แข่งกันลดดอกเบี้ยและลดค่าเงิน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1827
ผู้ติดตาม: 1

แข่งกันลดดอกเบี้ยและลดค่าเงิน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ตั้งแต่ต้นปีจนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลาประมาณ 7 สัปดาห์ ธนาคารกลางของ 13 ประเทศปรับลดดอกเบี้ยลงไปแล้ว ทั้งๆที่มีคาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้อยู่ในช่วงของการฟื้นตัว เช่น แบงก์ออฟอเมริกา ซึ่งเป็นพันธมิตรของภัทรมองว่าปีนี้เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.6% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2014 ซึ่งขยายตัว 3.2% ส่วนไอเอ็มเอฟก็มองว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะขยายตัว 3.5% จาก 3.3% ในปีก่อนหน้า คำถามคือทำไมธนาคารกลางหลายประเทศ (เช่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เดนมาร์ก อินเดีย สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย) ต้องรีบลดดอกเบี้ยเพื่อผ่อนคลายนโยบายการเงินหากมั่นใจว่าเศรษฐกิจโลกเป็นขา ขึ้น และการที่ราคาน้ำมันปรับลดลงอย่างมากก็น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการ กระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งด้วย (ยกเว้นกรณีของรัสเซีย)

การ ผ่อนคลายทางการเงินรอบใหม่ของธนาคารกลางดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการผ่อนคลาย ทางการเงินในเชิงปริมาณ โดยประเทศเศรษฐกิจหลักในแบบอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน กล่าวคือธนาคารกลางของประเทศสหรัฐ อังกฤษ แคนาดา ยุโรป (ที่ใช้เงินสกุลยูโร) และญี่ปุ่นพิมพ์เงินใหม่ออกมาหลายล้านล้านดอลลาร์เพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาล (ซึ่งเรียกกันโดยย่อว่าคิวอี) หลังจากปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือศูนย์แล้ว ซึ่งในกรณีของสหรัฐนั้นกล่าวอย่างชัดเจนว่าต้องการกว้านซื้อสินทรัพย์ที่มี ความเสี่ยงต่ำออกจากการถือครองของภาคเอกชนเพื่อให้ภาคเอกชนต้องนำเงินสดที่ มีอยู่ในมือ (หลังการขายพันธบัตรชั้นดีให้กับรัฐบาล) ไปซื้อสินทรัพย์ (หรือลงทุน) ที่มีความเสี่ยงมากกว่า เช่น การซื้ออสังหาริมทรัพย์และหุ้นเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฟื้นตัว แต่ในกรณีของญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรนั้น ผลที่คาดหวังคือการทำให้เงินของตนอ่อนค่าลง เช่น ในกรณีของญี่ปุ่นเงินเยนอ่อนค่าลงไปจาก 80 เยนต่อ 1 ดอลลาร์เป็น 117 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ ในขณะที่เงินยูโรก็อ่อนค่าจาก 1.29 ดอลลาร์ต่อ 1 ยูโรมาเป็น 1.15 ดอลลาร์ต่อ 1 ยูโร เป็นต้น (เงินปอนด์และเงินดอลลาร์แคนาดาก็อ่อนตัวลงในทำนองเดียวกัน)

คำถามคือทำไมเมื่อประเทศหลักผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างสุดโต่งแล้ว เศรษฐกิจโลกก็ยังไม่ฟื้นตัว? คำอธิบายของนักกลยุทธ์ภูมิภาคเอเชียของแบงก์ออฟอเมริกาคือเศรษฐกิจโลกมี ลักษณะ 3 ประการที่ทำให้เสี่ยงต่อการ “ซึมยาว” ได้แก่

1. ประชากรเข้าสู่วัยชราทำให้ต้องการเก็บเงินไม่ต้องการใช้จ่าย

2. ทุกภาคส่วนยังมีหนี้สินมาก (และเพิ่มขึ้น) ทำให้ไม่สามารถลงทุนและใช้จ่าย

3. คนจนรายได้ไม่เพิ่มขณะที่คนรวยนั้นร่ำรวยมากขึ้นแต่คนรวยไม่ใช้จ่ายมากขึ้นเพราะมีทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว

สภาวะ เช่นนี้มักจะนำไปสู่การซึมตัวของเศรษฐกิจและในที่สุดรัฐบาลก็จะต้องเข้ามา กู้เงินเพื่อใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและลงทุนระยะยาว เพราะรัฐบาลจะถูกกดดันให้ดูแลเศรษฐกิจให้ขยายตัว (แม้ว่าการใช้จ่ายของภาครัฐมักจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ) เห็นได้จากกรณีของญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจซึมยาวมาตั้งแต่ปี 1989 และในเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมาหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสูงถึง 230% ของจีดีพีแล้ว ในกรณีของประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ หนี้ภาครัฐก็เพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูงเกือบ 100% ของจีดีพีเกือบทุกประเทศ ล่าสุดประธานาธิบดีโอบามาก็ประกาศว่าจะเก็บภาษีจากกำไรของบริษัทสหรัฐที่ สะสมอยู่นอกประเทศในอัตราประมาณ 13-14% โดยหวังจะได้เงินภาษีหลายแสนล้านดอลลาร์เพื่อนำมาลงทุนปรับปรุงโครงสร้าง พื้นฐานด้านการขนส่งของสหรัฐ เป็นต้น

ข้อสรุปคือหลังจากที่ ประเทศเศรษฐกิจหลักพยายามเอาตัวรอดโดยการผ่อนคลายทางการเงิน แต่เศรษฐกิจโลกก็ยังฟื้นตัวได้ไม่ดีมากนัก ประเทศขนาดเล็กบางประเทศก็เริ่มตื่นตัวและผ่อนคลายนโยบายการเงินของตนบ้าง ซึ่งผมมองว่าเป็นผลมาจากข้อสรุปว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวอย่างกระท่อนกระแท่น และเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำใกล้ศูนย์ จึงจำต้องเร่งลดดอกเบี้ยของตนเพื่อชี้นำให้เงินของตนอ่อนค่าลงเพื่อลดความ เสี่ยง หากอุปสงค์โลกสะดุดและเกิดภาวะเงินเฟ้อติดลบ (เช่นที่เกิดขึ้นแล้วในญี่ปุ่นและยุโรป) กล่าวคือเมื่อเงินของตนอ่อนค่าก็จะช่วยกระตุ้นการส่งออกและขับเคลื่อนเงิน เฟ้อให้สูงขึ้นหรืออีกนัยหนึ่งคือการรีบ “ส่งออกเงินฝืด” (export deflation) นั่นเอง ความกังวลดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการกล่าวถึงสงครามค่าเงินหรือ currency war ซึ่งผมเองไม่ได้มองว่าจะมีการสู้รบกันในเชิงเศรษฐกิจ แต่น่าจะเป็นการแข่งขันกันลดค่าเงินมากกว่า (race to the bottom)

ใน โลกที่มีเงิน 2 สกุลจะมีอัตราแลกเปลี่ยน 1 อัตรา ดังนั้น ในโลกที่มีเงิน N สกุลก็จะมีอัตราแลกเปลี่ยน N-1 หมายความว่าจะต้องมีเงินสกุลหนึ่งเป็นเงินสกุลหลักเพื่อให้เปรียบเทียบกับ เงินสกุลอื่นๆ หมายความว่าในโลกปัจจุบันนั้นมีความเป็นไปได้สูงว่าเมื่อยุโรปและญี่ปุ่นทำ คิวอี ซึ่งส่งผลให้ค่าของเงินสกุลหลักทั้งสองปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเงิน ดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ ก็จะต้องทยอยกันลดดอกเบี้ยหรือผ่อนคลายนโยบายการเงินของตน ทำให้เงินของตนลดค่าลงไปด้วยซึ่งในช่วงหลังนี้เราก็เริ่มเห็นข่าวว่านัก ธุรกิจสหรัฐเริ่มบ่นว่าผลประกอบการของบริษัทต่ำกว่าเป้าเพราะการแข็งค่าของ เงินดอลลาร์สหรัฐ

ประเด็นคือหากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงิน บาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐไม่เปลี่ยนแปลงก็อาจมองอย่างผิวเผินได้ว่าอัตราแลก เปลี่ยนมีเสถียรภาพ (ซึ่งมีนัยในเชิงบวกเพราะทำให้เข้าใจได้ว่ามีเสถียรภาพทางการเงิน) แต่ในความเป็นจริงนั้นในปี 2014 เงินบาทแข็งค่าประมาณ 5% เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าและคู่แข่งของไทย นอกจากนั้น เงินบาทก็ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้ แม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างบาทกับดอลลาร์จะยังคงที่ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเพราะธนาคารกลางของยุโรปและญี่ปุ่นกำลังพิมพ์เงินขึ้นมาใหม่แล้ว อัดฉีดเข้าไปในระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งปรับลดดอกเบี้ยและกดค่าเงินของตนให้อ่อนตัวลงเพื่อ รองรับกับสถานการณ์

ดังนั้น ในปัจจุบันผมจึงไม่ค่อยมั่นใจว่าการปล่อยให้ค่าเงินบาทปรับตัวไปโดย “ธรรมชาติ” นั้นเป็นการปรับไปตามกลไกตลาดเสรีหรือไม่เพียงใด เพราะในสภาวะปกติธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจหลักจะมีวินัยทางการเงินไม่ พิมพ์เงินเพิ่มออกมาหลายล้านล้านดอลลาร์ (หรือยูโรหรือเยน) เพื่อกดดอกเบี้ยให้ต่ำลงติดดินดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ดังนั้นแม้ว่าปกติแล้วผมเห็นด้วยกับการให้กลไกตลาดกำหนดราคาสินค้าและค่า เงิน แต่ในสภาวะที่ผิดปกติเช่นปัจจุบันนี้ ก็อาจต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าหากจะปล่อยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ (เพราะธนาคารกลางอื่นๆ ตั้งใจทำให้เงินของตนอ่อนค่า) นั้น จะเป็นสิ่งที่เหมาะสมมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจของ ประเทศไทยในขณะนี้ เช่น การคาดหวังให้การส่งออกขยายตัว 4% ในปี 2015 เป็นต้น
[/size]
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: แข่งกันลดดอกเบี้ยและลดค่าเงิน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

" แต่ในความเป็นจริงนั้นในปี 2014 เงินบาทแข็งค่าประมาณ 5% เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าและคู่แข่งของไทย "

ผ่านมา ปี 2015
จนถึงเวลานี้ น่าจะไปไกลกว่านี้มากๆ แล้ว

ขอบคุณมาก ครับ ท่าน ดร.
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 428
ผู้ติดตาม: 0

Re: แข่งกันลดดอกเบี้ยและลดค่าเงิน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ธนาคารแห่งประเทศไทย ของธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารพาณิชย์ เพื่อธนาคารพาณิชย์
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 0

Re: แข่งกันลดดอกเบี้ยและลดค่าเงิน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ ดร.ศุภวุฒิ เขียนได้ถูกใจผมจริงๆ
Vi IMrovised
ลูกหิน
Verified User
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 0

Re: แข่งกันลดดอกเบี้ยและลดค่าเงิน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4254
ผู้ติดตาม: 1

Re: แข่งกันลดดอกเบี้ยและลดค่าเงิน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณครับ

1. ดูเหมือนว่าทางออกของประเทศไทย ก็คือต้องลดดอกเบี้ย เพื่อให้ค่าเงินอ่อนลง หรือเปล่าครับ???

2. ขออนุญาตนะครับ พอดีว่า ถ้ามีสกุลเงิน N สกุล จะมีอัตราแลกเปลี่ยน = N * (N-1) /2 อัตรา นะครับ
(ไม่ใช่ประเด็นหลักของบทความนะครับ)
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
hydrophobia
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

Re: แข่งกันลดดอกเบี้ยและลดค่าเงิน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

(N-1) น่าจะถูกต้องแล้วครับ เพราะเป็นอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง สกุลหลัก กับ สกุลอื่นๆ ซึ่งมีจำนวน
= (N-1) หายไป 1 เพราะคือตัวสกุลหลักเอง
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Re: แข่งกันลดดอกเบี้ยและลดค่าเงิน/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

กด Like ให้เลยครับ
:)
:)
โพสต์โพสต์