ธรรมะกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
ธรรมะกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 6 เมษายน 56
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ธรรมะกับการลงทุน
การลงทุนกับธรรมะซึ่งเป็นเรื่องของศาสนาพุทธนั้นดูเหมือนจะห่างไกลกันมาก เนื่องจากการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหุ้นนั้นมักจะถูกมองว่าเป็นเรื่องของการต่อสู้แย่งชิง เป็นเรื่องของกิเลสตันหาซึ่งจะก่อให้เกิดทุกข์ซึ่งเป็นสิ่งที่ศาสนาพุทธสอนให้รู้จักวิธีการหลีกเลี่ยง เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ศาสนาพุทธนั้นคนมักเชื่อกันว่าเป็นศาสนาที่สอนให้คนรู้จัก “พอเพียง” ในขณะที่คนเล่นหุ้นหรือนักลงทุนนั้น ส่วนใหญ่หวังจะรวยอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ถ้าจะพูดกันเรื่องการลงทุนแล้วเราก็ไม่ควรจะพูดถึงเรื่องธรรมะซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเช่นนั้นหรือ? คำตอบของผมก็คือ ไม่ใช่ ผมคิดว่าหลักธรรมะนั้นสามารถนำมาใช้กับการลงทุนได้ มีประโยชน์ และที่จริงอาจจะไม่มีอะไรขัดกันเลย ลองมาดูกัน
ธรรมะสำหรับผมแล้ว ผมยึดถือแนวทางของท่านพุทธทาสซึ่งสอนเรื่องธรรมะในแนวทางที่ “เป็นวิทยาศาสตร์” มากกว่าใคร ๆ ว่าที่จริงท่านบอกว่าธรรมะนั้นก็คือ “ธรรมชาติ” ซึ่งเป็นเรื่องที่มีเหตุผล สิ่งต่าง ๆ ในโลกนั้นสามารถอธิบายได้ด้วยกฎของธรรมชาติไม่มีใครสามารถที่จะฝืนมันได้ แต่ถ้าเรารู้ว่าอะไรคือธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ เราก็จะสามารถปรับหรือทำตัวให้สอดคล้องกับมันและเราก็จะประสบความสำเร็จและพ้นจาก “ทุกข์” ได้ ตัวอย่างง่าย ๆ ที่อาจจะยกขึ้นมาพูดก็เช่น น้ำนั้นโดยธรรมชาติแล้วจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ดังนั้นน้ำฝนจากภาคเหนือของไทยซึ่งเป็นที่สูงก็จะต้องไหลลงสู่ภาคกลางที่เป็นที่ต่ำและออกสู่ทะเลในที่สุด แต่เนื่องจากปริมาณน้ำที่มีมากเมื่อสองปีก่อนประกอบกับทางน้ำหรือแม่น้ำมีไม่เพียงพอน้ำจึงท่วมอย่างรุนแรง วิธีแก้ก็คือการกันน้ำบางส่วนไม่ให้ไหลมาเร็วเกินไป อาจจะด้วยการสร้างเขื่อนเพิ่มหรือหาพื้นที่ “แก้มลิง” รับน้ำบางส่วนไม่ให้ไหลลงมา นอกจากนั้นก็อาจจะต้องสร้างหรือขยายแม่น้ำหรือคลองที่จะให้น้ำไหลผ่านลงทะเลอย่างเร็วที่สุด และนี่ก็คือการใช้ธรรมะในการทำงานแก้ปัญหาและ “ดับทุกข์” ในกรณีแบบนี้การ “สวดมนต์” แล้วไม่ทำอะไรจึงไม่ใช่เรื่องของ “ธรรมะ” แต่การทำโครงการอย่างที่กล่าวถึงคือการ “ปฏิบัติธรรม” อย่างแท้จริง
ในเรื่องของการลงทุนหรือหุ้นนั้น ผมคิดว่าเราต้องศึกษา “ธรรมะ” หรือธรรมชาติของหุ้นให้รู้แจ้งเสียก่อนว่าอะไรทำให้หุ้นมีราคาหรือมูลค่าเพิ่มขึ้น อะไรทำให้บริษัทจ่ายปันผลเป็นเงินสดให้เรามากขึ้นซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนของเรามากขึ้น คำตอบก็คือ ในระยะยาวแล้ว หุ้นจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถ้าบริษัทมีผลประกอบการหรือกำไรเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งก็จะทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลเพิ่มมากขึ้นตามกันไป ผลก็คือ ถ้าเราถือหุ้นหรือเป็นเจ้าของ เราก็จะได้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ดังนั้น ถ้าเราต้องการลงทุนและได้ผลตอบแทนที่ดีหรือเหมาะสม วิธีก็คือ เราต้องซื้อหุ้นของบริษัทที่จะมีผลประกอบการดีขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะยาว แล้วเราก็ถือหุ้นตัวนั้นไว้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องสนใจเรื่องของดัชนีตลาดหรือราคาหุ้นในระยะสั้น และนี่ก็คือการ “ปฏิบัติธรรม” ในเรื่องของการลงทุนในหุ้น
ธรรมะหรือธรรมชาติของหุ้นในระยะสั้นนั้นดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องของ “ความผันผวน” นั่นคือหุ้นจะปรับตัวขึ้นลงซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายทั้งจากภายในบริษัทและนอกบริษัทอาทิเรื่องของ ผลประกอบการ เรื่องของเศรษฐกิจ การเมือง และอื่น ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้น การที่หุ้นจะขึ้นหรือลงในระยะสั้น ๆ จึงบอกได้ยาก จริงอยู่ บางคนอาจจะมีความสามารถมากกว่าคนอื่น ดังนั้น เขาอาจจะสามารถคาดการณ์ได้ถูกต้องมากกว่าผิด และดังนั้น เขาก็สามารถทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้ดี แบบนี้ก็อาจจะบอกว่าเขารู้ธรรมะของการลงทุนในระยะสั้นและปฏิบัติธรรมในการลงทุนได้เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ธรรมะของหุ้นในระยะสั้นนั้น จากการพิสูจน์โดยทางสถิติที่เป็นวิทยาศาสตร์ก็ไม่ยั่งยืนเท่าไรนัก นั่นคือ อาจจะเป็นจริงเป็นบางช่วงบางเวลาและเปลี่ยนแปลงไปได้เร็วซึ่งทำให้ไม่คุ้มที่จะทำเมื่อคิดถึงค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้นที่สูงเนื่องจากการซื้อขายบ่อย
เรื่องที่สองของธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนก็คือ การเดินสายกลาง นี่คือหนทางที่ดีในการดำเนินชีวิต ทางสายกลางนั้นแปลว่ามันไม่ใช่วิธีที่ “สุดโต่ง” ทั้งด้านมากและน้อย การทำอะไรมากเกินไปนั้นย่อมทำให้เกิดความเครียดและจะเป็นทุกข์ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร ตรงกันข้าม การทำอะไรที่ “หย่อน” เกินไปนั้นก็ไม่ดีเช่นกัน เนื่องจากมันจะทำให้ชีวิตเรา “ไร้ความหมายหรือไร้คุณค่า” ซึ่งก็จะทำให้เราเป็นทุกข์เช่นเดียวกัน นอกจากนั้น ผลที่ได้จากการใช้ชีวิตแบบนี้ก็อาจจะไม่เพียงพอในการที่จะทำให้เรามีชีวิตที่ดี ถ้ามาประยุกต์กับการลงทุนในหุ้นแล้ว ผมคิดว่าธรรมะของการลงทุนก็คือ เราควร “เดินสายกลาง” นั่นก็คือ เราจะต้องออกแบบพอร์ตของเราให้เหมาะสมในแง่ที่ว่ามันจะไม่เสี่ยงเกินไปในขณะเดียวกันเราก็ต้องไม่กลัวจนเกินไปจนทำให้เราไม่กล้าลงทุนในหุ้นมากพอ การลงทุนที่เสี่ยงเกินไปนั้น แม้ว่าอาจจะทำให้เรารวยได้เร็ว แต่ก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดหายนะ แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ในระหว่างที่เราลงทุนอยู่นั้น เราอาจจะเกิดความเครียดได้บ่อย ๆ ซึ่งนี่คือบ่อเกิดของทุกข์ เช่นเดียวกัน การไม่กล้าเสี่ยงเลยก็จะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ต่ำมากและบางทีก็ติดลบเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่จะ “กินเงิน” ของเราตลอดเวลาอย่างไม่รู้ตัว สุดท้ายมันก็เป็นความทุกข์เช่นเดียวกัน
เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าแค่ไหนคือ “สายกลาง” ของแต่ละคน กฎง่าย ๆ ของผมก็คือ จะต้องเป็นพอร์ตที่เรารู้ถึงความเสี่ยงว่าในสถานการณ์ที่เลวร้ายเราจะเหลือเท่าไร และเราถือแล้วสบายใจไม่มีความเครียดที่จะต้องคอยเฝ้าดูตลาดเกือบจะทุกวันหรือทุกชั่วโมง โดยหลักการแล้วทางสายกลางในการลงทุนนั้นจะต้องมีการ “กระจายความเสี่ยง” อย่างเหมาะสม และโดยทั่วไป การที่เราถือหุ้นน้อยตัวเกินไป เช่นถือเพียง 2-3 ตัว หรือใช้มาร์จินในการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ เช่น มีมาร์จินถึง 30-40% ของพอร์ตก็ต้องถือว่าเราไม่เดินสายกลาง เช่นเดียวกัน การไม่ลงทุนในหุ้นเลยหรือลงทุนน้อยมากไม่ถึง 5-10% แบบนี้ก็เรียกว่าไม่ปฏิบัติธรรมในการลงทุนเหมือนกันแม้ว่าเราจะรู้สึกสบายใจและไม่เครียด
ประเด็นสุดท้ายในเรื่องของธรรมะที่ผมคิดว่านำมาใช้กับการลงทุนได้เป็นอย่างดีและต้องถือว่าเป็น “คำสอนหลัก” ของท่านพุทธทาสอีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่อง “ตัวกู ของกู” หรือการติดยึดว่าเราเป็นเจ้าของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นวัตถุ ความมั่งคั่ง ชื่อเสียง เราจึงทำทุกอย่างที่จะได้มันมา เราเสียใจเมื่อต้องเสียมันไป จิตใจของเราหมกมุ่นอยู่กับมันมากเกินไป ประเด็นนี้ว่าที่จริงเกี่ยวเนื่องกับความโลภอยากได้ใคร่ดีจนสามารถที่จะทำสิ่งที่ผิดครรลองครองธรรม ซึ่งในกรณีของการลงทุนก็อาจจะเกี่ยวกับการปั่นหุ้น การชี้นำให้คนอื่นมาซื้อหุ้นที่ตนเองลงทุนโดยหวังที่จะขายหุ้นที่ตนเองถืออยู่ในราคาที่สูง การปล่อยข่าวที่เป็นเท็จเกี่ยวกับหุ้นเพื่อที่จะสร้างราคาหุ้นให้ผิดไปจากความเป็นจริง ต่าง ๆ เหล่านี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องของการที่ไม่มีธรรมะในการลงทุนซึ่งในที่สุดก็จะทำร้ายหรือทำลายตัวเอง
การติดยึดเรื่อง ตัวกู ของกู ยังอาจจะทำให้เราไม่สามารถควบคุมอารมณ์ในการซื้อขายหุ้นได้ เช่น ในยามที่หุ้นขึ้นแรงเราอาจจะอยากขายทำกำไรเพื่อที่จะ “ยึดเม็ดเงิน” ไว้ เช่นเดียวกัน ในยามที่หุ้นลงแรง เราก็อาจจะกลัวว่าเงินจะหายจึงรีบขาย นอกจากนั้น ถ้าเราคิดว่าเงินจากหุ้นที่ถืออยู่นั้น เป็น “ของกู” การที่มันอาจจะหายหรือลดไปมากก็อาจจะทำให้เราเสียใจมาก เช่นเดียวกัน ในบางครั้งที่เงินในพอร์ตหุ้นโตขึ้นมาก เราก็อาจจะดีใจเกินเหตุ ลักษณะแบบนี้จะไม่ทำให้เรามีความสุขจากการลงทุนและผมเชื่อว่าทำให้การลงทุนของเราด้อยลงไป ผมคิดว่าในการอยู่กับหุ้นระยะยาวหรือลงทุนระยะยาวนั้น อย่าไปคิดว่าหุ้นเหล่านี้มันเป็น “ของกู” แม้ว่าในทางกฎหมายแล้วเราจะเป็นเจ้าของ ถ้าทำได้แบบนี้ เราจะลงทุนหุ้นอย่างสบายใจ ถ้าพอร์ตหรือหุ้นมันขึ้น เราก็ดีใจ ถ้ามันลง ก็ช่างมัน มันไม่ใช่ “ของกู” ถ้าเราได้วิเคราะห์และพิจารณาไตร่ตรองดีแล้ว What ever will be, will be.
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ธรรมะกับการลงทุน
การลงทุนกับธรรมะซึ่งเป็นเรื่องของศาสนาพุทธนั้นดูเหมือนจะห่างไกลกันมาก เนื่องจากการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหุ้นนั้นมักจะถูกมองว่าเป็นเรื่องของการต่อสู้แย่งชิง เป็นเรื่องของกิเลสตันหาซึ่งจะก่อให้เกิดทุกข์ซึ่งเป็นสิ่งที่ศาสนาพุทธสอนให้รู้จักวิธีการหลีกเลี่ยง เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ศาสนาพุทธนั้นคนมักเชื่อกันว่าเป็นศาสนาที่สอนให้คนรู้จัก “พอเพียง” ในขณะที่คนเล่นหุ้นหรือนักลงทุนนั้น ส่วนใหญ่หวังจะรวยอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ถ้าจะพูดกันเรื่องการลงทุนแล้วเราก็ไม่ควรจะพูดถึงเรื่องธรรมะซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเช่นนั้นหรือ? คำตอบของผมก็คือ ไม่ใช่ ผมคิดว่าหลักธรรมะนั้นสามารถนำมาใช้กับการลงทุนได้ มีประโยชน์ และที่จริงอาจจะไม่มีอะไรขัดกันเลย ลองมาดูกัน
ธรรมะสำหรับผมแล้ว ผมยึดถือแนวทางของท่านพุทธทาสซึ่งสอนเรื่องธรรมะในแนวทางที่ “เป็นวิทยาศาสตร์” มากกว่าใคร ๆ ว่าที่จริงท่านบอกว่าธรรมะนั้นก็คือ “ธรรมชาติ” ซึ่งเป็นเรื่องที่มีเหตุผล สิ่งต่าง ๆ ในโลกนั้นสามารถอธิบายได้ด้วยกฎของธรรมชาติไม่มีใครสามารถที่จะฝืนมันได้ แต่ถ้าเรารู้ว่าอะไรคือธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ เราก็จะสามารถปรับหรือทำตัวให้สอดคล้องกับมันและเราก็จะประสบความสำเร็จและพ้นจาก “ทุกข์” ได้ ตัวอย่างง่าย ๆ ที่อาจจะยกขึ้นมาพูดก็เช่น น้ำนั้นโดยธรรมชาติแล้วจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ดังนั้นน้ำฝนจากภาคเหนือของไทยซึ่งเป็นที่สูงก็จะต้องไหลลงสู่ภาคกลางที่เป็นที่ต่ำและออกสู่ทะเลในที่สุด แต่เนื่องจากปริมาณน้ำที่มีมากเมื่อสองปีก่อนประกอบกับทางน้ำหรือแม่น้ำมีไม่เพียงพอน้ำจึงท่วมอย่างรุนแรง วิธีแก้ก็คือการกันน้ำบางส่วนไม่ให้ไหลมาเร็วเกินไป อาจจะด้วยการสร้างเขื่อนเพิ่มหรือหาพื้นที่ “แก้มลิง” รับน้ำบางส่วนไม่ให้ไหลลงมา นอกจากนั้นก็อาจจะต้องสร้างหรือขยายแม่น้ำหรือคลองที่จะให้น้ำไหลผ่านลงทะเลอย่างเร็วที่สุด และนี่ก็คือการใช้ธรรมะในการทำงานแก้ปัญหาและ “ดับทุกข์” ในกรณีแบบนี้การ “สวดมนต์” แล้วไม่ทำอะไรจึงไม่ใช่เรื่องของ “ธรรมะ” แต่การทำโครงการอย่างที่กล่าวถึงคือการ “ปฏิบัติธรรม” อย่างแท้จริง
ในเรื่องของการลงทุนหรือหุ้นนั้น ผมคิดว่าเราต้องศึกษา “ธรรมะ” หรือธรรมชาติของหุ้นให้รู้แจ้งเสียก่อนว่าอะไรทำให้หุ้นมีราคาหรือมูลค่าเพิ่มขึ้น อะไรทำให้บริษัทจ่ายปันผลเป็นเงินสดให้เรามากขึ้นซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนของเรามากขึ้น คำตอบก็คือ ในระยะยาวแล้ว หุ้นจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถ้าบริษัทมีผลประกอบการหรือกำไรเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งก็จะทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลเพิ่มมากขึ้นตามกันไป ผลก็คือ ถ้าเราถือหุ้นหรือเป็นเจ้าของ เราก็จะได้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ดังนั้น ถ้าเราต้องการลงทุนและได้ผลตอบแทนที่ดีหรือเหมาะสม วิธีก็คือ เราต้องซื้อหุ้นของบริษัทที่จะมีผลประกอบการดีขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะยาว แล้วเราก็ถือหุ้นตัวนั้นไว้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องสนใจเรื่องของดัชนีตลาดหรือราคาหุ้นในระยะสั้น และนี่ก็คือการ “ปฏิบัติธรรม” ในเรื่องของการลงทุนในหุ้น
ธรรมะหรือธรรมชาติของหุ้นในระยะสั้นนั้นดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องของ “ความผันผวน” นั่นคือหุ้นจะปรับตัวขึ้นลงซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยมากมายทั้งจากภายในบริษัทและนอกบริษัทอาทิเรื่องของ ผลประกอบการ เรื่องของเศรษฐกิจ การเมือง และอื่น ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้น การที่หุ้นจะขึ้นหรือลงในระยะสั้น ๆ จึงบอกได้ยาก จริงอยู่ บางคนอาจจะมีความสามารถมากกว่าคนอื่น ดังนั้น เขาอาจจะสามารถคาดการณ์ได้ถูกต้องมากกว่าผิด และดังนั้น เขาก็สามารถทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้ดี แบบนี้ก็อาจจะบอกว่าเขารู้ธรรมะของการลงทุนในระยะสั้นและปฏิบัติธรรมในการลงทุนได้เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ธรรมะของหุ้นในระยะสั้นนั้น จากการพิสูจน์โดยทางสถิติที่เป็นวิทยาศาสตร์ก็ไม่ยั่งยืนเท่าไรนัก นั่นคือ อาจจะเป็นจริงเป็นบางช่วงบางเวลาและเปลี่ยนแปลงไปได้เร็วซึ่งทำให้ไม่คุ้มที่จะทำเมื่อคิดถึงค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้นที่สูงเนื่องจากการซื้อขายบ่อย
เรื่องที่สองของธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนก็คือ การเดินสายกลาง นี่คือหนทางที่ดีในการดำเนินชีวิต ทางสายกลางนั้นแปลว่ามันไม่ใช่วิธีที่ “สุดโต่ง” ทั้งด้านมากและน้อย การทำอะไรมากเกินไปนั้นย่อมทำให้เกิดความเครียดและจะเป็นทุกข์ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร ตรงกันข้าม การทำอะไรที่ “หย่อน” เกินไปนั้นก็ไม่ดีเช่นกัน เนื่องจากมันจะทำให้ชีวิตเรา “ไร้ความหมายหรือไร้คุณค่า” ซึ่งก็จะทำให้เราเป็นทุกข์เช่นเดียวกัน นอกจากนั้น ผลที่ได้จากการใช้ชีวิตแบบนี้ก็อาจจะไม่เพียงพอในการที่จะทำให้เรามีชีวิตที่ดี ถ้ามาประยุกต์กับการลงทุนในหุ้นแล้ว ผมคิดว่าธรรมะของการลงทุนก็คือ เราควร “เดินสายกลาง” นั่นก็คือ เราจะต้องออกแบบพอร์ตของเราให้เหมาะสมในแง่ที่ว่ามันจะไม่เสี่ยงเกินไปในขณะเดียวกันเราก็ต้องไม่กลัวจนเกินไปจนทำให้เราไม่กล้าลงทุนในหุ้นมากพอ การลงทุนที่เสี่ยงเกินไปนั้น แม้ว่าอาจจะทำให้เรารวยได้เร็ว แต่ก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดหายนะ แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ในระหว่างที่เราลงทุนอยู่นั้น เราอาจจะเกิดความเครียดได้บ่อย ๆ ซึ่งนี่คือบ่อเกิดของทุกข์ เช่นเดียวกัน การไม่กล้าเสี่ยงเลยก็จะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ต่ำมากและบางทีก็ติดลบเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่จะ “กินเงิน” ของเราตลอดเวลาอย่างไม่รู้ตัว สุดท้ายมันก็เป็นความทุกข์เช่นเดียวกัน
เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าแค่ไหนคือ “สายกลาง” ของแต่ละคน กฎง่าย ๆ ของผมก็คือ จะต้องเป็นพอร์ตที่เรารู้ถึงความเสี่ยงว่าในสถานการณ์ที่เลวร้ายเราจะเหลือเท่าไร และเราถือแล้วสบายใจไม่มีความเครียดที่จะต้องคอยเฝ้าดูตลาดเกือบจะทุกวันหรือทุกชั่วโมง โดยหลักการแล้วทางสายกลางในการลงทุนนั้นจะต้องมีการ “กระจายความเสี่ยง” อย่างเหมาะสม และโดยทั่วไป การที่เราถือหุ้นน้อยตัวเกินไป เช่นถือเพียง 2-3 ตัว หรือใช้มาร์จินในการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ เช่น มีมาร์จินถึง 30-40% ของพอร์ตก็ต้องถือว่าเราไม่เดินสายกลาง เช่นเดียวกัน การไม่ลงทุนในหุ้นเลยหรือลงทุนน้อยมากไม่ถึง 5-10% แบบนี้ก็เรียกว่าไม่ปฏิบัติธรรมในการลงทุนเหมือนกันแม้ว่าเราจะรู้สึกสบายใจและไม่เครียด
ประเด็นสุดท้ายในเรื่องของธรรมะที่ผมคิดว่านำมาใช้กับการลงทุนได้เป็นอย่างดีและต้องถือว่าเป็น “คำสอนหลัก” ของท่านพุทธทาสอีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่อง “ตัวกู ของกู” หรือการติดยึดว่าเราเป็นเจ้าของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นวัตถุ ความมั่งคั่ง ชื่อเสียง เราจึงทำทุกอย่างที่จะได้มันมา เราเสียใจเมื่อต้องเสียมันไป จิตใจของเราหมกมุ่นอยู่กับมันมากเกินไป ประเด็นนี้ว่าที่จริงเกี่ยวเนื่องกับความโลภอยากได้ใคร่ดีจนสามารถที่จะทำสิ่งที่ผิดครรลองครองธรรม ซึ่งในกรณีของการลงทุนก็อาจจะเกี่ยวกับการปั่นหุ้น การชี้นำให้คนอื่นมาซื้อหุ้นที่ตนเองลงทุนโดยหวังที่จะขายหุ้นที่ตนเองถืออยู่ในราคาที่สูง การปล่อยข่าวที่เป็นเท็จเกี่ยวกับหุ้นเพื่อที่จะสร้างราคาหุ้นให้ผิดไปจากความเป็นจริง ต่าง ๆ เหล่านี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องของการที่ไม่มีธรรมะในการลงทุนซึ่งในที่สุดก็จะทำร้ายหรือทำลายตัวเอง
การติดยึดเรื่อง ตัวกู ของกู ยังอาจจะทำให้เราไม่สามารถควบคุมอารมณ์ในการซื้อขายหุ้นได้ เช่น ในยามที่หุ้นขึ้นแรงเราอาจจะอยากขายทำกำไรเพื่อที่จะ “ยึดเม็ดเงิน” ไว้ เช่นเดียวกัน ในยามที่หุ้นลงแรง เราก็อาจจะกลัวว่าเงินจะหายจึงรีบขาย นอกจากนั้น ถ้าเราคิดว่าเงินจากหุ้นที่ถืออยู่นั้น เป็น “ของกู” การที่มันอาจจะหายหรือลดไปมากก็อาจจะทำให้เราเสียใจมาก เช่นเดียวกัน ในบางครั้งที่เงินในพอร์ตหุ้นโตขึ้นมาก เราก็อาจจะดีใจเกินเหตุ ลักษณะแบบนี้จะไม่ทำให้เรามีความสุขจากการลงทุนและผมเชื่อว่าทำให้การลงทุนของเราด้อยลงไป ผมคิดว่าในการอยู่กับหุ้นระยะยาวหรือลงทุนระยะยาวนั้น อย่าไปคิดว่าหุ้นเหล่านี้มันเป็น “ของกู” แม้ว่าในทางกฎหมายแล้วเราจะเป็นเจ้าของ ถ้าทำได้แบบนี้ เราจะลงทุนหุ้นอย่างสบายใจ ถ้าพอร์ตหรือหุ้นมันขึ้น เราก็ดีใจ ถ้ามันลง ก็ช่างมัน มันไม่ใช่ “ของกู” ถ้าเราได้วิเคราะห์และพิจารณาไตร่ตรองดีแล้ว What ever will be, will be.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธรรมะกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
ชอบบทความนี้จริงๆครับ
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ธรรมะกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
ชอบมากๆครับ ขอบคุณ อจ.มากๆครับ
-----------------------------------------
ปฏิบัติการปลดหนี้ สู่วิถีพอเพียง
http://thorfun.com/#chanchai/story/5159 ... bd24001056
-----------------------------------------
ปฏิบัติการปลดหนี้ สู่วิถีพอเพียง
http://thorfun.com/#chanchai/story/5159 ... bd24001056