บัฟเฟตต์กับหุ้นเทสโก้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
บัฟเฟตต์กับหุ้นเทสโก้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
เมื่อเร็ว ๆ นี้ วอเร็น บัฟเฟตต์ ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าตนเองนั้น “ทำผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง” ในการลงทุนซื้อหุ้นบริษัทเทสโก้ เจ้าของเครือข่ายค้าปลีกแบบดิสเคาท์สโตร์ขนาดใหญ่สัญชาติอังกฤษที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก เหตุเพราะว่าหุ้นเทสโก้มีราคาร่วงลงอย่างแรงภายในสัปดาห์เดียวถึง 17% หลังจากที่ประธานเจ้าหน้าที่การเงินของบริษัทออกมายอมรับว่าบริษัทได้รายงานผลประกอบการครึ่งปีที่ผ่านมาผิดพลาดโดยมีการลงบัญชีว่าบริษัททำกำไรสูงกว่าความเป็นจริงถึง 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ราคาหุ้นตกลงมาเหลือประมาณ 1.8 ปอนด์ซึ่งเป็นราคาต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปีหลังจากเดือนเมษายน 2003 และเป็นการตกต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปีที่ราคาหุ้นเทสโก้ลดลงถึง 48%
วอเร็น บัฟเฟตต์เริ่มต้นซื้อหุ้นเทสโก้ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2006 ในจำนวนประมาณ 330 ล้านเหรียญหรือประมาณหมื่นล้านบาท หลังจากนั้นก็มีการซื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมีมูลค่า 2.1 พันล้านเหรียญหรือประมาณ 67,000 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 5% ของบริษัท แต่ต่อมาเขาก็เริ่มขายหุ้นไปบ้างจนเหลือประมาณ 3.7% ณ. สิ้นปีที่ผ่านมาและเป็นผู้ถือหุ้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของบริษัท โดยรวมแล้ว การถือหุ้นของบัฟเฟตต์ในหุ้นเทสโก้นั้นทำให้เขาขาดทุนไปประมาณ 700 ล้านเหรียญหรือประมาณ 22,400 ล้านบาท ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นการขาดทุนครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของบัฟเฟตต์ในการถือหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง จริงอยู่บัฟเฟตต์เคยเจ็บตัวจากการลงทุนหลายครั้งเหมือนกัน เช่นการลงทุนในหุ้นสายการบินและหุ้นของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง แต่การขาดทุนนั้นมักจะเป็นเรื่องของการ “ขาดทุนชั่วคราว” และเมื่อถือต่อไป บางทีเขาก็ “ได้ทุนคืนมา” เหตุเพราะว่าราคาหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นและเขาขายมันทิ้งไปเมื่อรู้ว่าตนเอง “ผิดพลาด”
โดยปกตินั้น ถ้าบัฟเฟตต์ซื้อหุ้นตัวไหน เขาจะต้องมั่นใจมากว่าพื้นฐานของบริษัทจะต้องดีและราคาที่เขาซื้อนั้นถูกหรือเหมาะสมกับมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท และมูลค่าที่แท้จริงในความหมายของเขาก็คือ มันเป็นมูลค่าที่มาจากกระแสเงินสดของบริษัทที่จะจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นตลอดชีวิต ดังนั้น ถ้าเขาคาดการณ์ไม่ผิดในเรื่องความสามารถในการทำเงินของบริษัทแล้ว เขาก็พร้อมที่จะซื้อหุ้นและ “ถือมันไปตลอดชีวิต” โดยที่ไม่ต้องขายแม้ว่าหุ้นในระยะสั้นจะตกลงมามาก ในบางกรณีที่บัฟเฟตต์ไม่แน่ใจในความสามารถของบริษัทที่จะทำกำไรและสร้างกระแสเงินสดระยะยาวได้ เขาก็มักจะกำหนด “เงื่อนไขในการลงทุน” เช่น แทนที่จะซื้อเป็นหุ้น เขาก็จะซื้อเป็นพันธบัตรที่มีสิทธิแปลงเป็นหุ้นหรือได้วอแรนต์มาฟรีเพื่อที่ว่าในกรณีที่บริษัทไม่ดีอย่างที่คิด ทำให้หุ้นไม่ขึ้นหรือตกลงไปแต่บริษัทก็ไม่ถึงกับล้มละลาย เขาก็จะสามารถได้เงินต้นคืนและแค่เสียโอกาสในการทำกำไรจากหุ้นเท่านั้น
ที่ผ่านมานั้น บัฟเฟตต์จึงมักจะลงทุนในบริษัทที่ “มีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน” มีผลประกอบการที่มั่นคงสม่ำเสมอ และมีหนี้ไม่มาก สามารถสร้างกระแสเงินสดได้ดีและไม่ต้องลงทุนมากนัก อีกข้อหนึ่งที่อาจไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่องของการทำกำไรนักก็คือ เขาต้องการหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่ทำให้เขาสามารถลงทุนเป็นเรื่องเป็นราวไม่เป็นเบี้ยหัวแตกที่ไม่มีความหมายกับพอร์ตที่มีขนาดยักษ์ของเขา นอกจากนั้น ช่วงจังหวะเวลาที่เขาชอบที่จะเข้าลงทุนก็คือช่วงเวลาที่บริษัทอาจจะมีปัญหาที่เขาคิดว่า “แก้ไขได้” และราคาหุ้นตกลงมามากที่จะทำให้การลงทุนของเขาได้ผลตอบแทนมากขึ้น ทั้งหมดนี้ผมคิดว่า เข้ากับ Story และคุณสมบัติของหุ้นเทสโก้แทบจะสมบูรณ์แบบในปี 2006 ที่เขาเริ่มเข้าไปซื้อนั่นคือ
เทสโก้มีความได้เปรียบเนื่องจากมันมีขนาดที่ใหญ่มากโดยเฉพาะในอังกฤษและอีกหลายแห่งในโลกรวมถึงประเทศไทย และธุรกิจขายสินค้าประจำวันแบบนี้ ขนาดเป็นเรื่องที่ทำให้ได้เปรียบค่อนข้างมาก นอกจากนั้น ผลการดำเนินงานของ Modern Trade นั้น มักจะมีความสม่ำเสมอสูงเนื่องจากเกี่ยวข้องกับคนเป็นล้าน ๆ คนและบริษัทมักจะกำหนดมาร์จินหรือผลกำไรลงบนต้นทุนขายได้ กระแสเงินสดเองก็มักจะดีมากเพราะสามารถได้เครดิตการค้ายาวและขายเงินสด เทสโก้จึงสามารถจ่ายปันผลได้สูงมาโดยตลอด ในด้านของจังหวะเวลาในการเข้าซื้อเองนั้น ในกรณีของเทสโก้นั้นดูเหมือนว่าที่ผ่านมาก่อนถึงปี 2006 ที่บัฟเฟตต์ซื้อนั้น จะไม่มีช่วงเวลาที่บริษัทจะย่ำแย่หรือราคาหุ้นตกลงมาแรงมาก ๆ ซึ่งนี่ก็คล้ายกับกรณีของหุ้นวอลมาร์ทที่บัฟเฟตต์ไม่ได้ซื้อและรอมาเรื่อย ๆ จน “ทนไม่ไหว” และเขาอาจจะเริ่มตระหนักว่าหุ้นค้าปลีกนั้น จะโตไปเรื่อย ๆ อย่างมั่นคงและมีโอกาสที่จะพลาดอย่างรุนแรงยาก ดังนั้น เขาจึงเริ่มเข้าซื้อหุ้นดิสเค้าท์สโตร์ขนาดใหญ่ทั้งวอลมาร์ทและเทสโก้ในเวลาต่อมา
หลังจากซื้อหุ้นเทสโก้แล้วก็ดูเหมือนว่า “ภาพใหญ่” นั่นคือภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโดยเฉพาะของยุโรปและอังกฤษจะไม่เข้าข้างเขาเลย วิกฤติเศรษฐกิจในปี 2008 ทำให้หุ้นเทสโก้ตกลงมาประมาณ 30% และน่าจะทำให้กำไรในช่วงแรกของบัฟเฟตต์หดหายไปหมด แต่หลังจากนั้น ราคาหุ้นก็ “ตีตื้น” ขึ้นได้เนื่องจากลักษณะของธุรกิจที่อาจจะเป็น “Defensive” คือไม่ถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากนักเนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ผลการดำเนินงานของเทสโก้ก็เริ่ม “ออกอาการ” ยอดขายเริ่มโตช้าหรือไม่โตเลย ยอดขายของร้านเดิมติดลบแรงอันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ แต่ที่น่ากลัวกว่าก็คือ ส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทเริ่มลดลงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทเมื่อเทียบกับร้านเครือข่ายอื่นแย่ลงมาก ในส่วนของตลาดบน คู่แข่งอย่าง Sainsbury ก็ดีขึ้นเทียบกับเทสโก้ ในส่วนของตลาดล่างลงมา เครือข่ายของบริษัทเยอรมันเช่น ALDI หรือ LIDL ก็ใช้กลยุทธ์ด้านราคาที่ถูกที่สุดโดยเน้นขายสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ ก็สามารถแย่งตลาดของเทสโก้ได้มาก เทสโก้ถูกบีบทั้งสองด้าน และนี่ทำให้ราคาหุ้นเริ่มไหลลงมาตลอด และ “ตะปูตัวสุดท้าย” ก็คือความฉ่าวโฉ่ทางด้านบัญชีที่ทำให้ราคาหุ้นดิ่งลงมาอย่างหนัก
บัฟเฟตต์เองยังไม่ได้ขายหุ้นเทสโก้ทั้งหมดและผมเองก็ไม่รู้ว่าบัฟเฟตต์จะถือต่อไปแค่ไหน ผมไม่รู้ว่าราคานี้เป็นราคาที่เหมาะสมหรือยังกับพื้นฐานที่แย่ลง ผมเองเคยคิดที่จะซื้อหุ้นเทสโก้เหมือนกันก่อนที่จะเกิดเรื่องของบัญชี เหตุผลที่ผมคิดในตอนนั้นก็คือ ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่นั้น ยังไงมันก็ยังน่าจะมีกำไรและมีเงินสดที่จะจ่ายปันผลได้ดี และเมื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ผลประกอบการก็น่าจะดีขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมจะซื้อได้ในราคาต่ำกว่าบัฟเฟตต์พอสมควรทีเดียว โชคดีที่ผมไม่ได้ซื้อ อย่างไรก็ตาม หลังเกิดเหตุการณ์และราคาหุ้นตกลงไปมากพร้อม ๆ กับที่บัฟเฟตต์ออกมาสารภาพว่าตนเองผิดพลาด ผมก็ยังไม่ได้ทำอะไร ผมคิดว่าแม้ราคาจะลดลงไปอีกแต่ความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้น ผมเองก็เริ่มรู้สึกว่า ค้าปลีกเองก็มีความเสี่ยงโดยเฉพาะในประเทศที่การบริโภค “อิ่มตัว” และพัฒนาการต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปในโลกของการบริการ
บทเรียนของเทสโก้กับบัฟเฟตต์นั้น ผมคิดว่าสอนให้เราเรียนรู้ว่า หนึ่ง ไม่มีใครถูกเสมอไปในเรื่องของการลงทุนและเราไม่รู้ว่าเขาจะพลาดในวันไหน สอง ไม่มีบริษัทไหนที่แข็งแกร่งขนาดที่ไม่มีอะไรสามารถทำลายมันได้แม้ว่าในวันที่เรามองดู ดูเหมือนว่ามันจะไม่มีวันแพ้ สาม ถ้าคุณเข้าซื้อหุ้นในวันที่ราคามันอยู่ในระดับใกล้กับราคาสูงสุดในประวัติศาสตร์ของมันอย่างหุ้นเทสโก้ในปี 2006 ที่บัฟเฟตต์เข้าซื้อ ความเสี่ยงก็น่าจะเพิ่มขึ้นมาก และสุดท้ายก็คือ เรื่องของผู้บริหาร ซึ่งผมเชื่อว่าบัฟเฟตต์เองคงจะรู้สึกเจ็บหนักที่สุดก็คือ ผู้บริหารที่แย่นั้น ทำลายมูลค่าของบริษัทได้มากมายและเป็นเรื่องยากที่เราจะรู้ว่าใครเป็นอย่างไร เรื่องของเทสโก้กับบัฟเฟตต์นั้นยังไม่จบเพราะเขายังถือหุ้นอยู่ไม่น้อย เราคงต้องดูกันต่อว่าสุดท้ายจะเป็นอย่างไรในอีก “หลายตอน” ข้างหน้า ซึ่งก็คงอีกหลายปีเพราะกิจการที่ยิ่งใหญ่นั้นไม่ “ตาย” ง่าย ๆ
วอเร็น บัฟเฟตต์เริ่มต้นซื้อหุ้นเทสโก้ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2006 ในจำนวนประมาณ 330 ล้านเหรียญหรือประมาณหมื่นล้านบาท หลังจากนั้นก็มีการซื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมีมูลค่า 2.1 พันล้านเหรียญหรือประมาณ 67,000 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 5% ของบริษัท แต่ต่อมาเขาก็เริ่มขายหุ้นไปบ้างจนเหลือประมาณ 3.7% ณ. สิ้นปีที่ผ่านมาและเป็นผู้ถือหุ้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของบริษัท โดยรวมแล้ว การถือหุ้นของบัฟเฟตต์ในหุ้นเทสโก้นั้นทำให้เขาขาดทุนไปประมาณ 700 ล้านเหรียญหรือประมาณ 22,400 ล้านบาท ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นการขาดทุนครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของบัฟเฟตต์ในการถือหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง จริงอยู่บัฟเฟตต์เคยเจ็บตัวจากการลงทุนหลายครั้งเหมือนกัน เช่นการลงทุนในหุ้นสายการบินและหุ้นของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง แต่การขาดทุนนั้นมักจะเป็นเรื่องของการ “ขาดทุนชั่วคราว” และเมื่อถือต่อไป บางทีเขาก็ “ได้ทุนคืนมา” เหตุเพราะว่าราคาหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นและเขาขายมันทิ้งไปเมื่อรู้ว่าตนเอง “ผิดพลาด”
โดยปกตินั้น ถ้าบัฟเฟตต์ซื้อหุ้นตัวไหน เขาจะต้องมั่นใจมากว่าพื้นฐานของบริษัทจะต้องดีและราคาที่เขาซื้อนั้นถูกหรือเหมาะสมกับมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท และมูลค่าที่แท้จริงในความหมายของเขาก็คือ มันเป็นมูลค่าที่มาจากกระแสเงินสดของบริษัทที่จะจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นตลอดชีวิต ดังนั้น ถ้าเขาคาดการณ์ไม่ผิดในเรื่องความสามารถในการทำเงินของบริษัทแล้ว เขาก็พร้อมที่จะซื้อหุ้นและ “ถือมันไปตลอดชีวิต” โดยที่ไม่ต้องขายแม้ว่าหุ้นในระยะสั้นจะตกลงมามาก ในบางกรณีที่บัฟเฟตต์ไม่แน่ใจในความสามารถของบริษัทที่จะทำกำไรและสร้างกระแสเงินสดระยะยาวได้ เขาก็มักจะกำหนด “เงื่อนไขในการลงทุน” เช่น แทนที่จะซื้อเป็นหุ้น เขาก็จะซื้อเป็นพันธบัตรที่มีสิทธิแปลงเป็นหุ้นหรือได้วอแรนต์มาฟรีเพื่อที่ว่าในกรณีที่บริษัทไม่ดีอย่างที่คิด ทำให้หุ้นไม่ขึ้นหรือตกลงไปแต่บริษัทก็ไม่ถึงกับล้มละลาย เขาก็จะสามารถได้เงินต้นคืนและแค่เสียโอกาสในการทำกำไรจากหุ้นเท่านั้น
ที่ผ่านมานั้น บัฟเฟตต์จึงมักจะลงทุนในบริษัทที่ “มีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน” มีผลประกอบการที่มั่นคงสม่ำเสมอ และมีหนี้ไม่มาก สามารถสร้างกระแสเงินสดได้ดีและไม่ต้องลงทุนมากนัก อีกข้อหนึ่งที่อาจไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่องของการทำกำไรนักก็คือ เขาต้องการหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่ทำให้เขาสามารถลงทุนเป็นเรื่องเป็นราวไม่เป็นเบี้ยหัวแตกที่ไม่มีความหมายกับพอร์ตที่มีขนาดยักษ์ของเขา นอกจากนั้น ช่วงจังหวะเวลาที่เขาชอบที่จะเข้าลงทุนก็คือช่วงเวลาที่บริษัทอาจจะมีปัญหาที่เขาคิดว่า “แก้ไขได้” และราคาหุ้นตกลงมามากที่จะทำให้การลงทุนของเขาได้ผลตอบแทนมากขึ้น ทั้งหมดนี้ผมคิดว่า เข้ากับ Story และคุณสมบัติของหุ้นเทสโก้แทบจะสมบูรณ์แบบในปี 2006 ที่เขาเริ่มเข้าไปซื้อนั่นคือ
เทสโก้มีความได้เปรียบเนื่องจากมันมีขนาดที่ใหญ่มากโดยเฉพาะในอังกฤษและอีกหลายแห่งในโลกรวมถึงประเทศไทย และธุรกิจขายสินค้าประจำวันแบบนี้ ขนาดเป็นเรื่องที่ทำให้ได้เปรียบค่อนข้างมาก นอกจากนั้น ผลการดำเนินงานของ Modern Trade นั้น มักจะมีความสม่ำเสมอสูงเนื่องจากเกี่ยวข้องกับคนเป็นล้าน ๆ คนและบริษัทมักจะกำหนดมาร์จินหรือผลกำไรลงบนต้นทุนขายได้ กระแสเงินสดเองก็มักจะดีมากเพราะสามารถได้เครดิตการค้ายาวและขายเงินสด เทสโก้จึงสามารถจ่ายปันผลได้สูงมาโดยตลอด ในด้านของจังหวะเวลาในการเข้าซื้อเองนั้น ในกรณีของเทสโก้นั้นดูเหมือนว่าที่ผ่านมาก่อนถึงปี 2006 ที่บัฟเฟตต์ซื้อนั้น จะไม่มีช่วงเวลาที่บริษัทจะย่ำแย่หรือราคาหุ้นตกลงมาแรงมาก ๆ ซึ่งนี่ก็คล้ายกับกรณีของหุ้นวอลมาร์ทที่บัฟเฟตต์ไม่ได้ซื้อและรอมาเรื่อย ๆ จน “ทนไม่ไหว” และเขาอาจจะเริ่มตระหนักว่าหุ้นค้าปลีกนั้น จะโตไปเรื่อย ๆ อย่างมั่นคงและมีโอกาสที่จะพลาดอย่างรุนแรงยาก ดังนั้น เขาจึงเริ่มเข้าซื้อหุ้นดิสเค้าท์สโตร์ขนาดใหญ่ทั้งวอลมาร์ทและเทสโก้ในเวลาต่อมา
หลังจากซื้อหุ้นเทสโก้แล้วก็ดูเหมือนว่า “ภาพใหญ่” นั่นคือภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโดยเฉพาะของยุโรปและอังกฤษจะไม่เข้าข้างเขาเลย วิกฤติเศรษฐกิจในปี 2008 ทำให้หุ้นเทสโก้ตกลงมาประมาณ 30% และน่าจะทำให้กำไรในช่วงแรกของบัฟเฟตต์หดหายไปหมด แต่หลังจากนั้น ราคาหุ้นก็ “ตีตื้น” ขึ้นได้เนื่องจากลักษณะของธุรกิจที่อาจจะเป็น “Defensive” คือไม่ถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากนักเนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ผลการดำเนินงานของเทสโก้ก็เริ่ม “ออกอาการ” ยอดขายเริ่มโตช้าหรือไม่โตเลย ยอดขายของร้านเดิมติดลบแรงอันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ แต่ที่น่ากลัวกว่าก็คือ ส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทเริ่มลดลงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทเมื่อเทียบกับร้านเครือข่ายอื่นแย่ลงมาก ในส่วนของตลาดบน คู่แข่งอย่าง Sainsbury ก็ดีขึ้นเทียบกับเทสโก้ ในส่วนของตลาดล่างลงมา เครือข่ายของบริษัทเยอรมันเช่น ALDI หรือ LIDL ก็ใช้กลยุทธ์ด้านราคาที่ถูกที่สุดโดยเน้นขายสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ ก็สามารถแย่งตลาดของเทสโก้ได้มาก เทสโก้ถูกบีบทั้งสองด้าน และนี่ทำให้ราคาหุ้นเริ่มไหลลงมาตลอด และ “ตะปูตัวสุดท้าย” ก็คือความฉ่าวโฉ่ทางด้านบัญชีที่ทำให้ราคาหุ้นดิ่งลงมาอย่างหนัก
บัฟเฟตต์เองยังไม่ได้ขายหุ้นเทสโก้ทั้งหมดและผมเองก็ไม่รู้ว่าบัฟเฟตต์จะถือต่อไปแค่ไหน ผมไม่รู้ว่าราคานี้เป็นราคาที่เหมาะสมหรือยังกับพื้นฐานที่แย่ลง ผมเองเคยคิดที่จะซื้อหุ้นเทสโก้เหมือนกันก่อนที่จะเกิดเรื่องของบัญชี เหตุผลที่ผมคิดในตอนนั้นก็คือ ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่นั้น ยังไงมันก็ยังน่าจะมีกำไรและมีเงินสดที่จะจ่ายปันผลได้ดี และเมื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ผลประกอบการก็น่าจะดีขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ผมจะซื้อได้ในราคาต่ำกว่าบัฟเฟตต์พอสมควรทีเดียว โชคดีที่ผมไม่ได้ซื้อ อย่างไรก็ตาม หลังเกิดเหตุการณ์และราคาหุ้นตกลงไปมากพร้อม ๆ กับที่บัฟเฟตต์ออกมาสารภาพว่าตนเองผิดพลาด ผมก็ยังไม่ได้ทำอะไร ผมคิดว่าแม้ราคาจะลดลงไปอีกแต่ความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้น ผมเองก็เริ่มรู้สึกว่า ค้าปลีกเองก็มีความเสี่ยงโดยเฉพาะในประเทศที่การบริโภค “อิ่มตัว” และพัฒนาการต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปในโลกของการบริการ
บทเรียนของเทสโก้กับบัฟเฟตต์นั้น ผมคิดว่าสอนให้เราเรียนรู้ว่า หนึ่ง ไม่มีใครถูกเสมอไปในเรื่องของการลงทุนและเราไม่รู้ว่าเขาจะพลาดในวันไหน สอง ไม่มีบริษัทไหนที่แข็งแกร่งขนาดที่ไม่มีอะไรสามารถทำลายมันได้แม้ว่าในวันที่เรามองดู ดูเหมือนว่ามันจะไม่มีวันแพ้ สาม ถ้าคุณเข้าซื้อหุ้นในวันที่ราคามันอยู่ในระดับใกล้กับราคาสูงสุดในประวัติศาสตร์ของมันอย่างหุ้นเทสโก้ในปี 2006 ที่บัฟเฟตต์เข้าซื้อ ความเสี่ยงก็น่าจะเพิ่มขึ้นมาก และสุดท้ายก็คือ เรื่องของผู้บริหาร ซึ่งผมเชื่อว่าบัฟเฟตต์เองคงจะรู้สึกเจ็บหนักที่สุดก็คือ ผู้บริหารที่แย่นั้น ทำลายมูลค่าของบริษัทได้มากมายและเป็นเรื่องยากที่เราจะรู้ว่าใครเป็นอย่างไร เรื่องของเทสโก้กับบัฟเฟตต์นั้นยังไม่จบเพราะเขายังถือหุ้นอยู่ไม่น้อย เราคงต้องดูกันต่อว่าสุดท้ายจะเป็นอย่างไรในอีก “หลายตอน” ข้างหน้า ซึ่งก็คงอีกหลายปีเพราะกิจการที่ยิ่งใหญ่นั้นไม่ “ตาย” ง่าย ๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 91
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บัฟเฟตต์กับหุ้นเทสโก้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณครับ
นักลงทุนที่ดี คือ นักลงทุนที่รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง
-
- Verified User
- โพสต์: 5620
- ผู้ติดตาม: 1
Re: บัฟเฟตต์กับหุ้นเทสโก้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
ขอบพระคุณครับอาจารย์
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บัฟเฟตต์กับหุ้นเทสโก้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
"นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง" คุณปู่ ลืม MOS และใช้อารมณ์กับกรณีนี้(ผมเป็นบ่อย) ดร. บอก ผมโชคดี ... อย่าคิดว่าบุคคล 2 ท่านนี้ก็เหมือนคนทั่วๆไป ที่ทำผิดเป็นเหมือนกัน... สำหรับผมท่านยิ่งใหญ่และกล้าที่จะบอกว่า "ผมทำผิดพลาด" "ผมแค่โชคดี"
ขอบคุณสำหรับบทความของ ดร. และคำสัมภาษณ์ของคุณปู่ ผมจะพยายามทำผิดพลาดให้น้อยที่สุด และเมื่อนั้นโชคน่าจะเข้าข้างผม
ขอบคุณสำหรับบทความของ ดร. และคำสัมภาษณ์ของคุณปู่ ผมจะพยายามทำผิดพลาดให้น้อยที่สุด และเมื่อนั้นโชคน่าจะเข้าข้างผม
I feel control.
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บัฟเฟตต์กับหุ้นเทสโก้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 9
ผมถือ Tesco ครับ ปัจจุบันขายไปหมดแล้วตอนต้นปี
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=53&t=51046
.....................
บอกตามตรงผมก็ไม่รู้ว่าผมจะขายหมูหรือเปล่าหรือในอนาคต Tesco จะ Turnaround ได้มั๊ย? แต่เรียนตรง ๆ ผมคิดว่าใน ภาพของระยะเวลาอีก 10-15 ปีข้างหน้า ผมก็ไม่แน่ใจว่าเร็วไปมั๊ย ณ เวลานี้ที่จะบอกว่าการลงทุนใน เทสโก้ นั้นผิดพลาด
แต่ตอนนี้นั้น ผมสามารถสรุปได้หลายอย่าง
1. ตอนผมซื้อนั้นผมว่าผมก็มี MOS พอสมควรเพราะซื้อในช่วงวิกฤตยูโร
2. ถึงแม้บัฟเฟตต์จะขาดทุน แต่ผมกำไร เพราะผมได้เปรียบเรื่องค่าเงินปอนด์ ณ ขณะนั้น เมื่อเทียบกับที่ผมขายผมกำไรเฉพาะค่าเงินก็หลายเปอร์เซนต์อยู่
3. ดังที่ ดร. ท่านว่า แม้แต่เซียนก็ยังผิดพลาดได้ ไม่เว้น
4. จุดนี้ผมไม่แน่ใจ แต่ การที่เราเป็นเป้าหมายใหญ่ ก็จะเป็น สิ่งที่คู่แข่งก็จะพยายามจะโค่นล้ม ได้ชัด คือ เป้าหมายใหญ่ จะเห็นชัดและโดนโจมตีได้ง่ายกว่า
***5. ได้ข่าวว่ามี shenanigans เรื่องนี้ผมกังวลมากกว่าเรื่องผลประกอบการ
6. การมาของเทคโนโลยี เช่น ออนไลน์ หรือ ซุปเปอร์เซฟ ในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น ลิดเดิ้ล
คราวนี้ก็ต้องลองดูครับ เมื่อตลาดอิ่มตัว พีอี จะโดนปรับตามมา และเมือผลประกอบการที่แย่ตามมา พีอี ก็จะลดลง เป็น "วัฏฏะ" ผมว่าบ้านเราก็ไม่พ้นนะ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=53&t=51046
.....................
บอกตามตรงผมก็ไม่รู้ว่าผมจะขายหมูหรือเปล่าหรือในอนาคต Tesco จะ Turnaround ได้มั๊ย? แต่เรียนตรง ๆ ผมคิดว่าใน ภาพของระยะเวลาอีก 10-15 ปีข้างหน้า ผมก็ไม่แน่ใจว่าเร็วไปมั๊ย ณ เวลานี้ที่จะบอกว่าการลงทุนใน เทสโก้ นั้นผิดพลาด
แต่ตอนนี้นั้น ผมสามารถสรุปได้หลายอย่าง
1. ตอนผมซื้อนั้นผมว่าผมก็มี MOS พอสมควรเพราะซื้อในช่วงวิกฤตยูโร
2. ถึงแม้บัฟเฟตต์จะขาดทุน แต่ผมกำไร เพราะผมได้เปรียบเรื่องค่าเงินปอนด์ ณ ขณะนั้น เมื่อเทียบกับที่ผมขายผมกำไรเฉพาะค่าเงินก็หลายเปอร์เซนต์อยู่
3. ดังที่ ดร. ท่านว่า แม้แต่เซียนก็ยังผิดพลาดได้ ไม่เว้น
4. จุดนี้ผมไม่แน่ใจ แต่ การที่เราเป็นเป้าหมายใหญ่ ก็จะเป็น สิ่งที่คู่แข่งก็จะพยายามจะโค่นล้ม ได้ชัด คือ เป้าหมายใหญ่ จะเห็นชัดและโดนโจมตีได้ง่ายกว่า
***5. ได้ข่าวว่ามี shenanigans เรื่องนี้ผมกังวลมากกว่าเรื่องผลประกอบการ
6. การมาของเทคโนโลยี เช่น ออนไลน์ หรือ ซุปเปอร์เซฟ ในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น ลิดเดิ้ล
คราวนี้ก็ต้องลองดูครับ เมื่อตลาดอิ่มตัว พีอี จะโดนปรับตามมา และเมือผลประกอบการที่แย่ตามมา พีอี ก็จะลดลง เป็น "วัฏฏะ" ผมว่าบ้านเราก็ไม่พ้นนะ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 90
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บัฟเฟตต์กับหุ้นเทสโก้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
อย่างนี้ถ้าเป็นเมืองไทย หุ้นค้าปลีกที่มีคูเมืองหนาแน่น ดูยังงัยก็ไม่มีทางที่จะคู่แข่งจะสู้ได้ PE 30 กว่าๆ พอถึงวันที่อิ่มตัวขึ้นมา PE ก็อาจจะไม่ใช่ 30 กว่าแร่ะ ไอ้ที่เราคิดว่ากิจการอันดับหนึ่ง ยังงัยก็ปลอดภัยก็ไม่ใช่แล้วสินะ อะไรก็ไม่แน่นอนเสมอไปสินะสำหรับตลาดหุ้น
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บัฟเฟตต์กับหุ้นเทสโก้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
ก่อนหน้านี้สัก 1-2 ปีก็มีบทความเกี่ยวกับความล้มเหลวของ Tesco ในประเทศตัวเองให้อ่านเป็นระยะๆครับ ถ้าไปสังเกตดูจะเห็นเลยว่ากระแสการบริโภคในภูมิภาคนั้นเปลี่ยนมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว
ผมคิดว่าส่วนหนึ่งของความผิดพลาดนี้ มีสาเหตุมาจากความเสียเปรียบของนักลงทุนต่างประเทศที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการหรือสินค้าได้ท่วงที เมื่อเทียบกับนักลงทุนในประเทศ ทำให้นักลงทุนต่างประเทศอาจติดภาพเดิมๆของบริษัท แต่กลับมองไม่เห็นถึงการพัฒนาของคู่แข่งทั้งตลาดบนและตลาดล่าง กว่าจะเห็นผลกระทบจังๆก็สายไปแล้ว
อีกส่วนหนึ่งคือสินทรัพย์ของ BRK นั้นเริ่มสูงมาก จนถูกบีบให้ไปลงทุนในสนามรบต่างประเทศที่ตัวเองเสียเปรียบ
ผมคิดว่าส่วนหนึ่งของความผิดพลาดนี้ มีสาเหตุมาจากความเสียเปรียบของนักลงทุนต่างประเทศที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการหรือสินค้าได้ท่วงที เมื่อเทียบกับนักลงทุนในประเทศ ทำให้นักลงทุนต่างประเทศอาจติดภาพเดิมๆของบริษัท แต่กลับมองไม่เห็นถึงการพัฒนาของคู่แข่งทั้งตลาดบนและตลาดล่าง กว่าจะเห็นผลกระทบจังๆก็สายไปแล้ว
อีกส่วนหนึ่งคือสินทรัพย์ของ BRK นั้นเริ่มสูงมาก จนถูกบีบให้ไปลงทุนในสนามรบต่างประเทศที่ตัวเองเสียเปรียบ
Vi IMrovised
- simpleBE
- Verified User
- โพสต์: 2335
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บัฟเฟตต์กับหุ้นเทสโก้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
เป็น case study ที่ยอดเยี่ยมมากๆ ครับ
ได้กลับทบทวนการลงทุนในหลายๆ ด้านเลย
ขอบคุณมากๆ ครับ
ได้กลับทบทวนการลงทุนในหลายๆ ด้านเลย
ขอบคุณมากๆ ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บัฟเฟตต์กับหุ้นเทสโก้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
บทเรียนอีกข้อคือ การไม่ใส่ไข่ทั้งหมดในตะกร้าใบเดียวยังคงเป็นกลยุทธ์ที่ดีในการลงทุน
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
- shinray
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บัฟเฟตต์กับหุ้นเทสโก้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก NICHOLAS KAMM / AFP, tesco.com
วอร์เร็น บัฟเฟตต์ ประกาศขายทิ้งหุ้นเทสโก้ ที่ถือครองไว้กว่า 245 ล้านหุ้น หลังหุ้นเทสโก้ดิ่งลงต่อเนื่อง เผยเป็นการลงทุนที่ผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่
เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 สำนักข่าวบีบีซี มีรายงานว่า วอร์เร็น บัฟเฟตต์ ผู้บริหารบริษัทด้านการลงทุน เบิร์กไชร์ แฮธาเวย์ ตัดสินใจขายทิ้งหุ้นเทสโก้ ที่ถือครองไว้กว่า 245 ล้านหุ้น จนเหลือหุ้นเทสโก้ในการถือครองไม่ถึง 3% พร้อมกล่าวว่าการตัดสินใจลงทุนในหุ้นเทสโก้ นับเป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ของเขา
รายงานระบุว่า บัฟเฟตต์เริ่มซื้อหุ้นของเทสโก้ ห้างค้าปลีกของอังกฤษ สะสมไว้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ทว่าในช่วง 52 สัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้นของเทสโก้กลับดิ่งลงเหวต่อเนื่องเกินกว่า 50% อันเนื่องมาจากเทสโก้มียอดขายที่ตกต่ำ เพราะไม่สามารถแข่งขันกับผู้ค้าปลีกรายอื่น ๆ ได้ และการรายงานตัวเลขผลประกอบการที่ผิดพลาด จนสร้างความไม่มั่นใจให้กับนักลงทุนทั่วโลก
ขณะที่นักลงทุนรายใหญ่เจ้าอื่นอย่าง Blackrock ก็ตัดสินใจขายทิ้งหุ้นเทสโก้ไปเช่นกัน ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก NICHOLAS KAMM / AFP, tesco.com
วอร์เร็น บัฟเฟตต์ ประกาศขายทิ้งหุ้นเทสโก้ ที่ถือครองไว้กว่า 245 ล้านหุ้น หลังหุ้นเทสโก้ดิ่งลงต่อเนื่อง เผยเป็นการลงทุนที่ผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่
เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 สำนักข่าวบีบีซี มีรายงานว่า วอร์เร็น บัฟเฟตต์ ผู้บริหารบริษัทด้านการลงทุน เบิร์กไชร์ แฮธาเวย์ ตัดสินใจขายทิ้งหุ้นเทสโก้ ที่ถือครองไว้กว่า 245 ล้านหุ้น จนเหลือหุ้นเทสโก้ในการถือครองไม่ถึง 3% พร้อมกล่าวว่าการตัดสินใจลงทุนในหุ้นเทสโก้ นับเป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ของเขา
รายงานระบุว่า บัฟเฟตต์เริ่มซื้อหุ้นของเทสโก้ ห้างค้าปลีกของอังกฤษ สะสมไว้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ทว่าในช่วง 52 สัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้นของเทสโก้กลับดิ่งลงเหวต่อเนื่องเกินกว่า 50% อันเนื่องมาจากเทสโก้มียอดขายที่ตกต่ำ เพราะไม่สามารถแข่งขันกับผู้ค้าปลีกรายอื่น ๆ ได้ และการรายงานตัวเลขผลประกอบการที่ผิดพลาด จนสร้างความไม่มั่นใจให้กับนักลงทุนทั่วโลก
ขณะที่นักลงทุนรายใหญ่เจ้าอื่นอย่าง Blackrock ก็ตัดสินใจขายทิ้งหุ้นเทสโก้ไปเช่นกัน ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 12
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บัฟเฟตต์กับหุ้นเทสโก้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 15
+++ TESCO เตรียมขายกิจการในไทย ***ลาก่อน TESCO Lotus*** +++
วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม 2557
นายเดฟ ลูว์อิส ซีอีโอของบริษัทเทสโก้ของอังกฤษ เปิดเผยว่า กำลังพิจารณาการขายสินทรัพย์
ในอังกฤษ, ประเทศไทย และในประเทศอื่นๆ แม้เขาเพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งได้เพียง 6 สัปดาห์ ขณะที่เขา
พยายามระดมเงินทุนเพื่อกอบกู้กิจการเทสโก้ที่มีการดำเนินธุรกิจมายาวนานถึง 95 ปี ให้รอดพ้นจาก
วิกฤติครั้งร้ายแรงที่สุด
โดย เทสโก้ เป็นบริษัทค้าปลีกใหญ่อันดับ 3 ของโลก มียอดขายตกต่ำลงจนถึงขั้นที่ทำให้ทางบริษัท
จำเป็นต้องระดมเงินมากยิ่งขึ้น เพื่อจะนำมาใช้รับมือกับหนี้สินและยอดขาดดุลเงินบำนาญที่พุ่งสูงขึ้น
นอกจากนี้ เทสโก้ยังจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องต้นทุนของแผนฟื้นฟูยอดขายด้วย
http://www.kaohoon.com/online/101685/twitter.htm
.........................................................................................
ข่าวแว่วๆ ว่ามี 3 กลุ่มยักาษ์ใหญ่ในไทยสนใจเตรียมซื้อคือ คือ เจ้าสัวซีพี - เสี่ยเจริญ - กลุ่มเซ็นทรัล
วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม 2557
นายเดฟ ลูว์อิส ซีอีโอของบริษัทเทสโก้ของอังกฤษ เปิดเผยว่า กำลังพิจารณาการขายสินทรัพย์
ในอังกฤษ, ประเทศไทย และในประเทศอื่นๆ แม้เขาเพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งได้เพียง 6 สัปดาห์ ขณะที่เขา
พยายามระดมเงินทุนเพื่อกอบกู้กิจการเทสโก้ที่มีการดำเนินธุรกิจมายาวนานถึง 95 ปี ให้รอดพ้นจาก
วิกฤติครั้งร้ายแรงที่สุด
โดย เทสโก้ เป็นบริษัทค้าปลีกใหญ่อันดับ 3 ของโลก มียอดขายตกต่ำลงจนถึงขั้นที่ทำให้ทางบริษัท
จำเป็นต้องระดมเงินมากยิ่งขึ้น เพื่อจะนำมาใช้รับมือกับหนี้สินและยอดขาดดุลเงินบำนาญที่พุ่งสูงขึ้น
นอกจากนี้ เทสโก้ยังจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องต้นทุนของแผนฟื้นฟูยอดขายด้วย
http://www.kaohoon.com/online/101685/twitter.htm
.........................................................................................
ข่าวแว่วๆ ว่ามี 3 กลุ่มยักาษ์ใหญ่ในไทยสนใจเตรียมซื้อคือ คือ เจ้าสัวซีพี - เสี่ยเจริญ - กลุ่มเซ็นทรัล
- Mr.Children
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 332
- ผู้ติดตาม: 1
Re: บัฟเฟตต์กับหุ้นเทสโก้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 16
รอบนี้ BigC ไม่เอาด้วยเหรอครับท่าสะแก เขียน:+++ TESCO เตรียมขายกิจการในไทย ***ลาก่อน TESCO Lotus*** +++
วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม 2557
นายเดฟ ลูว์อิส ซีอีโอของบริษัทเทสโก้ของอังกฤษ เปิดเผยว่า กำลังพิจารณาการขายสินทรัพย์
ในอังกฤษ, ประเทศไทย และในประเทศอื่นๆ แม้เขาเพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งได้เพียง 6 สัปดาห์ ขณะที่เขา
พยายามระดมเงินทุนเพื่อกอบกู้กิจการเทสโก้ที่มีการดำเนินธุรกิจมายาวนานถึง 95 ปี ให้รอดพ้นจาก
วิกฤติครั้งร้ายแรงที่สุด
โดย เทสโก้ เป็นบริษัทค้าปลีกใหญ่อันดับ 3 ของโลก มียอดขายตกต่ำลงจนถึงขั้นที่ทำให้ทางบริษัท
จำเป็นต้องระดมเงินมากยิ่งขึ้น เพื่อจะนำมาใช้รับมือกับหนี้สินและยอดขาดดุลเงินบำนาญที่พุ่งสูงขึ้น
นอกจากนี้ เทสโก้ยังจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องต้นทุนของแผนฟื้นฟูยอดขายด้วย
http://www.kaohoon.com/online/101685/twitter.htm
.........................................................................................
ข่าวแว่วๆ ว่ามี 3 กลุ่มยักาษ์ใหญ่ในไทยสนใจเตรียมซื้อคือ คือ เจ้าสัวซีพี - เสี่ยเจริญ - กลุ่มเซ็นทรัล
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: บัฟเฟตต์กับหุ้นเทสโก้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 20
[quote="sakkaphan"]ขุดครับ เคยได้ยินคำกล่าวหนึ่ง จำไม่ได้ว่าใครเป็นกล่าวไว้ แต่ "ในระยะที่ยาวนานพอ หุ้นทุกตัวเป็นหุ้นวัฏจักร"[/quote]
เห็นด้วยเลยครับ ชีวิตคนก็เช่นกัน ทุกอย่างในโลกล้วนเป็นวัฏจักร ^^
เป็นบทความที่ดีมากๆครับ ตามด้วยคอมเม้นที่ยอดเยี่ยมของเพื่อนๆ อ่านเเล้วได้คิดเยอะเลย
ขอเเปะข่าวเพิ่มเติมด้วยครับ
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1445491395
เห็นด้วยเลยครับ ชีวิตคนก็เช่นกัน ทุกอย่างในโลกล้วนเป็นวัฏจักร ^^
เป็นบทความที่ดีมากๆครับ ตามด้วยคอมเม้นที่ยอดเยี่ยมของเพื่อนๆ อ่านเเล้วได้คิดเยอะเลย
ขอเเปะข่าวเพิ่มเติมด้วยครับ
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1445491395
-
- Verified User
- โพสต์: 258
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บัฟเฟตต์กับหุ้นเทสโก้/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 21
ขยายความต่อครับ
หากเคยซื้อหวยหรือลอตเตอรี่
ในขณะที่เราซื้อ เราได้คิดแล้วใช่มั้ยครับก่อนซื้อ
บางคนอาจจะมี check list ไว้แล้ว
คราวนี้ เมื่อหวยออก หากไม่ถูก
ก็มักจะบ่นว่า ทำไม เราไม่ซื้อตัวนั้น ตัวนี้
นั่นแหละ หวยออกถึงรู้
ผมถึงบอกว่า เราจะรู้ว่าพลาด เมื่อเวลาผ่านไปแล้ว
หากเคยซื้อหวยหรือลอตเตอรี่
ในขณะที่เราซื้อ เราได้คิดแล้วใช่มั้ยครับก่อนซื้อ
บางคนอาจจะมี check list ไว้แล้ว
คราวนี้ เมื่อหวยออก หากไม่ถูก
ก็มักจะบ่นว่า ทำไม เราไม่ซื้อตัวนั้น ตัวนี้
นั่นแหละ หวยออกถึงรู้
ผมถึงบอกว่า เราจะรู้ว่าพลาด เมื่อเวลาผ่านไปแล้ว