก แบงค์ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์นั้นใหญ่กว่าแบงค์ใหญ่ที่สุดในไทยหลายเท่า ราคาหุ้นเองก็ไม่แพง ค่า PE อยู่ในระดับสิบเท่าต้นๆ ในขณะที่ค่า PB ก็เพียงหนึ่งเท่าต้นๆ ปันผลก็ไม่น้อยกว่าแบงค์ไทย ถัดจากสถาบันการเงินก็น่าจะเป็นพวกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่เป็นเจ้าของตึกหรูขนาดใหญ่จำนวนมากในสิงคโปร์ที่เป็นเกาะที่ขาดแคลนที่ดินที่ราคาน่าจะปรับขึ้นไปเรื่อยๆ ในระยะยาว นอกจากนั้น หุ้นที่น่าสนใจเนื่องจากความก้าวหน้าของสิงคโปร์ก็คือกิจการโรงพยาบาลที่สิงคโปร์มีความสามารถในการแข่งขันไม่แพ้ใครในโลก
ในส่วนของมาเลเซียนั้น ผมคิดว่ามีหุ้นอยู่กลุ่มหนึ่งที่ผมไม่ได้มีโอกาสพบผู้บริหารก็คือ กิจการเกี่ยวข้องกับน้ำมันปาล์มที่มาเลเซียมีความได้เปรียบในระดับโลก น้ำมันปาล์มนั้นสามารถนำไปใช้บริโภคได้ทั้งในด้านอาหารคนและการใช้เป็นไบโอดีเซลที่มีราคาแข่งขันกับน้ำมันประเภทอื่นได้ และด้านของอาหารและพลังงานนั้นก็เป็นอุตสาหกรรมที่น่าจะโตต่อเนื่องในระยะยาว ที่สำคัญราคาน้ำมันปาล์มที่ตกต่ำในช่วงนี้ก็อาจจะเป็นโอกาสในการซื้อหุ้นได้ นอกจากน้ำมันปาล์มแล้ว ธุรกิจที่ทำอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการ “สร้างเมืองใหม่” ที่อยู่ติดกับสิงคโปร์ก็น่าสนใจค่าที่ว่าสิงคโปร์นั้นขาดแคลนที่ดิน ดังนั้น คนสิงคโปร์ก็อาจจะสนใจมาซื้อที่และอสังหาริมทรัพย์ในเขตมาเลเซียที่อยู่ห่างออกไปแค่สะพานข้ามช่องแคบที่แบ่งระหว่างสิงคโปร์กับมาเลเซีย นอกจากนั้น หุ้นที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลของมาเลเซียเองก็มีความน่าสนใจเช่นเดียวกับในกรณีของสิงคโปร์ เหตุผลนั้นนอกจากความสามารถในการแข่งขันแล้ว ยังอาจจะเป็นเพราะการเป็นประเทศมุสลิมที่ทำให้พวกเขาสามารถดึงดูดคนไข้ชาวมุสลิมทั่วโลกที่มาจากประเทศที่ระบบการรักษาพยาบาลยังไม่ได้มาตรฐานด้วย
ปัจจัยในเรื่องของการเติบโตของเศรษฐกิจเรื่องหนึ่งก็คือในเรื่องของโครงสร้างของประชากร ขณะนี้สิงคโปร์มีปัญหาในเรื่องที่มีคนเกิดน้อยลงมากจนรัฐบาลสิงคโปร์ต้องรณรงค์ให้คนมีลูกมากขึ้นแต่ก็ไม่ใคร่สำเร็จ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสิงคโปร์ก็ส่งเสริมให้คนมาอาศัยและเป็นประชาชนของสิงคโปร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีเงินหรือเป็นคนที่มีคุณภาพสูง ตัวอย่างเช่น จิม โรเจอร์ นักลงทุนที่มีชื่อเสียงระดับโลกก็อพยพมาเป็นพลเมืองของสิงคโปร์ นอกจากนั้น รายชื่อคนรวยระดับโลกบางคนก็เริ่มเปลี่ยนสัญชาติมาเป็นสิงคโปร์เนื่องจากระบบภาษีที่เอื้ออำนวยรวมถึงมาตรฐานการดำรงชีวิตในสิงคโปร์นั้นสูงไม่แพ้ที่ใดในโลก ในส่วนของมาเลเซียนั้น ประชากรมาเลเซียค่อนข้างจะมีอายุน้อย คนหนุ่มสาวมีจำนวนมาก ขณะที่เดินเล่นในมอลผมเองสังเกตเห็นว่ามีเด็กวัยรุ่นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อสายมาเลย์เดินมาเที่ยวเป็นกลุ่มใหญ่ ส่วนหนึ่งที่คนเกิดมากอาจจะเป็นเพราะศาสนาอิสลามที่อาจจะไม่นิยมการคุมกำเนิดก็อาจจะเป็นได้ ดังนั้น สำหรับมาเลเซียแล้ว การเติบโตของเศรษฐกิจน่าจะไปได้ยาวกว่าเมืองไทยที่อัตราคนเกิดน้อยลงและคนแก่เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับประชากรโดยรวม
ผมเองยังไม่มีการลงทุนในตลาดหุ้นทั้งมาเลเซียและสิงคโปร์ ที่จริงผมน่าจะสนใจที่จะศึกษาและลงทุนในตลาด AEC มากกว่านี้ถ้าไม่ใช่เพราะว่าเรายังไม่ยกเว้นภาษีจากปันผลที่ได้รับจากตลาดต่างประเทศ จริงอยู่ ในตลาดหุ้นไทยเราก็ต้องเสียภาษีจากปันผลแต่เราสามารถที่จะให้หัก ณ.ที่จ่ายและไม่ต้องนำมาคิดรวมกับรายได้ปกติ ซึ่งทำให้เป็นภาระหลายๆ อย่าง และแม้ว่าเราจะสามารถ “เลี่ยง” ภาษีนี้ได้ทางเท็คนิค แต่ผมก็ยังไม่อยากทำ ผมได้แต่หวังว่าวันหนึ่งรัฐบาลจะแก้ปัญหานี้ซึ่งจะทำให้การลงทุนในตลาดหุ้น AEC เป็นที่นิยมมากกว่านี้ และนั่นจะทำให้ตลาด AEC รวมกันอย่างแท้จริง
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดหุ้น AEC/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
ดร.ให้ความเห็นเรื่องภาษีไว้น่าฟังมาก
ในตปทมีการเก็บภาษี capital gain tax & dividend tax เมื่อเราไปลงทุนในตปท สิ้นปีเราก็ต้องเคลียร์ภาระภาษีในประเทศนั้นๆ และยังจะต้องรายงานรายได้จากการลงทุนในตปทเพื่อเสียภาษีที่ไทยอีกทอดหนึ่ง เป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อนและการเครดิตภาษีที่เสียในตปทก็ไม่ชัดเจน
ปกติจะเสียเฉพาะส่วนต่างของภาษีของสองประเทศเท่านั้น เช่น คำนวนแล้วต้องเสียภาษีที่ไทยทั้งหมด 100 บาท แต่ว่าเราได้เสียภาษีที่สิงคโปร์แล้ว 80 บาท ฉะนั้น เราควรจะต้องเสียภาษีเพิ่มเพียง 20 บาทเท่านั้น หรือในทางกลับกันถ้าคำนวนเสียภาษีที่ไทยทั้งหมด 80 บาท แต่เสียภาษีที่สิงคโปร์ไปแล้ว 100 บาท ดังนั้นเราจึงไม่ต้องเสียภาษีใดๆในไทยอีก
เรื่องภาษีหากไม่มีการเคลียร์ให้ชัดเจน นลท ไทยที่ไปลงทุนในตปทโดยตรงอาจจะซวยในอนาคตโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ ทำให้เสียเปรียบนลทต่างชาติ สู้ลงทุนในประเทศจะดีกว่า ไม่มีภาษี capital gain tax และ dividend tax ก็ชัดเจน ในจุดนี้อาจจะมีนลทต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้นซึ่งทำให้ตลาดหุ้นไทยคึกคักมากยิ่งขึ้นไปอีก
ในตปทมีการเก็บภาษี capital gain tax & dividend tax เมื่อเราไปลงทุนในตปท สิ้นปีเราก็ต้องเคลียร์ภาระภาษีในประเทศนั้นๆ และยังจะต้องรายงานรายได้จากการลงทุนในตปทเพื่อเสียภาษีที่ไทยอีกทอดหนึ่ง เป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อนและการเครดิตภาษีที่เสียในตปทก็ไม่ชัดเจน
ปกติจะเสียเฉพาะส่วนต่างของภาษีของสองประเทศเท่านั้น เช่น คำนวนแล้วต้องเสียภาษีที่ไทยทั้งหมด 100 บาท แต่ว่าเราได้เสียภาษีที่สิงคโปร์แล้ว 80 บาท ฉะนั้น เราควรจะต้องเสียภาษีเพิ่มเพียง 20 บาทเท่านั้น หรือในทางกลับกันถ้าคำนวนเสียภาษีที่ไทยทั้งหมด 80 บาท แต่เสียภาษีที่สิงคโปร์ไปแล้ว 100 บาท ดังนั้นเราจึงไม่ต้องเสียภาษีใดๆในไทยอีก
เรื่องภาษีหากไม่มีการเคลียร์ให้ชัดเจน นลท ไทยที่ไปลงทุนในตปทโดยตรงอาจจะซวยในอนาคตโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ ทำให้เสียเปรียบนลทต่างชาติ สู้ลงทุนในประเทศจะดีกว่า ไม่มีภาษี capital gain tax และ dividend tax ก็ชัดเจน ในจุดนี้อาจจะมีนลทต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้นซึ่งทำให้ตลาดหุ้นไทยคึกคักมากยิ่งขึ้นไปอีก
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดหุ้น AEC/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณมากๆครับ อจ
-------------------------------
ปฏิบัติการปลดหนี้ สู่วิถีพอเพียง
http://www.thorfun.com/story/view/UVl_jK7rWb0kABBW
-------------------------------
ปฏิบัติการปลดหนี้ สู่วิถีพอเพียง
http://www.thorfun.com/story/view/UVl_jK7rWb0kABBW