หุ้นโรงงาน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
หุ้นโรงงาน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 7 กันยายน 2556
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หุ้นโรงงาน
ถ้าจะถามว่าหุ้นกลุ่มไหนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีผลงานหรือให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นน้อยกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญและ “น่าผิดหวัง” มากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่ดัชนีตลาดได้ปรับตัวขึ้นมาอย่างโดดเด่น ผมอยากจะตอบว่าคือ “หุ้นโรงงาน” นี่ไม่ใช่หุ้นที่แบ่งตามภาคอุตสาหกรรมและไม่น่าจะมีใครมาจัดหมวดหมู่แต่ผมคิดว่ามันเป็นกลุ่มหุ้นที่มีลักษณะในการ “ทำมาหากิน” ที่คล้ายคลึงกันในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ และมันแตกต่างจากหุ้นกลุ่มอื่นที่ไม่มีใครจัดเป็นหมวดหมู่เหมือนกันอย่างเช่น “หุ้นโรงเรือน” หรือ “หุ้นมียี่ห้อโดดเด่น”
คำนิยามของ “หุ้นโรงงาน” ของผมก็คือ “หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ผลิตสินค้าเพื่อขายให้กับลูกค้าที่จะนำมันไปประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือนำไปจัดจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในชื่อยี่ห้อของเขา” ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ก็คือ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนสินค้าอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิกส์ บริษัทที่ผลิตวัตถุดิบที่ผู้ซื้อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปเช่น ผ้าผืนหรือผลิตภัณฑ์บรรจุหีบห่อ เช่น กระดาษ ฟิล์มแบบต่าง ๆ และผู้ผลิตที่เป็น OEM ซึ่งก็คือผลิตสินค้าสำเร็จรูปภายใต้ยี่ห้อของลูกค้า เป็นต้น
หุ้นโรงงานนั้นเป็นกิจการที่มีจุดด้อยหลาย ๆ ประการมองในแง่ของธุรกิจ ประการแรกก็คือ สินค้าของบริษัทนั้น มักจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีลักษณะเหมือน ๆ กับสินค้าของคู่แข่งหรือผู้ผลิตอื่นนั่นคือมันมีคุณสมบัติและรูปสมบัติเหมือน ๆ กัน สินค้าของบริษัทแยกไม่ออกจากสินค้าของบริษัทอื่นยกเว้นเครื่องหมายการค้าที่อาจจะติดอยู่ที่หีบห่อ ว่าที่จริง เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าเองนั้นก็อาจจะซื้อมาจากบริษัทเดียวกัน วัตถุดิบก็เหมือนกัน ดังนั้น สินค้าที่ผลิตออกมาจึงเหมือนกัน ความแตกต่างถ้าจะมีก็อาจจะมาจากความสามารถหรือฝีมือในการผลิตของพนักงานและการควบคุมคุณภาพซึ่งผมเองคิดว่าเป็นความได้เปรียบที่ไม่ใคร่จะยั่งยืนเนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไปคนก็ “เรียนทันกัน” ดังนั้น ราคาขายของสินค้าโรงงานจึงใกล้เคียงกันหมดและบริษัทกำหนดไม่ได้ ขึ้นอยู่กับราคาตลาด หรือราคาที่ทำให้บริษัทระดับกลาง ๆ พออยู่ได้ในภาวะปกติ
ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะช่วยให้บริษัทหนึ่งได้เปรียบคู่แข่งก็คือ ด้านของต้นทุนการผลิตที่อาจจะต่ำกว่าเนื่องจากเรื่องของค่าแรงและต้นทุนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเนื่องจากขนาดของกำลังการผลิตที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม นี่ยังไม่ทำให้ Margin หรือกำไรต่อยอดขายของบริษัทดีนัก เหตุผลก็คือ ในธุรกิจการรับจ้างผลิตนั้น ผู้ซื้อมักจะเป็นรายใหญ่มีอำนาจในการต่อรองสูง โดยเฉพาะบริษัทของญี่ปุ่นนั้นมักจะมีนโยบาย “Cost Down” คือขอให้ Supplier ลดราคาชิ้นส่วนหรือสินค้าที่ขายลงทุกปีอาจจะปีละ 2-3% ซึ่งอาจจะทำให้กำไรของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนโตได้ยาก และในกรณีที่ต้นทุนการผลิตเช่นค่าแรงเพิ่มขึ้นมากอย่างในช่วงเร็ว ๆ นี้ก็ทำให้กำไรของธุรกิจหุ้นโรงงานแทบจะไม่โตเลย
หุ้นโรงงานที่ผลิตสินค้าโดยเฉพาะที่เป็นชิ้นส่วนอีเล็กโทรนิกส์นั้น ส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมดก็จะเป็นการส่งออกซึ่งมักจะถูกกระทบจากปัจจัยหลายอย่างที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เรื่องของค่าเงินที่ผันผวนทำให้ผลประกอบการของบริษัทไม่ใคร่แน่นอน ในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งบริษัทมักขายสินค้าได้น้อยลง เช่นเดียวกับในยามที่เศรษฐกิจโลกอ่อนแอซึ่งทำให้ความต้องการสินค้าลดลง นอกจากนี้ ราคาของชิ้นส่วนอีเล็กโทรนิกส์เองก็ผันผวนคล้าย ๆ กับสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ เหมือนกัน ดูเหมือนว่าปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อธุรกิจในกลุ่มนี้อย่างชัดเจนจะเป็นเรื่องของค่าเงินบาทที่อ่อนลงอย่างที่กำลังเป็นอยู่ในช่วงนี้ที่ทำให้หุ้นโรงงานในกลุ่มนี้ดูดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มันจะดำรงอยู่นานเท่าไรก็เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก และนี่ก็ทำให้หุ้นเหล่านี้ไม่สามารถที่จะมีคุณค่าหรือมีค่า PE ที่สูงได้
จุดอ่อนของหุ้นโรงงานยังอยู่ที่ด้านของการผลิตที่มักจะต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์จำนวนมากที่ต้องมีการลงทุนสูงเมื่อเทียบกับยอดขาย ดังนั้น เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่ง บริษัทก็มักจะต้องลงทุนเพิ่มในอัตราที่ค่อนข้างสูง นอกจากการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่เป็นโรงงานและเครื่องจักรแล้ว บริษัทก็มักจะต้องลงทุนสต็อกวัตถุดิบ สินค้า และการให้เครดิตทางการค้าแก่ลูกค้าค่อนข้างยาว ทำให้เม็ดเงินต้องไปจมอยู่ค่อนข้างมากแม้ว่าบางส่วนจะได้รับการชดเชยจากผู้ขายวัตถุดิบให้แก่ตนเองก็ตาม ดังนั้น กำไรของบริษัทจึงมักจะไม่สามารถนำมาจ่ายเป็นปันผลได้มากเหมือนกับธุรกิจบริการอื่น ๆ ที่มักจะมีกระแสเงินสดดีกว่า ผลจากการนี้ทำให้ “คุณค่า” ของบริษัทโรงงานลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกิจการอื่นที่มีกระแสเงินสดสูงกว่าและทำให้ค่า PE รวมถึงค่า PB หรือราคาต่อมูลค่าทางบัญชีของหุ้นโรงงานมักจะไม่สูง
ความเสี่ยงที่ “รุนแรง” ของหุ้นโรงงานนั้นก็มีไม่น้อยอยู่เหมือนกัน เรื่องแรกก็คือ โรงงานอาจจะ“ล้าสมัย” ได้เร็วกว่าที่กำหนดไว้ตามหลักการทางบัญชีที่ส่วนมากกำหนดไว้ประมาณ 10 ปี นี่ทำให้บริษัทต้องลงทุนปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ใหม่เร็วกว่ากำหนดเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ และนี่ก็เป็นต้นทุนที่อาจจะไม่ก่อให้เกิดรายได้และกำไรมากนัก ความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะรุนแรงยิ่งกว่าก็คือ การสูญเสียผู้ซื้อรายใหญ่ที่อาจจะมีมูลค่าการซื้อหลายสิบเปอร์เซ็นต์ของบริษัท และนี่อาจจะทำให้ผลประกอบการของบริษัททรุดได้อย่างไม่คาดฝัน การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่นั้นอาจจะมีสาเหตุได้หลากหลายมาก เช่น ลูกค้ารายใหญ่อาจจะหันไปซื้อจากคู่แข่งที่ทำได้ดีกว่าหรือต้นทุนต่ำกว่าและบริษัทไม่สามารถแข่งขันได้ หรือลูกค้าอาจจะไปซื้อบริษัทหรือขยายงานเพื่อทำชิ้นส่วนเอง หรืออุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีอาจจะเปลี่ยนไปทำให้ชิ้นส่วนเดิมไม่ถูกใช้อีกต่อไป สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้ “พื้นฐาน”ของบริษัทเปลี่ยนไปและอาจกลายเป็น “หายนะ” ของการลงทุนในหุ้นโรงงานได้
การวิเคราะห์เพื่อที่จะกำหนดว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้นโรงงานนั้น บางบริษัทก็ชัดเจนตรงตามคุณสมบัติดังที่กล่าว อย่างไรก็ตาม บางบริษัทก็อาจจะไม่ชัดนัก เหตุผลก็อาจจะมีหลากหลาย ถ้าบริษัทมีโรงงานเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตแต่สิ่งที่โรงงานผลิตนั้น ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่มียี่ห้อโดดเด่นที่ผู้บริโภคเรียกหาและบริษัทเป็นเจ้าของ แบบนี้ต้องถือว่ามันไม่ใช่หุ้นโรงงาน ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่แล้วผลิตเป็น OEM ในขณะที่ส่วนน้อยหรือบางส่วนบริษัทติดยี่ห้อของตนเอง แบบนี้ แม้ว่ายี่ห้อจะโดดเด่นเราก็อาจจะบอกว่ามันเป็นหุ้นโรงงานอยู่ดี เป็นต้น
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ผมไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรลงทุนในหุ้นโรงงานเลย เพียงแต่จะบอกว่าการลงทุนในหุ้นโรงงานนั้น เราจะต้องรู้ว่าบ่อยครั้งมันมีข้อจำกัดและเป็นเรื่องยากที่มันจะเป็นหุ้นที่ดีระดับซุปเปอร์สต็อกได้ ในบางช่วงบางตอนนั้น อุตสาหกรรมบางอย่างอยู่ในภาวะที่สดใสมากและมีการเชียร์จากนักวิเคราะห์และเซียนหุ้นมากมาย ตัวอย่างเช่นในอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอีเล็กโทรนิกส์ และอื่น ๆ จนทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปสูงมากมองจากค่า PE และ/หรือ PB แต่แล้วหลังจากนั้น เมื่อภาพอุตสาหกรรมเปลี่ยนไป กลับพบว่าหุ้นตกลงมามากมายและทำให้นักลงทุนเจ็บหนักจนคนเลิกสนใจไปเลย และนี่ก็อาจจะเป็นโอกาสลงทุนได้เหมือนกัน เพียงแต่เราต้องรู้ว่า หุ้นโรงงานตัวนั้นคุ้มค่าหรือไม่มองจากข้อจำกัดต่าง ๆ
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หุ้นโรงงาน
ถ้าจะถามว่าหุ้นกลุ่มไหนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีผลงานหรือให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นน้อยกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญและ “น่าผิดหวัง” มากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่ดัชนีตลาดได้ปรับตัวขึ้นมาอย่างโดดเด่น ผมอยากจะตอบว่าคือ “หุ้นโรงงาน” นี่ไม่ใช่หุ้นที่แบ่งตามภาคอุตสาหกรรมและไม่น่าจะมีใครมาจัดหมวดหมู่แต่ผมคิดว่ามันเป็นกลุ่มหุ้นที่มีลักษณะในการ “ทำมาหากิน” ที่คล้ายคลึงกันในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ และมันแตกต่างจากหุ้นกลุ่มอื่นที่ไม่มีใครจัดเป็นหมวดหมู่เหมือนกันอย่างเช่น “หุ้นโรงเรือน” หรือ “หุ้นมียี่ห้อโดดเด่น”
คำนิยามของ “หุ้นโรงงาน” ของผมก็คือ “หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ผลิตสินค้าเพื่อขายให้กับลูกค้าที่จะนำมันไปประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือนำไปจัดจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในชื่อยี่ห้อของเขา” ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ก็คือ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนสินค้าอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิกส์ บริษัทที่ผลิตวัตถุดิบที่ผู้ซื้อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปเช่น ผ้าผืนหรือผลิตภัณฑ์บรรจุหีบห่อ เช่น กระดาษ ฟิล์มแบบต่าง ๆ และผู้ผลิตที่เป็น OEM ซึ่งก็คือผลิตสินค้าสำเร็จรูปภายใต้ยี่ห้อของลูกค้า เป็นต้น
หุ้นโรงงานนั้นเป็นกิจการที่มีจุดด้อยหลาย ๆ ประการมองในแง่ของธุรกิจ ประการแรกก็คือ สินค้าของบริษัทนั้น มักจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีลักษณะเหมือน ๆ กับสินค้าของคู่แข่งหรือผู้ผลิตอื่นนั่นคือมันมีคุณสมบัติและรูปสมบัติเหมือน ๆ กัน สินค้าของบริษัทแยกไม่ออกจากสินค้าของบริษัทอื่นยกเว้นเครื่องหมายการค้าที่อาจจะติดอยู่ที่หีบห่อ ว่าที่จริง เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าเองนั้นก็อาจจะซื้อมาจากบริษัทเดียวกัน วัตถุดิบก็เหมือนกัน ดังนั้น สินค้าที่ผลิตออกมาจึงเหมือนกัน ความแตกต่างถ้าจะมีก็อาจจะมาจากความสามารถหรือฝีมือในการผลิตของพนักงานและการควบคุมคุณภาพซึ่งผมเองคิดว่าเป็นความได้เปรียบที่ไม่ใคร่จะยั่งยืนเนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไปคนก็ “เรียนทันกัน” ดังนั้น ราคาขายของสินค้าโรงงานจึงใกล้เคียงกันหมดและบริษัทกำหนดไม่ได้ ขึ้นอยู่กับราคาตลาด หรือราคาที่ทำให้บริษัทระดับกลาง ๆ พออยู่ได้ในภาวะปกติ
ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะช่วยให้บริษัทหนึ่งได้เปรียบคู่แข่งก็คือ ด้านของต้นทุนการผลิตที่อาจจะต่ำกว่าเนื่องจากเรื่องของค่าแรงและต้นทุนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเนื่องจากขนาดของกำลังการผลิตที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม นี่ยังไม่ทำให้ Margin หรือกำไรต่อยอดขายของบริษัทดีนัก เหตุผลก็คือ ในธุรกิจการรับจ้างผลิตนั้น ผู้ซื้อมักจะเป็นรายใหญ่มีอำนาจในการต่อรองสูง โดยเฉพาะบริษัทของญี่ปุ่นนั้นมักจะมีนโยบาย “Cost Down” คือขอให้ Supplier ลดราคาชิ้นส่วนหรือสินค้าที่ขายลงทุกปีอาจจะปีละ 2-3% ซึ่งอาจจะทำให้กำไรของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนโตได้ยาก และในกรณีที่ต้นทุนการผลิตเช่นค่าแรงเพิ่มขึ้นมากอย่างในช่วงเร็ว ๆ นี้ก็ทำให้กำไรของธุรกิจหุ้นโรงงานแทบจะไม่โตเลย
หุ้นโรงงานที่ผลิตสินค้าโดยเฉพาะที่เป็นชิ้นส่วนอีเล็กโทรนิกส์นั้น ส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมดก็จะเป็นการส่งออกซึ่งมักจะถูกกระทบจากปัจจัยหลายอย่างที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เรื่องของค่าเงินที่ผันผวนทำให้ผลประกอบการของบริษัทไม่ใคร่แน่นอน ในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งบริษัทมักขายสินค้าได้น้อยลง เช่นเดียวกับในยามที่เศรษฐกิจโลกอ่อนแอซึ่งทำให้ความต้องการสินค้าลดลง นอกจากนี้ ราคาของชิ้นส่วนอีเล็กโทรนิกส์เองก็ผันผวนคล้าย ๆ กับสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ เหมือนกัน ดูเหมือนว่าปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อธุรกิจในกลุ่มนี้อย่างชัดเจนจะเป็นเรื่องของค่าเงินบาทที่อ่อนลงอย่างที่กำลังเป็นอยู่ในช่วงนี้ที่ทำให้หุ้นโรงงานในกลุ่มนี้ดูดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มันจะดำรงอยู่นานเท่าไรก็เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก และนี่ก็ทำให้หุ้นเหล่านี้ไม่สามารถที่จะมีคุณค่าหรือมีค่า PE ที่สูงได้
จุดอ่อนของหุ้นโรงงานยังอยู่ที่ด้านของการผลิตที่มักจะต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์จำนวนมากที่ต้องมีการลงทุนสูงเมื่อเทียบกับยอดขาย ดังนั้น เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่ง บริษัทก็มักจะต้องลงทุนเพิ่มในอัตราที่ค่อนข้างสูง นอกจากการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่เป็นโรงงานและเครื่องจักรแล้ว บริษัทก็มักจะต้องลงทุนสต็อกวัตถุดิบ สินค้า และการให้เครดิตทางการค้าแก่ลูกค้าค่อนข้างยาว ทำให้เม็ดเงินต้องไปจมอยู่ค่อนข้างมากแม้ว่าบางส่วนจะได้รับการชดเชยจากผู้ขายวัตถุดิบให้แก่ตนเองก็ตาม ดังนั้น กำไรของบริษัทจึงมักจะไม่สามารถนำมาจ่ายเป็นปันผลได้มากเหมือนกับธุรกิจบริการอื่น ๆ ที่มักจะมีกระแสเงินสดดีกว่า ผลจากการนี้ทำให้ “คุณค่า” ของบริษัทโรงงานลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกิจการอื่นที่มีกระแสเงินสดสูงกว่าและทำให้ค่า PE รวมถึงค่า PB หรือราคาต่อมูลค่าทางบัญชีของหุ้นโรงงานมักจะไม่สูง
ความเสี่ยงที่ “รุนแรง” ของหุ้นโรงงานนั้นก็มีไม่น้อยอยู่เหมือนกัน เรื่องแรกก็คือ โรงงานอาจจะ“ล้าสมัย” ได้เร็วกว่าที่กำหนดไว้ตามหลักการทางบัญชีที่ส่วนมากกำหนดไว้ประมาณ 10 ปี นี่ทำให้บริษัทต้องลงทุนปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ใหม่เร็วกว่ากำหนดเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ และนี่ก็เป็นต้นทุนที่อาจจะไม่ก่อให้เกิดรายได้และกำไรมากนัก ความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะรุนแรงยิ่งกว่าก็คือ การสูญเสียผู้ซื้อรายใหญ่ที่อาจจะมีมูลค่าการซื้อหลายสิบเปอร์เซ็นต์ของบริษัท และนี่อาจจะทำให้ผลประกอบการของบริษัททรุดได้อย่างไม่คาดฝัน การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่นั้นอาจจะมีสาเหตุได้หลากหลายมาก เช่น ลูกค้ารายใหญ่อาจจะหันไปซื้อจากคู่แข่งที่ทำได้ดีกว่าหรือต้นทุนต่ำกว่าและบริษัทไม่สามารถแข่งขันได้ หรือลูกค้าอาจจะไปซื้อบริษัทหรือขยายงานเพื่อทำชิ้นส่วนเอง หรืออุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีอาจจะเปลี่ยนไปทำให้ชิ้นส่วนเดิมไม่ถูกใช้อีกต่อไป สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้ “พื้นฐาน”ของบริษัทเปลี่ยนไปและอาจกลายเป็น “หายนะ” ของการลงทุนในหุ้นโรงงานได้
การวิเคราะห์เพื่อที่จะกำหนดว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้นโรงงานนั้น บางบริษัทก็ชัดเจนตรงตามคุณสมบัติดังที่กล่าว อย่างไรก็ตาม บางบริษัทก็อาจจะไม่ชัดนัก เหตุผลก็อาจจะมีหลากหลาย ถ้าบริษัทมีโรงงานเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตแต่สิ่งที่โรงงานผลิตนั้น ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่มียี่ห้อโดดเด่นที่ผู้บริโภคเรียกหาและบริษัทเป็นเจ้าของ แบบนี้ต้องถือว่ามันไม่ใช่หุ้นโรงงาน ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่แล้วผลิตเป็น OEM ในขณะที่ส่วนน้อยหรือบางส่วนบริษัทติดยี่ห้อของตนเอง แบบนี้ แม้ว่ายี่ห้อจะโดดเด่นเราก็อาจจะบอกว่ามันเป็นหุ้นโรงงานอยู่ดี เป็นต้น
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ผมไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรลงทุนในหุ้นโรงงานเลย เพียงแต่จะบอกว่าการลงทุนในหุ้นโรงงานนั้น เราจะต้องรู้ว่าบ่อยครั้งมันมีข้อจำกัดและเป็นเรื่องยากที่มันจะเป็นหุ้นที่ดีระดับซุปเปอร์สต็อกได้ ในบางช่วงบางตอนนั้น อุตสาหกรรมบางอย่างอยู่ในภาวะที่สดใสมากและมีการเชียร์จากนักวิเคราะห์และเซียนหุ้นมากมาย ตัวอย่างเช่นในอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอีเล็กโทรนิกส์ และอื่น ๆ จนทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปสูงมากมองจากค่า PE และ/หรือ PB แต่แล้วหลังจากนั้น เมื่อภาพอุตสาหกรรมเปลี่ยนไป กลับพบว่าหุ้นตกลงมามากมายและทำให้นักลงทุนเจ็บหนักจนคนเลิกสนใจไปเลย และนี่ก็อาจจะเป็นโอกาสลงทุนได้เหมือนกัน เพียงแต่เราต้องรู้ว่า หุ้นโรงงานตัวนั้นคุ้มค่าหรือไม่มองจากข้อจำกัดต่าง ๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 224
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นโรงงาน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
ละเอียด ครบถ้วน ครอบคลุม และมีประโยชน์มากๆ อย่างทุกครั้งเลยครับ
ขอบคุณ ดร. มากครับ
ขอบคุณ ดร. มากครับ
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นโรงงาน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณมากครับ ดร.ครับ
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นโรงงาน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
จุดนึงที่ผมตกหลุมหุ้นโรงงานคือ งบการเงินวิเคราะห์และเข้าใจง่ายครับ
มันก็เลยเหมือนกับที่เค้าว่ากันว่า ให้ลงทุนในธุรกิจที่เข้าใจง่าย
ความหมายมันเลยไม่เหมือนกัน งบการเงินเข้าใจง่ายไม่ใช่ธุรกิจที่เข้าใจง่าย ครับ กับดักมันอยู่ตรงนี้
ตอนนี้ผมหนีจากกับดักนั้นแล้วครับ ดร.
มันก็เลยเหมือนกับที่เค้าว่ากันว่า ให้ลงทุนในธุรกิจที่เข้าใจง่าย
ความหมายมันเลยไม่เหมือนกัน งบการเงินเข้าใจง่ายไม่ใช่ธุรกิจที่เข้าใจง่าย ครับ กับดักมันอยู่ตรงนี้
ตอนนี้ผมหนีจากกับดักนั้นแล้วครับ ดร.
- kotaro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1496
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นโรงงาน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณ อาจารย์มากครับ
สิ่งหนึ่งที่อาจารย์วิเคราะห์นั้น ไม่ใช่วิเคราะห์แค่หุ้น แต่อาจารย์วิเคราะห์ถึง nature of business เลยครับ
ลองว่าแชร์กันดูนะครับ ว่าถ้าดูตาม Supply Chain ง่ายๆแบบนี้คือ
Manufacturer --> Wholesaler --> Retailer --> customer
3 กลุ่มนี้ คือ Manufacturer หรือ กลุ่มโรงงาน
Wholesaler หรือกลุ่มค้าส่ง
Retailer หรือกลุ่มค้าปลีก
เพื่อนๆคิดว่าสินค้าที่ผลิตจาก โรงงาน จนไปถึงมือ customer นั้น
GPM % ที่ manufacture , wholesaler และ retailer จะได้ส่วนแบ่งกันเท่าไหร่
เห็นตัวเลขแล้วจะไม่อยากเป็น manufacturer และ wholesaler เลยครับ
สิ่งหนึ่งที่อาจารย์วิเคราะห์นั้น ไม่ใช่วิเคราะห์แค่หุ้น แต่อาจารย์วิเคราะห์ถึง nature of business เลยครับ
ลองว่าแชร์กันดูนะครับ ว่าถ้าดูตาม Supply Chain ง่ายๆแบบนี้คือ
Manufacturer --> Wholesaler --> Retailer --> customer
3 กลุ่มนี้ คือ Manufacturer หรือ กลุ่มโรงงาน
Wholesaler หรือกลุ่มค้าส่ง
Retailer หรือกลุ่มค้าปลีก
เพื่อนๆคิดว่าสินค้าที่ผลิตจาก โรงงาน จนไปถึงมือ customer นั้น
GPM % ที่ manufacture , wholesaler และ retailer จะได้ส่วนแบ่งกันเท่าไหร่
เห็นตัวเลขแล้วจะไม่อยากเป็น manufacturer และ wholesaler เลยครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นโรงงาน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
ขอแถม
developer vs contractor ด้วยคับ
หรือจะเป็น apple vs fox con ก็ได้
เสริมจากพี่ kotaro
บ. ที่ดี ไม่ใช่แค่มีอำนาจต่อรอง หรือ ใกล้ชิด ผบภ จนปรับราคาได้ง่าย
แต่มันรวมถึงการผลักความเสี่ยงต่างๆ ออกจาก บ.
แล้ว transfer ไป ให้ บ. อื่นได้ด้วย
developer vs contractor ด้วยคับ
หรือจะเป็น apple vs fox con ก็ได้
เสริมจากพี่ kotaro
บ. ที่ดี ไม่ใช่แค่มีอำนาจต่อรอง หรือ ใกล้ชิด ผบภ จนปรับราคาได้ง่าย
แต่มันรวมถึงการผลักความเสี่ยงต่างๆ ออกจาก บ.
แล้ว transfer ไป ให้ บ. อื่นได้ด้วย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1523
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นโรงงาน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
http://pantip.com/topic/30992849
อ่านด้วยฟังบทสัมภาษณ์ด้วยยิ่งเห็นภาพชัดเจนมากๆครับขอบคุณอาจารย์ครับ
อ่านด้วยฟังบทสัมภาษณ์ด้วยยิ่งเห็นภาพชัดเจนมากๆครับขอบคุณอาจารย์ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 469
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นโรงงาน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 16
หุ้นโรงเรือน Contributed by ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ระยะนี้มีหุ้นกลุ่มหนึ่งที่มีราคาปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น หุ้นกลุ่มนี้กระจายอยู่ในหลายหมวดอุตสาหกรรมและทำธุรกิจแตกต่างกันออกไปค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มนี้มีคุณลักษณะร่วมที่คล้ายคลึงกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นก็คือ หุ้นกลุ่มนี้เป็นหุ้นที่มีทรัพย์สินที่ใช้ทำมาหากินหลักที่เป็นอาคารหรือเป็นโรงเรือนหรือเป็นร้านค้า
เหตุผลที่ทำให้หุ้นโรงเรือนมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในช่วงนี้ผมคิดว่าเหตุผลหนึ่งอาจจะมาจากการที่ราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร ที่ดิน หรือสิทธิการเช่าต่าง ๆ มีราคาปรับตัวขึ้นหลังจากที่เศรษฐกิจฟื้นจากภาวะวิกฤติ ดังนั้น กิจการที่มีทรัพย์สินที่เป็นอาคาร ที่ดิน มาก ก็จะได้ประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของราคาทรัพย์สินนั้น และนักลงทุนเริ่มเห็น
เหตุผลข้อสองก็คือ การที่ธุรกิจต้องอาศัยอาคารโรงเรือนในการประกอบธุรกิจ นั่นหมายความว่าลูกค้าต้องเดินทางมาใช้บริการ และนั่นหมายความว่า ลูกค้าอาจจะไม่อยากเดินทางไกลเพื่อไปหาซื้อของหรือบริการจากคู่แข่งหรือร้านอื่นถ้าผลประโยชน์ที่จะได้รับไม่คุ้มที่จะทำ นี่อาจจะก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Local Monopoly หรือการผูกขาดในท้องถิ่นเนื่องจากทำเลของสถานที่ให้บริการ
เหตุผลข้อสุดท้ายอาจจะเป็นเรื่องของทำเลที่กิจการมีอยู่อาจจะโดดเด่นมากและเป็นทำเลที่หาไม่ได้อีกหรือหาได้ยากมาก หรือเรียกว่าเป็น Strategic Location ดังนั้น กิจการจึงมีความได้เปรียบอย่างยั่งยืน และความได้เปรียบนี้กำลังแสดงให้เห็นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ว่าสามารถทำเงินได้มากขึ้นเรื่อย ๆ
แน่นอน มีเหตุผลอื่น ๆ ด้วยที่เข้ามาประกอบที่ทำให้บริษัทมีความโดดเด่นและทำกำไรได้ดีนอกจากเรื่องของโรงเรือน ทั้งในด้านของแนวโน้มอุตสาหกรรม ผู้บริหาร และอื่น ๆ แต่การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่โดดเด่นในช่วงนี้ผมคิดว่าหนีไม่พ้นว่าส่วนสำคัญอย่างหนึ่งน่าจะเกิดจากปัจจัยทางด้านของโรงเรือนจนน่าจะพูดได้ว่าเป็น คลื่นของหุ้นกลุ่มโรงเรือน เพราะหุ้นจำนวนมากในกลุ่มนี้ปรับตัวขึ้นกันเป็นระลอก มาดูกันว่ามีหุ้นกลุ่มไหนบ้าง
หุ้นกลุ่มแรกก็คือ หุ้นค้าปลีกสมัยใหม่หรือ Modern Trade ที่ผมเคยพูดไว้ในหลายโอกาสหุ้นกลุ่มนี้เป็นสุดยอดของหุ้นโรงเรือน เพราะมีร้านค้ากระจายกันไปมากมายทั่วประเทศ การแข่งขันกับคู่แข่งมักจะมีจำกัดด้วยเงื่อนไขของระยะห่างของแต่ละร้านซึ่งก่อให้เกิด Local Monopoly อ่อน ๆ และนี่ทำให้หุ้นในกลุ่มนี้มีราคาปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นมาเป็นเวลาพอสมควรและน่าจะเป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มหนึ่งในช่วงนี้
หุ้นของกิจการที่ขึ้นชื่อด้วยคำว่าโรงดูเหมือนว่าจะมีความโดดเด่นและดีขึ้นต่อเนื่อง เริ่มจากหุ้นของโรงพยาบาลบางแห่งที่มีชื่อเสียงโดดเด่น ตามมาด้วยโรงพยาบาลที่ขยายตัวเร็ว และสุดท้ายถึงโรงพยาบาลทั่ว ๆ ไป ทั้ง ๆ ที่ในอดีตโรงพยาบาลเป็นหุ้นที่เงียบเหงาไม่ไปไหน โรงพยาบาลนั้น ชัดเจนว่ามีอำนาจในการผูกขาดในระดับท้องถิ่นไม่น้อย และโรงพยาบาลนั้นมักจะไม่ต้องแข่งขันกันทางด้านราคามากนัก ทำให้กำไรของโรงพยาบาลค่อนข้างจะสม่ำเสมอและเพิ่มขึ้นอย่างมีเหตุผลโดยที่อำนาจต่อรองของลูกค้าแทบไม่มี
หุ้นที่ขึ้นต้นด้วยคำว่าโรงกลุ่มต่อไปก็คือหุ้นโรงแรม หุ้นกลุ่มนี้ที่โดดเด่นน่าจะเริ่มจากโรงแรมที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีธุรกิจอื่นประกอบเฉพาะอย่างยิ่งก็คือร้านอาหาร ตามมาด้วยโรงแรมที่ดูเหมือนว่าจะมีทรัพย์สินคือตัวโรงแรมที่มีค่าสูงถ้าจะสร้างใหม่ และในที่สุดก็คงตามมาด้วยโรงแรมทั่ว ๆ ไป
หุ้นโรงต่อไปก็คือหุ้นโรงงานหรือหุ้นที่ทำโรงงานขายและ/หรือให้เช่า ซึ่งก็น่าจะเกิดจากการที่ทรัพย์สินมีค่ามากขึ้นเมื่อมีการขายทรัพย์สินออกไปเฉพาะอย่างยิ่งโดยผ่านทางกองทุนอสังหาริมทรัพย์ก็ทำให้เกิดกำไรอย่างมีนัยสำคัญและมีผลทำให้หุ้นมีผลงานที่โดดเด่นน่าประทับใจ
หุ้นโรงเรือนที่สร้างผลงานได้ดีพอสมควรยังประกอบไปด้วยหุ้นของกิจการภัตตาคาร หุ้นโรงภาพยนต์ หุ้นที่ทำช็อปปิงมอล และอาจจะมีหุ้นอื่น ๆ ที่ผมคิดไม่ถึงและไม่มีพื้นที่พอที่จะบรรยายได้หมด แต่ก็เป็นจุดที่นักลงทุนสามารถที่จะไปค้นหาและอาจจะพบหุ้นที่เข้าข่ายนี้ซึ่งอาจจะมีศักยภาพที่จะทำกำไรที่โดดเด่นได้ ข้อที่น่าสังเกตก็คือ หุ้นของบริษัททำบ้านจัดสรรขายนั้นในความเห็นของผม ไม่ใช่หุ้นโรงเรือน เพราะในภาวะปัจจุบันนั้น บริษัทส่วนใหญ่ไม่สะสมที่ดินเพื่อพัฒนาอย่างในสมัยก่อน
[b]อย่างไรก็ตาม คงไม่ใช่ทุกบริษัทหรือทุกหุ้นที่เป็นหุ้นโรงเรือนแล้วจะต้องเป็นหุ้นที่ดีน่าลงทุนไปหมด เพราะหุ้นโรงเรือนบางตัวอาจจะไม่ดีจริง หรือหุ้นโรงเรือนบางตัวอาจจะมีราคาขึ้นไปสูงมากเกินไปแล้ว การลงทุนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นหนีไม่พ้นที่จะต้องวิเคราะห์ตามมาตรฐานของ Value Investment ทุกประการ การเป็นหุ้นโรงเรือนนั้น อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์ เพราะนี่เป็น คลื่น ที่น่าจะก่อตัวขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว
ระยะนี้มีหุ้นกลุ่มหนึ่งที่มีราคาปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น หุ้นกลุ่มนี้กระจายอยู่ในหลายหมวดอุตสาหกรรมและทำธุรกิจแตกต่างกันออกไปค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มนี้มีคุณลักษณะร่วมที่คล้ายคลึงกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นก็คือ หุ้นกลุ่มนี้เป็นหุ้นที่มีทรัพย์สินที่ใช้ทำมาหากินหลักที่เป็นอาคารหรือเป็นโรงเรือนหรือเป็นร้านค้า
เหตุผลที่ทำให้หุ้นโรงเรือนมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในช่วงนี้ผมคิดว่าเหตุผลหนึ่งอาจจะมาจากการที่ราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร ที่ดิน หรือสิทธิการเช่าต่าง ๆ มีราคาปรับตัวขึ้นหลังจากที่เศรษฐกิจฟื้นจากภาวะวิกฤติ ดังนั้น กิจการที่มีทรัพย์สินที่เป็นอาคาร ที่ดิน มาก ก็จะได้ประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของราคาทรัพย์สินนั้น และนักลงทุนเริ่มเห็น
เหตุผลข้อสองก็คือ การที่ธุรกิจต้องอาศัยอาคารโรงเรือนในการประกอบธุรกิจ นั่นหมายความว่าลูกค้าต้องเดินทางมาใช้บริการ และนั่นหมายความว่า ลูกค้าอาจจะไม่อยากเดินทางไกลเพื่อไปหาซื้อของหรือบริการจากคู่แข่งหรือร้านอื่นถ้าผลประโยชน์ที่จะได้รับไม่คุ้มที่จะทำ นี่อาจจะก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Local Monopoly หรือการผูกขาดในท้องถิ่นเนื่องจากทำเลของสถานที่ให้บริการ
เหตุผลข้อสุดท้ายอาจจะเป็นเรื่องของทำเลที่กิจการมีอยู่อาจจะโดดเด่นมากและเป็นทำเลที่หาไม่ได้อีกหรือหาได้ยากมาก หรือเรียกว่าเป็น Strategic Location ดังนั้น กิจการจึงมีความได้เปรียบอย่างยั่งยืน และความได้เปรียบนี้กำลังแสดงให้เห็นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ว่าสามารถทำเงินได้มากขึ้นเรื่อย ๆ
แน่นอน มีเหตุผลอื่น ๆ ด้วยที่เข้ามาประกอบที่ทำให้บริษัทมีความโดดเด่นและทำกำไรได้ดีนอกจากเรื่องของโรงเรือน ทั้งในด้านของแนวโน้มอุตสาหกรรม ผู้บริหาร และอื่น ๆ แต่การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่โดดเด่นในช่วงนี้ผมคิดว่าหนีไม่พ้นว่าส่วนสำคัญอย่างหนึ่งน่าจะเกิดจากปัจจัยทางด้านของโรงเรือนจนน่าจะพูดได้ว่าเป็น คลื่นของหุ้นกลุ่มโรงเรือน เพราะหุ้นจำนวนมากในกลุ่มนี้ปรับตัวขึ้นกันเป็นระลอก มาดูกันว่ามีหุ้นกลุ่มไหนบ้าง
หุ้นกลุ่มแรกก็คือ หุ้นค้าปลีกสมัยใหม่หรือ Modern Trade ที่ผมเคยพูดไว้ในหลายโอกาสหุ้นกลุ่มนี้เป็นสุดยอดของหุ้นโรงเรือน เพราะมีร้านค้ากระจายกันไปมากมายทั่วประเทศ การแข่งขันกับคู่แข่งมักจะมีจำกัดด้วยเงื่อนไขของระยะห่างของแต่ละร้านซึ่งก่อให้เกิด Local Monopoly อ่อน ๆ และนี่ทำให้หุ้นในกลุ่มนี้มีราคาปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นมาเป็นเวลาพอสมควรและน่าจะเป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มหนึ่งในช่วงนี้
หุ้นของกิจการที่ขึ้นชื่อด้วยคำว่าโรงดูเหมือนว่าจะมีความโดดเด่นและดีขึ้นต่อเนื่อง เริ่มจากหุ้นของโรงพยาบาลบางแห่งที่มีชื่อเสียงโดดเด่น ตามมาด้วยโรงพยาบาลที่ขยายตัวเร็ว และสุดท้ายถึงโรงพยาบาลทั่ว ๆ ไป ทั้ง ๆ ที่ในอดีตโรงพยาบาลเป็นหุ้นที่เงียบเหงาไม่ไปไหน โรงพยาบาลนั้น ชัดเจนว่ามีอำนาจในการผูกขาดในระดับท้องถิ่นไม่น้อย และโรงพยาบาลนั้นมักจะไม่ต้องแข่งขันกันทางด้านราคามากนัก ทำให้กำไรของโรงพยาบาลค่อนข้างจะสม่ำเสมอและเพิ่มขึ้นอย่างมีเหตุผลโดยที่อำนาจต่อรองของลูกค้าแทบไม่มี
หุ้นที่ขึ้นต้นด้วยคำว่าโรงกลุ่มต่อไปก็คือหุ้นโรงแรม หุ้นกลุ่มนี้ที่โดดเด่นน่าจะเริ่มจากโรงแรมที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีธุรกิจอื่นประกอบเฉพาะอย่างยิ่งก็คือร้านอาหาร ตามมาด้วยโรงแรมที่ดูเหมือนว่าจะมีทรัพย์สินคือตัวโรงแรมที่มีค่าสูงถ้าจะสร้างใหม่ และในที่สุดก็คงตามมาด้วยโรงแรมทั่ว ๆ ไป
หุ้นโรงต่อไปก็คือหุ้นโรงงานหรือหุ้นที่ทำโรงงานขายและ/หรือให้เช่า ซึ่งก็น่าจะเกิดจากการที่ทรัพย์สินมีค่ามากขึ้นเมื่อมีการขายทรัพย์สินออกไปเฉพาะอย่างยิ่งโดยผ่านทางกองทุนอสังหาริมทรัพย์ก็ทำให้เกิดกำไรอย่างมีนัยสำคัญและมีผลทำให้หุ้นมีผลงานที่โดดเด่นน่าประทับใจ
หุ้นโรงเรือนที่สร้างผลงานได้ดีพอสมควรยังประกอบไปด้วยหุ้นของกิจการภัตตาคาร หุ้นโรงภาพยนต์ หุ้นที่ทำช็อปปิงมอล และอาจจะมีหุ้นอื่น ๆ ที่ผมคิดไม่ถึงและไม่มีพื้นที่พอที่จะบรรยายได้หมด แต่ก็เป็นจุดที่นักลงทุนสามารถที่จะไปค้นหาและอาจจะพบหุ้นที่เข้าข่ายนี้ซึ่งอาจจะมีศักยภาพที่จะทำกำไรที่โดดเด่นได้ ข้อที่น่าสังเกตก็คือ หุ้นของบริษัททำบ้านจัดสรรขายนั้นในความเห็นของผม ไม่ใช่หุ้นโรงเรือน เพราะในภาวะปัจจุบันนั้น บริษัทส่วนใหญ่ไม่สะสมที่ดินเพื่อพัฒนาอย่างในสมัยก่อน
[b]อย่างไรก็ตาม คงไม่ใช่ทุกบริษัทหรือทุกหุ้นที่เป็นหุ้นโรงเรือนแล้วจะต้องเป็นหุ้นที่ดีน่าลงทุนไปหมด เพราะหุ้นโรงเรือนบางตัวอาจจะไม่ดีจริง หรือหุ้นโรงเรือนบางตัวอาจจะมีราคาขึ้นไปสูงมากเกินไปแล้ว การลงทุนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นหนีไม่พ้นที่จะต้องวิเคราะห์ตามมาตรฐานของ Value Investment ทุกประการ การเป็นหุ้นโรงเรือนนั้น อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์ เพราะนี่เป็น คลื่น ที่น่าจะก่อตัวขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว