แววเซียน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
แววเซียน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 26 ตุลาคม 56
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
แววเซียน
จากประสบการณ์ของผม คนที่มีความสามารถพิเศษ มี “พรสวรรค์” และประสบความสำเร็จในการงานสูงนั้น มักจะมีประวัติในตอนเด็กจนถึงประมาณอายุ 20 ปี หรือตอนจบปริญญาตรี ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเขาจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในงานบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับความชอบ คุณสมบัติทางร่างกายและสมอง และทักษะของเขา ตัวอย่างเช่น ไทเกอร์ วู้ด นักกอล์ฟมือหนึ่งของโลกนั้น เขาจับไม้กอล์ฟและชอบตีกอล์ฟตั้งแต่เป็นเด็กเล็กมากถือไม้แทบไม่ไหว แน่นอนว่าพ่อของเขานั้นตั้งใจฝึกเขาตั้งแต่ยังเล็กมากและนั่นอาจทำให้เขาชอบ แต่ร่างกายและสมองของเขาก็คงต้องมีส่วนอยู่ไม่น้อยที่ทำให้เขาตีได้ดี หลาย ๆ อย่างคงประกอบกันทำให้ ไทเกอร์ วู้ด กลายเป็นยอดนักกอล์ฟในตำนานคนหนึ่ง
สตีป จ็อบส์ ผู้ก่อตั้งและสร้างผลิตภัณฑ์ของแอบเปิลคอมพิวเตอร์และถือว่าเป็นตำนานของนักประดิษฐ์มือต้น ๆ ที่โลกรู้จักนั้น ในวัยที่ยังเป็นเด็กวัยรุ่นเขาน่าจะเป็นนักคิดและมีจินตนาการสูง ผมไม่รู้จักประวัติของเขามากนัก แต่ทราบว่าเขาเคยเดินทางไปแสวงหาความหมายของชีวิตในเอเซียและหันมานับถือศาสนาพุทธ เขาเคยเรียนการออกแบบตัวอักษรแบบต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ที่สำคัญเขาหมกมุ่นเล่นและคลุกคลีกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในช่วงที่อุปกรณ์ชนิดนี้เพิ่งถือกำเนิดขึ้นบนโลก ในกรณีนี้ “สถานการณ์” และ “โอกาสที่ได้สัมผัส” มีส่วนสำคัญที่ทำให้จ็อบส์กลายเป็นอัจฉริยะทางด้าน IT และกลายเป็นตำนานของนักประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ที่คนทั้งโลกต่างก็ต้องการใช้อย่างแอบเปิล
ในเรื่องของการลงทุนนั้น ดูเหมือนว่าจะไม่มีใครเหนือไปกว่า วอเร็น บัฟเฟตต์ แต่อัฉริยะภาพของเขานั้น ไม่ได้เกิดเมื่อเขาเรียนจบ ทำงาน และเริ่มลงทุน เรามาดูประวัติของบัฟเฟตต์ตั้งแต่เด็กจนถึงเรียนจบปริญญาตรีและโทก็จะพบว่า “แวว” ของความเป็น “เซียน” ของบัฟเฟตต์นั้น น่าจะเริ่มตั้งแต่เขายังเป็นเด็กชั้นอนุบาลและก็พัฒนาไปเรื่อย ๆ ไม่มีหยุด
ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ บัฟเฟตต์ก็เริ่มรู้จักเร่ขายโค๊ก โดยเขาซื้อโค๊กมาเป็นแพ็ค ๆ ละ 6 ขวดในราคา 25 เซ็นต์ แต่ขายมันในราคาขวดละ 5 เซ็นต์ซึ่งทำให้เขาได้เงิน 30 เซ็นต์ ได้กำไร 5 เซ็นต์ หรือคิดเป็นกำไร 16% ของยอดขาย ความสนใจในการที่จะ “หาเงิน” ของเขานั้นคงจะวนเวียนอยู่กับเขาตลอดเวลา เพราะว่าแค่อายุ 11 ขวบ เขาก็เริ่มซื้อหุ้นตัวแรก ซึ่งก็คือหุ้นบุริมสิทธิของบริษัท Cities Service โดยที่เขาซื้อร่วมกับพี่สาว เป็นจำนวน 6 หุ้น ในราคาหุ้นละ 38 เหรียญ พอซื้อแล้วราคาก็ตกลงมาเหลือ 27 เหรียญ ซึ่งทำให้พี่สาวเขากังวลและถามเขาทุกวันว่ามันจะเป็นอย่างไร ดังนั้น พอหุ้น Cities Service ปรับตัวขึ้นมาเป็น 40 เหรียญ เขาก็ขายมันไป และแทบจะทันทีหลังจากนั้น หุ้นก็ปรับตัวขึ้นไปจนถึง 200 เหรียญ สอนบทเรียนให้บัฟเฟตต์รู้ว่าเขาไม่ควรรีบขายหุ้นเพราะกลัวว่าหุ้นจะตก
เหตุผลที่บัฟเฟตต์ซื้อหุ้นตั้งแต่เด็กนั้นไม่ได้มีการกล่าวถึง แต่ผมเชื่อว่าเป็นเพราะพ่อของบัฟเฟตต์เป็นเจ้าของและทำธุรกิจเป็นโบรกเกอร์ซื้อขายหุ้น ดังนั้น บัฟเฟตต์คงคุ้นเคยกับหุ้นตั้งแต่เด็ก เขาคงรู้ว่าหุ้นนั้นมีราคาขึ้นลงและเป็นหนทางหรือเครื่องมือในการทำเงินให้เขาได้ และดังนั้นเขาจึงเข้าไปลองดู ความต้องการที่จะหาเงินของบัฟเฟตต์ หรือแรงขับที่จะสร้างความร่ำรวยของบัฟเฟตต์นั้นเป็นที่ประจักษ์ เพราะเมื่อเขาอายุแค่ 13 ขวบ เขาก็ประกาศว่าเขาจะเป็นเศรษฐีเงินล้านเมื่ออายุ 30 ปี และถ้าไม่เป็นอย่างนั้นเขาก็จะไป “กระโดดตึกที่สูงที่สุดในเมืองโอมาฮา”
บัฟเฟตต์เริ่มทำงานเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์ตั้งแต่อายุ 13 ขวบ เขาขยายสมาชิกและเส้นทางส่งหนังสือพิมพ์ไปจนมีสมาชิกถึง 500 รายต่อวัน พออายุถึง 15 ขวบ เขาก็สามารถทำเงินได้ถึงสัปดาห์ละ 175 เหรียญซึ่งเท่ากับเงินเดือนของผู้ใหญ่อายุ 25 ปีทีเดียว
การลงทุนเพื่อหาเงินหรือทำกำไรของบัฟเฟตต์นั้น ดูเหมือนจะไม่จำกัดว่าเป็นอะไร เพราะเมื่อเขาอายุ 14 ขวบและคงมีเงินเก็บอยู่พอสมควรนั้น เขาก็ได้ซื้อฟาร์มขนาด 40 เอเคอร์หรือประมาณ 100 ไร่ ในราคา 1,200 เหรียญเพื่อเก็งกำไร พอถึงอายุ 17 ปี ซึ่งบัฟเฟตต์กำลังเรียนในปีสุดท้ายของชั้นมัธยม เขาก็เริ่ม “ทำธุรกิจ” นั่นก็คือ เขาซื้อเครื่องเล่นพินบอลเก่าในราคาเครื่องละ 25 เหรียญไปวางไว้ที่ร้านตัดผมเพื่อให้ลูกค้าหยอดเหรียญเล่น ภายในเวลาไม่กี่เดือน เขาก็มีเครื่องเล่นวางถึง 3 จุด ซึ่งเขาก็ขายธุรกิจนี้ให้กับนายทหารผ่านศึกคนหนึ่งในปีเดียวกันที่ราคา 1,200 เหรียญ ในเวลานั้น บัฟเฟตต์มีเงินไม่ต่ำกว่า 5,000 เหรียญแล้วโดยเฉพาะจากการทำงานส่งหนังสือพิมพ์ ดูเหมือนว่าเขาจะมีความสุขกับการหาเงินมากจนไม่ใคร่อยากจะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม พ่อเขาก็กดดันให้เขาเรียน และบัฟเฟตต์เองก็ได้รับการตอบรับให้เรียนที่วาร์ตันซึ่งเป็นคณะบัญชีและการเงินของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียอันโด่งดัง
ถึงจุดนี้คงต้องกล่าวเสริมว่าบัฟเฟตต์นั้นเป็นเด็กที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญในเรื่องของตัวเลขและคณิตศาสตร์ และการที่สามารถเข้าเรียนที่วาร์ตันได้นั้นแสดงให้เห็นว่าเขาน่าจะ “หัวดี” ทีเดียว เพียงแต่อาจจะไม่ใคร่ชอบเรียน เขาบ่นว่าเขา “รู้ดีกว่าอาจารย์” และนั่นอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เขาย้ายมหาวิทยาลัยกลับไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเนบราสกาที่บ้านเกิดในปี 3 และเรียนจบใน 3 ปีครึ่ง เวลานั้นเขาอายุเพียง 20 ปี และมีเงินเก็บถึงเกือบหนึ่งหมื่นเหรียญซึ่งถือว่ามากทีเดียว
จุดเปลี่ยนชีวิตจริง ๆ ของบัฟเฟตต์อาจจะอยู่ที่การเรียนปริญญาโทซึ่งเขาสมัครที่คณะบริหารธุรกิจฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยระดับต้น ๆ ของโลก แต่ได้รับการปฏิเสธ เขาจึงสมัครและได้รับการตอบรับให้เข้าเรียนที่โคลัมเบีย มหาวิทยาลัยที่โดดเด่นพอ ๆ กันเมื่อเขารู้ว่า เบน เกรแฮม อาจารย์และนักลงทุนที่มีชื่อเสียงทางด้านการวิเคราะห์หลักทรัพย์สอนอยู่ที่นั่น และนี่ก็เป็นสัญญาณอีกอย่างหนึ่งว่าบัฟเฟตต์เองนั้นคงเรียนดีมากจึงสามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำแบบนี้ได้
เมื่อเรียนจบ บัฟเฟตต์เสนอตัวทำงานให้กับเบน เกรแฮม โดยไม่รับเงินเดือนเพื่อที่จะได้เรียนรู้กับอาจารย์ในทางปฏิบัติ และแม้ว่าบัฟเฟตต์จะเป็นนักเรียนเกรด A+ เพียงคนเดียวของเกรแฮม แต่เขากลับไม่รับบัฟเฟตต์เนื่องจากเขาต้องการให้คนยิวซึ่งด้อยโอกาสได้งานนั้น ทำให้บัฟเฟตต์เดินทางกลับบ้านไปทำงานในบริษัทโบรกเกอร์ของพ่อ สองปีต่อมา เบน เกรแฮม จึงเสนองานให้กับบัฟเฟตต์ซึ่งเขาตอบรับทันทีและได้ทำงานเป็นเวลาสองปีก่อนที่เกรแฮมจะเกษียณปิดบริษัท บัฟเฟตต์ ซึ่งอายุ 26 ปี มีเงินถึง 140,000 เหรียญ จึงกลับโอมาฮาและตั้งกองทุนบริหารหุ้นให้กับญาติและคนรู้จัก และเริ่มตำนานการลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบัน
ประเด็นของเรื่องทั้งหมดที่ผมต้องการนำเสนอก็คือ “เส้นทางชีวิต” ของคนโดยทั่วไปนั้น โดยสาระสำคัญแล้ว มันเป็นเส้นที่มีความต่อเนื่องไม่ขาดตอน มันคงคล้าย ๆ กับระบบอานาล็อกที่ไม่ใช่การเปลี่ยนแบบ 0 หรือ 1 แต่ค่อย ๆ พัฒนาไปเรื่อย ๆ ชีวิตของคนนั้นเริ่มต้นตั้งแต่เกิดและค่อย ๆ เติบโตขึ้นจนเป็นผู้ใหญ่ ความสามารถต่าง ๆ หรือศักยภาพต่าง ๆ มีมาตั้งแต่เกิด ความสนใจความชอบค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตในบางเรื่องมากกว่าเรื่องอื่น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ประกอบเข้าด้วยกันทำให้คน ๆ หนึ่งค่อย ๆ พัฒนาไปในทิศทางที่ชัดเจนที่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่เด็ก น้อยคนที่จะมีชีวิตที่หักเหไปจากสาระสำคัญเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่แล้วคนเราถ้าจะหักเห ก็มักจะหักเหในรายละเอียด เช่น สาระสำคัญก็คือ คน ๆ หนึ่งนั้น เส้นทางคือ ความร่ำรวย แต่รายละเอียดอาจจะเป็นว่าคน ๆ นั้นควรจะรวยจากการทำงานด้วยแรงงาน แต่แล้วชีวิต “ผกผัน” กลายเป็นรวยจากการลงทุน เป็นต้น ด้วยตรรกะแบบนี้ ผมจึงสรุปว่า คนแทบทุกคนมี “แวว” ตั้งแต่เด็กแล้วว่าเขาจะเป็นอย่างไรเมื่อเขาโตขึ้น เป็นสิ่งที่ยากมากที่คนจะ “เปลี่ยนไป” เมื่อเป็นผู้ใหญ่ เซียนนั้นมักจะต้องมีพื้นฐานเป็นเซียนเสมอ
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
แววเซียน
จากประสบการณ์ของผม คนที่มีความสามารถพิเศษ มี “พรสวรรค์” และประสบความสำเร็จในการงานสูงนั้น มักจะมีประวัติในตอนเด็กจนถึงประมาณอายุ 20 ปี หรือตอนจบปริญญาตรี ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเขาจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในงานบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับความชอบ คุณสมบัติทางร่างกายและสมอง และทักษะของเขา ตัวอย่างเช่น ไทเกอร์ วู้ด นักกอล์ฟมือหนึ่งของโลกนั้น เขาจับไม้กอล์ฟและชอบตีกอล์ฟตั้งแต่เป็นเด็กเล็กมากถือไม้แทบไม่ไหว แน่นอนว่าพ่อของเขานั้นตั้งใจฝึกเขาตั้งแต่ยังเล็กมากและนั่นอาจทำให้เขาชอบ แต่ร่างกายและสมองของเขาก็คงต้องมีส่วนอยู่ไม่น้อยที่ทำให้เขาตีได้ดี หลาย ๆ อย่างคงประกอบกันทำให้ ไทเกอร์ วู้ด กลายเป็นยอดนักกอล์ฟในตำนานคนหนึ่ง
สตีป จ็อบส์ ผู้ก่อตั้งและสร้างผลิตภัณฑ์ของแอบเปิลคอมพิวเตอร์และถือว่าเป็นตำนานของนักประดิษฐ์มือต้น ๆ ที่โลกรู้จักนั้น ในวัยที่ยังเป็นเด็กวัยรุ่นเขาน่าจะเป็นนักคิดและมีจินตนาการสูง ผมไม่รู้จักประวัติของเขามากนัก แต่ทราบว่าเขาเคยเดินทางไปแสวงหาความหมายของชีวิตในเอเซียและหันมานับถือศาสนาพุทธ เขาเคยเรียนการออกแบบตัวอักษรแบบต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ที่สำคัญเขาหมกมุ่นเล่นและคลุกคลีกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในช่วงที่อุปกรณ์ชนิดนี้เพิ่งถือกำเนิดขึ้นบนโลก ในกรณีนี้ “สถานการณ์” และ “โอกาสที่ได้สัมผัส” มีส่วนสำคัญที่ทำให้จ็อบส์กลายเป็นอัจฉริยะทางด้าน IT และกลายเป็นตำนานของนักประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ที่คนทั้งโลกต่างก็ต้องการใช้อย่างแอบเปิล
ในเรื่องของการลงทุนนั้น ดูเหมือนว่าจะไม่มีใครเหนือไปกว่า วอเร็น บัฟเฟตต์ แต่อัฉริยะภาพของเขานั้น ไม่ได้เกิดเมื่อเขาเรียนจบ ทำงาน และเริ่มลงทุน เรามาดูประวัติของบัฟเฟตต์ตั้งแต่เด็กจนถึงเรียนจบปริญญาตรีและโทก็จะพบว่า “แวว” ของความเป็น “เซียน” ของบัฟเฟตต์นั้น น่าจะเริ่มตั้งแต่เขายังเป็นเด็กชั้นอนุบาลและก็พัฒนาไปเรื่อย ๆ ไม่มีหยุด
ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ บัฟเฟตต์ก็เริ่มรู้จักเร่ขายโค๊ก โดยเขาซื้อโค๊กมาเป็นแพ็ค ๆ ละ 6 ขวดในราคา 25 เซ็นต์ แต่ขายมันในราคาขวดละ 5 เซ็นต์ซึ่งทำให้เขาได้เงิน 30 เซ็นต์ ได้กำไร 5 เซ็นต์ หรือคิดเป็นกำไร 16% ของยอดขาย ความสนใจในการที่จะ “หาเงิน” ของเขานั้นคงจะวนเวียนอยู่กับเขาตลอดเวลา เพราะว่าแค่อายุ 11 ขวบ เขาก็เริ่มซื้อหุ้นตัวแรก ซึ่งก็คือหุ้นบุริมสิทธิของบริษัท Cities Service โดยที่เขาซื้อร่วมกับพี่สาว เป็นจำนวน 6 หุ้น ในราคาหุ้นละ 38 เหรียญ พอซื้อแล้วราคาก็ตกลงมาเหลือ 27 เหรียญ ซึ่งทำให้พี่สาวเขากังวลและถามเขาทุกวันว่ามันจะเป็นอย่างไร ดังนั้น พอหุ้น Cities Service ปรับตัวขึ้นมาเป็น 40 เหรียญ เขาก็ขายมันไป และแทบจะทันทีหลังจากนั้น หุ้นก็ปรับตัวขึ้นไปจนถึง 200 เหรียญ สอนบทเรียนให้บัฟเฟตต์รู้ว่าเขาไม่ควรรีบขายหุ้นเพราะกลัวว่าหุ้นจะตก
เหตุผลที่บัฟเฟตต์ซื้อหุ้นตั้งแต่เด็กนั้นไม่ได้มีการกล่าวถึง แต่ผมเชื่อว่าเป็นเพราะพ่อของบัฟเฟตต์เป็นเจ้าของและทำธุรกิจเป็นโบรกเกอร์ซื้อขายหุ้น ดังนั้น บัฟเฟตต์คงคุ้นเคยกับหุ้นตั้งแต่เด็ก เขาคงรู้ว่าหุ้นนั้นมีราคาขึ้นลงและเป็นหนทางหรือเครื่องมือในการทำเงินให้เขาได้ และดังนั้นเขาจึงเข้าไปลองดู ความต้องการที่จะหาเงินของบัฟเฟตต์ หรือแรงขับที่จะสร้างความร่ำรวยของบัฟเฟตต์นั้นเป็นที่ประจักษ์ เพราะเมื่อเขาอายุแค่ 13 ขวบ เขาก็ประกาศว่าเขาจะเป็นเศรษฐีเงินล้านเมื่ออายุ 30 ปี และถ้าไม่เป็นอย่างนั้นเขาก็จะไป “กระโดดตึกที่สูงที่สุดในเมืองโอมาฮา”
บัฟเฟตต์เริ่มทำงานเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์ตั้งแต่อายุ 13 ขวบ เขาขยายสมาชิกและเส้นทางส่งหนังสือพิมพ์ไปจนมีสมาชิกถึง 500 รายต่อวัน พออายุถึง 15 ขวบ เขาก็สามารถทำเงินได้ถึงสัปดาห์ละ 175 เหรียญซึ่งเท่ากับเงินเดือนของผู้ใหญ่อายุ 25 ปีทีเดียว
การลงทุนเพื่อหาเงินหรือทำกำไรของบัฟเฟตต์นั้น ดูเหมือนจะไม่จำกัดว่าเป็นอะไร เพราะเมื่อเขาอายุ 14 ขวบและคงมีเงินเก็บอยู่พอสมควรนั้น เขาก็ได้ซื้อฟาร์มขนาด 40 เอเคอร์หรือประมาณ 100 ไร่ ในราคา 1,200 เหรียญเพื่อเก็งกำไร พอถึงอายุ 17 ปี ซึ่งบัฟเฟตต์กำลังเรียนในปีสุดท้ายของชั้นมัธยม เขาก็เริ่ม “ทำธุรกิจ” นั่นก็คือ เขาซื้อเครื่องเล่นพินบอลเก่าในราคาเครื่องละ 25 เหรียญไปวางไว้ที่ร้านตัดผมเพื่อให้ลูกค้าหยอดเหรียญเล่น ภายในเวลาไม่กี่เดือน เขาก็มีเครื่องเล่นวางถึง 3 จุด ซึ่งเขาก็ขายธุรกิจนี้ให้กับนายทหารผ่านศึกคนหนึ่งในปีเดียวกันที่ราคา 1,200 เหรียญ ในเวลานั้น บัฟเฟตต์มีเงินไม่ต่ำกว่า 5,000 เหรียญแล้วโดยเฉพาะจากการทำงานส่งหนังสือพิมพ์ ดูเหมือนว่าเขาจะมีความสุขกับการหาเงินมากจนไม่ใคร่อยากจะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม พ่อเขาก็กดดันให้เขาเรียน และบัฟเฟตต์เองก็ได้รับการตอบรับให้เรียนที่วาร์ตันซึ่งเป็นคณะบัญชีและการเงินของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียอันโด่งดัง
ถึงจุดนี้คงต้องกล่าวเสริมว่าบัฟเฟตต์นั้นเป็นเด็กที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญในเรื่องของตัวเลขและคณิตศาสตร์ และการที่สามารถเข้าเรียนที่วาร์ตันได้นั้นแสดงให้เห็นว่าเขาน่าจะ “หัวดี” ทีเดียว เพียงแต่อาจจะไม่ใคร่ชอบเรียน เขาบ่นว่าเขา “รู้ดีกว่าอาจารย์” และนั่นอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เขาย้ายมหาวิทยาลัยกลับไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเนบราสกาที่บ้านเกิดในปี 3 และเรียนจบใน 3 ปีครึ่ง เวลานั้นเขาอายุเพียง 20 ปี และมีเงินเก็บถึงเกือบหนึ่งหมื่นเหรียญซึ่งถือว่ามากทีเดียว
จุดเปลี่ยนชีวิตจริง ๆ ของบัฟเฟตต์อาจจะอยู่ที่การเรียนปริญญาโทซึ่งเขาสมัครที่คณะบริหารธุรกิจฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยระดับต้น ๆ ของโลก แต่ได้รับการปฏิเสธ เขาจึงสมัครและได้รับการตอบรับให้เข้าเรียนที่โคลัมเบีย มหาวิทยาลัยที่โดดเด่นพอ ๆ กันเมื่อเขารู้ว่า เบน เกรแฮม อาจารย์และนักลงทุนที่มีชื่อเสียงทางด้านการวิเคราะห์หลักทรัพย์สอนอยู่ที่นั่น และนี่ก็เป็นสัญญาณอีกอย่างหนึ่งว่าบัฟเฟตต์เองนั้นคงเรียนดีมากจึงสามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำแบบนี้ได้
เมื่อเรียนจบ บัฟเฟตต์เสนอตัวทำงานให้กับเบน เกรแฮม โดยไม่รับเงินเดือนเพื่อที่จะได้เรียนรู้กับอาจารย์ในทางปฏิบัติ และแม้ว่าบัฟเฟตต์จะเป็นนักเรียนเกรด A+ เพียงคนเดียวของเกรแฮม แต่เขากลับไม่รับบัฟเฟตต์เนื่องจากเขาต้องการให้คนยิวซึ่งด้อยโอกาสได้งานนั้น ทำให้บัฟเฟตต์เดินทางกลับบ้านไปทำงานในบริษัทโบรกเกอร์ของพ่อ สองปีต่อมา เบน เกรแฮม จึงเสนองานให้กับบัฟเฟตต์ซึ่งเขาตอบรับทันทีและได้ทำงานเป็นเวลาสองปีก่อนที่เกรแฮมจะเกษียณปิดบริษัท บัฟเฟตต์ ซึ่งอายุ 26 ปี มีเงินถึง 140,000 เหรียญ จึงกลับโอมาฮาและตั้งกองทุนบริหารหุ้นให้กับญาติและคนรู้จัก และเริ่มตำนานการลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบัน
ประเด็นของเรื่องทั้งหมดที่ผมต้องการนำเสนอก็คือ “เส้นทางชีวิต” ของคนโดยทั่วไปนั้น โดยสาระสำคัญแล้ว มันเป็นเส้นที่มีความต่อเนื่องไม่ขาดตอน มันคงคล้าย ๆ กับระบบอานาล็อกที่ไม่ใช่การเปลี่ยนแบบ 0 หรือ 1 แต่ค่อย ๆ พัฒนาไปเรื่อย ๆ ชีวิตของคนนั้นเริ่มต้นตั้งแต่เกิดและค่อย ๆ เติบโตขึ้นจนเป็นผู้ใหญ่ ความสามารถต่าง ๆ หรือศักยภาพต่าง ๆ มีมาตั้งแต่เกิด ความสนใจความชอบค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตในบางเรื่องมากกว่าเรื่องอื่น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ประกอบเข้าด้วยกันทำให้คน ๆ หนึ่งค่อย ๆ พัฒนาไปในทิศทางที่ชัดเจนที่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่เด็ก น้อยคนที่จะมีชีวิตที่หักเหไปจากสาระสำคัญเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่แล้วคนเราถ้าจะหักเห ก็มักจะหักเหในรายละเอียด เช่น สาระสำคัญก็คือ คน ๆ หนึ่งนั้น เส้นทางคือ ความร่ำรวย แต่รายละเอียดอาจจะเป็นว่าคน ๆ นั้นควรจะรวยจากการทำงานด้วยแรงงาน แต่แล้วชีวิต “ผกผัน” กลายเป็นรวยจากการลงทุน เป็นต้น ด้วยตรรกะแบบนี้ ผมจึงสรุปว่า คนแทบทุกคนมี “แวว” ตั้งแต่เด็กแล้วว่าเขาจะเป็นอย่างไรเมื่อเขาโตขึ้น เป็นสิ่งที่ยากมากที่คนจะ “เปลี่ยนไป” เมื่อเป็นผู้ใหญ่ เซียนนั้นมักจะต้องมีพื้นฐานเป็นเซียนเสมอ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 90
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แววเซียน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
จิงหรอคับ..มีบ้างมั้ยคับ จากคนไม่เอาไหนเปลี่ยนแปลงตัวเองจน success